สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 มกราคม 2567

ข่าวการเมือง Wednesday January 3, 2024 09:38 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ (2 มกราคม 2567) เวลา 08.30 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย

                    1.           เรื่อง           ร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษ สำหรับข้าราชการกระทรวง                                        แรงงาน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายแรงงาน พ.ศ....
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี                                                  ดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยหอการค้าบาง                                                  ฉบับที่ไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน พ.ศ. .... (ยกเลิกค่าธรรมเนียมหอการค้า)

เศรษฐกิจ-สังคม
                    4.           เรื่อง           รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เรื่อง                                         อำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติดเพื่อสืบสวนสอบสวนตาม                                                            พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550
                    5.           เรื่อง           แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขอรับร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร                                        และผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาพิจารณาก่อนรับหลักการ
                    6.           เรื่อง           สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ประจำปี                                                  งบประมาณ พ.ศ. 2566
                    7.           เรื่อง           รายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท                                        รักษาทุกโรค)
                    8.           เรื่อง          รายงานสรุปผลการพิจารณาข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงระเบียบสำนัก                                                  นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรและไม่                                                  สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนาได้ พ.ศ. 2562 และการออก                                                  หลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง เพื่อสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
                    9.           เรื่อง           รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการคุ้มครองสิทธิเด็ก กรณีการ                                        เข้าถึงบริการสุขภาพของทารกที่คลอดก่อนกำหนด
                    10.           เรื่อง           ขออนุมัติการเพิ่มวงเงินในสัญญา รายการทำนบดินหัวงานและอาคารประกอบ                                                   โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำเฮี้ย จังหวัดเพชรบูรณ์
                    11.           เรื่อง           มาตรการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการใช้จ่าย

ต่างประเทศ
                    12.           เรื่อง           การลงนามพิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก่ไขความกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-                                        ออสเตรเสีย-นิวซีแลนด์
                    13.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 17 และการประชุมรัฐมนตรี                                                  กลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 10 รวมทั้งการประชุม                                        อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    14.           เรื่อง           การจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง                                                  สาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราซึ่งกันและกันสำหรับผู้                                        ถือหนังสือเดินทางธรรมดาและหนังสือเดินทางกึ่งราชการ
                    15.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-                                        ล้านช้างประจำปี พ.ศ. 2566 (Memorandum of Understanding on the                                                   Cooperation on Projects of the Mekong-Lancang Cooperation Special                                         Fund 2023)
                    16.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบการปรับโอนพิกัดศุลกากรของกฎถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้า                                                  ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย - ออสเตรเลีย (TAFTA)
                    17.           เรื่อง           ผลการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 29 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย                                        อินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย (IMT - GT)

แต่งตั้ง
                    18.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการทาง                                        พิเศษแห่งประเทศไทย
                    19.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศ                                        ไทย
                    20.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการนิคม                                                  อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษ สำหรับข้าราชการกระทรวงแรงงาน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายแรงงาน พ.ศ....
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษ สำหรับข้าราชการกระทรวงแรงงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายแรงงาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                      ทั้งนี้ รง. เสนอว่า
                      1. กฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกระทรวงแรงงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานตรวจความปลอดภัยตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2564 ได้กำหนดเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกระทรวงแรงงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจความปลอดภัย ตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน แต่โดยที่ รง. มีภารกิจที่จะต้องปฏิบัติงานตามกฎหมายแรงงานอีกหลายฉบับ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล และกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานประมง ซึ่งจะต้องปฏิบัติภารกิจในพื้นที่เสี่ยงอันตรายนอกที่ตั้งที่ทำการ โดยการปฏิบัติงานเองหรือร่วมปฏิบัติงานกับเจ้าพนักงานของส่วนราชการอื่น จึงสมควรกำหนดให้ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายแรงงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานสามารถใช้เครื่องแบบพิเศษได้ เพื่อให้เหมาะสมกับภารกิจและพื้นที่ปฏิบัติงาน
                      2. รง. จึงได้ยกเลิกกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกระทรวงแรงงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานตรวจความปลอดภัยตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2564 ตามข้อ 1. และจัดทำร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษ สำหรับข้าราชการกระทรวงแรงงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายแรงงาน พ.ศ. ....          เพื่อปรับปรุงให้ครอบคลุมสำหรับข้าราชการกระทรวงแรงงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายแรงงาน และในคราวประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองการกำหนดเครื่องแบบพิเศษของส่วนราชการ ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 8 ธันวาคม 2564 พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบในหลักการร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว โดยให้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมบางประเด็น ซึ่ง รง. ได้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการฯ แล้ว
                      สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                      1. กำหนดให้ยกเลิกกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกระทรวงแรงงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานตรวจความปลอดภัย ตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2564
                     2. กำหนดลักษณะ ชนิด และประเภทของเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกระทรวงแรงงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล และกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานประมง
                     3. กำหนดให้เครื่องแบบพิเศษข้าราชการข้าราชการกระทรวงแรงงานชาย ประกอบด้วย หมวกทรงหม้อตาลสีน้ำเงินแกมดำ ตราหน้าหมวกเป็นเครื่องหมายราชการกระทรวงแรงงาน การสวมหมวกให้สวมในโอกาสอันควร เสื้อคอพับสีน้ำเงินแกมดำแขนสั้นเหนือข้อศอกเล็กน้อย กางเกงขายาวสีน้ำเงินแกมดำ ทรงกระบอกไม่พับปลายขา เป็นต้น
                      4. กำหนดให้เครื่องแบบพิเศษข้าราชการข้าราชการกระทรวงแรงงานหญิง ประกอบด้วย หมวกพับปีกสีน้ำเงินแกมดำ ตราหน้าหมวกเป็นเครื่องหมายราชการกระทรวงแรงงาน การสวมหมวกให้สวมในโอกาสอันควร เสื้อคอพับสีน้ำเงินแกมดำแขนสั้นเหนือข้อศอกเล็กน้อย กางเกงขายาวสีน้ำเงินแกมดำ ทรงกระบอกไม่พับปลายขา หรือกระโปรงสีน้ำเงินแกมดำ ยาวปิดเข่าพอสมควร เป็นต้น
                     5. กำหนดอินทรธนู มีลักษณะแข็ง ทำด้วยผ้าสักหลาดสีน้ำเงินแกมดำ เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลายตัดเป็นมุมแหลม ที่ตอนปลายติดดุมโลหะสีทองมีลักษณะกลมนูนเล็กน้อยภายในมีลายดุนรูปตราครุฑพ่าห์               มีเครื่องหมายตำแหน่งติดบนอินทรธนูแยกตามประเภทตำแหน่ง และระดับของข้าราชการ
                     6. เครื่องแบบพิเศษจะแต่งในโอกาสใด ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนด และให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือประดับเครื่องหมายแสดงความสามารถหรือเข็มแสดงวิทยฐานะของสถาบันการศึกษาของทางราชการได้

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
                      ทั้งนี้ สธ. เสนอว่า
                      1. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 63/15 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ในกรณีที่มีการบังคับให้ชำระเงินและคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินเป็นที่สุดแล้ว หากหน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงินประสงค์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีในสังกัดกรมบังคับคดีดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครองดังกล่าว ให้ยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลภายในสิบปีนับแต่วันที่คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินเป็นที่สุด เพื่อให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครองนั้น โดยระบุจำนวนเงินที่อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองยังมิได้ชำระตามคำสั่งทางปกครอง ทั้งนี้ ไม่ว่าหน่วยงานของรัฐยังไม่ได้บังคับทางปกครองหรือได้ดำเนินการบังคับทางปกครองแล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระเงินหรือได้รับชำระเงินไม่ครบถ้วน ประกอบกับมาตรา 63/15 วรรคหก บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐตามมาตรานี้ หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการ ที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
                     2. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มิได้มีสถานะทางกฎหมาย เป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่นตามนัยมาตรา 63/15 วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทำให้ไม่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ดำเนินการบังคับทางปกครองแทนได้ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ดังนั้น เพื่อให้การบังคับคดีให้ชำระค่าปรับทางปกครอง กรณีหน่วยบริการใดไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดตามมาตรา 58 (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น จึงสมควรกำหนดให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครองแทนได้ จะทำให้การดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ           พ.ศ. 2545 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดให้สำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามมาตรา 63/15 วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลเพื่อให้ศาลออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครองแทนได้
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                      กำหนดให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครองแทนได้ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยหอการค้าบางฉบับที่ไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน พ.ศ. .... (ยกเลิกค่าธรรมเนียมหอการค้า)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยหอการค้าบางฉบับที่ไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้า
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ เป็นการยกเลิกค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของหอการค้า ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในพระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. 2509 และยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. 2509 อันเป็นการทบทวนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2563, 4 พฤศจิกายน 2564 และ 14 ธันวาคม 2564 โดยได้พิจารณาจากรายได้ที่จัดเก็บค่าธรรมนียมเปรียบเทียบกับต้นทุนการดำเนินการจัดเก็บพบว่ารายได้จากการจัดเก็บต่ำกว่าต้นทุนในการดำเนินการ ประกอบกับได้มีการนำรูปแบบการให้บริการผ่านระบบ e-services มาใช้ ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการดำเนินการและเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ดำเนินการ จึงเห็นสมควรยกเลิกจัดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและลดภาระให้แก่ประชาชน
                    กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว โดยเห็นด้วยกับการยกเลิกค่าธรรมเนียม และได้จัดทำรายงานประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่จะได้รับตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยรัฐจะสูญเสียรายได้จากการยกเว้นค่าธรรมเนียม 3 ปี ย้อนหลัง โดยในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 2,125 บาท พ.ศ. 2564 จำนวน 1,145 บาท และพ.ศ. 2565 จำนวน 970 บาท รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 4,240 บาท แต่อย่างไรก็ตามจะเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของหอการค้าที่จะต้องชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนการดำเนินการและเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนทั่วไปในการขอตรวจหรือคัดและรับรองเอกสาร
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    ยกเลิกค่าธรรมเนียมหอการค้าตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในพระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. 2509 และยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. 2509

เศรษฐกิจ-สังคม
4. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เรื่อง อำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติดเพื่อสืบสวนสอบสวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เรื่อง อำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติดเพื่อสืบสวนสอบสวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 1 (ผู้ถูกร้อง) ได้ทำร้ายร่างกายผู้ร้องขณะจับกุมและควบคุมตัวในคดียาเสพติด โดยผู้ถูกร้องในฐานะเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 11/6 วรรคหนึ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ควบคุมตัวผู้ร้องไว้เพื่อสืบสวนสอบสวนได้ไม่เกิน 3 วัน แล้วส่งตัวให้พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาดำเนินการต่อไป (อีกไม่เกิน 48 ชั่วโมง) เมื่อผู้ร้องถูกส่งตัวไปฝากขังที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง เจ้าหน้าที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลางได้ตรวจร่างกายก่อนรับตัวพบว่า ร่างกายของผู้ร้องมีร่องรอยการบาดเจ็บ
                    2. กสม. เห็นว่า แม้จะไม่ปรากฏพยานหรือหลักฐานที่ชี้ว่าผู้ถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ร้อง แต่เมื่ออาการบาดเจ็บเกิดขึ้นก่อนถูกควบคุมตัวไปที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง ประกอบกับจากการชี้แจงของผู้ถูกร้องไม่ปรากฏว่า ผู้ร้องมีพฤติการณ์ขัดขืนหรือหลบหนีการจับกุม จึงน่าเชื่อว่าผู้ร้องได้รับบาดเจ็บจากการควบคุมตัวของผู้ถูกร้องอันเป็นการกระทำที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของผู้ร้องเกินสมควรแก่กรณี จึงเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และเพื่อเป็นการแก้ไขหรือป้องกันมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในลักษณะดังกล่าวขึ้นอีก จำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน กสม. จึงมีข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามอบหมายให้ ยธ. โดยคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) ดำเนินการต่อไป
                    3. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ กสม. ว่า เมื่อได้รับข้อเสนอแนะของ กสม. แล้ว ให้รายงานรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พิจารณาสั่งการให้มีหน่วยงานหลักรับข้อเสนอแนะของ กสม. ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้รายงานสรุปผลการพิจารณาในภาพรวมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ยธ. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) กพยช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้ ยธ. สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้ สลค. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ยธ. รายงานว่า ยธ. โดยสำนักงานกิจการยุติธรรม ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กพยช. ได้ประชุมหารือเพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะของ กสม. ตามข้อ 3. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กห. พม. มท. สคก. ตช. ศย. อส. สำนักงาน ป.ป.ส. และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 ซึ่งมีผลการพิจารณาสรุปในภาพรวมได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะของ กสม.          สรุปผลการพิจารณาในภาพรวม
          ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายให้ ยธ. โดย กพยช. ดำเนินการ ดังนี้
          1. หารือกับผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 เพื่อยกเลิกมาตรา 11/6 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 โดยให้ใช้วิธีสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หากมีความจำเป็นที่จะต้องสอบสวนขยายผลในคดียาเสพติด หรือมีเหตุจำเป็นอื่นที่ต้องขยายระยะเวลาการควบคุมตัวให้ผู้จับกุมหรือควบคุมตัวต้องร้องขอต่อศาลเพื่อพิจารณาถึงความจำเป็นที่จะต้องควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้เพื่อการสอบสวนหรือดำเนินการอื่น
          2. หารือกับผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาพุทธศักราช 2477 เพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 วรรคสาม1 เป็น ?ในกรณีที่ผู้ถูกจับไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราวและมีเหตุจำเป็นเพื่อทำการสอบสวนหรือการฟ้องคดีให้นำตัวผู้ถูกจับไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลา
ที่ผู้นั้นถูกจับ ...? (ตัดข้อความต่อไปนี้ออก ?ถูกนำตัวไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามมาตรา 83? คง ?เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ ... หรืออาจเรียกพยานหลักฐานมาเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้? ไว้)
          3. หารือกับผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 เพื่อแก้ไขพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 72 วรรคหนึ่ง เป็น ?ในกรณีที่พนักงานสอบสวนได้รับตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งถูกจับ ให้พนักงานสอบสวนนำตัวเด็กหรือเยาวชนไปศาลเพื่อตรวจสอบการจับกุมทันทีภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนถูกจับ? และให้ตัดข้อความต่อไปนี้ออก ?แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวเด็กหรือเยาวชนผู้ถูกจับจากที่ทำการของพนักงานสอบสวนมาศาลเข้าในกำหนดเวลายี่สิบสีชั่วโมงนั้นด้วย?

