รายงานความเคลื่อนไหวสินค้าเกษตรของอินเดีย ระหว่างวันที่ 26 - 31 พฤษภาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 11, 2012 15:45 —กรมส่งเสริมการส่งออก

รายงานความเคลื่อนไหวสินค้าเกษตรของอินเดีย ระหว่างวันที่ 26 - 31 พฤษภาคม 2555

ราคาข้าวสาลีลดลงต่ำกว่าระดับราคาอุดหนุนขั้นต่ำของรัฐบาล

ราคาข้าวสาลีมีราคาลดลงต่ำกว่าระดับราคาอุดหนุนขั้นต่ำของรัฐบาล (minimum support price level) (23.26 เหรียญสหรัฐฯ ต่อสินค้า 100 กิโลกรัม) โดยลงมาออยู่ที่ 21.72 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ 100 กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าราคาจะมีการปรับตัวลงมาจนต่ำกว่าระดับราคาอุดหนุนขั้นต่ำของรัฐบาล แล้วก็ตาม ความต้องการสินค้าข้าวสาลียังคงไม่ได้มีมากขึ้นเลย สาเหตุเกิดจากการขาดการจัดสรรจากรัฐบาลและความต้องการข้าวสาลีโดยโรงงานผลิตแป้งที่ลดลงในปัจจุบัน ทำให้ราคาข้าวสาลีปรับตัวลงมา ถึงแม้ว่าราคาจะอยู่ที่ 1,200 รูปีหรือ 21.72 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ 100 กิโลกรัม ซึ่งผู้ผลิตและผู้จำหน่ายข้าวสาลีพร้อมจะขายที่ราคานี้แล้วก็ตาม สินค้าก็ยังคงไม่มีการระบายออกไปเนื่องจากไม่มีอุปทานจากผู้บริโภคเลย

โดยปัญหานี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554 ทำให้ผู้ผลิตเริ่มประสบปัญหาต่อการจัดเก็บข้าวสาลีเนื่องจากสินค้าที่ค้างในคลังมีมากขึ้น และกระสอบที่ใช้มีไม่เพียงพอ

สัญญาซื้อขายสำหรับเดือนมิถุนายนของข้าวสาลีจาก The National Commodity and Derivatives Exchange มีราคาลดลงไปที่ 21.40 และลงไปจนถึง 21.32 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 1,182 และ 1,178 รูปีต่อ 100 กิโลกรัมตามลำดับ และในเดือนกรกฎาคมมีการปรับตัวลงไปที่ 21.67 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 1,197 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม

โดยราคาของข้าวสาลีที่ลดลงต่ำลงไปกว่าระดับราคาอุดหนุนขั้นต่ำของรัฐบาลนั้น ทำให้ราคาแป้งลดต่ำลงไปด้วย โดยลดลง 40 รูปีหรือ 0.72 เหรียญสหรัฐฯ มาอยู่ที่ 1,230 รูปี หรือ 22.263 เหรียญสหรัฐฯ ต่อแป้ง 1 กระสอบ (90 กิโลกรัม)

สินค้าฝ้ายมีราคาคงที่

ในขณะที่ราคาข้าวสาลีลดต่ำลง ราคาฝ้ายกลับอยู่ในระดับที่คงที่เนื่องจากตลาดโลกโดยรวมดีขึ้นและความต้องการฝ้ายอยู่ในระดับปกติ อย่างไรก็ตาม มีการเพิ่มราคาขึ้นในบริเวณตอนเหนือของประเทศในรัฐ Gujarat ซึ่งมีความต้องการฝ้ายสูงแต่ปริมาณการขายถูกควบคุมโดยผู้ค้าฝ้ายในพื้นที่ ทั้งนี้ โดยรวมแล้วราคาฝ้ายยังถือว่าไม่มีความเคลื่อนไหวว่าจะเพิ่มขึ้นไปอีกมากเท่าที่ควรในปัจจุบัน เพียงแต่รักษาอยู่ในระดับที่คงที่เท่านั้น เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกโดยรวมที่ต้องการฝ้ายส่งออกจากอินเดียยังคงที่ และมี การรับซื้อฝ้ายจากโรงงานที่ต่ำลงกว่าปกติไปบ้างในปัจจุบัน นอกจากนี้ ผู้ค้าบางรายยังทำการกักตุนสินค้าไว้ เนื่องจากมีแนวโน้มที่ฝ้ายจะมีราคาเพิ่มขึ้นได้ในอีกระยะหนึ่งด้วยปัจจัยที่ได้กล่าวมาแล้ว โดยจะมีราคาขึ้นไปอีก 500 รูปีต่อ 356 กิโลกรัม (candy)ในสัปดาห์หน้า

