สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 22

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 21, 2010 16:08 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลสรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 22 ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2553 ประกอบด้วย สถานการณ์น้ำ และการดำเนินการตามแผนเตรียมรับสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์อุทกภัย

อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และพายุโกนเซิน ทำให้ฝนตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 17-18 กรกฎาคม 2553 เกิดน้ำท่วมและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่จังหวัดน่าน ประสบภัย 6 อำเภอ ได้แก่ ปัว ท่าวังผา สองแคว เชียงกลาง ภูเพียง เมือง) วันนี้ (19 ก.ค.53) สถานการณ์น้ำหลากเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ส่วนสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งในลำน้ำน่าน ขณะนี้ยังทรงตัวท่วมสูงประมาณ 0.50 เมตร หากไม่มีฝนตกเพิ่มลงมาอีก คาดว่าระดับน้ำจะลดลงและเข้าสู่ภาวะปกติภายในวันนี้

ผลกระทบด้านพืช 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง เชียงกลาง ปัว และภูเพียง พื้นที่การเกษตร 15,384 ไร่ ด้านประมง 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปัวและท่าวังผา พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 503 ไร่ ด้านปศุสัตว์ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอท่าวังผาและปัว สัตว์ได้รับผลกระทบ 15,683 ตัว สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดน่านได้ให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้าในการให้ยาปฏิชีวนะละลายน้ำในเบื้องต้นแล้ว

สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2553

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ (19 กรกฎาคม 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 32,910 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 45 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 9,065 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 12 ของความจุอ่างฯ)น้อยกว่าปี 2552 (43,498 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 59) จำนวน 10,588 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 40,645 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (19 กรกฎาคม 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 31,361 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 45 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 7,834 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 11 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2552 (41,183 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 59) จำนวน 9,822 ล้านลูกบาศก์เมตร วันนี้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 56.4 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบาย 54.3 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 38,234 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

                                                                                หน่วย : ล้าน ลบ.ม.
อ่างเก็บน้ำ        ปริมาตรน้ำ        ปริมาตรน้ำ      ปริมาตรน้ำ        ปริมาณน้ำ         ปริมาณน้ำ    ปริมาณน้ำ
                ในอ่างปี52       ในอ่างปี 53       ใช้การได้       ไหลลงอ่าง           ระบาย     รับได้อีก
            ปริมาตรน้ำ   %    ปริมาตรน้ำ   %   ปริมาตรน้ำ  %      วันนี้  เมื่อวาน      วันนี้ เมื่อวาน
ภูมิพล           5,991  45       4,004  30        204  2     0.93    0.22        7     10    9,458
สิริกิติ์           4,784  50       3,181  33        331  3    10.61    3.01    10.11   9.05    6,329
ภูมิพล+สิริกิติ์     10,775  47       7,185  31        535  2    11.54    3.23    17.11  19.05   15,787
แควน้อยฯ          204  26         158  21        122 16     3.62    4.42     0.43   0.43      611
ป่าสักชลสิทธิ์        298  31          71   7         68  7     0.02    0.03     0.74   0.74      889

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 15 อ่าง ได้แก่ แม่งัด(25) แม่กวง(13) กิ่วคอหมา(27) แควน้อย(21) ห้วยหลวง(21) น้ำอูน(26) อุบลรัตน์(27) ลำปาว(25) ลำตะคอง(28) มูลบน(24) ป่าสักฯ(7) ทับเสลา(18) ขุนด่านฯ(14) คลองสียัด(22) และปราณบุรี(29)

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ภาคตะวันออก

จังหวัดชลบุรี มีอ่างเก็บน้ำ 7 อ่าง รวมปริมาณน้ำ 74.2 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯ (น้อยกว่าปี 2552 จำนวน 4.8 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 6) ปริมาณน้ำใช้การได้ 59 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯ

จังหวัดระยอง มีอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง รวมปริมาณน้ำ 354.6 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 68 ของความจุอ่างฯ (มากกว่าปี 2552 จำนวน 20.8 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 11) ปริมาณน้ำใช้การได้ 326 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 62 ของความจุอ่างฯ

2. สภาพน้ำท่า

ภาคเหนือ แม่น้ำปิง ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย ยกเว้นบริเวณสถานี P.1 สะพานนวรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย ยกเว้น บริเวณสถานี N.1 หน้าสำนักงานป่าไม้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม่น้ำมูล ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

ภาคกลาง แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

ภาคใต้ แม่น้ำท่าตะเภา แม่น้ำตาปี แม่น้ำโก-ลก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย

3. คุณภาพน้ำ

กรมชลประทาน ติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ดังนี้

แม่น้ำ         จุดเฝ้าระวัง                                    ข้อมูล           ค่า Sal (g/l)        เกณฑ์
                                                           วันที่        ค่าสูงสุด        เวลา
เจ้าพระยา     ท่าน้ำจังหวัดนนทบุรี                         19 ก.ค. 53          0.27    09.17 น.     ปกติ
เจ้าพระยา     ปากเกร็ด* จังหวัดนนทบุรี                    19 ก.ค. 53          0.26    07.13 น.     ปกติ
             ปากคลองสำแล * จังหวัดปทุมธานี              19 ก.ค. 53          0.14    02.00 น.     ปกติ
ท่าจีน         ที่ว่าการอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม         19 ก.ค. 53          0.17    08.00 น.     ปกติ
แม่กลอง       ปากคลองดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี           18 ก.ค. 53           0.1    23.10 น.     ปกติ

