แต่งตั้ง

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 22, 2008 17:06 —มติคณะรัฐมนตรี

1. การแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติและคณะอนุกรรมการด้านต่าง ๆ เพื่อเตรียมการจัดประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน

คณะรัฐมนตรีรับทราบการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติและคณะอนุกรรมการด้านต่าง ๆ เพื่อเตรียมการจัดประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สำนักการต่างประเทศ) เสนอ ดังนี้

1) คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 242/2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติของไทยเพื่อเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน

โดยที่ประเทศไทยได้เข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนเมื่อเดือนกรกฎาคม 2551 และจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน (กรกฎาคม 2551-ธันวาคม 2552)

เพื่อให้การเตรียมการจัดการประชุมดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติของไทยเพื่อเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้

องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุพล ฟองงาม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ราชเลขาธิการ เลขาธิการพระราชวัง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร (นายภราดา เณรบำรุง) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ โดยมี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นกรรมการและเลขานุการ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (หัวหน้ากลุ่มภารกิจความร่วมมือระหว่าประเทศ) อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ อธิบดีกรมพิธีการทูต กระทรวงการต่างประเทศ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

อำนาจหน้าที่

1. มอบนโยบายและแนวทางจัดเตรียมการประชุมทั้งในด้านสารัตถะ พิธีการและอำนวยการ รักษาความปลอดภัยและจราจร และประชาสัมพันธ์ เพื่อตอบสนองการปฏิบัติงานของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน

2. แต่งตั้งและกำกับดูแลการทำงานของคณะอนุกรรมการและคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง และสั่งการให้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย

3. ติดตามและประเมินผลการทำงานของคณะอนุกรรมการและคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง

4. ให้ความเห็นชอบการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการและคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง

สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป

2) คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 243/2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานเพื่อเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน

เพื่อให้การเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน (กรกฎาคม 2551- ธันวาคม 2552) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติของไทยเพื่อเตรียมการจัดประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน จึงแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานเพื่อเตรียมการจัดการประชุมขึ้น โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้

องค์ประกอบ ประกอบด้วย เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร (นายภราดา เณรบำรุง) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้แทนกรุงเทพมหานคร ผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์ ผู้แทนกรมการแพทย์ ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกรมพิธีการทูต กระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนสำนักบริหารการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ด้านประสานกิจการต่างประเทศ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ และกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักการต่างประเทศ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักพิธีการและเลขานุการ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักสถานที่และรักษาความปลอดภัย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

อำนาจหน้าที่

1. อำนวยการประสานงานและติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานราชการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาคราชการและเอกชนในด้านสารัตถะ พิธีการและอำนวยการ รักษาความปลอดภัยและจราจร และประชาสัมพันธ์ของการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมที่เกี่ยวเนื่องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน เพื่อรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะๆ เพื่อตอบสนองการปฏิบัติงานของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน

2. มีอำนาจในการเชิญผู้แทนส่วนราชการ ผู้แทนภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมชี้แจง ให้คำแนะนำ และข้อเสนอแนะ รวมทั้งขอเอกสารข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงาน

3. แต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจในเรื่องที่เกี่ยวข้องได้ตามความจำเป็น

4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

3) คำสั่งคณะกรรมการระดับชาติของไทยเพื่อเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ที่ 1/2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านสารัตถะเพื่อเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน

เพื่อให้การเตรียมการจัดประชุมอาเซียนและการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน (กรกฎาคม 2551- ธันวาคม 2552) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 242/2551 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติของไทยเพื่อเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ดังนี้

องค์ประกอบ ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานอนุกรรมการ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานอนุกรรมการ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นรองประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการประกอบด้วย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดประทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร (นายภราดา เณรบำรุง) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (หัวหน้ากลุ่มภารกิจความร่วมมือระหว่างประเทศ) ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ อธิบดีกรมองค์ การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ประธานสมาคมธนาคารไทย ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ผู้แทนสำนักงานบริหารการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ประกอบด้วย รองอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ผู้อำนวยการสำนักการต่างประเทศ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

