10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับตลาดแฟชั่นญี่ปุ่น

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 25, 2013 08:42 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

ญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในตลาดเสื้อผ้าและสิ่งทอสำคัญทัง้ ของไทยและของโลก เนื่องจากชาว

ญี่ปุ่นมีกำลังซื้อสูงและญี่ปุ่นต้องพึ่งพาการนำเข้าเสื้อผ้าและสิ่งทอจากต่างประเทศเป็น

หลัก “เก็บตกจากต่างแดน” ฉบับนี้ จึงนำเกร็ดความรู้และข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับตลาด

เสื้อผ้าของญี่ปุ่น มาให้ผู้อ่านได้รับทราบกัน

1. ตลาดเสื้อผ้าของญี่ปุ่นมีมูลค่าสูงเป็นอันดับหนึ่งของเอเชียตลาดค้าปลีกเสื้อผ้าของญี่ปุ่นมีสัดส่วนราวร้อยละ 38 ของมูลค่าตลาดค้าปลีกเสื้อผ้าในเอเชีย รองลงมาคือจีนมีสัดส่วนร้อยละ 32 อินเดียร้อยละ 9 และเกาหลีใต้ร้อยละ 6 ทั้งนี้ตลาดเสื้อผ้าและสิ่งทอของญี่ปุ่นพึ่งพาการนำเข้าถึงร้อยละ 90 ของมูลค่าตลาด โดยสินค้านำเข้าสำคัญในกลุ่มเสื้อผ้า ได้แก่ เสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าทอ (Woven Wear) ขณะที่สินค้านำเข้าสำคัญในกลุ่มสิ่งทอ ได้แก่ เส้นใยฝ้าย และขนแกะ/ขนสัตว์

2. ภูมิภาคคันโต (Kanto) เป็นตลาดซื้อขายเสื้อผ้าสำคัญเห็นได้จากค่าใช้จ่ายในการซื้อเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคคันโตเฉลี่ยสูงสุดที่ 3,962 เยนต่อเดือนต่อคน เนื่องจากเป็นที่ตั้งของกรุงโตเกียวเมืองหลวงของญี่ปุ่นและเป็นตลาดแฟชัน่ ชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก รองลงมาเป็นคินคิ(Kinki) เฉลี่ย 3,873 เยนต่อเดือนต่อคน คิวชู (Kyushu) 3,654 เยนต่อเดือนต่อคน และ ชูโกกุ(Chugoku) เฉลี่ย 3,597 เยนต่อเดือนต่อคน

ค่าใช้จ่ายซื้อเสื้อผ้าเฉลี่ยรายเดือนของชาวญี่ปุ่น (แบ่งตามภูมิภาค)

             ภูมิภาค                  เมืองสำคัญ                     ค่าใช้จ่ายซื้อเสื้อผ้า

(เยนต่อเดือนต่อคน)

          คันโต (Kanto)        โตเกียว คานากาวะ ไซตามะ จิบะ              3,962
          คินคิ (Kinki          โอซาก้า เกียวโต โกเบ วาคายาม่า             3,873
          คิวชู (Kyushu)        ฟูกูโอกะ นางาซากิ                          3,654
          ชูโกกุ (Chugoku)      ทตโตริ ชิมะเนะ โอกายาม่า ฮิโรชิม่า            3,597
          โทโฮคุ (Tohoku)      อาโอโมริ อิวาเตะ มิยางิ                     3,390
          ชิโกคุ (Shikoku)      โทกุชิมะ คางาวะ                           3,379
          โฮคูริกุ (Hokuriku)    นิอิงาตะ โทยาม่า อิชิกะวะ                    3,246
          ฮอกไดโด (Hokkaido)  ซับโปโร่                                  2,862
          โอกินาว่า (Okinawa)   โอกินาว่า                                 1,711

3. ไซส์เสื้อผ้าของญี่ปุ่นเล็กกว่าประเทศตะวันตกชาวญี่ปุ่นมีรูปร่างเล็กกว่าชาวตะวันตก ทำให้เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวญี่ปุ่นมี ขนาดเฉพาะ ทั้งนี้ การระบุขนาดเสื้อผ้าของญี่ปุ่นจะใช้ทั้งตัวอักษรและตัวเลข

ขนาดเสื้อผ้าของญี่ปุ่น

          ขนาดตามตัวอักษร        S          M          L           XL
          ขนาดตามตัวเลข         7          9          11          13
          ขนาดหน้าอก         72-80 ซม.  79-87 ซม.   86-94 ซม.  93-101 ซม.
          ขนาดสะโพก         82-90 ซม.  87-95 ซม.  92-100 ซม.  97-105 ซม.
          ขนาดเอว           58-64 ซม.  64-70 ซม.   69-77 ซม.   77-85 ซม

