สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ “2553 ปีแห่งความปลอดภัย”

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 6, 2010 15:58 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนอำนวยความสะดวก มั่นคง และปลอดภัยฯ ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2552 - 3 มกราคม 2553 ดังนี้

1. ด้านการให้บริการและอำนวยความสะดวก

1.1 บริษัท ขนส่ง จำกัด และบริษัทรถร่วมบริการ จัดรถโดยสารสาธารณะบริการประชาชนตลอดเทศกาลอย่างเพียงพอ โดยสามารถจัดรถบริการประชาชนได้เสร็จสิ้นก่อนเวลา 22.00 น. ของทุกวัน ไม่มีผู้โดยสารตกค้างทั้งขาไปและขากลับรวม 32,925 เที่ยว ผู้โดยสารจำนวน 1,207,261 คน

1.2 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดรถโดยสารสาธารณะบริการ รับ-ส่ง ประชาชนทั้งขาเข้าและขาออก ณ สถานีขนส่งและสถานีรถไฟในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมทั้งสิ้น 36,967 เที่ยว ผู้โดยสารจำนวน2,846,190 คน

1.3 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดเดินขบวนรถปกติและขบวนรถพิเศษบริการประชาชนทั้งขาเข้าและขาออก ณ สถานีรถไฟทุกแห่งทั่วประเทศ ผู้โดยสารรวม 831,076 คน

1.4 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จัดให้บริการและจัดขบวนรถเพิ่ม และเพิ่มความถี่ในการให้บริการ รวม 1,920 เที่ยว ผู้โดยสารรวม 619,018 คน

1.5 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (บกท.) จัดเที่ยวบินในประเทศให้บริการเดินทางอย่างเพียงพอ โดยการจัดเที่ยวบินพิเศษ และ/หรือ ปรับเปลี่ยนแบบเครื่องบินให้มีขนาดใหญ่ขึ้น รวมเที่ยวบิน 567 เที่ยว ผู้โดยสารรวม 127,032 คน

1.6 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ให้บริการและอำนวยความสะดวกต่อผู้โดยสารตลอดระยะเวลา 6 วัน ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2552 ถึง 3 มกราคม 2553 รวมทั้งสิ้น 1,138,552 คน

โดยสรุปหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมให้บริการขนส่งสาธารณะแก่ประชาชนในการเดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่ 2553 ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2552 - 3 มกราคม 2553 รวม 6 วัน จำนวน รวมทั้งสิ้น 5,573,277 คน

1.7 กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จัดกิจกรรม “ตรวจรถ ก่อนใช้ ปลอดภัยแน่นอน” ให้บริการประชาชน ณ จุดให้บริการตามเส้นทาง ซึ่งมีรถเข้ารับบริการ จำนวน 150,000 คัน

1.8 ขบ. ให้บริการตรวจสภาพรถโดยสารสาธารณะ จำนวน 19,496 คัน และตรวจความพร้อมพนักงานขับรถก่อนออกเดินทาง จำนวน 20,029 ราย

1.9 ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม ซึ่งเป็นศูนย์ประสานงานหลักของกระทรวงคมนาคม ประสานงานกับส่วนราชการและองค์กรภาคเอกชน ในการปฏิบัติงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2553 ได้ดำเนินการให้บริการข้อมูลด้านการขนส่งและจราจรผ่านสายด่วน 1356 มีสถิติการให้บริการ ดังนี้ บริการด้านข้อมูล จำนวน 58 ครั้ง ประสานช่วยเหลือกรณีอุบัติเหตุทางถนน จำนวน 79 ครั้ง ร้องเรียนร้องทุกข์ จำนวน 18 ครั้ง แจ้งข้อมูลข่าวสารเพื่อทราบ จำนวน 17 ครั้ง แจ้งอุบัติเหตุ จำนวน 308 ครั้ง นอกจากนี้ ยังมีการให้ให้บริการผ่านศูนย์วิทยุสื่อสาร โดยรับแจ้งอุบัติเหตุ จำนวน 408 ครั้ง ให้บริการข้อมูลจราจร จำนวน 99 ครั้ง ให้บริการข้อมูลเส้นทาง จำนวน 121 ครั้ง

