แนวโน้มตลาดผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์พลาสติกในสหรัฐอเมริกา

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 29, 2012 14:22 —กรมส่งเสริมการส่งออก

แนวโน้มตลาดผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์พลาสติกในสหรัฐอเมริกา

ปัจจุบัน กระแสด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิ่งแวดล้อม กฎหมายและระเบียบท้องถิ่นควบคุมในเรื่องบรรจุภัณฑ์พลาสติก และต้นทุนวัตถุดิบหรือเม็ดพลาสติกที่เพิ่มสูงขึ้น มีผลผลกระทบทางลบต่ออุตสาหกรรมการผลิตบรรจุภัณฑ์ เช่น ขวดพลาสติก ถุงพลาสติก ฟิล์มพลาสติกห่อของ ซึ่งอุตสาหกรรมการผลิตบรรจุภัณฑ์ของสหรัฐฯ ได้ต่อสู้กับกระแสดังกล่าว และต้องปรับกลยุทธ์การผลิตและการตลาดมาโดยตลอด เพื่อการยืนหยัดของ อุตสาหกรรม และเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดของบรรจุภัณฑ์พลาสติก

นักวิเคราะห์ตลาดบรรจุภัณฑ์ของสหรัฐฯ ได้ชี้แนะว่า แนวโน้มของผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์พลาสติกยุคใหม่ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงแยกเป็น 3 รูปแบบคือ (1) บรรจุภัณฑ์จะมีน้ำหนักเบา )Lightweight ((2) การใช้พลาสติกชีวภาพ (Bio based Polymer) และ (3) ใช้วัตถุดิบที่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ (Renewable Content) หรือ การใช้วัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก(Recycled Content)

1. น้ำหนักเบา (Lightweight) ผู้ผลิตและผู้ใช้บรรจุภัณฑ์ในสหรัฐฯ มีความต้องการลดน้ำหนักของขวดพสาสติก โดยเฉพาะขวดใส่น้ำดื่ม เนื่องจาก ต้นทุนวัตถุดิบหรือเม็ดพลาสติกมีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และราคาน้ำดื่มขวดมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น การลดปริมาณการใช้พลาสติกในการผลิต จะเป็นผลผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์สามารถรักษาระดับราคา และไม่ส่งผลกระทบต่อราคาขายของน้ำดื่มขวด ในขณะเดียวกัน การคิดค้นและพัฒนาเม็ดพลาสติกจะดำเนินต่อไปไม่หยุดยั้ง เพื่อนำไปผลิตบรรจุภัณฑ์ให้มีน้ำหนักเบาลง

2. การใช้วัตถุดิบที่เป็นมวลชีวภาพ (Bio based Polymer/Bio Plastic) ปัจจุบัน บริษัทโค๊กและ บริษัทเป๊ปซี่ เป็นผู้นำในการใช้ขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่ม หรือที่เรียกกันว่าขวด PET (Polyethylene Terephthalate) ซึ่งเป็นผลพวงจากปิโตรเลียม ปัจจุบัน บริษัทโค๊ก และ บริษัทเป๊ปซี่ ตระหนักถึงปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของโลก จึงเริ่มหันไปใช้พลาสติกชีวภาพ (Bio Plactic) ผลิตขวดเครื่องดื่ม แทนการพลาสติกจากปิโตรเลียม (PET) ปัจจุบัน การใช้พลาสติกชีวภาพยังอยู่ในระดับต่ำ แต่จะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับในอนาคต โดยบริษัทเป๊ปซี่และคาดว่าจะเพิ่มการใช้ภาพติกชีวภาพเป็นร้อยละ 50 ภายในปี พ.ศ. 2561 และบริษัทโค้กคาดว่า จะใช้พลาสติกชีวภาพ 100% ภายในปี 2563ซึ่งการดำเนินการของบริษัทโค๊กและบริษัทเป๊ปซี่ จะส่งผลกระทบต่อขวดน้ำอัดลมแบรนด์อื่นๆ ดำเนินรอยตาม