          1. ประเด็นที่ 1 (ข้อเสนอแนะของ กสม. ตามข้อ 1) การยกเลิกอำนาจการควบคุมตัวผู้ถูกจับในคดียาเสพติดไว้เพื่อสืบสวนสอบสวนได้เป็นเวลาไม่เกิน 3 วัน ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 โดยยกเลิกมาตรา 11/6 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 โดยให้ใช้วิธีสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
          2. ประเด็นที่ 2 (ข้อเสนอแนะของ กสม. ตามข้อ 2 และ 3) การแก้ไขการเริ่มนับระยะเวลาที่จะต้องนำตัวผู้ถูกจับกุมไปพบศาลเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกจับกุมที่จะได้พบศาลโดยพลัน โดยแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 วรรคสาม และพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 72 วรรคหนึ่ง
          หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องยกเลิกมาตราดังกล่าวในประเด็นที่ 1 และปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวในประเด็นที่ 2 โดยมีข้อเสนอแนะว่า
          1. ควรให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตระหนักและให้ความสำคัญกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นกลไกในการป้องกันการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
          2. ควรให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานสืบสวนสอบสวนโดยเปลี่ยนจากการสอบสวนที่ใช้การพิมพ์ไปสู่ระบบการบันทึกภาพและเสียงเพื่อช่วยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจส่งผลให้มีการปรับลดระยะเวลาในการควบคุมตัวในอนาคตต่อไป
          3. ควรให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 เพื่อพิจารณาว่ามาตราดังกล่าวยังคงมีความจำเป็นอยู่หรือไม่
1 มาตรา 87 วรรคสาม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บัญญัติให้ในกรณีที่ผู้ถูกจับไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว และมีเหตุจำเป็นเพื่อทำการสอบสวนหรือการฟ้องคดี ให้นำตัวผู้ถูกจับไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับถูกนำตัวไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามมาตรา 83 เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอย่างอื่นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ โดยให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังผู้ต้องหานั้นไว้ ให้ศาลสอบถามผู้ต้องหาว่าจะมีข้อคัดค้านประการใดหรือไม่ และศาลอาจเรียกพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมาชี้แจงเหตุจำเป็น หรืออาจเรียกพยานหลักฐานมาเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้

5. เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขอรับร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาพิจารณาก่อนรับหลักการ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
                    1. เห็นชอบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขอรับร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาพิจารณาก่อนรับหลักการ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ
                    2. ให้นำแนวทางดังกล่าวไปใช้กับร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... (นายศักดิ์ดา แสนมี่ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 12,888 คน เป็นผู้เสนอ) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สลค. เห็นว่า
                    1. ที่ผ่านมาข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีการกำหนดเกี่ยวกับกรณีที่คณะรัฐมนตรีจะขอรับร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาพิจารณาก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณารับหลักการ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติวันที่ 27 มกราคม 2523 วันที่ 16 สิงหาคม 2531 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2544 วันที่ 15 มีนาคม 2548 วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 วันที่ 24 สิงหาคม 2554 และวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 วางหลักเกณฑ์การดำเนินการตามข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา โดยกำหนดส่วนราชการที่รับผิดชอบ ตลอดจนวิธีการในการพิจารณาของส่วนราชการดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินการของคณะรัฐมนตรีทันเสนอสภาผู้แทนราษฎรภายในกำหนดเวลาที่คณะรัฐมนตรีขอรับร่างพระราชบัญญัติมาเพื่อพิจารณาก่อนรับหลักการ อันจะส่งผลให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่คณะรัฐมนตรีขอรับจากสภาผู้แทนราษฎรมาพิจารณาก่อนรับหลักการเป็นไปด้วยความรอบคอบ รวมทั้งให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมีความสอดคล้องกับทิศทางนโยบายของคณะรัฐมนตรีและกรอบของงบประมาณ โดยให้ สคก. เชิญผู้แทนกระทรวง ทบวง กรมที่เกี่ยวข้องกับร่างพระราชบัญญัตินั้น และผู้แทนของ สศช. และ สงป. มาร่วมพิจารณา แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
                    2. ปัจจุบันข้อ 118 วรรคหนึ่ง แห่งข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นผู้เสนอ ถ้าคณะรัฐมนตรีขอรับร่างพระราชบัญญัตินั้นไปพิจารณาก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะลงมติรับหลักการ เมื่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติก็ให้รอการพิจารณาไว้ก่อน แต่ต้องไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมีหลักการเช่นเดียวกับข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในอดีตที่ผ่านมา ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวของรัฐบาลเป็นไปด้วยความรอบคอบ รวมทั้งให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมีความสอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีและกรอบของงบประมาณ ตลอดจนสามารถดำเนินการได้ทันเสนอสภาผู้แทนราษฎรภายในกำหนดเวลาที่คณะรัฐมนตรีขอรับร่างพระราชบัญญัติมาเพื่อพิจารณาก่อนรับหลักการ จึงเห็นควรกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขอรับร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาพิจารณาก่อนรับหลักการเพื่อให้ส่วนราชการต่าง ๆ ถือปฏิบัติต่อไป ดังนี้
                              2.1 เมื่อสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติให้คณะรัฐมนตรีรับร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปพิจารณาก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะลงมติรับหลักการแล้ว ให้ สลค. ส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ สคก. พิจารณาดำเนินการโดยให้ สคก. เชิญผู้แทนกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้องกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาร่วมพิจารณาโดยด่วนให้แล้วเสร็จและเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรภายในกำหนดเวลาที่ขอรับมา ทั้งนี้ ให้ สลค. แจ้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ปสส.) ทราบด้วย
                              2.2 ให้ สคก. เชิญผู้แทน สศช. และ สงป. ร่วมพิจารณาด้วย เพื่อให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีความสอดคล้องกับทิศทางนโยบายของคณะรัฐมนตรีและกรอบของงบประมาณ

สภาผู้แทนราษฎร                    - อนุมัติให้คณะรัฐมนตรีรับร่างพระราชบัญญัติไปพิจารณาก่อนรับหลักการ
สลค.                                        - สลค. ส่งเรื่องให้ สคก. พิจารณาร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง สศช. และ สงป.                                         ได้ทันที โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายก่อน
สคก.                                        - จัดประชุมเพื่อพิจารณาร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง สศช. และ สงป. เพื่อ                                                  จัดทำความเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
สลค.                                         - นำผลการพิจารณาของ สคก. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี                              - พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ขอรับมาจากสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาก่อน                                        รับหลักการ โดยนำผลการพิจารณาของ สคก. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมา                                                  ประกอบการพิจารณา
สภาผู้แทนราษฎร และ ปสส.           - สลค. แจ้งมติคณะรัฐมนตรีให้สภาผู้แทนราษฎรและ ปสส. ทราบต่อไปภายใน                                                  กำหนดเวลาที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณาก่อนรับหลักการ

6. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                      คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ ดังนี้
                      1. รับทราบสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พร้อมผลการวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น
                       2. มอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงาน
                       สาระสำคัญของเรื่อง
                      สปน. รายงานว่า ได้จัดทำสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนที่มีมาถึงนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พร้อมผลการวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                      1. สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                               1.1 สถิติการแจ้งเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นของประชาชน ที่ยื่นเรื่องผ่านช่องทางการร้องทุกข์ 11111 รวมทั้งสิ้น 57,399 เรื่อง สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ จำนวน 51,204 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 89.21 และรอผลการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 6,195 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 10.79
                                 1.2 หน่วยงานที่ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น มากที่สุด 5 ลำดับแรก ดังนี้
                                         (1) ส่วนราชการ ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (5,198 เรื่อง)กระทรวงการคลัง (1,665 เรื่อง) กระทรวงคมนาคม (1,409 เรื่อง) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (1,035 เรื่อง) และกระทรวงสาธารณสุข (954 เรื่อง)
                                           (2) รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (777 เรื่อง) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (700 เรื่อง) การไฟฟ้านครหลวง (454 เรื่อง) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (426 เรื่อง) และการประปาส่วนภูมิภาค (345 เรื่อง)
                                          (3) จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (2,911 เรื่อง) จังหวัดนนทบุรี (818 เรื่อง) ปทุมธานี (721 เรื่อง) สมุทรปราการ (699 เรื่อง) และชลบุรี (624 เรื่อง)
                      2. การประมวลผลและวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สรุปได้ ดังนี้
                                2.1 สถิติจำนวนเรื่องร้องทุกข์เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่ผ่านมา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีเรื่องร้องทุกข์ จำนวน 57,399 เรื่อง น้อยกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 10,520 เรื่อง (มีเรื่องราวร้องทุกข์ จำนวน 67,919 เรื่อง)
                                2.2 ประเด็นเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด 10 ลำดับแรก ได้แก่
                                          (1) เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน เช่น การแสดงดนตรีสด การเปิดเพลงเสียงดังของร้านอาหารและสถานบันเทิง การรวมกลุ่มมั่วสุมดื่มสุรา สังสรรค์ช่วงเทศกาล รวม 5,785 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 5,607 เรื่อง (ร้อยละ 96.92)
                                          (2) ไฟฟ้า เช่น ขอให้ขยายเขตการให้บริการไฟฟ้า ขอให้ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างริมทาง ขอให้ลดอัตราค่าไฟฟ้า ขอให้ตรวจสอบการคิดอัตราค่าไฟฟ้าที่สูงกว่าปกติ ขอผันผ่อนการชำระค่าไฟฟ้า          รวม 3,575 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 3,309 เรื่อง (ร้อยละ 92.56)
                                         (3) การเมือง เช่น การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง               การลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี การจัดตั้งรัฐบาล นโยบายของพรรคการเมือง รวม 2,355 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 2,328 เรื่อง (ร้อยละ 98.85)
                                          (4) โทรศัพท์ เช่น การให้บริการทางโทรศัพท์ของหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งรอสายนาน มีการต่อสายไปยังหน่วยงานย่อยภายในหลายครั้ง และคู่สายเต็ม รวม 2,271 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 2,083 เรื่อง (ร้อยละ 91.72)
                                         (5) ประเด็นเกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น ขอให้แก้ไขปัญหามิจฉาชีพหลอกลวงประชาชนผ่านทางโทรศัพท์และทางออนไลน์ หลอกลวงให้โอนเงินซื้อสินค้า ให้ร่วมลงทุนทำธุรกิจ รวม 2,007 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 1,545 เรื่อง (ร้อยละ 76.98)
                                          (6) น้ำประปา เช่น ขอให้แก้ไขปัญหาน้ำประปาไม่ไหลหรือไหลอ่อน ขอให้ขยายเขตการให้บริการน้ำประปา ระบบท่อน้ำประปาแตกชำรุด น้ำประปาขุ่นและมีตะกอน รวม 1,716 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 1,637 เรื่อง (ร้อยละ 95.40)
                                         (7) ถนน เช่น ขอให้ปรับปรุงซ่อมแซมถนนชำรุด ทรุดตัว ซึ่งมีสาเหตุมาจากถนนมีอายุการใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน ถนนมีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อและมีน้ำท่วมขัง ขอให้ปรับปรุงถนนลูกรังเป็นถนนลาดยางแอสฟัลต์หรือถนนคอนกรีต รวม 1,622 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 1,409 เรื่อง (ร้อยละ 86.87)
                                         (8) ประเด็นเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง เสรีภาพ เช่น การขอความช่วยเหลือกรณีการถูกข่มขู่คุกคาม ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกหมิ่นประมาท รวม 1,432 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 1,294 เรื่อง (ร้อยละ 90.36)
                                          (9) ยาเสพติด เช่น การแจ้งเบาะแสแหล่งจำหน่ายยาเสพติด และแหล่งการเสพยาเสพติด ประเภทยาบ้าและยาไอซ์ รวม 1,334 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 1,246 เรื่อง (ร้อยละ 93.40)
                                          (10) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น ขอให้นำช้างไทยกลับจาก สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ไม่ควรนำหมีแพนด้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เข้ามาในประเทศไทย รวม 1,231 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 803 เรื่อง (ร้อยละ 65.23)
                       3. ข้อจำกัด ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ ดังนี้
                               3.1 การยื่นเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ประชาชนเลือกใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่องทางไลน์สร้างสุข (@PSC1111) ซึ่งเป็นช่องทางที่เข้าถึงได้ง่ายและสะดวกมากที่สุด ประชาชนจึงมีความคาดหวังต่อการแก้ไขปัญหา และการได้รับแจ้งผลความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง จากการประมวลผลข้อมูลพบว่า การแก้ไขปัญหาจากบางหน่วยงานยังมีความล่าช้า ไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด บางหน่วยงานไม่แจ้งผลความคืบหน้าการดำเนินการให้ผู้ร้องทราบเป็นระยะ ส่งผลให้ประชาชนยื่นเรื่องร้องทุกข์ไปยังหลายหน่วยงาน
                                3.2 ปัจจุบันหน่วยงานส่วนใหญ่มีระบบสารสนเทศที่ใช้ในการบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ที่ใช้เป็นการเฉพาะของแต่ละหน่วยงาน ส่งผลให้ข้อมูลเรื่องร้องทุกข์มีความซ้ำซ้อน กระจัดกระจาย มีรูปแบบการรายงานผลที่แตกต่างกัน ขาดการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเรื่องร้องทุกข์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนยังไม่มีประสิทธิภาพและไม่สะท้อนภาพรวมของประเทศอย่างแท้จริง
                               3.3 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเด็นปัญหาที่มีประชาชนร้องเรียน/ร้องทุกข์มากที่สุด คือ ปัญหาเสียงดังรบกวน จำนวน 5,785 เรื่อง ซึ่งเกิดจากสาเหตุ เช่น เสียงดังจากสถานบันเทิง ร้านอาหาร สถานประกอบการ การก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ซึ่งเป็นมลพิษทางเสียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต        การเรียนรู้ และการทำงานของประชาชน จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า เมื่อประชาชนได้แจ้งเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ดังกล่าวไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว เจ้าหน้าที่ไม่สามารถไปตรวจสอบที่เกิดเหตุได้ในทันที หรือเมื่อไปถึงสถานที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ใช้วิธีการไกล่เกลี่ยมากกว่าการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังขาดอุปกรณ์เครื่องมือในการตรวจวัดระดับความดังของเสียง จำนวนบุคลากรที่ไม่เพียงพอ และมีบทลงโทษผู้กระทำผิดไม่รุนแรง ทำให้ผู้ประกอบการขาดความตระหนักถึงผลกระทบของการอยู่ร่วมกันในสังคม จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหายังคงเกิดขึ้นซ้ำบ่อยครั้ง อีกทั้งปัญหาดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานและกฎหมายหลายฉบับ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว โดยขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการของสถานบันเทิงใน 4 พื้นที่ท่องเที่ยว นำร่องถึงเวลา 04.00 น. ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดชลบุรี เชียงใหม่ และภูเก็ต ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีการร้องทุกข์เกี่ยวกับปัญหาเสียงดังจากสถานบันเทิงจำนวนมาก จึงอาจส่งผลให้มีการร้องเรียน/ร้องทุกข์ในปัญหาดังกล่าวเพิ่มขึ้นด้วย
                      4. ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงาน
                               4.1 กรณีการแก้ไขปัญหาของประชาชนมีความล่าช้า ควรกำหนดให้หน่วยงานระดับกระทรวงเชื่อมโยงฐานข้อมูลเรื่องร้องทุกข์กับศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111 ให้ครบถ้วนภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ เพื่อประกาศเป็นข้อตกลงระดับการให้บริการ (Service Level Agreement: SLA) ให้ประชาชนทราบ
                                4.2 กรณีเรื่องร้องเรียนที่เป็นเรื่องสำคัญและมีผลกระทบกับประชาชนในวงกว้าง ควรมีการดำเนินการเป็นเฉพาะเรื่อง และใช้กลไกของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนที่ได้รับผลกระทบมาร่วมแก้ไขปัญหา แยกเป็นรายประเด็น
                               4.3 กรณีเสียงดังรบกวนจากสถานบันเทิง เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดรูปแบบ/แนวทาง/ กระบวนงาน/ขั้นตอนในการระงับเหตุ หรือการแก้ไขปัญหาเสียงดังรบกวนของสถานบันเทิง ใน 4 พื้นที่ท่องเที่ยวนำร่อง และขอความร่วมมือให้รายงานสรุปผลการดำเนินการให้ สปน. ทราบทุกไตรมาส เพื่อจะได้นำกราบเรียนนายกรัฐมนตรีต่อไป
1 ได้แก่ (1) สายด่วนของรัฐบาล 1111 (2) ตู้ ปณ. 1111/ไปรษณีย์/โทรสาร (3) ไลน์สร้างสุข (@PSC1111) (4) โมบายแอปพลิเคชัน PSC 1111 (5) จุดบริการประชาชน 1111 และ (6) เว็บไซต์ (www.1111.go.th)

7. เรื่อง รายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า       (30 บาทรักษาทุกโรค) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    สธ.รายงานว่า
                    1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 เห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเร่งรัดการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อยกระดับการดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค) โดยด่วนเพื่อพิจารณาการดำเนินการปรับปรุงระบบสาธารณสุขของประเทศไทยให้มีความทันสมัย มีประสิทธิภาพ และสามารถให้บริการการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น นั้น โดยที่การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นเรื่องเร่งด่วนตามนโยบายด้านการสาธารณสุขของรัฐบาลที่ประชาชนให้ความสนใจและรอคอยการดำเนินการอยู่จึงขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเร่งรัด ติดตาม และรายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ทั้งในส่วนที่สามารถดำเนินการได้ในระยะต้นและในส่วนที่จะดำเนินการในระยะต่อไป ต่อคณะรัฐมนตรีภายใน     2 สัปดาห์ (ภายในวันที่ 10 ตุลาคม 2566) ทั้งนี้ ให้ประชาสัมพันธ์ให้สื่อมวลชนและประชาชนได้ทราบโดยทั่วกันตามความจำเป็นเหมาะสมด้วย
                    2. ความคืบหน้าโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ในส่วนของการดำเนินการยกระดับ ?นโยบาย       30 บาทรักษาทุกโรค? ซึ่งได้มีการกำหนดเป้าหมาย แนวทางพัฒนา กิจกรรมตัวขี้วัดระยะ 100 วัน (ในระยะต้น) และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ระยะต่อไป) โดยมีผลการดำเนินงาน (ข้อมูล ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2566) สรุปสาระสำคัญ เช่น
หัวข้อ          สาระสำคัญ
(1) เป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากขึ้นประชาชนไม่ต้องลำบากเดินทางไกล          1) ด้านดิจิทัลสุขภาพ
          1.1) บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่
ระยะ          ผลการดำเนินการ
ระยะสั้น
4 จังหวัด นำร่อง ได้แก่ แพร่ เพชรบุรี ร้อยเอ็ด และนราธิวาส
ประชาชนขึ้นทะเบียนแล้ว 583,159 คน
ระยะต่อไป
ร้อยละ 100 โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) เชื่อมโยงข้อมูลระเบียนสุขภาพส่วนบุคคลและส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยแบบอิเล็กทรอนิกส์ภายใน 12 เขตสุขภาพ

-
          1.2) โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital)
ระยะ          ผลการดำเนินการ
ระยะสั้น
โรงพยาบาลในสังกัด สป.สธ. ผ่านเกณฑ์การประเมิน smart hospital ระดับเงิน จำนวน 200 แห่ง
อยู่ระหว่างการประเมิน

ระยะต่อไป
โรงพยาบาลในสังกัด สป.สธ. ผ่านเกณฑ์การประเมิน smart hospital ระดับเงินร้อยละ 50 จำนวน 450 แห่ง          -
2) การพัฒนาการแพทย์ปฐมภูมิ
          2.1) การนัดหมอจากบ้าน นัดคิวออนไลน์ และบริการ Telehealth
ระยะ          ผลการดำเนินการ
ระยะสั้น
นัดหมายพบแพทย์ ตรวจเลือด รับยาใกล้บ้าน 1 จังหวัด 1 โรงพยาบาล
ดำเนินการแล้ว
ทั้ง 76 จังหวัด
ระยะต่อไป
ผู้รับบริการตามนโยบายบริการปฐมภูมิไปที่ไหนก็ได้ (OP anywhere) จำนวน 5,854,015 ครั้ง          -
          2.2) Smart อสม.
ระยะ          ผลการดำเนินการ
ระยะสั้น
ปรับปรุงแอปพลิเคชัน Smart อสม.
ดำเนินการแล้ว
ระยะต่อไป
อสม. มีศักยภาพจัดบริการปฐมภูมิขั้นพื้นฐานโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ร้อยละ 65          -

(2) เป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ และคุณภาพ          1) พัฒนาศักยภาพการวินิจฉัยด้วย CT Scan และ MRI
ระยะ          ผลการดำเนินการ
ระยะสั้น
โรงพยาบาลระดับ A (โรงพยาบาลขนาด 500 เตียงขึ้นไป ที่มีขีดความสามารถรองรับผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาที่ยุ่งยาก ซับซ้อน) อนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างเหมาบริการ CT Scan 12 เครื่อง
ดำเนินการแล้ว 9 เครื่อง
ระยะต่อไป
โรงพยาบาลระดับ A จะอนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างเหมาบริการ CT Scan ร้อยละ 100          -
2) การสร้างขวัญและกำลังใจ
ระยะ          ผลการดำเนินการ
ระยะสั้น
บรรจุตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ 3,000 อัตรา
บรรจุแล้ว 2,210 อัตรา
ระยะต่อไป
ลดขั้นตอน/ภาระงาน บุคลากรทางการแพทย์          -
3) การจัดตั้งโรงพยาบาลกรุงเทพมหานคร 50 เขต 50 โรงพยาบาลและปริมณฑล
ระยะ          ผลการดำเนินการ
ระยะสั้น
จัดตั้งโรงพยาบาล 120 เตียงในเขตดอนเมือง/อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่



- ยกระดับโรงพยาบาลทหารอากาศ (สีกัน) เป็นโรงพยาบาลเขตดอนเมือง ขนาด 120 เตียง
- ยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุข 60 รสสุคนธ์ มโนชญากร เป็นโรงพยาบาลผู้ป่วยนอกเฉพาะทาง โดยมีโรงพยาบาลราชวิถี 2 เป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อ
- เปิดบริการ OPD ในโรงพยาบาลราชวิถีนครพิงค์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ระยะต่อไป
โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ
- กทม. รับผู้ป่วยได้ 25 เตียง
- อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รับผู้ป่วยใน อายุรกรรม/ศัลยกรรมทั่วไป เปิดบริการ OPD เวชศาสตร์ฟื้นฟู
-
4) การพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้ต้องขัง ในโครงการราชทัณฑ์ปันสุขฯ
ระยะ          ผลการดำเนินการ
ระยะสั้น
เครือข่ายราชทัณฑ์ปันสุขฯ ต้นแบบครบทั้ง 12 เขตสุขภาพ
ดำเนินการแล้ว
ระยะต่อไป
- ผู้ต้องขังได้รับบริการสุขภาพตามมาตรฐานตามสิทธิประโยชน์ จำนวน 307,800 ครั้ง
- ร้อยละ 90 ของเรือนจำ มีระบบรักษาพยาบาลตามมาตรฐานขั้นต่ำ
-

