1. ข้อมูลประเทศทั่วไป
1.1 รูปภาพ ทำเลที่ตั้งของประเทศ
1.2 เมืองหลวง / เมืองท่า / เมืองเศรษฐกิจสำคัญ / สินค้าสำคัญในแต่ละเมือง
เมือง ความสำคัญ สินค้า / บริการสำคัญ แคนเบอร์ร่า เมืองหลวงของประเทศ ตั้งอยู่ในเขต Australian Optical instrument เครื่องจักร (Canberra) Capital Territory (ACT) ซิดนีย์ - เมืองหลวงของรัฐนิวเซาส์เวลส์ (New South ถ่านหิน อลูมิเนียม แร่ทองแดง (Sydney) Wales : NSW) medicaments น้ำมันปิโตรเลียม - เมืองพาณิชย์สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในสองแห่งกลั่น เนื้อหมู ข้าวสาลี ขนแกะ ของออสเตรเลีย เครื่องมือแพทย์ เครื่องดื่ม- - เมืองท่าซิดนีย์ แอลกอฮอล์ทุกประเภท เมลเบอร์น - เมืองหลวงของรัฐวิคตอเรีย (Victoria : VIC) รถยนต์โดยสาร อลูมิเนียม (Melbourne) - เมืองพาณิชย์สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในสองแห่งผลิตภัณฑ์ นม ขนแกะ เนยแข็ง ของออสเตรเลีย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื้อวัว
- เมืองท่าเมลเบอร์น
เพิร์ธ - เมืองหลวงของรัฐออสเตรเลียตะวันตก แร่ธาตุ ทอง ปิโตรเลียมดิบ ก๊าซ- (Perth) (Western Australia : WA) ธรรมชาติ ข้าวสาลี
- เมืองท่าเพิร์ธ
บริสเบน - เมืองหลวงของรัฐควีนส์แลนด์ (Queensland : ถ่านหิน เนื้อหมู แร่ธาตุอื่นๆ (Brisbane) QLD) สินค้าเกษตร อลูมิเนียม แร่ทองแดง - เมืองท่าบริสเบน ฝ้าย เนื้อวัว การท่องเที่ยว อะดิเลท - เมืองหลวงของเครือรัฐออสเตรเลียใต้ (South เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไวน์ (Adelaide) Australia : ST) รถยนต์โดยสาร ทองแดง ข้าวสาลี - เมืองท่าอะดิเลท ตะกั่ว เนื้อวัว โฮบาท - เมืองหลวงของรัฐทัสมาเนีย (Tasmania : สังกะสี อลูมิเนียม แผ่นไม้ เนื้อหมู TAS) แร่ทองแดง แร่เหล็ก เนยแข็ง
- เมืองท่า โฮบาท
ดาวิน - เมืองหลวงของอาณาเขตเหนือ (Northern น้ำมันดิบ แร่ธาตุต่างๆ มุก อัญมณี Territory : NT) และเครื่องประดับต่างๆ
- เมืองท่า ดาวิน
เครือรัฐออสเตรเลีย[1]
(Commonwealth of Australia) เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่นๆในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ ออสเตรเลียประกอบด้วย 6 รัฐ และ 10 ดินแดน (territory) โดยเขตเมืองหลวง (ACT) และนอร์ทเทิร์นเทอริทอรี่ เป็น 2 ดินแดนที่มีสถานะเหมือนรัฐเนื่องจากมีจำนวนประชากรมาก ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินี และติมอร์ตะวันออกทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ ชื่อออสเตรเลีย มาจากคำในภาษาละติน ว่า australis ซึ่งหมายถึงทิศใต้ โดยมีตำนานถึง "ดินแดนทางใต้ที่ไม่รู้จัก" (terra australis incognita ) ชาวยุโรปเริ่มสำรวจค้นพบออสเตรเลียในพุทธศตวรรษที่ 22 และต่อมาจึงกลายเป็นดินแดนอาณานิคมของบริเตน โดยเริ่มต้นเป็นอาณานิคมนักโทษในนิวเซาท์เวลส์ และจึงมีการตั้งอาณานิคมขึ้นอีกห้าแห่ง อาณานิคมทั้งหกรวมตัวเป็นสหพันธรัฐในปีพ.ศ. 2444 ออสเตรเลียมีชนพื้นเมืองซึ่งอาศัยตั้งแต่ก่อนชาวยุโรปเข้ามา เรียกว่าชาวอะบอริจิน
1.3 ขนาดพื้นที่ 7.69 ล้านตารางกิโลเมตร (ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก) 1.4 ประชากร 22.3 ล้านคน (มีนาคม2010) [2]
1.5 ทรัพยากรธรรมชาติ แร่ธาตุต่างๆ เช่น ถ่านหิน, เหล็ก, ทองแดง, ทองคำ, อลูมิเนียม, สังกะสี
1.6 เชื้อชาติ อังกฤษ ไอริช ยุโรป อื่น ๆ (สกอตต์ อิตาเลียน เยอรมัน กรีก) 95%
เอเชีย 4% และคนพื้นเมือง 1% [1]
1.7 ศาสนา คาทอลิก 25.8% อังกลิเคน 18.7% คริสเตียนอื่น ๆ 19.35%พุทธ 2.1%
มุสลิม 1.7% อื่น ๆ 32.35% [3]
1.8 ภาษา อังกฤษ
1.9 ระบบการปกครอง ออสเตรเลียมีรัฐสภาเก้าแห่ง ได้แก่ หนึ่งสภาของสหพันธ์
(Commonwealth) หกสภาของแต่ละรัฐ และสองสภาของดินแดนเขต
เมืองหลวง (ACT) และนอร์ทเทิร์นเทอริทอรี่ รัฐสภาของสหพันธ์ ใช้ระบบ
สภาคู่ ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร (House of Representative)
และวุฒิสภา (Senate) สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วย สมาชิก 150 คน
มาจากการเลือกตั้ง โดยแบ่งเป็นเขตเลือกตั้ง มีผู้แทนเขตละหนึ่งคน
วุฒิสภามีสมาชิก 76 คน มาจากแต่ละรัฐ รัฐละ 12 คน และจากดินแดน
เขตเมืองหลวงและนอร์เทิร์นเทริทอรี ละสองคน ทั้งสองสภาจัดการเลือก
ตั้งทุกสามปี สมาชิกวุฒิสภา มีวาระ 6 ปี โดยการเลือกตั้งแต่ละครั้งจะเป็น
เพียงครึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด[1]