ในรัฐ Maharashtra ฝ้ายเกรดเอ (low micronaire) มีราคาอยู่ที่ 31,500 - 31,800 รูปี และฝ้ายเกรดเอประเภท Micronaire cotton 29+ มีราคา 32,000 - 32,500 รูปี ต่อ ฝ้าย356 กิโลกรัม ราคาของฝ้ายในปัจจุบันมีดังนี้

1.รัฐ Gujarat

  • Sankar -6: 31,800 - 32,000 รูปี
  • V-797: 24,500 - 24,700 รูปี

2.รัฐ Maharashtra

  • A grade cotton (low micronaire): 31,500 - 31,800 รูปี
  • Micronaire cotton 29+: 32,000 - 32,500 รูปี

3.รัฐ Punjab: 3,470 - 3,540 รูปี

4.รัฐ Haryana: 3,400 - 3,415 รูปี

5.รัฐ Rajasthan: 3,400 - 3,410 รูปี

การส่งออกหัวหอมประสบปัญหาด้านคุณภาพ

การผลิตหัวหอมในอินเดียกำลังประสบปัญหาด้านคุณภาพ โดยผู้ซื้อ เช่น ในสิงค์โปร์ มาเลเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรต มีการแจ้งเข้ามาถึงคุณภาพของหัวหอมจากอินเดียที่ส่งไปขายเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัญหาเกิดจากการขนส่งสินค้าในฤดูร้อน ซึ่งทั้งผู้ส่งออกลและผู้นำเข้าต้องมีความรู้เป็นอย่างดีในเรื่องการรักษาและควบคุมอุณหภูมิ โดยที่

ร้อยละ 75 ของปริมาณหัวหอมที่ผลิตได้ในรัฐ Maharashtra, รัฐ Gujarat, และพื้นที่ใกล้เคียง มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน

ชาวนามีการกักตุนสินค้าโดยคัดเลือกเฉพาะที่มีคุณภาพดีเก็บไว้เพื่อรอเวลาที่ราคาสินค้าสูงขึ้นทำให้สินค้าที่ออกสู่ตลาดมีคุณภาพที่แย่ลงไปอีก

อย่างไรก็ตาม ราคาของหัวหอมในปัจจุบันยังอยู่ในระดับปกติเฉลี่ยที่ประมาณ 379 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม โดยขึ้นมาจากสัปดาห์ก่อนเฉลี่ยที่ 5 - 20 รูปี โดยเมื่อ 18 พฤษภาคม 2555 ราคาอยู่ที่ 370 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (Lasalgaon Agriculture Product Marketing Committee Yard) โดยมีการส่งมายังรัฐ Maharashtra ปริมาณ 25,800 ตันเมื่อสามวันที่ผ่านมาโดยยังคงมีการคาดการว่ายังคงจะมีราคาเพิ่มขึ้นต่อไปในเดือนหน้า

