สถานการณ์การค้าข้าวในแคนาดา ตุลาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 9, 2010 11:33 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สินค้า

ข้าว (HS106) (ตามลำดับสถิตินำเข้าจากไทย ม.ค. - ส.ค.2553)

1) ข้าวที่สีบ้างแล้วหรือสีทั้งหมด จะขัดหรือไม่ก็ตาม (HS 100630):53.267 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+26.16%)

2) ปลายข้าว (HS 100640): 0.659 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+25.40%)

3) ข้าวกล้อง (HS 100620): 0.324 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+88.15%)

4) ข้าวเปลือก (HS 100610): แคนาดาไม่มีการนำเข้าจากไทย

ขนาดของตลาดแคนาดา

การผลิต/การบริโภค

  • จากรายงาน Food Statistics ของหน่วยงานรัฐฯ Statistic Canada ระบุว่าในปี 2553 นั้น ชาวแคนาดา (Average Canadian) บริโภคข้าวประมาณ 7.1 กก. ต่อปี (+1.3%)
  • กลุ่มผู้บริโภคข้าวเป็นหลักในแคนาดา ได้แก่กลุ่มผู้บริโภคชาวเอเชีย และชาวตะวันตก(ประเทศแคนาดามีประชากร ประมาณ 33 ล้านคน)
  • ประเทศแคนาดามีการผลิตข้าว Wild Rice มีราคาแพง มีไฟเบอร์สูง ทั้งนี้ แคนาดาไม่มีการผลิตข้าวหอมมะลิ หรือข้าวขาวอื่นแต่อย่างใด

การนำเข้า/ส่งออก

นำเข้า (HS 1006)

  • จากทั่วโลก: เดือน ม.ค.-ส.ค. 2553 มูลค่า 195.791 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+2.81%)
  • จากไทย : เดือน ม.ค.-ส.ค. 2553 มูลค่า 54.250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+26.40%)

ส่งออก (HS 1006)

  • ไปยังทั่วโลก: เดือน ม.ค.- ส.ค. 2553 มูลค่า 3.228 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-50.85%)
  • ไปยังไทย : เดือน ม.ค.-ส.ค. 2553 มูลค่า 0.058 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+/- 0%)
ช่องทางการจำหน่าย
  • ผ่านผู้นำเข้า และค้าส่งไปยัง Chain Store หรือร้านค้าปลีก เพื่อจำหน่ายต่อไปยังผู้บริโภค
  • ผ่านผู้นำเข้าสินค้า Asian Grocery ที่มีห้างร้าน และเครือข่าย
  • ห้างร้านสำหรับกระจายสินค้าเป็นของตัวเอง

พฤติกรรมผู้บริโภค

กลุ่มผู้บริโภคข้าวเป็นหลักในแคนาดา ได้แก่กลุ่มผู้บริโภคชาวเอเชีย และชาวตะวันตกในเมืองสำคัญๆ ของประเทศ โดยกลุ่มผู้บริโภคข้าวที่ใหญ่ที่สุดในแคนาดา คือ จีน รองลงมาได้แก่ผู้บริโภคจากกลุ่มประเทศเอเชียใต้ ทั้งนี้ ประเทศแคนาดามีชาวเอเชียที่โอนสัญชาติเข้ามาอาศัยในประเทศแคนาดามากขึ้นทุกปี ส่งผลให้การบริโภคข้าวเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในแคนาดามากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่ผู้บริโภคชาวเอเชียนิยมอาศัยในบริเวณเขตเมืองสำคัญๆ ของประเทศ ส่งผลให้การประชาสัมพันธ์ข้าวเป็นไปได้ช้า เนื่องจากชาวแคนาดา (ชาว Caucasian) ในเมืองรอบนอกไม่มีโอกาสเรียนรู้วัฒนธรรมการบริโภคข้าวอย่างถูกต้องได้

การค้าในประเทศราคาขายส่ง/ปลีก

สรุปราคาข้าว ณ ส.ค. 2553 ในนครแวนคูเวอร์

  • ข้าว Idian Basmati: ขนาดถุง 10 lb - ราคา ประมาณ 8.95- 9.95 เหรียญแคนาดา
  • ข้าวหอมมะลิไทย: ขนาดถุง 40 lb - ราคาประมาณ 30.95 เหรียญแคนาดา/ ขนาดถุง 8 กก. ราคา 13.95 เหรียญแคนาดา
  • ข้าว Long Grain (White) ไทย: ขนาดถุง 40 lb - ราคาประมาณ 18.95 เหรียญแคนาดา
  • ข้าว Long Grain (White) เวียดนาม: ขนาดถุง 40 lb - ราคาประมาณ 17.95 เหรียญแคนาดา

