ความกังวลในร่างงบประมาณแผ่นดินปี 2011 ของฮังการี

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 20, 2010 11:08 —กรมส่งเสริมการส่งออก

นักวิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารกลาง และสภาการคลัง แสดงความกังวลใจ เกี่ยวกับความไม่แน่นอนของงบประมาณของปีหน้า โดยกำลังมีการกล่าวถึงโดยรัฐสภาในขณะนี้ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ นาย Gyorgy Matolcsy ให้คำจำกัดความนี้ว่า ร่าง “ การฟื้นตัวของงบประมาณ” โดยนำเสนอในที่ประชุมรัฐสภา มีนักวิเคราะห์บางคน ได้เปรียบเปรยว่า มันคือร่างงบประมาณที่ถูกจัดขึ้นด้วยเทปกาว ที่นำมาปะติดปะต่อกัน

ร่างงบประมาณของรัฐบาลปี 2011 นี้ มีความเสี่ยงในระยะยาว และปัญหาความไม่ยั่งยืนที่จะเพิ่มขึ้นตามมา นาย Gyorgy Kopits ประธานสภาการคลัง แสดงความกังวลใจเกี่ยวกับความยั่งยืนระยะยาวของงบประมาณนี้ และกล่าวว่า รัฐบาลจำเป็นจะต้องจัดการปรับงบประมาณ จากการใช้ระบบภาษี Crisis taxes เพราะรัฐบาลต้องการปรับลดการขาดดุลโดยเริ่มจากปี 2011 ซึ่งนาย Kopits กล่าวว่า ปัญหาหลัก คือเรื่องค่าใช้จ่ายที่สูงของรัฐในปัจจุบัน ดังนั้น รัฐบาลจึงตั้งใจที่จะจัดการปัญหาทางด้านการเงินนี้ โดยการปรับรูปแบบในการเก็บภาษีชั่วคราวในปีหน้า นาย Kopits กล่าวอีกว่า รัฐบาลยังวางแผนที่จะให้เกิดการเติบโตของ GDP เพิ่มขึ้นมากว่า 5% ในปี 2013 ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายที่ค่อนข้างเป็นไปได้ยาก

การมองโลกในแง่ดีเกินไป

รัฐบาลคาดหวังว่า การปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะส่งเสริมให้มีตัวเลขของการจ้างงานเพิ่มขึ้น 100,000 คน ในแต่ละปี จากในรอบทศวรรษ และจากข้อสมมติฐานนี้ จะทำให้ GDP เพิ่มขึ้น 5% ในปี 2013 ดังนั้น ปี 2011- 2012 รัฐบาลจึงจำเป็นที่จะต้องหาเงินให้ได้ยอดเงินงบประมาณมากที่สุด โดยที่มาของของเงินงบประมาณส่วนหนึ่งคือ การโยกย้ายของเงินกองทุนสะสมบำเน็จบำนาญของลูกจ้าง จากสถาบันการเงินภาคเอกชน มายังเสาหลักของรัฐ

นาย Kopits กล่าวว่า นี่คือการประเมินค่าที่สูงเกินไป และชี้ให้เห็นถึงประมาณการเศรษฐกิจมหภาค ในร่างงบประมาณรายจ่าย ซึ่งได้สอดคล้องจากการคำนวณ ตามเป้าหมายรายได้ของแผ่นดิน โดยใช้เอกสารเดียวกัน

เป็นความเชื่อมั่นเช่นกันว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจ จำเป็นที่จะต้องควบคู่ไปกับการปรับปรุงทางการเงินให้เร็วที่สุด นาย Kopits กล่าวใน หนังสือพิมพ์ Vilaggozdasag

อย่างไรก็ตาม เขาเชื่อในการเติบโตของ GDP 3% ในปี 2011 นี้ ซึ่งค่อนข้างมาก แต่เขาไม่คิดว่าการเพิ่มขึ้นของ GDP จะเป็นจุดที่สำคัญที่น่ากังวลของร่างงบประมาณฉบับนี้ มีการกล่าวของนักวิเคราะห์เศรษฐกิจ นาย Tamas Gerocs ไว้กับหนังสือพิมพ์บูดาเปสต์ไทม์ วิเคราะห์การเพิ่มของ GDP ว่าจะเติบโตประมาณ 2.5%