1.10 ศูนย์จราจรขนส่งอัจฉริยะ (ITS) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ได้ให้บริการตรวจสอบสภาพจราจรก่อนเดินทาง โดยผ่านทางเวปไซด์ trafinfo.net และผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ m.trafinfo.net ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นจากช่วงภาวะปรกติ จากจำนวนผู้ใช้บริการประมาณ 15,000 ราย เพิ่มขึ้นเป็น 36,000 ราย

1.11 กรมทางหลวง (ทล.) ได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนต์บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 และ 9 ตั้งแต่เวลา 16.00 น. ของวันที่ 25 ธันวาคม 2552 ถึงเวลา 16.00 น. ของวันที่ 4 มกราคม 2553 และเปิดช่องชำระค่าผ่านทางทุกช่องทาง

1.12 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ให้บริการทางเชื่อมสายบางพลี-สุขสวัสดิ์กับทางพิเศษบูรพาวิถี ให้สามารถเดินทางเชื่อมต่อได้อย่างสะดวก และยกเว้นการเก็บค่าผ่านทาง ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันที่ 30 ธันวาคม 2552 จนถึง 24.00 น. ของวันที่ 3 มกราคม 2553 ซึ่งมียอดรวมจำนวนรถที่ใช้บริการประมาณ 253,895 คัน

2. การดำเนินการด้านความมั่นคงและความปลอดภัย

2.1 การดำเนินการด้านความมั่นคง

กระทรวงคมนาคม กำหนดให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรยามตรวจตรา สังเกต เฝ้าระวังเหตุหรือสิ่งผิดปกติในช่วงเทศกาลสำคัญ โดยเพิ่มเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและเพิ่มความถี่ และเข้มงวดในการออกตรวจพื้นที่ในความรับผิดชอบ เข้มงวด เฝ้าระวัง จากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) สุ่มตรวจสัมภาระ สิ่งของ รวมทั้งการประสานขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารเพื่อดูแลรักษาสถานการณ์ในพื้นที่ความรับผิดชอบ ซึ่งตลอดระยะเวลาช่วงเทศกาลไม่มีสิ่งผิดปกติในพื้นที่ความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม

2.2 การดำเนินการด้านความปลอดภัย

ระบบการบริหารจัดการอุบัติเหตุด้านการขนส่ง (TRAMS) ของกระทรวงคมนาคม ได้รายงานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม ได้แก่ กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปรียบเทียบระหว่างช่วงเทศกาลปีใหม่ 2553 (29 ธันวาคม 2552 — 3 มกราคม 2553) กับเทศกาลปีใหม่ 2552 (30 ธันวาคม 2551 — 4 มกราคม 2552) ระยะเวลา 6 วัน ดังนี้

1) จำนวนอุบัติเหตุ

ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2553 เกิดอุบัติเหตุ จำนวน 880 ครั้ง (ทางหลวง 795 ครั้ง ทางหลวงชนบท 74 ครั้ง และทางพิเศษ 11 ครั้ง) โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเทศกาลปีใหม่ 2552 ซึ่งเกิดอุบัติเหตุ จำนวน 1,052 ครั้ง (ทางหลวง 924 ครั้ง ทางหลวงชนบท 115 ครั้ง และทางพิเศษ 13 ครั้ง) พบว่าสถิติการเกิดอุบัติเหตุลดลง จำนวน 172 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 16.35

2) จำนวนผู้เสียชีวิต

ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2553 มีผู้เสียชีวิต จำนวน 196 ราย (ทางหลวง 182 ราย และทางหลวงชนบท 14 ราย) โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเทศกาลปีใหม่ 2552 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต จำนวน 234 ราย (ทางหลวง 195 ราย และทางหลวงชนบท 39 ราย) พบว่าสถิติผู้เสียชีวิตลดลง จำนวน 38 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.24

3) จำนวนผู้บาดเจ็บ

ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2553 มีผู้บาดเจ็บ จำนวน 1,097 ราย (ทางหลวง 996 ราย ทางหลวงชนบท 96 ราย ทางพิเศษ 5 ราย)โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเทศกาลปีใหม่ 2552 ซึ่งมีผู้บาดเจ็บ จำนวน 1,332 ราย (ทางหลวง 1,185 ราย ทางหลวงชนบท 134 ราย บนทางพิเศษ 13 ราย) พบว่าสถิติผู้บาดเจ็บลดลง จำนวน 235 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.64