1.10 ระบบคมนาคม ขนส่งภายในประเทศ
ออสเตรเลียมีระบบการคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือ ซึ่งถือเป็นเหตุผลหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจของออสเตรเลีย แม้ว่าจะมีอาณาเขตที่กว้างใหญ่และห่างจากตลาดหลักในต่างประเทศ แต่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีและการปฏิรูปนโยบายด้านการคมนาคมขนส่งทำให้ต้นทุนการขนส่งภายในประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีเมืองสำคัญต่างๆของออสเตรเลียกระจายตัวอยู่ห่างกันตามชายฝั่งทำให้ค่าขนส่งภายในประเทศยังสูงอยู่
10 ดินแดน ได้แก่ ACT, NT, Norfolk Island (มีสถานะปกครองตนเองอย่างจำกัด) รัฐอื่นอีก 7 รัฐได้แก่ Ashmore and Cartier Islands, Australian Antarctic Territory, Christmas Island, Cocos (Keeling)Islands, Coral Sea Islands, Jervis Bay Territory, และ Territory of Heard Island and McDonald Islands ปกครองโดยกฎหมายเครือรัฐ
การเคลื่อนย้ายสินค้าภายในประเทศมีประมาณ 2.15 พันล้านตันต่อปี โดย 1.5 พันล้านตันเป็นการขนส่งตามเครือข่ายถนนในออสเตรเลียซึ่งมีระยะทางประมาณ 913,000 กิโลเมตร มีระบบการขนส่งทางรถไฟระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 36,359 กิโลเมตร โดยเป็นระบบเครือข่ายขนส่งทางรถไฟระหว่างรัฐที่เชื่อมกับเมืองหลวงของทั้ง 5 รัฐ และท่าเรือนานาชาติประมาณ 9,690 กิโลเมตร การขนส่งในประเทศผ่านทางรถไฟมีประมาณ 535 ล้านตันต่อปี และที่เหลือเป็นการขนส่งทางทะเล อย่างไรก็ตาม การขนส่งทางทะเลถือว่ามีความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจของออสเตรเลียเป็นอย่างมาก เพราะ 99 % ของการนำเข้าส่งออกโดยปริมาณ และ 73% ของการนำเข้าส่งออกโดยมูลค่า เป็นการขนส่งทางทะเล โดยที่เหลือเป็นการขนส่งทางอากาศ[3]
2. ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจโดยทั่วไป
2.1 ข้อมูลพื้นฐานของประเทศออสเตรเลีย
ปี GDP GDP GDP per Consumer อัตราเงิน อัตราการ อัตราดอก อัตราแลก (bn US$)[4] Growth Cap Expenditure เฟ้อ[4] ว่างงาน[2] เบี้ย*[2] เปลี่ยนต่อ
[4] (US$)[4] เงินบาท[5]
(bn US$)[4]
2008 1,056.8 2.1% 38,246 507.9 3.7% 4.5% 7.81% 32.93 2009 993.2 1.2% 38,663 542.9 2.1% 5.5% 3.25% 29.78 2010 1,219.7 3.0% 39,692 519.7 3.0% 5.1% 4.89% 28.15 *อัตราดอกเบี้ย 90 -day bank bill (average during period of fiscal year)
2.2 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ[6] 34 พันล้านเหรียญสหรัฐ
2.3 โครงสร้างการผลิตภายในประเทศ[8]
2.4 ข้อมูลด้านการลงทุนในประเทศ [7]
- ในปี 2009 มูลค่าการลงทุนของต่างชาติในออสเตรเลีย มีประมาณ 436 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย โดยมาจาก สหรัฐฯ (22.7%) อังกฤษ (14.5%) ญี่ปุ่น (10.3%) เนเธอร์แลนด์ (7.7%) สวิสเซอร์แลนด์ (4.0%)
- แขนงการลงทุนที่มีจำนวนโครงการลงทุนมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ เทคโนโลยีสารสนเทศ อาหารและเครื่องดื่มหรือบริการที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับ
- ในด้านมูลค่าการลงทุน สูงสุดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมการผลิต และ การค้าส่งค้าปลีก
กฎระเบียบด้านการลงทุนในประเทศ(โดยสังเขป)
กฎระเบียบทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในออสเตรเลีย ได้แก่
- กฏหมายการจัดตั้งบริษัทและลงทุนในออสเตรเลีย
- กฏหมายทางด้านภาษี
- กฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค
- กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า
- กฎหมายคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
- กฎหมายแรงงาน
การลงทุนจากต่างประเทศในออสเตรเลียโดยทั่วไปไม่มีข้อบังคับเป็นพิเศษ ยกเว้นสำหรับธุรกิจบางประเภทซึ่งรัฐบาลออสเตรเลียกำหนดเงื่อนไขพิเศษสำหรับนักลงทุนต่างชาติ โดยต้องยื่นขออนุญาตก่อน ได้แก่
(1) ธุรกิจที่มีผลต่อความมั่นคงของชาติ
(2) ธุรกิจด้านการเงิน การสื่อสาร การบิน การท่าอากาศยาน การขนส่งสินค้า หนังสือพิมพ์ ซึ่งมีกำหนดเงื่อนไขเปิดรับการลงทุนแตกต่างกันไป
(3) ธุรกิจซึ่งกำหนดให้ต้องยื่นข้อเสนอ(Proposal) เพื่อพิจารณาก่อนการอนุมัติ ได้แก่
- การลงทุนในธุรกิจที่ให้บริการอยู่แล้วในออสเตรเลีย ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนเกินกว่า 50 ล้านเหรียญออสเตรเลีย
