ข้อมูลสินค้าอาหารในตลาดสิงคโปร์

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 25, 2010 17:33 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สิงคโปร์เป็นประเทศเกาะ มีพื้นที่เพียง 707.1 ตารางกิโลเมตร(ปี 2551) ไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ในเรื่องการผลิตสินค้าอาหาร เนื่องจากพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรมมีเพียงร้อยละ 3 ของพื้นที่รวม ส่วนใหญ่จะใช้พื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่าสินค้า สินค้าต่างๆจะต้องพึ่งพาการนำเข้า โดยเฉพาะสินค้าอาหาร สิงคโปร์จะขาดแคลนอย่างมากหากไม่มีการนำเข้า

การผลิตภายในประเทศ สามารถผลิตสินค้าได้ 3 ประเภท ได้แก่ (1) อาหารทะเล (ปลา) (2) ไข่ไก่ และ (3) ผักสด โดยผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 4 , 23 และ 7 ตามลำดับ ของปริมาณการบริโภครวม สรุปสาระ สำคัญ ดังนี้

1. สินค้าอาหารทะเล(ปลา)

-ปริมาณการผลิตในประเทศ : Seabass, Grouper, Snapper, Milk Fish, Mullet, Trevally, Mussel, Crab, Oyster, Snakehead, Tilapia

หน่วย : ตัน

                      2551     2550      2549
                      5,141    8,025    11,674

-ปริมาณการนำเข้า

หน่วย : ตัน

                       นำเข้าจาก       2551      2550
                    มาเลเซีย          42,432    42,464
                    อินโดนีเซีย         34,977    37,615
                    ไต้หวัน            14,032    17,940
                    เวียดนาม          13,934    14,804
                    ไทย              13,740    15,515

-ประเภทของสินค้าสำคัญนำเข้า

                      ประเภท      2551       2550
                    ปลา          119,271    121,821
                    กุ้ง           16,263     19,409
                    ปลาหมึก        8,476      8,567

หมายเหตุ : ไม่รวมรายการสินค้าทุกประเภท

อนึ่ง ปริมาณการบริโภคปลาของชาวสิงคโปร์ประมาณ 100,000 ตันต่อปี ซึ่งประมาณร้อยละ 4 เป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ

2. สินค้าไข่ไก่

-ปริมาณการผลิตในประเทศ

                2551             2550             2549
            337.8 ล้านฟอง     373.4 ล้านฟอง     354.2 ล้านฟอง

-ปริมาณการนำเข้า

หน่วย : ฟอง

             นำเข้าจาก          2551             2550
          มาเลเซีย          1.12  ล้านล้าน      1.01 ล้านล้าน
          นิวซีแลนด์            1.3 ล้าน            1 ล้าน
          ออสเตรเลีย             -              127,440
          ญี่ปุ่น                133,213           120,507
          สหรัฐฯ              105,120           515,637

นอกจากนี้ มีการนำเข้าไข่เค็ม (Salted Duck Eggs) และไข่ ปรุงแต่ง (Preserved Duck Eggs) โดย ในปี 2551 นำเข้าไข่เค็ม ปริมาณ 10.5 ล้านฟอง ซึ่งนำเข้าหลักจากจีน 10.1 ล้านฟอง และนำเข้าไข่ปรุงแต่ง ปริมาณ 24.5 ล้านฟอง โดยนำเข้าหลักจาก เวียดนามและจีน 10.9 ล้านฟอง

อนึ่ง ชาวสิงคโปร์รับประทานไข่ไก่ประมาณวันละ 1 ฟอง/คน สำหรับการผลิตในประเทศมีปริมาณ 900,000 ฟอง/วัน คิดเป็นร้อยละ 23 ของปริมาณรวมของการบริโภค นอกจากนี้ ใช้ไก่ไข่ที่ไม่สามารถออกไข่ได้แล้วในการผลิตอาหารกระป๋องในประเทศ เช่น แกงเผ็ดไก่ ซึ่งในปี 2551 มีจำนวน 1.11 ล้านตัว (ปี 2550 จำนวน 1.13 ล้านตัว และปี 2549 จำนวน 1.07 ล้านตัว)

