รายงานการเยี่ยมชมงานแสดงสินค้าในประเทศออสเตรเลีย

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 28, 2011 16:35 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          ชื่องาน               Australian Shoe Fair 2011
          ระยะเวลา            11 - 13 กุมภาพันธ์ 2553
          สถานที่               Sydney Exhibition Centre, Sydney, Australia
          ขนาดของงาน          ประมาณ 110 บริษัท เนื้อที่ประมาณ 5,000 ตารางเมตร
          ผู้จัดงาน              บริษัท Australian Exhibitions & Conferences Ltd.

Level 2, 267 Collins Street

Melbourne VIC 3000

Tel: 03 9654 7773 (Prior to the Fair)

Fax: 03 9654 5596 (Prior to the Fair)

Email: shoe@aec.net.au

Website: www.australianshoefair.com

ลักษณะ/รูปแบบของงาน

  • เป็น Trade Fair ที่ไม่เปิดให้ผู้ชมทั่วไป เน้นเฉพาะบริษัทห้างร้านที่มีกิจการเกี่ยวข้อง ดังนั้น ผู้เยี่ยมชมงานส่วนใหญ่จึงเป็นร้านค้าปลีกหรือห้างสรรพสินค้า เพื่อมาเลือกซื้อสินค้าเข้าร้าน
  • เริ่มจัดตั้งแต่ปี 2549 ปัจจุบันจัดปีละ 2 ครั้งตามฤดูกาลสั่งซื้อสินค้า โดยจัดในซิดนีย์เดือนกุมภาพันธ์สำหรับฤดูกาล Spring/Summer และจัดที่นครเมลเบอร์นในช่วงสิงหาคมหรือกันยายน สำหรับ ฤดูกาล Autumn/Winter
  • การจัดงานในปี 2010 ได้รวมงานแสดงสินค้ารองเท้า (Australian Shoe Fair) แฟชั่น (Fashion Exposed & Preview) และกระเป๋าและอุปกรณ์ตกแต่ง (Bags & Accessories Fair) ไว้ในงานเดียวกัน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมชมประมาณกว่า 7,000 ราย โดยเป็นระดับเจ้าของหรือผู้บริหารประมาณ 60% และผู้เข้าชมจากห้างค้าอิสระประมาณ 48% ทั้งนี้ ครั้งนี้เป็นการงานแสดงสินค้ารองเท้าโดยเฉพาะ ซึ่งคาดว่าสถิติ ผู้เข้าชมจะน้อยกว่าปีที่ผ่านมา
  • Visitor Profile: ผู้เข้าชมงานประกอบด้วยเจ้าของบริษัท ตัวแทนซื้อ ผู้จัดการห้าง โดยร้านค้าปลีกสำคัญที่เข้าชมงาน ได้แก่ Davies Shoes, David Jones, Easy Living Footwear, Fine Feathers Boutique, High On Heels, Lost Soles, Myer, Rebel เป็นต้น คาดว่ามีผู้ชมงานจากต่างประเทศประมาณกว่า 100 ราย โดยมาจาก อเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย อินเดียและนิวซีแลนด์
  • Exhibitor Profile : เป็น Domestic Co. ในออสเตรเลียเท่านั้น โดยจุดประสงค์ผู้ร่วมแสดงสินค้าในงานเพื่อขายร้านค้าปลีก (retail) ส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จัดจำหน่ายสินค้า โดยแสดง สินค้าประมาณ 600 label รองเท้าที่แสดงมีทั้งที่ผลิตภายในประเทศและสินค้านำเข้า โดยส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน อิตาลี และบางส่วนจากเยอรมนี ทั้งนี้ บริษัท Fujian Footwear ซึ่งนำเข้าจากจีนเป็นส่วนใหญ่และมีขนาดกิจการใหญ่พอสมควร มีผู้บริหารและพนักงานขายเป็นชาวออสเตรเลีย สินค้าที่นำมาแสดงมีสินค้าไทยร่วมอยู่ด้วย โดยได้พบกับบริษัทของไทยในงาน Australian International Sourcing Fair เมื่อวันที่ 17-19 พฤศจิกายน 2553 ณ เมืองเมลเบอร์น ซึ่งงานดังกล่าวเป็นงานลักษณะผู้ผลิตพบผู้ค้าส่ง/ผู้นำเข้า โดยผู้แสดงสินค้าในงานส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตจากต่างประเทศ
  • Product Profile :
  • สินค้าที่นำมาออกแสดงมีทั้งสินค้าที่ผลิตในประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และนำเข้าจากยุโรป ได้แก่ สเปน อิตาลี เยอรมัน สหรัฐอเมริกา เอเชีย (จีน/ฮ่องกง ไทย อินเดีย เวียดนาม ไต้หวัน เป็นต้น)
  • สินค้าที่แสดง ประกอบด้วย

