ข้อมูลสถานการณ์การค้าประเทศสหรัฐอเมริกา

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 26, 2012 15:19 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลสถานการณ์การค้าประเทศสหรัฐอเมริกา

เป้าหมาย: Sustainable Growth

การค้าทั้งสองฝ่ายมีมูลค่า 61,627.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) (ขยายตัวเฉลี่ยปีละ 15 %)

การค้า ไทย-สหรัฐอเมริกา
                       มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ                  อัตราขยายตัว (%)           สัดส่วน (%)
รายการ       2554     2554         2555      2554     2554         2555     2554      2554        2555
            (ทั้งปี) (ม.ค.-เม.ย.) (ม.ค.-เม.ย.) (ทั้งปี) (ม.ค.-เม.ย.) (ม.ค.-เม.ย.) (ทั้งปี) (ม.ค.-เม.ย.) (ม.ค.-เม.ย.)
มูลค่าการค้า  35235.90  11473.22    10871.12   14.11    26.37        -5.25     7.70      7.81         7.19
การส่งออก   21857.96   7007.95     7102.99    8.21    22.99         1.36     9.55      9.41         9.93
การนำเข้า   13377.93   4465.27     3768.14   25.30    32.05       -15.61     5.85      6.16         4.73
ดุลการค้า     8480.03   2542.68     3334.85  -10.96     9.77        31.15

สินค้าที่ไทยส่งออกไปสหรัฐอเมริกา ปี 2554-2555

ในช่วงปี 2554 ไทยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับที่ 3 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวม 21857.96 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 8.21 โดยสินค้าที่ไทยส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาที่มีมูลค่ามาก 10 อันดับแรก ได้แก่

                                      มูลค่า : ล้านเหรียญ                        อัตราขยายตัว(%)
ชื่อสินค้า                        2554            2554            2555               2555
                                          (ม.ค.-เม.ย.)    (ม.ค.-เม.ย.)       (ม.ค.-เม.ย.)
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และ    2857.90           950.70          1113.60            17.13
ส่วนประกอบ
ผลิตภัณฑ์ยาง                  1776.40           510.00           566.70            11.12
อัญมณีและเครื่องประดับ          1341.30           432.00           375.80           -13.00
อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป    1649.80           412.70           354.70           -14.05
น้ำมันดิบ                      714.90           174.80           333.60            90.79
เครื่องนุ่งห่ม                  1142.00           381.30           319.20           -16.30
ยางพารา                    1005.30           401.00           313.30           -21.88
เครื่องรับวิทยุและส่วนประกอบ      929.90           305.60           307.00             0.46
เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ 1080.90           360.60           290.20           -19.53
แผงวงจรไฟฟ้า                 521.80           186.00           176.40            -5.15
มูลค่าสินค้าที่ไทยส่งออกไปยัง     21857.96          7007.95          7102.99             1.36
สหรัฐอเมริกา ทั้งหมดรวม

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา ปี 2554-2555 ในช่วงปี 2554 ไทยนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับที่ 4 โดยมีมูลค่าการนำเข้ารวม 13377.93 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 25.30 โดยสินค้าที่ไทยนำเข้าจากสหรัฐอเมริกามีมูลค่ามาก 10 อันดับ ได้แก่

                                           มูลค่า : ล้านเหรียญ             อัตราขยายตัว(%)
ชื่อสินค้า                          2554          2554           2555                 2555
                                          (ม.ค.-เม.ย.)   (ม.ค.-เม.ย.)          (ม.ค.-เม.ย.)
เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ       1175.20         371.90         394.30                 6.04
เคมีภัณฑ์                       1224.70         408.80         386.40                -5.46
แผงวงจรไฟฟ้า                  1281.30         468.90         366.30               -21.88
เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง    1880.60         451.60         304.40               -32.59
และทองคำ
พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช              801.40         401.90         264.50               -34.20
เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ      665.10         226.80         249.20                 9.92
เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับ          550.10         181.20         193.90                 7.05
วิทยาศาสตร์การแพทย์
เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์         472.50         171.50         143.00               -16.61
ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม      461.10         134.00         131.80                -1.64
เชื้อเพลิงอื่นๆ                    358.60         113.80         120.20                 5.64
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา  13377.93        4465.27        3768.14               -15.61
ทั้งหมดรวม
สรุปปัญหา/อุปสรรคการค้าไทย-สหรัฐอเมริกา
ประเด็นการค้าฝ่ายไทย

