1. สินค้า : ข้าว
พิกัดศุลกากร (HS) : 1006
2.1. ภาวะการค้า มูลค่าการส่งออกข้าวไทยไปกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง (14 ประเทศ) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น (ยกเว้นปี 2552 ที่ประสบวิกฤตการเงินทั่วโลก) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2554 ที่ส่งออก 8 เดือนแรกมูลค่า 4,728.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สูงกว่าการส่งออกข้าวไปตะวันกลางทั้งสิ้นเมื่อปี 2553 หรือมูลค่า 3,086.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นในเชิงมูลค่าร้อยละ 53.2 (YoY)
อิรักเป็นตลาดรองรับข้าวของไทยในตะวันออกกลางที่มีมูลค่าสูงสุดติดต่อมาหลายปี ส่วนประเทศอื่นๆมีมูลค่าเพิ่มขึ้นลดลงไม่แน่นอน อาทิ อิหร่าน ที่มีนำเข้าในช่วงเดือนม.ค.-ส.ค. 2554 มูลค่า 149.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราขยายตัวร้อยละ 1,812.8 (YoY)
โอมานเป็นอีกตลาดที่นำเข้าข้าวจากไทยขยายตัวขึ้นร้อยละ 276.5 ในช่วง 8 เดือนแรกปี 2554
ประเทศที่นำเข้าข้าวจากไทยลดลงในปี 2554 คือ เยเมน (-12.3%) ซีเรีย (-76.2%) จอร์แดน (-35.4%) บาห์เรน (-15.9%) ซึ่งประเทศดังกล่าวล้วนแต่มีปัญหาความไม่สงบภายในประเทศ และคาดว่าภาพรวมของการนำเข้าสินค้าของประเทศเหล่านี้จะลดลงเช่นกัน
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นตลาดสำคัญที่นำเข้าข้าวไทยมูลค่าติดอันดับ Top 5 ในตะวันออกกลาง ข้าวที่นำเข้าส่วนใหญ่เพื่อใช้สำหรับส่งออกต่อ (Re-export) เช่นข้าวขาว 5% ข้าวนึ่ง สำหรับข้าวหอมมะลิส่วนใหญ่สำหรับเพื่อใช้บริโภคในประเทศซึ่งมีผู้ซื้อเป็นชาวฟิลิปปินส์ จีน บางส่วนสำหรับส่งออกต่อไปอิหร่าน ซึ่งรู้จักข้าวหอมมะลิไทยดีในระดับหนึ่ง
มูลค่า มูลค่าขยายตัว +-% ปี 2551 94.0 ล้านเหรียญสหรัฐ +133.9% ปี 2552 62.6 ล้านเหรียญสหรัฐ - 33.5% ปี 2553 59.7 ล้านเหรียญสหรัฐ -4.6% ปี 2554 (มค.-สค.) 60.0 ล้านเหรียญสหรัฐ 54.2% (YoY) 4. การค้าข้าวของยูเออี4.1 การนำเข้าข้าว
มูลค่า ปริมาณ มูลค่าขยายตัว +-% ปี 2551 1,517 ล้านเหรียญสหรัฐ 1.3 ล้านตัน +121.6% ปี 2552 1,247 ล้านเหรียญสหรัฐ 1.2 ล้านตัน -17.8% ปี 2553 1.33 ล้านเหรียญสหรัฐ 1.5 ล้านตัน +7.3%นำเข้าจากประเทศ : อินเดีย 72% ปากีสถาน 22% ไทย 5.5% สหรัฐฯ 0.7% อียิปต์ ศรีลังกา 0.3% เวียดนาม 0.2% จีน บราซิล อุรุกวัย 0.2% ตามลำดับ
ยูเออีมีนโยบายลดการพึ่งพาการนำเข้าข้าวจากอินเดียและปากีสถาน จากสถิติการนำเข้าปี 2005-2009 ปรากฏสัดส่วนตลาดข้าจาก 2 ประเทศดังกล่าวรวมกัน 94% โดยจะเพิ่มสัดส่วนการนำเข้าจากไทยให้มากขึ้น แต่ทั้งนี้ข้าวที่ต้องการนำเข้าเป็นข้าวบัสมาติ
4.2 การส่งออกต่อ(Re-export) : ปี 2010 ยูเออีส่งออกข้าวมูลค่า 520.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปริมาณ 567,465 ตัน ตลาดรองรับข้าวที่ยูเออีส่งออกต่อที่สำคัญ ได้แก่ อิหร่าน สิงคโปร์ สหรัฐฯ ซาอุดิอาระเบีย อิรัก แทนซาเนีย โซมาเลีย เคนย่า มาเลเซีย คูเวต และบาห์เรน