(3) เป้าหมายการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูและการดูแลระยะสุดท้าย          1) สถานชีวาภิบาล
ระยะ          ผลการดำเนินการ
ระยะสั้น
จัดตั้งสถานชีวาบาลจังหวัดละ 1 แห่ง รวม 76 จังหวัด เป้าหมายร้อยละ 80
เปิดดำเนินการแล้ว
44 จังหวัด (ร้อยละ 58)
ระยะต่อไป
จัดตั้ง Hospital at Home/Home Ward จังหวัดละ 1 แห่ง และมีคลินิกผู้สูงอายุในโรงพยาบาลทุกระดับ
-
2) สุขภาพจิตและยาเสพติด
ระยะ          ผลการดำเนินการ
ระยะสั้น
- จัดตั้งศูนย์มินิธัญญารักษ์ ทุกจังหวัด
- มีหอผู้ป่วยจิตเวชทุกจังหวัดในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ทั้งหมด 127 แห่ง
- มีกลุ่มงานจิตเวชทุกอำเภอในโรงพยาบาลชุมชน 776 แห่ง
ดำเนินการแล้ว 42 จังหวัด
ดำเนินการแล้ว 69 แห่ง


ดำเนินการแล้ว 626 แห่ง
ระยะต่อไป
ร้อยละ 100 ของมินิธัญญารักษ์ได้รับการติดตาม ประเมิน รับรองคุณภาพมาตรฐานตามที่ สธ. กำหนด
-
3) เศรษฐกิจสุขภาพ
ระยะ          ผลการดำเนินการ
ระยะสั้น
มี Blue Zone ต้นแบบเมืองสุขภาพดี วิถีชุมชน คนอายุยืน จำนวน 19 แห่ง
ดำเนินการแล้ว 1 แห่ง

ระยะต่อไป
มี Healthy Cities MODELs จังหวัดละ 1 แห่ง
-
4) วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกฟรี
ระยะ          ผลการดำเนินการ
ระยะสั้น
ฉีดวัคซีน HPV ในหญิงอายุ 11 - 20 ปี 1 ล้านโดส
ฉีดแล้ว 807,604 โดส
ระยะต่อไป
หญิงอายุ 11 - 20 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก จำนวน 1,747,000 โดส
-

                    3. สธ. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน)           ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 258/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่           3 ตุลาคม 2566 โดยในคราวประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2566 ที่ประชุมมีมติให้เร่งขยายพื้นที่การดำเนินการบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ เพิ่มจาก 4 จังหวัดนำร่อง [ตามตารางในข้อ 2 (1) 1)] ให้เร็วที่สุด และหากจังหวัดใดมีความพร้อมเพียงพอให้เริ่มดำเนินการระยะที่ 2 ทันที โดยต้องเชื่อมโยงข้อมูลระบบเข้าด้วยกัน

8. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนาได้ พ.ศ. 2562 และการออกหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง เพื่อสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนาได้ พ.ศ. 2562 และการออกหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง เพื่อสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอและแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. กสม. ได้รับข้อเสนอแนะจากผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานเพื่อผู้ลี้ภัยเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการพิจารณาคัดกรองคำขอเป็นผู้ได้รับความคุ้มครองตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนาได้        พ.ศ. 2562 และเรื่องร้องเรียนกรณีขอให้มีการพัฒนากระบวนการคัดกรองบุคคลไร้สัญชาติที่เกิดในประเทศไทยเพื่อมิให้ถูกจับกุมและกักตัวโดยละเมิดสิทธิมนุษยชน
                    2. กสม. ได้ประชุมหารือและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและนักวิชาการที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวและประกาศคณะกรรมการพิจารณาคัดกรองผู้ได้รับการคุ้มครอง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการพิจารณาคัดกรองคำขอเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง ลงวันที่ 14 มีนาคม 2566 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขหลายประการ (เช่น คนต่างด้าวที่มีมาตรการหรือกระบวนการดำเนินการรองรับเป็นการเฉพาะจะเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ) ที่ไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน (ใช้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม) จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และได้มีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว และการออกหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนต่อคณะรัฐมนตรี
                    3. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ กสม. ว่า เมื่อได้รับข้อเสนอแนะของ กสม. แล้ว ให้รายงานรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พิจารณาสั่งการให้มีหน่วยงานหลักรับข้อเสนอแนะของ กสม. ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้รายงานสรุปผลการพิจารณาในภาพรวมต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น ได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ตช. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้ ตช. สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้ สลค. ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ตช. รายงานว่า ได้ประชุมหารือเพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะของ กสม. (ตามข้อ 3) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กต. มท. ยธ. รง. สมช. สคก. และ อส. แล้ว เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 ซึ่งมีผลการพิจารณาสรุปในภาพรวมได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะของ กสม.          สรุปผลการพิจารณาในภาพรวม
ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1. ให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการพิจารณาคัดกรองผู้ได้รับการคุ้มครอง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการพิจารณาคัดกรองคำขอเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง ลงวันที่ 14 มีนาคม 2566 ข้อ 2 และข้อ 51 โดยไม่นำคุณสมบัติเกี่ยวกับการเป็นคนต่างด้าวที่ มท. มีมาตรการหรือกระบวนการดำเนินการรองรับเป็นการเฉพาะ และการเป็นแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ที่คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดมาตรการหรือกระบวนการดำเนินการรองรับเป็นการเฉพาะ หรือที่คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดเพิ่มเติมมาตัดสิทธิในการยื่นคำร้องขอรับสิทธิเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง และคำขอเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง แต่จะต้องพิจารณาจากเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลนั้นจะได้รับอันตรายจากการถูกประหัตประหารเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพื่อมิให้ขัดต่อหลักการห้ามผลักดันส่งกลับไปสู่อันตราย          เห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการฯ ข้อ 2 และข้อ 5 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ข้อ 5 ข้อ 17 และข้อ 18 เนื่องจากปัจจุบันยังไม่ได้เริ่มดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ โดยเห็นควรดำเนินการ ดังนี้
1. ให้มีการดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ประกาศและข้อกำหนดคณะกรรมการฯ นั้นไปสักระยะเวลาหนึ่งก่อน เพื่อรับทราบปัญหาและอุปสรรค
2. ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ตช. ซึ่งทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่และอำนาจรวบรวม ศึกษา วิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการดำเนินงานตามระเบียบนี้ ตลอดจนจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขและป้องกันปัญหาเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการฯ ทั้งนี้ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ข้อ 14 (3) และให้รับข้อเสนอแนะของ กสม. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
2. ให้แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนฺตรีว่าด้วยการคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนาได้ พ.ศ. 2562 ข้อ 17 ให้สามารถอุทธรณ์ผลการพิจารณาคำร้องขอรับสิทธิเป็นผู้ได้รับการคุ้มครองต่อคณะกรรมการฯ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาเนื่องจากคนต่างด้าวอาจมีข้อจำกัดในการยื่นอุทธรณ์ เช่น ข้อจำกัดด้านภาษา กฎหมาย หรือการจัดเตรียมเอกสารประกอบ การอุทธรณ์การกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ 15 วัน อาจไม่เพียงพอ โดยอาศัยเทียบเคียงกับระยะเวลาการอุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลปกครองตามมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองและเป็นไปตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 21/2564 ที่เห็นว่า การกำหนดระยะเวลาในการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองไว้เพียง 15 วัน เป็นการให้น้ำหนักแก่หลักความมั่นคงแห่งนิติฐานะของคำสั่งทางปกครองมากกว่าหลักการคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่ถูกกระทบจากคำสั่งทางปกครอง และเป็นระยะเวลาที่สั้นเกินไปอาจทำให้ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายเสียสิทธิอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครอง และส่งผลกระทบต่อการใช้สิทธิทางศาล หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสมควรพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 44 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2566 (เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ประจำปี พ.ศ. 2564) มอบหมายให้ สคก. ศึกษาเกี่ยวกับระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง เพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ตามข้อเสนอแนะของศาสรัฐธรรมนูญด้วยแล้ว
3. ให้แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ข้อ 18 โดยกำหนดให้มีข้อยกเว้นกรณีคนต่างด้าวมีเหตุผลและความจำเป็นที่ไม่ได้ยื่นคำขอเป็นผู้ใด้รับการคุ้มครองต่อคณะกรรมการๆ ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง เนื่องจากการพิจารณาให้ความคุ้มครองแก่คนต่างด้าวจะต้องพิจารณาจากเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจะได้รับอันตรายจากการถูกประหัตประหารเป็นสำคัญ
4. ให้แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ข้อ 5 องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ โดยกำหนดให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นอีก จำนวน 6 คน จากภาคประชาสังคมและนักวิชาการ อย่างละ 3 คน เพื่อให้มีสัดส่วนสมดุลกับกรรมการโดยตำแหน่ง สำหรับตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการฯ รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างรอบด้าน
1 อาศัยอำนาจตามความในข้อ 9 (1) และข้อ 20 วรรคหนึ่งของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ

9. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการคุ้มครองสิทธิเด็ก กรณีการเข้าถึงบริการสุขภาพของทารกที่คลอดก่อนกำหนด
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการคุ้มครองสิทธิเด็ก กรณีการเข้าถึงบริการสุขภาพของทารกที่คลอดก่อนกำหนด ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นว่า ปัญหาเกี่ยวกับระบบการส่งต่อทารกที่คลอดก่อนกำหนดส่งผลกระทบต่อสิทธิเด็กในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิในการอยู่รอดและการพัฒนารวมถึงสิทธิในการเข้าถึงการบริการสุขภาพ จึงมีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองเด็กและสิทธิด้านสุขภาพเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ            ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้เสนอรายงานสรุปผลการพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อข้อเสนอแนะดังกล่าว สรุปได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษชนแห่งชาติ          สรุปผลการพิจารณา
1. ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทารกคลอดก่อนกำหนดให้สามารถเบิกได้และสอดคล้องกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง เพื่อโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่ต้องส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐและโรงพยาบาลของรัฐที่ดูแลทารกดังกล่าวไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนเกินที่ไม่สามารถเบิกได้          ? สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอยู่ระหว่างการรวบรวมและพิจารณาข้อเท็จจริงของปัญหาการดูแลรักษาทารกที่คลอดก่อนกำหนด และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพิจารณาทางเลือกวิธีการและอัตราจ่าย และจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. ให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาบุตรของแรงงานข้ามชาติที่ไม่สามารถซื้อประกันสุขภาพได้ เพื่อให้เด็กกลุ่มนี้เข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็น


          ? กระทรวงสาธารณสุขได้มีแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว          พ.ศ. 2562 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 ซึ่งมีการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพให้แก่แรงงานต่างด้าว พร้อมผู้ติดตามทุกรายไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทย
3. ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดสรรอุปกรณ์/เครื่องมือเฉพาะที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดให้เพียงพอ และพิจารณาเพิ่มอัตรากำลังบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในโรงพยาบาลของรัฐให้สอดคล้องกับจำนวนทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่รับไว้ดูแล


          กระทรวงสาธารณสุขได้สำรวจอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และบุคลากรรวมถึงเครือข่ายระบบส่งต่อแล้ว พบว่า ปัจจุบันมีสัดส่วนเตียงทารกแรกเกิดวิกฤตต่อเครื่องมือ/อุปกรณ์ต่าง ๆ มีความเพียงพอมากขึ้น ส่วนด้านอัตรากำลังของบุคลากรที่เชี่ยวชาญในการดูแลทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลของรัฐยังขาดแคลน และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญทารกแรกเกิดยังมีจำนวนน้อย เนื่องจากปัญหาการฝึกอบรมใช้เวลานานกว่า 4 เดือน และต้องใช้ครูพยาบาลจำนวนมากจึงควรสนับสนุนทั้งในด้านการผลิตบุคลากรเพิ่ม และการให้ความก้าวหน้าในวิชาชีพอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขอยู่ ระหว่างวางแผนเพิ่มศักยภาพการฝึกอบรมทั้งกุมารแพทย์อยู่ระหว่างวางแผนเพิ่มศักยภาพการฝึกอบรมทั้งกุมารแพทย์ทารกแรกเกิดและพยาบาลผู้เชี่ยวชาญทารกแรกเกิด
4. ให้กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติบูรณาการระบบการส่งต่อทารกที่คลอดก่อนกำหนดระหว่างโรงพยาบาลของรัฐและโรงพยาบาลเอกชนให้มีขีดความสามารถในการดูแลรักษาทารกกลุ่มนี้โดยเร็วและอาจพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์ขยายระยะเวลาการดูแลทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่อยู่ในภาวะวิกฤติให้ได้รับการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ          1. กระทรวงสาธารณสุขได้สร้างระบบเครือข่ายการส่งต่อผู้ป่วยทารกแรกเกิดไว้ทั้งในและนอกเขตสุขภาพแล้ว ส่วนการบูรณาการกับโรงพยาบาลเอกชนอยู่ระหว่างการหารือร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
2. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพร้อมที่จะเป็นศูนย์ประสานการส่งต่อ และจัดระบบการส่งต่อทั้งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล พร้อมทั้งได้จัดเตรียมสถานพยาบาลที่สำรองเตียงสำหรับการดูแลทารกที่คลอดก่อนกำหนดไว้แล้ว



