สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 มีนาคม 2567

ข่าวการเมือง Tuesday March 12, 2024 15:45 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ 12 มีนาคม 2567 เวลา 10.00 น. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย

                    1.            เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชน

หนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. ....

                    2.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น                                                  รัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการระดมทุนด้วยโทเคน                                        ดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token)]
                    3.           เรื่อง           ขอผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรี (เรื่อง การออกเลขที่บ้านชั่วคราวให้กับผู้บุกรุกในเขต                                        ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย)
                    4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเรือไทย                                                   พุทธศักราช 2481
                    5.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัด                                                  อุบลราชธานี (ฉบับที่ ..)  พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมือง                                        รวมจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2558)
                    6.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง

พ.ศ. ?.

                    7.            เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-สังคม
                    8.            เรื่อง           การขอต่ออายุวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี กับธนาคารออมสิน วงเงิน 500 ล้านบาท                                         โดยกระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย
                    9.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความ                                                  ยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ กรณีศึกษาองค์ความรู้และแนวคิดจาก                                                            ประสบการณ์ของต่างประเทศ : สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐเกาหลี                                         ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา
                    10.           เรื่อง           ขออนุมัติและขอรับการสนับสนุนงบประมาณโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิ                                                  ผู้สูงอายุในชุมชน (ภาคใต้)
                    11.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราช                                                  กำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2566
                    12.           เรื่อง           แนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566-2570
                    13.           เรื่อง           มาตรการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars)

ต่างประเทศ

                    14.           เรื่อง           การจัดทำข้อสงวนเพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครอง                                        บุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (International Convention for the                                         Protection of all Persons from Enforced Disappearance: ICPPED)
                    15.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบปฏิญญาว่าด้วยการเร่งรัดและเสริมสร้างความเข้มแข็งในการ                                                  รับมือระดับโลกต่อภัยคุกคามยาเสพติดสังเคราะห์ และขอความเห็นชอบการเข้า                                        ร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมในการรับมือภัยคุกคามจากยาเสพติดสังเคราะห์ระดับโลก
                    16.           เรื่อง           การรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67                                         และการขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีและการประกาศคำมั่น                                        ในนามประเทศไทยตามเอกสารแนวคิดข้อริเริ่ม ?Pledge4Action? ของประธาน                                        คณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67 ในห้วงการประชุมระดับสูงของการประชุม                                        คณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67


แต่งตั้ง
                    17.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                    18.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง

(สำนักนายกรัฐมนตรี)

                    19.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
?

กฎหมาย

1.  เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี  พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี  พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย  ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ                (25 กรกฎาคม 2566) เห็นชอบแล้ว ซึ่งเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลหนองวัวซอ และตำบลหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา การดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินการคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะและสภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนหนองวัวซอให้เป็นชุมชนเกษตรกรรม การค้า การบริการทางสังคม ส่งเสริมและพัฒนาที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชน อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ศาสนสถานที่มีคุณค่าทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์ รวมทั้ง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    1. กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลหนองวัวซอ และตำบลหมากหญ้า                    อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา การดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินการคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม โดยมีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งเละบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศษฐกิจ ดังต่อไปนี้
                              1.1 ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นชุมชนเกษตรกรรม การค้า และการบริการ
                              1.2 ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ให้เพียงพอและได้มาตรฐาน
                              1.3 ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชน
                              1.4 อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและศาสนสถานที่มีคุณค่าทางศิลปกรรมสถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์
                              1.5 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                    2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้
ประเภท          วัตถุประสงค์
1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย                   (สีเหลือง)           - เป็นพื้นที่ที่มีการกำหนดให้เป็นเขตพักอาศัยและรองรับการขยายตัวของที่ดินสำหรับการอยู่อาศัยในอนาคตซึ่งมีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม โดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงและขนาดของพื้นที่อาคารอยู่อาศัยต้องไม่ไช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ ซึ่งที่ดินประเภทนี้ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณที่พักอาศัยและชุมชน ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่ายคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สุสานและฌาปนสถาน สถานบริการ โดยในส่วนของโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การทำขนมปังหรือขนมเค้ก การทำน้ำดื่ม โรงงานซ่อมเครื่องมือไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในบ้านหรือใช้ประจำตัว
2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม)           - มีพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นเขตพักอาศัยต่อเนื่องจากพื้นที่เพื่อการพาณิชย์และที่อยู่อาศัย ซึ่งมีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม
โดยมีข้อจำกัดเรื่องขนาดของพื้นที่อาคารอยู่อาศัยต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งที่ดินประเภหนี้ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณที่พักอาศัยและชุมชน ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย                 คลังก๊าชปิโตรเลียมเหลว สุสานและฌาปนสถานจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม โดยในส่วนของโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การคั่ว บดหรือป่นกาแฟ หรือการทำกาแฟผง โรงงานซ่อมรองเท้าหรือเครื่องหนัง การซ่อมแซมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบของยานดังกล่าว
3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง)           - เป็นพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ มีวัตถุประสงค์ให้เป็นบริเวณศูนย์กลางการประกอบพาณิชยกรรมของชุมชน ประกอบด้วย ตลาด ศูนย์การค้า สำนักงาน โรงแรม รวมทั้งกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากเพื่อรองรับการประกอบกิจการดังกล่าว โดยการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่มีข้อจำกัดเรื่องขนาดพื้นที่และความสูงของอาคาร และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สุสานและฌาปนสถาน ซึ่งยกเว้นกรณีเป็นการก่อสร้างแทนฌาปนสถานที่มีอยู่เดิม จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม โดยในส่วนของโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น โรงงานช่อมรองเท้าหรือเครื่องหนัง  โรงงานซ่อมเครื่องมือไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในบ้านหรือใช้ประจำตัว การล้างหรืออัดฉีดยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์
4. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว)          - เป็นบริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่ของผังซึ่งเหมาะแก่การทำเกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เช่น การทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ การสงวนรักษาพื้นที่เกษตรกรรม และการส่งเสริมเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งที่ดินประเภทนี้ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ได้แก่ คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่ายคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว โรงแรม จัดสรรที่ดิน เพื่อประกอบอุตสาหกรรม จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบ                พาณิชยกรรม จัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย โดยในส่วนของโรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การต้ม นึ่ง หรืออบพืชหรือเมล็ดพืช การทำน้ำตาลทรายแดง การบดหรือป่นเครื่องเทศ การผลิต ประกอบ หรือซ่อมแซมตาข่าย แห หรืออวน และรวมถึงชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
5. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน)           - เป็นพื้นที่โล่งที่มีวัตถุประสงค์ในการกำหนดพื้นที่โล่งไว้เพื่อให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี ประกอบด้วยบริเวณหนองวัวซอ และหนองแวงยาว
6. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก)          -เป็นบริเวณพื้นที่โรงเรียนและสถานศึกษาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน ได้แก่ โรงเรียนหนองยางชุมพิทยาคม โรงเรียนบ้านโคกก่องหนองแวงยาวและโรงเรียนอนุบาลหนองวัวซอ
7. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน)           - มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งเป็นสถาบันศาสนาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น วัดบ้านหนองแวงยาง วัดป่าไชยมงคล วัดป่าสามัคคีธรรม
8. ที่ดินประเภทสถาบันราชการการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน)           - มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ และที่ตั้งของหน่วยงานของรัฐ เช่น โรงพยาบาลหนองวัวซอ สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอหนองวัวซอ สำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคหน่วยงานบริการ

                    3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท
                    4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก ถนนสาย ข ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยให้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้
                              4.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
                              4.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง
                              4.3 เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..)               พ.ศ. .... [มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการระดมทุนด้วยโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token)]
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....  [มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการระดมทุนด้วยโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token)] ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                      ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงการคลังเสนอ มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินส่วนแบ่งของกำไร (เงินปันผล) หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน และได้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย (ในอัตราร้อยละ 15) ไว้แล้ว ไม่ต้องนำเงินได้ส่วนดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก [โดยปกติผู้เสียภาษีจะต้องนำเงินได้ส่วนดังกล่าวมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 50) ตอนสิ้นปีภาษีอีกครั้งหนึ่ง] ทั้งนี้ สำหรับเงินส่วนแบ่งของกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป เพื่อยกระดับการกำกับดูแลโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกับหลักทรัพย์ [การลงทุนในหลักทรัพย์            เมื่อได้รับผลตอบแทนเป็นเงินส่วนแบ่งของกำไร (เงินปันผล) หรือดอกเบี้ย และได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว (ในอัตราร้อยละ 10) ผู้ลงทุนมีสิทธิเลือกนำเงินปันผลไปรวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีหรือ              ไม่ก็ได้] รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการระดมทุน ตลอดจนสอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล
                       กระทรวงการคลังได้รายงานประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละประมาณ 50 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวจะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจมีทางเลือกในการระดมทุนด้วยโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนเพิ่มเติมจากการระดมทุนด้วยเครื่องมือดั้งเดิม (ตราสารหนี้และตราสารทุน) อันจะส่งผลดีต่อการระดมทุน การลงทุน และการจ้างงานในประเทศ ตลอดจนช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการระดมทุนด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Hub) เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์คาดการณ์ว่า ในปี 2567               จะมีการระดมทุนด้วยโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนถึง 18,500 ล้านบาท
                        สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                      ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่..)               พ.ศ. .... สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ประเด็น          รายละเอียด
1. ผู้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์          ? บุคคลธรรมดา

2. สิทธิประโยชน์ทางภาษี          ? ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินส่วนแบ่งของกำไร (เงินปันผล) หรือประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน และได้หักภาษี ณ ที่จ่าย (ในอัตราร้อยละ 15) ไว้แล้วไม่ต้องนำเงินได้ส่วนดังกล่าวไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ดังกล่าวไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้นไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน
3. ระยะเวลาบังคับใช้          ? ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป

3. เรื่อง ขอผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรี (เรื่อง การออกเลขที่บ้านชั่วคราวให้กับผู้บุกรุกในเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขอผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2546                         [เรื่อง การออกเลขที่บ้านชั่วคราวให้กับผู้บุกรุกในเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)] ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ
                     สาระสำคัญ
                      1. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 34 บัญญัติให้ทุกบ้านมีเลขประจำบ้าน และมาตรา 36 บัญญัติให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นจัดทำทะเบียนบ้านไว้ทุกบ้าน นายทะเบียนจึงมีหน้าที่ต้องออกทะเบียนบ้านให้แก่บ้านทุกบ้านที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ไม่ว่าเจ้าของบ้านจะมีสิทธิในที่ดินอันเป็นที่ตั้งของบ้านหรือไม่ ทำให้มีการออกทะเบียนบ้านชั่วคราวให้กับบ้านที่มีการปลูกสร้างขึ้นโดยบุกรุกที่ดินของรัฐ ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐอีกทางหนึ่ง คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ (8 เมษายน 2546) ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ในการให้บริการด้านต่าง ๆ แก่ประชาชนที่มีผลกระทบหรือเกี่ยวโยงกับที่ดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า ถือเป็นหลักปฏิบัติโดยเคร่งครัดว่า กรณีประชาชนผู้ได้รับทะเบียนบ้านชั่วคราวมาขออนุญาตใช้บริการต่าง ๆ ดังกล่าว จะอนุญาตได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐที่ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่บ้านในทะเบียนบ้านชั่วคราวนั้น ๆ ตั้งอยู่ โดยให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมตินี้เป็นต้นไป
                      2. ที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทย (มท.) โดยการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค ได้ผ่อนปรนให้ประชาชนผู้ได้รับทะเบียนบ้านชั่วคราวซึ่งออกให้กับที่อยู่อาศัยที่ปลูกสร้างขึ้นในที่ดินของรัฐโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงผู้ที่อยู่ระหว่างการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐ สามารถขอใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาได้ในอัตราค่าบริการที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนกลุ่มดังกล่าวในระยะยาว ซึ่งบางส่วนไม่มีสาธารณูปโภคทั้งไฟฟ้าและน้ำประปาใช้มาเป็นเวลานานมากแล้ว คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ (9 มกราคม 2567) ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) เร่งรัดการดำเนินการขอผ่อนผันการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2546 (เรื่อง การออกเลขที่บ้านชั่วคราวให้กับผู้บุกรุกในเขตที่ดินของ รฟท.) รวมทั้งเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในที่ดิน ที่อยู่ระหว่างการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐมาก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติในวันนี้ (วันที่ 9 มกราคม 2567) สามารถเข้าถึงสาธารณูปโภคทั้งไฟฟ้าและน้ำประปาได้เป็นการชั่วคราวตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยให้ดำเนินการเรื่องนี้เป็นการนำร่องก่อนเฉพาะในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีและแม่ฮ่องสอน และให้ สคทช. รายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบภายใน 1 เดือน ทั้งนี้ ให้ มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือกับ สคทช. ในการดำเนินการดังกล่าวข้างต้นตามหน้าที่และอำนาจด้วย
                     3. สคก. รายงานว่า เพื่อให้การอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่                9 มกราคม 2567 เป็นไปโดยรวดเร็ว สคก. จึงเสนอขอผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2546 เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
                      4. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีความเห็นเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบด้านการบุกรุกที่ดินของรัฐเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากการที่ผู้บุกรุกที่ดินของรัฐไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณูปโภคได้จนอาจทำให้มีการบุกรุกในที่ดินอื่นต่อไป เห็นสมควรให้ สคทช. ร่วมกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณากำหนดแนวทางเพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในที่ดินของรัฐโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงผู้ที่อยู่ระหว่างการพิสูจน์สิทธิ สามารถเข้าถึงสาธารณูปโภคทั้งไฟฟ้าและน้ำประปาได้เป็นการชั่วคราว ตามหลักสิทธิมนุษยชนโดยเร็ว ควบคู่ไปกับการดำเนินการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐให้ชัดเจนและเหมาะสมต่อไป

