พฤติกรรมผู้บริโภคชารุ่นใหม่กับโอกาสในการส่งออกชาของอินเดียในอนาคต

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 19, 2012 12:03 —กรมส่งเสริมการส่งออก

พฤติกรรมผู้บริโภคชารุ่นใหม่กับโอกาสในการส่งออกชาของอินเดียในอนาคต

การบริโภคชาถือเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลกมาช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิงในจีนและอินเดีย ซึ่งมีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลก นอกจากนี้ การผลิตชาที่สำคัญของโลกยังมาจากจีนและอินเดียด้วย โดยจีนสามารถผลิตชาได้ถึง 1,467,467 ตันในปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 จากปีทีผ่านมา ตามด้วยอินเดียและเคนย่าที่สามารถผลิตชาได้ 991,180 ตันและ 399,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.9 และ 27.0 ตามลำดับ

อย่างไรก็ดี วัฒนธรรมการบริโภคเครื่องดื่มประเภทชาในจีนและอินเดีย มีการเปลียนแปลงอย่างมาก เนื่องจากค่านิยมในการบริโภคชาของผู้บริโภครุ่นใหม่ที่เปลียนไปเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลียนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่จะส่งผลต่อไปในอนาคตการผลิต การส่งออก และการนำเข้าชาของอินเดีย โดยรายละเอียดของค่านิยมในการบริโภคชาที่เปลียนไปมีดังนี้

ผู้บริโภคชาวจีนรุ่นใหม่หันมาบริโภคชาดำมากขึ้น

ชาวจีนนิยมการบริโภคชามาเป็นเวลานาน มีการส่งออกชาไปยังญี่ปุ่นเป็นที่แรกตั้งแต่ปี 2153 โดยจีนยังคงเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในโลก (ผลิตชาได้ปริมาณ 1.45 ล้านตันในปี 2553) และผู้บริโภคในประเทศบริโภคชาในปริมาณ 1.10 ล้านตันในปีเดียวกัน โดยมีการส่งออกมากที่สุดไปที่สหรัฐอเมริกาและรัสเซีย นอกจากนี้ จีนยังมีการบริโภคชาที่หลากหลายและมีการแข่งขันสูง มีผู้ผลิตชากว่า 70,000 บริษัท โดยผู้ผลิตทีมีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด มีส่วนแบ่งเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น

พฤติกรรมการบริโภคชาในประเทศจีน

แม้ว่าจีนจะมีการผลิตใบชาเขียวได้เป็นปริมาณมากที่สุดในโลก (280,000 ตันในปี 2551) อย่างไรก็ตาม ในระยะเวลาไม่กีปีที่ผ่านมา มีการเพิ่มขึ้นของความต้องการชาดำจากผู้บริโภครุ่นใหม่ในจีน เนื่องจากค่านิยมแบบตะวันตกที่นิยมบริโภคชาดำ เช่น ในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ทำให้ผู้บริโภคในจีนต้องการชาดำมากขึ้น โดยสามารถยอมรับกับราคาที่สูงขึ้นตามปริมาณความต้องการ และตามราคาที้ผู้ส่งออกจากอินเดียซึ้งเป็นผู้ส่งออกชาดำมายังจีนมากที่สุดตังขึ้น

โดยชาดำนั้น มีการนำเข้ามากที่สุดจากทางตอนเหนือของอินเดีย และเมืองกัลกาตา เช่น บริษัท Chamong Tee Exports Pvt. Ltd มีการส่งออกชาดำไปยังจีนกว่า 5,000 ตัน ในปี 2553 สำหรับผู้ส่งออกรายอืนๆในอินเดียคาดการณ์ว่าจะสามารถส่งออกชาดำไปยังจีนได้ในปริมาณ 10,000 ตันในปี 2555 และเพิมเป็น 100,000 ตัน ในปี 2558 การเปลียนแปลงการบริโภคของวัยรุ่นชาวจีน จึงเป็นโอกาสที่ดีของอินเดียในการเพิ่มปริมาณการผลิต และการส่งออกของใบชาดำ

