ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ....

ข่าวการเมือง Tuesday August 28, 2007 15:54 —สภาร่างรัฐธรรมนูญ

บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
พ.ศ. ....
หลักการ
ให้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เหตุผล
โดยที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้มีพระราช
บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อให้มีคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และตามกฎหมายที่กำหนด
ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญนี้
ร่างพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งพ.ศ. ....
..................................................
..................................................
..................................................
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
......................................................
มาตรา ๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ....”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่
วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการ
การเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
“เลือกตั้ง” หมายความว่า เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี
“จังหวัด” หมายความรวมถึง กรุงเทพมหานคร
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง
มาตรา ๕ ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญนี้
หมวด ๑
คณะกรรมการการเลือกตั้ง
มาตรา ๖ คณะกรรมการการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งมีองค์ประกอบ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม วิธีการสรรหา
และการให้ความเห็นชอบ วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งเป็นไปตามบทบัญญัติ
ของรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๗ ให้กรรมการการเลือกตั้งมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและ
หนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การป้องกันและปราบปรามการทุจริต
มาตรา ๘ การประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องมีกรรมการการเลือกตั้ง
มาประชุมไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการการเลือกตั้งเท่าที่มีอยู่แต่ต้องไม่น้อยกว่า
สามคน จึงจะเป็นองค์ประชุม ในกรณีที่กรรมการการเลือกตั้งคนใดไม่อาจมาประชุมได้ให้จดแจ้ง
เหตุนั้นไว้ในรายงานการประชุม
การลงมติในการประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ใช้คะแนนเสียงข้างมาก
เว้นแต่การลงมติวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนการประกาศผล
การเลือกตั้งให้ใช้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการการเลือกตั้งที่มาประชุม
โดยให้กรรมการการเลือกตั้งคนหนึ่งมีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธาน
ในที่ประชุมมีสิทธิออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการ
การเลือกตั้งไม่มาประชุม ให้กรรมการการเลือกตั้งที่มาประชุมเลือกกรรมการการเลือกตั้งคนหนึ่ง
เป็นประธานในที่ประชุม ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๙ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการการเลือกตั้ง หรือมี
แต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการการเลือกตั้งเลือกกรรมการการเลือกตั้งคนหนึ่งทำหน้าที่
แทนประธานกรรมการการเลือกตั้ง
มาตรา ๑๐ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งหรือการสรรหา สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี รวมทั้ง
การออกเสียงประชามติตามที่กฎหมายกำหนด ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
(๒) ออกประกาศหรือวางระเบียบกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติ
ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
พรรคการเมือง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และกฎหมาย
ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับการหาเสียง
เลือกตั้งและการดำเนินการใดๆ ของพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อให้
เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการของรัฐในการสนับสนุนให้การ
เลือกตั้งมีความเสมอภาคและมีโอกาสทัดเทียมกันในการหาเสียงเลือกตั้ง
(๓) วางระเบียบเกี่ยวกับข้อห้ามในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีและ
รัฐมนตรี ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภา
ผู้แทนราษฎร รวมทั้งให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการ พนักงานของรัฐ
รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจาก
ตำแหน่ง หรือให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน และการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่าย
เพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็น ตลอดจนการใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใด
ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาประโยชน์ของรัฐ และคำนึงถึงความสุจริต
เที่ยงธรรม ความเสมอภาคและโอกาสทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง
(๔) กำหนดมาตรการและการควบคุมการบริจาคเงินให้แก่พรรคการเมือง
การสนับสนุนทางการเงินโดยรัฐ การใช้จ่ายเงินของพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้ง รวมทั้ง
การตรวจสอบบัญชีทางการเงินของพรรคการเมืองโดยเปิดเผย และการควบคุมการจ่ายเงินหรือ
รับเงินเพื่อประโยชน์ในการลงคะแนนเลือกตั้ง
(๕) มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงาน
ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ปฏิบัติการทั้งหลายอัน
จำเป็นตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ
การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมาย
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก
สภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๖) ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งที่ใช้วิธีการแบ่งเขตเลือกตั้ง
การเลือกตั้งแบบสัดส่วน และจัดให้มีบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(๗) สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
พรรคการเมือง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ หรือกฎหมาย
ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๘) สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและดำเนินการตามบทบัญญัติของ
รัฐธรรมนูญ ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
หรือสมาชิกวุฒิสภาคนใดคนหนึ่งสิ้นสุดลงหรือความเป็นรัฐมนตรีของคนใดคนหนึ่งสิ้นสุดลง
(๙) สั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามที่กฎหมายบัญญัติหรือสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่
หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งใดหน่วยเลือกตั้งหนึ่งหรือทุกหน่วยเลือกตั้ง หรือ
สั่งให้มีการนับคะแนนใหม่ เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติ
ในหน่วยเลือกตั้งนั้นๆ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีพิจารณา
ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
(๑๐) ประกาศผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา และผลการออกเสียง
ประชามติ
(๑๑) ส่งเสริมและสนับสนุนหรือประสานงานกับหน่วยราชการ หน่วยงาน
ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือสนับสนุนองค์การเอกชนในการให้การศึกษา
แก่ประชาชน เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยจัดสรรงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายได้
ตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
(๑๒) ออกข้อกำหนดเป็นแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ได้รับการแต่งตั้ง
ให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง การสนับสนุนการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา หรือ
การออกเสียงประชามติ
(๑๓) จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีและข้อสังเกตเสนอต่อรัฐสภา
(๑๔) ดำเนินการอื่นตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ พระราช
บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอื่น หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
การเลือกตั้ง
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตาม (๑) (๔) (๗) หรือ (๙) คณะกรรมการ
การเลือกตั้งอาจขอให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบบัญชีทางการเงินของพรรคการเมือง
หรืออาจขอให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแจ้งรายงานการทำธุรกรรมของบุคคล
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริจาคเงินให้พรรคการเมือง หรือการเลือกตั้งตามที่คณะกรรมการ
การเลือกตั้งแจ้งให้ทราบ หรือให้ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วย
การธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินอื่นแจ้งให้ทราบถึงการโอนเงินตามที่คณะกรรมการ
การเลือกตั้งร้องขอ ทั้งนี้ มิให้นำบทบัญญัติของกฎหมายที่ห้ามหน่วยงานใดเปิดเผยข้อมูล
ในความครอบครองมาใช้บังคับกับการแจ้งข้อมูลตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งร้องขอ
มาตรา ๑๑ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการ
การเลือกตั้งประจำจังหวัด ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด บุคคล คณะบุคคลหรือผู้แทน
องค์การเอกชน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมายได้
หลักเกณฑ์ วิธีการแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
ค่าตอบแทน และการสงเคราะห์อื่น รวมทั้งวิธีปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำ
จังหวัด ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด บุคคล คณะบุคคลหรือผู้แทนองค์การเอกชนตาม
วรรคหนึ่ง และคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๑๖ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๑๒ คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดตามมาตรา ๑๑ ให้มีจำนวน
จังหวัดละห้าคน ประกอบด้วยบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งจากผู้ที่มีคุณสมบัติตาม
มาตรา ๑๓ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔ โดยให้สรรหาจากผู้มีภูมิลำเนาในจังหวัดนั้น
เป็นหลัก
กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง
กำหนด
มาตรา ๑๓ กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
(๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
(๔) คุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด
มาตรา ๑๔ กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิก
สภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๒) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในพรรคการเมืองในระยะ
สามปีก่อนดำรงตำแหน่ง
(๓) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษา ตุลาการศาลปกครอง ผู้ตรวจการแผ่นดิน
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(๔) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(๕) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๖) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๗) ติดยาเสพติดให้โทษ
(๘) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
(๙) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
(๑๐) เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันได้รับ
การเสนอชื่อ เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๑๑) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ
รัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
(๑๒) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน
เพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(๑๓) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เนื่องจากจงใจ
ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบตามที่กำหนด หรือจงใจ
ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิด
ข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ
(๑๔) เคยถูกวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งตามมาตรา ๒๗๔ ของ
รัฐธรรมนูญ
(๑๕) ลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด
มาตรา ๑๕ คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจมอบหมายให้คณะกรรมการ
การเลือกตั้งประจำจังหวัดปฏิบัติหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) อำนวยการการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ รวมทั้งการสนับสนุน
การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ที่กระทำภายในจังหวัดนั้น
(๒) เสนอแนะการแบ่งเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งที่ใช้วิธีการแบ่งเขตเลือกตั้ง
ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(๓) รวบรวมและตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือผู้มีสิทธิ
ออกเสียงประชามติ
(๔) เสนอแนะต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อพิจารณาแต่งตั้งบุคคลผู้มีอำนาจ
หน้าที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง การสนับสนุนการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา หรือการออกเสียง
ประชามติ ตามที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ
การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ หรือ
กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นกำหนดไว้