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                      1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                      2. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงแรงงานไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                      ทั้งนี้ คค. เสนอว่า
                      1. กฎกระทรวงเศรษฐการ ออกตามความในพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติ เรือไทย พุทธศักราช 2481 ข้อ 12 กำหนดให้คนประจำเรือไทยที่ได้จดทะเบียนตามความในมาตรา 7 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2540 เพื่อใช้ประกอบการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศโดยเฉพาะ ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบ แต่โดยที่ปัจจุบันการเจริญเติบโตของธุรกิจเรือขนส่งน้ำมันเป็นไปอย่างรวดเร็ว ในขณะที่คนประจำเรือไทยที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการสำหรับเรือบรรทุกน้ำมันสัญชาติไทยที่มีขนาดเกินกว่า 50,000 เดทเวทตัน* (มากกว่า 20,000 ตันกรอสขึ้นไป) มีจำนวนน้อยและไม่เพียงพอต่อธุรกิจให้บริการเรือขนส่งระหว่างประเทศและจัดเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ของไทย ส่งผลให้ประสบปัญหาการขาดแคลนคนประจำเรือที่มีสัญชาติไทย ประกอบกับมีผู้ประกอบการหลายรายร้องเรียนว่าไม่สามารถจัดหาคนประจำเรือที่มีสัญชาติไทยได้ครบตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด และขอให้ลดอัตราส่วนคนประจำเรือที่มีสัญชาติไทยให้น้อยลง เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจไปได้อย่างต่อเนื่อง และเกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงานสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน สนับสนุนส่งเสริมประสิทธิภาพกองเรือพาณิชย์ให้มีขีดความสามารถในการประกอบการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ และจัดเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ของไทยเพิ่มมากขึ้น
                      2. คค. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 เพื่อกำหนดอัตราส่วนคนประจำเรือที่มีสัญชาติไทยสำหรับเรือบรรทุกน้ำมันสัญชาติไทยที่มีขนาดเกินกว่า 50,000 เดทเวทตัน (มากกว่า 20,000 ตันกรอสขึ้นไป) เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนคนประจำเรือไทยที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการสำหรับเรือบรรทุกน้ำมันสัญชาติไทยที่มีดังกล่าวไม่เพียงพอต่อธุรกิจให้บริการเรือขนส่งระหว่างประเทศและจัดเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ของไทย ทั้งนี้ คค. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ผ่านระบบการประชุมทางไกลร่วมกับผู้แทนของกรมเจ้าท่า ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 ผ่านเว็บไซต์ของกรมเจ้าท่า ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 - 10 มีนาคม 2565 เว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 - 1 เมษายน 2565 ด้วยแล้ว
                      สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     กำหนดอัตราส่วนคนประจำเรือที่มีสัญชาติไทยสำหรับเรือบรรทุกน้ำมันที่มีขนาดมากกว่า 20,000 ตันกรอส ดังนี้
                      1. กำหนดคำนิยาม ?เรือบรรทุกน้ำมันที่มีขนาดใหญ่? หมายถึง เรือบรรทุกน้ำมันสัญชาติไทยที่มีขนาดมากว่า 20,000 ตันกรอสขึ้นไป
                      2. กำหนดลดอัตราส่วนคนประจำเรือที่มีสัญชาติไทย ระยะเวลา 5 ปี ดังนี้
                                (1) จัดให้มีคนประจำเรือที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของปีแรก
                               (2) จัดให้มีคนประจำเรือที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของปีที่สอง
                               (3) จัดให้มีคนประจำเรือที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของปีที่สามและปีที่สี่
                                (4) จัดให้มีคนประจำเรือที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของปีที่ห้า (ปัจจุบัน กำหนดให้คนประจำเรือไทยที่ได้จดทะเบียนตามความในมาตรา 7 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2540 เพื่อใช้ประกอบการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศโดยเฉพาะ ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบ)
*เดทเวทตัน (Dead Weight Ton) คือ น้ำหนักที่เรือนั้นๆ สามารถบรรทุกได้ (น้ำหนักสินค้า + น้ำมันเชื้อเพลิง + เสบียงอาหาร + อะไหล่อุปกรณ์ซ่อมบำรุง + น้ำจืด + ลูกเรือ)

5. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี (ฉบับที่ ..)              พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2558)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ดังนี้
                      1. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                      2. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                      ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ             (15 สิงหาคม 2566) เห็นชอบแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2558 เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) บริเวณหมายเลข 2.2 บางส่วน (เช่น ด้านตะวันออก จดทางหลวงชนบท อบ. 3070 ฟากตะวันตก และด้านใต้ จดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 ฟากเหนือ คลองอารอง ฝั่งตะวันออก เส้นขนานระยะ 700 เมตรเป็นต้น) ให้เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) บริเวณหมายเลข 1/1 และเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) เพื่อเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินและเพิ่มข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะรองรับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อส่งเสริมศักยภาพให้จังหวัดอุบลราชธานีเป็นศูนย์กลางในด้านการค้าการลงทุน พัฒนาการเกษตรให้ได้คุณภาพมาตรฐานสากล รวมถึงด้านการส่งออกสินค้าทางการเกษตรและการลงทุนที่จะทำรายได้ให้กับภาครัฐ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์แผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการจัดตั้งเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor: NeEC) เป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานียังไม่มีพื้นที่รองรับการประกอบกิจการอุตสาหกรรมที่ครบวงจร และข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินยังไม่สอดคล้องกับการพัฒนา เนื่องจากมีการกำหนดห้ามสร้างอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่ รวมทั้งปรับปรุงแผนผังและรายการประกอบแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2558 ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน เพื่อปรับปรุงผังเมืองให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐที่จะรองรับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม และให้สอดคล้องกับนโยบายการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
                      สาระสำคัญของร่างประกาศ
                      1. แก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) บริเวณหมายเลข 2.2 บางส่วน ในท้องที่ตำบลนากระแซง และตำบลทุ่งเทิง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) บริเวณหมายเลข 1/1 และเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) (เช่น ให้มีที่ว่างโดยรอบภายในแนวเขตนิคมอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 30 เมตร) เพื่อเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินและเพิ่มข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะรองรับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อส่งเสริมศักยภาพให้จังหวัดอุบลราชธานีเป็นศูนย์กลางในด้านการค้าการลงทุน พัฒนาการเกษตรให้ได้คุณภาพมาตรฐานสากล รวมถึงด้านการส่งออกสินค้าทางการเกษตรและการลงทุนที่จะทำรายได้ให้กับภาครัฐ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์แผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการจัดตั้งเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor: NeEC) ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านเกษตรกรรม เป็นฐานการผลิตของผู้ประกอบการ ก่อให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่และเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานียังไม่มีพื้นที่รองรับการประกอบกิจการอุตสาหกรรมที่ครบวงจร และข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินยังไม่สอดคล้องกับการพัฒนา เนื่องจากมีการกำหนดห้ามสร้างอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่
                      2. ปรับปรุงแผนผังและรายการประกอบแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตามที่ได้จำแนกประเภทท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2558 เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณหมายเลข 1/1 และบริเวณหมายเลข 2.2

6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. ?.
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. .... (ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2567) ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                      สลค. เสนอว่า
                      1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 121 บัญญัติให้ในปีหนึ่งมีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสองสมัย ๆ หนึ่งให้มีกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยให้ถือวันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองให้เป็นไปตามที่สภาผู้แทนราษฎรกำหนด และเนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2566 กำหนดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก โดยให้ถือเป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 และสภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดให้วันที่ 12 ธันวาคม เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบแล้ว (18 กรกฎาคม 2566) ดังนั้น ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร จึงมีวันเปิดและวันปิดสมัยประชุม ดังนี้
ปีที่          สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง          สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง
1          3 กรกฎาคม 2566 - 30 ตุลาคม 2566          12 ธันวาคม 2566 - 9 เมษายน 2567
2          3 กรกฎาคม 2567 - 30 ตุลาคม 2567          12 ธันวาคม 2567 - 10 เมษายน 2568
3          3 กรกฎาคม 2568 - 30 ตุลาคม 2568          12 ธันวาคม 2568 - 10 เมษายน 2569
4          3 กรกฎาคม 2569 - 30 ตุลาคม 2569          12 ธันวาคม 2569 - 10 เมษายน 2570
                      2. โดยที่ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญ ประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. 2566 ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2566 บัดนี้ จะสิ้นกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ตามสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองในวันที่ 9 เมษายน 2567 สมควรที่จะกำหนดให้ปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2567


7.  เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ ดังนี้
                     1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....1 และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญ ของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                      2. รับทราบผลการพิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ ในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ลธน.) เสนอ  โดยให้ส่งผลการพิจารณาดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ไปประกอบการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ต่อไป
                     สาระสำคัญ
                     ร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ เป็นร่างที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติรับทราบ (3 มีนาคม 2567) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 โดยเป็นการปรับปรุงคำนิยามให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพิ่มเติมองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการต่าง ๆ เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีผู้รักษาการในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับสถานที่ห้ามจำหน่ายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพิ่มหมวดว่าด้วยการโฆษณาเพื่อการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ หรือชักจูงใจ กำหนดให้มีการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพแก่ผู้มีปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และกำหนดเวลาห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณสถานที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วเห็นชอบในหลักการ และมีข้อสังเกตบางประการในประเด็นการจัดทำแนวทางเกี่ยวกับการโฆษณา เครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กำหนดการห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การทบทวน บทบัญญัติต่าง ๆ การรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholders) ต่าง ๆ และข้อมูลความสัมฤทธิ์ผลของกฎหมาย ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ และได้จัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 แล้ว รวมทั้งได้จัดทำแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว รวม 3 ฉบับ
                     สำหรับผลการพิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ ในการควบคุม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 มีนาคม 2567 โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า ควรยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 253 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2515 และอนุญาตให้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรม หรือสถานบริการที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงสถานศึกษา รวมทั้งอนุญาตให้ขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกิจกรรมที่จัดขึ้นในสถานที่ของทางราชการที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมควบคุมโรค เพิ่มเติมจากบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้าหรือสโมสร อาทิ งานแสดงดนตรีที่จัดขึ้นในสนามกีฬาของทางราชการ นอกจากนี้ ควรแก้ไขผู้รักษาการตามกฎหมายจากนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และผู้มีอำนาจในการกำหนดวันและเวลาห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตให้ทำการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ทำการตลาดออนไลน์เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งกรณีที่ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นผู้สนับสนุนการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อีกทั้งควรกำหนดรายละเอียดข้อความที่ระบุบนฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยต้องไม่มีข้อความในลักษณะที่เชิญชวนให้บริโภค ตลอดจนยกเลิกการควบคุมวิธีการหรือลักษณะการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
                      โดยที่ผลการพิจารณาของเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้ เป็นการกำหนดประเด็นที่เกี่ยวข้องกับร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอมา ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (3 มีนาคม 2567) ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่สร้างสมดุลกับนโยบายอื่นของรัฐไปพิจารณาแก้ไขปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป จึงให้ส่งผลการพิจารณาดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ไปประกอบการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ต่อไป
1 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (3 มีนาคม 2567) รับทราบร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และมอบให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรีนำข้อสังเกตของนายกรัฐมนตรีไปพิจารณา แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาพร้อมกับร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ


เศรษฐกิจ-สังคม
8.  เรื่อง การขอต่ออายุวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี กับธนาคารออมสิน วงเงิน 500 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ให้การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ต่ออายุวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารออมสิน วงเงิน 500 ล้านบาท ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่  12 มีนาคม 2567 สิ้นสุดวันที่ 11 มีนาคม 2570 โดยมีกระทรวงการคลัง (กค.) ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 (ปรับปรุงครั้งที่ 1) (สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับปัจจุบันจะสิ้นสุดลงในวันที่ 11 มีนาคม 2567)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พม. รายงานว่า
1.          กคช. ได้ประสานกับธนาคารออมสินเพื่อขอต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี วงเงิน 500 ล้าน
บาท ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 11 มีนาคม 2567 ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2567 และครบกำหนดวันที่ 11 มีนาคม 2570 โดยเป็นการขอวงเงินไว้สำหรับในกรณีที่ กคช. ขาดเงินทุนหมุนเวียนในช่วงใดช่วงหนึ่งก็จะขอเบิกจากวงเงินเบิกเกินบัญชีมาใช้ในการหมุนเวียน เพื่อมิให้การดำเนินงานต้องกระทบกระเทือนหรือหยุดชะงักลงและจะใช้คืนธนาคารทันทีที่มีสภาพคล่องทางการเงินเพียงพอ ซึ่งคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 ได้มีมติเห็นชอบการขอต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และ กคช. ได้แจ้งให้ กค. ทราบไว้ล่วงหน้าแล้ว ทั้งนี้ วงเงินดังกล่าวได้รับการบรรจุไว้ในการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 1  ด้วยแล้ว
2.          ธนาคารออมสินได้เห็นชอบให้ กคช. ต่ออายุวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวออกไปอีกเป็น
ระยะเวลา 3 ปี สรุปได้ ดังนี้
รายการ          วงเงินและเงื่อนไข
ประเภทสินเชื่อ          วงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี (O/D)
จำนวนเงินกู้          ไม่เกิน 500 ล้านบาท
วัตถุประสงค์          เพื่อใช้เป็นวงเงินสำรองในกรณีที่ กคช. ขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนและมีความจำเป็นต้องใช้เงิน
ระยะเวลากู้          ระยะเวลา 3 ปี นับจากวันที่ 12 มีนาคม 2567 และครบกำหนดวันที่ 11 มีนาคม 2570
อัตราดอกเบี้ย          MOR ของธนาคารออมสิน ลบร้อยละ 2.345 ต่อปี1 (MOR-2.345)
การค้ำประกัน          กค. ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย
เงื่อนไขอื่น ๆ           1. หากผู้กู้ไม่สามารถชำระคืนหนี้ได้ตามกำหนด ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกร้อยละ 2 ต่อปี
2. ผู้กู้ต้องแจ้งกำหนดการเบิกเงินให้นาคารทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ
3. กำหนดให้ กคช. ต้องแสดงเอกสารสำเนาหนังสือมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ กคช. ต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำนวน 500 ล้านบาท ออกไปอีกเป็นเวลา 3 ปี นับจากวันที่ 12มีนาคม 2567 ครบกำหนดวันที่ 11 มีนาคม 2570
หมายเหตุ : อัตราดอกเบี้ย MOR ของธนาคารออมสินปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 6.995 ต่อปี (เป็นอัตราดอกเบี้ยที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามประกาศของธนาคารออมสิน)
?????????_________________
1เป็นอัตราที่ธนาคารออมสินพิจารณาจากความเสี่ยงของสถานการณ์เศรษฐกิจและความผันผวนของดอกเบี้ย

9. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ กรณีศึกษาองค์ความรู้และแนวคิดจากประสบการณ์ของต่างประเทศ : สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐเกาหลี ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ กรณีศึกษาองค์ความรู้และแนวคิดจากประสบการณ์ของต่างประเทศ : สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐเกาหลี ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง การศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ กรณีศึกษาองค์ความรู้และแนวคิดจากประสบการณ์ของต่างประเทศ : สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐเกาหลีของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ  โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการจัดการศึกษา                        รวม 7ประเด็น ได้แก่ (1) การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (2) การศึกษาฟรี มีคุณภาพถ้วนหน้าสำหรับเด็กทุกคน                         (3) การจัดการศึกษาบนหลักแห่งการกระทำที่ทัดเทียมกัน (Equalization System) หรือเสมอภาคกัน (4) การจัดการศึกษาควรคำนึงถึงการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ในระดับภูมิภาคหรือท้องถิ่นเป็นสำคัญ                (5) การปฏิรูปครู (6) การพัฒนาการเรียนการสอนเสริมด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมแก่สภาพพื้นที่ของผู้เรียนและ                 (7) การศึกษาเพื่อลดความยากจนและเหลื่อมล้ำต้องเป็นไปในทิศทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ในขณะนั้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ ศธ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานครและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานและข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    ศธ. ได้รวบรวมผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาและข้อเสนอแนะคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 แล้ว ซึ่งเห็นด้วยกับรายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการ โดยสรุปผลการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ดังนี้

ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ          ผลการพิจารณา
1. การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic
Education) เป็นเครื่องมือในการปฏิรูปคน
ให้มีความเป็นพลเมือง การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองจะช่วยทำให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ และมีความรับผิดชอบที่พร้อมพอสำหรับการเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทุกมิติของสังคม
                    หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ โดยมีความเห็นว่า มาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา                   พ.ศ. 2562 กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่และอำนาจในการจัดการศึกษาเพื่อสนองต่อความจำเป็นและความต้องการของประเทศในด้านต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนากำลังคน เพื่อให้ประเทศพัฒนาไปสู่ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และมีพลเมืองที่มีคุณภาพ จึงเห็นว่า สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นพลเมืองคุณภาพได้ โดยผ่านการพัฒนาและบูรณาการหลักสูตร และจะต้องจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานการอุดมศึกษาต่าง ๆ เช่น เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอนุปริญญา หรือระดับปริญญาตรี และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ศธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำหลักสูตรควรดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับแนวทางการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic Education) โดยดำเนินการวิเคราะห์และเชื่อมโยงหลักสูตรที่มี เช่น วิชาสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาหน้าที่พลเมือง และหลักสูตรโตไปไม่โกง เป็นต้น และส่งเสริมให้มีวิชาทักษะ เพื่อรองรับกับตลาดแรงงาน รวมทั้งบูรณาการกิจกรรมการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง สำหรับผู้เรียนในระบบและการศึกษานอกระบบ เพื่อไม่ให้เป็นภาระของสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้เรียน
2. การศึกษาฟรี มีคุณภาพถ้วนหน้าสำหรับเด็กทุกคน รัฐต้องสร้างกลไกเพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับเด็กทุกคน
                    ควรเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและข้อมูลการอุดหนุนงบประมาณของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐเกาหลี ในรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่องดังกล่าว เพื่อพิจารณาศึกษาว่าจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างไรบ้าง เช่น การอุดหนุนโรงเรียนที่มีลักษณะแตกต่างกันตามบริบทการจัดการศึกษา ระบบบัญชี และการจัดทำงบประมาณ
3. การจัดการศึกษาบนหลักแห่งการกระทำที่ทัดเทียมกัน (Equalization System) หรือเสมอภาคกัน ช่วยเหลือกลุ่มคนหรือพื้นที่ที่ยังอ่อนแอ ให้พัฒนาขึ้นมาให้ทัดเทียมกับกลุ่มคนหรือพื้นที่อื่น ๆ                    ควรเพิ่มติมเนื้อหาเกี่ยวกับการปรับวิธีการจัดสรรงบประมาณของโรงเรียน ในรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่องดังกล่าว เพื่อให้มีงบประมาณเพียงพอในการจัดการศึกษา เช่น การให้มีมาตรฐานขั้นต่ำด้านทรัพยากรทางการศึกษา และการจัดสรร
ทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อให้มาตรฐานระหว่างโรงเรียนชนบทและเพิ่มอำนาจการตัดสินใจการจัดสรรงบประมาณ เป็นต้น การส่งเสริมบุคลากร และการสร้างสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เหมาะกับการเรียนรู้ รวมถึงมีโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเรียนการสอน
4. การจัดการศึกษาควรคำนึงถึงการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ในระดับภูมิภาคหรือท้องถิ่นเป็นสำคัญควรจัดการศึกษาให้เป็นไปตามสภาพภูมิประเทศและทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้คนในชุมชนได้มีสถานที่เรียนที่เพียงพอ และได้เรียนตามภูมิสังคมของตนเอง และยึดโยงกับชุมชนของตน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานการพัฒนาความสามารถที่เพิ่มมากขึ้นต่อไปได้                    ควรปรับโครงสร้างหลักสูตรและเวลาเรียนที่เอื้อให้เปิดรายวิชาเพิ่มเติม หรือใช้หลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นได้

5. การปฏิรูปครู ปฏิรูปการศึกษาในการผลิตสร้างครูทั้งระบบ เนื่องจากครูคือต้นทางและต้นแบบของเด็ก ๆ และเยาวชนในระบบการศึกษา ซึ่งจะส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรมของเด็ก                    หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ

6. การพัฒนาการเรียนการสอน เสริมด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมแก่สภาพพื้นที่ของผู้เรียน
                    ควรสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมแก่สภาพพื้นที่ของผู้เรียน อาทิ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ที่บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เพียงพอและความพร้อมของเทคโนโลยีในสถานศึกษา รวมทั้งเพิ่มศักยภาพด้านดิจิทัลให้กับสถานศึกษา โดยสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT และสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่งเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีให้กับครู รวมถึงเพิ่มการจัดการเรียนการสอนผ่านทีวีดิจิทัลให้แก่สถานศึกษาขนาดเล็ก ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารหรืออาจถ่ายโอนโรงเรียนขนาดเล็กให้อยู่ในการกำกับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาสถานศึกษานั้นต่อไป
7. การศึกษาเพื่อลดความยากจนและเหลื่อมล้ำต้องเป็นไปในทิศทางการศึกษาที่มีคุณภาพสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้ และแก้ปัญหาตนเองได้ พึ่งพาตนเองและจัดการตนเองได้ไม่เป็นภาระของสังคม                    หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ



10. เรื่อง ขออนุมัติและขอรับการสนับสนุนงบประมาณโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน (ภาคใต้)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน (ภาคใต้) วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 163.231 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชนให้ได้รับการดูแลครอบคลุมในทุกมิติอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    อย่างไรก็ดี เนื่องจากในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานดำเนินภารกิจในการส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น (อสบ.) ดังนั้น เพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุเกิดประโยชน์สูงสุดและลดความซ้ำซ้อนของภารกิจของหน่วยงาน คณะรัฐมนตรีมอบหมายรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับแผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย และหน่วยงานเจ้าภาพแผนงานบูรณาการดังกล่าวพิจารณาภาพรวมในการส่งเสริม สนับสนุนบริบาล และคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน รวมทั้งพิจารณาอัตราค่าใช้จ่าย กรอบระยะเวลาดำเนินโครงการ ตลอดจนพิจารณาขั้นตอน วิธีการ กลุ่มเป้าหมาย โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สธ. กระทรวงมหาดไทย (มท.) อปท. และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงภาระงบประมาณที่เกิดขึ้นเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศต่อไป ทั้งนี้ ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กรมกิจการผู้สูงอายุได้รับการเสนอตั้งงบประมาณโครงการดังกล่าวไว้แล้วจำนวน 8.850 ล้านบาท ในลักษณะโครงการนำร่อง จึงเห็นควรให้มีการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงาน หากมีความจำเป็นต้องดำเนินการในระยะต่อไปก็เห็นควรให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ภายใต้แผนงานบูรณาการดังกล่าว ตามภารกิจ ความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พม. รายงานว่า
                    1. ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์1 การเกิดของประชากรไทยมีอัตราลดลงเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยในปี 2566 ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุ จำนวน 13.06 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 20.08 ของประชากรทั้งหมด 65.06 ล้านคน และในภาคใต้ (14 จังหวัด)2 มีประชากรสูงอายุ จำนวน 1.62 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.14 ของประชากรภาคใต้ทั้งหมด 9.45 ล้านคน (ข้อมูลจากกรมการปกครอง ณ เดือนธันวาคม 2566) และจากข้อมูลการคัดกรองสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)3 พบว่า ภาคใต้มีประชากรสูงอายุ จำนวน 1.07 ล้านคน แบ่งเป็น กลุ่มติดสังคม4 จำนวน 1.03 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 96.19 กลุ่มติดบ้าน5 จำนวน 33,493 คน เป็นร้อยละ 3.12 และกลุ่มติดเตียง6 จำนวน 7,404 คน คิดเป็นร้อยละ 0.69 นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มอยู่ลำพังคนเดียวและถูกทอดทิ้งเพิ่มขึ้นเนื่องจากสมาชิกในครอบครัวมีการย้ายถิ่นฐานเพื่อการประกอบอาชีพและหารายได้ โดยมีผู้สูงอายุที่อยู่ลำพัง จำนวน 189,190 คน และผู้สูงอายุดูแลกันเอง จำนวน 89,680 คน (ข้อมูลจากกรมการพัฒนาชุมชน ณ เดือนธันวาคม 2565) ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนจำนวนผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม
                    2. พม. ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุให้ครอบคลุมในทุกมิติ (มิติสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีและนวัตกรรม) รวมถึงการป้องกันการเข้าสู่ภาวะพึ่งพิงและการดูแลระยะยาวในผู้สูงอายุ โดยส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและดูแลผู้สูงอายุเพื่อรองรับสถานการณ์สังคมสูงอายุในปัจจุบันและอนาคต และเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิต สร้างระบบการดูแลและเฝ้าระวังทางสังคมผู้สูงอายุในระดับพื้นที่ให้กับผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ จึงได้จัดทำโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน (ภาคใต้) (โครงการฯ) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสอดคล้องกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้7 ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ เช่นแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (พ.ศ. 2566-2570) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่มีแผนพัฒนาเกี่ยวกับการจัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งองค์กรที่มีบทบาทหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากปัญหาการพึ่งพิงและประชากรวัยเด็กลดลงทำให้มีอัตราวัยแรงงานลดลงแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (พ.ศ. 2566-2570) ที่มีแผนพัฒนาเกี่ยวกับการลงทุนทางสังคมแบบมุ่งเป้าเพื่อช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนยากจน กลุ่มเปราะบางและกลุ่มผู้มีภาวะพึ่งพิงสูง ให้เข้าถึงบริการสาธารณสุข เนื่องจากมีแนวโน้มความต้องการด้านสาธารณสุขในพื้นที่ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยโครงการฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
1. วัตถุประสงค์          ? ส่งเสริมสนับสนุนการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน
? พัฒนาศักยภาพผู้บริบาล (ผู้ดูแล) คุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ
? สร้างกลไกการดูแลผู้สูงอายุให้ครอบคลุมในทุกมิติ 5 มิติ (มิติสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีและนวัตกรรม) ในระดับพื้นที่ โดยมุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนและลดภาระค่าใช้จ่ายการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวของประเทศ
2. พื้นที่ดำเนินโครงการ          14 จังหวัด 151 อำเภอ ในภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี ตรัง พัทลุง นราธิวาส ชุมพร ปัตตานี ยะลา กระบี่ ภูเก็ต พังงา สตูล และระนอง
3. กลุ่มเป้าหมายโครงการฯ           กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์ รวม 1.62 ล้านคน ประกอบด้วย
? คนในพื้นที่ที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ8 พื้นที่ละ 2 คน จำนวน 151 พื้นที่ รวมทั้งสิ้น 302 คน
? ผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 1.62 ล้านคน
4. ขั้นตอนการดำเนินการ          ? รับสมัครและพิจารณาคัดเลือกคนในแต่ละพื้นที่ พื้นที่ละ 2 คน ให้เป็นผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุเพื่อเข้ารับการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนดและปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
? จัดอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นสูงหรือหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง (ใช้ระยะเวลาอบรมประมาณ 3 เดือน) จากสถาบันหรือหน่วยงานที่ได้รับรองอนุญาตใช้หลักสูตรจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สธ.9 ซึ่งสอดคล้องกับกฎกระทรวงกิจการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง ออกตามความในพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 รวมถึงมีการจัดอบรมเพิ่มเติมทักษะความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับการดูแลคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ การดูแลปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ การเข้าถึงสวัสดิการทางสังคม และการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้ครอบคลุมทั้ง 5 มิติข้างต้น เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ
? ผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุปฏิบัติงานตามขอบเขตหน้าที่ที่กำหนด โดยการลงพื้นที่ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านและจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนตามระยะเวลาและสถานที่ที่กำหนด โดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลและให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ
? ลงพื้นที่สรุป ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
5. งบประมาณ           จำนวน 163.231 ล้านบาท แบ่งเป็น
งบประมาณ          จำนวน
? งบดำเนินงาน เช่น ค่าตอบแทนผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ ค่าจัดอบรม ค่าจัดกิจกรรมในพื้นที่          93.016 ล้านบาท
? งบลงทุน เช่น รถเข็นชนิดนั่ง เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิทัลพร้อมที่วัดส่วนสูง กระเป๋าพยาบาลพร้อมอุปกรณ์ปฐมพยาบาล          70.215 ล้านบาท

6. ระยะเวลาดำเนินโครงการ          เริ่มดำเนินโครงการภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
7. ประโยชน์ที่ได้รับ          ? ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างมีมาตรฐาน มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
? มีกลไกระบบชุมชนรอบรับสถานการณ์สังคมสูงวัย
? ลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของประเทศ
? ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน

1 พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่ม บัญญัติให้ ?ผู้สูงอายุ? หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป นอกจากนี้องค์การสหประชาชาติได้ให้นิยามว่า (1) ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนเกินร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวสู่สังคมสูงอายุ (2) ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ และ (3) ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด
2 14 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี ตรัง พัทลุง นราธิวาส ชุมพร ปัตตานี ยะลา กระบี่ ภูเก็ต พังงา สตูล และระนอง
3 เป็นข้อมูลผู้สูงอายุที่ได้รับการประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของ สธ.
4 กลุ่มติดสังคม คือ ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้ดี มีสุขภาพดี สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ และเข้าร่วมกิจกรรมในสังคมรวมถึงช่วยเหลือผู้อื่น สังคม และชุมชนได้
5 กลุ่มติดบ้าน คือ ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้บ้างหรือต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่นเพียงบางส่วน
6 กลุ่มติดเตียง คือ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ พิการหรือทุพพลภาพ ต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่นในการเคลื่อนย้าย
7 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ ประกอบด้วย 3 กลุ่มจังหวัด คือ (1) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ได้แก่ จังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง และสตูล (2) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา และ (3) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ได้แก่ จังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลา
8 พม. แจ้งว่า ผู้ที่สามารถสมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าภาคบังคับหรือมัธยมศึกษาตอนต้น และมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ดำเนินการ โดยจะปฏิบัติหน้าที่ภายในศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) ร่วมกับการลงพื้นที่ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านในชุมชน ซึ่ง ศพอส. มีหน้าที่ดำเนินกิจกรรมและบริการเกี่ยวกับผู้สูงอายุ เช่น ส่งเสริมอาชีพให้ผู้สูงอายุ ให้คำปรึกษา แนะนำการใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับวัย โดยการดำเนินงานของ ศพอส. จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหาร ศพอส. ที่แต่งตั้งโดยองค์การบริหารส่วนตำบลในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะต้องมีผู้แทนชุมชนเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของคณะกรรมการด้วย
9 พม. แจ้งว่า หลังจากที่ได้รับการอบรมตามหลักสูตรแล้ว ผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุจะได้รับประกาศนียบัตรจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สธ. และสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพดูแลผู้สูงอายุของภาคเอกชนได้



11. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม                พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2566 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ เสนอดังนี้
                    1. อนุมัติให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ กรณีโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทยจำนวน 60,000,000 โดส (AstraZeneca) ปี พ.ศ. 2565 (โครงการจัดหาวัคซีนฯ AZ) โดยเปลี่ยนแปลงรายละเอียดรายการวัคซีน AstraZeneca ที่ยังไม่ได้รับการส่งมอบ จำนวน 19,074,400 โดส เป็นการจัดซื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือแอนติบอดี้ออกฤทธิ์ยาว (Long - acting antibody : LAAB)1 รุ่นใหม่ จำนวน 36,000 โดส ส่งผลให้กรอบวงเงินโครงการฯ ลดลงจาก 18,382.4643 ล้านบาท เป็น 13,634.8712 ล้านบาท หรือลดลงจำนวน 4,747.5931 ล้านบาท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                    2. มอบหมายให้ สธ. กำกับให้กรมควบคุมโรค เร่งประสานกับบริษัท AstraZeneca (ประเทศไทย) จำกัด (บริษัท AstraZeneca) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน2 เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไว้ภายในเดือนมีนาคม 2567 และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ LAAB ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                    3. อนุมัติให้จังหวัดกระบี่ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565 (โครงการพัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งฯ ปี 2565) โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการปรับภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวหาดอ่าวนางและหาดนพรัตน์ธารา ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ วงเงิน 5.4000 ล้านบาท จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2565 เป็นเดือนธันวาคม 2566 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                    4. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1. และ 3. เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) (ระบบ eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโดยเร็ว
                    5. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 9 (1 สิงหาคม - 31 ตุลาคม 2566) พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธาน คกง. ได้รายงานผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2566 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 โดยมีมติ ดังนี้
                    1. เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการกรณีโครงการจัดหาวัคซีนฯ AZ ของกรมควบคุมโรค สธ. โดยเปลี่ยนแปลงรายละเอียดรายการวัคซีนฯ AZ ที่ยังไม่ได้รับการส่งมอบเป็นการจัดซื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือ LAAB รุ่นใหม่3 ซึ่งจะใช้เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่เป็นสารตั้งต้นในการผลิต เพื่อให้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคโควิด 19 ที่แพร่ระบาดในปัจจุบันได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
รายการ          มติคณะรัฐมนตรี (เดิม)          สธ. ขอเปลี่ยนแปลง (ครั้งนี้)
ประเภทวัคซีน          จัดหาวัคซีนฯ AZ          จัดซื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือ LAAB
จำนวนวัคซีน          19.0744 ล้านโดส          36,000 โดส
กรอบวงเงิน (ล้านบาท)          18,382.4643          13,634.8712
                              ทั้งนี้ ให้ สธ. กำกับกรมควบคุมโรค เร่งประสานกับบริษัท AstraZeneca และ อย. เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไว้ภายในเดือนมีนาคม 2567 และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ LAAB ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาของ คกง. เห็นควรมอบหมายให้กรมควบคุมโรคเร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการในระบบ eMENSCR ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
                    2. เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ กรณีโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 ของกระทรวงมหาดไทย (มท.) จำนวน 1 จังหวัด (จังหวัดกระบี่) รวม 1 โครงการ (โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวหาดอ่าวนางและหาดนพรัตน์ธารา ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่) กรอบวงเงิน 5.4000 ล้านบาท โดยขอขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2565 เป็นเดือนธันวาคม 25664 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว และให้จังหวัดกระบี่เร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 ในระบบ eMENSCR และเบิกจ่ายเงินให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ปัจจุบันโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 ดำเนินการเสร็จแล้ว คงเหลือการเบิกจ่ายเงินตามขั้นตอน
                    3. เห็นชอบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 9 (1 สิงหาคม - 31 ตุลาคม 2566) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
รายการ          จำนวนโครงการ          วงเงิน (ล้านบาท)          ร้อยละ
                    ใช้จริง/อนุมัติ          เบิกจ่าย
1. โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ          2,303          461,678.76          444,179.75          96.21
2. โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ          39          37,775.52          29,641.74          78.46
    2.1 โครงการของส่วนราชการ*          5          37,604.45          29,537.44          78.55
    2.2 โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565 ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ          34          171.07          104.30          60.97
หมายเหตุ *          1. โครงการที่มีความก้าวหน้าการเบิกจ่ายมากกว่าร้อยละ 90 จำนวน 1 โครงการ: โครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย จำนวน 30,002,310 โดส (Pfizer) ปี พ.ศ. 2565 ของกรมควบคุมโรค
                    2. โครงการที่มีความก้าวหน้าการเบิกจ่ายต่ำกว่าร้อยละ 90 จำนวน 4 โครงการ: (1) โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ChulaCov 19 เพื่อทำการทดสอบทางคลินิกระยะที่ 3 และการผลิตเพื่อขึ้นทะเบียนวัคซีนเพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉิน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2) โครงการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติ การวิจัยและทดสอบวัคซีนและเภสัชภัณฑ์ในลิงมาร์โมเส็ท ของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (2-A019) (3) โครงการศึกษาความปลอดภัย (Safety) ความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Immunogenicity) และประสิทธิภาพ (Vaccine Efficiency) ของแคนดิเดตซับยูนิต วัคซีนสำหรับป้องกันโรคโควิด 19 ที่ใช้พืชเป็นแหล่งผลิตในมนุษย์ระยะ 2A โดยบริษัท ใบยาไฟโตฟาร์มจำกัดของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และ (4) โครงการจัดหาวัคซีนฯ AZ
                              ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ดังนี้
                              3.1 กรณีโครงการแล้วเสร็จ ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งดำเนินการคืนวงเงินเหลือจ่าย พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของการเบิกจ่ายให้ครบถ้วนก่อนจัดส่งรายงานผลสำเร็จของโครงการให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) โดยเร็วตามขั้นตอนข้อ 21 และ 22 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมินตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไว้รัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564)
                              3.2 กรณีโครงการของส่วนราชการและโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 ที่มีสถานะอยู่ระหว่างดำเนินการ ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ เร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินโครงการให้ทันกรอบระยะเวลาสิ้นสุดโครงการตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี อย่างไรก็ตามในกรณีที่หน่วยงานรับผิดชอบพิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินโครงการมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถดำเนินกิจกรรมหรือเบิกจ่ายโครงการได้ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้เร่งเสนอขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 โดยเร็ว
1 LAAB (Long Acting Antibody) คือ แอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว สำหรับใช้เพื่อการป้องกันและรักษาโควิด 19 โดยใช้ในกลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป และมีน้ำหนักตัวมากกว่า 40 กิโลกรัม ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโควิด 19 ได้ไม่เพียงพอจากโรคต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยล้างไต รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ได้ ซึ่ง LAAB มีความแตกต่างจากวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 คือ LAAB เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้วจะสามารถสร้างภูมิต้านทานได้ทันที ส่วนวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน (ใช้เวลาประมาณ 1 - 2 สัปดาห์) หลังฉีดเข้าร่างกาย
2 การนำเข้า LAAB ที่เสนอในครั้งนี้ เป็นการนำเข้า LAAB รุ่นใหม่ ทำให้จำเป็นต้องมีการขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (US.FDA) และ อย.
3 การเปลี่ยนแปลงวัคซีนฯ AZ ที่ไม่ได้รับการส่งมอบเป็นการจัดซื้อ LAAB รุ่นใหม่ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ในปัจจุบันมีแน้วโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องและโรคโควิด 19 มีแนวโน้มไม่รุนแรง
4 ปัจจุบันโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ปี 2565 ดำเนินการเสร็จแล้ว แต่ต้องขอขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการเพื่อให้สามารถเบิกจ่ายเงินตามขั้นตอนต่อไปได้

12. เรื่อง แนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566-2570
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566-2570 ตามมติคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ในการประชุมครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สำนักงาน ก.พ. รายงานว่า
                    1. สำนักงาน ก.พ. ได้จัดทำข้อเสนอ ?แนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566-2570? โดยได้ควบรวมสาระสำคัญในการพัฒนาบุคลากรของ (1) แนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล และ (2) แนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2563-2565 ที่สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการในปี พ.ศ. 2565 เพื่อให้ส่วนราชการมีแนวปฏิบัติในการพัฒนาบุคลากรภาครัฐที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถบูรณาการความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566-2570 ที่เสนอมาในครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคล ภายใต้มาตรการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ ของมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. 2566-2570)
                    2. แนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566-2570 ผ่านความเห็นชอบจาก ก.พ. ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 แล้ว และสำนักงาน ก.พ. ได้จัดการสัมมนาส่วนราชการเพื่อชี้แจงการเตรียมการจัดทำนโยบาย หรือทิศทางการพัฒนาบุคลากรการบริหารจัดการงบประมาณ บุคลากรหรือทรัพยากรต่าง ๆ ที่รองรับการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวแล้วในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา เพื่อให้ครอบคลุมกำหนดระยะเวลาตามแนวทางการพัฒนบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566-2570 ที่ ก.พ. มีมติเห็นชอบ
                    3. แนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566-2570 เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2563-2565 จึงมีหลักการดำเนินการในภาพรวมไม่แตกต่างจากเดิมอย่างมีนัยสำคัญ แต่มีการปรับปรุงประเด็นการพัฒนา โดยรวมประเด็นการพัฒนากรอบทักษะ (Skillsets) และกรอบความคิด (Mindset) เข้าด้วยกัน (ประเด็นการพัฒนาที่ 2 ในแนวทางที่เสนอมานี้) และเพิ่มเติมประเด็นการพัฒนากรอบความคิดและทักษะด้านดิจิทัล (ประเด็นการพัฒนาที่ 3) ซึ่งเป็นผลจากการผนวกรวมแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัลฉบับเดิมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566-2570 มีสระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
- หน่วยงานของรัฐใช้เป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาองค์กร เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาของบุคลากร การส่งเสริมการดำเนินการในการบริหารและพัฒนาบุคลากรอย่างเชื่อมโยง และการยกระดับกลไกการดำเนินการเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลได้อย่างเป็นระบบ
- บุคลากรภาครัฐใช้เป็นแนวปฏิบัติในการวางแผนการพัฒนาตนเองและพัฒนางาน โดยมุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้และพัฒนา การประเมินและปรับปรุงการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
2. เป้าหมายของการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ
- ประชาชนและผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติราชการ
- หน่วยงานภาครัฐมีการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร และการสร้างสมดุลคุณภาพชีวิตที่ดี
- บุคลากรภาครัฐมีการพัฒนาตัวเองและสามารถขับเคลื่อนภารกิจ พัฒนาองค์กร และตอบสนองความต้องการของประชาชน
3. หลักการและแนวคิด
- การพัฒนาที่มีเป้าหมายชัดเจนและตอบสนองความต้องการของประชาชนและกลุ่มเป้าหมาย
- การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้และการสร้างความสุขในการปฏิบัติงาน
- การพัฒนาที่มีความครอบคลุมบุคลากรทุกระดับ
4. กลุ่มเป้าหมาย
- หน่วยงานของรัฐ : ครอบคลุมส่วนราชการในสังกัดกระทรวง ทบวง กรม รวมทั้งส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม สำหรับหน่วยงานในราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐในฝ่ายบริหารอาจพิจารณานำแนวทางดังกล่าวไปปรับใช้โดยอนุโลมตามที่เห็นสมควร
- บุคลากรภาครัฐ : ข้าราชการพลเรือน พนักงานราชการ และลูกจ้างของส่วนราชการ โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มตามบทบาทหน้าที่ ประกอบด้วย (1) บุคลากรแรกบรรจุ (2) บุคลากรที่มีประสบการณ์ (3) บุคลากรที่ทำหน้าที่หัวหน้างาน (4) บุคลากรที่ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ และ (5) บุคลากรที่ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร
   ทั้งนี้ ข้าราชการหรือพนักงานของรัฐประเภทอื่น หน่วยงานสามารถนำแนวทางดังกล่าวไปปรับใช้โดยอนุโลมตามความเหมาะสม
5. ระยะเวลาดำเนินการ
ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2570 หรือจนกว่าจะออกแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐฉบับใหม่มาใช้แทน
6. กลไกการดำเนินการ
กำหนดกลไกการดำเนินการไว้ 2 ลักษณะ ดังนี้
- ส่วนราชการดำเนินการโดยผ่านความเห็นชอบของฝ่ายบริหาร
- ส่วนราชการดำเนินการโดยผ่านความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการสามัญประจำกรม (อ.ก.พ. กรม)
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารงานของส่วนราชการ และให้เป็นดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการ
7. ประเด็นการพัฒนา
แนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566-2570 ได้กำหนดประเด็นการพัฒนา จำนวน 3 ประเด็นโดยมีการกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ และแนวทางขับเคลื่อนการดำเนินการ ดังนี้
ประเด็นการพัฒนาที่ 1
การพัฒนาองค์กรเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และพัฒนา
เป้าหมาย : หน่วยงานของรัฐสามารถสร้างและพัฒนาองค์กรสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นองค์กรที่มีความปรารถนาในการที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เพื่อการพัฒนา การทำงาน มีการแบ่งปันความคิดในการทำงาน มีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม มีการทุ่มเททรัพยากรเพื่อลงทุนให้บุคลากรทุกระดับเกิดการเรียนรู้ ตลอดจนสร้างค่านิยมเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมและทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ จนกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กร
กลยุทธ์ : กลยุทธ์ที่ 1 การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยการพัฒนากลไก เครื่องมือ หรือระบบเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนา เช่น การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้งานง่ายเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง
             กลยุทธ์ที่ 2 การเป็นองค์กรแห่งการตื่นรู้และปรับตัว โดยการกำหนดนโยบาย ทิศทางในการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการปรับตัวให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น วิเคราะห์ปัจจัยสำเร็จ ความท้าทาย เพื่อกระตุ้นให้บุคลากรตื่นตัวในการปฏิบัติงานที่ต้องมีการปรับปรุงพัฒนาอยู่เสมอ
             กลยุทธ์ที่ 3 การเป็นองค์กรแห่งการมีพฤติกรรมที่ดี โดยการกำหนดมาตรการ หรือกลไกเพื่อเสริมสร้างและรักษาวินัย คุณธรรม และจริยธรรมในการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การยึดถือมาตรฐานจริยธรรมที่ ก.พ. กำหนดเป็นมาตรฐาน/แนวปฏิบัติให้บุคลากรมีความประพฤติดีเป็นมาตรฐานเดียวกัน
             กลยุทธ์ที่ 4 การเป็นองค์กรแห่งการมีส่วนร่วม โดยการกำหนดแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสมดุลคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น การกำหนดให้มีบุคลากรจากกลุ่มที่แตกต่างเข้าร่วมการคิดการตัดสินใจในการดำเนินการต่าง ๆ ของหน่วยงาน
การขับเคลื่อนการดำเนินการ : (1) การส่งเสริมการปฏิบัติงาน โดยวางระบบ รูปแบบ วิธีการทำงานที่ตอบสนองต่อภารกิจองค์กรและกลุ่มเป้าหมาย ให้ความสำคัญกับบุคลากรทุกกลุ่มในการขับเคลื่อนภารกิจ และการสร้างความเชื่อมโยงในการปฏิบัติงานร่วมกัน
                                        (2) การพัฒนาบุคลากร โดยการสร้างสภาพแวดล้อมองค์กรที่ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนา การวางแผนการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ การติดตาม ประเมินและรายงานผลการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
                                         (3) การส่งเสริมความสุขและคุณภาพชีวิต โดยสร้างความสุขในการทำงานเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี
ประเด็นการพัฒนาที่ 2
การพัฒนากรอบแนวคิดและทักษะให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนภารกิจภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมาย : บุคลากรทุกระดับได้รับการพัฒนากรอบแนวคิดและทักษะให้มีความพร้อมในการปฏบัติงานที่ท้าทายเพื่อขับเคลื่อนภารกิจภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1. กรอบความคิด (Mindset) ที่กำหนดเป็นเป้าหมายการพัฒนา 4 กรอบความคิด ดังนี้
กรอบความคิดแบบเติบโต
(Growth Mindset)
หมายถึง ทัศนคติแบบยืดหยุ่นและเติบโตพัฒนาต่อไปข้างหน้า เชื่อในศักยภาพของคนและเชื่อในความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองได้เสมอ          กรอบความคิดแบบมุ่งเน้นส่วนรวม
(Outward Mindset)
หมายถึง ทัศนคติที่มองเห็นคุณค่าของผู้อื่นและให้ความสำคัญกับผู้อื่นไม่น้อยไปกว่าของตนเอง
กรอบความคิดแบบโลกาภิวัฒน์
(Global Mindset)