4) ลักษณะบริเวณสถานที่เกิดอุบัติเหตุ

ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2553 เกิดอุบัติเหตุบนทางตรง ร้อยละ 64.55 ทางโค้ง ร้อยละ 16.25 และทางแยก ร้อยละ 10.34 ซึ่งมีแนวโน้มใกล้เคียงในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2552 ซึ่งเกิดอุบัติเหตุบนทางตรง ร้อยละ 66.92 ทางโค้ง ร้อยละ 15.78 และทางแยก ร้อยละ 7.32

5) สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ

                    มูลเหตุ                                   ปี 2552     ปี  2553      เพิ่ม / ลด
                                                           (ร้อยละ)     (ร้อยละ)       (ร้อยละ)
                    1. ขับรถเร็วเกินกำหนด                       50.57       46.14         -4.43
                    2. ขับรถตัดหน้ากระชั้นชิด                      11.31        13.3         -1.99
                    3. เมาสุรา / ยาบ้า                         13.02       12.95         -0.07
                    4. หลับใน                                  2.85        5.23          2.38

โดยยานพาหนะที่เกิดเหตุในช่วงเทศกาลปี 2553 เปรียบเทียบกับปี 2552 มีสถิติสูงสุดตามลำดับ ดังนี้

                 ประเภทยานพาหนะ                               ปี 2552     ปี  2553      เพิ่ม / ลด
                                                                (คัน)        (คัน)          (คัน)
                 1. รถจักรยานยนต์                                  646         526        -22.81
                 2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคล /สาธารณะ                      404         306        -32.03
                 3. รถปิคอัพบรรทุก  4  ล้อ                           433         371        -16.71

3. ผลสรุปจากการดำเนินการตามแผนฯ

จากสถิติสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ในข้อ 5) จะพบว่าข้อมูลทางสถิติดังกล่าว มีนัยสำคัญ ดังนี้

1) สาเหตุที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนส่วนใหญ่จะเกิดจากพฤติกรรมของผู้ใช้รถ ใช้ถนน ซึ่งยังคงขาดวินัยจราจร คิดเป็นร้อยละ 59.44 เช่น การขับรถเร็วเกินกำหนด และการขับรถตัดหน้ากระชั้นชิด ส่วนการเมาสุรา / ยาบ้า เป็นลำดับรองลงมา คิดเป็นร้อยละ 12.95 ที่เหลือเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ

2) ไม่พบอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถโดยสารสาธารณะ ทั้งของบริษัท ขนส่ง จำกัด และรถร่วม อันเป็นผลจากการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการในการอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยในระบบ ขนส่งของกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีวัตถุประสงค์จะลดจำนวนอุบัติเหตุและความสูญเสียจากการเดินทางของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องไม่มีผู้โดยสารเสียชีวิตจากการเดินทางในระบบขนส่งสาธารณะ โดยแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าวได้ให้ความสำคัญกับการสร้างวินัยจราจร ปลูกฝังจิตสำนึก และเฝ้าระวังพฤติกรรมของผู้ขับขี่ โดยเฉพาะผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะ ซึ่งได้จัดให้มีการอบรมพนักงานขับรถให้ขับขี่อย่างปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง และจัดให้มีการตรวจสภาพรถโดยสารและพนักงานขับรถก่อนออกให้บริการทั้งที่สถานีและในระหว่างเส้นทาง

4. แนวทางการดำเนินการต่อไป

จากข้อสรุปดังกล่าวข้างต้นเป็นผลจากความร่วมมือของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทุกภาคส่วน ซึ่งแม้ว่าในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2553 สถิติการเกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บ เสียชีวิต ลดลงในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม กระทรวงคมนาคมจะได้เร่งรัดดำเนินการเตรียมความพร้อม และแก้ไขปัญหาต่อไป โดยจะนำข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาประกอบการพิจารณาแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในช่วงภาวะปรกติและช่วงเทศกาล โดยจะมุ่งเน้นในเรื่องของการปลูกจิตสำนึกด้านความปลอดภัย และการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในสังคม ควบคู่ไปกับการดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้พร้อมรองรับการเดินทาง ตลอดจนการเข้มงวด กวดขัน ในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ “คมนาคมปลอดภัย สังคมไทยเป็นสุข” ต่อไป

