ผลกระทบจากข้อพิพาทกับจีนต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น (ที่กำลังประสบภาวะถดถอย)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 18, 2012 15:04 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ผลกระทบจากข้อพิพาทกับจีน

ยอดขายสินค้าญี่ปุ่นในจีนลดลง โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมรถยนต์ โดยบริษัทรถยนต์ ญี่ปุ่นในจีนต้องหยุดการผลิตชั่วคราว และปรับลดการผลิตตอบรับยอดขายที่ลดลงในประเทศจีน การลดลงของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศระหว่างจีนและญี่ปุ่น ซึ่งคาดการณ์ว่าญี่ปุ่นจะได้รับผลกระทบมากกว่าจีน เนื่องจากมูลค่าการส่งออกของญี่ปุ่นไปจีนคิดเป็นสัดส่วน 20% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ในขณะที่มูลค่าการส่งออกของจีนไปญี่ปุ่นคิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 10 % ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของจีน

ถึงแม้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นต้องการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับจีนเพื่อไม่ให้ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นถดถอยลงกว่าในปัจจุบัน แต่รัฐบาลญี่ปุ่นมีความกังวลว่าการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับจีนจะส่งผลกระทบต่อคะแนนนิยมของพรรครัฐบาลในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี 2556

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่ส่งผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น

  • วิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป
  • การแข็งค่าของเงินเยน
  • การขาดดุลการค้า
  • หนี้สาธารณะที่สูงถึง 200 เท่าของ
  • GDP โครงสร้างสังคมสูงอายุ

-มาตรการการขึ้นภาษีบริโภคที่จะส่งผลต่อการบริโภคของคนญี่ปุ่น

นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลญี่ปุ่น

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จึงได้ประกาศนโยบายผ่อนคลายมาตรการทางการเงินว่าจะใช้งบประมาณจำนวน 91 ล้านล้านเยน ในโครงการซื้อทรัพย์สินและคงอัตราดอกเบี้ยญี่ปุ่นในระดับร้อยละ 0-0.1 ต่อไป จัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ภาคเอกชนนำไปขยายการลงทุน

การดำเนินการของภาคเอกชน

การออกไปลงทุนในต่างประเทศ และการควบรวมกิจการกับบริษัทในต่างประเทศ โดยในปี 2555 มีมูลค่าการควบรวมกิจการ 9.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 9.3

โอกาสของไทย

ที่ผ่านมาจีนเป็นคู่ค้าและแหล่งลงทุนเป็นอันดับที่ 1 ของญี่ปุ่นในภูมิภาคเอเชีย จากเหตุการณ์ข้อพิพาทเรื่องเขตแดนในหมู่เกาะกลางทะเล ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและญี่ปุ่นเสื่อมถอยลง ซึ่งส่งผลถึงการค้าและการลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศจีน ดังนั้นญี่ปุ่นจึงน่าจะหันมาจริงจังกับนโยบาย China + 1 มากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของประเทศไทย ที่จะเป็นฐานการผลิตและประเทศศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญของญี่ปุ่นในภูมิภาคอาเซียน เพื่อขยายการค้าสู่ประเทศที่ 3 ในอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพเช่นยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น นอกจากนั้นยังเป็นโอกาสของไทยที่จะพัฒนาการผลิตและสร้างความร่วมมือด้านเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาระบบการผลิตในอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพให้มีความก้าวหน้ามากขึ้นและรักษาความมีศักยภาพได้ในระยะยาว

สพต.

สำนักพัฒนาการตลาดระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