อำนาจหน้าที่

1. กำหนดนโยบาย/ท่าทีของไทยในการประชุมและในการดำรงตำแหน่างประธานอาเซียน เพื่อตอบสนองการปฏิบัติงานของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน

2. กำหนดประเด็นหลัก (Theme) และประเด็นย่อย (sub-theme) ของการประชุมต่าง ๆ

3. ประสานงานจัดการประชุมกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ และสำนักเลขาธิการอาเซียนในด้านสารัตถะ

4. ดำเนินการจัดประชุมในระดับต่าง ๆ และประสานงานกับสำนักเลขาธิการอาเซียนในด้านสารัตถะ โดยมีคณะทำงานด้านสารัตถะของกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบในด้านการจัดทำเอกสารและระเบียบวาระการประชุม

5. แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะทำงานและ/หรือกลุ่มทำงานต่าง ๆ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมเพื่อดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย

6. ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการระดับชาติ ฯ มอบหมาย

4) คำสั่งคณะกรรมการระดับชาติของไทยเพื่อเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ที่ 2/2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านพิธีการและอำนวยการเพื่อเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน

เพื่อให้การเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน (กรกฎาคม 2551-ธันวาคม 2552) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 242/2551 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติของไทยเพื่อเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน จึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านพิธีการและอำนวยการขึ้น โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้

องค์ประกอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานอนุกรรมการ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานอนุกรรมการ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นรองประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการประกอบด้วย ราชเลขาธิการ เลขาธิการพระราชวัง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร (นายภราดา เณรบำรุง) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อธิบดีกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง อธิบดีกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ กระทรวงคมนาคม อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กระทรวงคมนาคม อธิบดีกรมศิลปากร ผู้อำนวยการสำนักการต่างประเทศ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ผู้แทนกองทัพบก ผู้แทนกองทัพเรือ ผู้แทนกองทัพอากาศ ผู้แทนสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้แทนบริษัท อสทม จำกัด (มหาชน) ผู้แทนการไฟฟ้านครหลวง ผู้แทนบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ผู้แทนบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ผู้แทนบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้แทนบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ผู้แทนบริษัท การท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ผู้แทนบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสมาคมธนาคารไทย นายกสมาคมโรงแรมไทย ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (TCEB) ผู้แทนสมาคมส่งเสริมการจัดประชุมนานาชาติไทย (TICA) ผู้แทนสำนักบริหารการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ โดยมี อธิบดีกรมพิธีการทูต กระทรวงการต่างประเทศ เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ รองอธิบดีกรมพิธีการทูต กระทรวงการต่างประเทศ รองอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ผู้อำนวยการสำนักพิธีการและเลขานุการ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

อำนาจหน้าที่

1. กำหนดนโยบาย/วางแนวทางการดำเนินการจัดประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ในส่วนที่เกี่ยวกับด้านพิธีการและอำนวยการ เพื่อตอบสนองการปฏิบัติงานของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน

2. สั่งการหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดประชุมทั้งหมด

3. จัดทำแผนปฏิบัติการพร้อมทั้งเสนอร่างงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวข้อง

4. แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะทำงานและ/หรือกลุ่มทำงานต่างๆ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมเพื่อดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย

5. ติดตามและประเมินผลการทำงานของคณะทำงานและ/หรือกลุ่มทำงาน และรายงานให้คณะกรรมการระดับชาติฯ ทราบ

6. สั่งการหรือยืมตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มาช่วยราชการให้คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานตามความจำเป็นจนกว่าจะเสร็จสิ้นภารกิจ

7. ดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการระดับชาติฯ

มอบหมายสำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป

5) คำสั่งคณะกรรมการระดับชาติของไทยเพื่อเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ที่ 3/2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านรักษาความปลอดภัยและจราจรเพื่อเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน

เพื่อให้การเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน (กรกฎาคม 2551-ธันวาคม 2552) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 242/2551 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติของไทยเพื่อเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน จึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านรักษาความปลอดภัยและจราจรขึ้น โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้