อนึ่ง หากพิจารณาชั่วโมงทำงานต่อวันของผู้มีงานทำในไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2552 พบว่า ผู้มีงานทำส่วนใหญ่ทำงานตั้งแต่ 35 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ทำงานเต็มที่ในเรื่องชั่วโมงทำงาน มีจำนวน 32.40 ล้านคน หรือร้อยละ 84.4 ของผู้มีงานทำทั้งสิ้น ส่วนผู้ที่ทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์มีจำนวน 5.97 ล้านคน หรือ ร้อยละ 15.6 หากนำมาเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว จะเห็นว่าผู้ที่ทำงานตั้งแต่ 35 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์ลดลงร้อยละ 0.8 ขณะที่ผู้มีงานทำที่ทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือเป็นผู้ทำงานไม่เต็มเวลาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.8

สำหรับจำนวนผู้ว่างงานในไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2552 มีจำนวนทั้งสิ้น 4.56 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานรวม ถ้าเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2551 ผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 6 พันคน (จาก 4.50 แสนคน เป็น 4.56 แสนคน) โดยเป็นผู้ว่างงานในกลุ่มเยาวชน (อายุ 15-24 ปี) 2.20 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการ ว่างงานร้อยละ 4.3 และอยู่ในกลุ่มของผู้อยู่ในวัยทำงาน (อายุ 25 ปีขึ้นไป) 2.36 แสนคน หรือร้อยละ 0.7 หากเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับปี 2551 พบว่า ผู้ว่างงานในกลุ่มเยาวชน (อายุ 15 — 24 ปี) ลดลง 2.5 หมื่นคน (จาก 2.45 แสนคน เป็น 2.20 แสนคน) หรือลดลงร้อยละ 0.5 ส่วนกลุ่มวัยทำงาน (อายุ 25 ปีขึ้นไป) เพิ่มขึ้น 3.1 หมื่นคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1

เมื่อพิจารณาผู้ว่างงานตามลักษณะของประสบการณ์จากการทำงานในไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2552 จากจำนวนผู้ว่างงาน 4.56 แสนคน พบว่า กลุ่มแรก เป็นผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 1.55 แสนคน โดยอยู่ในวัยเยาวชน (15-24 ปี) 1.18 แสนคน และวัยทำงาน (25 ปีขึ้นไป) 3.7 หมื่นคน อีกกลุ่มหนึ่งเป็นผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน 3.01 แสนคน โดยเป็นผู้ว่างงานจากการทำงานครั้งสุดท้ายในภาคการผลิต 1.41 แสนคน ภาคการบริการและการค้า 1.25 แสนคน และจากภาคเกษตรกรรมอีกประมาณ 3.5 หมื่นคน

สำหรับการว่างงาน ตามระดับการศึกษาที่สำเร็จในไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2552 พบว่า ผู้ที่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาว่างงานมากสุดจำนวน 1.48 แสนคน รองลงมาเป็นผู้มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 1.12 แสนคน ระดับประถมศึกษา 8.1 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 7.3 หมื่นคน และผู้ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 4.2 หมื่นคน ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบจำนวนผู้ว่างงานเป็นรายภาค กับช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2551 ภาคเหนือ มีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นมากที่สุด 1.1 หมื่นคน รองลงมาคือภาคใต้เพิ่มขึ้น 8 พันคน ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพมหานครลดลง 7 พันคน 4 พันคน และ 2 พันคน ตามลำดับ หากพิจารณาเป็นอัตราการว่างงาน พบว่า อัตราการว่างงานทั่วประเทศมีจำนวนเท่าเดิมคือ ร้อยละ 1.2โดยภาคเหนือและภาคใต้ มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเท่ากัน คือร้อยละ 0.1 กรุงเทพมหานครและภาคกลางมีอัตราการว่างงานลดลงเท่ากันคือ ร้อยละ 0.1 ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่เปลี่ยนแปลง

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 มกราคม 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