เริ่มเข้าสู่ปี พ.ศ. 2553 การนำเข้าและส่งออกของจีนเริ่มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ศุลกากรแห่งประเทศจีนได้เปิดเผยข้อมูลสถิติการนำเข้าและส่งออกของจีนประจำเดือน มกราคม 2553 ว่า การนำเข้าส่งออกของจีนมีมูลค่ารวมถึง 204,782.346 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตเพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 44.4 %แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 109,475.299 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตเพิ่มขึ้น 21 % มูลค่าการนำเข้า 95,307.047 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตเพิ่มขึ้น 85.5 %
สินค้าที่จีนนำเข้าจากต่างประเทศปริมาณมากในอันดับต้นๆได้แก่ สินค้าเทคโนโยลีชั้นสูง สินค้าอิเลคทรอนิคส์ รถยนต์และตัวถังรถยนต์ น้ำมันดิบ แร่เหล็ก เม็ดพลาสติก ทองแดง เหล็กกล้า อลูมิเนียม เศษทองแดง เครื่องจักรสำหรับแปรรูปโลหะ น้ำมันพืช ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงเป็นต้น สำหรับการส่งออกในเดือนแรกของปี สินค้าอิเลคทรอนิคส์ยังเป็นสินค้าหลักที่จีนส่งออกโดยมีมูลค่าถึง 6.52 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตเพิ่มขึ้น 27 % คิดเป็นสัดส่วน 57.1% ของมูลค่าส่งออกรวมทั้งหมด การส่งออกสิ่งทอเพิ่มขึ้น 18.2 % เฟอร์นิเจอร์ 7.6% ของเล่น 5.9%กระเป๋าเดินทาง 4.5%รองเท้า 1.4 % แต่การส่งออกเสื้อผ้าเครื่องแต่งการลดลง 4.9%
ส่วนการค้าระหว่างประเทศไทยมีมูลค่า 3,691.744 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 89.8 % มูลค่าการส่งออกไปไทย 1,290.279 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 56.5% และนำเข้าจากไทยมีมูลค่า2,401.465 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 11 % ที่ผ่านมาสินค้าไทยที่จีนนำเข้าจำนวนมากคือ เครื่องอิเลคทรอนิคส์ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า ยางพารา อาหาร สิ่งทอ และข้าว ทิศทางและสถานการณ์ของสินค้าดังกล่าวในจีนมีดังนี้คือ
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมหลักของเกือบทุกมณฑลในจีน โดยเฉพาะมณฑลเจ้อเจียง และฝูเจี้ยน แต่เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตทางเศรษฐกิจทำให้ตัวเลขการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าของจีนลดลง อย่างไรก็ตาม การส่งออกเริ่มมีการฟื้นตัวขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังไม่เท่ากับปี 2551 แม้ว่าการส่งออกจะลดลง การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในจีนไม่ได้ชะลอตัวลง เนื่องจากเมื่อปีที่ผ่านมารัฐบาลจีนได้ออกนโยบายกระตุ้นการซื้อขายภายในประเทศ โดยได้ทุ่มเงินจำนวนมหาศาลให้กับโครงการ เครื่องใช้ไฟฟ้า มอเตอร์ไซค์ และรถยนต์สู่ชนบท ให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรในชนบทซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ๆ และตามด้วยโครงการเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่า รถเก่า แลกเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่และรถใหม่ กระทรวงพาณิชย์แห่งประเทศจีนได้รวบรวมสถิติการแลกเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ในพื้นที่ 9 เมืองสำคัญถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2552 พบว่าได้จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าไปแล้วทั้งสิ้น 3.6 ล้านเครื่อง รวมมูลค่า 14,090 ล้านหยวน และโครงการดังกล่าวยังจะทำต่อเนื่องจนถึงปี 2553 ซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในจีนยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่แลกใหม่ได้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าระดับบนถึงสูงเช่น ทีวีจอแบน ตู้เย็น 3 ประตูและตู้เย็นประตูบานคู่ เครื่องปรับอากาศประหยัดไฟเป็นต้น
นโยบายรับแลกเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่าในมณฑลฝูเจี้ยน ได้ส่งผลทำให้ยอดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า 7 ประเภทคือโทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ คอมพิวเตอร์ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ เติบโตอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือมีการจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าได้กว่า 800,000 เครื่อง รวมมูลค่ากว่า 1.67 พันล้านหยวน และในจำนวนตัวเลขดังกล่าวเป็นรถยนต์และมอเตอร์ไซค์จำนวน 1.58 แสนคัน รับแลกรถเก่าคืนได้กว่า 70,000 คัน เฉลี่ยรับแลก 600 คันต่อวัน
เดือนมกราคมที่ผ่านมาประเทศจีนมีการส่งออกสิ่งทอ (เส้นด้าย เส้นใยต่างๆ) ไปยังต่างประเทศคิดเป็นมูลค่า 5,581.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 18.2% แต่การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปและแอคเซสเซอรรี่มีมูลค่าลดลงเหลือ 9,986.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 4.9 % ผู้ที่อยู่ในวงการสิ่งทอและเสื้อผ้าของจีนคาดว่าในปี 2553 การส่งออกจะดีขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การส่งออกสิ่งทอและเสื้อผ้าจีนเริ่มดีขึ้นตั้งแต่เมื่อปลายปี 2552 โดยเฉพาะตลาดอเมริกาและยุโรป และนอกจากนั้นแล้วนักธุรกิจจีนยังหันมาให้ความสำคัญต่อการทำตลาดภายในประเทศมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากเล็งเห็นกำลังการบริโภคของคนจีนในประเทศ ซึ่งดูจากตัวเลขการค้าปลีกในปีที่ผ่านมามีมูลค่ารวมถึง 1.13 ล้านล้านหยวน เติบโตเพิ่มขึ้น 15.8 % และในจำนวนตัวเลขดังกล่าวการซื้อขายสินค้าประเภท เสื้อผ้า หมวก รองเท้า สิ่งทอ มีมูลค่าถึง 4.76 หมื่นล้านหยวน
มณฑลฟูเจี้ยนเป็นแหล่งผลิตเสื้อผ้าสิ่งทอที่สำคัญที่สุดของจีน และมีการนำเข้าเส้นใยสังเคราะห์จากประเทศไทย คาดว่าในปีนี้การนำเข้าสิ่งทอและเส้นใยสังเคราะห์จากไทยยังคงนำเข้าอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบริษัทต่างๆ ยังคงทำตลาดในประเทศมากขึ้นแล้ว การส่งออกเสื้อผ้าและสิ่งทอของมณฑลฟูเจี้ยนยังมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ดูจากตัวเลขการส่งออกเดือนมกราคมที่ผ่านมามีการส่งออกเสื้อผ้าและสิ่งทอรวมถึงเส้นใยมีมูลค่าถึง 960ล้านเหรียญสหรัฐฯ สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 10.7 % ตลาดที่สำคัญคือยุโรป อาเซี่ยน และอเมริกา แบ่งเป็นส่งออกไปตลาดยุโรป 290 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตเพิ่มขึ้น 19% ตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียน 110 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตเพิ่มขึ้น 1.6 เท่า และตลาดอเมริกา 800,00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตเพิ่มขึ้น 34.3% โดยการส่งออกไปยัง 3 ตลาดดังกล่าวคิดเป็น 49.9 % ของมูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสิ่งทอทั้งหมดของจีน
ปัจจุบันประเทศจีนเป็นประเทศที่ใช้ยางพารามากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก ถึงแม้ว่าระยะหลังจีนได้ส่งเสริมการเพาะปลูกยางพาราเพื่อใช้ในประเทศ แต่เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่จำกัด จีนจึงผลิตยางพาราได้เพียงปีละ 6 แสนตัน ที่เหลือ 70 % ต้องอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศ
เดือนมกราคม 2553 จีนนำเข้ายางธรรมชาติ รวมถึงน้ำยางถึง 170,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า421.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปริมาณเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 190.3% และมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 394.6% และยางสังเคราะห์ 127,129 ตัน มูลค่า299.526 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นปริมาณที่เพิ่มขึ้น 182.3 % และมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 194.3 %
เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในจีนพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนทำให้ประเทศจีนเป็นประเทศที่ผลิตรถยนต์ได้มากเป็นอันดับ 1 ของโลกแซงหน้าสหรัฐอเมริกาได้เมื่อปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ความต้องการนำเข้ายางพาราเพื่อนำมาผลิตยางรถยนต์ในจีนมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปีที่ผ่านมาประเทศจีนสามารถผลิตยางรถยนต์ได้มากถึง 654.64 ล้านเส้น คาดว่าในปี 2553 จะผลิตได้เกินกว่า 700 ล้านเส้น และเชื่อมั่นว่าภายในระยะเวลา 5 ปีอุตสาหกรรมการผลิตยางรถยนต์ในจีนจะเติบโต 10-15%อย่างต่อเนื่อง
ถึงแม้ว่าวันที่ 1 มกราคม 2553 จีนจะมีการปรับลดภาษีนำเข้ายางพาราลงตามข้อตงลงการค้า AFTA ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้ายางพาราลดลงแต่ผู้ประกอบธุรกิจด้านยางพารายังมีความหวังว่าจีนยกเลิกเก็บภาษีนำเข้ายางพารา ทั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนชาวจีนที่มีความประสงค์ไปขยายธุรกิจยางพาราในต่างประเทศ เช่น ปัจจุบันมีโรงงานผลิตยางรถยนต์จำนวนหลายราย ที่ไปปลูกยางพาราในต่างประเทศแล้วส่งกลับมายังประเทศจีน แต่เนื่องจากการนำเข้ายางพารามาจีนยังต้องเสียภาษีนำเข้าอยู่นั้น บริษัทเหล่านี้จึงยังไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากรัฐบาลจีนมากนัก
จากรายงานตัวเลขสถิติ ของศุลกากรจีน พบว่า ปี 2010 เดือนมกราคม ที่ผ่านมา จีน มีการส่งออกข้าว รวม 67,680 ตัน คิดเป็นมูลค่า 50.72 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ มีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา 52.8% ในขณะเดียวกันมีการนำเข้าข้าว ธัญพืชและแป้ง รวม 270,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 97.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา 146.3%
การนำเข้าข้าวของจีนมีช่องทางการนำเข้าหลายเส้นทาง ส่วนใหญ่จะนำเข้าทางเรือ และท่าเรือที่สำคัญในเขตนี้คือ ท่าเรือหนิงโป มณฑลเจ้อเจียง โดยที่มณฑลเจ้อเจียง เป็นมณฑลหนึ่งที่มีการนำเข้าข้าวจากไทยซึ่งมีปริมาณการนำเข้ากว่า 2,000 ตันต่อปี การนำเข้าข้าวส่วนใหญ่ เป็นข้าวหอมมะลิ ข้าวขาว 100% ชั้น 2 และข้าวเหนียว เป็นต้น นำเข้าโดยซัพพลายเออร์รายใหญ่มาทาง ท่าเรือหนิงโป ผ่านไปทางนครหางโจวที่ท่าเรือเป่ยหลุนเพื่อทำการตรวจสอบและกักกัน ซึ่ง CIQ จะทำการตรวจสอบคุณภาพสินค้า จัดเก็บตัวอย่าง ทดสอบในห้องปฏิบัติการ และอนุมัติรายการ เพื่อออกใบรับรองการกักกันผ่านการตรวจสอบ และดำเนินการติดตามผู้รับเพื่อลงบันทึกการตรวจสอบ ก่อนที่มีการจัดเก็บนำเบิกจ่ายเพื่อจำหน่ายต่อไป
ราคาข้าวในมณฑลเจ้อเจียง ราคาข้าวผลิตในจีน ราคาขายปลีก เฉลี่ยอยู่ที่ 3.7 หยวน/กิโลกรัม ราคาขายส่ง เฉลี่ยอยู่ที่ 3.4 หยวน/กิโลกรัม สำหรับเมืองเซี่ยเหมิน ราคาข้าวผลิตในจีน ราคาขายปลีก เฉลี่ยอยู่ที่ 3.04 หยวน/กิโลกรัม ราคาขายส่ง เฉลี่ยอยู่ที่ 2.9 หยวน/กิโลกรัม ในขณะที่ข้าวหอมมะลิของไทย ที่เป็นข้าวหอมมะลิไทยแท้ จะมีราคาค่อนข้างสูง ราคาขายส่งเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 8-10 หยวนต่อกิโลกรัม ราคาขายปลีก เฉลี่ยอยู่ที่ 12 หยวน/กิโลกรัม ข้าวผสม ราคาขายปลีก เฉลี่ยอยู่ที่ 6 -7 หยวน/กิโลกรัม
