รายงานสถานการณ์ข้าวในประเทศเม็กซิโก ประเทศคิวบา และในภูมิภาคอเมริกากลาง ปี ค.ศ. 2012

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 2, 2012 15:32 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภูมิหลังเกี่ยวกับข้อกำหนดสุขอนามัยพืชที่ควบคุมการนำเข้าข้าวไทยในประเทศเม็กซิโก และ ในภูมิภาคอเมริกากลาง

ข้าวไทยประสบปัญหาจากการใช้มาตรการด้านสุขอนามัยควบคุมการนำเข้าพืชจากประเทศเม็กซิโกและอเมริกากลาง มาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา เนื่องจากประเทศเหล่านี้เป็นสมาชิกขององค์กรสุขอนามัยเกษตรกรรม OIRSA (Organismo Internacional Regional de Sanidad Agropecuaria) โดยองค์กรดังกล่าวได้แจ้งเตือนภัยของโรคพืชต่างๆ สำหรับข้าวที่ปลูกจากภูมิภาคเอเชียตะวันเฉียงใต้ โดยให้เหตุผลของโรคด้วงข้าวประเภท Khapra Beetle (Trogoderma Khapra) ที่ได้ค้นพบจากผลการตรวจข้าวที่ส่งออกมาจากประเทศเวียดนาม และได้แนะนำให้ประเทศสมาชิกขององค์กรฯ ห้ามนำเข้าข้าวจากภูมิภาคเอเชียตะวันเฉียงใต้

ต่อมาถึงแม้ว่าองค์กร OIRSA ได้พิจารณาทบทวนผลการศึกษาสภาวะของโรงด้วงที่เกิดจากประเทศเวียดนามใหม่ และได้แจ้งว่าโรคดังกล่าว ไม่เป็นภัยสำหรับข้าวที่นำเข้าจากภูมิภาคเอเชียตะวันเฉียงใต้แล้วก็ตาม ประเทศเหล่านี้ ยังคงรักษากฎระเบียบด้านสุขอนามัยพืชต่อไป โดยยังกำหนดการห้ามการนำเข้าข้าวจากภูมิภาคเอเชียตะวันเฉียงใต้ต่อไป จนกระทั่งปี ค.ศ. 2006 ประเทศเม็กซิโกได้มีการเปลี่ยนกฎระเบียบสุขอนามัยพืชเลขที่ NOM -028 -FITO -1995 อนุมัติการนำเข้าข้าวที่สีแล้วจากประเทศไทย โดยกำหนดให้มีการรมควันโดยสารเคมี Methyl Bromide สองรอบก่อนการส่งออกมายังประเทศเม็กซิโกได้ พร้อมกับให้มีการออกใบรับรองการรมควันจากหน่วยงานผู้ตรวจสอบสุขอนามัยพืชของประเทศต้นกำเนิดสินค้า และได้กำหนดท่าเรือของประเทศเม็กซิโกเป็นการเฉพาะ ที่จะสามารถรับให้มีการนำเข้าข้าวเป็นสินค้าขาเข้าได้ โดยท่าเรือที่ได้รับอนุมัติให้มีการนำเข้าข้าว จะมีข้อกำหนดไว้ว่า จะสามารถทำการสุ่มตัวอย่างและตรวจสอบสุขอนามัยพืชสำหรับข้าวที่นำเข้ามาอีกรอบหนึ่ง โดยเจ้าหน้าที่ ณ ท่าเรือรับสินค้าดังกล่าวมีสิทธิ์ที่จะทำลายสินค้านำเข้าได้ หากพบว่าข้าวที่นำเข้าเข้ามาไม่มีคุณสมบัติด้านสุขอนามัยพืชที่ครบตามข้อกำหนด อีกประเทศหนึ่งในภูมิภาค ที่ได้ปรับเปลี่ยนข้อกำหนดด้านสุขอนามัยพืช สำหรับการนำเข้าข้าวจากประเทศไทย คือประเทศปานามา ซึ่งได้เปลี่ยนกฎระเบียบฯ ในปี ค.ศ. 2008 ตามกฎระเบียบที่ AUPSA - 432 - 2007 โดยให้ยกเลิกการห้ามนำเข้าข้าวจากประเทศไทย แต่มีข้อกำหนดใหม่ให้ผู้นำเข้าข้าวจากไทย ต้องแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการนำเข้าข้าวจากไทยภายใน 48 ชั่วโมงก่อนสินค้าจะมาถึงท่าเรือนำเข้า โดยสินค้าข้าวที่นำเข้าดังกล่าว จะต้องมีเอกสารรับรองด้านสุขอนามัยจากประเทศต้นกำเนิด รับรองว่าสินค้าข้าวดังกล่าว ต้องปลอดโรค 4 ประเภทที่ต้องห้ามนำเข้ามาในปานามา คือโรค Cadra Cautella, Corcyra Cephalonica, Oryzaephilus Sp., Chilo Sp. และ Trogoderma Granarium นอกจากนี้แล้ว สินค้าข้าวที่นำเข้าต้องมีตรารับรอง "การปฏิบัติทางเกษตรกรรมและการผลิตที่ดี" (Good Agricultural Practice -GAP) มีการบรรจุห่อสินค้าที่อยู่ในลักษณะที่ครบข้อมูล การปิดผนึกสินค้าเป็นไปในลักษณะที่ไม่สามารถดัดแปลงเปลี่ยนสินค้าได้ และจะต้องมีการปิดผนึกคอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าในลักษณะที่หน่วยงานตรวจสอบสินค้าปานามาสามารถทำการเปิดผนึกได้เพียงผู้เดียวเท่านั้น รวมทั้งคอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าข้าวนำเข้า ต้องได้ผ่านกระบวนการกำจัดฆ่าเชื้อโรคต่างๆ อย่างถูกต้องอีกด้วย

การผลิตการบริโภคข้าว และแนวโน้มการนำเข้าข้าวไทยในประเทศเม็กซิโก คิวบา และอเมริกากลางการผลิต การบริโภคข้าวในประเทศเม็กซิโก คิวบา และอเมริกากลาง

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติได้รายงานเกี่ยวกับความสำคัญของสินค้าข้าวที่อยู่ในฐานะพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคลาตินอเมริกาและในแคริเบียนไว้ว่า นับวันข้าวจะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สำหรับภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริเบียน โดยภูมิภาคดังกล่าวมีแนวโน้มจะเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของโลกในอนาคต องค์กรอาหารฯ ได้ประมาณการณ์ผลผลิตข้าวของภูมิภาคดังกล่าวสำหรับปี 2011 ในปริมาณ 29.2 ล้านตัน และคาดว่าผลผลิตข้าวสำหรับละตินอเมริกาในปี 2012 จะมีผลผลิตใกล้เคียงกับปี 2011