3. ผักสด ผู้บริโภคในสิงคโปร์นิยมบริโภคผักที่ผลิตในประเทศ มีความสดและคุณภาพดี

-ปริมาณการผลิตในประเทศ

หน่วย : ตัน

                       2551      2550      2549
                      18,967    19,027    18,077

-ปริมาณการนำเข้า

หน่วย : ตัน

                       นำเข้าจาก       2551       2550
                    มาเลเซีย          179,711    177,117
                    จีน               108,757    110,304
                    อินโดนีเซีย         18,348     18,157
                    ออสเตรเลีย        15,088     16,231
                    ไทย              11,781     11,548
                    เวียดนาม          10,866      7,471
                    สหรัฐฯ            10,560      8,875

-ประเภทของสินค้านำเข้า

                        ประเภท       2551       2550
                    ผักใบเขียว        118,372    116,016
                    ผักอื่นๆ           152,954    155,151

ฟาร์มในประเทศ

1. ฟาร์มสัตว์ปีก 5 แห่ง อยู่ในเขต Murai Farmway, Sungei Tengah และ Lim Chu Kang

2. ฟาร์มผัก 67 แห่ง อยู่ในเขต Lim Chu Kang และ Sungei Tengah

3. ฟาร์มปลา 62 แห่ง อยู่ในเขต Changi และ Lim Chu Kang

กฎ/ระเบียบในการนำเข้าสินค้าอาหาร

1. ผัก-ผลไม้

-หน่วยงาน Agri-Food Veterinary Authority [AVA] และ Food Control Department [FCD] ภายใต้กระทรวงสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตรวจสอบสารตกค้างผักและผลไม้ทุกชนิดที่นำเข้าสิงคโปร์ ภายใต้กฎ/ระเบียบ The Food Regulations โดยจะส่งเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจสินค้าฯ หากพบสารตกค้างใดๆ จะพิจารณาให้ส่งสินค้ากลับประเทศผู้ส่งออกหรือสั่งทำลาย โดยเผาสินค้าฯ ทันที พร้อมทั้งนำผู้นำเข้าส่งเรื่องฟ้องศาลด้วย

  • ข้อควรระวังอย่างมาก คือ การใช้สารซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซด์ [So2] ในการถนอมลำไยให้คงทนอยู่ได้นาน AVA กำหนดว่า ไม่ให้มีสารซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซด์ตกค้างอยู่ในเนื้อลำไย แต่บนเปลือกลำไยจะอนุโลมให้ในสัดส่วน 350 ppm
  • ปัจจุบันผักชีที่นำเข้าจากไทยซึ่ง AVA ไม่อนุญาตให้นำเข้าเมื่อตรวจพบสารตกค้างเกินกว่าที่กำหนด ได้แก่ Methamidofos, Parathion-methyl, EPN, Triazofos, Metalaxyl, Chlorpyrifos, Dithiocarbamates, Chlorothalonil, Dicrotofos, Dimethoate, Ethion, Profenofos เป็นต้น

2. เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ Agri-Food Veterinary Authority (AVA) ภายใต้ Ministry of National Development เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตรวจสอบการนำเข้าอาหาร โดยจะอนุญาตให้นำเข้าจากฟาร์มที่ได้รับการรับรองจาก AVA เท่านั้น