- การลงทุนในธุรกิจใหม่ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนเกินกว่า 10 ล้านเหรียญออสเตรเลีย
- การลงทุนประเภท portfolio investment ตั้งแต่ 5% ขึ้นไปในธุรกิจสื่อประชาสัมพันธ์ (Media)
- การลงทุนโดยตรงโดยรัฐบาลหรือหน่วยงานต่างชาติ - การครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินในตัวเมือง อสังหาริมทรัพย์ที่กำหนดเป็น
Heritage listing และอสังหาริมทรัพย์อื่นๆบางประเภท
- การส่งเสริมการลงทุนในออสเตรเลียจะมุ่งเน้นโครงการที่สามารถสร้างรายได้และการจ้างงานในประเทศ
- มาตรการส่งเสริมการลงทุนที่ใช้อยู่ ได้แก่ การลดอัตราภาษีหรือการอำนวยความสะดวกด้านสาธารณูปโภค
2.5 การจำแนกกลุ่มผู้บริโภคและรายละเอียดแต่ละกลุ่ม (Market Segmentation)[9]
3. ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ
3.1 ภาพรวมสถานการณ์ทางการค้าของประเทศออสเตรเลีย[10]
ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศมาโดยตลอด และตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมามีเพียงปี 2001 และปี 2010 ที่ประเทศออสเตรเลียเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าต่างประเทศ ออสเตรเลียมี ประเทศญี่ปุ่น จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ เป็นคู่ค้าหลัก โดยไทยเป็นคู่ค้าลำดับที่ 10 ของออสเตรเลีย ในปี 2010 ออสเตรเลียมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวม 404,307 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีอัตราขยายตัวจากปี 2009 ประมาณ 1.8 % โดยมี จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไทย และสิงคโปร์ เป็นแหล่งนำเข้าสำคัญ และมีตลาดส่งออกหลักที่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย และ สหรัฐอเมริกา
3.2 มูลค่าการค้าโดยรวมของประเทศออสเตรเลีย
สัดส่วน (%)
รายการ มูลค่า (million USD) อัตราการขยายตัว (%) ต่อ การค้าโลก
(ปี 2009)
2008 2009 2010 2009 2010 1. มูลค่าการค้ารวม 377,372 313,792 406,258 -16.85% 29.47% 1.49% 2. การส่งออก 186,504 154,524 212,660 -17.15% 37.6% 1.68% 3. การนำเข้า 190,868 159,268 193,598 -16.56% 21.56% 1.50%
3.3 สินค้าส่งออก/ สินค้านำเข้าหลัก ของประเทศออสเตรเลีย
1. ถ่านหิน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ 1. ยานยนต์ ญี่ปุ่น เยอรมนี เกาหลีใต้ 2. แร่เหล็ก จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ 2. น้ำมันดิบ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม 3. ทองคำ อินเดีย สหราชอาณาจักร 3. น้ำมันกลั่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น 4. น้ำมันดิบ เกาหลีใต้ ไทย จีน 4. ทองคำ ปาปัวนิวกินี ไทย สหรัฐอเมริกา 5. แก๊ซธรรมชาติ ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ 5. อุปกรณ์ทางการแพทย์ สหรัฐอเมริกา ไอร์แลนด์ อังกฤษ 3.4 ประเทศคู่ค้าสำคัญ สัดส่วน สัดส่วน ประเทศที่เป็นแหล่งส่งออก ประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้า (ปี 2010) (ปี 2010) 1. จีน 25.31% 1. จีน 18.73% 2. ญี่ปุ่น 18.89% 2. สหรัฐฯ 10.8% 3. เกาหลีใต้ 8.87% 3. ญี่ปุ่น 8.64% 4. อินเดีย 7.06% 4. ไทย 5.22% 5. สหรัฐฯ 3.99% 5. สิงคโปร์ 5.09% 3.5 นโยบาย / มาตรการทางการค้า ทั้งภาษีและไม่ใช่ภาษี[11] นโยบายการค้าที่สำคัญ มาตรการภาษีทางการค้า มาตรการการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTB) ออสเตรเลียมีโยบายการค้าเสรี ออสเตรเลียเคยตั้งกำแพงภาษีนำเข้าใน 1. มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช โดยยึดหลักตามระบบการค้าโลก อัตราที่สูงมากเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมใน และสัตว์(SPS) เป็นการกำหนดมาตรการ ผ่าน WTO มาเป็นอันดับแรก เพื่อ ประเทศ ต่อมาภายหลังการปฏิรูป ต่าง ๆ ที่จะปกป้องชีวิตและสุขภาพของคน ให้สามารถเข้าถึงตลาดในต่าง เศรษฐกิจของประเทศตั้งแต่ปี 1980 สัตว์ และพืชที่จะเกิดอันตรายจากเชื้อโรค ประเทศ พร้อมทั้งเอื้ออำนวยให้ผู้ เป็นต้นมา อัตราภาษีนำเข้าได้ลดลงเป็น และศัตรูพืชต่าง ๆ ซึ่งสินค้าที่ออสเตรเลีย ส่งออกสามารถคาดเดาสถาน ลำดับตามแผนการลดภาษีของรัฐบาลไปจน ใช้มาตรการนี้ได้แก่ กล้วยไม้ อาหารสัตว์ การณ์ และได้รับความเป็นธรรม ถึงปี 2003 โดยอัตราภาษีนำเข้าสินค้าโดย เลี้ยงบรรจุกระป๋อง อาหารทะเลสด