องค์ประกอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นรองประธานกรรมการ อนุกรรมการประกอบด้วย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ รองปลัดกระทรวงต่างประเทศ (หัวหน้ากลุ่มภารกิจส่งเสริมกิจการต่างประเทศ) อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ กระทรวงคมนาคม อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กระทรวงคมนาคม อธิบดีกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ผู้อำนวยการสำนักงานโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ผู้แทนกองบัญชาการกองทัพไทย ผู้แทนกองทัพบก ผู้แทนกองทัพเรือ ผู้แทนกองทัพอากาศ ผู้แทนศูนย์รักษาความปลอดภัย ผู้แทนศูนย์ปลอดภัยคมนาคม ผู้แทนบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ผู้แทนบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ผู้แทนสำนักบริหารการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้แทนที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมอบหมาย เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ รองอธิบดีกรมพิธีการทูต กระทรวงการต่างประเทศ ผู้บังคับการกองพัฒนาการป้องกันและควบคุมอาชญากรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักสถานที่และรักษาความปลอดภัย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

อำนาจหน้าที่

1. กำหนดนโยบาย/วางแนวทางของการดำเนินการจัดประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมที่เกี่ยวเนื่องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ในส่วนที่เกี่ยวกับด้านการรักษาความปลอดภัย การจราจร และการบริการทางการแพทย์ เพื่อตอบสนองการปฏิบัติงานของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน

2. สั่งการหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อการรักษาความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกด้านจราจรในการจัดประชุมทั้งหมด

3. จัดทำแผนปฏิบัติการพร้อมทั้งเสนอร่างงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวข้อง

4. แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะทำงานและ/และกลุ่มทำงานต่าง ๆ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมเพื่อดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย

5. ติดตามและประเมินผลการทำงานของคณะทำงานและ/หรือกลุ่มทำงาน และรายงานให้คณะกรรมการระดับชาติฯ ทราบ

6. สั่งการหรือยืมตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มาช่วยราชการให้คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานตามความจำเป็นจนกว่าจะเสร็จสิ้นภารกิจ

7. ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการระดับชาติฯ มอบหมาย

สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551

6) คำสั่งคณะกรรมการระดับชาติของไทยเพื่อเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ที่ 4/2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านประชาสัมพันธ์เพื่อเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน

คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งคณะกรรมการระดับชาติของไทยเพื่อเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ที่ 4 / 2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านประชาสัมพันธ์เพื่อเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ดังนี้

เพื่อให้การเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน (กรกฎาคม 2551 — ธันวาคม 2552) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 242/2551 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติของไทยเพื่อเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน จึงแต่งตั้งณะอนุกรรมการด้านประชาสัมพันธ์ขึ้น โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้

องค์ประกอบ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุพล ฟองงาม) เป็นประธานอนุกรรมการ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานอนุกรรมการ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (หัวหน้ากลุ่มภารกิจส่งเสริมกิจการต่างประเทศ) เป็นรองประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการประกอบด้วย ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ด้านประสานกิจการต่างประเทศ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมอาเซียน อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานกิจการสำนักข่าวไทย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสาร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประธานโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย นายกสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายกสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ผู้แทนกองทัพบก ผู้แทนกองทัพเรือ ผู้แทนกองทัพอากาศ ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ผู้แทนกรมพิธีการทูต กระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ผู้แทนสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และผู้แทนสำนักบริหารการกคลัง กระทรวงการต่างประเทศ โดยมี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และรองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เป็น อนุกรรมการและเลขานุการ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ กรมประชาสัมพันธ์ ผู้แทนกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ และผู้อำนวยการสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

อำนาจหน้าที่

1. กำหนดนโยบาย/วางแนวทางของการดำเนินการในด้านการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมที่เกี่ยวเนื่องในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนเพื่อตอบสนองการปฏิบัติงานของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน

2. ประสานงานกับสื่อต่าง ๆ ทุกแขนงให้ร่วมกันประชาสัมพันธ์การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย และการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมต่าง ๆ

3. เสริมสร้างและส่งเสริมให้สาธารณชนตระหนักถึงกิจกรรมของอาเซียนและผลประโยชน์ที่ไทยได้รับจากอาเซียน