2.1 สุกรและเนื้อสุกรแปรรูป

  • เนื่องจากสิงคโปร์ได้ประกาศให้หยุดการเลี้ยงสุกรภายในประเทศตั้งแต่ปี 2533 ดังนั้น จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีหน่วยงาน Agri-Food & Veterinary Authority (AVA) ภายใต้กระทรวง Ministry of National Development เป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจสุขอนามัยสินค้าก่อนออกใบอนุญาตให้นำเข้าทุกครั้ง โดยกำหนดว่า สุกรมีชีวิต เนื้อสุกรแปรรูป และผลิตภัณฑ์ (เช่น หมูกระป๋อง แฮม Ready-to-eat ที่มีส่วนประกอบของหมู หมูหยอง หมูแผ่น ไส้กรอกหมู เป็นต้น) ที่นำเข้าจะต้องผลิตมาจากฟาร์มเลี้ยงสุกร โรงฆ่า โรงชำแหละ และโรงงานแปรรูปที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองจากกรม ปศุสัตว์ของประเทศผู้ผลิตและ AVA ตรวจสอบและอนุมัติแล้ว เท่านั้น

การอนุญาตนำเข้า

1) ตั้งแต่ปี 2542 — ปัจจุบัน ห้ามนำเข้าสุกรทุกชนิดจากมาเลเซีย (เริ่มตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2542) เนื่องจากเกิดโรค Nipah Virus ที่ระบาดในมาเลเซีย

2) อนุญาตให้นำเข้าสุกรมีชีวิตจากฟาร์มในหมู่เกาะบูลัน (Bulan Island) ของอินโดนีเซียเท่านั้น เนื่องจากเป็นเกาะ สามารถควบคุมโรคระบาดได้ และส่งมายังโรงฆ่าสัตว์ในสิงคโปร์ โดยแต่ละปีนำเข้าประมาณ 292,000 - 328,000 ตัว

3) อนุญาตให้นำเข้าเนื้อสุกรแช่เย็น/แช่แข็ง/แปรรูป/ปรุงแต่ง จากออสเตรเลีย เบลเยี่ยม บราซิล แคนาดา ชิลี จีน เดนมาร์ค ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ฮังการี ไอร์แลนด์ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ นิวเซอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ อัฟริกาใต้ สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ

4) อนุญาตให้นำเข้าเนื้อสุกร processed meat products จากอิตาลีและสเปน

5) อนุญาตให้นำเข้าเนื้อสุกร heat-treated meat products จากไต้หวันและไทย

  • ในกรณีประเทศไทย กรมปศุสัตว์ (Department of Livestock Development : DLD) ของไทยจะต้องทำการตรวจสอบก่อนจนกว่าจะแน่ใจว่าสุกรในฟาร์มที่ทำการตรวจสอบนั้นปราศจากเชื้อโรคระบาดสัตว์ AVA จะไปตรวจสอบโรงงานดังกล่าวในไทย หากการตรวจสอบผ่านAVA ก็จะออกใบอนุญาตและลงทะเบียนรายชื่อโรงงานดังกล่าวเพื่อศุลกากรตรวจปล่อยในการนำเข้า ซึ่ง AVA ห้ามนำเข้าสุกรมีชีวิตและผลิตภัณฑ์แปรรูปเนื่องจากการเกิดโรค Nipah Virus ในเขตชายแดนภาคใต้ แต่ในปี 2546 ได้ผ่อนผันโดยเปิดให้มีการนำเข้าเนื้อสุกรแปรรูปโดยผ่านความร้อนสูง (Heat-processed pork products) จากประเทศไทย

2.2 เนื้อวัว

AVA กำหนดให้นำเข้าได้จากประเทศผู้ผลิตที่ได้รับการอนุมัติเท่านั้น ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล จีน นิวซีแลนด์ อัฟริกาใต้ สวีเดน และอุรุกวัย สำหรับประเทศไทยยังไม่ได้รับการอนุมัติใดๆ