ผลไม้ ทางการค้า ในขณะเดียวกันก็ให้ ทั่วไปจะอยู่ที่ระดับ 5% ยกเว้นสินค้าใน (ลำไย ลิ้นจี่ มังคุด และสับปะรด) ความสำคัญกับการเปิดเสรีการค้า หมวดรถยนต์ (15%) สิ่งทอ (25%) เสื้อผ้า Preserved fruits and vegetables ในระดับภูมิภาคด้วย โดยได้มีการ และรองเท้า (15%) เนื่องจากรัฐบาลออส- ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี ผัก/ผลไม้แช่แข็ง โกโก้ จัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีที่มี เตรเลียต้องการให้อุตสาหกรรมเหล่านี้มี และสารปรุงแต่ง มันสำปะหลัง ข้าว ผลิต ผลบังคับใช้แล้ว 6 ฉบับ (New การปรับตัว จึงชะลอการลดภาษีนำเข้าลง ภัณฑ์ข้าวแปรรูป ผัก/ผลไม้กระป๋อง แยม Zealnad, Singapre, USA, ในระหว่างปี 2000-2004 ต่อมาในปี ผลไม้ กะทิกระป๋อง ซอส ผลิตภัณฑ์นม Thailand, Chile และ Asean- 2005 รัฐบาลมีนโยบายลดภาษีดังกล่าวลง เมล็ดกาแฟ ข้าวโพด เม็ดมะม่วงหิมพานต์ CER) อยู่ระหว่างการเจรจา 8 ในปี 2010 อัตราภาษีนำเข้าโดยทั่วไปพริกไทย ทุเรียนสด/แช่แข็ง บรรจุภัณฑ์ไม้ ฉบับ (Malaysia, China, GCC, อยู่ในระดับต่ำ โดยเฉลี่ยประมาณ 3% Japan, Korea, Indonesia, สำหรับสินค้าในหมวดรถยนต์ (สูงสุด 5%) 2. มาตรการอุปสรรคทางเทคนิคทางการ PACR Plus* และ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (สูงสุด 10%) ค้า (Technical Barriers to Trade : Transpacific**) และอยู่ระหว่าง รองเท้าและชิ้นส่วน (สูงสุด 5%) โดยสินค้าTBT) ได้แก่ การกำหนดกฎระเบียบและ การศึกษาความเป็นไปได้ 1 ฉบับ เกษตรอัตราภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรออส- ข้อบังคับทางเทคนิค มาตรฐานและระบบ (India) เตรเลียอยู่ในค่อนข้างต่ำ อัตราภาษีเฉลี่ยอยู่ ใบรับรองสำหรับสินค้าส่งออกและนำเข้า ที่ระดับ 1.4% ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรม ออสเตรเลียได้ระบุให้สินค้า ผลไม้ ผัก ถั่ว * Australia, the Cook Islands, เฉลี่ยอยู่ที่ 4.2% และอาหารทะเลที่ไม่บรรจุในภาชนะปิด the Federated States of แม้จะเห็นได้ว่าออสเตรเลีย มีการปรับสนิท เนื้อสุกรสด และผลิตภัณฑ์แฮมและ Micronesia, Kiribati, Nauru, โครงสร้างภาษีให้ลดต่ำลงเป็นระยะๆ แต่เบคอนที่ไม่บรรจุในภาชนะปิดสนิท ผลิต- New Zealand, Niue, Palau, ในความเป็นจริงแล้ว ออสเตรเลียลดมาตร- ภัณฑ์อาหารที่บรรจุในภาชนะปิดสนิท Papua New Guinea, the การด้านภาษีแต่หันมากีดกันการนำเข้าโดย อาหารที่มีการตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) Republic of the Marshall การใช้มาตรการมิใช่ภาษีแทน โดยให้เหตุ สินค้าสดและแปรรูปของผัก ผลไม้ อาหาร Islands, Samoa, the Solomon ผลว่าออสเตรเลียเป็นประเทศเกาะจะต้อง ทะเล และถั่วต่างๆ ที่ไม่ได้บรรจุหีบห่อต้อง Islands, Tonga, Tuvalu and ป้องกันเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจมีการปนเปื้อน ติดฉลากตามระเบียบของ หน่วยงานมาตร- Vanuatu มากับสินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศต่าง ๆ ฐานอาหารของออสเตรเลีย มีการกำหนด จึงมีการกำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติ และ มาตรฐานเสื้อผ้าสำเร็จรูป และรถปิกอัพ ** Brunei Darussalam, Chile, มาตรการนำเข้าที่เข้มงวด New Zealand and Singapore, 3. มาตรการอื่น ๆ (Other Measures) United States and Peru 3.1 ห้าม / ควบคุมการนำเข้า
ออสเตรเลียห้ามนำเข้า เหล็กเส้นแบบ
Tempeare Process และ เพชรที่ยังไม่ได้
เจียระไนที่ส่งมาจากหรือมีแหล่งกำเนิดมา
จากไลบีเรีย ส่วนสินค้าที่ต้องขออนุญาตนำ
เข้าได้แก่ ธงชาติออสเตรเลียและ
ตราสัญลักษณ์กองทัพ หรือสิ่งที่สื่อถึงของ
ดังกล่าว ยาสูบที่ใช้สำหรับเคี้ยว ยานัตถุ์
ที่จุดบุหรี่ ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช
ใบยาสูบ ยา Antibiotics กระจกที่เคลือบ
ด้วยโลหะหนัก เพชรที่ยังไม่ได้เจียระไนที่ส่ง
มาจากหรือมีแหล่งกำเนิดมาจากสาธารณะ
รัฐเซียร์ราลีโอน, ซุงและผลิตภัณฑ์ป่าไม้
จากไลบีเรีย
3.2 กำหนดโควตาภาษี เนยแข็ง และ
ใบยาสูบ
3.3 การตอบโต้การทุ่มตลาด สินค้าไทยถูก
เก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดในปัจจุบันได้
แก่ สับปะรดกระป๋อง (หมดอายุ
18/10/11) โพลีเอทีลีนความหนาแน่นต่ำ
(หมดอายุ 4/12/13)
3.6 สิทธิพิเศษทางการค้า