ผู้ผลิตข้าวที่สำคัญของภูมิภาคลาตินอเมริกาได้แก่ ประเทศบราซิล ซึ่งจะมีผลผลิตข้าวประมาณ 13.5 ล้านตัน ประเทศเปรูในปริมาณ 2.7 ล้านตัน ประเทศโคลัมเบีย 1.9 ล้านตัน ประเทศอาร์เจนตินา 1.5 ล้านตัน ประเทศอุรุกวัย 1.5 ล้านตันประเทศเวเนซุเอลา 900,000 ตัน ประเทศเอกวาดอร์ 1.4 ล้านตัน ประเทศกวายานา 584,000 และประเทศโบลิเวีย 450,000 ตัน สำหรับกลุ่มประเทศอเมริกากลางและแคริเบียนนั้น มีผลิตรวมประมาณ 2.86 ล้านตัน โดยประเทศสาธารณรัฐโดมินิกันเป็นผู้ผลิตสูงสุดในปริมาณ 900,000 ตัน ตามด้วยประเทศคิวบา 510,000 ตัน และประเทศนิการากัวที่เพิ่มผลผลิตได้ถึงร้อยละ 10 ปริมาณผลผลิตรวม 500,000 ตัน ในขณะที่ผลผลิตข้าวในประเทศเม็กซิโกสำหรับปี 2011 จะลดลงจาก 340,000 ตันเหลือเพียง 250,000 ตัน เนื่องจากเหตุผลจากสภาวะอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยและการลงทุนในการผลิตข้าวที่ลดลง สำหรับประเทศประเทศที่คาดว่าจะมีผลผลิตลดลง ได้แก่ ประเทศปานามา ซึ่งได้ลดพื้นที่การเพาะปลูกลงร้อยละ 2 โดยผลผลิตปรับแล้วเหลือ 305,000 ตัน ประเทศเอลซัลวาดอร์ และประเทศกัวเตมาลา มีผลผลิตแต่ละประเทศประมาณ 26,000 ตัน ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับสภาวะอากาศเช่นเดียวกัน

การค้าข้าวระหว่างประเทศโดยรวมในตลาดโลก มีสัดส่วนเพียงประมาณร้อยละ 7 ของผลผลิตข้าวทั่วโลก หรือประมาณ 31 ล้านตัน ในปริมาณดังกล่าวภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริเบียนจะนำเข้าข้าวประมาณ 3.4 ล้านตันต่อปี โดยกลุ่มประเทศอเมริกากลางกับแคริเบียนเป็นผู้นำเข้าข้าวที่สำคัญ โดยนำเข้าประมาณ 2.1 ล้านตันต่อปี ส่วนผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญภายในภูมิภาคลาตินอเมริกา ได้แก่ ประเทศอุรุกวัยและประเทศบราซิล ที่มีการส่งออกประมาณ 900,000 และ 600,000 ตัน ตามลำดับ

หากพิจารณาค่าเฉลี่ยการบริโภคข้าวต่อหัวของประชากรของประเทศเม็กซิโก ประเทศคิวบา และประเทศในกลุ่มประเทศอเมริกากลางตามประวัติศาสตร์แล้ว จะพบว่า ปริมาณการบริโภคข้าวในภูมิภาคดังกล่าว มีปริมาณน้อยกว่าค่าเฉลี่ยการบริโภคข้าวต่อหัวระหว่างประเทศ ซึ่งมีปริมาณประมาณ 61 กิโลกรัมต่อหัวต่อปี(ยกเว้นประเทศคิวบา ซึ่งมีอัตราการบริโภคข้าวต่อหัวสูงที่สุดถึง 78.7 กิโลกรัมต่อหัวต่อปี) จึงดูเหมือนจะมีโอกาสสำหรับการนำเข้าข้าวจากไทยน้อย แต่หากพิจารณาสถิติการนำเข้าข้าวเปรียบเทียบจากทั่วโลกขององค์การอาหารโลกในปี ค.ศ. 2009 พบว่า ประเทศเม็กซิโกและกลุ่มประเทศอเมริกากลาง จะเป็นผู้นำเข้าข้าวเปลือกที่จัดอยู่ในอันดับผู้นำเข้าข้าวเปลือกสำคัญยี่สิบประเทศของโลก เนื่องจากมีปริมาณการนำเข้าข้าวสูงของเม็กซิโกและในอเมริกากลาง โดยมีสาเหตุมาจากสภาวะสิ่งแวดล้อมที่ไม่สมดุล และจากนโยบายของภาครัฐฯ ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของการเพาะปลูกข้าวภายในประเทศสำหรับภูมิภาคดังกล่าว

RANK       COUNTRY         QUANTITY        VALUE         UNIT
                           (TONNES)       (1000$)    VALUE ($/TON)
 1        Mexico             739209       288316          390
 2        Honduras           126118        46001          365
 3        Costa Rica         110065        41194          374
 4        Nicaragua          101524        42248          416
 5        Brazil              82146        24813          302
 6        Guatemala           72730        27931          384
 7        SaudiArabia         72301        69946          967
 8        El Salvador         67890        26702          393
18        Panama              17344         6385          368
19        Cuba                12621         7726          612
แหล่งข้อมูล: FAOSTAT http://faostat.fao.org/site/342/default.aspx

อัตราการบริโภคข้าวต่อหัวในอเมริกากลาง
                  Consumption per capita in Central America (Kg.)
Country            2002        2003       2004        2005        2006        2007
Costa Rica        54.96       55.12      55.29       55.47       54.45       51.48
El Salvador       13.25       13.81      14.36       14.10       14.20       12.50
Guatemala          6.81        5.59       6.40        6.59        6.79        6.44
Honduras          14.45       14.41      14.09       14.57       14.39       14.33
Mexico             6.87        7.01       7.15        7.24        7.33        7.20
Nicaragua         51.55       54.88      58.07       56.50       56.85       55.08
Panama            60.38       59.94      59.49       59.10       58.39       57.09
Cuba              77.48       86.50      96.46       73.91       70.26       78.79
Source: USDA, FAO 2007

          เมื่อเปรียบเทียบผลผลิตข้าวของประเทศเม็กซิโก คิวบา แลในอเมริกากลางแล้ว พบว่า ประเทศที่มีความต้องการนำเข้าข้าว เนื่องจากผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ ได้แก่ ประเทศเม็กซิโก และคิวบา เป็นสำคัญ ส่วนประเทศนิการากัว คอสตาริกา ฮอนดูรัส เอลซัลวาดอร์ และกัวเตมาลา ที่เป็นประเทศที่มีมาตรฐานสุขอนามัยข้าวคล้ายกัน มีการส่งออกและนำเข้าข้าวร่วมกันในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ และส่วนที่ขาดแคลนจะนิยมนำเข้าจากประเทศสหรัฐฯ เป็นสำคัญ

          2.2 การนำเข้าข้าวไทยในประเทศเม็กซิโก คิวบา และอเมริกากลาง
          ประเทศเม็กซิโกได้มีการนำเข้าข้าวจากไทยในปริมาณที่มากขึ้น จากปี ค.ศ. 2005 เป็นต้นมา โดยในปีนั้น ได้มีการนำเข้าปริมาณ 150,230 กิโลกรัม เพิ่มจากปริมาณนำเข้าในปี 2010 ที่มีปริมาณนำเข้าเพียง 40,500 กิโลกรัม สำหรับสภาวะการนำเข้าข้าวของเม็กซิโกจากไทยในปัจจุบัน ในปี 2011 เม็กซิโกได้มีนำเข้าข้าวจากไทยในปริมาณ 204,628 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 261,000 เหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2010 ในสัดส่วนร้อยละ 8.7