เมื่อเทียบข้าวไทยกับข้าวจีนแล้ว ข้าวไทยมีราคาค่อนข้างสูงถึงแม้ว่าข้าวหอมมะลิไทยจะได้ชื่อว่า เป็นข้าวที่คนจีนนิยมบริโภค เนื่องจากข้าวไทยมีกลิ่นหอม แต่ในปัจจุบัน ข้าวไทยมีราคาสูงขึ้นและผู้บริโภค ไม่มีความมั่นใจในคุณภาพของข้าวหอมมะลิไทย เพราะมีการปลอมปนข้าวในจีน หลังการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนจีน เมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ข้าวในโควต้าภาษีนำเข้าลดเหลือ 0 % ไม่ได้มีผลกระทบมากนัก เนื่องจากที่ผ่านมา การนำเข้าข้าวในโควต้า เก็บภาษีเพียง 1 % จึงเป็นเพียงการลดต้นทุนให้กับผู้นำเข้าเท่านั้น ในปัจจุบันรัฐบาลจีนให้การสนับสนุนเรื่องการตัดต่อทางพันธุ์กรรมจึงเป็นไปได้ว่า ในอนาคตข้าวที่ผลิตในจีนที่พัฒนาสายพันธุ์จะเป็นที่ยอมรับและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในประเทศ ดังนั้นเพื่อเป็นกระตุ้นการบริโภคข้าวหอมมะลิไทย ควรนำจุดเด่นในแง่คุณภาพของข้าวหอมมะลิไทยที่แท้จริง มีการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค โดยมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าข้าวหอมมะลิไทยจะมีราคาค่อนข้างสูงแต่เมื่อเทียบกับคุณภาพแล้ว เชื่อได้ว่าผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง จะบริโภคมากขึ้นแน่นอน
จากรายงานตัวเลขสถิติ ของศุลกากรจีน พบว่า เดือนมกราคม ที่ผ่านมา จีนมี การนำเข้าผลไม้สด แปรรูป คิดเป็นมูลค่าการนำเข้า 191.55 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นในช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา 29.5 % ในปี 2009 เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยนมีการนำเข้าสินค้าอาหาร ประเภทผลไม้สด แปรรูป จากไทย คิดเป็นมูลค่าการนำเข้า 3.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการเติบโตสูงกว่าปีที่ผ่านมา 190.98% และการส่งออกสินค้าอาหาร คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 20.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการเติบโตสูงกว่าปีที่ผ่านมา 473.68 % จากสถิติการส่งออก จะเห็นได้ว่า จีนมีความตื่นตัวมากในเรื่องของการส่งออก และให้ความสนใจในเรื่องของการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าในการส่งออก เนื่องมาจากที่ผ่านมา จีนในฐานะที่เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก มักจะประสบปัญหาในเรื่องของการพบสารปนเปื้อนในอาหาร ไม่ว่าจะเป็นสารตกค้างในเกี้ยวซ่า หรือแม้กระทั่งพบสารปนเปื้อนในนมทารก ดังนั้น รัฐบาลจีนจึงประกาศใช้กฎหมาย Food Satety Law เพื่อควบคุมดูแลการออกใบอนุญาต การจดทะเบียน และการกำหนดมาตรฐานอาหารตั้งแต่การผลิตจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค
จากกฎหมายดังกล่าว รัฐบาลมณฑลฝูเจี้ยน ได้มีนโยบายตรวจสอบและกักกัน เพื่อควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าอาหารและสินค้าเกษตร ในการส่งออก โดยมีการก่อสร้างโซนสาธิตคุณภาพอาหารและความปลอดภัย เพื่อเสริมสร้างแหล่งอาหารและสินค้าเกษตร โดยเริ่มจาก ปลา, สัตว์ปีก ,ชา เป็นต้น โดยมีการก่อสร้างโซนสาธิตคุณภาพอาหารและความปลอดภัย มีโครงการริเริ่มพื้นที่ควบคุมความปลอดภัยด้านอาหาร 21 แห่ง ครอบคลุม 9 เมืองในมณฑลฝูเจี้ยน และมีการจัดตั้ง ที่จัดตั้งขึ้น “หน่วยงานตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ “ ในรัฐบาลท้องถิ่น มีวิธีการจัดการทั้งภูมิภาคในรูปแบบเดียวกัน โดยจัดทำเป็นคู่มือใช้ในการปฎิบัติเพื่อตรวจสอบและกักกัน สินค้าอย่างเป็นระบบ พร้อมกันนั้นได้มีการนำระบบ GAP (Good Agricultural Practice) มาใช้ ปัจจุบันมีพืชจำนวน 200 พันธุ์ ที่อยู่ในระบบ GAP มี 25 บริษัทที่ได้รับใบรับรองแล้วกว่า 50 พันธุ์ และมีการสร้างระบบรักษามาตรฐานความปลอดภัย สินค้าเกษตรกรรมในเขตฉางเลอ ซานหมิง และพื้นที่โดยรอบ ได้พัฒนาระบบคุณภาพและความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อการส่งออก โดยใช้ระบบ GAP(Good Agricultural Pactice)+GSP (Generalised System of Preferences)+HACCP (Hazard Analysis Critical control Point)