2.3 ไก่/เป็ด

  • AVA กำหนดให้นำเข้าได้จากประเทศผู้ผลิตที่ได้รับการอนุมัติเท่านั้น สำหรับประเทศไทย เนื่องจากเกิดโรคระบาดไข้หวัดนกเมื่อต้นปี 2547 จึงทำให้ AVA ประกาศห้ามนำเข้าสินค้าสัตว์ปีกแช่แข็งและผลิตภัณฑ์ทุกชนิดเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2547 และหลังจากนั้นก็ประกาศห้ามนำเข้าจาก จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย และอัฟริกาใต้
  • ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 AVA ได้ประกาศอนุญาตให้นำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่/เป็ดแปรรูปโดยผ่านความร้อนสูงในอุณหภูมิ 70?C ระยะเวลาอย่างต่ำ 3.5 วินาที (Heat-processed poultry meat products) จากบริษัทผู้ผลิตไทย โดยใบรับรองสุขอนามัยสินค้าฯ ที่ส่งให้ AVA จะต้องลงรายละเอียด อุณหภูมิของการผลิตโดยผ่านความร้อนและระยะเวลาให้ครบถ้วน และหากผลิตภัณฑ์ไก่/เป็ดแปรรูปโดยผ่านความร้อนสูงนั้น มีส่วนผสมของผัก (เช่น ขิง กระเทียม ใบ shiso แห้ง เป็นต้น) และผลิตภัณฑ์จากไข่ (เช่น ไข่ขาว และไข่ทั้งฟอง แห้ง) ผู้ผลิตจะต้องจัดส่งข้อมูลวิธีควบคุมการผลิต และโปรแกรมการดูแล สารตกค้างของยาปราบศัตรูพืช รวมทั้ง ข้อมูลของผู้จัดส่งสินค้าผลิตภัณฑ์ไข่แปรรูปและขั้นตอนการผลิตให้ AVA พิจารณา ด้วย

3. ไข่ไก่

-AVA จะอนุญาตให้นำเข้าไข่ไก่เฉพาะจากโรงงานที่ผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ AVA แล้วเท่านั้น และผู้ส่งออกจากประเทศผู้ผลิตจะต้องแนบใบรับรองจากหน่วยงานที่ตรวจสอบภายในประเทศมาด้วยทุกครั้งในการส่งออกมาสิงคโปร์ สำหรับประเทศไทย ยังไม่ได้รับการอนุมัติให้นำเข้าแต่อย่างใด

-อนึ่ง AVA ให้การสนับสนุนด้านผู้เชี่ยวชาญและการตรวจป้องกันการติดเชื้อของไก่ในฟาร์มไก่ไข่ในสิงคโปร์ ซึ่งสามารถผลิตในประเทศ ได้ 337.8 ล้านฟอง(ปี 2551) คิดเป็นร้อยละ 23 ของการบริโภคในประเทศ

4. อาหารประเภทอื่นๆ ซึ่งต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ Food Regulations, CAP.283, Rg 1 ได้แก่

-Rice flour or ground rice shall be the meal obtained by grinding husked rice, It shall not yield more than 1.5% ash and shall not contain any foreign substance other then dextrose or talc derived from polished rice.

-Tapioca Flour shall be the starch powder derived from the root of the cassava plant (Manihot utilissima). It shall not yield more than 0.2% ash.

-Corn Flour or cornstarch shall be the starch powder derived from any variety of corn, It shall not yield more than 0.8% ash.

-Noodles (a) Noodles of various types, including products which are commonly known as “mee” and other “mee” products, except noodles which contain less than 20% moisture, shall be pasta which contains not less than 50% flour. (b) Noodles which contain less than 20% moisture, including “spaghetti”, “Macaroni” and the product commonly known as “mee sua” shall contain not less than 70% wheat flour.

-Rice Noodles (a) Rice noodles, of various types, including products which are commonly known as “Kuay teow” , “bee tai Mak” and “hor fun”, except rice noodles which contain less than 20% moisture, shall be pasta which contains not less than 50% rice flour. (b) Rice noodles which contain less than 20% moisture, including the product commonly known as “bee hoon”, shall contain not less than 80% rice flour.