ความยั่งยืนไม่แน่นอน

Gerocs เห็นด้วยว่า ตัวเลขหลักของงบประมาณในปีหน้านั้น จะสามารถทำได้ แต่แสดงความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนต่างๆในระยะยาว ที่มีทั้งปัจจัยภายนอกและภายในหลายประการ อันจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของเศรษฐกิจของฮังการี นักวิเคราะห์กล่าวต่อไป ถึงการโปรแกรมการรวมรัฐ ในหลายๆประเทศในทวีปยุโรป รวมทั้งบางประเทศที่เป็นคู่ค้าส่งออกสำคัญของฮังการี ด้วยเหตุนี้ การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในประเทศต่างๆ เหล่านี้ จะส่งผลกระทบต่อเศรษกิจของฮังการีได้ดีเช่นเดียวกัน

ระบบภาษี Crisis taxes ถูกคาดหวังเพื่อที่จะช่วยยับยั้งการลงทุน ทำให้เกิดการชะลอตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจ นักวิเคราะห์กล่าวว่า เขาไม่คิดว่า ความคาดหวังของรัฐบาลที่จะสร้างงาน และเพิ่มแหล่งงานกว่า 400,000 แห่งในอีก 4 ปีข้างหน้าจะเป็นไปได้ แต่ที่รู้ในขณะนี้คือ รัฐบาลกำลังวางแผนที่จะ ลอยแพ พนักงานจากบริษัทต่างๆ กว่า 25,000-30,000 คน

สิ่งทิ่มแทงใจ

ข้อขัดแย้งของร่างงบประมาณนั้น Gerocs กล่าวว่า จากการเปลี่ยนข้อบังคับของการจ่ายเงินกองทุนสะสมบำเน็จบำนาญลูกจ้าง ไปให้ระบบรัฐเป็นผู้ดูแลนั้น เงินจำนวน 530 พันล้านโฟรินท์ คำนวณจากสมาชิกที่ต้องการกลับมาสะสมกับระบบรัฐ แสดงให้เห็นถึง 20% ของผลรวมพอร์ตโฟลิโอของกองทุนบังคับที่มี อย่างไรก็ตาม คำถามคือ จะทำอย่างไร และเมื่อไหร่ที่มันจะกลับมาเป็นเงินได้อีกครั้ง

เงินของสมาชิกกองทุนบังคับ ที่จะถูกเก็บไว้ในรูปแบบของหุ้นและพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งมันจะสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ ก็ต่อเมื่อรัฐบาลต้องการที่จะขายหุ้น และพันธบัตร มันอาจพลิกคว่ำในตลาดทุน Gerocs เตือน “ เป็นดังเช่นกลยุทธ์การขาย มีทั้งที่จะหายไปจากงบประมาณ และรัฐบาลยังไม่มีการชี้แจง ว่าจะจ่ายชดเชยให้สมาชิกได้อย่างไรหลังจากปี 2011 ”

Gerocs บอกถึงจุดที่น่าให้ความความสนใจ กับอันตรายจากการใช้กลยุทธ์ในระยะสั้นนี้ว่า “ ถ้ารัฐบาลทำให้เป็นผลสำเร็จ ในการปรับลดการขาดดุลดังกล่าว เมื่อไหร่ที่เครื่องมือในงบประมาณ หรือระบบภาษี Crisis taxes หมดอายุลง การประมาณการของรัฐบาลจะหายไป ในความคิดของผมนั้น การปฏิรูปโครงสร้าง ต้องอยู่บนงบประมาณรายจ่ายจำเป็น และฉุกเฉิน ” (จากที่รัฐบาลได้มีการสัญญาว่า จะส่งมอบแผนสำหรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ในช่วงฤดูใบไม้ผลิในปี 2011)

