บทความ: เตือน...ผักบางชนิดทำให้เกิดนิ่ว

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 9, 2010 14:44 —กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ผักมีวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหารที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย ในแต่ละวันเราควรบริโภคผักในทุกๆ มื้อ แต่อย่างไรก็ตาม การบริโภคผักบางชนิดก็ต้องรับประทานในประมาณที่เหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่ผักที่เราควรระวังในการบริโภคจะเป็นผักพื้นบ้าน เช่นผักชีฝรั่ง มันสำปะหลัง ใบชะพลู ผักโขม ยอดพริกขี้ฟ้า หัวไชเท้า ใบกระเจี๊ยบ ใบยอ สาเหตุเพราะในใบ ยอด และต้นอ่อนของผักประเภทนี้มีกรดประเภทหนึ่งชื่อว่า กรดออกซาลิก (Oxalic Acid) เมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกาย กรดจากผักเหล่านี้จะเข้าไปจับตัวกับแร่ธาตุชนิดอื่น เช่นโซเดียม แมกนีเซียม แคลเซียม หรือ โปแตสเซียม เป็นต้น กลายเป็นผลึกอ๊อกซาเลตประเภทต่างๆ ผนึกเหล่านี้เป็นตัวการสำคัญทำให้เกิดนิ่วในไต และกระเพาะปัสสาวะนั่นเอง

เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในภาคเกิดนิ่วไนไตและกระเพาะปัสสาววะ โดยทั่วไปเราไม่ควรรับประทานอาหารที่มีกรดอ๊อกซาลิคเกินวันละ 22 กรัมต่อน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม หรือ 378มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

ตามผลวิเคราะห์ดูปริมาณกรดออกซาลิคในผักปริมาณ 100 กรัม จากห้องปฏิบัติการของกองโภขนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รวมถึงผลวิเคราะห์จากต่างประเทศ พบปริมาณกรดออกซาลิคในผักดังกล่าวข้างต้นต่อน้ำหนักผัก 100 กรัม ดังนี้

  • ผักชีฝรั่ง (Parsley) 1700 มิลลิกรัม
  • มันสำปะหลัง (Cassava) 1260 มิลลิกรัม
  • ใบชะพลู 1088.4 มิลลิกรัม
  • ผักโขม (Spinach) 970 มิลลิกรัม
  • ยอดพริกชี้ฟ้า 761.7 มิลลิกรัม
  • หัวไชเท้า 480 มิลลิกรัม
  • ใบกระเจี๊ยบ 389.5 มิลลิกรัม
  • ใบยอ 387.6 มิลลิกรัม
  • ผักปัง 385.3 มิลลิกรัม
  • แพงพวย 243.9 มิลลิกรัม

โดยปกติ กรกออกซาลิกเกิดขึ้นได้เองจากกระบวนการ metabalism ของร่างกาย บางครั้ง แคลเซียมออกซาเลตอาจเกิดจากการได้รับวิตามินบางประเภท เช่นวิตามินซี ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ผลึกออกซาเลตก้อนเล็กๆ จะถูกขับออกทางปัสสาวะ แต่ผลึกที่มีขนาดใหญ่ประมาณเมล็ดถั่วขึ้นไป ไม่สามารถขับออกได้ ทำให้เกิดการระคายเคืองต่ออวัยวะในร่างกาย เกิดอาการปวดท้อง ปวดบริเวณสีข้าง ปัสสาวะติดขัด ติดเชื้อ หรือปัสสาวะเป็นเลือด ต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัดหรือใช้เครื่องสลายนิ่ว การรับประทานผักดังกล่าวข้างต้นซ้ำๆ เป็นประจำ อาจะเป็นการเพิ่มออกซาลิกให้กับร่างกาย จึงควรลดความถึ่ในการรับประทานผักดังกล่าว และเพิ่มการรับประทานผักชนิดอื่นๆ แทน

ผักก็เหมือนกับอาหารประเภทอื่นๆที่เรารับประทาน แม้จะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่ก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และมีการหมุนเวียนรับประทานไปเรื่อยๆ ไม่ควรรับประทานประเภทเดียวซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจเสี่ยงต่อการสะสมของสารบางอย่าง จนทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