Invoice, Certificate of Origin ประทับ ตรารับรองจากหอการค้าไทย และ Legalize จากสถานทูตประเทศ สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ ในประเทศไทย Bill of Lading และ Packing List
สินค้าข้าวต้องมีใบรับรองคุณภาพหรือสุขลักษณะ Health หรือ Sanitary Certificate มีป้ายฉลากระบุรายละเอียด ชื่อสินค้า ขนาดน้ำหนัก ประเทศต้นทางผู้ผลิตเดือน/ปีที่ผลิต และหมดอายุ พืชต้องมีใบรับรองปลอดโรค Phytosanitary Certificate ประกอบสำหรับวันหมดอายุข้าวสาร ที่จะต้องพิมพ์ บนถุงข้าว มีระยะเวลา 2 ปี และ Barcode หากเป็นสินค้ายี่ห้อของลูกค้าๆจะส่งบาร์โค้คให้ผู้ผลิต
จากการนำเข้าข้าวของยูเออีแต่ละปีที่ผ่านมา สามารถแบ่งชนิดของข้าวตามสัดส่วน พอสรุปได้ ดังนี้
1. ข้าวบัสมาติ (นำเข้าสัดส่วน ร้อยละ 70) เป็นการนำเข้าจากอินเดีย และปากีสถาน และเป็นข้าวที่นิยมบริโภคในประเทศสูงสุด หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของการนำเข้าข้าวชนิดนี้ สัดส่วนอีกร้อยละ 70 จะใช้เพื่อส่งออกต่อ (re-export) ไปประเทศอิหร่าน อิรัก กลุ่มประเทศ CIS ฯลฯ
2. ข้าวขาว (White rice 5% broken) (นำเข้าสัดส่วน ร้อยละ 15) เป็นการนำเข้าจากไทย และเวียดนาม ข้าวประเภทนี้ยังไม่เป็นที่นิยมในตลาดมากนัก เนื่องจากมีคุณสมบัติที่แข็งกว่าและมีเมล็ดสั้นกว่าข้าวบัสมาติ แม้ว่าราคาจำหน่ายปลีกต่อหน่วยจะต่ำกว่าข้าวบัสมาติ ซื้อหาบริโภคโดยคนงานและผู้มีรายได้น้อยในประเทศ การนำเข้าส่วนใหญ่เพื่อการส่งออกต่อ (re-export) ไปยังอิหร่าน อิรัก และเยเมน
3. ข้าวหอมมะลิ (นำเข้าสัดส่วน ร้อยละ 10) นำเข้าจากประเทศไทย เพื่อบริโภคในประเทศ สูงถึงร้อยละ 60 ของการนำเข้า ข้าวหอมมะลิจากไทยมีราคาอยู่ในระดับปานกลางและเป็นที่นิยมบริโภคของชาวเอเชีย โดยเฉพาะชาวฟิลิปปินส์ที่อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอาหรับอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนอีกร้อยละ 40 เป็นการนำเข้าเพื่อส่งออกต่อ (re-export) ไปประเทศอิหร่าน
4. ข้าวนึ่ง (parboiled rice) จากประเทศเวียดนาม ปากีสถาน ไทยและอินเดีย รวมทั้งข้าวเมล็ดสั้นที่นำเข้าจากประเทศอียิปต์ และสหรัฐฯ (นำเข้าสัดส่วน ร้อยละ 5) ข้าวเมล็ดสั้นกลุ่มนี้นิยมบริโภคโดยชาวอียิปต์และชาวอาหรับอื่นๆ อาทิ เลบานอน ซีเรียและปาเลสไตน์ ที่อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
1. ดูไบมีตลาดส่งออกต่อที่สำคัญคืออิหร่านและอิรัค ซึ่งเป็นชาวตะวันออกกลางที่นิยมบริโภคข้าวจากไทยอย่างสม่ำเสมอ โดยมากมักจะนำเข้าข้าวชนิด 5% และนำเข้าครั้งละเป็นจำนวนมาก ผู้นำเข้าจะขายส่งให้กับผู้ค้า ที่นำเข้าไปยังตลาดอิหร่านเพื่อจำหน่ายต่อไป โดยมีผู้นำเข้าหลักๆรายใหญ่อยู่ประมาณ 10 ราย นอกจากนั้นมีผู้นำเข้าจำนวนไม่มากนักที่นำเข้าไม่สม่ำเสมออีกประมาณ 30 ราย
2. ในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมาข้าวไทยที่ผ่านตลาดดูไบมีปริมาณลดลง สาเหตุหลักคือประเทศอิหร่านตลาดรองรับข้าวของยูเออี ได้ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าข้าวจากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 45 เพื่อปกป้องข้าวในประเทศอิหร่าน และเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2553 รัฐบาลอิหร่านประกาศห้ามนำเข้าอาหาร 20 ชนิด รวมทั้งข้าวส่งผลให้การนำเข้าข้าวของยูเออีลดลง