4. จัดทำแผนงานการประชาสัมพันธ์พร้อมทั้งเสนอร่างงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวข้อง

5. แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะทำงานและ/หรือกลุ่มทำงานต่าง ๆ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมเพื่อดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย

6. ติดตามและประเมินผลการทำงานของคณะทำงานและ/หรือกลุ่มทำงานและรายงานให้คณะกรรมการระดับชาติฯ ทราบ

7. สั่งการหรือยืมตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มาช่วยราชการให้คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานตามความจำเป็นจนกว่าจะเสร็จสิ้นภารกิจ

8. ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการระดับชาติฯ มอบหมาย

สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป

2. กำหนดให้มีโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแต่งตั้งคณะกรรมการ

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบกำหนดให้มีโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ

คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 260/2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการมุ่งแก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพิ่มศักยภาพการหารายได้ ลดรายจ่าย สร้างโอกาสในอาชีพอย่างยั่งยืนให้แก่ประชาชน สร้างโอกาสให้หมู่บ้านและชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านและชุมชนด้วยตนเอง และพัฒนาโครงการที่ก่อให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน พัฒนาสินทรัพย์ของหมู่บ้านและชุมชน อนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านและชุมชน เพื่อก่อให้เกิดการเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรของรัฐ ท้องถิ่น และจังหวัด อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวรัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้กำหนดให้มีการจัดสรรงบประมาณโดยตรงไปยังหมู่บ้านและชุมชนตามขนาดของจำนวนประชากร โดยดำเนินการภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งการจัดสรรงบประมาณรูปแบบนี้เป็นการบริหารจัดการงบประมาณอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และปรากฏผลเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนทั่วไป

เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้านและชุมชนให้เป็นพลังสำคัญในการต่อสู้ความยากจน ขับเคลื่อนและเสริมสร้างเศรษฐกิจและความสมานฉันท์ในระดับฐานราก ประกอบกับรัฐบาลได้กำหนดให้มีนโยบายเร่งด่วนที่จะต้องเร่งดำเนินการ โดยมีเป้าประสงค์เพื่อจัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากรให้ทั่วถึงทุกหมู่บ้านและชุมชนอย่างมีความต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนในระยะยาว เพื่อให้ประชาชนสามารถนำไปใช้บริหารจัดการในการแก้ไขปัญหาของตนเองตามแนวทางที่กำหนดไว้จึงกำหนดให้มี “โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ขึ้น

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมีองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ ดังนี้

1. องค์ประกอบ นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็น รองประธานกรรมการเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีผู้อำนวยการสถาบันเพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชน มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร นายวิมล จันทจิราวุฒิกุล นายนที ขลิบทอง นายนริศ ชัยสูตร นายสมนึก พิมลเสถียร นายมณฑล สงวนเสริมศรี นายชัยยง เอื้อวิริยานุกูล นายอนุสรณ์ ธรรมใจ นางผ่องศรี วงษ์อ่ำ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารการปกครองท้องที่กรมการปกครอง

2. อำนาจหน้าที่

2.1 กำหนดขอบเขต รูปแบบการบริหารจัดการ และแนวทางในการขยายผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดความต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์และความคุ้มค่าที่จะพึงได้รับเป็นที่ตั้ง

2.2 เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจ และพร้อมจะให้ความร่วมมือเพื่อการมี ส่วนร่วมในการบริหารจัดการและขับเคลื่อนโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

2.3 จัดทำระเบียบ ประกาศ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานเพื่อรองรับการปฏิบัติงาน และการจัดสรรงบประมาณที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งประเมินและติดตามผลการดำเนินงานเชิงวิชาการและการวิจัยในส่วนที่เกี่ยวข้อง

2.4 ในกรณีจำเป็นให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน บุคคล เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมาย และหรือเสนอให้บุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือสถาบันการศึกษาดำเนินการแทนโดยวิธีการจัดจ้างตามระเบียบราชการได้