1.สหรัฐอเมริกาควรให้โอกาสและกำหนดประเภทในการขอวีซ่าให้กับแรงงานที่มีความรู้และความชำนาญ เช่น พ่อครัว/แม่ครัว พนักงานนวด เพราะ ในปัจจุบันร้านอาหารและสปาไทยขาดแคลาดแรงงานวิชาชีพดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

2.ประเทศไทยถูกกล่าวหาในเรื่องการใช้แรงงานเด็กในการผลิตสินค้า โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารทะเลและเสื้อผ้า ทำให้ประเทศไทยเสียภาพลักษณ์และมีผลกระทบต่อการส่งออกมายังตลาดสหรัฐอเมริกาอย่างมาก

ประเด็นการค้าฝ่ายสหรัฐอเมริกา
1.สหรัฐฯ เข้มงวดในการตรวจสอบความปลอดภัยสินค้าอุปโภคและบริโภคที่นำเข้า โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบ ดังนี้
  • หน่วยงาน US Consumer Product Safety Commission (CPSC)
  • ควบคุมสินค้าอุปโภค เช่น สินค้าเด็กเล่น และสินค้าสิ่งทอบางรายการ เป็นต้น หน่วยงาน US Food & Drugs Administration (FDA)
  • ควบคุมสินค้าอาหารส่วนมาก รวมทั้งสินค้าเภสัชภัณฑ์ต่างๆ หน่วยงาน US Department of Agricultural (USDA)
  • ควบคุมสินค้าเกษตรและสินค้าอาหารบางรายการ

นอกจากนี้แล้ว สหรัฐฯ ยังกำหนดข้อกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non Tariff Trade Barrier) กับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ มาตรฐานสินค้า (Standard) การทดสอบ (Testing) และ พิธีศุลกากรเข้มงวด (Tighten Custom Procedure) โดยเฉพาะสินค้าอาหารและของใช้ของเล่นเด็ก ตลอดจนมีบทบาทและอำนาจในการตรวจสอบและควบคุมมากขึ้น และออกกฎ ระเบียบและข้อบังคับใหม่ๆ ต่อสินค้านำเข้า ซึ่งจะส่งผลต่อความล่าช้าในด้านพิธีศุลกากร การเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อผู้นำเข้า ซึ่งสินค้าไทยอาจจะถูกกักกันเพื่อการตรวจสอบมากขึ้น

2.ปัจจุบัน สหรัฐฯ ออกกฎหมายห้ามนำเข้าเครื่องประดับทับทิมและหยกที่มีแหล่งกำเนิดในพม่าไปอีก 1 ปี สมาคมผู้ค้าเครื่องประดับไทยควรร่วมมือกับประเทศคู่แข่งขันของไทย (จีน อินเดีย เวียดนาม ศรีลังกา) และผู้นำเข้าสหรัฐฯ เรียกร้องให้สหรัฐฯ ยกเลิกกฎหมายดังกล่าว

3.การยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้ารองเท้า (Shoe Taxes) ปัจจุบัน สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้ารองเท้าในกลุ่ม NonSporting Footwear สูงถึงร้อยละ 67.5 ปัจจุบัน สมาคม US Footwear and Apparel Association ร่วมกับผู้นำเข้ารายสำคัญเรียกให้สภาคองเกรสสหรัฐฯยกเลิกการเรียกเก็บภาษีนำเข้ารองเท้าดังกล่าว แต่ สภาคองเกรสสหรัฐฯ ยังไม่แสดงท่าทีเห็นชอบในการยกเลิกการเก็บภาษี

