การจัดตั้งกลุ่มจังหวัด และการกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 18, 2009 14:40 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) ในการ ประชุมครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2552 ตามที่เลขาธิการ ก.พ.ร. กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการบริหารงาน จังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการเสนอ และให้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ดังนี้

1. เห็นชอบการจัดตั้งกลุ่มจังหวัด จำนวน 18 กลุ่มจังหวัด และการกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด ตามมติคณะ รัฐมนตรี วันที่ 15 มกราคม 2551

2. เห็นชอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดของจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัดทำหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัด ยกเว้นกลุ่มจังหวัดภาค ใต้ชายแดน (สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ซึ่งกำหนดให้ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม จังหวัด

สาระสำคัญของเรื่อง

1. คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551 มีมติเห็นชอบการปรับปรุงการจัดกลุ่มจังหวัดและการกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดตามมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ครั้งที่ 13/2550 วันที่ 17 ธันวาคม 2550 ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ จากเดิม 19 กลุ่มจังหวัด ปรับเป็น 18 กลุ่มจังหวัด พร้อมทั้งกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดเพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของกลุ่ม จังหวัด และเป็นผู้ใช้กลไกการบูรณาการ การจัดทำแผนพัฒนาของกลุ่มจังหวัด โดยจะเป็นแกนกลางในการประสานงานและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของ กลุ่มจังหวัด

2. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 มาตรา 26 วางแนวทางเกี่ยวกับการจัด ตั้งกลุ่มจังหวัด และการกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด ดังนี้

“ให้คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) พิจารณาจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกำหนด จังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

การจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัดตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดของจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัดทำหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัด เว้นแต่ ก.น.จ. จะกำหนดเป็น อย่างอื่น”

3. ก.น.จ.ในการประชุมครั้งที่ 1/2552 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2552 มีมติเห็นชอบเกี่ยวกับการจัดตั้งกลุ่มจังหวัด การกำหนดจังหวัดที่ เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด และการกำหนดหัวหน้ากลุ่มจังหวัด ดังนี้

เห็นชอบด้วยในการจัดตั้งกลุ่มจังหวัด จำนวน 18 กลุ่มจังหวัด และการกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด ตามมติคณะ รัฐมนตรี วันที่ 15 มกราคม 2551 ซึ่งสรุปได้ดังนี้

1. แนวทางการจัดกลุ่มจังหวัด

ใช้แนวทางเดิมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 ที่กำหนดว่า (1) ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ เพื่อ สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ (2) ความเกี่ยวเนื่องทางเศรษฐกิจ การผลิต การค้า และการลงทุนเพื่อมูลค่าเพิ่มและการได้ เปรียบในการแข่งขันร่วมกัน (3) ยุทธศาสตร์ของการแก้ปัญหาเร่งด่วนร่วมกันของประเทศซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างจังหวัด โดยมุ่งเน้น ให้ความสำคัญกับลักษณะเขตพื้นที่ที่ติดต่อกันหรือเป็นการรวมกลุ่มจังหวัดที่อยู่ในเขตพื้นที่ติดต่อกันหรือต่อเนื่องกัน เป็นข้อพิจารณาเบื้องต้นของการจัดกลุ่ม จังหวัด ใช้ประเด็นยุทธศาสตร์ หรือทิศทางการพัฒนาจังหวัดที่สอดคล้องกัน หรือเกื้อหนุนต่อกันเป็นแนวการพิจารณาขั้นที่สอง และประการสุดท้าย พิจารณาจากความเกี่ยวเนื่องทางเศรษฐกิจ การผลิต การค้า และการลงทุนเพื่อมูลค่าเพิ่ม และการได้เปรียบในการแข่งขันร่วมกัน รวมทั้งเป็นการ แก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมกันระหว่างจังหวัด

2. แนวทางการกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัด

1) การกำหนดให้มีจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดจะทำให้มีโครงสร้างองค์กรที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ของกลุ่มจังหวัดอย่างชัดเจนและเป็นผู้ใช้กลไกการบูรณาการการจัดทำแผนพัฒนาของกลุ่มจังหวัดให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติโดยจะเป็นแกนกลาง ในการประสานงานและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัด รวมทั้งเป็นที่ตั้งของสำนักงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดซึ่งเป็นหน่วยงานในการรองรับ การเบิกจ่ายงบประมาณหรือการทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดด้วย

2) แนวทางในการกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัด ต้องเป็นจังหวัดที่มีลักษณะสอดคล้องกับลักษณะข้อใดข้อหนึ่งหรือ มากกว่า ดังนี้

(1) เป็นจังหวัดที่มีการคมนาคม ติดต่อสื่อสารและเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดในกลุ่มได้สะดวก

(2) เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และสามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(3) เป็นศูนย์กลางทางสังคมและวัฒนธรรม หรือเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาที่สามารถสนับสนุนความรู้ทางวิชาการให้กับ จังหวัดภายในกลุ่มจังหวัดได้

(4) เป็นศูนย์กลางของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และธุรกิจต่าง ๆ

(5) เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพและความพร้อมที่จะให้การสนับสนุนการดำเนินการในเรื่องแผนงาน งบประมาณ และทรัพยากร ทางการบริหารให้กับจังหวัดอื่นในกลุ่มได้

3. รูปแบบในการจัดกลุ่มจังหวัด

     กลุ่มจังหวัด             จังหวัดในกลุ่ม                                     จังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
1    ภาคกลางตอนบน 1       นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี               พระนครศรีอยุธยา
2    ภาคกลางตอนบน 2       ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง                        ลพบุรี
3    ภาคกลางตอนกลาง       ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก สมุทรปราการ    ฉะเชิงเทรา
4    ภาคกลางตอนล่าง 1      กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี                   นครปฐม
5    ภาคกลางตอนล่าง 2      ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม         เพชรบุรี
6    ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย        ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง               สุราษฎร์ธานี
7    ภาคใต้ฝั่งอันดามัน        ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง                       ภูเก็ต
8    ภาคใต้ชายแดน          สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส                   สงขลา
9    ภาคตะวันออก           จันทบุรี ชลบุรี ระยอง ตราด                          ชลบุรี
10   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   หนองคาย เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู                   อุดรธานี
ตอนบน 1
11   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   นครพนม มุกดาหาร สกลนคร                          สกลนคร
ตอนบน 2
12   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์                 ขอนแก่น
ตอนกลาง
13   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร  อุบลราชธานี             อุบลราชธานี
ตอนล่าง 2
14   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   สุรินทร์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ                     นครราชสีมา
ตอนล่าง 1
15   ภาคเหนือตอนบน 1       เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน                    เชียงใหม่
16   ภาคเหนือตอนบน 2       น่าน พะเยา เชียงราย แพร่                          เชียงราย
17   ภาคเหนือตอนล่าง 1      ตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์                พิษณุโลก
18   ภาคเหนือตอนล่าง 2      กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี                 นครสวรรค์

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