-Sausage Meat (1) Sausage meat shall be chopped or comminuted meat. It may contain salt, sugar, spices, herbs and wholesome farinaceous substances. (2) Sausage meat shall contain not more than 6% starch and in the case of pork sausage meat and beef sausage meat not less than 65% and 50% meat respectively, and not more than 40% of the meat content shall be fat. (3) Sausage meat may contain potassium or sodium nitrite, potassium or sodium nitrate or in combination, provided that the amount of nitrites and nitrates present in the final product does not exceed the permitted levels specified in the Fifth Schedule

-Sausages (1) Sausage shall include Chinese sausage and shall be sausage meat enclosed in a skin of casing. It may contain harmless Lactobacillus cultures and lactic acid starter culture, Pediococcus cerevisiae, with or without subsequent dipping in vinegar, smoking or cooking. (2)Smoked sausage may contain not more than 5 ppm formaldehyde.

-Smoked Fish shall be fish which has been maintained in a wholesome condition and treated with salt and subjected to the action of smoke derived from wood that is free from paint or timber preservative or fish treated with natural smoke solutions, extracts and its identical synthetic equivalent, It may be colored with annatto and may contain formaldehyde incidentally absorbed in processing in proportion not exceeding 5 ppm.

-Salted Fish shall be fish which has been maintained in a wholesome condition and treated with salt. It may be dried and smoked or colored with annatto.

-Fish Paste shall be a paste prepared from one or more kinds of fish, with or without other wholesome foodstuffs, condiments and permitted coloring matter. It shall contain not less than 70% fish.

-Oyster Sauce shall be the product made from oyster extract, salt, edible starch, with or without the addition of vinegar, citric acid, tartaric acid, monosodium glutamate, permitted preservatives and coloring matters. It shall contain not less than 2.5%(w/w) protein (N x 6.25)

-Tomato Sauce, ketchup, catsup and relish shall conform with the following standards: (a) it shall contain not less than 4% (w/w) tomato solids derived from clean and wholesome tomatoes; (b) it shall be strained, with or without heating, so as to exclude seeds or other coarse or hard substances; (c) it shall contain no fruit or vegetable other than tomato except onion, garlic, spices and condiments added for flavoring purposes; and (d) it may contain salt, sugar and vinegar and shall not contain any added coloring matter.

-Chili Sauce or chili paste shall be the product made from sound ripe chilies. It may contain spices, salt, garlic, edible starch, tomatoes, onion, sugar, vinegar or acetic acid and shall contain no other substance except permitted chemical preservatives, coloring matters, stabilizers and flavor enhancers.

-Vinegar (1) shall be the liquid produced by either or both alcoholic and acetous fermentation of one or more of the following: malt, spirit, wine, cider, alcoholic liquors, fruit, honey, dextrose and sugar (including unrefined crystal sugar and refined syrups or molasses) (2) Every variety of vinegar shall contain — (a) not less than 4 g of acetic acid in 100 ml; and (b) no mineral acid or any other added substance or coloring matter except caramel. (3) Every package containing vinegar shall be labeled in accordance with regulation 139

-Sugar shall be the food chemically known as sucrose, and if sold as granulated, loaf cut, cube, milled or powdered shall contain not less than 99.5% (w/w) sucrose.

-Honey shall be derived entirely from the nectar of flowers and other sweet exudation of plants by the work of bees, and shall contain not more than : (a) 20% (w/w) moisture (b) 8% (w/w) sucrose; and (c) 0.75% (w/w) ash, and shall contain not less than 60% (w/w) reducing sugars, expressed as invert sugar. It shall not contain ay added artificial sweetening agent, coloring matter or any other foreign substance.

-Tea (1) shall be the leaves and leaf-buds of any of the varieties of Camellia sinesis, prepared by the usual trade processes. (2) shall yield not more than 7% (w/w) or less than 4% (w/w) ash, of which at least one-half shall be solublee in water. It shall yield at least 30% (w/w) of water soluble extract. It shall not contain spurious, exhausted, decayed, mouldy leaves or stalks, or any matter for facing, coloring or for any other purpose.

-Spices and condiments shall be sound, aromatic vegetable substances used for flovoring of food, from which no portion of any oil or other flavoring substance, naturally contained in them, has been removed. The standard specified for the various spices shall apply to spices whether whole, partly ground or in powder form.