          ส่วนประเทศคิวบา ที่มีการนำเข้าข้าวจากไทยในปริมาณที่สำคัญ มีลักษณะการนำเข้าข้าวที่ไม่สม่ำเสมอ โดยในปี ค.ศ. 1998 ได้มีปริมาณการนำเข้าข้าวจากไทยมากกว่าการนำเข้าข้าวจากไทยของประเทศเม็กซิโกและอเมริกากลางอื่นๆ รวมกัน  เป็นปริมาณ 146,525,000  กิโลกรัม และมีการนำเข้าในปีต่อมาเพียง 10,325,000 กิโลกรัม แต่ไม่มีการนำเข้าในปี 2001-2003 และปี 2004 จนกระทั่งในปี 2004 และ 2006 คิวบาได้กลับมานำเข้าข้าวจากไทยในปริมาณ10,325,000 และ 26,250,000 กิโลกรัมตามลำดับและไม่มีการนำเข้าไปอีกสามปีต่อมา จนกระทั่งในปี 2010 ได้มีการนำเข้าข้าวจากไทยในปริมาณ 500,000 กิโลกรัม คิวบาไม่มีข้อกำหนดการห้ามนำเข้าข้าวจากไทย ยกเว้นข้อกำหนดการนำเข้าจะต้องผ่านองค์การการนำเข้าของรัฐบาลคิวบา ซึ่งมักจะขอเครดิตการจ่ายเงินในระยะยาว 1 ปี การนำเข้าข้าวไทยของคิวบาในอดีตได้จัดทำผ่านตัวแทนรายที่สาม ไม่ได้เป็นการนำเข้าโดยตรงจากไทย ทำให้คิวบามีอำนาจต่อรองจำกัด รัฐบาลของคิวบาจึงมีท่าทีเปิดต่อการติดต่อการนำเข้าผ่านผู้ส่งออกโดยตรงจากไทย ที่มีสำนักงานตัวแทนในภูมิภาคลาตินอเมริกาเพื่อความสะดวกในการติดต่อในเรื่องของเวลาและภาษา

          นอกจากนี้แล้ว จากสถิติของฝ่ายไทยมีรายงานการนำเข้าข้าวของประเทศปานามาจากไทยในปี ค.ศ. 2008 ในปริมาณ 42,232 กิโลกรัม และสถิติการนำเข้าของประเทศฮอนดูรัสและนิการากัวได้แสดงการนำเข้าข้าวจากไทยในปริมาณหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีข้อกำหนดด้านสุขอนามัยที่ห้ามการนำเข้าข้าวจากไทยจากปี ค.ศ. 2008 เป็นต้นมาก็ตาม

การนำเข้าข้าวไทยของประเทศเม็กซิโก (ปี 2002-2011) กิโลกรัม
HS        Description    2002    2003    2004    2005     2006    2007    2008     2009     2010    2011
100620    Brown,Husked      -       -       -  21,500   21,500       -       -        -        -       -
100630    Semi/Wholly  22,000  64,000  40,500 150,230  143,340  82,456 242,844  117,844  222,357 204,628
          Milled
100640    Broken                            -       -        -       - 172,750        -        -       -
Source: Secretariat of Economy, Mexico

การนำเข้าข้าวไทยของประเทศคิวบา (ปี 1998-2010) กิโลกรัม
HS          Description            1998         1999       2000       2004         2006       2010
100630      Semi/Wholly Milled  146,525,000  10,325,000   47,035   14,250,000   26,250,000   500,000
Source: Thai Customs Department
Note: In the years not shown, the import quantity is equal to zero

การนำเข้าข้าวจากไทยในภูมิภาคอเมริกากลาง (1997 - 2011) กิโลกรัม
                                                   YEAR
COUNTRY               HS CODE     1997-2007     2008     2009     2010     2011    TOTAL
COSTA RICA           10.06.30         0          0        0        0        0        0
EL SALVADOR          10.06.30         0          0        0        0        0        0
GUATEMALA            10.06.30         0          0        0        0        0        0
HONDURAS             10.06.30         0        2,356      0        0       406     2,762
NICARAGUA            10.06.30         0          0        1       117       0       118
SOURCE: SIE (Sistema Estadistico de Centroamerica) / Central America Statistic System
SIECA (Secretaria de Integracion Economica Centroamericana) / Secretariat of Central
American Economic Integration

ภาษีการนำเข้าข้าวในเม็กซิโกและประเทศในอเมริกากลาง
          ประเทศเม็กซิโกไม่มีการเก็บภาษีสำหรับการนำเข้าข้าว ยกเว้นข้าวแดง ที่เก็บภาษีร้อยละ 10 ส่วนประเทศอื่นๆ ในประเทศอเมริกากลาง มีการประกาศโควตาการนำเข้าข้าวพิเศษรายปี สำหรับการนำเข้าข้าวโดยการยกเว้นภาษี เพื่อตอบสนองความต้องการข้าวฉุกเฉิน ในกรณีที่ผลผลิตภายในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ แต่โดยทั่วไปแล้ว กำหนดภาษีการนำเข้าข้าวไว้ในอัตราต่าง ๆ ที่ค่อนข้างสูง ดังตารางต่อไปนี้

ตารางอัตราภาษีนำเข้าข้าวในภูมิภาคอเมริกากลาง
COUNTRY          HS      IMPORT     HS      IMPORT     HS       IMPORT    HS      IMPORT    HS     IMPORT
                CODE     DUTY %    CODE     DUTY %    CODE      DUTY %   CODE     DUTY %   CODE    DUTY %
COSTA RICA  10.06.10.10     0  10.06.10.90    35    10.06.20.00   35  10.06.30.10   0  10.06.30.90    35
EL SALVADOR 10.06.10.10     0  10.06.10.90    40    10.06.20.00   40  10.06.30.10  40  10.06.30.90    40
GUATEMALA   10.06.10.10  23.7  10.06.10.90  23.7    10.06.20.00 23.7  10.06.30.10 23.7 10.06.30.90  23.7
HONDURAS    10.06.10.10     0  10.06.10.90    45    10.06.20.00   45  10.06.30.10  45  10.06.30.90    45
NICARAGUA   10.06.10.10     0  10.06.10.90    45    10.06.20.00   60  10.06.30.10  60  10.06.30.90    60
PANAMA      10.06.10.10     0  10.06.10.90    90    10.06.20.10   15  10.06.30.10  15  10.06.30.90    90
Economic Integration
PANAMA Data from Panama National Customs Authority

สถานการณ์ข้าวปี 2012 ของประเทศเม็กซิโก
          เมื่อเดือนพฤษภาคม 2011 สภาผู้ผลิตข้าวแห่งเม็กซิโก (Consejo Mexicano del Arroz) ได้แจ้งข่าวเรื่องผลผลิตข้าวภายในประเทศเม็กซิโกประจำปี 2011 ซึ่งได้คาดการณ์ว่าผลผลิตจำนวน 340,000 ตัน ซึ่งเป็นปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากปี 2010 ร้อยละ 17 แต่ยังคงเทียบได้เพียงประมาณร้อยละ 30 ของปริมาณความต้องการข้าวเพื่อการบริโภคภายในประเทศเม็กซิโก ซึ่งเมื่อสิ้นปี 2011 เม็กซิโกสามารถผลิตข้าวได้เพียง 260,000 ตัน และยังมีปริมาณความต้องการจากต่างประเทศรวมประมาณปีละ 800,000 ตัน - 1 ล้านตันต่อปี