GAP คือ ระบบการผลิตที่ถูกต้องในฟาร์ม โดยพิจารณาตั้งแต่พื้นที่การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ มีลักษณะตรงตามความต้องการ และมีความปลอดภัยต่อการบริโภค
GSP คือ ระบบสิทธิพิเศษทางศุลกากรเป็นการทั่วไปที่ประเทศพัฒนาแล้วให้แก่สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศกำลังพัฒนา โดยการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีนำเข้าแก่สินค้าในข่ายที่ได้รับสิทธิ
จากมาตรการดังกล่าว สามารถกล่าวได้ว่า จีนจะกลายเป็นคู่แข่งสำคัญในการส่งออกสินค้าอาหารที่สำคัญของไทยไปยังตลาดสหรัฐ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นเป็นต้น ดังนั้น ประเทศไทย ควรมีการตรวจสอบเพื่อสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานต่อไป
ประเทศจีนเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ในการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของโลก มีส่วนแบ่งการตลาดในตลาดโลกมากกว่า 15 % ในปี 2009 จีนมีมูลค่าการบริโภคประเภทเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ สูงถึง 212.70 พันล้านหยวน มีอัตราการเติบโต 15.8 % เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน เป็นต้นไป ทุก ๆเดือนจะมีอัตราการเติบโต 20% ขึ้นไป
จากสถิติ ปี 2009 การเติบโตของธุรกิจประเภทอิเล็กทรอนิกส์ จะสูงขึ้น 5.3% เมื่อเทียบกับการเจริญเติบโตของปีที่แล้ว จะลดลง 7 % โดยมูลค่าการขายเดือนพ.ย. ที่ผ่านมายอดขายลดลง 1% กำไรลดลง 3.4 % ตัวเลขขาดทุนอยู่ที่ 3.82 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการนำเข้าส่งออกของธุรกิจสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ที่ 77.19 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยลดลงจากปีที่ผ่านมา 12.8 %
สินค้าที่เซี่ยเหมินนำเข้ามาจากเมืองไทยสิบรายการแรกปี 2009 ได้แก่ อุปกรณ์ชิ้นส่วนอะไหล่อิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ มีมูลค่าการนำเข้า 96. 85 ล้านหยวน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 23.05% และอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย มูลค่านำเข้า 51.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมา 213.87%
ในปี 2009 รัฐบาลได้นำมาตรการ และนโยบายในการส่งเสริมเพื่อกระตุ้นความต้องการซื้อภายในประเทศ โดยนำสินค้า 3G และ TD รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยมาตรการใหม่นี้เริ่มใช้มาตั้งแต่ วันที่ 1 ก.พ. 2009 เป็นการนำของเก่ามาแลกของใหม่ เป็นต้น สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน รัฐบาลได้ส่งเสริมโดยการออกสินค้าให้กับคนชนบท โดยให้เงินอุดหนุน 13 % ของการซื้อสินค้า และในปี 2010 จะมีการเพิ่มราคาเพดานมาตรฐานสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านให้สูงขึ้นรวมถึง ผลิตภัณฑ์ คอมพิวเตอร์ ให้สูงถึง 5,000 หยวน ในเดือน มิ.ย. 2009 เป็นต้นมาที่มณฑลเจ้อเจียง หางโจวและเมืองต่างๆ ใน 9 มณฑล มีโครงการนำร่อง “เก่าแลกใหม่” โดยจะเป็นสินค้าประเภทคอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และได้รับการสนับสนุนรัฐบาลอีก 10 %