หมายถึง ทัศนคติที่เปิดรับและตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกและความหลากหลายในมิติต่าง ๆ          กรอบความคิดในการทำงานยุคดิจิทัล
(Digital Mindset)
หมายถึง ทัศนคติที่ช่วยให้บุคคลเห็นโอกาสและความเป็นไปได้ในการใช้และดึงศักยภาพของเทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาการทำงานและการใช้ชีวิต ส่งผลให้มีความสนใจใคร่รู้ถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ ๆ เข้าใจรูปแบบและทิศทางของเทคโนโลยีและดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว (Digital Landscape) สามารถทำงานและใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพในบริบทดิจิทัล
          2. ทักษะ (Skills) ครอบคลุมขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตนเองทั้งความคิดและพฤติกรรมการพัฒนาทักษะเพื่อการทำงานร่วมกับผู้อื่น และการพัฒนาผู้นำ ดังนี้
ทักษะการรู้คิด
(Cognitive Skills)
เช่น การคิดวิเคราะห์และวิพากษ์ การคิดอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์ และการเรียนรู้ที่จะรักเรียน          ทักษะทางสังคมและอารมณ์
(Social and Emotional Skills)
เช่น การตระหนักถึงความสามารถของตนเอง         การเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น และการทำงานร่วมกันและความรับผิดชอบต่อหน้าที่

ทักษะการปฏิบัติ
(Practical Skills)
เช่น ทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน และทักษะด้านดิจิทัล (รายละเอียดทักษะดิจิทัลอยู่ในประเด็นการพัฒนาที่ 3)          ทักษะด้านภาวะผู้นำ
(Leadership Skills)
เช่น การยึดมั่นในมาตรฐานจริยธรรมและความเป็นมืออาชีพ การอำนวยและส่งเสริมให้เกิดบูรณาการในการทำงานและความร่วมมืออย่างเต็มที่ การผลักดันให้เกิดการปฏิบัติและผลลัพธ์

กลยุทธ์ : กลยุทธ์ที่ 1 กำหนดให้มีการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร (Human Resource Development Plan: HRD Plan) ที่เชื่อมโยงกับแผนบริหารกำลังคนของส่วนราซการ โดยพิจารณาเชื่อมโยงกับประเด็นยุทธศาสตร์ระดับประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาประเทศ เข้ากับภารกิจหลักของส่วนราชการและทิศทางการขับเคลื่อนภารกิจที่ท้าทาย
             กลยุทธ์ที่ 2 กำหนดเส้นทางการพัฒนา (Development Roadmap) ของบุคลากรภาครัฐ              ทุกระดับที่เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาบุคลากร ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานในแต่ละระดับตำแหน่งให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงจัดทำและพัฒนาทักษะเฉพาะด้านของบุคลากรอย่างทั่วถึง
             กลยุทธ์ที่ 3 กำหนดให้มีการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan: IDP) ที่เชื่อมโยงกับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกระดับ และสร้างความพร้อมในด้านความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และภาวะผู้นำของบุคลากรเพื่อสนับสนุนเส้นทางความก้าวหน้าทางราชการ
การขับเคลื่อนการดำเนินการ : (1) การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร ซึ่งเป็นแผนแม่บทสำคัญในการกำหนดนโยบาย ทิศทางการพัฒนาบุคลากรและการกำหนดเส้นทางการพัฒนาข้าราชการของส่วนราชการ
                                  (2) การบริหารจัดการเพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณที่สามารถพัฒนาบุคลากรได้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง โดยส่วนราชการวิเคราะห์แนวโน้มและความต้องการในการพัฒนาบุคลากรเพื่อวางแผนในการพัฒนาที่ครอบคุลมทุกกลุ่มเป้าหมาย เชื่อมโยงถึงการกำหนดงบประมาณที่เหมาะสม
                                  (3) การดำเนินการเพื่อพัฒนาบุคลากร/ตนเอง โดยส่วนราชการกำหนดให้การพัฒนาตนเองเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคน
ประเด็นการพัฒนาที่ 3
การพัฒนากรอบความคิดและทักษะด้านดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนการเป็นรัฐบาลดิจิทัล
เป้าหมาย : บุคลากรทุกระดับได้รับการพัฒนาด้านดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนภารกิจและพัฒนาองค์กรสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลและตอบสนองความต้องการของประชาชน ดังนี้
              (1) กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาตามการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการปฏิบัติงาน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1.1) ผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Information Technology: IT) และ (1.2) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยีดิจิทัลโดยตรง (Non-IT)
              (2) กรอบการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล ประกอบด้วย 7 ทักษะ ได้แก่ (2.1) ความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (2.2) การปฏิบัติตามและใช้กฎหมายด้านดิจิทัล (2.3) ความเป็นผู้นำด้านดิจิทัล (2.4) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนางาน (2.5) การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการบริการ (2.6) การใช้ประโยชน์และการใช้ข้อมูลร่วมกัน และ (2.7) ความมั่นคงปลอดภัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
กลยุทธ์ : กลยุทธ์ที่ 1 กำหนดกรอบการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลตามภารกิจและการนำไปใช้ประโยชน์และพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลโดยเน้นการเรียนรู้ผ่านการพัฒนาเชิงปฏิบัติ
             กลยุทธ์ที่ 2 กำหนดบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการดำเนินการของส่วนราชการในการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล รวมถึงการพัฒนากลไกและเครื่องมือในการดำเนินการ
             กลยุทธ์ที่ 3 ติดตาม ประเมินผลการพัฒนาทักษะดิจิทัลในมิติการพัฒนาทักษะดิจิทัลที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัลและการปฏิบัติงาน และผลการนำทักษะด้านดิจิทัลไปใช้ประโยชน์
การขับเคลื่อนการดำเนินการ :   (1) การวิเคราะห์ภารกิจ และกำหนดประเด็นการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลเพื่อให้สามารถวางแผนการพัฒนาได้ตรงกับความต้องการและประโยชน์ในการนำไปใช้
                                        (2) การวางแผนการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล เพื่อให้การพัฒนามีความต่อเนื่องเชื่อมโยงและเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้และพัฒนาได้อย่างเต็มที่
                                        (3) การติดตามและประเมินผลการพัฒนาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพเพื่อวิเคราะห์ภาพรวมศักยภาพบุคลากรและเพื่อปรับปรุงต่อยอดการพัฒนาต่อไป
8. การขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาฯ ไปสู่การปฏิบัติ
กำหนดให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ รวมถึงบุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีบทบาทหน้าที่ เช่น
- บุคลากรภาครัฐ : ปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มศักยภาพ โดยใช้ความรู้ ทักษะที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน และพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานควบคู่กัน รวมทั้งวางแผนความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานหรือการพัฒนาตนเอง
- ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ : ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับการพัฒนา โดยมอบหมายงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบและงานที่ท้าทายให้ช้อมูลป้อนกลับ (Feedback) และให้คำแนะนำในการพัฒนาตนเองของบุคลากร
- ผู้บริหารส่วนราชการ/หน่วยงานภาครัฐ : กำหนดเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาในระดับองค์กรให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับเป้าหมายที่ระบุไว้ตามแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566-2570 และพันธกิจของหน่วยงาน รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน และให้แรงจูงใจแก่บุคลากร และกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- สำนักงาน ก.พ. : สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เช่น กำหนดกรอบหลักเกณฑ์และวิธีการเรียนรู้และพัฒนาบุคลากรภาครัฐแต่ละระดับ และพัฒนาระบบ/(ครื่องมือ/กลไกที่สนับสนุนการเรียนรู้ และพัฒนาบุคลากร
- ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องด้านการพัฒนาทักษะดิจิทัล [ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (สคช.) และสำนักงาน ก.พ.] : สนับสนุนการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐทั้งในระดับองค์กรและบุคคล ดูแล พัฒนาและให้การรับรองหลักสูตรการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล เพื่อรักษามาตรฐานการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
9. ตัวชี้วัดการดำเนินการ
- ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เช่น (1) ร้อยละของหน่วยงานที่มีการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566-2570 และยุทธศาสตร์ขององค์กร (2) ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนากรอบความคิดและทักษะให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนภารกิจภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพและทักษะด้านดิจิทัล (3) จำนวนนวัตกรรมในการปรับปรุงกระบวนงาน/การให้บริการ e-Service
- สำนักงาน ก.พ. เช่น (1) ระดับความสำเร็จของการพัฒนา นโยบาย/หลักเกณฑ์/ระบบ/เครื่องมือ/กลไกที่เป็นต้นแบบในการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ (2) ระดับความสำเร็จในการส่งเสริมให้ส่วนราชการจัดทำแผนการพัฒนาบุคลากรที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566-2570 และยุทธศาสตร์องค์กร
10. การติดตามและประเมินผล
สำนักงาน ก.พ. เป็นหน่วยงานหลักในการติดตามและประเมินผลการดำเนินการพัฒนาบุคลากร ปีละ 1 ครั้ง โดยให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานผลการพัฒนาบุคลากรในแต่ละปีงบประมาณที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ณ วันที่ 30 กันยายน ของปีงบประมาณนั้น ๆ ส่งให้สำนักงาน ก.พ. ภายในเดือนธันวาคมของปีงบประมาณถัดไป โดยสำนักงาน ก.พ. จะประเมินผลการดำเนินการพัฒนาบุคลากรในภาพรวม เพื่อรายงานต่อคณะอนุกรรมการวิสามัญ (อ.ก.พ. วิสามัญ) เกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนา/ก.พ. และเมื่อครบระยะเวลาการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2570 ให้ประเมินและจัดทำรายงานผลการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พร้อมจัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐฉบับใหม่เสนอต่อ ก.พ. และคณะรัฐมนตรีต่อไป