4.สหรัฐฯ ได้ต่ออายุโครงการ Generalized System of Preferences (GSP) ของสหรัฐฯ ซึ่งหมดอายุลงเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2553 โดยต่ออายุไปจนถึงวันที่ 31 กรกฏาคม 2556 อย่างไรก็ตามเป็นที่คาดว่าสหรัฐฯ จะมีการพิจารณาแก้ไข เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การให้สิทธิ GSP (GSP Reform) ซึ่งอาจมีผลบังคับหลังจากที่โครงการนี้หมดอายุในปี 2556

นอกจากนี้ รัฐสภาสหรัฐได้พยายามที่จะถอนสิทธิ์ GSP สำหรับประเทศอินเดีย และบราซิล เนื่องจากไม่พอใจที่ทั้งสองประเทศมีนโยบายขัดกับสหรัฐฯในการเจรจาภายใต้ WTO อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีการใช้ GSP สูงสุด ก็อาจจะถูกพิจารณาตัดสิทธิ GSP บางรายการด้วย โดยในการพิจารณาทบทวนโครงการ GSP ประจำปี 2554 ที่สหรัฐฯ กำลังทบทวนอยู่นี้ มีสินค้าหลายรายจากประเทศไทยที่สหรัฐฯ ทบทวนการให้สิทธ GSP ท่ำคัญได้แก่ สินค้าเครื่องประดับเงิน ถุงมอยาง ยางรถยนต์สำหรับรถบรรทุกโดยสาร และถุงพลาสติกชนิด PINCH SEAL RE-CLOSABLE BAG

5.การบังคับใช้กฎหมาย Lacey Act เพื่อคุ้มครองและอนุรักษ์ต้นไม้ และพืชพันธุ์ ซึ่งส่งผลให้สินค้าที่ใช้ส่วนประกอบหรือผลิตจากไม้จะต้องสำแดงแหล่งที่มาของไม้ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 และส่งผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าที่ผลิตจากไม้ทั่วโลก รวมทั้งจากประเทศไทย

6. ปัญหาเรื่องใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ รวมไปถึงความรับผิดชอบของนายจ้างต่อสังคม (Social Responsibility) สหรัฐฯ จะเข้มงวดกับแหล่งนำเข้าที่ใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ (Forced Labor) ซึ่งผู้นำเข้าในสหรัฐฯ จำนวนมากให้ความสำคัญ และมีนโยบายต่อต้านและไม่สนับสนุนการใช้แรงงานเด็ก

7.ปัจจุบัน สหรัฐฯ โดยหน่วยงาน SME กำหนดนโยบายผลักดันการส่งเสริมการส่งออกสินค้าสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SBA) และเข้มงวดกับสินค้านำเข้าที่มาแข่งขันกับสินค้าที่ผลิตในสหรัฐฯ นอกจากนี้หน่วยงาน USTR ยังเข้มงวดต่อการปฎิบัติตามข้อตกลงและ/หรือความตกลงการค้าที่ประเทศต่างๆ มีกับสหรัฐ (Compliance)

8.มาตรการตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์ทุกตู้ (ร้อยละ 100) ที่จะส่งออกทางเรือไปยังสหรัฐอเมริกา ภายใต้กฎหมาย 9/11 COMMISSION ACT OF 2007 เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของระบบห่วงโซ่อุปทานโลก และเป็นการป้องกันการลักลอบนำวัตถุระเบิด โดยเฉพาะระเบิดนิวเคลียร์ของผู้ก่อการร้ายเข้ามาในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2557

สินค้าส่งออกที่มีศักยภาพจากไทยไปสหรัฐอเมริกา

สินค้าประเภทอาหารสำหรับคนเอเซีย เช่น ข้าว กุ้งแช่แข็ง เส้นก๋วยเตี๋ยว กะทิ ซอสปรุงรส อาหารกึ่งสำเร็จรูปและสำเร็จรูป

สินค้าอาหารฮิสแปนิก

สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ

สินค้าของประดับและตกแต่งบ้านแบบมีดีไซน์

สินค้าแฟชั่น (เสื้อผ้าเด็ก เสื้อผ้าสตรี และเครื่องประดับแบบมีสไตล์)

ร้านอาหารไทย

สินค้าสำหรับตลาด INSTITUTION เช่น เรือสำราญ โรงพยาบาล โรงเรียน สนามกีฬา เรือนจำ หน่วยงานทหาร เป็นต้น