2.5 ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานภาครัฐอื่น สนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการอย่างเต็มความสามารถและรวดเร็ว เพื่อให้การดำเนินงานตามขอบเขตดังกล่าวข้างต้นสามารถบรรลุเป้าหมาย

2.6 รายงานผลการปฏิบัติงาน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน ให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะๆ

2.7 ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

3. ให้มีสำนักงานพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรียกชื่อย่อว่า “สพศ.” เป็นหน่วยงานภายในของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เกี่ยวกับวิชาการ ธุรการ และอำนวยความสะดวกแก่คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคลที่คณะกรรมการแต่งตั้งเพื่อช่วยปฏิบัติงาน รวมทั้งดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย ทั้งนี้ ให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลที่เหมาะสมคนหนึ่ง เป็นผู้อำนวยการ เป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการสั่งและปฏิบัติราชการของสำนักงาน

สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุม ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนตามระเบียบของทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป

3. แต่งตั้งข้าราชการการเมืองตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอให้แต่งตั้ง ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป

4. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอให้แต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน 19 ราย ดังนี้ นายกฤษฎา การุญ นายกิตติ์ธเนศ ก้องเกียรตินที นายกล่ำคาน ปาทาน นายจารุวงศ์ เรืองสุวรรณ นายไชยรัตน์ ไทยเจียมอารีย์ นายทนง บุษราคัม นายธานินทร์ แสงวนิช นายนพดล มีวรรณะ นายนัฎฐ์ประชา เกื้อสกุล นายไผ่ ลิกค์ นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ นางสาวยุวลักษณ์ อภิธนาคุณ นายศักดา นพสิทธิ์ นายสยาม หัตถสงเคราะห์ นายสุชาติ ไตรแสงรุจิระ นายหัสนัยน์ สอนสิทธิ์ นายเอกธนัช อินทร์รอด นายอารี ไกรนรา นายจิรัฏฐ์ นิธิอนันตภร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป

5. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง )

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายโอฬาร ไชยประวัติ) เสนอให้แต่งตั้งนายวิมล จันทร์จิราวุฒิกุล ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการเมือง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป

6. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงยุติธรรม)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอให้ แต่งตั้งนายสมภพ งามแสงรัตน์ ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป

7. แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอให้แต่งตั้ง นายธวัชชัย สวัสดิ์สาลี ที่ปรึกษาประจำสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 10 ชช.) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นักบริหาร 10) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

8. แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้แต่งตั้งบุคคลผู้มีรายนามดังต่อไปนี้เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการสลากแทนตำแหน่งที่ว่าง 2 ตำแหน่ง ดังนี้

1. นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์

2. นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ เป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจตามประกาศของกระทรวงการคลัง

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป แต่โดยที่นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีอัยการฝ่ายเศรษฐกิจและทรัพยากร สำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 มาตรา 46 วรรค 4 กำหนดว่า “ข้าราชการอัยการต้องไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐในทำนองเดียวกัน เว้นแต่ได้รับอนุมัติจาก ก.อ.” และกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างดำเนินการขออนุมัติจากคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) หาก ก.อ. อนุมัติหลังจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ก.อ. มีมติอนุมัติให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นต้นไป

9. แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้แต่งตั้ง นายฐนนท์ศรณ์ เลิศฤทธิ์ศิริกุล เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพื่อให้กรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ครบจำนวนตามกฎหมาย ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป

10.การมอบหมายให้รักษาราชการแทน

คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นหลักการในการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไม่อาจปฏิบัติราชการได้ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยมอบหมายให้นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ

11. ขอความเห็นชอบปรับเปลี่ยนกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (กขต.)

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการปรับเปลี่ยนกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ในคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (กขต.) จากเดิมรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ) เป็นรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นางจุฑามาศ บาระมีชัย) เพื่อให้มีความสอดคล้องกับโครงสร้างการบริหารงานภายในสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ตามที่ สศช. เสนอ

12.ขออนุมัติแต่งตั้งประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) และคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-พม่า (ฝ่ายไทย)

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้นายวศิน ธีรเวชญาณ อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล และอดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เป็นประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) และคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-พม่า (ฝ่ายไทย) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 ตุลาคม 2551--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