13. เรื่อง มาตรการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการของการดำเนินมาตรการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ดังนี้
                              1.1 มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการซื้องานศิลปะ
                              1.2 มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ
                              1.3 มาตรการลดหรือยกเว้นอากรขาเข้างานศิลปะ
                              1.4 มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมรถยนต์โบราณ (Classic Cars)
                    2. มอบหมายให้ กค. กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงคมนาคม (คค.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการศึกษารายละเอียด ผลประโยชน์และผลกระทบ ทั้งในมิติของเศรษฐกิจ การคลัง และสังคม รวมทั้งข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในแต่ละมาตรการอย่างรอบคอบต่อไป
                    3. ให้ กค. วธ. พณ. ทส. คค. และ ตช. พิจารณาศึกษารายละเอียดของมาตรการและประสานหน่วยงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการดำเนินการต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค. รายงานว่า
                    1. กิจการเกี่ยวกับศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการของประเทศไทยเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในตลาดโลกและตลาดภูมิภาค โดยประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 101 ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นผู้ส่งออกกลุ่มงานสินค้าสร้างสรรค์และมีความอุดมสมบูรณ์ของทุนทางวัฒนธรรมและมีทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและทักษะฝีมือด้านศิลปะที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมจิตรกรรมและประติมากรรม ซึ่งปัจจุบันงานศิลปะได้รับสิทธิประโยชน์ในทางภาษีอากรเกี่ยวกับการยกเว้นอากรขาเข้า เช่น การนำเข้างานศิลปะเพื่อจัดแสดงให้สาธารณชนได้รับชมเป็นการทั่วไป การนำเข้างานศิลปะเข้ามาเป็นการชั่วคราวเพื่อเป็นการจัดแสดงสินค้าระหว่างประเทศ การนำเข้างานศิลปะภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรี รวมทั้งกรณีส่งออกสินค้างานศิลปะที่ผลิตในประเทศไทยไปจำหน่ายต่างประเทศจะได้รับการชดเชยภาษีตามพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. 2524 นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีศักยภาพและความพร้อมที่จะสนับสนุนมาตรการเกี่ยวกับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) สำหรับการแข่งขันในอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น ด้านทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรด้านอื่น ๆ ที่สามารถนำมาผลิตหรือบูรณะ (Restoration) และสามารถนำมาขายต่อ (Reselling) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจได้2
                    2. มาตรการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เป็นการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ซึ่งคาดว่าจะมีศักยภาพในการขยายตัวโดยการใช้ทุนวัฒนธรรมกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เช่น ภาคการท่องเที่ยว แฟชั่น การออกแบบอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ โดยมีรายละเอียดมาตรการ ดังนี้
                              2.1 มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการซื้องานศิลปะ
หัวข้อ          รายละเอียด
หลักการ          (1) ให้ผู้มีเงินได้ (ผู้ที่ซื้องานศิลปะ) (ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล) หักลดหย่อนค่าซื้องานศิลปะด้านจิตรกรรมหรือประติมากรรมในลักษณะการยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้องานศิลปะมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ในปีภาษี สำหรับการซื้องานศิลปะตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎหมาย ซึ่ง กค. จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป) ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
(2) กรณีซื้องานศิลปะในราชอาณาจักร ต้องซื้อจากศิลปินผู้เป็นเจ้าของผลงานซึ่งได้ขึ้นทะเบียนศิลปินกับหน่วยงานของรัฐที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด เว้นแต่ศิลปินผู้นั้นเป็นศิลปินแห่งชาติไม่ต้องขึ้นทะเบียน หรือซื้อจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจจำหน่ายงานศิลปะหรือธุรกิจประมูลงานศิลปะเป็นปกติธุระ (มีการประกอบธุรกิจจำหน่ายงานศิลปะอย่างสม่ำเสมอ) โดยมีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปหรือใบรับพร้อมหลักฐานแสดงรายละเอียดงานศิลปะที่ซื้อซึ่งได้รับการรับรองจากศิลปินหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
(3) หากพิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์ในราชอาณาจักรขอยืมงานศิลปะที่ซื้อเพื่อจัดแสดงภายในระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ซื้อ ผู้มีเงินได้ต้องให้ยืมโดยไม่มีค่าตอบแทนเว้นแต่ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการให้ยืม
แนวทางการตรากฎหมาย          ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
ผลกระทบ          (1) ประมาณการการสูญเสียรายได้ : คาดว่าจะมีผู้ใช้สิทธิปีละประมาณ 1,000 ราย และมีอัตราภาษีที่แท้จริง (Effective Tax Rate) ร้อยละ 20 จึงจะสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละประมาณ 20 ล้านบาท
(2) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :
          (2.1) การซื้อขายงานศิลปะในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นจะทำให้ศิลปินในประเทศไทยผลิตงานศิลปะเพิ่มมากขึ้นและประเทศไทยมีทุนทางวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
          (2.2) การจัดแสดงงานศิลปะระดับประเทศและระดับนานาชาติในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นจะทำให้การท่องเที่ยวขยายตัวมากขึ้นตามไปด้วย
การดำเนินการต่อไป          กค. (กรมสรรพากร) จะต้องมีการหารือรายละเอียดเพิ่มเติมร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการเบื้องต้นในการดำเนินมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการซื้องานศิลปะ ก่อนจัดทำร่างกฎหมายเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
                              2.2 มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ
หัวข้อ          รายละเอียด
หลักการ          ให้ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ที่เป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระประณีตศิลปกรรม (เช่น งานวาด งานหล่อ งานปั้น ซึ่งมีการคิดค่าตอบแทนจากค่าผลงาน ค่าที่ปรึกษา หรือค่าฝีมืออื่น ๆ โดยเป็นการคิดตามความยากง่ายหรือปริมาณงานโดยอาจคิดเป็นรายครั้ง รายชั่วโมง หรือรายชิ้น) หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้เพิ่มขึ้น จาก ร้อยละ 30 เป็น ร้อยละ 60 (ของค่าตอบแทนที่เรียกเก็บ) เป็นการถาวร โดยไม่กำหนดประเภทศิลปิน
แนวทางการตรากฎหมาย          ตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502
ผลกระทบ          (1) ประมาณการการสูญเสียรายได้ : ในปีภาษี 2565 มีผู้มีเงินได้จากวิชาชีพอิสระประณีตศิลปกรรม 1,416 ราย และจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ประมาณ 42 ล้านบาท หากกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 60 จากข้อมูลดังกล่าว คาดว่าจะสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมปีละประมาณ 20 ล้านบาท
(2) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :
          (2.1) ศิลปินในประเทศไทยได้รับการบรรเทาภาระภาษี และมีแรงจูงใจที่จะสร้างสรรค์งานศิลปะเพิ่มมากขึ้น
          (2.2) งานศิลปะของศิลปินในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นและประเทศไทยมีทุนทางวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
การดำเนินการต่อไป          กค. (กรมสรรพากร) จะต้องมีการหารือรายละเอียดเพิ่มเติมร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการเบื้องต้นในการดำเนินมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ ก่อนจัดทำร่างกฎหมายเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
                              2.3 มาตรการลดหรือยกเว้นอากรขาเข้างานศิลปะ
หัวข้อ          รายละเอียด
หลักการ          (1) ให้มีการลดหรือยกเว้นอัตราอากรสำหรับงานศิลปะ รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะ
(2) ให้มีการกำหนดนิยาม หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเพื่อรับรองการนำเข้างานศิลปะภายใต้มาตรการนี้ ทั้งนี้ รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะ
(3) ให้มีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นผู้รับรองว่าเป็นงานศิลปะและกำหนดมูลค่าขั้นต่ำของงานศิลปะที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรภายใต้มาตรการนี้ ทั้งนี้ รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะ
แนวทางการตรากฎหมาย          ออกประกาศกระทรวงการคลังลดอัตราอากรสำหรับของใด ๆ จากที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตราศุลกากร หรือยกเว้นอากรสำหรับของใด ๆ หรือเรียกเก็บอากรพิเศษเพิ่มขึ้นสำหรับของใด ๆ ไม่เกินร้อยละ 50 ของอัตราอากรที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับของนั้น ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 และกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขให้มีหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านศิลปะเป็นผู้รับรองการนำเข้า และควรกำหนดระยะเวลาในการมีผลใช้บังคับเป็นการชั่วคราวจนกว่าการดำเนินการของคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ (นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นประธาน) (คณะกรรมการฯ) จะแล้วเสร็จ
ผลกระทบ          (1) ประมาณการการสูญเสียรายได้ : การสูญเสียรายได้จากการลดหรือยกเว้นอากรสำหรับงานศิลปะภายใต้มาตรการนี้ ขึ้นอยู่กับการกำหนดนิยาม หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข เนื่องจากประเภทพิกัดศุลกากรเกี่ยวกับงานศิลปะมีหลากหลายประเภทพิกัด
(2) ระยะเวลาในการดำเนินมาตรการ : เนื่องจากมาตรการนี้มีความคล้ายคลึงกับมาตรการที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ดังนั้น ระยะเวลาการดำเนินการอาจจะต้องกำหนดเป็นการชั่วคราวและหากคณะกรรมการฯ ได้ผลักดันมาตรการในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับมาตรการนี้อย่างชัดเจนแล้วควรดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการของคณะกรรมการฯ ต่อไป
การดำเนินการต่อไป          นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบตามหลักการและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                              2.4 มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมรถยนต์โบราณ (Classic Cars)
หัวข้อ          รายละเอียด
หลักการ          (1) ให้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้ารถยนต์โบราณ3 (Classic Cars) โดยกรมสรรพสามิตจะกำหนดคำนิยาม หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) และกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรพสามิตที่เหมาะสมและสอดคล้องกับอัตราอากรขาเข้าในประเภทที่ 06.01 รถยนต์นั่ง ประเภทที่ 06.02 รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และประเภทที่ 06.03 รถยนต์กระบะสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars)
(2) ให้ยกเว้นอากรขาเข้าสินค้ารถยนต์โบราณ (Classic Cars) ตามพิกัด 87.03 เฉพาะรถยนต์นั่งเท่านั้น (ไม่รวมถึงรถจักรยานยนต์และรถอื่น ๆ) เพื่อให้สอดคล้องกับนิยามรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ที่กรมสรรพสามิตกำหนดข้างต้น
แนวทางการตรากฎหมาย          (1) ออกประกาศกรมสรรพสามิตกำหนดคำนิยาม หลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และคุณลักษณะสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars)
(2) ออกกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....)
(3) ออกประกาศกระทรวงการคลังยกเว้นอากรขาเข้าในอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530
ผลกระทบ          (1) ประมาณการการสูญเสียรายได้ : การสูญเสียรายได้จากมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ขึ้นอยู่กับการกำหนดนิยาม หลักเกณฑ์และเงื่อนไข และคุณลักษณะสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) และการกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
(2) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :
          (2.1) สามารถจัดเก็บภาษีสรรพสามิตได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้าที่อยู่นอกเหนือจากพิกัดเดิม
          (2.2) สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เช่น การประกวดรถยนต์โบราณ (Classic Cars) การจัดแสดงนิทรรศการรถยนต์โบราณ (Classic Cars) การจัดขบวนคาราวานรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เป็นต้น จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทยรวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวไทยทุกระดับ
          (2.3) สามารถส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตหรือบูรณะ (Restoration) รถยนต์โบราณ (Classic Cars) ในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย
การดำเนินการต่อไป          ในการดำเนินมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมรถยนต์โบราณ (Classic Cars) มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) พณ. (กรมการค้าต่างประเทศ) จะปรับปรุงประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้รถยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามหรือต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยยกเว้นให้สามารถนำเข้ารถยนต์ใช้แล้วสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เพื่อเพิ่มมูลค่าและความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
(2) ทส. (กรมควบคุมมลพิษ) จะพิจารณาแนวทางการตรวจวัดการปล่อยมลพิษ โดยออกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับวิธีการทดสอบการปล่อยมลพิษ และกำหนดมาตรฐานการปล่อยมลพิษสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เนื่องจากรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ไม่สามารถนำไปทดสอบ การปล่อยมลพิษได้ เพราะการทดสอบดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างของรถยนต์ หรือออกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อยกเว้นการทดสอบการปล่อยมลพิษสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars)
(3) คค. (กรมการขนส่งทางบก) จะปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดขนาด ลักษณะและสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถและการแสดงแผ่นป้ายทะเบียนรถและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี เพื่อแบ่งประเภทป้ายทะเบียนสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ให้สามารถดำเนินการตรวจสอบและควบคุมกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ป้ายทะเบียนดังกล่าวจะมีขนาดและลักษณะตามป้ายทะเบียนปกติ แต่จะกำหนดสีของแผ่นป้ายให้แตกต่างจากรถยนต์ประเภทอื่น ๆ เช่น กำหนดสีพื้นป้ายทะเบียนเป็นสีดำ และกำหนดสีตัวอักษรเป็นสีเงิน เป็นต้น
(4) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (กองบังคับการตำรวจจราจร) จะออกข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักรสำหรับรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เพื่อกำหนดวันและเวลาการใช้งานรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เพื่อควบคุมการปล่อยมลพิษที่เกิดขึ้นจากรถยนต์โบราณ (Classic Cars)
(5) มอบหมายหน่วยงานที่เหมาะสมให้เป็นผู้รับรองข้อมูลรถยนต์โบราณ (Classic Cars) เพื่อสามารถตรวจสอบความถูกต้องในการรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรจากมาตรการนี้
                    3. กค. แจ้งว่า การยกระดับทุนทางวัฒนธรรมและส่งเสริมอุตสาหกรรมทัศนศิลป์ของประเทศไทยและเพิ่มรายได้จากการใช้จ่ายในประเทศและจากต่างประเทศจะช่วยสร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยรวมของประเทศ รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมภาคธุรกิจงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจในประเทศไทย
1 จากรายงาน Creative Economy Outlook ของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD)
2 ปัจจุบันผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตหรือบูรณะ (Restoration) สามารถนำเข้ารถยนต์ใช้แล้วเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อปรับปรุงหรือซ่อมแซมด้วยวิธีการใด ๆ ให้มีสภาพใช้งานได้ในเขตประกอบการเสรีหรือเขตปลอดอากรแล้วส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
3 ปัจจุบันรถยนต์ใช้แล้วและรถโบราณ (รถยนต์ใช้แล้วที่มีอายุเกินกว่าหนึ่งร้อยปี) เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐ ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้รถยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามหรือต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2562