โรงงานผลิตน้ำตาลได้รับแรงกดดันในการระบายสินค้า

ราคาน้ำตาลมีการลดลงต่อเนื่องติดต่อกันเป็นวันที่ 5 โดยมีราคาลดลงมาโดยรวม (total lost) 50 - 80 รูปี ในช่วง 5 วันที่ผ่านมาเนื่องจากมีความต้องการน้ำตาลลดลง ทำให้โรงงานผลิตน้ำตาลได้รับแรงกดดัน ทำให้ต้องยอมปรับราคาน้ำตาลลงเพื่อระบายสินค้าออก ร้านค้าขายส่งให้การว่าความต้องการมักจะลดลงไปในช่วงปลายเดือนของแต่ละเดือน และจากการผลิตน้ำตาลของโรงงานออกมาในปริมาณมาก ทำให้อุปสงค์ของน้ำตาลมีเกินกว่าความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ราคาค่อยๆปรับตัวลงมา

ในรัฐ Maharashtraไม่มีการซื้อน้ำตาลจากพื้นที่ใกล้เคียง ทำให้เกิดความกังวลว่าปริมาณน้ำตาลที่ค้างในคลังจะมีมากขึ้นสะสมไปอีก ทำให้ตลาดมีความตึงเครียดมากขึ้นต่อราคาและความต้องการน้ำตาล นอกจากนี้ โรงงานมีหน้าที่ขายน้ำตาลออกตาม Free Sale Quota ที่ 4.6 ล้านตันจากเดือนเมษายน - เดือนมิถุนายนในตลาด Vashi Market มีการขนสินค้าเข้ามา 52 - 53 คันรถ และปริมาณสินค้าออกที่ 48 - 50 คันรถ โดยหนึ่งคันรถขนได้ 100 กระสอบ

ในวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา โรงงานน้ำตาล 15 - 16 แห่งมีการขายน้ำตาลเป็นจำนวนทั้งสิ้น 28,000 - 30,000 กระสอบ ในราคา

1. 2,790 - 2,850 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม สำหรับน้ำตาลเกรด S

2. 2,860 - 2,940 รูปีต่อ 100 กิโลกรัมสำหรับน้ำตาลเกรด M

โดยราคาจาก The Bombay Sugar Merchants Association อยู่ที่

1. 2,932 - 2,981 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม สำหรับน้ำตาลเกรด S

2. 3,000 - 3,151 รูปีสำหรับน้ำตาลเกรด M และจาก Naka Delivery rate

1. 2,890 - 2,940 รูปีสำหรับน้ำตาลเกรด S 2.2,970 - 3,050 รูปีสำหรับน้ำตาลเกรด M

กากมะพร้าวเข้าสู่ตลาดในปริมาณอย่างล้นหลาม

ราคาของกากมะพร้าวลดลงอย่างรวดเร็วในวันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมาในรัฐทมิฬนาดู โดยเกิดจากการรับสินค้าเข้ามามากและแนวโน้มการซื้อที่ลดต่ำลงที่ตลาดซื้อขาย Avalpoondurai Regulated Marketing Committee auctions เพื่อประมูลสินค้า โดยมีการนำกากมะพร้าวแห้งมาประมูลขาย เป็นจำนวน 5,307 กระสอบ หรือ 265 ตัน ผู้ซื้อจาก Kerala, Tuticorin และที่อื่นๆ เข้ามาประมูล ด้วยราคาที่ถูกลง โดยมีราคาเริ่มต้นเพียง 30.65 รูปีต่อกิโลกรัมสำหรับกากมะพร้าวคุณภาพปานกลางและ 35.90 รูปีต่อกิโลกรัม สำหรับกากมะพร้าวคุณภาพดี โดยที่ราคาประมูลเริ่มต้นต่ำกว่าราคาประมูลเมื่ออาทิตก่อน 35.90 รูปีต่อกิโลกรัม โดยราคาซื้อที่มีการประมูลไป หยุดอยู่ที่ 33.65 - 35.65 รูปีต่อกิโลกรัม ทำให้เกษตรกรในอินเดียออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลทำการปรับราคากากมะพร้าวขึ้น โดยต้องการให้ราคาขึ้นมาอยู่ที่ 51 รูปีต่อกิโลกรัม เนื่องจากยังมีการกักตุนผลผลิตไว้กว่า 10,000 ตัน ในขณะที่มีการกักตุนสินค้าไว้โดยพ่อค้าและโรงสีถึง 50,000 ตัน