การบริโภคชาในจีน เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของคนจีนซึ่งได้แก่ ไม้ ข้าว น้ำมัน เกลือ ถั่วเหลือง น้ำส้มสายชู และชา การเพิ่มขึ้นของความต้องการชาดำจากอินเดียสามารถช่วยแก้ปัญหา การส่งออกชาที่ลดลงในตลาดอื่นๆ ของอินเดีย เช่น การส่งออกใบชาดำไปยังอังกฤษที่ลดลงจาก 22,000 ตัน ในปี 2550 เหลือเพียง 16,000 ตันต่อปีในปัจจุบัน โดยในปัจจุบันปริมาณการบริโภคชาทุกชนิดของผู้บริโภคในอังกฤษที 100,000 ตันต่อปี มีการนำเข้าใบชาจากเคนย่ามากถึง 60,000 ตัน ซึ่งเป็นสัดส่วนทีมากเมือเทียบกับการนำเข้าใบชาจากอินเดีย

การบริโภคชาในอังกฤษ

ปัจจุบันผู้บริโภคชาวอังกฤษหันมานิยมการบริโภคชาที่มีการผสมหรือแต่งกลิ่นมากขึ้น ชาที่ได้รับความนิยมจึงเป็นชาที่มีการเจือจางด้วยรสชาติและสารแต่งกลินต่างๆ เช่น ชามะนาว และชาจากดอกเก๊กฮวย (Cha momile) นอกจากนี้ ชาที่มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ดี เช่น Taylors and Harrogate มียอดจำหน่ายที่สูงขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับผลิตภัณฑ์จากชาชนิดอื่นที่ขาดการบรรจุภัณฑ์ที่ดี ทำให้ยอดจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าและร้านค้าต่างๆ ลดลง

การบริโภคชาในปากีสถาน

ปากีสถานและประเทศต่างๆในแถบเอเชียตะวันตกยังคงเป็นตลาดสำคัญในการส่งออกใบชาของอินเดีย ถึงแม้ว่าปากีสถานต้องพึ่งพาการนำเข้าชาจากเคนย่าเป็นหลักเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ (130,000 ตันต่อปี) แต่การนำเข้าใบชาจากอินเดียยังคงมีความสำคัญเช่นกัน โดยในปี 2554 ปากีสถานนำเข้าใบชาจากอินเดียในปริมาณ 23,000 ตัน

ตลาดทีมีศักยภาพของอินเดียในการที่รัฐบาลจะใช้เป็นเป้าหมายในการผลักดันการส่งออกใบชาภายใน 5 ปีข้างหน้า ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย คาซัคสถาน อิหร่าน และอียิปต์

การบริโภคชาในอินเดีย

ผู้บริโภคชาวอินเดียกลับหันมานิยมการบริโภคชาเขียวมากขึ้นโดยปัจจุบันมีการนิยมการบริโภคชาเขียวแบบแต่งกลิ่นเพิ่มเติม เช่น การแต่งกลิ่นแอบเปิล โดยนาย Ajay Kitchlu จากChamong Tee Expo rts Pvt. Ltd กล่าวว่าพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภครุ่นใหม่จะนำมาซึ่งการขยายไปสู่ตลาดใหม่ๆในอนาคตอันใกล้ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลียนไป โดยเฉพาะในผู้บริโภครุ่นใหม่ที่จะเป็นตลาดสำคัญในอนาคตที่จะส่งผลให้การผลิต การส่งออกและการนำเข้าใบชาเปลียนไป ทำให้จีนและอินเดียซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกชามากที่สุด มองเห็นถึงการเปลียนแปลงและโอกาสในการเติบโตของตลาดจากการเปลียนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภครุ่นใหม่นี้

นายศศินทร์ สุขเกษ/ นางสาวภัทรมน กนิษฐานนท์สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมุมไบ

มิถุนายน 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