          พื้นที่การเพาะปลูกข้าวที่สำคัญของเม็กซิโกอยู่ในรัฐตอนกลางของเม็กซิโกของทั้งสองฝั่งมหาสมุทร ฝั่งแปซิฟิกได้แก่ รัฐ Michoacan รัฐ Nayarit รัฐ Colima รัฐ Sinaloa และรัฐ Jalisco ฝั่งแอตแลนติกได้แก่รัฐ Veracruz รัฐ Campeche และรัฐ Tamaulipas และการนำเข้าข้าวจากสหรัฐฯ ได้มีจุดเริ่มต้นจากโรงสีข้าวในรัฐ Sinaloa ที่มีความใกล้ชิดกับผู้ส่งออกข้าวสหรัฐ และประเภทของข้าวที่เป็นที่รู้จักสำหรับผู้บริโภคเม็กซิกัน แยกเป็นสองประเภทคือ ประเภท Sinaloa Long Grain และประเภท Morelos Short Grain โดยข้าวประเภท long grain มักจะเป็นข้าวที่นำเข้าจากสหรัฐฯ ราคาของข้าว long grain ที่นำเข้าจากสหรัฐฯ และปากีสถานมีราคาที่ต่ำกว่าราคาข้าวที่ผลิตภายในประเทศถึงร้อยละ 20 ส่งผลให้ตลาดของข้าวประเภท Morelos ที่ผลิตภายในประเทศเป็นที่นิยมน้อยลง รัฐบาลของเม็กซิโกได้เริ่มการรณรงค์ด้านโภชนาการและสุขภาพเมื่อต้นปี 2000 เพื่อส่งเสริมให้ชาวเม็กซิกันหันมาทานข้าวที่ผลิตภายในประเทศมากขึ้น ได้มีผลเพิ่มอัตราการบริโภคข้าวต่อหัวโดยทั่วไป จากคนละ 5.8 กิโล เป็น 6.5 กิโลต่อปีในระหว่างปี 1999 -2001

          ประเทศเม็กซิโกนำเข้าข้าวจากสหรัฐฯ เป็นหลัก ประมาณร้อยละ 99 นอกจากประเทศสหรัฐฯ แล้วจะมีการนำเข้าจากประเทศอื่นๆ ในปริมาณที่น้อยมากได้แก่ ประเทศอุรุกวัย ไทย และอิตาลี เป็นต้น ประเภทของข้าวที่นำเข้าเป็นข้าวที่ยังมิได้สีในอัตราส่วนร้อยละ 75.94 กึ่งสีและสำเร็จรูปในอัตราร้อยละ 23.37 และข้าวหักและข้าวสีอื่นในอัตราร้อยละ 0.68

          สาเหตุหลักที่มีการนำเข้าข้าวจากสหรัฐฯ ในปริมาณและมูลค่าสูงเนื่องมาจากเป็นนำเข้าข้าวที่ยังมิได้สี ทำให้อัตราภาษีนำเข้าถูกและเนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐฯ เพื่อให้มีการนำเข้าข้าวมาสีภายในประเทศ นอกจากนี้ประชากรของเม็กซิโกส่วนใหญ่ มิได้บริโภคข้าวเป็นหลัก แต่จะบริโภคข้าวโพดและผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดที่เรียกว่า 'ตอติย่า' เป็นอาหารหลัก มีการนำข้าวมาประกอบอาหารในลักษณะอาหารข้างเคียง ความคุ้นเคยกับข้าวประเภท long grain ของสหรัฐฯ ทำให้การนำเข้าข้าวของไทยมีจำกัดเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคที่คุ้นเคยกับอาหารไทย หรืออาหารเอเชีย คนเอเชียที่อาศัยออยู่ในประเทศเม็กซิโก และร้านอาหารไทยที่มีอยู่จำนวนน้อยในประเทศ

ราคาขายข้าวปลีกในประเทศเม็กซิโก
          อัตราขายปลีกข้าวที่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้าสำหรับข้าวที่นำเข้าจากสหรัฐฯ หรือข้าวที่มีการสีภายในประเทศจะจัดจำหน่ายอยู่ในอัตราราคาประมาณ 12-25 เปโซ ต่อ 1 กิโลกรัมในขณะที่ข้าวของไทย ที่มักจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าอาหารพิเศษ gourment หรือชั้นวางของอาหารจากต่างประเทศ จะตั้งราคาอยู่ประมาณ 40-60 เปโซ ต่อ 1 กิโลกรัม (อัตราแลกเปลี่ยนธนาคารกลางในอัตรา 12.70 เปโซ = 1 เหรียญสหรัฐฯ ณ วันที่ 4 เมษายน 2555)

ตารางเปรียบเทียบราคาข้าวในเม็กซิโก
Type                             Weight/Brand             Price in pesos      Aprox.  Price in USD
                                                                              12.80 pesos=1 USD
Organic Rice (national)          1 Kg. Mexico Organico      45.10                    3.5 USD
Big sized grain rice(national)   1 Kg. Verde Valle          22.10                    1.7 USD
Sinaloa Type rice(national)      900 grams Morelos          18.50                    1.5 USD
Regular grain rice(national)     1 Kg .  Morelos            10.00                    1.0 USD
Pre-cooked rice (national)       750 grams Cristal          39.90                    3.0 USD
Sushi Rice (imported)            800 grams  Kaporo          38.00                    3.0 USD
Pre-cooked anti-                 750 grams  Verde Valle     15.90                    1.2 USD
stick rice(national)
Instant rice, natural flavor     300 grams Verde Valle      22.00                    1.7 USD
(national)
Instant rice,tomato flavor       280 grams  Verde Valle     22.00                    1.7 USD
Super Extra type(national)       1 Kg. San Lazaro           16.10                    1.3 USD
Super Extra type (national)      1 kg. SOS                  16.00                    1.3 USD
Super extra pre-cooked(national) 1 kg SOS                   22.00                    1.7 USD
Cous cous rice                   250 grams                  32.00                    2.5 USD
(imported) Jazmin rice(national) 1kg                        48.00                    3.8 USD
Jafar Japanese regular rice      2.2 Kg Diamond G           66.00                    5.0 USD
(Japan)
ประเทศปานามาและประเทศฮอนดูรัส

นักธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับวงการข้าวในประเทศปานามาและฮอนดูรัสได้คาดคะเนว่า ทั้งสองประเทศดังกล่าวมีความจำเป็นต้องนำเข้าข้าวในปี 2012 เนื่องจากสต็อกข้าวที่มีอยู่มีไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ

นาย Oscar McKay รองผู้อำนวยการสถาบันการตลาดภาคเกษตร (Institute of Agricultural Marketing IMA) ของประเทศปานามา ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว Prensa.com ว่า ข้าวคงคลังของประเทศปานามาที่มีอยู่ 2.7 แสนตัน เป็นปริมาณที่เพียงพอสำหรับความต้องการบริโภคภายในประเทศได้ถึงเดือนมิถุนายน 2012 แต่เนื่องจากผลผลิตข้าวภายในประเทศปานามามีไม่เพียงพอกับความต้องการรวมประจำปี จึงคาดว่าจะต้องมีการอนุมัติโควต้าการนำเข้าข้าวในปริมาณประมาณ 1.5 แสนตันซึ่งจะใกล้เคียงกับปริมาณโควต้าที่ได้อนุมัติการนำเข้าในปี 2010 ทั้งนี้ในปี 2009 ปานามาได้นำเข้าข้าวเพื่อชดเชยผลผลิตที่ไม่เพียงพอในปริมาณ 2 แสนตัน

สำหรับภาคการผลิตภายในประเทศ ต้นทุนการผลิตข้าวสำหรับชาวเกษตรกรปานามาได้เพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 20 โดยต้นทุนการเพาะปลูกข้าวสำหรับพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6 ไร่กับ 1 งาน) มีมูลค่าประมาณ 2,050 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเฮกตาร์ ในขณะที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสามารถขายข้าวในราคาเพียง 20.25 เหรียญฯ ต่อกิโลกรัม ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ในปี 2010 ได้มีการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่รวม 64,400 เฮกตาร์ โดยมีผลผลิต 1.2 ล้านบูชเชล แต่ในปี 2011 ได้มีการเพาะปลูกลดลงเหลือเพียง 57,456 เฮกตาร์ รวมทั้งผลผลิตที่ลดลงเนื่องจากฝนตกหนักกว่าปกติ จึงคาดว่าข้าวที่เก็บเกี่ยวได้ทั้งหมดภายในปี 2011 จะมีปริมาณรวมประมาณ 5.6 ล้านบูชเชล ในขณะที่การบริโภคข้าวของปานมามีประมาณ 7.5 ล้านบูชเชล

หมายเหตุ : หน่วยนับของข้าวในประเทศปานามา คือ บูเชล Bushel : 1 บูเชล = 20.41 กิโลกรัม

หน่วยนับของเฮกตาร์ เท่ากับ 10,000 ตารางเมตร

ประเทศปานามามีมีประชากรรวมประมาณ 3 ล้านคน และปริมาณการบริโภคข้าวโดยเฉลี่ยของชาวปานามาต่อหัวในปัจจุบันเท่ากับ 70 กิโลกรัมต่อคนต่อปี

การนำเข้าข้าวไทยของประเทศปานามา

ในปี 2011 ไม่มีสถิติการนำเข้าข้าวของประเทศปานามาจากฝ่ายไทย แต่มีสถิติของหน่วยงานปานามา ได้ระบุว่า มีการนำเข้าข้าวไทยไปแล้วเมื่อปีที่ผ่านมา โดยตามสถิติข้อมูลของหน่วยงานด้านความมั่นคงอาหารของปานามา Autoridad Panamena De Seguridad De Alimentos ระบุการดำเนินการนำเข้าข้าวไทยมาประเทศปานามาในช่วง 3 ปีหลัง (2010 -2012) มีจำนวนหนึ่ง

ประเทศฮอนดูรัสกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าฮอนดูรัสได้ประเมินผลผลิตข้าวเปลือกเมื่อสิ้นปี 2011 ในปริมาณ 91,500 ตัน โดยราคาข้าวภายในประเทศฮอนดูรัสมีราคาประมาณ 18.36 เหรียญสหรัฐฯ ต่อคินตัล ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 20 เหรียญต่อคินตัลภายในสองปีข้างหน้ากระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าฮอนดูรัสคาดว่า ความต้องการบริโภคข้าวภายในของประเทศฮอนดูรัสสำหรับปี 2012 จะมีความต้องการประมาณ 3 แสนตัน และ กำลังพิจารณาการมให้โควต้าการนำเข้าข้าวเปลือกในปริมาณหนึ่งแสนตัน โดยจะเป็นการนำเข้าภายใช้สิทธิพิเศษของความตกลงเขตการค้าเสรี DR-CAFTA

หมายเหตุ: หน่วยนับของข้าวในอเมริกากลาง คินตัล quintal : 1 คินตัล = 45.37 กิโลกรัม)

ประเทศคอสตาริกา ข้อมูลจากบริษัทค้าข้าวแห่งชาติของคอสตาริกา ได้กล่าวว่าประเทศมีความเพียงพอสำหรับปริมาณสต๊อคข้าวของประเทศประเทศคอสตาริกามีการนำเข้าข้าวในปริมาณ 162,000 ตันต่อปี โดยเป็นลักษณะการนำเข้าที่มรโควต้าที่ไม่ต้องเสียภาษี และเป็นการนำเข้าข้าวจากประเทศสหรัฐฯ ถึงร้อยละ 98 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด นอกจากนี้ คอสตาริกามีความสนใจที่จะนำเข้าข้าวจากประเทศอื่นๆ โดยนำเข้าประเทศบราซิลและอุรุกวัย ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่มีความคล้ายคลึงกับพันธุ์ท้องถิ่นของประเทศตนเอง แต่การนำเข้าจากประเทศเหล่านี้ จะคงมีในปริมาณน้อย ปริมาณสต็อกในประเทศในปัจจุบันมีจำนวน 53,500 ตัน พื้นที่เพาะปลูกประเทศจำนวน 47,000 เฮกตาร์

ประเทศคิวบา เนื่องจากประเทศคิวบาดำเนินการการปกครองแบบสังคม แม้ว่าประเทศคิวบาไม่มีข้อกำหนดการห้ามนำเข้าข้าวจากไทย ยกเว้นข้อกำหนดการนำเข้าผ่านองค์การการนำเข้าของรัฐบาลคิวบาเท่านั้น ซึ่งปัญหาหลักคือการขอเครดิตเป็นระยะยาว 1 ปี เนื่องจากรัฐบาลมีปัญหาในด้านงบประมาณที่มี ไม่เพียงพอ ปัญหาจากการถูกคว่ำบาตรจากประเทศสหรัฐอเมริกา และปัญหาจากภัยธรรมชาติทีเกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้สถานทางการเงินของรัฐบาลคิวบามีไม่มั่นคง นอกเหนือจากนี้ เงินอุดหนุนเดิมที่ประเทสรัสเซียได้เคยให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มประเทศสังคมนิยมด้วยกันได้หยุดลง คงเหลือประเทศที่ยังคงมีความสัมพันธ์ทางด้านการเมือง ซึ่งเป็นการค้าในลักษณะต่างตอบแทน หรือให้เปล่า คือประเทศจีน และเวียดนาม โดยเฉพาะเวียดนาม ยังถือเป้นคลาดข้าวที่สำคัญที่ยังคงส่งออกได้ในปริมาณ 300,000 ตันต่อปี โดยการนำเข้าข้าวไทยของคิวบาในอดีตได้จัดทำผ่านตัวแทนรายที่สาม ไม่ได้เป็นการนำเข้าโดยตรงจากไทย ทำให้คิวบามีอำนาจต่อรองจำกัด รัฐบาลของคิวบาจึงมีท่าทีเปิดต่อการติดต่อนำเข้าผ่านผู้ส่งออกโดยตรงจากไทย ที่มีสำนักงานตัวแทนในภูมิภาคละตินอเมริกาหรือในพื้นที่เวลาเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการติดต่อในเรื่องเวลาและภาษา