ความอดอยาก

สภาการคลังที่เป็นหน่วยงานอิสระของรัฐ ได้บทวิเคราะห์ของผลกระทบจากร่างงบประมาณฉบับล่าสุดนี้ จากรัฐสภาโดยฝ่ายรัฐบาล ถึงแม้ว่าสภาแห่งนี้ได้ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ที่ให้อำนาจ ประเมินปัญหาต่างๆ ของงบประมาณ แต่ขณะนี้รัฐบาลได้กล่าวว่า จวนจะถึงเวลาการตัดลดการจัดสรรงบประมาณ ของการดำเนินงานของสภาให้เป็นศูนย์แล้ว โดยการลดงบประมาณของสภาการคลังนี้ลงเป็นเป็นจำนวนมาก ซึ่งถ้ารัฐบาลตัดสินใจที่จะยกเลิก จำเป็นจะต้องตระหนักว่า จะเป็นการทำลายสถาบันที่เป็นประโยชน์ และที่มีค่าทางปัญญาหรือไม่ ซึ่งได้มีการยกเลิกเกิดขึ้นแล้ว เพียงที่เดียวเท่านั้นในโลก สถาบันการเงินอิสระที่ถูกยกเลิกนี้ ที่มีชื่อว่า Hugo Chavez ที่ Venezuela และ Kopits กล่าวว่า นี่ไม่ใช่วิธีการพัฒนาประเทศของชาวฮังกาเรียน

เกี่ยวกับธนาคารกลาง

ธนาคารกลางแห่งประเทศฮังการี ได้มีการวิจารณ์ร่างงบประมาณปี 2011 ว่าล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้เห็นร่างงบประมาณเกิดขึ้น ได้มีจดหมายที่ส่งถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ นาย Gyorgy Matolcsy โดยได้เผยแพร่บนเว็บไซต์ของธนาคารกลางเอง โดยผู้ว่าธนาคารกลาง นาย Andras Simor ได้ร้องเรียนว่า รัฐบาลไม่ได้ ทำตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ได้แจ้งไปยังธนาคารกลางในระหว่างการตัดสินใจ ไม่ได้ทำตามกระบวนการทางกฎหมายอันจะมีผลกระทบต่องาน หรือกระทบต่อการดำเนินงานของระบบการเงิน และไม่ได้จัดหาข้อมูลเบื้องต้นในเรื่องของงบประมาณให้ ซึ่งธนาคารกลางได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ธนาคารกลางเชื่อว่า ในปี 2011 เป้าการลดการขาดดุลจะสามารถทำได้สำเร็จ แต่ก็กล่าวเตือนว่า จากที่รัฐบาลได้พยายามเปลี่ยนระบบการเก็บภาษี ให้เป็นระบบภาษีในอัตราเดียวนั้น จุดอ่อนของร่างงบประมาณคือ การรักษาโครงสร้างงบประมาณที่ไม่เอื้ออำนวยประโยชน์ มิหนำซ้ำ ตามแผนมาตรการต่างๆ นี้ จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น

จากการประมาณการล่วงหน้าของธนาคารกลาง พบว่า งบประมาณจะเกิดการขาดดุล 2.5% ของ GDP ซึ่งต่ำกว่ายอดของรัฐบาลคือ 2.94% นั่นเป็นเพราะว่า ร่างงบประมาณ และระบบภาษีอัตราเดียวนี้ โดยเฉพาะจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และรายได้จากการสถาบันการเงินต่างๆ ได้ประมาณการต่ำไปเป็นเงินจำนวน 530 พันล้านโฟรินท์ คือ 20 % ของสินทรัพย์ ที่ได้จากกองทุนบำเน็จบำนาญลูกจ้างส่วนบังคับ ที่จะถูกส่งให้กับระบบของรัฐก่อน โดยมีข้อขัดแย้งก่อนหน้านี้ว่า รัฐบาลคาดหวัง 90% ของเงินกองทุนสะสมบำเน็จบำนาญของลูกจ้าง มียอดโดยประมาณคือ 2,800 พันล้านโฟรินท์