(๕) แต่งตั้งบุคคลให้ช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ประจำจังหวัดตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
(๖) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง การออกเสียงประชามติ การสนับสนุน
การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา หรือกำกับดูแลการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ประจำจังหวัด
หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๑๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมายได้
มาตรา ๑๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งเกี่ยวกับ
การเลือกตั้ง การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา หรือการออกเสียงประชามติ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง
มีอำนาจสั่งให้หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นดำเนินการ
ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามอำนาจหน้าที่ หรือให้หน่วยงานดังกล่าวมีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงานหรือ
ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นปฏิบัติการ
อันจำเป็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา หรือการออกเสียงประชามติได้ตามที่
เห็นสมควร
ในกรณีที่ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของ
คณะกรรมการการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๑๐ (๕) ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยไม่มีเหตุ
อันสมควรให้ถือว่าเป็นการกระทำความผิดทางวินัย และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งส่งเรื่อง
ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยของผู้นั้นดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
มาตรา ๑๘ ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าผู้ใดกระทำความผิดตาม
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มา
ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมาย
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ หรือกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้มีอำนาจแจ้งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อดำเนินการสืบสวน หรือแจ้งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการ
สอบสวน และให้มีอำนาจดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลไม่ว่าจะเป็นเรื่องในทางแพ่ง ทางอาญา หรือ
ทางปกครอง โดยให้ถือว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา
ในการดำเนินการของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง หรือในกรณี
ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะต้องดำเนินคดีในศาล คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจมอบหมาย
ให้กรรมการการเลือกตั้งคนใดคนหนึ่ง เลขาธิการ พนักงานของสำนักงานคณะกรรมการ
การเลือกตั้ง พนักงานอัยการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการแทนได้และให้พนักงานฝ่ายปกครอง
หรือตำรวจ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล อำนวยความสะดวกและเร่งรัด
ให้การดำเนินคดีเสร็จสิ้นไปโดยเร็วและในการนี้ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง
มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการทำทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งจากหลักฐานทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรแยกเป็นรายจังหวัดไว้
เป็นประจำ
ทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิตรวจสอบ
และขอแก้ไขให้ถูกต้องได้
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจขอเชื่อมโยง
ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร เพื่อนำมาดำเนินการจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือ
อาจมอบหมายให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรหรือบุคคลอื่นที่เห็นสมควร
เป็นผู้จัดทำแทนได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่มีเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องสืบสวนสอบสวน
เพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียง
ประชามติ หรือกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามบทบัญญัติ
ของรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการโดยพลัน
ในการสืบสวนสอบสวนตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องให้โอกาส
ผู้ร้อง ผู้ถูกคัดค้าน หรือผู้ถูกกล่าวหา มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงหลักฐาน รวมทั้งต้องให้
โอกาสมาให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง
การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
ของกรรมการการเลือกตั้งที่พิจารณาวินิจฉัยทุกคน
ในกรณีที่กรรมการการเลือกตั้งผู้ใดลงมติวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องหนึ่งเรื่องใดและ
ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือลงมติไว้แล้วแต่ยังมิได้ลงลายมือชื่อในคำวินิจฉัยชี้ขาดเนื่องจากพ้นจาก
ตำแหน่งหรือมีเหตุจำเป็นอื่นที่ไม่อาจลงลายมือชื่อได้ ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งหรือ
กรรมการการเลือกตั้งที่เหลืออยู่ หรือเลขาธิการในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งพ้นจากตำแหน่ง
ทั้งคณะ บันทึกเหตุนั้นไว้ในคำวินิจฉัยชี้ขาดแทนการลงลายมือชื่อของกรรมการการเลือกตั้งผู้นั้น
วิธีการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาด ตลอดจนการดำเนินการยื่นคำร้อง
ต่อศาลฎีกา หรือศาลอุทธรณ์ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าควรสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่
หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ใด ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๑ องค์การเอกชนใดที่มีความประสงค์จะช่วยเหลือการปฏิบัติงานของ
คณะกรรมการการเลือกตั้งในการตรวจสอบการเลือกตั้ง ให้ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง
และเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าองค์การเอกชนที่ยื่นคำขอมีความเป็น
กลางในทางการเมืองและมีความสามารถที่จะปฏิบัติงานดังกล่าว คณะกรรมการการเลือกตั้ง
มีอำนาจรับรองให้องค์การเอกชนนั้นช่วยเหลือในการตรวจสอบการเลือกตั้งได้
ในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งผู้แทนของ
องค์การเอกชนที่ได้รับรองตามวรรคหนึ่ง เพื่อช่วยดูแลตรวจสอบการเลือกตั้งและรายงานให้
คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบในกรณีที่พบเห็นว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม
หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
หลักเกณฑ์และวิธีการการขอให้รับรอง การรับรอง การเพิกถอนการรับรอง และ
การปฏิบัติงานขององค์การเอกชนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น
มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้ความเห็นในการปฏิบัติงาน หรือส่งเอกสารหลักฐาน หรือ
พยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา
(๒) ให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานตาม (๑) เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานอัยการ
พนักงานสอบสวนหรือบุคคลใดมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง หรือมาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสาร
หลักฐาน หรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา
(๓) ให้บุคคลใดมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงหรือมาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสาร
หลักฐาน หรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา
(๔) ขอความร่วมมือให้ศาลส่งเอกสาร หลักฐาน หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
เพื่อประกอบการพิจารณา
(๕) เข้าไปหรือแต่งตั้งให้บุคคลเข้าไปในที่เลือกตั้ง ที่ออกเสียงประชามติ หรือ
สถานที่นับคะแนนเลือกตั้ง หรือนับคะแนนการออกเสียงประชามติ
มาตรา ๒๓ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
ให้กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำ
จังหวัด และอนุกรรมการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมาย
อาญา
มาตรา ๒๔ เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของ
ประธานกรรมการการเลือกตั้งและกรรมการการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๒๕ ห้ามมิให้กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด และอนุกรรมการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้ง
กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด หรือ
กระทำการหรือละเว้นกระทำการโดยทุจริตหรือประพฤติมิชอบในการปฏิบัติหน้าที่
ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งกระทำการตามหน้าที่โดยสุจริตย่อมได้รับ
ความคุ้มครองไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งหรือทางอาญา
หมวด ๒
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
มาตรา ๒๖ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระ
ตามรัฐธรรมนูญมีฐานะเป็นนิติบุคคลและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
โดยมีประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด
กิจการของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย
ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม
และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
มาตรา ๒๗ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการ
ทั่วไปของคณะกรรมการการเลือกตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมืองและให้มีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑) รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการการเลือกตั้งและนายทะเบียน
พรรคการเมือง ศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งและ
นายทะเบียนพรรคการเมือง
(๒) ศึกษาและสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้ง การสรรหา
สมาชิกวุฒิสภา การออกเสียงประชามติและการพัฒนาพรรคการเมือง
(๓) เผยแพร่วิชาการ ให้ความรู้และการศึกษาแก่ประชาชน รวมทั้งผู้สมัครรับเลือกตั้ง
เกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนและส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้สิทธิ
เลือกตั้งโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
(๔) รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับ
การเลือกตั้ง การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา หรือการออกเสียงประชามติ ผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษา
ความสงบเรียบร้อยในการเลือกตั้ง การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา หรือเกี่ยวกับการกระทำที่ไม่ชอบ
ด้วยกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง หรือเกี่ยวกับการทุจริต หรือประพฤติมิชอบในการเลือกตั้ง
ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง พรรคการเมือง หรือบุคคลอื่นใดเพื่อดำเนินการตาม
ระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
(๕) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมาย
มาตรา ๒๘ ในการกำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้
คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจออกระเบียบหรือประกาศเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงาน
บุคคล การงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน และการดำเนินการอื่นในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) การจัดแบ่งส่วนงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และขอบเขต
หน้าที่ของส่วนงานดังกล่าว
(๒) การกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน และค่าตอบแทนอื่นของเลขาธิการ
รองเลขาธิการ พนักงานและลูกจ้างของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(๓) การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน การกำหนดมาตรฐาน
ทางจริยธรรม สมรรถภาพ การประเมินผลการปฏิบัติงาน วินัยและการลงโทษทางวินัย การออกจาก
ตำแหน่ง การร้องทุกข์ และการอุทธรณ์การลงโทษสำหรับเลขาธิการ รองเลขาธิการ และพนักงาน
ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง รวมทั้งวิธีการและเงื่อนไขในการจ้างลูกจ้างของสำนักงาน
คณะกรรมการการเลือกตั้ง
(๔) การคัดเลือก การกำหนดอัตราค่าจ้างหรือค่าตอบแทน ตลอดจนการกำหนด
เงินเพิ่มพิเศษให้แก่ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้าง ซึ่งมาปฏิบัติงานเป็นพนักงานหรือลูกจ้าง
ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งชั่วคราวตามมาตรา ๓๓
(๕) การบริหารและจัดการการเงินและทรัพย์สินของสำนักงานคณะกรรมการ
การเลือกตั้ง
(๖) การจัดสวัสดิการหรือการสงเคราะห์อื่นแก่เลขาธิการ รองเลขาธิการ
พนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
มาตรา ๒๙ ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีเลขาธิการคนหนึ่ง
ซึ่งประธานกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และรับผิดชอบ
การปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งขึ้นตรงต่อประธานกรรมการการเลือกตั้ง
หรือกรรมการการเลือกตั้งตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมาย และจะให้มีรองเลขาธิการ
เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติงานรองจากเลขาธิการก็ได้
ให้เลขาธิการทำหน้าที่เป็นเลขานุการในคณะกรรมการการเลือกตั้ง
มาตรา ๓๐ เลขาธิการต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์
สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ และมีคุณวุฒิ
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