ออสเตรเลียมีโยบายการค้าเสรีโดยยึดหลักตามระบบการค้าโลก ผ่าน WTO มาเป็นอันดับแรก สิทธิพิเศษทางการค้าจะอยู่ภายใต้ความตกลงทางการค้าต่างๆ ซึ่งได้มีการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้ว 6 ฉบับ (New Zealand, Singapore, USA, Thailand, Chile และ Asean-CER) อยู่ระหว่างการเจรจา 8 ฉบับ (Malaysia, China, GCC, Japan, South Korea, Indonesia, PACR Plus และTranspacific) และอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ 1 ฉบับ (India)
3.7 ความร่วมมือทางการค้ากับต่างประเทศ [12]
ออสเตรเลียมีข้อตกลงทางการค้าที่มีผลบังคับใช้แล้ว 6 ฉบับ คือ
1. ASEAN-Australia-New Zealand (AANZFTA) 2009
2. Australia-Chile Free Trade Agreement (AClFTA) 2009
3. Australia-United States Free Trade Agreement (AUSFTA) 2005
4. Thailand-Australia Free Trade Agreement (TAFTA) 2005
5. Singapore-Australia Free Trade Agreement (SAFTA) 2003
6. Australia-New Zealand Closer Economic Relations Trade Agreement (ANZCERTA) 1983
อยู่ระหว่างการเจรจา 8 ฉบับ
1. Australia-China FTA Negotiations
2. Australia-Gulf Cooperation Council (GCC) FTA Negotiations
3. Indonesia-Australia Comprehensive Economic Partnership Agreement (IA-CEPA) negotiations
4. Australia-Japan FTA Negotiations
5. Australia-Korea FTA Negotiations
6. Australia-Malaysia FTA Negotiations
7. Pacific Agreement on Closer Economic Relations (PACER)
8. Trans-Pacific Partnership Agreement
อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้
1. Australia - India joint FTA feasibility study
4. ข้อมูลทางการค้ากับประเทศไทย
4.1 ภาพรวมสถานการณ์ / ความสัมพันธ์ ทางการค้ากับไทย[11]
มูลค่าการค้าระหว่างไทยและในภูมิภาคทวีปออสเตรเลียในปี 2010 มีมูลค่าประมาณ 17.27 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวจากปีที่ผ่านมา 25.61% โดยไทยมีสัดส่วนมูลค่าทางการค้ากับประเทศออสเตร-เลียมากที่สุดในภูมิภาคนี้โดยคิดเป็น 88.37% ของการค้าระหว่างไทยและภูมิภาคทวีปออสเตรเลีย
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2008-2010) การค้าสองฝ่ายระหว่างไทยและออสเตรเลีย มีมูลค่าเฉลี่ยประมาณ 15.49 พันล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2010 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 15.26 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 23.45% จากปี 2009 โดยไทยส่งออกไปออสเตรเลียมูลค่า 9.37 พันล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากออสเตรเลีย 5.89 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้า 3.47 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยออสเตรเลียเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 9 ของไทย และเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญเป็นอันดับ 6 สินค้านำเข้าหลักได้แก่ น้ำมันดิบ อัญมณีและเครื่องประดับ อลูมิเนียม เหล็กและเหล็กกล้า ฝ้ายและเส้นใย สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก พลาสติก [10]
4.2 มูลค่าการค้าของไทยกับภูมิภาคทวีปออสเตรเลีย (ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิกใต้)[9]
การค้าไทย - ภูมิภาคออสเตรเลีย
รายการ มูลค่าการค้า (million USD) อัตราการขยายตัว สัดส่วน (%)
การค้าไทย - ภูมิภาค
ทวีปออสเตรเลีย เปรียบเทียบกับ
2008 2009 2010 2009 2010 ไทย - โลก
(ข้อมูลปี 2010)
มูลค่าการค้า 15,447.99 13,751.20 17,272.99 -10.98% 25.61% 4.57% ไทยส่งออก 9,018.04 9,377.89 10,516.37 3.99% 12.14% 5.38% ไทยนำเข้า 6,429.95 4,373.31 6,756.62 -31.99% 54.50% 3.7%
การค้าไทย - ประเทศออสเตรเลีย
รายการ มูลค่าการค้า (million USD) อัตราการขยายตัว สัดส่วน (%)
การค้าไทย - ประเทศออสเตรเลีย
เปรียบเทียบกับ ไทย - ภูมิภาค
2008 2009 2010 2009 2010 ทวีปออสเตรเลีย
(ข้อมูลปี 2010)
มูลค่าการค้า 13,147.28 12,366.05 15,265.44 -5.94% 23.45% 88.37% ไทยส่งออก 7,982.57 8,578.63 9,369.58 7.47% 9.22% 89.09% ไทยนำเข้า 5,164.72 3,787.43 5,895.85 -26.67% 55.67% 87.26%
4.3 สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปยังประเทศออสเตรเลีย และสินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย (5 อันดับแรก) [10]