การให้บริการและการจัดการด้าน INVENTORY ให้กับผู้นำเข้า

การค้าของประเทศของสหรัฐอเมริกา - ทั่วโลก

ข้อมูลปี 2554

1.การค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกากับทั่วโลกรวม 3,687,481.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวจากปี 2010 ร้อยละ 15.54 %

2.สหรัฐอเมริกาส่งออกมาทั่วโลก 1,480,552.12 ล้านเหรียญสหรัฐ

3.ไทยเป็นตลาดส่งออกลำดับที่ 27 ของสหรัฐอเมริกา โดยมีมูลค่า 10,927.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 21.73 มีส่วนแบ่งทางการตลาดร้อยละ 0.74

4.ตลาดส่งออกหลักของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ แคนาดา ร้อยละ 18.96 เม็กซิโก ร้อยละ 13.34 จีน ร้อยละ 7.02 ญี่ปุ่น ร้อยละ 4.47 และอังกฤษ ร้อยละ 3.78

5.สินค้าส่งออกสำคัญของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ทองคำ วงจรอิเล็คทรอนิก ไดโอดทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ฝ้ายและเศษเหล็ก

6.สหรัฐอเมริกานำเข้าจากทั่วโลก 2,206,929.02 ล้านเหรียญสหรัฐ

7.นำเข้าจากประเทศไทยเป็นลำดับที่ 20 โดยมีมูลค่า 24,826.07 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 9.40 มีส่วนแบ่งทางการตลาดร้อยละ 1.12

8.ตลาดนำเข้าหลักของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ จีน ร้อยละ 18.09 แคนาดา ร้อยละ 14.34 เม็กซิโก ร้อยละ 11.92 ญี่ปุ่น ร้อยละ 5.84 และเยอรมัน ร้อยละ 4.46

9.สินค้านำเข้าสำคัญของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ เครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิค เครื่องประดับอัญมณี ยางธรรมชาติ อาหารทะเลประเภทกุ้ง/ปูทุกชนิดและยางรถยนต์อัดอากาศ

ยุทธศาสตร์

1.เจาะตลาดการค้าและการลงทุน

1.1 สินค้าเป้าหมาย ได้แก่ สินค้าอาหาร เช่น สินค้าอาหารทะเลแช่แข็ง สินค้าอาหารแปรรูป สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าของตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์แบบมีดีไซน์ เสื้อผ้าแบบมีดีไซน์

1.2 สินค้าบริการเป้าหมาย ได้แก่ ร้านอาหาร สปา INSTITUTION

1.3 ภาคการลงทุนจากไทยที่มีศักยภาพ ได้แก่ ร้านอาหาร สปา โรงเรียนสอนประกอบอาหาร/มวยไทย

2.สร้างความเข้มแข็งและความได้เปรียบในการแข่งขัน

2.1 การร่วมมือกับผู้นำเข้าสินค้าไทยในการแก้ไขปัญหาการนำเข้า และจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้า เช่น In-store Promotion ในห้างค้าปลีกและห้าง Chain Store ขนาดใหญ่ที่มีสาขากระจายทั่วประเทศ

2.2 การสร้างเครือข่ายทางการค้าและช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลายให้กับสินค้าไทย อาทิ การจัด Trade Mission, Business Matching รวมทั้งการสนับสนุนการใช้ E-Marketplace ผ่านเว็ปไซด์ www.thaitrade.com

2.3 การรักษาลูกค้าเดิมและแสวงหาลูกค้าใหม่ โดยการเยี่ยมเยียนพบปะหารือกับผู้นำเข้าทั้งรายเก่าและรายใหม่ เพื่อสอบถามความต้องการสินค้าไทย แนะนำผู้ส่งออกไทย และสินค้าจากไทย รวมทั้งเชิญชวนให้เดินทางไปเข้าร่วมชมงานแสดงสินค้าและพบปะผู้ประกอบการไทยเพื่อซื้อสินค้าในไทยหรือซื้อจากไทย