ต่างประเทศ

14. เรื่อง การจัดทำข้อสงวนเพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (International Convention for the Protection of all Persons from Enforced Disappearance: ICPPED)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อการจัดทำข้อสงวนในข้อบทที่ 42 (การนำข้อพิพาทระหว่างรัฐเข้าสู่การพิจารณาโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ) เพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (อนุสัญญาฯ)
                    2. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำข้อสงวนในข้อบทที่ 42 เพื่อประกอบการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (4 ตุลาคม 2554) เห็นชอบให้ไทยลงนามในอนุสัญญาฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดให้การทำให้บุคคลหายสาบสูญโดยถูกบังคับ เช่น การจับกุม คุมขัง ลักพาตัว เป็นฐานความผิดตามกฎหมายอาญา (เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคล หรือกลุ่มบุคคลซึ่งกระทำการโดยได้รับการอนุญาต การสนับสนุนหรือการยอมรับโดยปริยายของรัฐ) รวมทั้งกำหนดโทษของความผิดดังกล่าว โดยรัฐจะต้องกำหนดให้ตนมีเขตอำนาจศาลเหนือความผิดฐานกระทำให้บุคคลหายสาบสูญโดยถูกบังคับถึงแม้ว่าบุคคลที่หายสาบสูญหรือบุคคลที่ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวจะไม่ใช่คนชาติของตนและการทำให้หายสาบสูญก็มิได้เกิดขึ้นในดินแดนของรัฐตน รวมทั้งกำหนดให้รัฐมีหน้าที่ปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและจัดให้เหยื่อและสมาชิกในครอบครัวได้รับการเยียวยาและชดเชยอย่างเหมาะสมและมอบหมายให้ กต. ดำเนินการลงนามในอนุสัญญาดังกล่าวต่อองค์การสหประชาชาติซึ่งได้ไทยลงนามแล้วเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555
                    2. คณะรัฐมนตรีมีมติ (24 พฤษภาคม 2559) เห็นชอบการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และให้เสนออนุสัญญาฯ ให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งต่อมาในคราวประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 16/2560 (10 มีนาคม 2560) ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้ไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ เมื่อมีกฎหมายภายในรองรับครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 25651 (พระราชบัญญัติป้องกันฯ) ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 โดยเป็นกฎหมายที่รองรับการดำเนินการตามอนุสัญญาฯ และอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ดังนั้น ไทยจึงสามารถเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ยธ. รายงานว่า
                    1. ภายหลังจากที่ไทยได้มีกฎหมายรองรับการดำเนินงานตามอนุสัญญาฯ ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาจัดทำข้อสงวน2 และคำแถลงตีความต่ออนุสัญญาฯ สำหรับการเตรียมการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ได้แก่ (1) การประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2559 (ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน และ (2) การประชุมร่วมกันระหว่าง ยธ. (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กต. กระทรวงกลาโหม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด เมื่อวันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2566 (รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเป็นประธาน) ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้ไทยดำเนินการ ดังนี้
                              1.1 จัดทำข้อสงวนตามข้อบทที่ 42 (การนำข้อพิพาทระหว่างรัฐเข้าสู่การพิจารณาโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ)
                              1.2 ไม่ประกาศยอมรับอำนาจของคณะกรรมการว่าด้วยการบังคับให้หายสาบสูญ ตามข้อบทที่ 31 และข้อบทที่ 32 (การรับและพิจารณาคำร้องเรียนจากปัจเจกบุคคลที่อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐภาคีและจากรัฐภาคีหนึ่งที่กล่าวอ้างอีกรัฐภาคีหนึ่งว่าไม่ได้ปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ) เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับการตั้งข้อสงวนต่อสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับอื่น ๆ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ข้อบทและสาระสำคัญ          เหตุผลในการจัดทำข้อสงวน
1. ข้อบทที่ 42 (การนำข้อพิพาทระหว่างรัฐเข้าสู่การพิจารณาโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ)
          หากเกิดข้อพิพาทระหว่างรัฐภาคี 2 รัฐขึ้นไปเกี่ยวกับการตีความและการนำอนุสัญญาฯ ไปปฏิบัติ ซึ่งไม่สามารถยุติได้ด้วยการเจรจารัฐฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ แต่หากภายใน 6 เดือน ไม่สามารถตกลงกันได้ รัฐฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะยื่นเรื่องข้อพิพาทดังกล่าวต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ ทั้งนี้ ในขณะที่ลงนามหรือให้สัตยาบัน รัฐภาคีสามารถประกาศว่าจะไม่ผูกพันตามข้อบทที่ 42 ได้ และจะเพิกถอนคำประกาศนั้นเมื่อใดก็ได้ โดยแจ้งต่อเลขาธิการสหประชาชาติ                    เพื่อไม่ให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ มีเขตอำนาจเหนืออำนาจอธิปไตยของไทย ส่งผลให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่สามารถก้าวล่วงมาตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างไทยกับรัฐภาคีอื่นได้ ซึ่งข้อพิพาทนั้น ๆ อาจเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประเทศ ดังนั้น ไทยจึงควรจัดทำข้อสงวนต่อข้อบทดังกล่าวไว้ ดังเช่นที่ได้จัดทำไว้ในอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับอื่น ๆ3 (ในทางปฏิบัติ รัฐภาคีหลายประเทศได้จัดทำข้อสงวนต่อข้อบทดังกล่าวไว้เช่นกัน)
สำหรับข้อบทที่ 31 และข้อบทที่ 32 (การรับและพิจารณาคำร้องเรียนจากปัจเจกบุคคลที่อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐภาคีและจากรัฐภาคีหนึ่งที่กล่าวอ้างอีกรัฐภาคีหนึ่งว่าไม่ได้ปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ) ที่ประชุมได้มีความเห็นว่า ไทยไม่จำเป็นต้องจัดทำข้อสงวน เนื่องจากถ้อยความในข้อบทดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดเจนว่า รัฐภาคีจะต้องประกาศยอมรับอำนาจของคณะกรรมการว่าด้วยการบังคับให้หายสาบสูญก่อน คณะกรรมการว่าด้วยการบังคับให้หายสาบสูญจึงจะมีอำนาจในการพิจารณาคำร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับรัฐภาคีนั้น ๆ ซึ่งภายหลังการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ หากไทยยังไม่ประกาศยอมรับอำนาจของคณะกรรมการว่าด้วยการบังคับให้หายสาบสูญ ข้อบทดังกล่าวก็จะไม่ผูกพันไทย (ในทางปฏิบัติรัฐภาคีหลายประเทศไม่ได้ประกาศยอมรับอำนาจของคณะกรรมการดังกล่าวเช่นกัน)
                    2. การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ จะเป็นประโยชน์แก่ไทย ดังนี้
                              2.1 ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของไทย โดยแสดงให้เห็นว่า ไทยมีเจตนารมณ์และความตั้งใจจริงที่จะเคารพสิทธิมนุษยชนเทียบเท่ากับระดับสากลอันจะช่วยทำให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับและความเชื่อถือจากประชาคมระหว่างประเทศ
                              2.2 ยกระดับกระบวนการยุติธรรม สร้างหลักประกันว่าจะไม่มีการงดเว้นโทษต่อผู้กระทำความผิด การดำเนินคดีเป็นไปด้วยความโปร่งใส.สอดคล้องกับหลักนิติธรรม
                              2.3 ทำให้ประชาชนได้รับความคุ้มครอง สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่าการลิดรอนเสรีภาพทั้งปวงจากรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะกระทำมิได้ ส่งผลให้สังคมมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
                              2.4 เป็นหนึ่งในผลสำเร็จของรัฐบาลไทยที่สามารถนำเสนอในการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (ระดับสูง) [Human Rights Council (High Level Panel)] ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2567 ตลอดจนช่วยสนับสนุนให้ไทยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในปี 2567 ได้ด้วย
1 พระราชบัญญัติป้องกันฯ ได้กำหนดฐานความผิดสำหรับการกระทำทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายไว้เป็นการเฉพาะ รวมทั้งได้กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ตลอดจนมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาทั้งสองฉบับ เช่น มาตรการป้องกันและปราบปราม มาตรการเยียวยาผู้เสียหาย เป็นต้น
2 ก่อนการเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาฉบับใดก็ตาม รัฐที่จะเข้าเป็นภาคีสามารถตั้งข้อสงวน (Reservation) เพื่อยกเว้นความผูกพันบางข้อบทของอนุสัญญานั้นได้ ทั้งนี้ ประเด็นที่ตั้งข้อสงวนจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์และความมุ่งหมายหลักของอนุสัญญา
3 ไทยได้จัดทำข้อสงวนในประเด็นการไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไว้ในอนุสัญญาระหว่างประเทศฉบับอื่น ๆ อีกจำนวน 3 ฉบับ ได้แก่
          (1) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women : CEDAW) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (14 พฤษภาคม 2528) อนุมัติให้ไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และให้ตั้งข้อสงวนในข้อบทที่ 29 (การนำข้อพิพาทระหว่างรัฐเข้าสู่การพิจารณาโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ) ก่อนการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ (ไทยได้เข้าเป็นภาคีด้วยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่                 9 สิงหาคม 2528)
          (2) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination : ICERD) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ                (26 พฤศจิกายน 2545) เห็นชอบให้ไทยตั้งข้อสงวนในข้อบทที่ 22 (การให้นำข้อพิพาทเกี่ยวกับการตีความหรือการนำอนุสัญญาฯ ไปใช้ ขึ้นสู่การวินิจฉัยขี้ขาดของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้หากคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ)                 ก่อนการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ (ไทยได้เข้าเป็นภาคีด้วยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2546)
          (3) อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment : CAT) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (7 สิงหาคม 2550) เห็นชอบให้ไทยจัดทำข้อสงวนในข้อบทที่ 30 (การยื่นข้อพิพาทเกี่ยวกับการตีความ/การบังคับใช้อนุสัญญาไปยังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ) ก่อนการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ          (ไทยได้เข้าเป็นภาคีด้วยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2550)

15. เรื่อง ขอความเห็นชอบปฏิญญาว่าด้วยการเร่งรัดและเสริมสร้างความเข้มแข็งในการรับมือระดับโลก                   ต่อภัยคุกคามยาเสพติดสังเคราะห์ และขอความเห็นชอบการเข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมในการรับมือภัยคุกคามจากยาเสพติดสังเคราะห์ระดับโลก
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบในสารัตถะของปฏิญญาว่าด้วยการเร่งรัดและเสริมสร้างความเข้มแข็งในการรับมือระดับโลกต่อภัยคุกคามยาเสพติดสังเคราะห์1 (Ministerial Declaration on Accelerating and Strengthening the Global Response to Synthetic Drugs) (ปฏิญญาฯ) และให้ความเห็นชอบให้ประเทศไทย โดยรัฐมนตรีว่า                 การกระทรวงยุติธรรม ร่วมรับรองปฏิญญาดังกล่าว
                    2. เห็นชอบต่อการเข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมในการรับมือภัยคุกคามจากยาเสพติดสังเคราะห์ระดับโลก (Global Coalition to Address Synthetic Drug Threats) (แนวร่วมฯ) ของ ยธ. ในนามของประเทศไทย โดยมีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) เป็นหน่วยดำเนินการ
                    3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) แจ้งผลการพิจารร่วมรับรองปฏิญญาฯ และ                การเข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมฯ ของประเทศไทยต่อกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
 [การประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ (Commission on Narcotic Drugs: CND) สมัยที่ 67                     มีกำหนดจัดขึ้น ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย ระหว่างวันที่ 14 - 22 มีนาคม 2567 โดยจะมีการหารือในประเด็นที่เกี่ยวกับการเข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมฯ ในระหว่างวันที่ 14 - 15 มีนาคม 2567]
                    สาระสำคัญ
                    1. กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเพื่อเปิดตัวแนวร่วมในการรับมือภัยคุกคามจากยาเสพติดสังเคราะห์ (Global Coalition to Address Synthetic Drug               Threats) รวมถึงพิจารณารับรองปฏิญญาฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2566 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
ภาพรวม          - ตระหนักถึงเกี่ยวกับอันตรายต่อสาธารณสุขและสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาเสพติดสังเคราะห์ที่ไม่ใช่ในทางการแพทย์ การบำบัดรักษา และความท้าทายด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยาที่ผิดกฎหมาย การรั่วไหล การลักลอบค้ายาเสพติด และอาชญากรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- แสดงความมุ่งมั่นในการจัดการกับความท้าทายอย่างครอบคลุมผ่านการดำเนินการด้านสาธารณสุขที่อิงหลักฐานเชิงวิชาการ ซึ่งมีเป้าหมายในการลดอุปทาน และการป้องกันและการลดอันตรายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดชนิดสังเคราะห์ต่อบุคคลและสังคม รวมถึงจากการใช้ยาเกินขนาด ตลอดจนการป้องกันและต่อสู้กับการผลิตยาผิดกฎหมาย การรั่วไหล และ                 การลักลอบค้ายาเสพติดสังเคราะห์และสารตั้งต้น รวมถึงการลักลอบค้ายาเสพติดทางอินเทอร์เน็ต
แนวทาง
การดำเนินการ
ที่สำคัญ          - จัดตั้งแนวร่วมฯ เพื่อเป็นกลไกประสานงานความร่วมมือระหว่างประเทศของปฏิญญาฯ ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้มแข็งในการตอบสนองระดับโลกร่วมกันต่อความท้าทายระหว่างประเทศด้านสาธารณสุขและความปลอดภัยที่เกิดจากยาเสพติดสังเคราะห์ผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการที่ครอบคลุม สมดุล อิงตามหลักฐานวิชาการ และ                การดำเนินการที่มีประสิทธิภาพในระดับประเทศและระดับระหว่างประเทศที่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการภายใต้อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพิธีสาร ค.ศ. 1972) อนุสัญญาว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ค.ศ. 1971 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการค้ายาเสพติดและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ค.ศ. 1988 รวมถึงตราสารระหว่างประเทศอื่น ๆ                    ที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของระบบการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ
- จัดแนวทางลำดับความสำคัญในการดำเนินการและสร้างความก้าวหน้าในการดำเนินการในระดับประเทศและระหว่างประเทศ รวมถึงจัดให้มีการฝึกอบรม การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ และการพัฒนาศักยภาพเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าที่สามารถวัดผลได้
- สนับสนุนคณะกรรมาธิการยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ ในฐานะหน่วยงานกำหนดนโยบายของระบบสหประชาชาติที่มีความรับผิดชอบหลักในการควบคุมยาเสพติดและเรื่องอื่น ๆ                     ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
ทั้งนี้ ยธ. (สำนักงาน ป.ป.ส.) ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว แต่ไม่มีผู้แทนระดับรัฐมนตรีเข้าร่วม ดังนั้น ประเทศไทยจึงไม่ได้ร่วมรับรองปฏิญญาดังกล่าว และไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมฯ อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ดี กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา แจ้งว่า ไม่มีกำหนดระยะเวลาปิดรับการร่วมรับรองปฏิญญาฯ และการเข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมฯ โดยสามารถแจ้งผลการพิจารณาในภายหลังได้
                    2. ยธ. แจ้งว่า วัตถุประสงค์ของปฏิญญาฯ และการจัดตั้งแนวร่วมฯ ไม่ขัดต่ออำนาจหน้าที่ของ ยธ. (สำนักงาน ป.ป.ส.) ตามมาตรา 12 (7) ของประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งบัญญัติให้ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศในด้านการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยถือเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับนโยบายที่สำคัญและเท่าทันเหมาะสมต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลซึ่งกำหนดให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระเร่งด่วน มุ่งเน้นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี นำความปลอดภัยมาสู่ประชาชนและดำเนินการปราบปรามผู้มีอิทธิพลและยาเสพติดให้หมดสิ้นจากสังคมไทยภายใต้แนวคิด ?เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย? ขณะที่ผู้ผลิตและผู้ค้ายาเสพติดต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรมที่มุ่งเน้นการใช้มาตรการปราบปรามทางกฎหมายอย่างจริงจัง รวมทั้งสอดคล้องกับการขับเคลื่อนนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด (พ.ศ. 2566 - 2570) ซึ่งกำหนดให้มีการยกระดับและรักษาบทบาทสำคัญของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศ นอกจากนี้ การรับรองปฏิญญาฯ และการเข้าเป็นสมาชิกแนวร่วมฯ จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือระหว่างสำนักงาน ป.ป.ส. กับสำนักงานปราบปรามยาเสพติด (Drug Enforcement Administration: DEA) กระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริกา และกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
1 ยาเสพติดสังเคราะห์ หมายถึง ยาเสพติดที่ได้มาจากการปรุงขึ้นโดยกรรมวิธีทางเคมีโดยตรง และนำมาใช้แทนยาเสพติดธรรมชาติ อาทิ เฮโรอีน แอมเฟตามีน เมธาโดน และเพธีดีน