สินค้าหลักที่ไทยส่งออก ประเทศคู่แข่ง สินค้าหลักที่ไทยนำเข้า ประเทศคู่แข่ง 1. รถยนต์ อุปกรณ์และ ญี่ปุ่น เยอรมัน สหรัฐอเมริกา 1. น้ำมันดิบ สหรัฐอาหรับ ซาอุฯ พม่า ส่วนประกอบ 2. อัญมณีและเครื่อง ปาปัวนิวกินี สหรัฐอเมริกา 2. อัญมณีและเครื่อง สวิสเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ประดับ สิงคโปร์ ประดับ ฮ่องกง 3. เครื่องจักรกลและส่วนจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น 3. อลูมิเนียม ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอาหรับ ประกอบ 4. เหล็กและผลิตภัณฑ์ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา 4. เหล็กและเหล็กกล้า ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ เหล็ก 5. พลาสติก จีน สหรัฐอเมริกา เยอรมัน 5. ฝ้ายและเส้นใย จีน สหรัฐอเมริกา อินเดีย
4.4 ข้อตกลง / ความร่วมมือทางการค้า กับประเทศไทย[11]
1. ข้อตกลงการค้าเสรี ASEAN-Australia/NZ Free Trade Area (AANZFTA) เริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อ 1 มกราคม 2010 ทั้งนี้มีผลใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2010
2. ข้อตกลงการค้าเสรี Thailand Australian Free Trade Agreement TAFTA เริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อ 1 มกราคม 2005
3. ความตกลงเพื่อการยกเว้นเก็บภาษีซ้อน (Agreement of the Avoidance of Double Taxation) ลงนามเมื่อ 31 สิงหาคม 1989 มีผลใช้บังคับเมื่อ 27 ธันวาคม 1989
4.5 ปัญหา/ อุปสรรค / ประเด็นทางการค้าและการลงทุนกับไทย
1. มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS)
1.1 มาตรการการนำเข้ากุ้งของออสเตรเลีย
หน่วยงาน Biosecurity Australia ของออสเตรเลียได้ออกมาตรการกำกับการนำเข้าชั่วคราว (Revised Interim Measures) โดยมาตรการชั่วคราวดังกล่าวมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2550 เป็นต้นไป
มาตรการดังกล่าวมีสาระสำคัญ ได้แก่
1) กำหนดให้การนำเข้ากุ้งดิบทั้งตัวต้องเป็นกุ้งที่มาจากประเทศหรือเขตที่ปลอดจาก 5 โรคได้แก่ WSSV, IHHNV, YHV, NSPB และ TSV ซึ่งไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีโรคดังกล่าว เช่นเดียวกับอีกหลายๆประเทศในภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2551 ออสเตรเลียได้ประกาศปลดรายการตรวจเชื้อไวรัสที่ด่านนำเข้าลง 1 รายการ คือเชื้อ IHHNV เนื่องจากพบว่าเป็นเชื้อที่มีการพบในฟาร์มเลี้ยงกุ้งในประเทศเช่นกัน และไม่มีผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยทางด้านอาหาร ซึ่งจากการหารือกับสมาคมผู้นำเข้าพบว่าเป็นรายการที่มีความสำคัญมากกับการนำเข้าจากไทย
2) การนำเข้ากุ้งดิบที่มีการตัดหัวและแกะเปลือกออก (prawn cutlets) ทุกงวดจะต้องผ่านการตรวจสอบที่ปลายทางที่ออสเตรเลียว่า ปราศจากโรคดังกล่าว หากตรวจพบ จะถูกทำลาย หรือ ถูกส่งกลับ ซึ่งจะเป็นภาระค่าใช้จ่ายแก่ผู้นำเข้าอย่างมาก ทั้งจากต้นทุนค่าตรวจสอบ และความเสี่ยงจากการที่ผลการทดสอบไม่ผ่านอีกด้วย
3) สำหรับกุ้งดิบแปรรูปที่มีการตัดหัวและแกะเปลือกออกโดยเหลือข้อสุดท้ายของส่วนหาง และได้มีการแปรรูปบางส่วนแล้ว (เช่น การชุบแป้งทอด) จะถูกสุ่มตรวจเพื่อตรวจสอบว่าปราศจากโรคดังกล่าว และยังต้องผ่านการผลิตจากโรงงานที่ได้รับการตรวจสอบรับรองจากประเทศต้นทางแล้วเท่านั้น
4) การนำเข้ากุ้งต้มสุก ออสเตรเลียยอมรับข้อเสนอของไทยให้กุ้งทุกขนาดต้มโดยมีอุณหภูมิแกนกลาง (core temperature) ที่ 70 องศาเซลเซียส ภายในระยะเวลา 11 วินาที โดยต้องแนบใบรับรองจากกรมประมงว่า "ผ่านการปรุงสุกในโรงงานซึ่งได้รับการรับรองและควบคุมจากกรมประมงที่อุณหภูมิกึ่งกลางอย่างน้อย 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 11 วินาที โดยกุ้งจะต้องผ่านความร้อนจนเนื้อสุกทั่วทั้งชิ้น และไม่มีลักษณะเนื้อดิบปรากฏอยู่ และเหมาะต่อการบริโภค" และได้ขอให้ออสเตรเลียยอมรับผลการตรวจเชื้อโรคต้นทาง เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายสำหรับ ผู้นำเข้า ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการจัดทำห้องแล็บไทยให้มีความพร้อมเพื่อให้ออสเตรเลียไปตรวจสอบ
1.2 สินค้าเนื้อไก่ต้มสุก (Cooked Chicken meat)