10. เรื่อง ขออนุมัติการเพิ่มวงเงินในสัญญา รายการทำนบดินหัวงานและอาคารประกอบ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำเฮี้ย จังหวัดเพชรบูรณ์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการเพิ่มวงเงินในสัญญา รายการทำนบดินหัวงานและอาคารประกอบ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำเฮี้ย จังหวัดเพชรบูรณ์ จากวงเงินที่แก้ไขเพิ่มเติม 238.56 ล้านบาท เป็นวงเงิน 265.20 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                    สำหรับวงเงินงบประมาณที่เพิ่มขึ้นจากสัญญาดังกล่าว จำนวน 26,639,764.28 บาท เห็นควรให้กรมชลประทานพิจารณาใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ          พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน เพื่อมาดำเนินการเป็นลำดับแรก โดยให้จัดทำแผนรายละเอียดการจ่ายเงินให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ขอให้กรมชลประทานดำเนินการตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการเป็นสำคัญด้วย ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติการเพิ่มวงเงินในสัญญา รายการทำนบดินหัวงานและอาคารประกอบ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำเฮี้ย จังหวัดเพชรบูรณ์ จากวงเงินก่อสร้างตามสัญญาที่แก้ไขเพิ่มเติม1 จำนวน 238.56 ล้านบาท เป็นวงเงิน จำนวน 265.20 ล้านบาท (อยู่ภายในกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ 361 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 26.64 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.17 ของวงเงินก่อสร้างตามสัญญาที่แก้ไขเพิ่มเติม เนื่องจากสัญญาก่อสร้างโครงการดังกล่าวเป็นสัญญาก่อสร้างลักษณะจ่ายเงินค่าจ้างตามปริมาณงานที่ทำจริง (Unit Price Contract) โดยเมื่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงปริมาณงานไปจากสัญญาที่กำหนดไว้ เช่น มีบางรายการวงเงินเพิ่มขึ้น มีบางรายการวงเงินลดลงซึ่งลักษณะของการทำสัญญาประเภทนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (9 กันยายน 2529) กำหนดให้ส่วนราชการต่าง ๆ ทำสัญญาได้ภายในวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ แต่หากต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นตามปริมาณงานที่ทำจริงซึ่งเกินกว่าร้อยละ 10 ของค่าจ้างก่อสร้างแล้ว จะต้องเสนอขอรับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อนทุกครั้ง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติการเพิ่มวงเงินในสัญญาในลักษณะทำนองเดียวกันนี้มาแล้ว เช่น ในกรณีของรายการทำนบดินหัวงานและอาคารประกอบ โครงการอ่างเก็บน้ำแม่สะลวม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
1 เดิมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ลงนามในสัญญาก่อสร้างโครงการฯ วงเงิน 222.09 ล้านบาท และต่อมาได้มีการแก้ไขสัญญาดังกล่าว โดยเพิ่มวงเงินเป็น 238.56 ล้านบาท ซึ่งยังอยู่ในกรอบวงเงิน (361 ล้านบาท) ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่        10 ตุลาคม 2560

11. เรื่อง มาตรการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการใช้จ่าย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างและอัตราภาษีสรรพสามิตตอนที่ 13 สินค้าสุรา และการปรับปรุงโครงสร้างและอัตราภาษีสรรพสามิตตอนที่ 17 กิจการบันเทิงหรือหย่อนใจ และอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
                    2. เห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างภาษีศุลกากรสินค้าไวน์ และร่างประกาศกระทรวงการคลัง            เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..)
                    3. รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการของ กค. เรื่อง การปรับปรุงหลักเกณฑ์การตรวจสินค้าเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT Refund for Tourists) ของนักท่องเที่ยวเพื่อลดปริมาณนักท่องเที่ยวที่ต้องเข้าคิวเพื่อแสดงสินค้าในกระบวนการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    มาตรการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายที่กระทรวงการคลังเสนอ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศและภาพลักษณ์การเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยว (Tourist Destination) หรือเป็นศูนย์กลาง (Hub) ด้านร้านอาหารและภัตตาคารที่มีคุณภาพหลากหลายและมีจุดแข็งด้านราคาในระดับภูมิภาค นำไปสู่การเพิ่มค่าการใช้จ่ายบริโภคต่อหัวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวไทยทุกระดับ และเพิ่มสัดส่วนนักท่องเที่ยวคุณภาพสูงได้อย่างยั่งยืน โดยเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่        21 พฤศจิกายน 2566 และวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ประกอบด้วย 2 มาตรการ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
                    1. การปรับปรุงโครงสร้างและอัตราภาษีสรรพสามิตและภาษีประเภทอื่นรวมทั้งปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนภาคการท่องเที่ยว โดยกระทรวงการคลัง (กรมสรรพสามิต) ได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญดังนี้
                              1.1 การปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิตตอนที่ 13 สินค้าสุรา
                                        1.1.1 สุราแช่ชนิดไวน์และสปาร์กลิ้งไวน์ที่ทำจากองุ่น (Wine) ยกเลิกการจัดเก็บภาษีจากการแบ่งชั้นของราคา (Price Tier) และกำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีเป็นอัตราเดียว (Unitary Rate) โดยปรับอัตราภาษีให้มีอัตราภาษีตามมูลค่าที่ร้อยละ 5 และอัตราภาษีตามปริมาณที่ 1,000 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ทั้งนี้ เพื่อให้อยู่ภายใต้หลักการที่สินค้าชนิดเดียวกัน ส่งผลต่อสุขภาพเหมือนกัน ควรมีการจัดเก็บภาษีในอัตราเดียวกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความเท่าเทียม เป็นธรรม เป็นมาตรฐานสากล และสอดรับกับมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวของรัฐบาล
                                        1.1.2 สุราแช่ผลไม้ที่มีส่วนผสมขององุ่นหรือไวน์องุ่น (Fruit Wine) ยกเลิกการจัดเก็บภาษีจากการแบ่งชั้นของราคา (Price Tier) และกำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีเป็นอัตราเดียว (Unitary Rate) โดยปรับอัตราภาษีให้มีอัตราภาษีตามมูลค่าที่ร้อยละ 0 และอัตราภาษีตามปริมาณที่ 900 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ (การปรับโครงสร้างภาษีครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบกับผู้ประกอบอุตสาหกรรมและผู้นำเข้า เนื่องจากสินค้า Fruit Wine เกือบทั้งหมด มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 1,000 บาท ซึ่งมีอัตราภาษีตามมูลค่าที่ร้อยละ 0 และอัตราภาษีตามปริมาณที่ 900 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์อยู่แล้ว)
                                        1.1.3 สุราแช่ชนิดอื่น ๆ อาทิ สุราพื้นบ้าน สุราโซจูประเภทสุราแช่ที่มีการนำสุรากลั่นมาผสม รวมถึงสุราประเภทอื่น ๆ เช่น สุราที่หมักจากไวน์ผลไม้ที่ไม่มีองุ่นผสม หรือสุราแช่ที่ทำจากมอลต์แต่ไม่มีฮอปเป็นส่วนผสม จากเดิมจัดเก็บภาษีอัตราตามมูลค่าร้อยละ 10 และอัตราตามปริมาณ 150 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ให้มีการกำหนดอัตราภาษีโดยจำแนกพิกัดอัตราภาษีประเภทย่อย ดังนี้
                                        (1) อุ กระแช่ สาโท สุราแช่พื้นบ้านอื่น และสุราแช่ที่ใช้วัตถุดิบเป็นข้าวที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 7 ดีกรี โดยกำหนดอัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 1.0 และอัตราภาษีตามปริมาณ 150 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ เพื่อเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบอุตสาหกรรมสุราแช่พื้นบ้าน เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรตลอดจนเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีอำนาจในการแข่งขันมากขึ้น
                                        (2) สุราแช่ ที่มีการผสมสุรากลั่นและมีแรงแอลกอฮอล์เกินกว่า 7 ดีกรี โดยกำหนดอัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 1.0 และอัตราภาษีตามปริมาณ 255 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ เพื่อรองรับกับสินค้าสุราที่มีการใช้นวัตกรรมใหม่ในการผลิต
                                        (3) สุราแช่อื่น ๆ นอกจาก (1) และ (2) โดยกำหนดอัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 10 และอัตราภาษีตามปริมาณ 150 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
                                        1.1.4 สุราแช่ที่มิใช่เพื่อการค้า ได้มีการปรับโครงสร้างและอัตราภาษีให้สอดคล้องกับการปรับโครงสร้างภาษีและอัตราภาษีในครั้งนี้ โดยกำหนดให้มีอัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 0 และอัตราภาษีตามปริมาณเท่ากับอัตราภาษีของสินค้าสุราแช่เพื่อการค้าตามที่กล่าวมาข้างต้น
                              1.2 การปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิตตอนที่ 17 กิจการบันเทิงหรือหย่อนใจ
                              ปรับอัตราภาษีสำหรับสถานบริการตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ 17.01 กิจการบันเทิงหรือหย่อนใจ ได้แก่ ไนต์คลับ ดิสโกเธค ผับ บาร์ ค็อกเทลเลาจน์ โดยให้หมายรวมถึงสถานที่ที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิงซึ่งเปิดทำการหลังเวลา 24.00 น. โดยปรับลดอัตราภาษีตามมูลค่าจากอัตราร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 5 เป็นระยะเวลา ประมาณ 1 ปี ตั้งแต่กฎหมายมีผลบังคับใช้ (ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา) ถึง 31 ธันวาคม 2567 เพื่อกระตุ้นให้กิจการสถานบันเทิงที่เคยปิดตัวไปช่วงโควิด กลับมาเปิดทำการได้ และส่งเสริมการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับนโยบายขยายเวลาปิดเป็น 04.00 น. ของกระทรวงมหาดไทยด้วย
                              1.3 การปรับปรุงโครงสร้างภาษีศุลกากรสินค้าไวน์ โดยกระทรวงการคลัง(กรมศุลกากร)     ได้เสนอร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) โดยมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงโครงสร้างภาษีศุลกากรสินค้าไวน์ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิต โดยยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าไวน์ในประเภทพิกัด 22.04     (ไวน์ที่ทำจาก องุ่นสด และเกรปมัสต์) และ 22.05 (เวอร์มุทและไวน์อื่น ๆ ที่ทำจากองุ่นสด ปรุงกลิ่นรสด้วยพืชหรือสารหอม) รวม 21 รายการ (เดิม จำนวน 6 ประเภทย่อย ได้รับการลดอัตราอากรจากร้อยละ 60 เหลือร้อยละ 54 โดยร่างประกาศ กค. ให้เพิ่มสินค้าอีก 15 ประเภทย่อย ตามพิกัดในพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2564 ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า)
                    2. การปรับปรุงหลักเกณฑ์การตรวจสินค้าเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของนักท่องเที่ยว (VAT Refund for Tourists) เพื่อลดปริมาณนักท่องเที่ยวที่ต้องเข้าคิวเพื่อแสดงสินค้าในกระบวนการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
                        กรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) เรื่อง กำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 และให้มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การตรวจสินค้าเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ สรุปได้ดังนี้
                              2.1 การปรับเพิ่มวงเงินซื้อสินค้าที่ต้องแสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากรจากเดิมตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป เป็น 20,000 บาทขึ้นไป ซึ่งจะลดจำนวนนักท่องเที่ยวที่ต้องแสดงสินค้าลงจาก 1.2 แสนรายต่อปี เหลือประมาณ 30,000 รายต่อปี หรือลดลงประมาณร้อยละ 75
                              2.2 การปรับเพิ่มมูลค่าสินค้าที่ต้องนำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานสรรพากร 9 รายการ (Luxury Goods) ได้แก่ เครื่องประดับ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา ปากกา สมาร์ทโฟน แล็ปท็อปหรือแท็บเล็ต กระเป๋า (ไม่รวมกระเป๋าเดินทาง) เข็มขัด จากเดิมมูลค่าต่อชิ้นตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป เป็น 40,000 บาทขึ้นไป และเพิ่มมูลค่าของที่สามารถถือขึ้นเครื่องได้ (carry-on) จากเดิมมูลค่าต่อชิ้นตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป เป็น 100,000 บาทขึ้นไป
                    3. กระทรวงการคลังได้พิจารณาการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้วโดยคาดว่ามาตรการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายจะทำให้เกิดการสูญสียรายได้ ดังนี้ 1) การปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิตสินค้าสุราจะส่งผลให้กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีได้ลดลง 150 ล้านบาทต่อปี 2) การปรับลดอัตราภาษีสำหรับกิจการบันเทิงหรือหย่อนใจ จะส่งผลให้กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีได้ลดลงเป็นจำนวน 70 ล้านบาท (คาดการณ์จากสถิติปริมาณการชำระภาษีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566) และ 3) การยกเว้นอากรศุลกากรขาเข้าสินค้าไวน์ดังกล่าวจะส่งผลให้กรมศุลกากรสูญเสียรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 429 ล้านบาทต่อปี อย่างไรก็ตาม ในภาพรวม มาตรการดังกล่าวที่กระทรวงการคลังเสนอจะส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ภาษีสรรพสามิตและภาษีสุลกากรเพิ่มขึ้นสุทธิประมาณ 401 ล้านบาทต่อปีและ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.0073 เทียบกับกรณีไม่มีมาตรการ นอกจากนี้ ภาครัฐยังจะสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เพิ่มเติมในอนาคตจากการเพิ่มขึ้นของการจับจ่ายใช้สอยและการเพิ่มขึ้นของรายได้ของผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร ภัตตาคาร ธุรกิจบริการ สถานบันเทิง โรงแรมที่พัก ผู้ให้บริการขนส่ง สายการบิน เป็นต้น และส่งผลให้มีการลงทุนขยายกิจการและการจ้างงานเพิ่มขึ้นต่อไป ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดีขึ้น