ทั้งนี้ ฉบับเต็มของ Food Regulations ดูได้ที่เว็บไซด์ http://www.ava.gov.sg/Legislation/ListOfLegistration

กฎ/ระเบียบทั่วไปในการนำเข้าสินค้าอาหาร

ผู้นำเข้าต้องปฏิบัติตามระเบียบ Wholesome Meat and Fish Act โดยดำเนินการ ดังนี้

1. ยื่นขอใบอนุญาตนำเข้าต่อ AVA ซึ่งการขออนุญาตจะต้องกระทำทุกครั้งที่นำเข้าสินค้า

2. สินค้าต้องมาจากแหล่งผลิตที่ได้รับการตรวจสอบและอนุมัติจาก AVA เท่านั้น

3. ในทุกครั้งที่นำเข้าจะต้องประกอบด้วยเอกสาร Health Certificate จากหน่วยงานกรมปศุสัตว์ของประเทศแหล่งผลิตกำกับด้วย

4. การส่งสินค้าต้องส่งโดยตรงจากแหล่งผลิตไปยังสิงคโปร์

5. การบรรจุภัณฑ์แต่ละกล่อง ให้ระบุ หน่วยปริมาณสินค้า พร้อมรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

5.1 รายละเอียดสินค้า

5.2 ประเทศผู้ผลิต

5.3 ตรายี่ห้อสินค้า (ถ้ามี)

5.4 ชื่อและหมายเลขโรงงานผลิตที่ได้รับอนุมัติจาก AVA พร้อมวันที่ผลิตสินค้า

5.5 หากเป็นสินค้าแปรรูป ให้ระบุชื่อและหมายเลขโรงงานฆ่า/ชำแหละ และวันที่ชำแหละด้วย

5.6 ระบุชื่อและหมายเลขโรงงาน และวันที่บรรจุภัณฑ์

5.7 ระบุหมายเลขชุดสำหรับสินค้าบรรจุกระป๋อง และหมายเลขระหัสการบรรจุกระป๋อง

5.8 ระบุน้ำหนักสุทธิสินค้าและน้ำหนักรวมกล่อง

6. AVA จะต้องตรวจสอบสินค้าก่อนทุกๆครั้งที่นำเข้า และอาจจะมีการตรวจสอบตัวอย่างสินค้าก่อนที่จะอนุญาตให้จำหน่ายในตลาดสิงคโปร์ได้

ภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษี

1. ภาษีนำเข้า — ไม่มีการเรียกเก็บ ส่วนภาษีที่เรียกเก็บคือ ภาษีสินค้าและบริการ (Goods & Services Tax : GST) ร้อยละ 7

2. มาตรการที่มิใช่ภาษี คือ ข้อกำหนดสำหรับสินค้า อาหาร ให้เป็นไปตามระเบียบ The Food Regulations หน่วยงานที่ควบคุมคือ Agri-Food Veterinary Authority (AVA) ภายใต้ Ministry of National Development ระเบียบข้อกำหนดที่สำคัญที่ผู้ผลิตพึงถือปฏิบัติ คือ Labeling Requirements ซึ่งต้องพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษรสูงไม่น้อยกว่า 3 mm. พร้อมมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องคือ

-Common Name of Product

-Nett Weight or Volume of Product

-Name and Address of Manufacturer/Importer/Packer/Distributor

-Country of Origin of Product

-List of Ingredients in Descending Order of Proportions

-Date of Marking for 19 Category of Products. Letters shall not be less than 3 mm in height and shall be show in one of the following ways:

                 Use By             :           dd/mm/yy
                 Sell By            :           dd/mm/yy
                 Expiry Date        :           dd/mm/yy
                 Best Before        :           dd/mm/yy

-Bar Code/EAN

-Nutrition Facts Panel (NIP)