คู่แข่ง

ตามสถิติการนำเข้า ม.ค.- ส.ค. 2553 (% จากสัดส่วนนำเข้าทั้งหมด)

สหรัฐฯ (51.98%) ไทย (27.71%) อินเดีย (14.02%) ปากีสถาน (3.61%) อิตาลี (0.94%) เวียดนาม (0.36%) ออสเตรเลีย (0.28%)

มาตรการการค้า ด้านภาพ/NTB

  • ในภาพรวมนั้นไม่มีการกีดกันทั้งภาษี หรือ NTB เนื่องจากเป็นสินค้าที่ประเทศแคนาดาไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ
  • Consumer Packaging and Labeling Act : กฎระบียบเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านบรรจุภัณฑ์ และป้ายสินค้า ตลอดจนภาษา และเครื่องหมายการค้าต่างๆ ที่ใช้ ผู้สนใจสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฏระเบียบดังกล่าว ได้ที่ http://laws.justice.gc.ca/en/showdoc/cs/C-38///en?page=1
  • Canadian Food and Drug Act/ Regulation : กฎระบียบเกี่ยวกับสินค้าอาหารและยา ซึ่งมีจุดประสงค์หลักในการคุ้มครองผู้ริโภคชาวแคนาดา ทั้งนี้ กฏระเบียบดังกล่าว มีการระบุค่าของสารเคมี/ สารปรุงแต่ง/ สี/ และสารกันเสียประเภทต่างๆ สำหรับสินค้านำเข้าไว้อย่างละเอียด โดยหน่วยงาน Health Canada และ CFIA จะทำการปรับค่ากำหนดของสารต่างๆ เป็นระยะๆ ผู้สนใจสามารถตรวจสอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฏระเบียบดังกล่าว ได้ที่ http://laws.justice.gc.ca/en/F-27 http://laws.justice.gc.ca/en/F27/C.R.C.-c.870

SWOT

1.จุดแข็ง (Strength)

  • ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวมีกลิ่นหอม คุณภาพดี
  • ข้าวหอมมะลิมีภาพลักษณ์ที่ดีเป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้บริโภคแคนาดาที่รับประทานข้าวเป็นอาหารหลักโดยเฉพาะชาวเอเซีย
  • ข้าวหอมมะลิไทยแพร่หลายในแคนาดาเป็นเวลาช้านาน
  • ประเทศไทยมีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับว่าเป็นทั้งผู้ผลิต และบริโภคข้าวเป็นหลัก
  • ประเภทข้าวที่เป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคแคนาดานั้น ข้าวไทยถือว่าเป็นข้าวที่มีราคาค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับ ข้าวญี่ปุ่น ข้าวบาสมาติ ข้าวเกาหลี หรือข้าว Risotto

2. จุดอ่อน (Weakness )

  • การบรรจุและรูปแบผลิตภัณฑ์ที่เน้นประโยชน์ใช้สอยซึ่งเน้นผู้บริโภคกลุ่มเดิมมากกว่ารูปแบที่ทันสมัยและแปลกตา
  • ราคาข้าวโดยเฉลี่ยของไทยสูงกว่าราคาข้าวจากสหรัฐอเมริกา
  • ลูกค้ากลุ่มใหม่ไม่สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์เนื่องจากไม่ทราบวิธีหุง (แม้กระทั่งการหุงจากหม้อหุงข้าวไฟฟ้า) และที่บรรจุภัณฑ์ส่วนใหญ่ก็ไม่มีแสดงวิธีการหุงและบริโภคกำกับไว้ อย่างเช่นบรรจุภัณฑ์ของสินค้าข้าวจากสหรัฐอเมริกา
  • การโฆษณาประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิไทยในตลาดแคนาดายังมีไม่มากและไม่ต่อเนื่องเท่าที่ควร

3.โอกาส (Opportunity)