ธนาคารกลางเตือนว่า ในส่วนของรายได้ มีข้อน่าสังเกตุคือ รายได้ที่ได้จากการเก็บภาษีชั่วคราวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่รายได้จากภาษีถาวรถูกตัดออกไป การจัดเก็บภาษีระบบนี้ แทนที่จะเป็นการลดภาษี แต่เป็นการจัดแจงในรูปแบบใหม่ Simor กล่าว สิ่งน่ากังวลใจ คือ การขาดดุลของงบประมาณ ที่จะเริ่มเกิดขึ้นอีกครั้งในปี 2012 รายได้ครั้งเดียวจะหมดไป ซึ่งเงินจากกองทุนบำเน็จบำนาญลูกจ้าง และ การเติบโตทางเศรษกิจ จะสามารถลดการขาดดุลได้เพียงบางส่วนเท่านั้น รัฐบาลควรจะใช้จ่ายจากเงินรายได้ส่วนนี้ในการดำเนินการ ในปี 2012 หรือไม่ ซึ่งจะทำให้งบประมาณขาดดุลจะถึง 5-6% ในปี 2013 - 2014

อย่างไรก็ตามทางด้านค่าใช้จ่ายของรัฐบาลนั้น ยังไม่มีสัญญาณของการลด และยังไม่มีการปรับโครงสร้างการใช้จ่าย ทั้งทางด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และค่าใช้จ่ายทางสังคม ยังคงสูงอยู่ หนึ่งในปัญหาหลักของร่างงบประมาณนี้ คือรายได้พิเศษที่จะเข้ามา จะถูกใช้ในการลงทุนทางการเงินต่างๆ ซึ่งแทนที่จะเป็นการใช้จ่ายในการปฏิรูปโครงสร้าง ธนาคารกลางกล่าว

ความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว

ค่าใช้จ่ายสาธารณะของรัฐบาลนั้น ยังคงสูงมาก อีกทั้งโครงสร้างการใช้จ่าย ยังไม่เอื้อต่อบริบท ของความยั่งยืนเศรษฐกิจในระยะยาว โดยการเปลี่ยนแปลงของระบบกองทุนบำเน็จบำนาญลูกจ้างนั้น ถ้าไม่มาพร้อมกับการลดลงของหนี้ ก็จะเป็นการเพิ่มหนี้ได้โดยปริยาย ซึ่งทำให้ความยั่งยืนในระยะยาวนั้นหมดไป

ธนาคารกลางเชื่อว่าการลดอัตราภาษีเงินได้ ไม่เพียงพอในการกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโต รัฐบาลควรจะออกแบบสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ โดยการลดการกระจายรายได้ที่มากเกินไป เพื่อเพิ่มการจ้างงาน และเพิ่มการลงทุน ส่วนสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนนั้น ไม่ใช่แค่เป็นการกีดกันการลงทุนของชาวต่างชาติ แต่ยังเพิ่มภาระให้กับครัวเรือนในประเทศ และภาคธุรกิจต่างๆ โดยการเพิ่มเบี้ยประกันความเสี่ยงอีกด้วย

ภาษีอัตราพิเศษ สำหรับธุรกิจสื่อสาร ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจค้าปลีก และธนาคารนั้น จะทำให้แนวโน้มการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจแย่ลง การลดความโปร่งใสของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การบิดเบือนการแข่งขัน การลดกิจกรรมการกู้ยืมของธนาคาร Simor กล่าว เขาหวังว่าอัตราภาษีที่สูง ในท้ายที่สุดนั้น ผู้บริโภคจะยอมรับ ต้องมีการควบคุมราคาพลังงานที่ใช้ของครัวเรือน ความเป็นไปได้ของภาษีใน 3 ปีนี้ จะทำให้เกิดความเสียหายให้กับการลงทุนในประเทศฮังการี

ธนาคารกลางมุ่งมั่นที่จะกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ

ธนาคารกลางคาดหวังว่า ภาษีอัตราพิเศษ จะเพิ่มอัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 0.3 ในปี 2011 นี้ ขณะที่ภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้น ในอัตราร้อยละ 0.1 ซึ่งธนาคารกลางได้เน้นย้ำว่า จะทำให้เป้าเงินเฟ้อ 3%