ประเทศนิการากัว จากสถิติของ FAO ระบุว่าประเทศนิคาราคัวมีกำลังการผลิตข้าวเฉลี่ย 300,000 ตันต่อปีมาตั้งปี 2008-2010 แต่มีปริมาณไม่เพียงพอ และมีการนำเข้าข้าวจากสหรัฐฯ เกือบทั้งหมด ในปริมาณ 100,000 ตันในปี 2011 เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 12 จากปี 2010 ในปริมาณ 81,900 ตัน ซึ่งก็ได้เพิ่มจากปี 2009 เป็นการนำเข้าข้าวพันธุ์ long grain ที่ยังไม่ได้สี rough rice (ข้อมูล USDA , Rice Situation and Outlook, April 2012)

สำหรับการเพาะปลูกข้าวในนิคาราคัว มีการเพาะปลูกข้าวใน 9 เขต/จังหวัดและระยะเวลาการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวมีดังตารางต่อไปนี้

แหล่งผลิตข้าวในประเทศ

อัตราส่วน : เต็ม 100%

      Production zone            Harvested area (% total harvested area)
Central                                           25.06
Sun                                               22.14
Occidental                                        20.68
Norte                                              9.70
Rio San Juan                                       8.97
Autonoma Atlantico Sur                             5.25
Las Segovias                                       4.30
Autonoma Atlantico Norte                           3.65
Managua                                            0.26
ระยะเวลาการเพาะปลูกข้าวในประเทศมี 2 ช่วง ตามตาราง

หน่วย : เดือน

Cropping season     Planting     Harvesting
  Main season         4-5           9-10
 Second season      11-12            3-4
การพิจารณานำเข้าข้าวจากไทยของประเทศนิการากัว

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2012 ได้มีการเดินทางของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้านิการากัว คือ Mr. Oscar Solorzano และคณะฯ มาเยือนประเทศไทยและเข้าพบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายภูมิ สาระผล) สำนักงานฯ ได้นำเสนอและมีความเห็นว่าในปัจจุบันตามสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศมีสูง โดยให้ฝ่ายไทยได้หยิบยกประเด็นการห้ามนำเข้าวจากไทยของประเทศนิการากัว โดยยกประเด็นของการผลศึกษาขององค์กร OIRSA และการอนุญาตให้มีกานำเข้าข้าวไทยของสองประเทศในภูมิภาคคือประเทศเม็กซิโกและปานามา แต่มีมาตรการสุขอนามัยควบคุมอยู่ด้วย ซึ่งผลการหารือฝ่ายนิการากัวรับว่าจะนำแก้ไขปัญหาดังกล่าว ปัจจัยที่สำคัญมิใช่อยู่ที่ศักยภาพการนำเข้าไทยของนิการากัวที่โดยหลักเป้นประเทศที่อยู่ในฐานะยากจน แต่หากนิการากัวสามารถอนุญาตให้มีการนำเข้าไทยได้ จะสามารถนำมาเป็นประเด็นในการโน้มน้าวประเทศสมาชิกอื่นๆ ที่ยังคงห้ามนำเข้าจากไทยได้ในอนาคต และการปกป้องตลาดภายในโดยอ้างมาตรการสุขอนามัยเป็นข้อห้ามดังกล่าว

กิจกรรมการส่งเสริมการส่งออกสินค้าข้าวในประเทศเม็กซิโกในอดีต

ปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินการทำกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกเฉพาะสำหรับข้าวไทยในประเทศเม็กซิโกหรือประเทศในภูมิภาคอเมริกากลาง เนื่องจากปริมาณการนำเข้าข้าวจากไทยยังมีปริมาณน้อย และเป็นที่รู้จักกันเฉพาะในกลุ่มผู้คนที่มีรายได้สูง และ/หรือเคยเดินทางไปต่างประเทศ แต่ได้ใช้สินค้าข้าวไทยเป็นสินค้าส่วนหนึ่งในการทำกิจกรรมเส่งเสริมการตลาดสินในกลุ่มค้าอาหารแปรรูปของไทย ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา สำนักงานฯ ได้ดำเนินการจัดโครงต่างๆ ได้แก่

1. การจัดโครงการ Instore Promotion สินค้าทั่วไป "Thailand Exotica" กับห้างสรรพสินค้า Commercial Mexicana ในระหว่างวันที่j 21 กันยายน - 7 ตุลาคม 2006

2. การจัดโครงการ Instore Promotion สินค้าอาหารแปรรูปไทยกับห้างสรรพสินค้า Palacio de Heirro ในระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน - 30 กรกฎาคม 2007

3. การจัดการเรียนการสอนการทำอาหารไทย Training for Trainers ของสถาบันอาหาร ในระหว่างวัน ที่ 2 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2009

4. และการจัดทำ Product Display สินค้าอาหารแปรรูปไทยในกิจกรรม Thailand Food Festival ร่วมกับโรงแรม Nikko Hotel ณ กรุงเม็กซิโก โดยร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเม็กซิโก ในระหว่างวันที่ 4-10 กุมภาพันธ์ 2010

5. การจัดคณะผู้แทนการค้าในภูมิภาคสินค้าอาหารจากประเทศเม็กซิโกเดินทางไปยือนงานแสดงสินค้าอาหาร THAIFEX ในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี

ข้อสังเกตเกี่ยวโอกาสการนำเข้าข้าวไทยสำหรับเม็กซิโกแลประเทศในะอเมริกากลาง

1. ข้าวเป็นสินค้าอาหารหลักที่มีความสำคัญในระดับที่แตกต่างกัน สำหรับผู้บริโภคในเม็กซิโก คิวบา และอเมริกากลาง โดยเม็กซิโกและกัวเตมาลามีค่าเฉลี่ยการบริโภคข้าวต่อหัวที่ต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศดังกล่าว เนื่องจากอาหารหลักของสองประเทศดังกล่าว คือตอร์ติยาที่ทำจากข้าวโพด แต่อย่างไรก็ตาม โดยที่ประชากรชาวเม็กซิกันมีจำนวนมากและผู้ผลิตข้าวภายในของเม็กซิโกมีความแข่งขันในการผลิตข้าวที่ต่ำ จึงมีความต้องการนำข้าวที่สูง แต่โดยส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าจากสหรัฐฯ เป็นสำคัญ เนื่องจากราคาข้าวอเมริกันที่ถูก และข้าวอเมริกันมีลักษณะที่เหมาะสมกับวิธีการทำอาหารของชาวเม็กซิกัน ในขณะที่ข้าวไทยมีราคาสูงกว่ามาก และยังไม่เป็นรู้จักนิยมอย่างกว้าวขวาง ผู้ผลิตข้าวที่เป็นผู้แข่งขันสำคัญอีกรายหนึ่งในภูมิภาคดังกล่าวได้แก่ ประเทศโคลัมเบีย แต่ข้าวของโคลัมเบียเป็นข้าวลักษณะอเมริกัน และยังสู้ราคาของข้าวอเมริกันไม่ได้

2. ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่สุดของข้าวจากสหรัฐฯ เป็นการนำเข้าเป็นข้าวที่ยังไม่ได้สี และเป็นข้าวราคาถูก และถูกกว่าขายในประเทศ จากผลประโยชน์จากเขตการค้าเสรี และจากคำอ้างว่าผู้ปลูกข้าวในท้องถิ่นว่าสหรัฐฯได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล subsidize มาก ซึ่งเป็นการทำลายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นขนาดเล็ก ในขณะที่ข้าวที่ไทยส่งออกในตลาดอเมริกาที่ผ่านมาเป็นข้าวคุณภาพดี มีราคาสูง จึงเป็นตลาดระดับบน ปริมาณไม่มาก ซึ่งไม่เข้าในสู่ฐานผู้บริโภคส่วนใหญ่ และจะไม่มีผลต่อผู้ผลิตภายในประเทศเหล่านี้

3. หากผู้ส่งออกข้าวไทยมีแผนงานการตลาดที่รณรงค์เรื่องคุณสมบัติ และความสามารถในการส่งออกของข้าวไทย ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นสำหรับผู้บริโภคในภูมิภาคดังกล่าว และพัฒนาความแข่งขันในด้านต้นทุนโลจิสติกส์มากขึ้น จะมีโอกาสการขยายตลาดในภูมิภาคดังกล่าวสำหรับข้าวที่นำเข้าจากไทยได้มากขึ้น เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มการนำเข้าข้าวมากขึ้นในระยะปานกลาง

4. ประเด็นที่ผู้ส่งออกข้าวไทยควรพิจารณาเป็นพิเศษ คือ ความสำคัญในการปฏิบัติตามข้อกำหนดสุขอนามัยพืชอย่างเคร่งครัด เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการถูกสั่งทำลายสินค้า หรือความล่าช้าในการผ่านศุลกากรที่ท่าเรือนำเข้า รวมทั้งการคำนวณคาดการณ์ค่าใช้จ่ายค่าภาษี หรือการตรวจสอบข้อกำหนดและช่วงระยะเวลาของโควต้าการนำเข้าพิเศษ ผู้ส่งออกข้าวไทยควรให้ความระมัดระวังในการคัดเลือกผู้นำเข้าในพื้นที่ ให้เป็นผู้ที่มีความเข้าใจมีประสบการณ์ที่เชียวชาญเกี่ยวกับกฏระเบียของบสุขอนามัย และการปฏิบัติด้านศุลกากรของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้

สิงหาคม 2012

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโก

เอกสารแนบ 1

สรุปกฎระเบียบการนำเข้าข้าวจากประเทศเม็กซิโก

ปัจจุบันเม็กซิโกได้กำหนดมาตรฐานในการนำเข้าข้าวเฉพาะจากไทย เนื่องจากมิได้นำเข้าข้าวจากแหล่งอื่น นอกเหนือจากประเทศสหรัฐฯ เป็นหลัก โดยได้กำหนดมาตรฐานสินค้าตามกฎระเบียบการนำเข้าเลขที่ NOM-028-FITO-1995 ของเม็กซิโก (รายละเอียดตามคำแปลจากภาษาสเปนเป็นภาษาอังกฤษที่แนบ) ซึ่งมีสาระสำคัญพอสรุปได้ ดังนี้

1.) เฉพาะสินค้าข้าวที่สีแล้ว (Polished Rice) ที่ส่งออกจากไทยไปยังประเทศเม็กซิโกจะต้องมีการ Fumigate จำนวน 2 ครั้ง กล่าวคือ ครั้งแรกก่อนบรรจุข้าวลงถุง และครั้งที่สองเมื่อบรรจุลงถุงแล้ว โดยจะต้องมีใบรับรองออกโดยภาครัฐที่เกี่ยวข้องของไทย (กรมวิชาการเกษตร) เท่านั้น โดยระบุว่าได้มีการ Fumigate ทั้ง 2 ครั้งจริง ทั้งนี้ให้ระบุรายละเอียดในข้อที่ 8 ของแบบฟอร์ม Phytosanitary Certificate ของกรมวิชาการเกษตร

2.) สารเคมีที่ใช้ในการอบ Fumigate สามารถใช้สาร Methyl Bromide โดยให้มีระดับปริมาณการใช้สารฯ ให้สอดคล้องกับระยะเวลาการอบ อุณหภูมิระหว่างที่อบและความเข้มข้นของสาร Methyl Bromide ตามตารางที่ระบุใน NOM-028-FITO-1995 ดังรายละเอียดนี้

A) T302 (D1) TREATMENT. METHYL BROMIDE AT NORMAL ATMOSPHERIC PRESSURE IN CHAMBER OR UNDER PLASTIC COVER.
                                        CONCENTRATION G/M3 AFTER READING
TEMPERATURE         DOSE        OF:
                                0.5 HRS            2.0 HRS              12 HRS
32 C OR               40             30                 20                  15
HIGHER 27 - 31 C      56             42                 30                  20
21 - 26               72             54                 40                  25
16 - 20 C             96             72                 50                  30
10 - 15 C            120             90                 60                  35
4 - 9 C              144            108                 70                  40

ทั้งนี้โดยให้ใส่ข้อมูลระยะเวลาอบ และอุณหภูมิระหว่างที่อบไว้ให้ครบถ้วนในข้อที่ 13 ของแบบ ฟอร์ม Phytosanitary Certificate ของกรมวิชาการเกษตร และให้ระบุความเข้มข้นของสาร Methyl Bromide เป็นมาตรา Metric ไว้ในข้อที่ 14 ของแบบฟอร์ม Phytosanitary Certificate ของกรมวิชาการเกษตร

3.) ด่านศุลกากรทางการเม็กซิโกตามที่ระบุใน NOM-028-FITO-1995 ที่อนุญาตให้ผ่านพิธีการนำเข้าข้าวจากไทย กำหนดให้ผ่านด่านศุลกากรตามท่าเรือต่อไปนี้ Tuxpan, Veracruz, Manzannillo และ Puerto de Altamira เท่านั้น

ทั้งนี้ระเบียบดังกล่าวมีความเคร่งครัด เนื่องจากประเทศเม็กซิโกถือว่าสินค้าข้างเป็นพืชผลที่อาจมีแมลงที่อาจมีทำลายพืชผลที่เป็นผลผลิตที่สร้างรายได้ของประเทสศุง หากพบแมลงเพียงตัวอย่างเดียวจะมีคำสั่งให้ทำลายปริมาณการส่งออกของ shipment ทั้งหมด มิได้อนุญาตให้มีการส่งออกกลีบไปยังต้นทาง และได้มีกรกณีตัวอย่างการนำเข้าจากไทยที่มิได้ดำเนินการตามระเบียของเม็กซิโกมาแล้ว จึงจำเป็นที่ผู้ส่งออกไทยต้องปฏิบัติตามระเบียบที่ถูกต้อง

