ตลาดรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ในออสเตรเลีย : โอกาสเปิดกว้างสำหรับผู้ส่งออกไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 24, 2010 15:18 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

ข้อมูลที่-น่าสนใจ

จำนวนผู้บริโภค : 22.2 ล้านคน

รายได้เฉลี่ยต่อหัว : 38,911 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

มูลค่านำเข้ารถยนต์ ปี 2552 : 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

มูลค่านำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ ปี 2552 : 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทำไมตลาดออสเตรเลียจึงน่าสนใจ

  • ชาวออสซีมีกำลังซื้อสูงด้วย GDP per Capita เป็นอันดับ 10 ของโลกและมีรายได้ที่ใช้จ่ายได้(Disposable Income) เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปีระหว่างปี 2548-2553 ส่งผลให้มีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
  • ปัจจุบันออสเตรเลียพึ่งพาการนำเข้ารถยนต์ราวร้อยละ 70 ของจำนวนรถยนต์ที่จำหน่ายในประเทศ ขณะที่ชิ้นส่วนรถยนต์ต้องนำข้าเกือบทั้งหมด

ตลาดรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ในออสเตรเลียแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องและพึ่งพาการนำเข้าเป็นหลัก

  • ออสเตรเลียผลิตรถยนต์ได้ไม่พอกับความต้องการของตลาดในประเทศ โดยออสเตรเลียผลิตรถยนต์ได้ราวปีละ 3-4 แสนคัน ขณะที่
ความต้องการซื้อรถยนต์ในประเทศมีจำนวนสูงถึงปีละ 0.9 - 1 ล้านคัน
  • ออสเตรเลียต้องพ-ึงพาการนำเข้ารถยนต์เป็นหลัก แบ่งเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล(HS 8703) โดยนำเข้าจากญี่ปุ่น เยอรมนี เกาหลีใต้ และไทย ซึ่งครองส่วนแบ่งเป็นอันดับ 4 ขณะที่รถปิกอัพ และรถบรรทุก (HS 8704)ไทยครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด รองลงมาคือ ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ
  • แม้การนำเข้ารถยนต์ของออสเตรเลีย ปี 2552 มีมูลค่า 12.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 28 เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกกระทบต่อกำลังซื้อรถยนต์ของชาวออสซี่แต่มูลค่านำเข้าระหว่างปี 2543-2552 ยังขยายตัวเฉลี่ยถึงร้อยละ 11 ต่อปี
  • ออสเตรเลียผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไม่พอป้อนให้กับตลาดในประเทศเนื่องจากผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ของออสเตรเลียส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตขนาดเล็กที่ขาดประสิทธิภาพการผลิต ทำให้คุณภาพชิ้นส่วนฯ ที่ ผลิตได้มีมาตรฐานไม่แน่นอน มีเปอร์เซนต์ความสูญเสียสูง และเน้นผลิตชิ้นส่วนเพียงบางชนิด อาทิระบบเบรก ระบบกันขโมย และกระจกรถยนต์ เท่านั้น
  • ออสเตรเลียนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์จากไทยมากเป็นอันดับ 5 หรือราวร้อยละ 8 ของมูลค่าชิ้นส่วนรถยนต์ที่ออสเตรเลียนำเข้าทั้งหมด รองจากญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน และเยอรมนี
  • การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ของออสเตรเลีย ปี 2552 มีมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 27 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม มูลค่านำเข้ายังมีทิศทางขาขึ้นชัดเจนโดยมีอัตราขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี

โครงสร้างตลาดรถยนต์ และชิ้นส่วนรถยนต์ในออสเตรเลีย

รถยนต์ที่จำหน่ายในออสเตรเลีย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ครองส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์ร้อยละ 61 มีอัตราการขยายตัวราวร้อยละ 2 ระหว่างปี 2546-2550 รุ่นที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใช้รถยนต์ชาวออสซี่ คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดใหญ่ (ขนาดเครื่องยนต์ 3000-4000 cc) และรถยนต์นั่ง ส่วนบุคคลขนาดเล็ก (ขนาดเครื่องยนต์ 2000 cc) คิดเป็นร้อยละ 58 ของตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลทั้งหมด ทั้งนี้ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดใหญ่ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 9 ต่อปี ระหว่างปี 2546-2550 ขณะที่ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปีในช่วงเดียวกัน สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มความนิยมใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กที่มากขึ้น
  • รถบรรทุกเบา (Light Trucks) หมายถึง รถบรรทุกที่รับน้ำหนักได้น้อยกว่า 3.5 ตัน อาทิ รถปิกอัพ มีส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์ร้อยละ 36 ด้วยอัตราขยายตัวร้อยละ 6 ในระหว่างปี 2546-2550
  • รถบรรทุกหนัก (Heavy Trucks) หมายถึง รถบรรทุกที่รับน้ำหนักได้มากกว่า 3.5 ตัน ขึ้นไป มีส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์ร้อยละ 3 แต่มีอัตราขยายตัวสูงสุดร้อยละ 12 ระหว่างปี 2546-2550

รสนิยมการเลือกซือรถยนต์ และชินส่วนรถยนต์ในออสเตรเลีย

  • รถยนต์ส่วนบุคคล ชาวออสซี่นิยมใช้รถยนต์ที่มีห้องโดยสารกว้างขวางสำหรับใช้รับส่งเพื่อนร่วมธุรกิจในวันทำงาน และใช้ท่องเที่ยวกับครอบครัวในวันหยุด รุ่นทีได้รับความนิยม อาทิ Toyota Camry และ Ford Falcon
  • รถปิกอัพ นิยมรุ่นที่สามารถขับเคลื่อน 4 ล้อ อาทิ Ford Territory และ Holden Utility ขณะที่รถบรรทุก นิยมใช้รถบรรทุกจากผู้ผลิตค่าย Mitsubishi Hino และ Isuzu โดยรถปิกอัพและรถบรรทุกต้องรับน้ำหนักบรรทุกได้ดี สำหรับขนส่งผลิตผลทางการเกษตรหรือใช้ในกิจการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ตลอดจนใช้เดินทางในสภาพภูมิประเทศที่ ไม่อำนวยเนื่องจากลักษณะพื้นที่ในออสเตรเลียมีทั้งที่เป็นภูเขาและทะเลทราย

ชิ้นส่วนรถยนต์นำเข้าที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด 5 อันดับแรกในออสเตรเลีย ได้แก่ ส่วนประกอบของเครื่องยนต์ (อาทิ เบรก, คลัตซ์, กระปุกเกียร์) ครองส่วนแบ่งในตลาดชิ้นส่วนรถยนต์ร้อยละ 32 รองลงมาคือ ยางรถยนต์เครื่องยนต์ ระบบไฟฟ้าและเครื่องควบคุมระบบอัตโนมัติ โดยปัจจัยหลักที่ผู้ใช้รถยนต์ชาวออสซี่ ใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกซื้อชิ้นส่วนรถยนต์ คือ คุณภาพมากกว่าตราสินค้า

ช่องทางจำหน่าย รถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์นำเข้าส่วนใหญ่จะนำขึ้นที่ท่าเรือ Darling Harbour และ Glebe Island Port ซิดนีย์ รัฐนิวเซาเวลส์ โดยการจัดจำหน่ายแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

1) ผู้นำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ ที่เป็นบริษัทในเครือของค่ายรถยนต์ เช่น Toyota, Ford และ Holden > ตัวแทนจำหน่ายหรือศูนย์กระจายสินค้าของบริษัทฯ > ผู้ใช้รถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์

2) ผู้นำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ทั่วไป > ร้านจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ > ผู้ใช้ชิ้นส่วนรถยนต์

เกร็ดน่ารู้

งานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ งานโชว์ที่ผู้ประกอบการไทยควรเข้าร่วมเพื่อพบปะกับผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้ใช้รถยนต์และชิ้นส่วนชาวออสซี่ สำหรับใช้กรุยทางเข้าไปเจาะตลาดออสเตรเลีย ได้แก่ Melbourne International Motor Show ที่จัดขึ้นราวเดือนมีนาคมของทุกปี และงาน The Australian International Motor Show ที่จัดขึ้น ราวเดือนตุลาคมของทุกปี

โอกาสของรถยนต์ และชิ้นส่วนรถยนต์ส่งออกของไทย...