  • ประเทศแคนาดามีชาวเอเชียที่โอนสัญชาติเข้ามาอาศัยในประเทศแคนาดามากขึ้นทุกปี ส่งผลให้การบริโภคข้าวเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในแคนาดามากยิ่งขึ้น
  • คนแคนาดาคุ้นเคยกับอาหารไทยพอสมควร รวมทั้งภัตตาคารและร้านอาหารไทยได้รับความนิยมดีในแคนาดา
  • ผู้นำเข้าข้าวไทย โดยมากมักมีการวางแผนการตลาดเชิงรุก และมีการประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในแคนาดาอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และพยายามเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค ทุกระดับรายได้ โดยใช้กลยุทธสร้างแบรนด์เนมหลากหลายแตกต่างกัน
  • ผู้นำเข้าข้าวไทยส่วนใหญ่ เป็นผู้ประกอการเก่าแก่และมีความคุ้นเคยดี กับผู้ส่งออกไทยในลักษณะพันธมิตรทางการค้า
  • ภูมิอากาศของประเทศแคนาดาไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูกข้าว จึงต้องนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ
  • ไม่มีการกีดกันทั้งภาษี หรือ NTB เนื่องจากเป็นสินค้าที่ประเทศแคนาดาไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ
  • ท่าเรือ Port of Vancouver เป็นท่าเรือ ที่มีความสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปอเมริกาเหนือ เนื่องจากเป็นท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ มีกำลัง Storage Capacity มหาศาล และเชื่อมต่อกับทางรถไฟสายหลัก ตลอดจนเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างทวีป (Intercontinental Railway) ทั้ง 3 สาย ทั้งนี้ Port Of Vancouver ยังเป็นจุดที่ เชื่อมเอเชียแปซิฟิก กับทวีอเมริกาเหนือที่ใกล้ที่สุด โดยการขนส่งทางทะเลนั้นใช้เวลาเพียง 24 วัน (เร็วกว่าขนส่ง เอเชียแปซิฟิก-อเมริกา ถึง 2-3 วัน) ท่าเรือน้ำลึกอื่นๆ ในประเทศได้แก่ Port of Alberni, Port of Prince Rupert และ Crofton

4. ภัยคุกคาม (Threat)

  • จากสถิติการค้าล่าสุด ระหว่าง มค-ส.ค. 2553 (ณ ต.ค. 2553) นั้น แคนาดานำเข้าข้าวจากประเทศแม็กซิโกขยายตัวมากถึงร้อยละ 10,673.14 และจากฟิลิปปินส์ขยายตัวมากถึงร้อยละ 2,125.68 ในขณะที่นำเข้าจากไทยขยายตัวเพียงร้อยละ 26.40
  • การที่ผู้ริโภคชาวเอเชียนิยมอาศัยในบริเวณเขตเมืองสำคัญๆ ของประเทศ ส่งผลให้การประชาสัมพันธ์ข้าวเป็นไปได้ช้า เนื่องจากชาวแคนาดา (ชาว Caucasian) ในเมืองรอบนอกไม่มีโอกาสเรียนรู้วัฒนธรรมการบริโภคข้าวอย่างถูกต้องได้
  • ผู้บริโภคชาวแคนาดาส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่เป็นชาว Caucasian ยังไม่คุ้นเคยกับการบริโภคข้าวมากนัก
  • สหรัฐมีการวิจัยด้านพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่อง (อาทิ ข้าว Jazzmen) ซึ่งมีการพัฒนาคุณภาพและเป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ
  • ปัจจุบันสหรัฐฯ เป็นคู่ค้าที่สำคัญที่สุด ทั้งด้านส่งออกและนำเข้า ทำให้การที่สหรัฐฯ มุ่งเน้นการผลิตข้าวเพื่อส่งออก มีผลเป็นทวีคูณ ด้านการแย่งส่วนแบ่งตลาดนำเข้าข้าวไทย (ปัจจุบันแคนาดานำเข้าข้าวจากสหรัฐฯ เป็นอันดับหนึ่ง และไทยเป็นอันดับสอง)
  • จากผลกระทบเศรษฐกิจโลก และวิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ประชาชนแคนาดาจึงมีระดับ Consumer Spending ลดลง โดยลดการจับจ่ายซื้ออาหารราคาแพงและลดระดับการทานอาหารนอกบ้าน

เกณฑ์การวิเคราะห์สถิติการค้ารายเดือนในสินค้า 10 หมวดของสคร. แวนคูเวอร์

เนื่องด้วยสินค้าในแต่ละ 10 หมวดสำคัญสามารถตีความได้กว้าง ครอบคลุมได้หลายพิกัดสินค้า (ตาม Harmonized System Code) ดังนั้น เพื่อความชัดเจน เที่ยงตรงของการรายงานข้อมูล สคร. มีเกณฑ์การคัดเลือกพิกัดสินค้าเพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์รายหมวดสินค้าสำคัญ ดังนี้

1. พิกัดสินค้าดังกล่าว ประเทศแคนาดามีการนำเข้าจากไทยในปัจจุบันจริง

2. พิกัดสินค้าดังกล่าว มีมูลค่านำเข้าสูง ในหมวดสินค้านั้นๆ เพื่อสามารถแสดงถึงภาพรวมภาวะการค้าระหว่างไทยแคนาดาได้อย่างเที่ยงตรงมากขึ้น

ในกรณีสินค้าข้าว สคร. พิจารณาใช้พิกัดสินค้า 1006

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์ / ตุลาคม 2553

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