16. เรื่อง การรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67 และการขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีและการประกาศคำมั่นในนามประเทศไทยตามเอกสารแนวคิดข้อริเริ่ม ?Pledge4Action? ของประธานคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67 ในห้วงการประชุมระดับสูงของการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมระดับสูง (High-Level Segment) ในห้วงการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67 [67th session of the Commission on Narcotic Drugs (CND)]1 (ร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ) และให้ความเห็นชอบให้ประเทศไทย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ในห้วงพิธีเปิดการประชุมระดับสูงของการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67 โดยไม่มีการลงนาม ในวันที่ 14 มีนาคม 2567
                    2. เห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรี (General Statement) และการประกาศคำมั่นในนามประเทศไทย โดยเห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมกล่าวถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีและร่วมประกาศคำมั่นในนามประเทศไทย
                    3. อนุมัติให้ ยธ. โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) แก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ร่างถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีและการประกาศคำมั่นในนามประเทศไทยในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยหากมีความจำเป็น โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบอีกครั้ง โดยให้เป็นดุลพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมที่จะพิจารณาดำเนินการภายใต้กรอบของร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ร่างถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีและการประกาศคำมั่นในนามประเทศไทยดังกล่าว
(กำหนดรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ โดยไม่มีการลงนามในห้วงพิธีเปิดการประชุมระดับสูงของการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67 ในวันที่ 14 มีนาคม 2567 และประกาศคำมั่นในนามประเทศไทยในห้วงท้ายของการกล่าวถ้อยแถลงระหว่างวันที่ 14 - 15 มีนาคม 2567)
                    สาระสำคัญ
                    ยธ. แจ้งว่า ประเทศไทยจะเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติดสมัยที่ 67 ซึ่งกำหนดจัดขึ้น ณ สาธารณรัฐออสเตรีย ระหว่างวันที่ 14 - 22 มีนาคม 2567 โดยในห้วงการประชุมระดับสูงระหว่างวันที่                 14 - 15 มีนาคม 2567 จะมีการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                    1. การรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ
                              มีสาระสำคัญเป็นการทบทวนแผนงานต่อเนื่อง (Multi-year Workplan) ในห้วงครึ่งแผน                    ปี ค.ศ. 2024 (2024 Mid-term Review) ในการดำเนินการตามพันธกรณีด้านนโยบายยาเสพติดระหว่างประเทศ               ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          รายละเอียดสำคัญ
ความมุ่งมั่นร่วมกัน          เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นร่วมกันและความสำคัญของการบรรลุเป้าหมายตามปฏิญญารัฐมนตรี ค.ศ. 2019 (2019 Ministerial Declaration)2 รวมทั้งพันธกรณีด้านนโยบายยาเสพติดระหว่างประเทศอื่นที่เกี่ยวข้องในการจัดการและต่อต้านปัญหายาเสพติดโลกภายในปี                ค.ศ. 2029
การประมวล
ติดตาม
ผลการดำเนินการ          - ยอมรับถึงความท้าทายปัญหายาเสพติดที่ระบุไว้ในปฏิญญารัฐมนตรี ค.ศ. 2019 และตระหนักว่าการปฏิบัติตามพันธกรณีหลายประการยังคงไม่บรรลุผล รวมทั้งรับทราบว่าความพยายามร่วมกันและแนวทางเชิงนวัตกรรมที่อิงหลักฐานเชิงประจักษ์เป็นสิ่งจำเป็นในการเอาชนะอุปสรรคที่ยังคงมีอยู่
- รับรู้ถึงความจำเป็นของแนวทางที่เป็นวิทยาศาสตร์ มีหลักฐานเชิงประจักษ์และมีความสมดุลในการแก้ไขและต่อต้านปัญหายาเสพติดโลก เพื่อที่จะเชื่อมั่นได้ว่ายุทธศาสตร์และการปฏิบัติยังคงดำเนินไปได้อย่างสอดคล้อง ตอบสนองต่อการพัฒนาและความท้าทายใหม่ ๆ รวมทั้งพลวัตของแนวโน้มการเพาะปลูก การค้า การผลิตและการบริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเรียกร้อง
การดำเนินการ          ประเด็นที่มีความเชื่อมโยงกัน 4 ด้าน ได้แก่
(1) ความร่วมมือระหว่างกันในทุกระดับ โดยขยายความร่วมมือในทุกระดับและการดำเนินแนวทางที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนข้อมูล แนวปฏิบัติ และบทเรียนเพื่อเป็นแนวทางบูรณาการและพิจารณามาตรการเพิ่มเติมสำหรับการอำนวยความสะดวกในการหารือที่สำคัญ โดยอาศัยบทบาทที่สำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง อาทิ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ตุลาการและบุคลากรด้านสาธารณสุข และภาคประชาสังคม
(2) การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยยอมรับการนำข้อมูลคุณภาพสูงเป็นไปตามกรอบเวลา ตรงประเด็น และเชื่อถือได้มาใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายและสนับสนุนสภาพแวดล้อมแห่งการแบ่งปันองค์ความรู้และการทำงานร่วมกัน พร้อมทั้งปรับปรุงการผลิตและเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและแนวโน้มสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการรวบรวมข้อมูลระดับชาติและขยายขอบเขตการรายงานด้านภูมิศาสตร์และประเด็นของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
(3) นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ โดยยอมรับบทบาทของนวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่และความรู้ด้านเทคโนโลยีที่ตอบสนองต่อกระแสรูปแบบใหม่ รวมทั้งมุ่งใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าในการแก้ไขและต่อต้านปัญหายาเสพติดโลก ยกระดับเทคโนโลยีแนวทางการขับเคลื่อนข้อมูล และการเข้าถึงข้อมูล
(4) การเสริมสร้างขีดความสามารถและการระดมทรัพยากร โดยให้ความสำคัญกับการระดมทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการจัดหาความช่วยเหลือทางเทคนิคและการเสริมสร้างขีดความสามารถในทุกมิติ เพื่อเป็นหลักประกันว่ารัฐสมาชิกจะสามารถรับมือกับปัญหา                              ยาเสพติดระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มความร่วมมือเพื่อการระดมทรัพยากรทางการเงินและทางเทคนิคด้วยการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญ การแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดี และการส่งเสริมการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
ประเด็นอื่น
ที่เกี่ยวข้อง          - ที่ประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67 จะร่วมกันอภิปรายกำหนดแผนงานการหารือในหัวข้อหลัก ปี ค.ศ. 2024 - 2028 เพื่อจัดลำดับความท้าทายที่ระบุไว้ในปฏิญญารัฐมนตรี ค.ศ. 2019 และใช้เป็นแนวทางของแผนการดำเนินงานในระยะต่อไปของคณะกรรมาธิการยาเสพติด
- เน้นย้ำเจตนารมณ์ทางการเมืองเพื่อเร่งรัดการดำเนินการตามความมุ่งมั่นร่วมกันเพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมระดับสูงสำหรับการทบทวนการดำเนินการ (High-Level Review) ในปี ค.ศ. 2029 และเพื่อบรรลุเป้าหมายวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี ค.ศ. 2030
                    2. การกล่าวถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรี และการประกาศคำมั่นในนามประเทศไทย ตามเอกสารแนวคิดข้อริเริ่ม ?Pledge4Action? ของประธานคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67
                              เอกสารแนวคิดข้อริเริ่ม ?Pledge4Action? มีสาระสำคัญเป็นการเชิญชวนรัฐสมาชิกร่วมประกาศคำมั่นที่จะดำเนินโครงการระดับประเทศ ระดับภูมิภาค หรือระดับโลกและ/หรือการสนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการเพื่อตอบสนองความท้าทาย 11 ประการที่ระบุไว้ในปฏิญญารัฐมนตรี ค.ศ. 2019 ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย จะขึ้นกล่าวถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรี                  ที่แสดงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการดำเนินการตามพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาการควบคุมยาเสพติด 3 ฉบับ ได้แก่ 1) อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 (แก้ไขโดยพิธีสาร ค.ศ. 1972) 2) อนุสัญญาว่าด้วยวัตถุ           ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ค.ศ. 1971 และ 3) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติดและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ค.ศ. 1988 และพันธกรณีที่เกี่ยวข้อง ผ่านการดำเนินนโยบายรัฐบาลภายใต้แนวคิด ?เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย? ซึ่งสนับสนุนให้ผู้เสพเข้ารับการรักษาบำบัดอย่างทั่วถึงเพื่อเพิ่มจำนวนทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพให้กลับเข้าสู่สังคม ขณะที่ผู้ผลิตและผู้ค้ายาเสพติดต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรมที่มุ่งเน้นการใช้มาตรการปราบปรามทางกฎหมายอย่างจริงจัง รวมทั้งรัฐบาลจะดำเนินแนวทางนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ การรักษา และการวิจัยในระดับภูมิภาค ตลอดจนประสานความร่วมมือกับสำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC)
                              ทั้งนี้ ในย่อหน้าสุดท้ายของการกล่าวถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวข้างต้น จะเป็นการประกาศคำมั่นในนามประเทศไทย ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการให้คำมั่นที่จะลดความรุนแรงของปัญหายาเสพติดภายในประเทศให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมภายในระยะเวลา 1 ปี ผ่านการดำเนินการ ดังนี้ (1) การส่งเสริมให้ผู้ใช้ยาเสพติดโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอาการจิตเวชได้เข้าถึงบริการบำบัดรักษาและฟื้นฟูอย่างเหมาะสม และ (2) การเพิ่มความเข้มข้นในการสกัดกั้นตามแนวชายแดน เพื่อหยุดยั้งการลักลอบค้ายาเสพติดและสารเคมีและเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศในทุกระดับ เพื่อจัดการกับความท้าทายจากปัญหายาเสพติดในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ และสร้างสังคมที่ปลอดภัยและมั่นคงอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ประเทศไทยจะพิจารณาให้การสนับสนุนกับ UNODC เพิ่มมากขึ้นในอนาคตต่อไป (ประเทศไทยจะไม่มีการประกาศคำมั่นว่าจะบริจาคงบประมาณเงินอุดหนุนให้กับ UNODC ในส่วนนี้)
                    3. ยธ. แจ้งว่า ในคราวประชุมเตรียมการ ครั้งที่ 1 สำหรับการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 67 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งประกอบด้วยสำนักงาน ป.ป.ส. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 14 หน่วยงาน (อาทิ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ กรมองค์การระหว่างประเทศ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด) ได้ร่วมกันพิจารณาและมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ และกรอบแนวทางการประกาศคำมั่นในนามประเทศไทย โดยมีความเห็นว่า เนื้อหาสาระโดยรวมของร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และสอดคล้องกับแนวนโยบายในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศอันจะเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างบทบาทนำของประเทศไทยในการผลักดันความร่วมมือในระดับนโยบายที่ประเทศไทยให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ อาทิ การควบคุมสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนาศักยภาพบุคลากร นอกจากนี้ การกล่าวถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีและการประกาศคำมั่นในนามประเทศไทยจะเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะได้แสดงความมุ่งมั่นร่วมกับรัฐสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดระหว่างประเทศผ่านการประกาศเจตนารมณ์ทางการเมืองและเชิงนโยบายด้วย
                    4. ยธ. แจ้งว่า กต. (กรมองค์การระหว่างประเทศ) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) พิจารณาในประเด็นร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ แล้ว ไม่มีข้อขัดข้องต่อสารัตถะและถ้อยคำของร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ โดยร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ประกอบกับไม่มีการลงนามจึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
1 ปัจจุบันคณะกรรมาธิการยาเสพติดประกอบด้วยรัฐสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น 53 ประเทศ อาทิ ไทย จีน อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา โดยประเทศไทยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการยาเสพติดติดต่อกัน 14 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 จนถึงปัจจุบัน (วาระปี พ.ศ. 2567 - 2570)
2 ในการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด สมัยที่ 62 เมื่อเดือนมีนาคม 2562 คณะกรรมาธิการยาเสพติดได้รับรองโดยฉันทามติในปฏิญญารัฐมนตรี ค.ศ. 2019 โดยรัฐสมาชิกได้รับทราบประเด็นความท้าทายทั้งหมด 11 ประการ อาทิ (1) ประเภทและตลาดยาเสพติดขยายตัวและมีความหลากหลายมากขึ้น และ (2) ความเชื่อมโยงที่เพิ่มสูงขึ้นระหว่างการลักลอบค้ายาเสพติด การทุจริต และการก่ออาชญากรรมในรูปแบบต่าง ๆ



แต่งตั้ง
17. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ รองอธิบดีกรมสรรพากร ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

18. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
                      1. นางกอบเพชร หาญพัฒนพานิชย์ ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
                      2. พันตำรวจเอก ประทีป เจริญกัลป์ รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
                      ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

19. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด) ประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร จำนวน 55 คน ตามมติคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ในการประชุมครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 เนื่องจากคณะกรรมการชุดเดิม ได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี ดังนี้
                       1. สาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย
                                1.1 ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ
                                1.2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์จันทจิรา เอี่ยมมยุรา
                                 1.3 พลโท สุขสันต์ สิงหเดช
                                 1.4 นายพิรุฬ เพียรล้ำเลิศ
                                 1.5 นายมานะ วีระอาชากุล
                                 1.6 พลตำรวจโท วราวุธ ทวีชัยการ
                                 1.7 พลตำรวจตรี ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์
                                 1.8 รองศาสตราจารย์วรรณภา ติระสังขะ
                                 1.9 นายณอคุณ สิทธิพงศ์
                                 1.10 นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์
                                 1.11 นายนนทิกร กาญจนะจิตรา
                                 1.12 รองศาสตราจารย์อดิศร เนาวนนท์
                                  1.13 พลเอก กฤษณะ บวรรัตนารักษ์
                                 1.14 นายธนกฤต วรธนัชชากุล
                                 1.15 พันตำรวจโท เธียรรัตน์ วิเชียรสรรค์
                                 1.16 นางพัชฌา จิตรมหึมา
                                1.17 นายอรรถพล อรรถวรเดช
                                 1.18 ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
                                 1.19 นายสมคิด จันทมฤก
                                 1.20 นายมานะ สิมมา
                                 1.21 นางวนิดา สักการโกศล
                                 1.22 นายคุณวุฒิ ตันตระกูล
                                 1.23 นายสุวัฒน์ เอื้อเฟื้อ
                                 1.24 นายจเร พันธุ์เปรื่อง
                                 1.25 รองศาสตราจารย์ยุทธพร อิสรชัย
                                 1.26 นายธนากร แหวกวารี
                                 1.27 นายสมยศ อักษร
                                 1.28 นายไพรัช ชัยชาญ
                       2. สาขาการแพทย์และสาธารณสุข
                                 2.1 ศาสตราจารย์บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ
                                  2.2 นายรุ่งเรือง กิจผาติ
                                 2.3 ศาสตราจารย์เฉลิม หาญพาณิชย์
                                 2.4 พลโท ศาสตราจารย์คลินิกภานุวิชญ์ พุ่มหิรัญ
                                 2.5 นายกิติพงษ์ มหารัตนวงศ์
                                 2.6 นางสาวเสาวณีย์ คงวุฒิปัญญา
                                 2.7 พลอากาศโท อิทธพร คณะเจริญ
                      3. สาขาต่างประเทศ ความมั่นคง และการเมือง
                                3.1 พลเอก วิทยา จินตนานุรัตน์
                                 3.2 นายดนัย มู่สา
                                3.3 นายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต
                                3.4 พลตำรวจตรี ศาสตราจารย์ชัชนันท์ ลีระเติมพงษ์
                                 3.5 พันตำรวจเอก วิทยา บวรศิขริน
                                 3.6 นายปิยะ คงขำ
                                 3.7 นายศุภวัฒน์ สิงห์สุวงษ์
                       4. สาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม และการเกษตร
                                 4.1 นายอดิทัต วะสีนนท์
                                 4.2 นายภุชพงค์ โนดไธสง
                                 4.3 รองศาสตราจารย์ชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์
                                 4.4 พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย
                                 4.5 นางสาวสายน้ำผึ้ง ทองใส
                                 4.6 ศาสตราจารย์วราวุฒิ ครูส่ง
                                 4.7 นายสุรพงษ์ เจียสกุล
                      5. สาขาเศรษฐกิจและการคลัง
                                  5.1 นางชลิดา พันธ์กระวี
                                  5.2 นางดวงตา ตันโช
                                 5.3 นายเกริกพงษ์ เกสรทอง
                                 5.4 นายพนิต ธีรภาพวงศ์
                                5.5 นายเทวินทร์ นรินทร์
                                 5.6 รองศาสตราจารย์เอกพร รักความสุข
                        โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