3. ตลาดส่งออกต่อ เช่น อิรักคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีพ่อค้าอิรักหลายรายที่รวบรวมส่งสินค้าอุปโภคบริโภครวมทั้งข้าวและน้ำตาลไปอิรักมีบริษัทอยู่ในดูไบหลายบริษัท ในขณะที่ตลาดรองรับสินค้าส่งออกต่อของยูเออีประเทศอื่นๆ เช่น ลิเบีย เยเมน และบาห์เรน จะไม่มีการขยายตัวเท่าใดนัก
4. ข้าวหอมมะลิที่นิยมใช้บริโภคในประเทศส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติที่มีจำนวนมาก เช่น ชาวฟิลิปปินส์ และผู้บริโภคกลุ่มใหม่คือชาวจีนที่เข้าไปทำงานอยู่ในยูเออีเป็นจำนวนมากขึ้นประมาณ 120,000 คน
5. ข้าวหอมมะลิไทยมีจำหน่ายหลายยี่ห้อมากขึ้น แต่จากการสำรวจตลาดพบว่าเป็นข้าวปลอมปนเกือบทั้งสิ้น อาทิ การใช้ข้าวหอมมะลิไทยจำนวนเล็กน้อยปนข้าวขาว 5% ข้าวปทุมปนข้าวขาว ผู้นำเข้าบางบริษัทใช้ข้าวเวียดนามบนบรรจุภัณฑ์ระบุว่า Thai Jamine Rice/ Made in Thailand
6. ภาวะที่น่าจับตามองของการนำเข้าข้าวและอาหารของประเทศกลุ่มอ่าวอาหรับ คือความพยายามที่จะลดการพึงพิงการนำเข้า โดยการเข้าไปเช่าพื้นที่เพาะปลูกในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ พม่า เวียดนาม กัมพูชา และฟิลิปปินส์ โดยให้เงินลงทุนและเงินสนับสนุนเพื่อการเพาะปลูกประเทศละหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งหากเมื่อประเทศต่างๆที่ได้ไปลงทุนเพาะปลูกไว้สามารถส่งผลผลิตกลับคืนประเทศนายทุน จะกระทบการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย
7. รัฐบาลอินเดียประกาศยกเลิกระเบียบห้ามการส่งออกข้าวเมื่อเดือนกันยายน 2554 จะมีผลอย่างมากสำหรับข้าวที่นำเข้ามาในยูเออีเพื่อส่งออกต่อไปตลาดแอฟริกา กอร์ปกับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 ประเทศไทยจะเริ่มเดินหน้าโครงการจำนำข้าวในราคาสูง จึงเป็นโอกาสของข้าวอินเดีย (Non basmati rice) ที่จะช่วงชิงตลาดที่เคยเสียให้ประเทศไทยกลับคืน
8. เวียดนามสามารถพัฒนาการผลิตข้าว ซึ่งหากในอนาคตเวียดนามสามารถผลิตข้าวหอมคุณภาพดีและข้าวนี่งได้ เวียดนามก็จะมาเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทยในตลาดนี้ด้วย ตามด้วยกัมพูชาที่กำลังเร่งส่งออกข้าวหอมมะลิเช่นกัน นอกจากนี้พม่าที่ในอดีตเคยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกมาแล้ว เป็นคู่แข่งที่ควรจับตามอง และในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาสามารถส่งออกข้าวได้ถึง 1 ล้านตัน ทำให้พม่าเริ่มตื่นตัวในการสนับสนุนการส่งออกดังกล่าว ดังนั้นไทยจะต้องแก้ปัญหาราคาข้าว วิธีลดต้นทุน และเพิ่มคุณภาพข้าวหอมมะลิ เพื่อรักษาตลาดที่มีอยู่ ที่สำคัญประเทศยูเออีเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าและบริการ จึงให้ความสำคัญด้านราคาสินค้า
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ
ที่มา: http://www.depthai.go.th