2.4 การให้บริการข้อมูลทางการค้าที่เป็นประโยชน์กับผู้ส่งออกไทย อาทิ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รายชื่อผู้นำเข้าที่มีศักยภาพ สถานการณ์ตลาดการค้าและเศรษฐกิจ แนวโน้มสินค้าในตลาด พฤติกรรมและรสนิยมผู้บริโภค อัตราภาษีนำเข้า กลยุทธ์การค้าของคู่แข่ง ราคาสินค้าและบริการในตลาด ข้อพึงระวังและข้อควรปฏิบัติสำหรับการเจาะตลาดสหรัฐอเมริกา การแจ้งเตือนผู้ส่งออกไทยเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกกักกันหรือเรียกเก็บสินค้าจากหน่วยงานสหรัฐอเมริกา

2.5 การแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการตลาดให้กับผู้ส่งออกไทย อาทิ การเจรจาเพื่อลดอุปสรรคกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการแก้ไขกรณีพิพาทให้กับผู้ส่งออกไทย และการติดตามทวงถามหนี้ทางการค้าของผู้ส่งออกไทย

2.6 การใช้ประโยชน์ของเขตการค้าอาเซียนให้ไทยเป็น GATEWAY สู่อาเซียน

2.7 การส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าไทย THAILAND TRUST MARK

3. เข้าถึงแหล่งทรัพยากรวัตถุดิบและฐานการจ้างผลิต พัฒนาให้ไทยเป็นแหล่ง SOURCING เพื่อการส่งออกของสหรัฐอเมริกา โดยใช้ประโยชน์จากอาเซียนโดยรวม โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐาน

ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

1.ตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดเสรี (FREE MARKET) และเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันและความซับซ้อนมากที่สุดในโลก เป็นตลาดการบริโภคสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของโลก ผู้บริโภคมีระดับความเป็นอยู่ดีและมีกำลังซื้อมากที่สุดในโลก ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและอุปสรรคในการขยายตลาดสินค้า

2.ตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงในทุกระดับการค้า เนื่องจาก ใช้กลยุทธ์ด้านราคาต่ำและกดราคามาเป็นเครื่องจูงใจผู้บริโภค

3.ความกว้างใหญ่ไพศาลและความแตกต่างกันในด้านภูมิประเทศของสหรัฐอเมริกา ส่งผลต่อความต้องการสินค้า รูปแบบสินค้าและประเภทสินค้าต่างกัน

4.ผู้บริโภคกลุ่มเชื้อสายฮิสแปนิกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราสูง ปัจจุบันประชากรกลุ่มนี้มีปริมาณ 50 ล้านคน หรือ ประมาณร้อยละ 16 ของประชากรสหรัฐอเมริกาและคาดว่าจะเพิ่มเป็น 127 ล้านคน ภายในปี 2050 (พ.ศ. 2593)

5.ปัจจุบันการซื้อสินค้าทางออนไลน์เป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมเพิ่มในอัตราสูงของผู้บริโภคสหรัฐอเมริกา การใช้จ่ายซื้อสินค้าของผู้บริโภคสหรัฐ มีแรงจูงใจมากจาก F-FACTOR คือ FRIENDS, FANS & FELLOWS ซึ่งเป็นอิทธิพลมาจาก SOCIAL MEDIA เช่น TWITTER และ FACEBOOK

6.สหรัฐอเมริกาเป็นมหาอำนาจทางอุตสาหกรรมการผลิตของโลกในด้านเทคโนโลยี ปิโตรเคมี ยานพาหนะ การสื่อสารและอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ อาหารแปรรูป เหมืองแร่ ผลิตภัณฑ์ป่าไม้และอาวุธสงคราม

7.ตลาดสหรัฐอเมริกามีความเข้มงวดและซับซ้อนในเชิงกฎระเบียบและข้องบังคับมากที่สุดในโลก การดำเนินการตลาดไม่ว่าส่วนใดจะเกี่ยวข้องกับกฎหมายหรือต้องพึ่งพาบริการของนักกฎหมายเพื่อให้เกิดความถูกต้องและรวดเร็ว