3. การใช้วัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก (Recycled Content) นอกเหนือไปจากการใช้วัสดุชีวภาพมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกแล้ว การนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้อีก (Recycled Content) เป็นส่วนผสมในการผลิตบรรจุภัณฑ์จะขยายตัวเพิ่มขึ้น และผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ยินดีที่จะแจ้งให้ผู้ใช้/ผู้บริโภคทราบว่าบรรจุภัณฑ์ (ขวด/ถุงลพาสติก) มีส่วนผสมวัตถุดิบที่นำกลับมาใช้อีก ซึ่งเป็นแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบและส่งเสริมสภาพแวดล้อม ปัจจุบัน ความก้าวหน้าเทคโนโลยีด้าน Sorting, Shredding และ Cleaning ช่วยให้กระบวนการปรับสภาพวัสดุใช้แล้วให้คืนชีพ ได้ช่วยให้มีวัตถุดิบเพิ่มขึ้น Recycled Content เพิ่มมากขึ้นในการนำไปเป็นส่วนผสมผลิตถุงพลาสติกหรือขวดพลาสติก

ในปัจจุบัน รัฐบาลสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญบัติ Federal Farm Bill — Title 9 ว่าด้วยการใช้พลังงาน บังคับให้หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ จะต้องวางแผนการจัดซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยวัตถุดิบชีวภาพ )Bio Base Materials) ให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่จะส่งผลดีต่อการเพิ่มความต้องการบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพถึงแม้ว่าอตุสาหกรรมพลาสติกจะนำเสนอนวัตกรรมใหม่ด้านวัตถุดิบในการผลิตบรรจุภัณฑ์อย่างไรก็ตาม กลุ่มองค์กรสนับสนุนสิ่งแวดล้อมยังคงเดินหน้าทำหน้าที่ต่อต้อนการใช้ถุงลาสติก/ขวดพลาสติก และ รัฐบาลท้องถิ่นในสหรัฐฯ หลายแห่งออกกฎหมายบังคับห้ามใช้ถุงพลาสติกหรือขวดน้ำดื่ม เช่น เมืองซีแอตเติ้ล นครซานฟรานซิสโก กรุงวอชิงตัน ดีซี ห้ามใช้ถุงพลาสติก (T-shrit Bag) อุทยานแห่งชาติ Grnad Canyon และมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่ง ห้ามน้ำขวดน้ำดื่ม หรือเทศบาลท้องถิ่นบางแห่งออกกฎหมายเรียกเก็บภาษีการค้าจากการใช้ถุงพลาสติก (Bag Tax) เป็นต้น และกระแสการดำเนินการนี้ จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้และการการผลิตขวดพลาสติกและถุงพลาสติก

ข้อคิดเห็นและเสนอแนะ

การให้ความสนใจต่อน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์พลาสติก และการลดการใช้พลาสติกจากปิโตรเลียมและหันไปใช้พลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกับการผลิตบรรจุภัณฑ์ ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ยังเป็นการสร้างโอกาสในการดึงดูดลูกค้ากลุ่มใหม่ให้หันมาซื้อสินค้า และมีส่วนช่วยในการเพิ่มมูลค่าการส่งออก ทั้งในทางตรงและทางอ้อม

ประเทศไทย มีความอุดมสมบูรณ์ด้านชีวมวล (Biomass) และมีวัตถุดิบที่มีศักยภาพ ได้แก่ อ้อย ข้าวโพด และ มันสำปะหลัง ซึ่งเป็นปัจจัยนำไปพัฒนาและผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ภาครัฐ ควรให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพบรรจุภัณฑ์พลาสติก ให้เป็นที่ยอมรับ และสนองความต้องการของตลาดได้ ในระยะยาว

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก

กุมภาพันธ์ 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