ในขณะเดียวกัน ในสภาการเงินของธนาคารกลางได้มีการโวต ในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ให้มีอัตราพื้นฐานไม่เปลี่ยนแปลงที่ 5.25% คณะกรรมการกล่าวว่า การตัดสินใจนี้ อยู่บนพื้นฐานของความไม่แน่นอน ของแนวโน้มภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจนยับยั้งเงินเฟ้อ แต่มีการจ้างงานเติบโตขึ้น และอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลง จึงสามารถเพิ่มการบริโภคได้จากปี 2011 และบริษัทต่างๆ ก็จะผ่านวิกฤตินี้ค่าใช้จ่ายนี้ไปได้เช่นเดียวกัน จากการบริโภคที่เพิ่มขึ้นนี้

Budget Lines

ร่างงบประมาณในปีหน้า มีแผนงบประมาณขาดดุล 605.2 พันล้านโฟรินท์ ซึ่งอยู่บนฐานการเติบโตของดัชนีผู้บริโภค 3% และ ภาวะเงินเฟ้อ 3.5% และรัฐบาลมีแผนที่จะปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้เป็นแบบอัตราเดียวคือ 16% เพื่อเพิ่มการเติบโตของเศรษฐกิจ และจะจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราพิเศษ เพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐ กล่าวถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ นาย Gyorgy Matolcsy กล่าวว่า ในปี 2011 นี้ รัฐจะขาดดุล จากการลดอัตราภาษี 450-500 พันล้านโฟรินท์ แต่จะได้การชดเชยเป็นจำนวน 725 พันล้านโฟรินท์ จากกองทุนประกันสุขภาพ และ 900 พันล้านโฟรินท์ จากกองทุนสะสะบำเน็จบำนาญลูกจ้าง

รัฐบาลมีแผนที่จะลดการขาดดุลของงบประมาณให้ต่ำกว่า 3% ของ GDP ซึ่งได้จากกองทุนสะสมบำเน็จบำนาญลูกจ้าง 360 พันล้านโฟรินท์ และ 540 พันล้านโฟรินท์จากบุคคลที่ต้องการย้ายจากสถาบันการเงินเอกชน เปลี่ยนมาอยู่ในระบบของรัฐ

การลดการขาดดุลอื่น โดยรัฐบาลจะปลดพนักงานประมาณจำนวน 30,000 คนใน 690,000 คน ของแหล่งงานภาครัฐ ในปีหน้านี้ แต่ก็จะเพิ่มค่าจ้างสำหรับพนักงานรัฐผู้มีรายได้น้อย 4-5%

การเก็บภาษีในรูปแบบนี้จะทำให้เห็นยอดเงินจำนวนเงิน 300 พันล้านโฟรินท์ในสิ้นปี และจากภาษีอัตราจะได้จากบริษัทต่างๆ จำนวน 170 พันล้านโฟรินท์ เมื่อเทียบกับปี 2010 รายได้หลักในส่วนหนึ่งได้มาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (2,498 พันล้านโฟรินท์) และ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (1,359 พันล้านโฟรินท์)

ในส่วนของรายจ่าย รัฐบาลจัดสรรงบประมาณรายจ่ายดังนี้คือ สำหรับส่วนกลาง 1,900 พันล้านโฟรินท์ ทางด้านครอบครัวและสังคม 630 พันล้านโฟรินท์ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีบุตร 358 พันล้านโฟรินท์ สำหรับการขนส่งสาธารณะ 196.75 พันล้านโฟรินท์ สำหรับสื่อสาธารณะ 58.7 และสำหรับประกันสุขภาพ 1,254 พันล้านโฟรินท์

จากการประมาณการล่วงหน้าของรัฐบาล ในปี 2012 รัฐบาลจะขาดดุลลดลง จำนวน 494 พันล้านโฟรินท์ และจะยังคงอยู่ประมาณ 500 พันล้านโฟรินท์ ในปี 2013 เช่นกัน

ที่มา: หนังสือพิมพ์ Budapest Business Journal (26 November — 9 December 2010)

สคร. ณ กรุงบูดาเปสต์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