เมืองที่เป็นเป้าหมายหลักในประเทศสหรัฐอเมริกา

1. กรุงวอชิงตัน เป็นเมืองหลวงของประเทศ

2.เมืองสำคัญ NEW YORK, LOS ANGELES, CHICAGO, HOUSTON, PHILADELPHIA, PHOENIX, SAN ANTONIO, SAN DIEGO, DALLAS และ SAN JOSE

3.เมืองท่า NEW YORK, LOS ANGELES, LONG BEACH, NEW ORLEAN, HOUSTON, SEATTLE, MIAMI

การลงทุน

1. การลงทุนจากต่างประเทศในประเทศสหรัฐอเมริกา หน่วยงานสำรวจประชากรสหรัฐฯ (US CENSUS BUREAU) ระบุว่าในปี 2553 (2010) ต่างชาติลงทุนแบบ (Direct Investment) มูลค่า 2,342,829 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยแบ่งเป็นอุตสาหกรรมการผลิต 748,279 ล้านเหรียญสหรัฐ อุตสาหกรรมค้าส่ง 330,889 ล้านเหรียญสหรัฐและอุตสาหกรรมการเงินประกันภัย 356,781 ล้านเหรียญสหรัฐ

2. ประเทศที่ลงทุนในสหรัฐอเมริกาในอันดับต้น ได้แก่ อังกฤษ มูลค่า 432,488 ล้านเหรียญ ญี่ปุ่น 257,273 ล้านเหรียญสหรัฐ เนเธอร์แลนด์ 217,050 ล้านเหรียญสหรัฐ เยอรมนี 212,915 ล้านเหรียญสหรัฐ และแคนาดา 206,139 ล้านเหรียญสหรัฐ

3. สาขาที่ชาวต่างชาติสนใจไปลงทุนในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ การเงินและการประกันภัย อุตสาหกรรมค้าส่ง การผลิตเคมีภัณฑ์ บริการข้อมูลข่าวสารและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมขนส่ง

4. มลรัฐที่มีการลงทุนจากต่างชาติในวงเงินสูงสุด ได้แก่ แคลิฟอร์เนีย นิวยอร์ก เท็กซัส อิลินอยส์ ฟลอริด้า นิวเจอร์ซี่ โอไฮโอ เวอร์จิเนีย อินเดียน่าและเซ้าแคโรไลน่า

5. สหรัฐอเมริกามีการลงทุนในต่างประเทศเป็นมูลค่า 3,908,231 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2552 (2009) เป็นมูลค่า

361,193ล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศที่สหรัฐอเมริกาไปลงทุนอันดับต้น ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ 521,427 ล้านเหรียญสหรัฐ อังกฤษ 508,369 ล้านเหรียญสหรัฐ แคนาดา 296,691 ล้านเหรียญสหรัฐ ลักษ์ซัมเบริ์ก 274,923 ล้านเหรียญสหรัฐและเบอร์มิวด้า 264,442 ล้านเหรียญสหรัฐ

6. ปี 2553 (2010) สหรัฐอเมริกามีการลงทุนในไทยเป็นมูลค่า 12,701 ล้านเหรียญสหรัฐ

7. บริษัทขนาดใหญ่ของไทยที่มาลงทุนในสหรัฐอเมริกา (เขตอาณาสคต. นิวยอร์ก) ได้แก่

  • บริษัท PRANDA JEWELRY ลงทุนในสหรัฐอเมริกาโดยการจัดตั้งบริษัทในนาม PRANDA JEWELRY NORTH AMERICA ในเมืองโรดไอล์แลนด์
  • เบียร์ช้าง ลงทุนและกระจายสินค้าผ่านเครือข่ายของบริษัท INTERBEV ในนครนิวยอร์ก
  • เบียร์สิงห์ มีตัวแทนจำหน่ายในนครนิวยอร์ก คือ บริษัทปาลีวงศ์ ส่วนในเขตอื่นทางฝั่งตะวันออก เบียร์สิงห์ได้ใช้ตัวแทนจำหน่ายของบริษัทช่วยกระจายสินค้า
  • บริษัท CP ลงทุนและกระจายสินค้าผ่านเครือข่ายของบริษัท CP FOOD PRODUCTS INC ในรัฐแมรี่แลนด์
  • บริษัทปูนซีเมนต์ไทยลงทุนในสหรัฐอเมริกาโดยการจัดตั้งบริษัทในนาม SCG TRADING ในเมืองฟิลาเดลเฟีย
การท่องเที่ยว

ชาวสหรัฐอเมริกาเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศไทย ในปี 2553 (2010) มีจำนวน 660,000 คน

ความร่วมมือการค้า
สหรัฐอเมริกามีข้อตกลงทางการค้าที่มีผลบังคับใช้แล้ว 11 ฉบับ คือ

1. U.S.-Israel Free Trade Agreement

  • มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2528

2. North American Free Trade Agreement (NAFTA)

  • มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2537

3. U.S. -Jordan Free Trade Agreement

  • มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2544

4. U.S.-Chile Free Trade Agreement

  • มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547

5. U.S.-Singapore Free Trade Agreement

  • มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547

6. U.S.-Australia Free Trade Agreement

  • มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548)

7. U.S.-Morocco Free Trade Agreement

  • มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549

8. U.S.-Dominican Republic-Central America Free Trade Agreement (CAFTA-DR)

  • ทะยอยมีผลบังคับใช้กับแต่ละประเทศตั้งแต่เดือนมีนาคม 2549 ล่าสุดมีผลบังคับใช้กับคอสตาริกาเป็นประเทศสุดท้าย เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2552

9. U.S.-Bahrain Free Trade Agreement

  • มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2549

10. U.S.-Peru Trade Promotion Agreement

  • มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 หลังจากที่ได้ลงนามกฎหมายบังคับใช้ความตกลงเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2550

11. U.S.-Oman Free Trade Agreement

  • มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552
อยู่ระหว่างการพิจารณาให้ความเห็นชอบของรัฐสภา 3 ฉบับ

1.U.S.-Colombia Trade Promotion Agreement

2. U.S.-Panama Free Trade Agreement

3. U.S.-South Korea Free Trade Agreement

อยู่ระหว่างการเจรจา 6 ฉบับ

1. U.S.-Malaysia Free Trade Agreement (Underway)

2. U.S.-Thailand Free Trade Agreement (Indefinitely delayed)

3. U.S.-UAE Free Trade Agreement (Underway)

4. U.S. South African Customs Union Free Trade Agreement (Suspended)

5. U.S.-Ecuador Trade Promotion Agreement (Suspended)

6. FTAA (Free Trade Area of the Americas) (Suspended)

ผู้บริหารระดับสูงเยือนนครนิวยอร์ก ปีงบประมาณ 2553

1.นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เยือนนิวยอร์กและสำรวจตลาดข้าว 2.ดร. วีระศักดิ์ จินารัตน์ คณะผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เยือนนิวยอร์กและสำรวจตลาดข้าว

แผนงานตลาดสหรัฐอเมริกา ปีงบประมาณ 2555

1.การเข้าร่วมงานแสดงสินค้า

1.1 การนำคณะผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ร่วมงานแสดงสินค้าในไทย 10 งาน

1.2 การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ งาน INTERNATIONAL BOSTON SEAFOOD SHOW 2012 (19-21 กุมภาพันธ์ 2555)

2. การขยายช่องทางตลาดและสร้างโอกาสทางการค้า

2.1 โครงการ In-store Promotion สินค้าอาหาร โดยร่วมกับผู้นำเข้า/ห้างสรรพสินค้า

2.2 โครงการ FASHION NETWORK

2.3 การเยี่ยมเยียนผู้นำเข้าทั้งรายเก่าและรายใหม่ ประมาณการ 3,500 ราย

2.4 การจัด Business Matching โดยการจัดกิจกรรม B2B

2.5 THAI RESTAURANT WEEKS 2012

2.6. PR THAILAND TRUST MARK

2.7. PROMOTE THAI SELECT ผ่านเว็บไซต์และสร้าง APPLICATION ให้เหมาะกับผู้ใช้มือถือและสื่อ SOCIAL NETWORK

3. การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ส่งออกไทย การให้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อการเจาะและขยายตลาดสำหรับผู้ส่งออกไทย และการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายทางการค้า


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