ต่างประเทศ
12. เรื่อง การลงนามพิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก่ไขความกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเสีย-นิวซีแลนด์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างพิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก้ไขความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และเอกสารแนบท้าย
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ลงนามในร่างพิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก้ไขความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ผู้ลงนามเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
                    3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ลงนามในร่างพิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก้ไขความตกลงเพื่อจัดเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์
                    4. นำเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อพิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก้ไขความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และเอกสารแนบท้าย
                    5. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้พิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก้ไขความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ มีผลใช้บังคับ 60 วัน หลังจากวันที่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสมาชิกอาเซียนอย่างน้อย 4 ประเทศ ได้นำส่งสัตยาบันสารให้เลขาธิการอาเซียนแล้ว สำหรับสมาชิกที่เหลือจะมีผลใช้บังคับ 60 วัน หลังจากวันที่สมาชิกนั้น ได้ทำการนำส่งสัตยาบันสารให้เลขาธิการอาเชียน
                    6. มอบหมายให้ กต. ดำเนินการนำส่งสัตยาบันสารของพิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก้ไขความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ให้แก่เลขาธิการอาเซียนเพื่อรับทราบการให้สัตยาบันพิธีสารดังกล่าว เมื่อรัฐสภามีมติเห็นชอบตามข้อ 4 แล้ว
                    สาระสำคัญ
                    1) ร่างพิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก้ไขความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Area: AANZFTA) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ มีสาระสำคัญเป็นการยกระดับและเปลี่ยนแปลงพันธกรณีตามความตกลง AANZFTA ฉบับปัจจุบันให้ครอบคลุมข้อผูกพันด้านการค้า การบริการ การลงทุน และประเด็นด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เป็นพื้นฐานในการเจรจา ซึ่งมีการแก้ไขเอกสารแนบท้ายความตกลง AANZFTA ที่มีข้อบทรวมทั้งสิ้น 21 บท และ 4 ภาคผนวก โดยมี (1) บทบัญญัติที่ปรับปรุงความตกลงเดิม จำนวน 13 บท เช่น         มีมาตรการในด้านพิธีการศุลกากรที่กำหนดแนวทางในการตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออกและตรวจสอบภายหลังจากการตรวจปล่อยสินค้าแล้ว การใช้ระบบการเชื่อมโยงข้อมูสอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (Single Window) การผูกพันหลักการ Ratchet และ Most Favoured Nation Treatment (MFN) ที่เป็นการให้สิทธิประโยชน์กับนักลงทุนของประเทศสมาชิกโดยอัตโนมัติ หากมีการปรับปรุงกฎหมายและขยายสิทธิประโยชน์ให้กับประเทศภาคีในอนาคต และการสะสมถิ่นกำเนิดแบบเต็มส่วน (Full Cumulation) มาบังคับใช้ เพื่ออนุญาตให้ประเทศสมาชิกสามารถนำวัตถุดิบที่ได้นำเข้าจากประเทศสมาชิกอื่นมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเสมือนมีถิ่นกำเนิดในประเทศตัวเอง (2) บทบัญญัติที่เพิ่มใหม่ จำนวน 3 บท เช่น การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกที่ครอบคลุมเรื่องสภาพภูมิอากาสและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจสีเขียว เสรษฐกิจสีน้ำเงิน เศรษฐกิจหมุนเวียน พลังงานและแรงงาน ซึ่งถือเป็นความตกลงฉบับแรกของอาเซียนที่มีบทการค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีการส่งเสริมการแบ่งปันแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) ระหว่างกัน รวมทั้งมีการเพิ่มมาตรการขจัดการกีดกันทางการค้า ทั้งในรูปแบบภาษีและมิไช่ภาษีสำหรับสินค้าจำเป็นในช่วงวิกฤตด้านมนุษยธรรม โรคระบาดหรือสถานการณ์การแพร่กระจายของโรคระบาด (Non-Tariff Measures on Essential Goods during Humanitarian Crises, Epidemics or Pandemics) ซึ่งเป็นประเด็นใหม่ที่ยังไม่เคยบรรจุอยู่ในความตกลงฉบับอื่น และ                 (3) บทบัญญัติที่ไม่ได้แก้ไข รวม 5 บท เช่น บทบัญญัติเกี่ยวกับสถาบัน มาตรการปกป้อง และทรัพย์สินทางปัญญา
                    2) การผูกพันของไทยภายใต้ร่างพิธีสารฉบับนี้จะทำให้ไทยได้รับประโยชน์ในการเปิดตลาดการค้า การบริการ การลงทุน และประเด็นด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการช่วยขยายห่วงโซ่อุปทานและส่งเสริมความคล่องตัวทางการค้าในภูมิภาค ช่วยขจัดการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก อันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป
                    3) ร่างพิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก้ไขความตกลง AANZFTA จะมีผลใช้บังคับ 60 วันหลังจากวันที่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างน้อย 4 ประเทศ นำส่งสัตยาบันสารแก่เลขาธิการอาเซียนแล้ว และจะมีผลใช้บังคับกับประเทศสมาชิกที่ให้สัตยาบันภายหลังจากนั้นใน 60 วัน หลังจากประเทศสมาชิกนั้นได้นำส่งสัตยาบันสารของตนแก่เลขาธิการอาเซียน ซึ่งปัจจุบันพิธีสารฉบับนี้ยังไม่มีผลใช้บังคับแก่ประเทศสมาชิกใด เนื่องจากยังคงเหลือประเทศสมาชิกที่ยังไม่ได้ลงนามอีก 6 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ฟิสิปปินส์ กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมียนมา และเวียดนาม [ประเทศสมาชิกทุกประเทศ รวม 12 ประเทศจะต้องลงนามในพิธีสารดังกล่าวให้ครบทุกประเทศก่อน หลังจากนั้นประเทศสมาชิกแต่ละประเทศจะต้องนำพิธีสารไปดำเนินการตามกระบวนการภายในของตน (ให้สัตยาบัน) แล้วนำสัตยาบันสารส่งให้แก่เลขาอิการอาเซียน อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยการลงนามในพิธีสารฉบับนี้จะดำเนินการได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (การลงนามยังไม่ใช่ขั้นตอนการแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน เนื่องจากร่างพิธีสารฉบับนี้เป็นการกำหนดขั้นตอนการลงนามและขั้นตอนการแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันแยกออกจากกัน) และต้องเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 178 วรรคสองและวรรคสาม ของรัฐธรรมนูญฯ ที่กำหนดให้หนังสือสัญญาเกี่ยวกับการค้าเสรี อันเป็นหนังสือสัญญาที่อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม หรือการค้าและการลงทุนของประเทศอย่างกว้างขวางต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา และเมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วจึงจะดำเนินการเพื่อแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันตามร่างพิธีสารฉบับที่ 2 ต่อไป

13. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 17 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 10 รวมทั้งการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                     คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence Ministers' Meeting: ADMM) (การประชุม ADMM) ครั้งที่ 17 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ASEAN Defence Ministers' Meeting Plus: ADMM-Plus) (การประชุม ADMM-Plus) ครั้งที่ 10 รวมทั้งการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงกลาโหม (กท.) เสนอ
                      สาระสำคัญ
                      กห. รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้เข้าร่วมประชุม ADMM ครั้งที่ 17 และการประชุม ADMM - Plus ครั้งที่ 10 รวมทั้งการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 15 - 17 พฤศจิกายน 2566            ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมีนาย Prabowo Subianto รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เป็นประธาน โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                      1. การประชุม ADMM ครั้งที่ 17
                                 ที่ประชุมฯ ได้มีการรับรอง อนุมัติ และรับทราบเอกสารผลลัพธ์ ปี 2566 จำนวนทั้งสิ้น       7 ฉบับ ได้แก่ (1) ปฏิญญาร่วมจาการ์ตาของการประชุม ADMM ว่าด้วยสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และความมั่นคงของภูมิภาค (2) เอกสารแนวความคิดว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติด้านการป้องกันประเทศเกี่ยวกับมุมมองอาเซียนต่ออินโด - แปซิฟิก (3) เอกสารแนวความคิดว่าด้วยการเสริมสร้างความประสานสอดคล้องของกิจกรรมความร่วมมือภายใต้กรอบ ADMM และ ADMM - Plus (4) เอกสารแนวทางปฏิบัติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต       ในฐานะผู้สังเกตการณ์การประชุม ADMM และ ADMM - Plus รวมทั้งการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (5) ระเบียบปฏิบัติประจำโครงการอาเซียนอาวเวอร์อาย (6) เอกสารความร่วมมือระหว่างอาเซียน - สหรัฐอเมริกา เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถของผู้นำรุ่นใหม่ และ (7) เอกสารเพื่อการหารือว่าด้วยการใช้ทรัพยากรทางทหารในการดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงทางอาหารของภูมิภาค รวมทั้งรับทราบพัฒนาการความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) การจัดทำเอกสารยุทธศาสตร์เพื่อการเตรียมความพร้อมในอนาคตของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน และ (2) รายงานผลการฝึกผสมทางทะเลระหว่างอาเซียน - สาธารณรัฐอินเดีย
                      2. การประชุม ADMM - Plus ครั้งที่ 10
                                ที่ประชุมฯ ได้มีการรับรองแถลงการณ์ร่วมของการประชุม ADMM - Plus ว่าด้วยบทบาทสตรี สันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค และได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับความมั่นคงของภูมิภาค ตลอดจนภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และความมั่นคงทางพลังงานและอาหาร รวมทั้งแสดงความห่วงกังวลต่อแนวโน้มสถานการณ์ความตึงเครียดในภูมิภาคต่าง ๆ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ ยูเครน ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้เน้นย้ำความสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถร่วมกันภายใต้บริบทใหม่ของโลกที่ใช้เทคโนโลยีเป็นพื้นฐาน การแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี โดยคำนึงถึงความเป็นอยู่และความปลอดภัยของประชาชน [เอกสารที่ได้มีการรับรอง/อนุมัติ/รับทราบดังกล่าว (ตามข้อ 1. และข้อ 2.) มีสาระสำคัญไม่แตกต่างจากฉบับที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบไว้เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 (เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 17 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 10)]
                     3. การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน + 1 อย่างไม่เป็นทางการ (ADMM+ 1 Informal Meeting) ได้มีการหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเกี่ยวกับการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกัน และการสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถให้กับอาเซียน
                     4. การหารือทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศคู่เจรจา จำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา และเครือรัฐออสเตรเลีย รวมทั้งเลขาธิการอาเซียน เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกัน รวมถึงผลักดันประเด็นสำคัญของกระทรวงกลาโหม
                      5. กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐอินโดนีเซียได้ส่งมอบตำแหน่งประธานการประชุม ADMM และ ADMM - Plus ในปี พ.ศ. 2567 ให้แก่กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประกาศแนวคิดหลักในการเป็นประธานเพื่อขับเคลื่อนอาเซียนให้เกิดสันติสุข ความมั่นคง และความเข้มแข็งของภูมิภาคอย่างยั่งยืน (ASEAN: Together for Peace, Security and Resilience)
                      ประโยชน์ที่จะได้รับ
                      การเข้าร่วมประชุมฯ ในครั้งนี้เป็นโอกาสให้ไทยได้ร่วมเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคง และได้รับประโยชน์จากความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจา ในการร่วมหารือแลกเปลี่ยนมุมมองต่อสภาวะแวดล้อมความมั่นคงในภูมิภาค และการเสริมสร้างการปฏิสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา

14. เรื่อง การจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน    ว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราซึ่งกันและกันสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาและหนังสือเดินทางกึ่งราชการ
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                      1. เห็นชอบร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราซึ่งกันและกันสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาและหนังสือเดินทางกึ่งราชการ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างความตกลงฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ขอให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้ โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
                     2. เห็นชอบให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมอบหมายเป็นผู้ลงนามความตกลงฯ ทั้งนี้ ในกรณีมอบหมายผู้แทน เห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนามที่ได้รับมอบหมาย
                     3. เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย และสำนักงาน ตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เร่งรัดการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถเริ่มใช้ความตกลงฯ ในวันที่            1 มีนาคม 2567
                     4. เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด รับข้อสังเกตของหน่วยงานไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                     สาระสำคัญ
                      1. ภูมิหลัง ในการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่       16 - 19 ตุลาคม 2566 นายกรัฐมนตรีได้หารือกับนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และขอให้ทั้งสองฝ่ายมีการจัดทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาซึ่งกันและกัน เพื่อส่งเสริมการไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชนสองฝ่ายในระยะยาว ซึ่งฝ่ายจีนตอบรับในหลักการให้ดำเนินการต่อไป
                     2. สถานะล่าสุด เมื่อวันที่ 21 - 22 ธันวาคม 2566 คณะทำงานฝ่ายไทย นำโดย รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไปเจรจากับคณะทำงานฝ่ายจีน นำโดย รองอธิบดีกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงในสาระสำคัญของร่างความตกลงฯ ได้ทั้งหมด พรอมเห็นพ้องที่จะให้ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับภายในวันที่ 1 มีนาคม 2567 เพื่อให้สามารถมีผลทันทีหลังมาตรการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับนักทองเที่ยวจีน (ผ.30) เป็นการชั่วคราวสิ้นสุดในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567
                     3. สาระสำคัญ ร่างความตกลงฯ ระบุให้ยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือ เดินทางธรรมดาของไทยและผู้ถือหนังสือเดินทางกึ่งราชการและหนังสือเดินทางธรรมดาของสาธารณรัฐประชาชนจีนในการเดินทางเข้า-ออกหรือผ่านดินแดนของภาคีผู้ทำสัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง สำหรับการพำนักแต่ละครั้ง ระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน และรวมระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน ภายในช่วงเวลา 180 วันใด ๆ ยกเว้นกรณีการพำนักถาวร การทำงาน การศึกษา กิจกรรมด้านสื่อ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องได้รับการอนุญาตล่วงหน้าจากหน่วยงานที่รับผิดชอบของภาคีผู้ทำสัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ภาคีผู้ทำสัญญาแต่ละฝ่ายสามารถระงับใช้ความตกลงฯ เป็นการชั่วคราว ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง ความสงบเรียบร้อยสาธารณะ และสาธารณสุข รวมทั้งสามารถแก้ไขและยกเลิกความตกลงฯ โดยแจ้งอีกฝ่ายล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางทางการทูต
                     ประโยชน์และผลกระทบ
                     การมีความตกลงฯ จะเป็นประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกการเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ โดยจะมีผลเชิงบวกต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย -  จีนในภาพรวมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว สังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนความสัมพันธ์ระดับประชาชน

15. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้างประจำปี พ.ศ. 2566 (Memorandum of Understanding on the Cooperation on Projects of the Mekong-Lancang Cooperation Special Fund 2023)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง1 (กองทุนฯ) ประจำปี พ.ศ. 2566 (Memorandum of Understanding on the Cooperation on Projects of the Mekong-Lancang Cooperation Special Fund 2023) (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของไทย ขอให้ อว. หารือร่วมกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                    2. อนุมัติให้ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
(ทั้งสองฝ่ายจะกำหนดช่วงเวลาในการลงนามภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจฯ)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    อว. รายงานว่า
                    1. การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนฯ สำหรับโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนฯ ของหน่วยงานในสังกัด อว. ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ระหว่าง อว. (ฝ่ายไทย) กับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (ฝ่ายจีน) ซึ่งครั้งล่าสุดได้จัดทำขึ้นเมื่อปี 2565 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (27 กันยายน 2565) เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนฯ ประจำปี 2565 เพื่อกำหนดแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณของโครงการที่ได้รับการอนุมัติจากฝ่ายจีน จำนวน 8 โครงการ]
                    2. เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 25662 ฝ่ายจีนได้แจ้งผลการพิจารณาโครงการของไทยที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนฯ ประจำปี 2566 และทั้งสองฝ่ายได้จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ เพื่อเป็นแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณของโครงการที่ได้รับการอนุมัติจากฝ่ายจีนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น การเกษตร ปศุสัตว์ การจัดการทรัพยากรน้ำ สุขภาพ ระบบขนส่ง การท่องเที่ยว โดยทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องร่วมกันเกี่ยวกับเนื้อหาและสาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ แล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

หัวข้อ          สาระสำคัญ
1. หลักการเบื้องต้น          - เพื่อสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันแห่งสันติภาพและความมั่งคั่งในบรรดาประเทศสมาชิกแม่โขง-ล้านช้าง
- ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ในการปรึกษาหารือ การประสานงาน การร่วมมือกันและการได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน
- เคารพกฎหมายและกฎระเบียบของทั้งสองฝ่าย
- ร่วมติดตามประเมินโครงการและการใช้งบประมาณจากกองทุนฯ
2. โครงการและหน่วยงานดำเนินโครงการ          ฝ่ายจีนได้พิจารณาโครงการที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณในปี 2566 ของไทย โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติ จำนวน 13 โครงการ เช่น (1) โครงการการเชื่อมโยงและยกระดับขีดความสามารถด้านสมุนไพรในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงด้วยเทคโนโลยีสีเขียว โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) (2) โครงการการพัฒนาและสาธิตระบบการรู้จำและตรวจจับข้อมูลสำหรับกระบวนการเลี้ยงโคเนื้อและการบริหารจัดการฟาร์มในภูมิภาคแม่โขงล้านช้าง โดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
3. การจัดสรรงบประมาณและบริหารงบประมาณ          - ฝ่ายจีนจะจัดสรรงบประมาณเต็มจำนวนให้กับฝ่ายไทย ภายใน 20 วันทำการ หลังจากที่ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ (รวมเป็นเงินจำนวน 2,834,101 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 103.1 ล้านบาท)3
- ฝ่ายไทยจะแจ้งการได้รับการจ่ายเงิน ภายใน 10 วันทำการ หลังจากได้รับการจ่ายเงิน
4. การบริหารจัดการโครงการ          - ฝ่ายไทยจะใช้มาตรการที่จำเป็นและเหมาะสมในการกำหนดความรับผิดชอบของหน่วยงานดำเนินโครงการ โดยให้หน่วยงานดำเนินโครงการตามแผน ระยะเวลาและงบประมาณของโครงการ ทั้งนี้ ให้ถือว่าวันที่ลงนามบันทึกความเข้าใจฯ เป็นวันเริ่มต้นโครงการ
- ฝ่ายไทยจะแจ้งฝ่ายจีนหากมีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นนัยสำคัญในการดำเนินโครงการและทั้งสองฝ่ายจะหารือมาตรการสำหรับการติดตามผ่านการหารือร่วมกัน
5. การกำกับดูแลการตรวจสอบและการประเมินผล          - ฝ่ายไทยจะตรวจสอบการดำเนินโครงการในเรื่องต่าง ๆ เช่น ความก้าวหน้าประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการ การใช้งบประมาณให้เป็นไปตามข้อกำหนดและจะแจ้งฝ่ายจีนถึงความก้าวหน้าในระยะเวลาที่เหมาะสม
- ฝ่ายไทยจะเร่งรัดหน่วยงานดำเนินโครงการจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการและเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จ ภายใน 2 เดือน หลังโครงการเสร็จสมบูรณ์ และนำส่งงบประมาณส่วนที่เหลือจ่ายให้แก่ฝ่ายจีน ภายใน 3 เดือน หลังจบโครงการ
6. การทบทวนและการแก้ไขเพิ่มเติม          ตกลงร่วมกันอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรและจะมีผลหลังจากวันที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันผ่านการปรึกษาหารือ
7. การประยุกต์ใช้          บันทึกความเข้าใจฯ ไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายต่อทั้งสองฝ่ายและไม่เป็นสนธิสัญญาภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
8. ระยะเวลา          - บันทึกความเข้าใจฯ มีผลบังคับใช้ในวันที่ลงนามและมีระยะเวลา 5 ปี โดยจะได้รับการต่ออายุโดยอัตโนมัติเป็นเวลาอีก 5 ปี
- การสิ้นสุดของบันทึกความเข้าใจฯ จะไม่กระทบต่อการดำเนินกิจกรรม/โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ตัดสินใจก่อนการสิ้นสุดของบันทึกความเข้าใจฯ
                    ทั้งนี้ กต. พิจารณาแล้วไม่มีข้อขัดข้องต่อสารัตถะและถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจฯ และเห็นว่าไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ซึ่งเป็นไปตามที่ กต. ได้แจ้ง อว.)
1 กองทุนฯ จัดตั้งขึ้นในการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (กรอบความร่วมมือฯ) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2559 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) เพื่อเป็นกองทุนสำหรับดำเนินกิจกรรม/โครงการความร่วมมือต่าง ๆ ของประเทศสมาชิก ประกอบด้วย ราชอาณาจักรกัมพูชา (กัมพูชา) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนาม) ไทย และจีน
2 จากการประสานข้อมูลเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 อว. แจ้งว่า สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยได้แจ้งผลการพิจารณาดังกล่าวมายัง กต. เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566
3 ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 36.4 บาท

16. เรื่อง ขอความเห็นชอบการปรับโอนพิกัดศุลกากรของกฎถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย - ออสเตรเลีย (TAFTA)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบบัญชีกฎถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้า1 (Product - Specific Rules of Origin : PSRs) ในพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ ฉบับปี 2022 (Harmonized System2 - 2022 : HS 2022) ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย - ออสเตรเลีย (Thailand - Australia Free Trade Agreement : TAFTA) ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้ พณ. สามารถดำเนินการโดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                    2. เห็นชอบการลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนของฝ่ายไทย เพื่อดำเนินการแก้ไขภาคผนวก 4.1 (เรื่อง กฎถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้า) ของความตกลง TAFTA ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำในหนังสือแลกเปลี่ยนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้ พณ. สามารถดำเนินการโดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                    3. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนของฝ่ายไทยตามข้อ 2
                    4. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full  Powers) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนของฝ่ายไทยตามข้อ 3
                    5. มอบหมายให้ พณ. และกระทรวงการคลัง (กค.) ดำเนินกระบวนการภายในเพื่อให้บัญชีกฎถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้าภายใต้ความตกลง TAFTA ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ภายในวันที่ 1 มีนาคม 2567
1 กฎถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้า คือ การกำหนดเกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าแต่ละชนิดขึ้นมาตามความเหมาะสมของสินค้าแต่ละชนิด โดยมีหลักเกณฑ์ เช่น การผลิตหรือการได้มาจากวัตถุดิบในประเทศทั้งหมด การผลิตจากสัดส่วนของวัตถุดิบและต้นทุนการผลิตในประเทศต่อราคาส่งออก เป็นต้น
2 พิกัดศุลกากรในระบบฮาร์โมไนซ์ที่ใช้สำหรับจำแนกประเภทของสินค้า ตัวเลข HS Code จะใช้เพื่อแทนความหมายของสินค้าแต่ละประเภทซึ่งจะมีการใช้ HS Code ในการตรวจสอบเพื่อจัดเก็บภาษีนำเข้าส่งออกระหว่างประเทศในพิธีศุลกากรของประเทศต่าง ๆ ประกอบด้วยตัวเลข 11 หลัก โดยประเทศไทยซึ่ง 6 หลักแรก จะเป็นเลขที่กำหนดขึ้นโดยองค์การศุลกากรโลกระบบการจำแนกชนิดสินค้าได้รับการยอมรับจากประเทศภาคีสมาชิกขององค์การการค้าโลก หลักที่ 7 - 8 เป็นเลขระบบพิกัด ซึ่งไทยใช้ระบบพิกัดศุลกากรอาเซียน (ASEAN Harmonized Tariff Nomenclature : AHTN) และหลักที่ 9 - 11 เป็นรหัสสถิติที่กำหนดโดยแต่ละประเทศ

