รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้า ประเทศบังกลาเทศ เดือนมิถุนายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 4, 2011 14:24 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาวะเศรษฐกิจบังกลาเทศ เริ่มชะลอตัว เนื่องจากเป็นช่วงใกล้สิ้นปีงบประมาณ ก.ค.2010-มิ.ย.2011 รัฐบาลกำลังเสนองบประมาณและนโยบายในสภาฯ ปัญหาต่างๆยังไม่ได้รับการแก้ไข ทั้งปัญหาการขาดแคลนพลังงานก๊าซและกระแสไฟฟ้า ปัญหาในตลาดหุ้นราคาผันผวนมาก สถานการณ์ไฟฟ้าดับยังไม่ดีขึ้น ไฟดับมากขึ้น-4-5 ครั้งต่อวัน เนื่องจากอากาศร้อนขึ้น แม้ว่าจะมีโรงงานไฟฟ้าใหม่เริ่มดำเนินการได้บางโรงงานแล้ว

2. รายงานข้อมูลทางเศรษฐกิจของธนาคารกลาง ณ 22 มิ.ย.54 รายงานว่า ค่าเงินตากายังอ่อนค่าลงอีกเป็นลำดับ เงินสำรองเงินตราต่างประเทศทรงตัว จากการโอนเงินจากแรงงานต่างประเทศลดลง การส่งออกและ การนำเข้าเพิ่มขึ้นด้วย และอัตราเงินเฟ้ออ่อนตัวลงเล็กน้อย ตามรายละเอียด ดังนี้

2.1 เงินสำรองเงินตราต่างประเทศ ณ 21 มิ.ย.54มีจำนวน 10,590 ล้านดอลลาร์ สูงขึ้นจากพ.ค.(10,445.28ล้าน)เล็กน้อย แต่ลดลงจาก 26 เม.ย. 54 (11,218.73ล้าน) และจาก 31มี.ค.54(10,730.59 ล้าน)

2.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตากาต่อเงินUSD ณ 21 มิ.ย.54 1 USD= 74.0167 ตากาอ่อนค่าลงจาก 24พ.ค.54(1 USD=73.3494 ตากา) 26 เม.ย.54 (1 USD=72.9172 ตากา) และจากมี.ค.(72.47 ตากา) เป็นการอ่อนค่าลงเป็นลำดับตั้งแต่ปลายปปี 2553 (ธ.ค. 53 (70.7497) และพ.ย.53( 70.348 ตากา) และเมื่อเทียบกับ 21.มิ.ย.ปีก่อน 1 USD =69.39 ตากา เงินตากาอ่อนค่าลงถึงร้อยละ 6.67 เพราะความต้องการดอลลาร์เพิ่มขึ้นจากการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันปรุงอาหาร ข้าว ข้าวสาลีและฝ้ายเพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมทั้งการนำเข้าอุปกรณ์ เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับโรงงานใหม่ๆ ทำให้มีปัญหาการชำระค่าสินค้าเป็นระยะๆ

2.3 เงินโอนจากแรงงานในต่างประเทศ เดือนพ.ค.54 มีจำนวน 993.25 ล้านดอลลาร์ ลดลงจาก เม.ย.54 (1,001.97 ล้าน)และ มี.ค.54 (1,102.98 ล้าน) ร้อยละ0.87 และ9.95 ตามลำดับ แต่ยอดรวมช่วงก.ค.53.-พ.ค..54 มีมูลค่ารวม 10,606.23 ล้านดอลลาร์ ยังสูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกันในปีก่อน(10,095.25 ล้าน) ร้อยละ 5.06 เนื่องจากมีการส่งกลับแรงงานจากเหตุการณ์ประท้วงในตะวันกลางหลายหมื่นคน

2.4 มูลค่าส่งออกของบังกลาเทศเดือนพ.ค.54 รวม 2,295.10 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นจากเม.ย.54 ( 2,036.17 ล้าน)ร้อยละ12.72 และจากมี.ค.54 (2,136.86 ล้าน) ร้อยละ 7.40 เป็นยอดส่งออกสูงสุดในรอบปี และเพิ่มขึ้นจาก พ.ค.ปีก่อน (1,553.97 ล้าน)ถึงร้อยละ 47.69 สำหรับมูลค่าส่งออก ก.ค.-พ.ค.54 รวม 20,538.34 ล้านดอลลาร์ฯ สูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน(14,503.32 ล้าน) เช่นกันถึงร้อยละ 41.61