-No "Health Claims" Allowed on the Label

-Optional : "Halal" Logo on the Label

หน่วยงานควบคุม Food Labelling and Advertisements

Food Control Division

Agri-Food & Veterinary Authority

5 Maxwell Road, #18-00, Tower Block, MND Complex, Singapore 069110

Tel: 6325 2579

Fax: 6324 4563

แนวโน้มตลาด/ข้อสังเกต

1. สินค้าอาหารจากไทยมีโอกาสขยายตลาดในสิงคโปร์ได้เพิ่มขึ้นอีก โดยเฉพาะสินค้าเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ซึ่งผู้บริโภคในสิงคโปร์ส่วนใหญ่คือ ชาวจีน ร้อยละ 77 ของประชากรจำนวน 4.8 ล้านคน รวมถึงผู้บริโภคอื่นๆ ได้แก่ ชาวต่างชาติที่พำนักในสิงคโปร์ เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เป็นต้น โดยสินค้าที่เป็นที่นิยมของทั้งชาวสิงคโปร์และชาวต่างชาติ ได้แก่ หมูแผ่น หมูหยอง และหมูเชียง

2. สินค้าอาหารกระป๋องจะมียอดการจำหน่ายเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลเดือน 7 ซึ่งทุกบริษัทและครัวเรือนชาวจีนจะจัดซื้อเพื่อการเซ่นไหว้ สินค้าที่ไทยที่ได้รับความนิยมมากได้แก่ ข้าวหอม, ผลไม้กระป๋อง(ลำไย/ลิ้นจี่/เงาะ/เงาะใส้สับปะรด), ซ๊อสปรุงรสต่างๆ, เส้นหมี่/บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น

3. สิงคโปร์สามารถผลิตสินค้าอาหารภายในประเทศ แม้ปริมาณไม่เพียงพอสำหรับการบริโภค แต่ภาครัฐให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากสามารถควบคุมมาตรฐานและส่งเสริมสุขอนามัยอาหารได้โดยตรง และเป็นการส่งสัญญาณแก่ผู้ผลิตต่างประเทศที่ส่งออกสินค้าไปยังตลาดสิงคโปร์ให้คำนึงถึงมาตรฐานและสุขอนามัยอาหารเป็นสำคัญ

4. ภาครัฐได้สนับสนุนให้ผู้นำเข้าจัดหาสินค้าจากแหล่งผลิตทั่วโลก เพื่อให้ชาวสิงคโปร์ไม่ขาดแคลนอาหาร และทำให้สินค้ามีราคาที่สามารถแข่งขันได้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ดังนั้น จะทำให้ราคาสินค้าจากไทยต้องแข่งขันอย่างมากกับราคาสินค้าจากแหล่งผลิตประเทศอื่นๆ เช่น จีน มาเลเซีย ฮ่องกง เวียดนาม เป็นต้น

5. นอกจากนี้ ภาครัฐมีนโยบายในการขยายพื้นที่สำหรับการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อให้ได้ผลผลิตเต็มที่ และใช้พื้นที่น้อยที่สุด เช่น การพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ซึ่ง Agri-Food Veterinary Authority (AVA) ได้ลงทุนในการใช้เทคโลโลยีเพื่อการผลิต marine fish fry อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์คงต้องร่วมลงทุนกับประเทศในภูมิภาคเพื่อใช้พื้นที่สำหรับการขยายการผลิต และทำให้ราคาสินค้าที่ผลิตเองสามารถแข่งขันได้กับราคานำเข้า

โอกาสและกลยุทธ์

สินค้าอาหารไทยมีโอกาสในตลาดสิงคโปร์ จากเหตุผลที่ว่าสินค้าไทยมีคุณภาพได้ระดับมาตรฐานนานาชาติ เป็นที่นิยมของโลกและของชาวสิงคโปร์ แม้ว่าอาหารบางประเภทจะมีราคาสูงกว่าจากแหล่งประเทศผู้ผลิตอื่นๆ ก็ตาม

การค้า-ขายกับสิงคโปร์ ข้อคำนึงถึงที่ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทยควรรับทราบ ในเรื่องต่อไปนี้