จากสถิติการส่งออกโดยรวม โทรศัพท์มือถือ Gartner มีมูลค่าสูงขึ้น 12 % ไมโครคอมพิวเตอร์ เพิ่มขึ้น 12% SIA แผงวรจรไฟฟ้า คาดว่าจะมีการเติบโตกว่า 10% ในปี 2010 เป็นปีสำหรับธุรกิจโดยรวม 3G เป็นผู้ให้บริการหลัก ซึ่งจะลงทุนในตลาด และการได้รับการอุดหนุน โดยสิ้นปีนี้คาดว่าจะมีผู้ใช้โทรศัพท์เพิ่มขึ้น 100 ล้าน และคาดว่าจะมีความต้องการภายในประเทศเพิ่มขึ้น 2.50 ล้านคน และจะทำให้เกิดการพัฒนาโดยรวมของสถานการณ์ด้านสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไปในทิศทางที่ดีขึ้น
อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ พลาสติกของจีนได้ให้ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการใช้พลาสติก จึงได้มีการปรับปรุงมาตรฐานการผลิต เพื่อ "มลพิษสีขาว" อย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลจีนได้ใช้มาตรการ "ข้อจำกัดในการผลิตและการใช้พลาสติก" มีมาตรฐานบังคับใช้แห่งชาติ ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2008 มีการตรวจสอบถุงชอปปิ้งพลาสติกที่ไม่มีมาตรฐานจะถูกห้ามผลิต ขายและใช้ในห้างสรรพสินค้า การใช้ถุงพลาสติกสำหรับบรรจุอาหาร กล่องอาหารพลาสติก ถาด และ ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ จะต้องเข้าระบบดำเนินการตามระเบียบคุณภาพและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร จะต้องติดเครื่องหมาย (QS) ข้อจำกัดในการผลิตและการใช้พลาสติกกับการนำระบบ QS เข้ามาใช้ในการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติก ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณการใช้ถุงพลาสติก ลดลง 80% โดย 60 %เป็นการลดลงของการใช้พลาสติกในซุปเปอร์มาเก็ต
หลังจากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2009 กระทรวงพาณิชย์และศุลกากรจีน ได้ยกเลิกข้อจำกัดบางส่วนของการแปรรูปเพื่อการส่งออกของสินค้าพลาสติกและเม็ดพลาสติกเพื่อการส่งออก นอกจากนั้นรัฐบาลยังได้มีมาตรการ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าที่ขายในประเทศ และสินค้าที่นำเข้ามาประกอบในประเทศ หรือแก้ไขเพื่อการส่งออก จะมีอัตราการเก็บภาษีที่ไม่เท่ากัน โดยมีอัตราภาษีตั้งแต่ 0% ,13% และ 17% ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า และอัตราการเพิ่มภาษีทางด้านการส่งออก มีนโยบายการคืนภาษี เพื่อรักษาแนวโน้มการส่งออก โดยสามารถขอคืนภาษีได้สำหรับสินค้าบางตัว ได้แก่ HS.Code3904610000(Polytetrafluoroethylene) HS.Code3904690000(Other Fluoro-polymers)ขอคืนภาษีได้ อัตรา 13% และ HS.Code3920610000-3922100000 (made of polycarbonates) HS.Code39209910 (made of potytetrafluoroethylene) ขอคืนภาษีได้อัตรา 11 % เป็นต้น
ตามสถิติของศุลกากรจีน ในเดือนธันวาคม มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก จำนวน 23.81 ล้านตัน เป็นมูลค่าการนำเข้า 347.95 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ โดยมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.2% และมีการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกจำนวน 6,558,937 ตัน เป็นมูลค่าการส่งออก 1.44 พันล้านเหรียญ สหรัฐฯ โดยมีมูลค่าการส่งออกลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 10.1%
49.611 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีอัตราการนำ เข้าเพิ่มขึ้นในช่วงเดียวกันของปีก่อน 16.43% แม้ว่าอุตสาหกรรมพลาสติกของจีน จะมีแรงกดดันเพิ่มขึ้นจากรัฐบาลเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต แต่เนื่องจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและความต้องการของผู้บริโภคที่ยกระดับสูงขึ้นทำให้มีการคิดค้นวัตถุดิบทดแทนเม็ดพลาสติกที่ได้จากน้ำมัน เช่น ถ่านหิน แอลกอฮอล์ หรือจากธัญพืช ดังนั้น อุตสาหกรรมพลาสติกในจีนยังมีโอกาสเติบโตได้อย่างมาก
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน
ที่มา: http://www.depthai.go.th