สถานการณ์การค้าของไทย-อิตาลี
มูลค่าการค้ารวม
เดือนมกราคม 2554 ไทยมีมูลค่าการค้ารวม 340.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 เปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2553) โดยได้ดุลการค้า 14.3 ล้านเหรียญสหรัฐ
การส่งออกของไทยไปยังอิตาลี
เดือนมกราคม 2554 ไทยส่งออกมายังตลาดอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 177.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2553 โดยปกติจะพบว่าแพทเทริ์นการส่งออกสินค้าของไทยมีลักษณะแนวโน้มคล้าย ๆ กันในแต่ละปี โดยเดือนที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ เดือนพฤษภาคมและจะค่อย ๆ ลดลงในช่วงเดือนมิถุนายนเป็นต้นไปและจะกลับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงเดือนกันยายนและลดลงในช่วงพฤศจิกายน-ธันวาคม
สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยในเดือนมกราคม เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ (สัดส่วน 24.3%) ยางพารา (สัดส่วน 10.1%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (สัดส่วน 6.5%) อาหารสัตว์เลี้ยง (สัดส่วน 4.8%) และปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง (สัดส่วน 4%) เป็นต้น
โดยสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนมกราคม ได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (+240.9%) ด้ายและเส้นใยประดิษ (+102.7%) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+85.2%) ยางพารา (+58.7%) และอัญมณีและเครื่องประดับ (+56.3%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (-51.6%) เครื่องนุ่งห่ม (-36.3%) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-26.3%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง (-12%) และอัญมณีและเครื่องประดับ (-4%) เป็นต้น
การนำเข้าของไทยจากอิตาลี
เดือนมกราคม 2554 ไทยนำเข้าจากอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 162.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.2 เปรียบเทียบจากเดือนธันวาคม 2553 ซึ่งถือว่าไทยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเกือบครึ่งหนึ่งของการนำเข้าเดือนธันวาคม 2553 โดยปกติจะพบว่าไทยนำเข้าสินค้าจากอิตาลีมีลักษณะแนวโน้มคล้าย ๆ กันในแต่ละปี โดยเดือนที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุดคือ เดือนมีนาคมและจะค่อย ๆ ลดลงในช่วงเดือนเมษายนเป็นต้นไปและกลับมีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคมและพฤศจิกายนของทุกปี
สินค้านำเข้าที่สำคัญจากอิตาลี ได้แก่ เครื่องจักรและส่วนประกอบ (สัดส่วน 29%) กาแฟ ชา เครื่องเทศ (สัดส่วน 10.3%) เคมีภัณฑ์ (สัดส่วน 5.6%) ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม (สัดส่วน 4.7%) และสินค้าทุนอื่น ๆ (สัดส่วน 4%) เป็นต้น
โดยสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก ได้แก่ กาแฟ ชา เครื่องเทศ (+12,138.9%) ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์(+369.4%) กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ (+173.3%) ผลิตภัณฑ์ทาจากพลาสติก (+95.1%) เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยศาสตร์การแพทย์ (+73.3%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง เช่น สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ (-53%) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (-30.3%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (-28.3%) สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (-26.6%) และสินค้าทุนอื่น ๆ (-10%) เป็นต้น
การคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 2554
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน มีความเห็นว่า การส่งออกไทย สาหรับปี2554 จะสามารถส่งออกได้ตามเป้าที่ประมาณการไว้ร้อยละ 11 โดยการส่งออกสินค้าไทยในเดือนมกราคม 2554 มีอัตราการขยายตัวดีขึ้นจากเดือนธันวาคมเล็กน้อย และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 5.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้าที่มีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้นและลดลงในปีนี้ ได้แก่
1. อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นสินค้าส่งออกอันดับต้น ๆ ของไทยที่ยังคงครองตลาดอิตาลีมาโดยตลอด โดยเดือนมกราคม 2554 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับมาอิตาลีมีอัตราขยายตัวเพิ่มสูงมากกว่าเดือนมกราคม 2553 และคาดว่าในปีนี้อิตาลีจะมีการนำเข้าเครื่องประดับเงินเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดอิตาลีอีกทั้งไทยยังถือเป็นผู้ผลิตเครื่องประดับเงินที่มีศักยภาพอันดับต้น ๆ ของโลก
2. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ถึงแม้ว่าเดือนมกราคม 2554 ไทยส่งออกเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบมายังอิตาลีมีมูลค่าขยายตัวลดลงอย่างมาก แต่ในปีนี้คาดว่าอิตาลีอาจมีการนำเข้าเครื่องปรับอากาศฯ เพิ่มขึ้น โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศมากเป็นอันดับสองรองจากประเทศสเปน ซึ่งปัจจุบันมีการใช้สินค้าดังกล่าวกว่า 9 ล้านครัวเรือนและในปี 2020 คาดว่าจะมีการใช้เพิ่มอีกเป็น 17-18 ล้านครัวเรือน ทั้งนี้ จากฤดูร้อนที่มีอากาศร้อนและยาวนานขึ้นโดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 30- 40 องศา ทาให้ความต้องการเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งที่ใช้ในบ้านเรือน สำนักงานหรือในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหาร นอกจากนี้ แนวโน้มเครื่องใช้ไฟฟ้าในกลุ่มเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน (Green technology products) ได้กลับมาเติบโตอีกครั้งในปี 2553 มีอัตราร้อยละ 2.9 และคาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวอีกร้อยละ 5.1 ในปี 2554
3. ยางพารา ในปี 2554 ความต้องการยางพาราในอิตาลียังคงขยายตัวอย่างต่อจากปี 2553 โดยเฉพาะยางรถยนต์และถุงมือยางซึ่งเป็นสินค้าที่มีความต้องการใช้เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นวัตถุดิบสาคัญในหลายอุตสาหกรรมทั้งในภาคอุตสาหกรรมและสาธารณสุข
4. ปลาหมึกสด แช่แข็งแช่เย็น เป็นสินค้าที่ตลาดอิตาลีต้องการมากโดยในปี 2553 อิตาลีมีการบริโภคอาหารทะเลแช่เย็น แช่แข็ง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 โดยไทยมีส่วนครองตลาดอันดับ 1 แต่ในปีที่ผ่านมาผู้ส่งออกไทยไม่สามารถส่งออกได้ตามความต้องการเพราะสินค้ามีจำกัดทำให้เสียโอกาส สำหรับปี 2554 คาดว่าไทยจะมีปริมาณสินค้าส่งได้ตามความต้องการของตลาด
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน
ที่มา: http://www.depthai.go.th