(1) สิงคโปร์ไม่เรียกเก็บภาษีนำเข้า (ยกเว้นสินค้า 4 รายการ คือ น้ำมัน รถยนต์ เหล้า และบุหรี่) แต่ภาษี ที่ต้องเสียคือ ภาษีสินค้าและบริการ(Goods and Services Tax : GST) ร้อยละ 7

(2) ประชากรสิงคโปร์ เป็นการรวมตัวของหลายเชื้อชาติ(จีน มาเลย์ อินเดีย และอื่นๆ) ทำให้สินค้าต้องมีหลากหลายประเภท และขึ้นอยู่กับอุปนิสัยการบริโภคของแต่ละเชื้อชาติ

(3) การส่งออกสินค้าฯเพื่อจำหน่ายในตลาดสิงคโปร์ จะได้เพียงสำหรับตลาดจำนวนประมาณ 4 ล้านกว่าคน ซึ่งการขยายตัวของตลาดจะอยู่คงที่ในแต่ละปี แต่หากใช้จุดแข็งของสิงคโปร์ที่มีศักยภาพ ได้แก่ ความชำนาญด้านการค้า-ขาย เครือข่ายธุรกิจกับคนสัญชาติจีนในประเทศต่างๆ ศูนย์กลางสำคัญด้านการเงินการธนาคาร และการโลจิสติกส์ในการจัดการด้าน Supply Chain ในระดับมาตรฐานโลก รวมทั้งการเป็นศูนย์กลางในด้านต่างๆทำการค้ากับทั่วโลก เช่น (1) ประตูเปิดสู่เอเซีย-แปซิฟิก (2) ศูนย์กลางการค้า/บริการของภูมิภาค (3) ศูนย์กลางการเดินเรือพาณิชย์ (4) ศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค (5) ศูนย์กลางการบินพาณิชย์ เป็นต้น และใช้สิงคโปร์ที่มีการค้าอย่างเสรี ให้เป็น Gateway ทำธุรกิจในลักษณะ Trading Hub จัดการด้านการเงิน/ธนาคาร การสื่อสารและการคมนาคมขนส่ง และเป็นเอเย่นต์ส่งออกต่อ(re-export) สินค้าที่ไทยผลิตไปสู่ประเทศที่สามเพื่อขยายการส่งออกไปยังประเทศนานาชาติและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค โดยเฉพาะอินโดนีเซียและบรูไนที่มีความมั่นใจในสิงคโปร์เป็นเสมือนบริษัทแม่

(4) การติดต่อนำเสนอสินค้าฯต่อผู้นำเข้าสิงคโปร์ ควรจัดทำข้อมูลรายละเอียดให้ครบถ้วน ได้แก่ ราคา รายการ/รูปแบบสินค้า ระยะเวลาส่งมอบ เป็นต้น และการตอบข้อสอบถามพร้อมติดตามผลให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

(5) การขยายตลาดของสิงคโปร์ ซึ่งบริษัทสิงคโปร์ส่วนใหญ่มีหลักการสำคัญ ได้แก่ ควบคุมการผลิต/ส่งออกและจัดส่งสินค้าตรงตามกำหนดเวลา, ราคาส่งออกที่สามารถแข่งขันได้, ติดตามความต้องการ/การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างสม่ำเสมอ, รักษาระดับคุณภาพสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีก้าวหน้าทันสมัย และเพิ่มมูลค่าสูงให้แก่สินค้า, เน้นการให้บริการอย่างดี, สามารถปรับการผลิตได้ตามความต้องการของลูกค้า, เข้าร่วมในงานแสดงสินค้าต่างๆ เพื่อสร้างเครือข่ายนานาชาติ, สร้างยี่ห้อของตนเอง รวมทั้งโฆษณาประชาสัมพันธ์และการให้สปอนเซอร์ และสร้างโอกาสในการร่วมลงทุนในต่างประเทศ

ที่มา: Ministry of Trade and Investment, International Enterprise Singapore, Agri-Food & Veterinary Authority

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