ตลาดน้ำตาลหยุดชะงักชั่วคราว

ราคาน้ำตาลยังคงลดต่ำลงเรื่อยๆ โดยราคาน้ำตาลในโรงสีต่างๆ ที่เก็บน้ำตาลไว้ลดลงมา 70 - 80 รูปี ในขณะที่ราคาน้ำตาลในตลาดมีราคาลดลงมาเช่นกันที่ 40 - 50 รูปีต่อกระสอบ (100 กิโลกรัม) โดยสาเหตุเกิดจากการลดลงของความต้องการน้ำตาลเมื่อมีการผลิตที่มากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลในโกดังที่ผู้ค้าในโรงสีเก็บไว้มีมากเกินไปจนต้องเร่งระบายสินค้าออก โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนที่ปริมาณการซื้อขายยิ่งลดต่ำลง อย่างในตลาดค้าส่ง Vashi มีน้ำตาลเข้ามาส่ง 50 - 52 คันรถ แต่มีการขายส่งสินค้าออกไปเพียง 46 - 48 คันรถเท่านั้น และในอังคารที่ 29 ที่ผ่านมาโรงสี 11 - 12 แห่ง ได้ทำการเปิดประมูลน้ำตาลขายในปริมาณ 45,000 - 47,000 กระสอบ โดยอยู่ที่ราคากระสอบละ 2,780 - 2,840 รูปี สำหรับน้ำตาลเกรด S และ 2,850 - 2,930 สำหรับน้ำตาลเกรด M โดยราคาจาก The Bombay Sugar Merchants Association อยู่ที่

1. 2,922 - 2,972 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม สำหรับน้ำตาลเกรด S

2. 2,996 - 3,141 รูปีสำหรับน้ำตาลเกรด M และจาก Naka Delivery rate อยู่ที่

1. 2,922 - 2,972 รูปีสำหรับน้ำตาลเกรด S 2.2,880 - 2,910 รูปีสำหรับน้ำตาลเกรด M

ราคาอาหารสัตว์มีแนวโน้มคงที่

ราคาของอาหารสัตว์ปีกยังคงตัวอยู่ในระดับเดิมหลังจากมีการตกลงของราคาก่อนหน้านี้ โดยยังไม่มีแนวโน้มว่าจะมีการเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ โดยตราบใดที่กากถั่วเหลือง หรือ Soya meal ยังคงมีราคาที่คงที่อยู่ โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ราคาของกากถั่วเหลืองลดลงไปกระสอบละ 200 รูปี ลงมาอยู่ที่ 3,100 รูปีต่อ 1 กระสอบ (100กิโลกรัม) ทำให้โอกาสในการปรับตัวขึ้นของราคาอาหารสัตว์ปีกเป็นไปได้ยากขึ้นไปอีก โดยในขณะเดียวกัน นอกจากกากถั่วเหลืองแล้ว วัตถุดิบต่างๆก็ยังคงมีราคาคงที่ ไม่มีการเพิ่ม ขึ้นหรือลดลง โดยราคาข้าวโพดอยู่ที่กระสอบละ 1,170 รูปี และ Bajra (ข้าวฟ่างชนิดหนึ่ง) ที่ราคา 1,080 รูปีต่อกระสอบ และ น้ำมันปลาที่ราคา 68 รูปีต่อลิตร