17. เรื่อง ผลการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 29 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย (IMT - GT)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบผลการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 29 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย หรือแผนงาน IMT - GT1 (Joint Statement of the 29th IMT - GT Ministerial Meeting) (การประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 29 แผนงาน IMT - GT)
                    2. เห็นชอบการมอบหมายภารกิจหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยตามแผนการดำเนินงานในระยะต่อไป และมอบหมายให้หน่วยงานดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลังไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สศช. รายงานว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีประจำแผนงาน MT - GT และคณะ ได้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 29 แผนงาน IMT - GT เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2566 ณ เมืองบาตัม จังหวัดหมู่เกาะเรียว สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ร่วมกับผู้แทนจากประเทศสมาชิก IMT - GT ผู้แทนจากสำนักเลขาธิการอาเซียน ผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลการหารือและผลการประชุมสรุปได้ ดังนี้
                    1. ผลการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 29 แผนงาน IMT - GT
                       ที่ประชุมได้รับรองแถลงการณ์ร่วมฯ แผนงาน IMT - GT โดยมิได้มีการปรับปรุงสาระสำคัญเพิ่มเติมจากร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบไว้ (26 กันยายน 2566) อย่างไรก็ดี มีการแก้ไขรายละเอียดบางประการของแถลงการณ์ร่วมฯ แผนงาน IMT - GT ดังนี้
                              1.1 ปรับแก้ถ้อยคำกล่าวแสดงความขอบคุณธนาคารพัฒนาเอเชียสำหรับความช่วยเหลือด้านเทคนิคและคำแนะนำในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อขยายเส้นทางการค้า ปรับปรุงห่วงโซ่อุปทาน และส่งเสริมการเติบโตอย่างครอบคลุมในพื้นที่ชายแดน พร้อมทั้งขอบคุณความพยายามในการส่งเสริมการฟื้นฟูสีเขียวผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ เมืองอัจฉริยะและการขนส่งที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ขอให้ธนาคารพัฒนาเอเชียสนับสนุนการดำเนินงานภายใต้แผนงาน IMT - GT อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในการเร่งดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานระยะ 5 ปี 2565 - 2569
                              1.2 ปรับแก้ไขถ้อยคำกล่าวแสดงความขอบคุณสำนักเลขาธิการอาเซียนสำหรับการสนับสนุนการดำเนินงานของแผนงาน IMT - GT อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งแสดงถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ตามกรอบและความคิดริเริ่มของอาเซียนเพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับภูมิภาค
                    2. ผลการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                       ที่ประชุมได้รับทราบรายงานความคีบหน้าการขับเคลื่อนความร่วมมือแผนงาน IMT - GT ในช่วงที่ผ่านมาในการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 29 แผนงาน IMT - GT และการประชุมเวทีหารือระดับมุขมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัด  ( Chief Ministers and Governors Forum: CMGF) ครั้งที่ 20 แผนงาน IMT - GT โดยมีผลการหารือและข้อคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม สรุปได้ดังนี้
ประเด็นสำคัญ          รายละเอียด
ภาพรวม          ? แสดงความมุ่งมั่นในการกำหนดทิศทางความร่วมมือเพื่อสนับสนุนหลักการความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) โดยมุ่งให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนความร่วมมือเศรษฐกิจสีน้ำเงิน เศรษฐกิจดิจิทัล และการสร้างระบบนิเวศรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อบรรสุวิสัยทัศน์ พ.ศ. 2579 ของแผนงาน IMT - GT
? เน้นย้ำถึงความสำคัญของความคิดริเริ่มจากล่างขึ้นบน (Bottom-Up Initiatives) และโครงการที่มุ่งพัฒนาในทุกมิติ (Cross-Cutting Projects) โดยสนับสนุนการดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ การขยายโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน และโครงการสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาค IMT - GT
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในมิติต่าง ๆ           ? เร่งรัดการศึกษา พัฒนา บูรณาการความร่วมมือระหว่างระเบียงเศรษฐกิจและเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อการเติบโตที่ยืดหยุ่น ยั่งยืน และครอบคลุม ผ่านการวิเคราะห์ประเด็นและกลยุทธ์ที่สำคัญ พร้อมทั้งระบุแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง
? เสริมสภาพคล่องและสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) ในอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราและปาล์มน้ำมัน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการผลิตสินค้าและการเชื่อมต่อห่วงโซ่มูลค่าสินค้าภายในอนุภูมิภาค
? พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน โดยเน้นย้ำความสำคัญของการเชื่อมโยงการชำระเงินระหว่างประเทศผ่าน QR Code
? การแสวงหาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจโดยตระหนักถึงความจำเป็นในการลงทุนโครงสร้างฟื้นฐานและทรัพยากรมนุษย์อย่างครอบคลุมในระดับรัฐและจังหวัด พร้อมทั้งได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นในการร่วมมือในโครงการริเริ่มเศรษฐกิจสีน้ำงินและโครงการเกี่ยวกับระเบียงเศรษฐกิจภายในอนุภูมิภาค IMT- GT
ความร่วมมือที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม          ?  สนับสนุนให้แผนงาน IMT - GT สำรวจความร่วมมือเพิ่มเติมในโครงการริเริ่มการพัฒนาที่ยั่งยืนของอาเซียน โดยเฉพาะเศรษฐกิจสีน้ำเงิน2 เสรษฐกิจสีเขียว3 และเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล อาทิ ยุทธศาสตร์ความเป็นกลางคาร์บอนของอาเซียน (ASEAN Carbon Neutrality Strategy) ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสีน้ำเงินของอาเซียน (ASEAN Blue Economy Strategy) และข้อตกลงกรอบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Framework Agreement: DEFA)
? สนับสนุนการดำเนินงานในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานทดแทน ซึ่งประเทศสมาชิกควรร่วมกันกำหนดแนวนโยบายระดับอนุภูมิภาคให้ชัดเจนและสอดคล้องกับข้อตกลงและมาตรฐานสากล
? พิจารณาการใช้พันธบัตรสีเขียวและพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนในโครงการสีเขียวและโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
? โครงการริเริ่มด้านการขนส่งสีเขียว อาทิ การพัฒนาเรือหางยาวไฟฟ้าในจังหวัดกระบี่ของประเทศไทยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า
? ส่งเสริมให้ CMGF ดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการเมืองสีเขียวและแสวงหาความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ ภาคเอกชน องค์การระหว่างประเทศ หุ้นส่วนการพัฒนา และสถาบันการศึกษา เพื่อที่จะขยายเครือข่าย โดยมีเป้าหมายเพื่อนำการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและในประเทศสู่อนุภูมิภาค IMT - GT
? ส่งเสริมการศึกษาและวิจัยด้านเศรษฐกิจสีน้ำเงิน ซึ่งควรครอบคลุมการประเมินทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทุกมิติ การจัดทำร่างแผนพื้นที่ทางทะเลของอนุภูมิภาคซึ่งกำหนดวัตถุประสงค์ของการใช้พื้นที่ทางทะเลในรูปแบบต่าง ๆ อย่างยั่งยืน การปรับข้อบังคับระดับชาติทางทะเลให้สอดคล้องกัน ตลอดจนการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยอำนวยความสะดวกของการเชื่อมโยงและการเข้าถึงทรัพยากรทางทะเล
การส่งเสริมประสิทธิภาพของรัฐบาลท้องถิ่น (Local governments)          ? ส่งเสริมการกระจายอำนาจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารในระดับท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการในแต่ละพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
? เพิ่มการมีส่วนร่วมเชิงรุกกับผู้มีส่วนได้เสีย ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และหุ้นส่วนการพัฒนาอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในท้องถิ่น
? เน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของรัฐบาลท้องถิ่นในความร่วมมือระดับภูมิภาคและการสร้างผลประโยชน์ให้กับชุมชน โดยสนับสนุนให้รัฐบาลท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการและการบูรณาการของภูมิภาคอาเซียน อาทิ โครงการริเริ่มการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนของอาเซียน (ASEAN Sustainable Urbanisation Initiatives) และโครงการริเริ่มการลงทุนเมืองอัจฉริยะของอาเซียน (ASEAN Smart Cities Investment Initiatives)
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวภายในอนุภูมิภาค          ? เร่งรัดการดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งและด่านพรมแดน โดยเฉพาะโครงการพัฒนาถนนเชื่อมต่อด่านศุลกากรสะเดา - บูกิตกะยูฮิตัม
? พื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของอนุภูมิภาคภายหลังวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด - 19 โดยเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานร่วมกับโครงการปีแห่งการท่องเที่ยว IMT - GT พ.ศ. 2566 - 2568
ประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง          ? กระชับความร่วมมือกับพันธมิตรและหุ้นส่วนหารพัฒนา
? มุ่งพัฒนากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุน
                    3. แผนการดำเนินงานในระยะต่อไป เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนงาน IMT - GT โดยมีตัวอย่างแผนการดำเนินงานในระยะต่อไปตามประเด็น ๆ ได้ ดังนี้
ประเด็น          แผนการดำเนินงานในระยะต่อไป อาทิ          หน่วยงานดำเนินงาน อาทิ
การฟื้นฟูภาคท่องเที่ยว          - ดำเนินกิจกรรมสำคัญภายใต้แคมเปญปีแห่งการท่องเที่ยว IMT - GT พ.ศ. 2566 - 2568 ซึ่งเป็นการดำเนินการร่วมกันของทั้ง 3 ประเทศ ร่วมกับภาคีการพัฒนา เพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูด้านการท่องเที่ยว
ภายในอนุภูมิภาคภายหลังวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19
- เร่งสร้างรายได้การท่องเที่ยวใน IMT - GT โดยดำเนินโครงการส่งเสริมการตลาดร่วม และการเสริมสร้าง ความชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ยุทธศาสตร์ในอนุภูมิภาคต่อไป          - กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.)
- กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
- กระทรวงคมนาคม (คค.)
- กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
การผลักดันความร่วมมือของประเทศสมาชิก IMT - GT ในสาขาต่าง ๆ          - เร่งผลักดันการเชื่อมโยงด้านการขนส่งภายในอนุภูมิภาค อาทิ โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2        (สุไหงโก - ลก - รันเตาปันยัง)
- สนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อาทิ อุตสาหกรรมยางพารา ปาล์มน้ำมัน และฮาลาลเพื่อเชื่อมต่อห่วงโซ่มูลค่าและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน
- เร่งรัดการร่วมลงนามในกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก IMT - GT ด้านศุลกากร การตรวจคนเข้าเมืองและการกักกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนของสินค้าและบุคคลตามแผนงาน IMT - GT
- ผลักดันการชำระเงินระหว่างประเทศผ่านทาง QR Code ให้ครอบคลุมผู้ประกอบการรายย่อยในระดับท้องถิ่นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกการชำระเงินเพื่อการซื้อขายสินค้าและบริการของนักท่องเที่ยว          - กระทรวงการคลัง (กค.)
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- คค.
- กระทรวงพาณิชย์
- กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)
- กระทรวงมหาดไทย (มท.)
- สศช.
การประชุมครั้งต่อไป          สหพันธรัฐมาเลเซียมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 30 แผนงาน IMT - GT และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ รัฐยะโฮร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย ในช่วงเดือนกันยายน 2567

1 Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle
2 เศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy) คือ แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน เป็นแนวทางการขับเคลื่อนให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
3 เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน

แต่งตั้ง
18. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งบุคคลเป็นประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย มาตรา 14  แห่งพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2550 ดังนี้
                      1. นายสราวุธ ทรงศิวิไล                     ประธานกรรมการ
                      2. นายศราวุธ เพชรพนมพร           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                      3. นายอาทิตย์ สุริยาภิวัฒน์           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                     4. พลโท พิเชษฐ คงศรี                      กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                     5. นายชัยทัต แซ่ตั้ง                     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

19. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย
                       คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งบุคคลเป็นประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย มาตรา 24 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ดังนี้
                      1. นายจิรุตม์ วิศาลจิตร                     ประธานกรรมการ
                     2. นายวิม รุ่งวัฒนจินดา                      กรรมการ
                      3. นายศันสนะ สุริยะโยธิน           กรรมการ
                     4. นางสาวศุกร์ศิริ อภิญญานุวัฒน์           กรรมการ
                     5. นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย           กรรมการ
                      6. นายอาทิตย์ สุริยาภิวัฒน์           กรรมการ
                     7. นายอารีศักดิ์ เสถียรภาพอยุทธ์           กรรมการ

20. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จำนวน 10 คน ดังนี้
                      1. นายยุทธศักดิ์ สุภสร                                 ประธานกรรมการ
                     2. พลเอก กนิษฐ์ ชาญปรีชญา                     กรรมการ
                     3. นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน                     กรรมการ
                     4. นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล                     กรรมการ
                     5. นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ                                กรรมการ
                     6. นายธนวัฒน์ ปัญญาสกุลวงศ์                      กรรมการ
                     7. นายเสกสกล อัตถาวงศ์                     กรรมการ
                     8. รองศาตราจารย์ อนามัย ดำเนตร           กรรมการ
                     9. นายเอกภัทร วังสุวรรณ                     กรรมการ
                      10. นางนันท์ฐิตา ศิริคุปต์ ผู้แทนกระทรวงการคลัง กรรมการ
                      ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2567 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