1) รองเท้า (ประมาณร้อยละ 60) แบ่งเป็นรองเท้าทำงาน รองเท้าแฟชั่น รองเท้าเด็ก รองเท้ากีฬา รองเท้าแตะและ

ลำลอง รองเท้าเพื่อสุขภาพ

2) กระเป๋าถือและกระเป๋าสตางค์ กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าสะพาย (ประมาณร้อยละ 20)

3) อื่นๆ (ประมาณร้อยละ 20) ได้แก่ เครื่องหนังประเภทเข็มขัด หมวก ผ้าพันคอ ถุงมือ ถุงเท้า เครื่องประดับแฟชั่น

accessories โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับสุขภาพหรือความสบายของเท้า เช่น แผ่นรองในรองเท้า สเปรย์ฉีดรองเท้า

น้ำยาและอุปกรณ์ทำความสะอาดรองเท้า รวมทั้ง อุปกรณ์ที่ใช้ตกแต่งรองเท้า เป็นต้น

ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะ

1. เนื่องจากเป็นงานแสดงสินค้าที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก และเน้นกลุ่มผู้ชมงานเป็นร้านค้าปลีก/department stores ซึ่งมิใช่กลุ่มเป้าหมายสำหรับผู้ส่งออกไทย จึงไม่เหมาะกับผู้ประกอบการไทยที่จะมาออกในงานดังกล่าว เว้นเสียแต่ว่า ผู้ส่งออกไทยจะร่วมกับ local distributor ในการมาออกงานแสดงสินค้า ซึ่งหากผู้ผลิตไทยต้องการร่วมงานแสดงสินค้าเพื่อพบปะกับผู้นำเข้า น่าจะเข้าร่วมงาน Australian International Sourcing Fair ซึ่งจะจัดอีกครั้งระหว่างวันที่ 22-24 พฤศจิกายน 2554 โดยเป็นงานแสดง สินค้าจากผู้ผลิตต่างประเทศในหลายหมวดสินค้า เช่น เสื้อผ้า ผ้าผืน เคหะสิ่งทอ ผ้าทอ เส้นด้าย รองเท้า เครื่องหนัง เครื่องประดับแฟชั่น ของขวัญ ของตกแต่งบ้าน เป็นต้น

2. ปีที่แล้ว ออสเตรเลียมีมูลค่าการขายรองเท้าประมาณ 2.6 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย สินค้าที่วางจำหน่ายในตลาดออสเตรเลียมักจะผ่านช่องทางของร้านค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า Chain Retailers ซึ่งมีทั้งจำหน่ายเฉพาะรองเท้า และควบคู่ไปกับสินค้าแฟชั่นอื่นๆ ทั้งนี้ สินค้าที่วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า และ Chain Retailers ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญและมี market share สูง มักจะเป็นสินค้าแบรนด์เนมที่เป็นที่รู้จักกันค่อนข้างแพร่หลาย หรือแบรนด์เนมของตนเองเป็นหลัก (ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ของยุโรป สหรัฐฯ หรือของ ออสเตรเลียเอง) ส่วนที่ขายผ่านร้านค้าปลีกจะมีทั้งสินค้าแบรนด์เนมและจากทั่วไป แต่ก็มี market share ไม่สูงเท่า โดยร้านค้าปลีกจะซื้อสินค้าผ่านจาก importer/wholesaler/distributor ไม่นำเข้าเองโดยตรง

3. ปัญหาสำคัญของตลาดออสเตรเลียส่วนหนึ่งอยู่ที่เรื่องมาตรฐานและขนาดสินค้า ซึ่งแตกต่างจากตลาดอื่นๆ ในขณะที่ขนาดตลาดค่อนข้างเล็ก ทำให้ผู้ส่งออกไทยไม่ใคร่ให้ความสำคัญเท่าใดนัก ทั้งนี้ ผู้บริโภคออสเตรเลียให้ความสำคัญกับรูปแบบสินค้า ความเหมาะสม/สะดวกสบายในการสวมใส่ และความ คงทน ในสัดส่วนใกล้เคียงกับเรื่องราคา

4. แนวโน้มตลาด นิยมสี neutral สินค้าเพื่อสุขภาพ edgy design และกลับมานิยมรองเท้าในยุค 70-80 เช่น Jelly shoe รวมทั้งสินค้าที่มีความคิดสร้างสรรค์ เช่น รองเท้าผ้าใบที่สามารถเปลี่ยนแผ่นด้านบนโดยการรูดซิปเปลี่ยน และมีอุปกรณ์เสริมเพื่อสุขภาพและความสบายของรองเท้า เช่น ที่รองพื้นรองเท้า รองฝ่าเท้า หรือขอบรองเท้า เป็นต้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