ได้กำหนดมาตรฐานในการนำเข้าโดยจะต้องต้มไก่ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 143 นาที หรือ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 114 นาที จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศในเรื่องนี้แต่อย่างใด นับตั้งแต่ปี 2540 ที่ออสเตรเลียเปิดตลาดนำเข้าเนื้อไก่ ยังไม่มีประเทศใดสามารถส่งสินค้าไก่ไปขายยังตลาดออสเตรเลียได้แม้แต่ประเทศเดียว ต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 ออสเตรเลียได้ประกาศอนุญาตให้มีการนำเข้าเนื้อไก่ต้มสุกจาก 3 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และไทย ภายใต้ข้อกำหนดทางด้านสุขอนามัยที่เข้มงวดมาก โดยได้กำหนดอุณหภูมิในการผลิตเนื้อไก่ต้มสุก ณ อุณหภูมิ 74 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 165 นาที หรือ ณ อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 125 นาที โดยอ้างผลการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ของผู้เชี่ยวชาญจาก Veterinary Laboratory Agencies ประเทศอังกฤษว่า ณ อุณหภูมิดังกล่าวจึงจะสามารถฆ่าเชื้อ IBDV ได้ ซึ่งบริษัทผู้ส่งออกของไทยไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ออสเตรเลียกำหนดได้ เนื่องจากระยะเวลาในการต้มนานมากทำให้เนื้อไม่เหมาะในการบริโภค
2. มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD)
ออสเตรเลียมีการใช้มาตรการ AD ค่อนข้างมากและใช้เวลาในการพิจารณาแต่ละขั้นตอนยาวนาน สินค้าไทยที่ถูกใช้มาตรการนี้จำนวน 5 รายการ คือ ท่อเหล็กชุบสังกะสี (Galvanize Steel Pipe) (มาตรการหมดอายุแล้ว) เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (Certain Hot Rolled Structural Steel Sections) (หมดอายุ) พลาสติกPVC (หมดอายุ) น้ำสับปะรดเข้มข้น (หมดอายุ) และสับปะรดกระป๋อง โพลีเอททีลีนความหนาแน่นต่ำ (Linear low-density polyethylene) ทั้งนี้ สินค้าบางรายการ เช่น สับปะรดกระป๋อง และโพลีเอททีลีนความหนาแน่นต่ำ มีการใช้มาตรการเกินกว่า 5 ปี ซึ่งไม่ควรใช้มาตรการต่อเนื่อง เพราะเป็นการสร้างอุปสรรคทางการค้าในขณะที่ไทยยังไม่เคยใช้มาตรการ AD กับสินค้าออสเตรเลียแต่อย่างใด
3. มาตรการการกีดกันแรงงานต่างชาติ
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2552 ออสเตรเลียได้ประกาศการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขในการนำเข้าแรงงานต่างชาติ โดยเพิ่มความเข้มงวดเรื่องผลทดสอบภาษาอังกฤษ IELTS เป็นระดับ 5 ในทุกหมวดตั้งแต่ฟัง พูด อ่าน เขียน จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ระดับ 4.5 (ประกาศเมื่อ 1 ก.ค.50) และให้เงื่อนไขดังกล่าวรวมถึงแรงงานสาขา พ่อครัว แม่ครัวและหัวหน้า (chef และ head chef) ด้วย ซึ่งระเบียบเดิมไม่ได้รวมแรงงานระดับนี้ไว้ ส่งผลให้กับพ่อครัวแม่ครัวไทยที่ทำงานอยู่ในร้านอาหารไทยในออสเตรเลียที่ต้องต่ออายุวีซ่าทำงานจะต้องผ่านการทดสอบการทดสอบระดับนี้ หากไม่ผ่านจะถูกส่งกลับไทย นโยบายนี้ส่งผลต่อการประกอบธุรกิจร้านอาหารไทย รวมถึงการขยายจำนวนร้านอาหารไทยเป็นอย่างยิ่ง และเป็นอุปสรรคสำคัญต่อนโยบายส่งเสริมแรงงานพ่อครัว แม่ครัวไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก
5. SWOT Analysis
Strength Weakness - ประชากรออสเตรเลียมาจากหลายชนชาติ โดยมี - เป็นประเทศที่มีพื้นฐานการผลิตเป็นสินค้าเกษตร
ลักษณะเป็น Multiculture ทำให้มีความต้องการหลาก - มีมาตรการการควบคุมสุขอนามัยที่เข้มงวด
หลายสำหรับสินค้าแต่ละประเภท - มีความต้องการปริมาณการสั่งซื้อไม่มากในแต่ละครั้ง - มีอำนาจซื้อสูง - ระยะทางที่ห่างกันมากในแต่ละเมืองทำให้ต้นทุน
- ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับคุณภาพที่เหมาะสมกับค่าขนส่งสูง
ราคา
- มีทัศนคติที่เปิดกว้างต่อวัฒนธรรมที่แตกต่าง
- เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและแร่ธาตุที่สำคัญ
และอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก
Opportunity Threat - เป็นประเทศที่อยู่ในซีกโลกใต้ ผลผลิตที่แตกต่าง - เป็นประเทศที่ผลิตสินค้าเกษตรเช่นเดียวกับไทย ทำให้เป็นตลาดเสริมได้ - มีแนวโน้มในการเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศ - มีความต้องการปริมาณการสั่งซื้อไม่มากในแต่ละครั้ง มากขึ้น โดยมีการส่งเสริม สินค้า "Buy Australian" สร้างโอกาสให้ SMEs - มีการเจรจา FTA กับประเทศต่างๆรวมถึงคู่แข่งของ - สินค้าสำหรับผู้บริโภคเอเชียซึ่งย้ายถิ่นฐานมายัง ไทย เช่น มาเลเซีย และจีน
ออสเตรเลียจำนวนมาก
- ความนิยมในอาหารไทย
6. Web Site ที่น่าสนใจ
Department of Agriculture, Fisheries and Forestry Australia www.daff.gov.au