ตามกฎระเบียบการนำเข้าเลขที่ NOM-028-FITO-1995 ของเม็กซิโก เป็นข้อกำหนดการนำเข้าเข้ามาสู่ประเทศเม็กซิโกครอบคลุม 4 ประเทศ คือ ประเทศอุรุกวัย อาเจนติน่า สหรัฐอเมริกาและประเทศ โดยอ้างกฎระเบียนเดิม 3 ข้อได้แก่

ตามกฎระเบียบการนำเข้าเลขที่ NOM-005-FITO-1995 ของเม็กซิโก ออกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1996 ได้ระบุรายการสินค้าเกษตร จำนวน 11 รายการรวมสินค้าข้าวด้วย และจากรายชื่อประเทศ 48 ประเทศ ห้ามมิให้มีการนำเข้าสินค้าการเกษตรเข้าสู่ประเทศเม็กซิโก ซึ่งรวมประเทศต่างๆ จากเอาเซียนได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่าและประเทศไทยด้วย

ต่อมา เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2002 มีการปรับกฎระเบียบ โดยกำหนดให้ประเทศไทยได้รับการยกเว้นจากกฎระเบียบการนำเข้าดังกล่าว โดยฝ่ายเม็กซิโกยอมรับผลการวิเคราะห์จากฝ่ายไทยว่า การดำเนินการทางด้านมาตรการทางสุขอนามัยต่อสินค้าข้าว จะทำให้สามารถปกป้องการระบาดของเชื้อโรคที่จะเกิดขึ้นได้ในประเทศเม็กซิโกได้ ซึ่งทำให้ประเทศไทยสามารถส่งออกสินค้าเฉพาะรายการข้าวได้

กฎระเบียบการนำเข้าเลขที่ NOM-006-FITO-1995 กำหนดกฎระเบียบขั้นต่ำในสินค้าเกษตรที่สามารถนำเข้ามาในประเทศเม็กซิโก ที่ไม่ได้อยู่ในกฎระเบียบข้ออื่นใด ซึ่งต้องเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานการเกษตรเม็กซิโก SAGARPA และหน่วยงานควบคุม SENASICA ซึ่งมีมาตรการที่เข้มข้น เช่นได้ การจัดทำ Risk Analysis, Risk Evaluation และ Risk Management เป็นต้น

อนึ่ง ข้าวจากประเทศเวียดนามซึ่งมิได้ในกฎระเบียบอื่น จำเป็นต้องใช้ระเบียบข้อนี้ และในปัจจุบันยังไม่สามารถส่งออกมาประเทศเม็กซิโกได้

กฎระเบียบการนำเข้าเลขที่ NOM-013-FITO-1995 เป็นระเบียบที่ฝ่ายเม็กซิโกสำหรับสินค้าต้นข้าวและเมล็ดข้าว มีมาตรการที่จะปกป้องการเกิดโรคระบาดของพืชผลของประเทศ โดยกำหนดรายชื่อประเทศ รายชื่อเชื่อโรค/แมลง และตนต่อและความรุนแรงของเชื้อโรคตามรายประเทศ และไม่สามารถนำเข้ามาในประเทศเม็กซิดกได้ ซึ่งเป็นรายชื่อเกือบทุกประเทศในโลก รวมทั้งประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อยกเว้น ในกรณีที่จะนำมาเนื่องจากทางวิจัย หรือเพื่ออุตสาหกรรม ยังสามารถขออนุญาตการนำเข้ามาได้ แต่ต้องผ่านกฎระเบียบการนำเข้าเลขที่ NOM-006-FITO-1995

เอกสารแนบ 2

คำแปลสรุปประกาศองค์กรความมั่นคงอาหารปานามา

(Resuelto AUPSA-DINAN-432-2007)

ประกาศเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 "เพื่อการยกเลิกข้อกำหนดสุขอนามัยพืชสำหรับการนำเข้าข้าวสารฟอกขาวกับกึ่งฟอกขาว สี และเคลือบจากประเทศไทย"

ตามข้อกำหนดเกี่ยวกับความมั่นคงเกี่ยวกับอาหาร (Decreta Ley 11 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2006) ขององค์กรความมั่นคงอาหารปานามา (AUPSA) ที่ห้ามการนำเข้าข้าวจากภูมิภาคเอเชียวันออกเฉียงใต้ ตามมติที่ประชุมรัฐมนตรีเกษตรกลุ่มประเทศแพนอเมริกครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 1995 ที่เมืองกรานาดา ประเทศนิการากัว เพื่อป้องกันภัยจากโรคด้วงข้าวประเภท Khapra Beetle (Trogoderma granarium) นั้น องค์การความมั่นคงอาหารปานามา ได้พิจารณาว่า

1. ข้าวสารประเภทฟอกขาวกับกึ่งฟอกขาว สี และเคลือบจากประเทศไทย รหัสสินค้า 1006.30.00

มีคุณสมบัติด้านสุขอนามัยที่อนุมัติให้นำเข้าได้

2. โดยผู้นำเข้าข้าวสารจากไทย ต้องแจ้งเกี่ยวกับนำเข้าข้าวจากไทย 48 ชั่วโมงก่อนที่สินค้านำเข้า

ดังกล่าวจะถึงท่าเรือนำเข้าปลายทาง

3. จะต้องมีเอกสารรับรองด้านสุขอนามัยจากหน่วยงานรับรองด้านสุขอนามัยพืชอย่างเป็นทางการของประเทศ

ต้นกำเนิดรับรองว่า สินค้าข้าวดังกล่าวเป็นข้าวสารที่ได้ทำการเพาะปลูก และมีการบรรจุห่อสินค้า ที่มีต้นกำเนิด

จากประเทศไทย โดยปลอดโรค 4 ประเภทที่ต้องห้ามในปานามา คือ Cadra Cautella, Corcyra Cephalonica,

Oryzaephilus Sp., Chilo Sp., และ Trogoderma Granarium

4. ให้สินค้าข้าวที่นำเข้ามีตรารับรอง "การปฏิบัติทางเกษตรกรรมและการผลิตที่ดี"

(Good Agricultural Practice/Good Manufacturing Practice - GAP/GMP)

5. มีการบรรจุห่อสินค้าที่ในลักษณะที่ครบข้อมูล การปิดผนึกสินค้าเป็นไปในลักษณะที่ไม่สามารถดัดแปลงเปลี่ยนสินค้า

6. คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อภายในอย่างถูกต้อง

7. คอนเทนเนอร์ได้มีการปิดผนึกที่สามารถทำการเปิดผนึกได้โดยหน่วยงานตรวจสอบสินค้าปานามาเท่านั้น

8. เอกสารที่ต้องแนบมากับสินค้า คือ แบบฟอร์มการแจ้งการนำเข้า ใบรับรองสุขอนามัยพืชจากต้นกำเนิดสินค้า

ใบกำกับสินค้า และใบเบิกศุลกากร

9. องค์กรความมั่นคงอาหารของปานามาสงวนสิทธิ์การสุ่มตัวอย่างตรวจสอบคุณสมบัติสินค้านำเข้าโดยค่าใช้จ่าย

ในการตรวจสอบสินค้าดังกล่าวเป็นภาระของผู้นำเข้า


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