4. เสื้อผ้าผู้หญิงครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดเสื้อผ้าผู้หญิงมีสัดส่วนร้อยละ 54 ของมูลค่าตลาดเสื้อผ้าญี่ปุ่น แบ่งเป็น Shirts, Dressers, Sweaters, Slacks ตามลำดับ ส่วนเสื้อผ้าผู้ชายมีสัดส่วนร้อยละ 29 แบ่งเป็นSuits, Shirts, Slacks ตามลำดับ ขณะที่เสื้อผ้าสำหรับเด็กมีสัดส่วนร้อยละ 9 แบ่งเป็นDressers, Shirts, Baby Clothing ที่เหลือเป็นเสื้อผ้าประเภทอื่นๆ ร้อยละ 8

5. ชาวญี่ปุ่นนิยมซื้อเสื้อผ้าตามฤดูกาลผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างชาวญี่ปุ่นของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย พบว่าร้อยละ 30 จะซื้อเสื้อผ้าเมื่อเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนฤดูกาล โดยในกลุ่มนี้นิยมซื้อเสื้อผ้าเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน-พฤศจิกายน) มากที่สุดร้อยละ 30 รองลงมาเป็นฤดูร้อน(มิถุนายน-สิงหาคม) ร้อยละ 28 ฤดูหนาว (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) ร้อยละ 24 และฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม-พฤษภาคม) ร้อยละ 18

6. ชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับแบรนด์ผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างชาวญี่ปุ่นของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย พบว่าร้อยละ 52 ให้ความสำคัญกับแบรนด์ในการตัดสินใจเลือกซื้อเสื้อผ้า โดยแบรนด์อันดับ 1 ที่ชาวญี่ปุ่นนิยม คือ แบรนด์เสื้อผ้าของญี่ปุ่นเอง รองลงมาเป็นของอิตาลี และฝรั่งเศส ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่เคยซื้อเสื้อผ้าแบรนด์ไทยมีเพียงร้อยละ 23 ที่เหลืออีกร้อยละ 77 ไม่เคยซื้อเสื้อผ้าแบรนด์ไทย แต่ในกลุ่มนี้มีถึงร้อยละ 74 ที่ให้ความสนใจและอาจตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์ไทยในอนาคต

7. ห้างสรรพสินค้าเป็นช่องทางจำหน่ายเสื้อผ้าที่ใหญ่ที่สุดช่องทางจัดจำหน่ายเสื้อผ้าในญี่ปุ่น แบ่งเป็น 4 ช่องทาง ได้แก่

1) ห้างสรรพสินค้า มีสัดส่วนร้อยละ 30 ของมูลค่าตลาดรวม ทั้งนี้ห้างสรรพสินค้าในญี่ปุ่นมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 400 แห่ง ที่สำคัญ ได้แก่ Seibu, Isetan,Daimaru, Marui Co, Hankyo, Takashiyama

2) ร้านจำหน่ายเสื้อผ้าโดยเฉพาะ (Specialty Store) มีสัดส่วนร้อยละ 28 ของมูลค่าตลาดรวม

3) ร้านบูติก (ร้านจำหน่ายเฉพาะเสื้อผ้ารุ่นพิเศษหรือรุ่นที่มีจำนวนจำกัด)มีสัดส่วนร้อยละ 22

4) อื่นๆ อาทิ Factory Outlet, Chain Store, แผงลอยข้างถนน มีสัดส่วนร้อยละ 20

8. สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มทุกชนิดที่จำหน่ายในญี่ปุ่นต้องมีฉลากสินค้าภายใต้กฎหมาย Household Good Quality Labeling Law and Act กำหนดให้สินค้ากลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มทุกชนิดที่จำ หน่ายในญี่ปุ่นต้องติดฉลากที่แสดงถึงรายละเอียดของสินค้า ดังนี้

  • ส่วนประกอบของเส้นใย
  • วิธีการทำความสะอาดและดูแลรักษา
  • การดูดซับน้ำ
  • ชนิดของหนังที่นำมาใช้ผลิตสินค้าหรือส่วนประกอบ
  • ที่อยู่ของผู้ผลิต

9. การตั้งราคาจำหน่ายปลีกเสื้อผ้ามักสูงกว่าราคานำเข้าถึง 2-3 เท่าตัว

10. งานแสดงแฟชัน่ สำคัญ

  • Japan Fashion Week in Tokyo (เดือนมีนาคม)
  • Tokyo Collection Week (เดือนมีนาคม)
  • JFW : International Fashion Fair (เดือนกรกฎาคม)
  • Playtime Tokyo (เดือนกันยายน)
  • Rooms Fashion Show (เดือนกันยายน)
  • Kobe Collection (เดือนกันยายน)

--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