...เป็นของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็ก และชิ้นส่วน REM

  • กระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทำให้ผู้ใช้รถยนต์ชาวออสซี่เริ่มสนใจใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กมากขึ้นเพื่อประหยัดการใช้เชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน จึงเป็นโอกาสให้ผู้ผลิตและส่งออกรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (Eco Car) ในการรุกเข้าขยายพื้นที่ การตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กของออสเตรเลีย ล่าสุดผู้ผลิตและส่งออกรถยนต์ Eco Car ค่ายซูซูกิมีแผนจะส่งออกรถยนต์ Eco Car ไปออสเตรเลีย ภายในปี 2553
  • รสนิยมของผู้ใช้รถยนต์ชาวออสซี่ที่มักตัดสินใจซื้อชิ้นส่วนรถยนต์โดยใช้คุณภาพเป็นเกณฑ์ ทำให้เป็นโอกาสของชิ้นส่วนยานยนต์ส่งออกของไทยที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายแม้ตราสินค้ายังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก โดยเฉพาะชิ้นส่วนรถยนต์สำหรับซ่อมบำรุง (Replacement Equipment Manufacturer : REM) ทั้งยางรถยนต์เครื่องยนต์ระบบหล่อลื่น กันชนแบตเตอรี่ มอเตอร์และสายไฟฟ้า ทั้งนี้แม้เศรษฐกิจโลก

ชะลอตัว และออสเตรเลียลดการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ลงถึงร้อยละ 27 ในปี 2552 ส่วนแบ่งตลาดของชิ้น ส่วนรถยนต์ไทยยังสามารถปรับเพิ่มจากร้อยละ 7.4 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 7.6 ในปี 2552 แสดงให้เห็นถึงจุดแข็งด้านความคุ้มค่าเงินของสินค้าไทย

ข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลียเพิ่มโอกาสให้แก่ผู้ส่งออกไทย

ข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลียที่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2548 ทำให้รถยนต์นั่งส่วนบุคคล (HS 8703) รถปิกอัพและรถบรรทุก(HS 8704) ส่งออกของไทยได้ประโยชน์ จากการที่ออสเตรเลียลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าในหมวดดังกล่าวของไทยเหลือร้อยละ 0 ทันที่ ขณะที่ชิ้นส่วนรถยนต์ (HS 8708) เพิ่งปรับลดอัตราภาษีนำเข้าลงเหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2553 อานิสงส์จากข้อตกลงดังกล่าวช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาให้กับรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ส่งออกของไทยให้สูงขึ้น ละคาดว่าจะยิ่งมีโอกาสในการขยายตลาดในระยะถัดไป ทั้งนี้ นปี 2552 การส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบของไทยไปออสเตรเลียมีการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีดังกล่าวสูงถึงกว่าร้อยละ 90

ตารางลดอัตราภาษีของออสเตรเลียภายใต้กรอบข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย

          สินค้า                                        อัตราปกติ(%)        ปีที-มีการปรับลดอัตราภาษี

1 ม.ค.48 1 ม.ค.53

รถยนต์นัง-ส่วนบุคคล (HS 8703)                               4-15              0             0
รถปิกอัพ และรถบรรทุก (HS 8704)                              4-5              0             0
ชิ้นส่วนรถยนต์ (HS 8708) (ได้แก่ 87081010, 87982110,
87082991,87083191,87083991,87084030,87084091,87085030,
87085091,87086091,87087091,87088091,87089191,87089291,
87089330,87089391,87089491,87089930,87089991)            5-15             5             0

ที่มา : Thaifta.com

--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2553--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