AusAid www.ausaid.gov.au AusIndustry www.ausindustry.gov.au Austrade www.austrade.gov.au Australian Bureau of Statistics www.abs.gov.au Australian Customs Service www.customs.gov.au Australian Federal Government www.australia.gov.au Australian Quarantine Inspection Services (AQUIS) www.aquis.gov.au Department of Foreign Affairs and Trade (DFAT) www.dfat.gov.au Department of Industry, Tourism and Resources www.industry.gov.au Office of Small Business www.smallbusiness.gov.gu Australian Tourist Commission www.atc.australia.com Food Labelling Australia www.foodstandard.com.au Invest Australia www.investaustralia.gov.au 7. รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยราชการ/รัฐวิสาหกิจไทย และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทางการค้าของประเทศนั้นๆ หน่วยงาน ที่ตั้ง โทรศัพท์ โทรสาร email (1) สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงแคน 111 Empire Circuit, T (61-2) 6273 1149 เบอร์ร่า (Royal Thai Embassy) Yarralumla F (61-2) 6273 1518 ACT 2600 Canberra E [email protected] (2) สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ 8 th Floor, 131 T (61-2) 9241 2542 (Royal Thai Consulate-General) Macquarie Street, F (61-2) 9247 8312 Sydney NSW 2000 E [email protected] (3) สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ Suite 2102 Level 21, T (61-2) 9241 1075 ณ นครซิดนีย์ 56 Pitt Street F (61-2) 9251 5981 Thai Trade Centre, Sydney Sydney NSW 2000 E [email protected] (4) สำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายการเกษตร 10 Bulwarra Close, T (61-2) 6286 8837 (Office of Agricultural Affairs) O'malley F (61-2) 6286 8847 ACT 2606 Canberra E [email protected] (5) สำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายการศึกษา (Office 76 Hopetoun Circuit, T (61-2) 6281 1371 of Educational Affairs) Yarralumla F (61-2) 6285 3071 ACT 2606 Canberra E [email protected] (6) สำนักงานผู้ช่วยทูตทหารบก 5 Stonchaven T (61-2) 6273 3271 (Office of the Army Attache) Crescent, Red Hill, F (61-2) 6273 2165 ACT 2603 Canberra E [email protected] (7) สำนักงานผู้ช่วยทูตทหารอากาศ 6 Titheradge Place, T (61-2) 6288 7566 (Office of the Defence and Air Chapman, F (61-2) 6288 1927 Attache) ACT 2611 Canberra E [email protected] (8) สำนักงานผู้ช่วยทูตทหารเรือ 127 Hawkesbury T (61-2) 6286 5513 (Office of the Naval Attache) Crescent, Farrer, F (61-2) 6286 5877 ACT 2607 Canberrra E [email protected] (9) สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว Level 20, T (61-2) 9247 7549 (Tourism Authority of Thailand) 56 Pitt Street F (61-2) 9251 2465 Sydney NSW 2000 E [email protected] (10) สำนักงานการบินไทย 75-77 Pitt Street, T (61-2) 9844 0999 (Thai Airways International, Sydney) Sydney NSW 2000 F (61-2) 9251 1106 8. รายชื่อ ที่ติดต่อหน่ายงานส่งเสริมการค้าของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย
AUSTRADE
สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย
37 ถ. สาธรใต้ กรุงเทพฯ 10120
โทรศัพท์ 0 2344 6333, 0 2344 6300
โทรสาร 0 2679 2090
Email: [email protected]
9. อ้างอิง
[1] About Australia http://en.wikipedia.org/wiki/Australia [2] Australian Bureau of Statistics www.abs.gov.au [3] Central Intelligence Agency https://www.cia.gov/
[4] Department of Foreign Affairs and Trade (DFAT) www.dfat.gov.au
[5] Australian Taxation Office www.ato.gov.au [6] Reserve Bank of Australia www.rba.gov.au [7] Invest Australia www.investaustralia.gov.au [8] The Australian Trade Commission www.austrade.gov.au [9] Euromoniter International www.euromonitor.com
[10] World Trade Atlas
[11] Ministry of Commerce Thailand www.moc.go.th [12] Free Trade Agreement www.fta.gov.au
จัดทำโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ นครซิดนีย์
ที่มา: http://www.depthai.go.th