หมายเหตุ ค่ามาตรฐานความเค็มที่ปากคลอง

การดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งต่อเนื่อง ตามแผนเตรียมสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

1. แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเลื่อนการทำนาปีในเขตโครงการชลประทานทุกโครงการที่รับน้ำจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์จากปกติเดือนพฤษภาคมเป็นประมาณกลางเดือนกรกฎาคม 2553 และจากการประเมินสถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ พบว่าปัจจุบันทั้งสองเขื่อนยังมีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย ซึ่งไม่ เพียงพอที่จะสนับสนุนการทำนาปี จึงขอให้เกษตรกรในพื้นที่ 22 จังหวัด ที่ใช้น้ำจากเขื่อนทั้งสองแห่งดังกล่าว ประกอบด้วย ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี นครปฐม พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก สมุทรปราการ สมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร ให้เลื่อนการทำนาปีออกไปอีกครั้ง จากเดิมที่เคยให้เลื่อนเป็นกลางเดือนกรกฎาคม 53 ออกไปจนถึงต้นเดือนสิงหาคม 53 เพื่อไม่ให้ผลผลิตเสียหายจากการขาดแคลนน้ำ

2. สำนักฝนหลวงและการบินเกษตรได้ปรับแผนปฏิบัติการการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ปัจจุบันมีศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 5 ศูนย์ ประกอบด้วย หน่วยปฏิบัติการ จำนวน 11 หน่วย และฐานเติมสารฝนหลวง จำนวน 5 ฐาน โดยเน้นปฏิบัติการให้พื้นที่ลุ่มรับน้ำต่างๆ ดังนี้

2.1 ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาคเหนือ มีหน่วยปฏิบัติ จำนวน 4 หน่วย ได้แก่ หน่วยฯ จังหวัดเชียงใหม่ ตาก แพร่ และพิษณุโลก

2.2 ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาคกลาง มีหน่วยปฏิบัติ จำนวน 2 หน่วย ได้แก่ หน่วยฯ จังหวัดลพบุรี และกาญจนบุรี ฐานเติมสารฯ จำนวน 1 ฐาน คือ จังหวัดนครสวรรค์

2.3 ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีหน่วยปฏิบัติ จำนวน 3 หน่วย ได้แก่ หน่วยฯ จังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา และอุบลราชธานี ฐานเติมสารฯ จำนวน 2 ฐาน คือ จังหวัดบุรีรัมย์ นครพนม

2.4 ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาคตะวันออก มีหน่วยปฏิบัติ จำนวน 1 หน่วย คือ หน่วยฯ จังหวัดสระแก้ว ฐานเติมสารฯ จำนวน 1 ฐาน คือ จังหวัดระยอง

2.5 ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาคใต้ มีหน่วยปฏิบัติ จำนวน 1 หน่วย คือ หน่วยฯ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ฐานเติมสารฯ จำนวน 1 ฐาน คือ จังหวัดราชบุรี

ผลการปฏิบัติการฝนหลวงประจำสัปดาห์ ช่วงวันที่ 9-15 กรกฎาคม 2553 ขึ้นปฏิบัติการ จำนวน 309 เที่ยวบิน มีจังหวัดที่มีรายงานฝนตก 51 จังหวัด วัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดได้ 100.0 มิลลิเมตร ที่อำเภอนำโสม จังหวัดอุดรธานี มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ รวม 199.63 ล้าน ลบ.ม.

ผลการปฏิบัติการฝนหลวงสะสม 25 มกราคม — 15 กรกฎาคม 2553 ขึ้นปฏิบัติการรวม 139 วัน จำนวน 4,249 เที่ยวบิน มีรายงานฝนตกในปฏิบัติการ รวม 128 วัน จำนวน 669 สถานี วัดปริมาณน้ำฝนรายวันสูงสุดได้ 250.0 มิลลิเมตร จังหวัดที่มีรายงานฝนตกรวม 63 จังหวัด จากจำนวนจังหวัดที่อยู่ในเป้าหมายทั้งหมด 70 จังหวัด

ความเสียหายด้านการเกษตร

ภัยแล้ง

ด้านพืช ณ วันที่ 16 กรกฎาคม 2553

ช่วงภัยวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง ปัจจุบัน พื้นที่การเกษตรประสบภัยทั้งสิ้น 47 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน นครสวรรค์ แพร่ พะเยา พิจิตร พิษณุโลก ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ หนองคาย หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ อุดรธานี สระบุรี ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา จันทบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กระบี่ ระนอง นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล และสุราษฎร์ธานี

สำรวจแล้วปรากฏว่า ไม่เสียหาย 2 จังหวัด(จังหวัดสระบุรีและบุรีรัมย์) เสียหาย 45 จังหวัด เกษตรกร 208,932 ราย พื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น 1,482,384 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 96,371 ไร่ พืชไร่ 1,227,357 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 158,655 ไร่ คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือ 1,151.4565 ล้านบาท

การดำเนินการ

  • ช่วยเหลือแล้วด้วยงบจังหวัด วงเงิน 62.3709 ล้านบาท
  • อยู่ระหว่างให้ความช่วยเหลือ วงเงิน 1,089.0856 ล้านบาท แบ่งเป็น อยู่ระหว่างของบกลาง วงเงิน 169.2448 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอเอกสารของบกลางของจังหวัด วงเงิน 919.8408 ล้านบาท

ด้านปศุสัตว์ช่วยเหลือเสร็จสิ้นแล้ว และด้านประมงไม่มีความเสียหาย

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กรกฎาคม 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