ราคาในปัจจุบันของอาหารสัตว์ปีก

1. Broiler (ไก่กระทง) Concentrates feed ราคา 1,580 รูปีต่อกระสอบๆ ละ 50 กิโลกรัม

2. Broiler Starter Mash ราคา 1,260 รูปีต่อกระสอบๆ ละ 50 กิโลกรัม

3. Broiler Pre-Starter Concentrates ราคา 1,390 รูปีต่อกระสอบๆ ละ 30 กิโลกรัม

4. Pre-lay mash ราคา 815 รูปีต่อกระสอบๆ ละ 50 กิโลกรัม

5. Broiler finisher ราคา 1,240 รูปีต่อกระสอบๆ ละ 50 กิโลกรัม

ขณะเดียวกัน ปริมาณการผลิตที่น้อยลงในสินค้าประเภทไก่ ไข่ และไก่กระทง ประกอบกับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาไข่ไก่และเนื้อไก่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันพุธที่ 30 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยมีราคาดังนี้

1.ไก่กระทง มีราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 85 - 90 รูปีโดยในสัปดาห์ที่แล้วมีราคาอยู่ที่ 70 - 75 รูปี

2.ราคาไข่ไก่ขึ้นมา 0.12 - 2.54 รูปี โดยไข่ไก่อยู่ที่ราคาฟองละ 12 รูปี

แนวโน้มการกระจายขมิ้นที่ล่าช้ายังคงมีอยู่ต่อเนื่อง

ราคาของขมิ้นในอินเดียมีการปรับตัวลดลงด้วยสาเหตุเดียวกับสินค้าประเภทอื่น โดยมีผลผลิตและสินค้าในโกดังมาก โดยในวันพุทธที่ผ่านมา ขมิ้นชนิด Powder Copra มีการขายอยู่ที่กระสอบละ 3,100 -3,200 บาท และในขมิ้นชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะชนิดที่คุณภาพดี มีราคาขายอยู่ที่ 3,500 - 3,600 บาท โดยราคาดังกล่าวนี้ จะอยู่ที่ระดับต่ำกว่ากระสอบละ 4,000 รูปี เป็นระยะเวลาประมาณ 1-2 เดือน ในปัจจุบันทั้งพ่อค้าคนกลางและโรงสี ยังคงมีขมิ้นในโกดังเป็นจำนวนมากและเริ่มมีพื้นที่ไม่พอในการจัดเก็บสินค้าเหล่านี้ โดยสินค้าในปริมาณมากที่พ่อค้าคนกลางเหล่านี้มีไว้ในโกดังนี้ ยังไม่นับในส่วนของผู้เพาะปลูกที่มีการกักตุนสินค้าไว้เองเป็นจำนวนมาก เพื่อรอให้มีการขึ้นราคา

ในวันพุธที่ 30 พฤษภาคม มีขมิ้นจำนวน 14,000 กระสอบ นำมาส่งที่ Erode Market เพื่อทำการขาย โดยสามารถขายได้เพียง 60 กระสอบเท่านั้น

1.ราคาที่ Erode Turmeric merchants Association Sales yard

ขมิ้นประเภท Finger variety มีราคาขายที่ 2,319 - 3,510 รูปีต่อกระสอบ (100 กิโลกรัม)

ขมิ้นประเภท Root variety มีราคาขายที่ 2,199 - 3,399 รูปีต่อกระสอบ (100 กิโลกรัม)

2.ราคาที่ Salem Crop

ขมิ้นประเภท Finger variety มีราคาขายที่ 3,779 - 4,119 รูปีต่อกระสอบ (100 กิโลกรัม)

ขมิ้นประเภท Root variety มีราคาขายที่ 3,199 - 3,698 รูปีต่อกระสอบ (100 กิโลกรัม)

3.ราคาโดย Regulate marketing Committee

ขมิ้นประเภท Finger variety มีราคาขายที่ 3,219 - 3,691 รูปีต่อกระสอบ (100 กิโลกรัม)

ขมิ้นประเภท Root variety มีราคาขายที่ 3,189 - 4,569 รูปีต่อกระสอบ (100 กิโลกรัม)

นายศศินทร์ สุขเกษ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมุมไบ

มิถุนายน 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