ในขณะที่มูลค่านำเข้า เดือนเม.ย.54 มีมูลค่า 3,229.20 ล้านดอลลาร์ สูงกว่ามี.ค.54 (3,130.30 ล้าน) ซึ่งสูงสุดในรอบ12 เดือน ร้อยละ3.16 และเพิ่มขึ้นจากเม.ย.ปีก่อน(2,220.20 ล้าน) ร้อยละ 45.45 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากนำเข้าข้าว ข้าวสาลี เครื่องจักร วัตถุดิบสิ่งทอ และน้ำมันปิโตรเลียม

2.5 อัตราเงินเฟ้อ เดือนพ.ค.54=10.20 ลดลงจาก เม.ย. 54 (= 10.67) และจาก มี.ค.(=10.49) แต่ยังสูงกว่าก.พ.=9.06 และ ม.ค.54= 9.04เนื่องจากราคาข้าวลดลงจากข้าวฤดูใหม่ออกสู่ตลาด แต่ยังจัดว่าสูงสุดในรอบ 32 เดือน เนื่องจากราคาน้ำมันและ อาหารทั้งตลาดโลกและในประเทศซึ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย12เดือน พ.ค.=8.67 สูงกว่าเม.ย.53 ซึ่งเท่ากับ8.54 เท่านั้น

3. ภาวะการค้าในประเทศ การค้าในประเทศ ยังคงซบเซาต่อเนื่อง เนื่องจากรัฐบาลขึ้นราคาน้ำมัน ก๊าซ ทำให้ราคาสินค้าจำเป็นต่างๆสูงขึ้น

3.1 ภาวะการค้าข้าว ราคาข้าวมิ.ย. 54 ลดลงจาก พ.ค.และ เม.ย.และต้นปี.54 โดยราคาข้าวคุณภาพดีเดือนมิ.ย.พ.ค.มีราคา 21-25 บาท/กก.ลดลงจากพ.ค.ซึ่งเท่ากับ 22-26 .บาท/กก. และข้าวคุณภาพต่ำมิ.ย.พ.ค.ราคาลดลงเช่นกัน= 15-19 บาท/กก. โดยลดลงจากต้นปีซึ่งราคา 20-22 บาท/กก. เนื่องจากเนื่องจากข้าวฤดูใหม่ออกสู่ตลาด และรัฐบาลยังมีจุดเปิดoutlet จำหน่ายข้าวราคาถูกในราคา 12 บาท/กก.เพื่อลดภาวะค่าครองชีพของประชาชนคนจน

3.2 สถานการณ์ราคาน้ำตาล ราคาน้ำตาลเดือนมิ.ย.เท่ากับ 32-34 บาท/กกสูงขึ้นจากพ.ค.เท่ากับ 30-32 บาท/กก.สูงขึ้นจาก เม.ย.54ซึ่งเท่ากับ27-28 บาท/กกและ มี.ค.54 (=29-30 บาท/กก)ตามราคาตลาดโลก และเนื่องจากโรงงานน้ำตาลได้รับคำสั่งซื้อจากโรงงานผลิตน้ำอัดลมมากขึ้นและบางโรงงานต้องปิดซ่อมเครื่องจักร รวมทั้งใกล้ถึงเทศกาลรามาดอล

3.3 สถานการณ์พลังงาน ก๊าซเชื้อเพลิงและน้ำมัน ภาวะการขาดแคลนก๊าซ เริ่มดีขึ้นเล็กน้อย รัฐบาลจะยกเลิกมาตรการไม่อนุญาตให้เพิ่มผู้ใช้รายใหม่ทั้งผู้ใช้ก๊าซและไฟฟ้า ซึ่งมีการระงับการเชื่อมต่อผู้ใช้รายใหม่กว่า2 ปีแล้ว และส่งเสริมให้ใช้ก๊าซบรรจุถังให้มากขึ้น สำหรับราคาน้ำมันเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากมีการประท้วง เดือนก่อน(6พ.ค.)ที่รัฐบาลประกาศปรับราคาน้ำมันสูงขึ้น ทุกประเภทลิตรละ 2 ตากา

4. ภาวะการส่งออกสินค้าจากไทยไปบังกลาเทศ ปริมาณการส่งออกรวมเดือนพ.ค.54 มีมูลค่า 189.24 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากเม.ย.54 (155.9 ล้านและ มีค.54 (125.45 ล้าน)ร้อยละ 21.38 และ50.85 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าช่วงมค.-พ.ค.54.= 650.94 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน.ปีก่อน(336.85 ล้าน)ร้อยละ93.24 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ0.69 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นของสินค้าข้าว น้ำตาล รถยนต์และอะไหล่ อุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า เม็ดพลาสติก ผ้าผืน ด้าย เส้นใยประดิษฐ์ เครื่องปรับอากาศ เหล็กและเหล็กกล้า น้ำมัน ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องสำอาง เป็นต้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงธากา บังกลาเทศ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