อุตสาหกรรม สิ่งทอในเวียดนาม

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 19, 2009 11:44 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งน่มของเวียดนาม

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนามขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นสินค้า ส่งออกสำคัญอันดับ 2 รองจากน้ำมันดิบ มูลค่าส่งออกปีละกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ การที่เวียดนามเข้า เป็นสมาชิกอาเซียนในปี 2538 ทำให้เวียดนามต้องลดภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 0-5 ภายในปี 2549 กดดัน ให้เวียดนามต้องพัฒนาอุตสาหกรรมนี้อย่างจริงจังเพื่อให้สามารถแข่งขันได้

การลงทุนมีทั้งการปรับปรุงโรงงานเก่าที่ล้าสมัยและการเพิ่มกำลังผลิตของโรงงานใหม่ ข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับสหรัฐฯ ทำให้เวียดนามสามารถส่งออกสิ่งทอและผลิตภัณฑ์ไป สหรัฐฯ ได้สูงอย่างน่าสังเกต โดยสหรัฐฯ กลายเป็นตลาดสำคัญอันดับ 1 มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 50 ของ มูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มรวมของเวียดนาม

เวียดนามส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ช่วง 10 เดือนแรกปี 2551
หน่วย : (ล้านเหรียญสหรัฐ)
             สินค้า                 มูลค่า       ขยายตัว                     ประเทศ(สัดส่วน%)
1. น้ำมันดิบ                       9,434.89      42.74    ออสเตรเลีย 32.87%, ญี่ปุ่น 20.32% ,สิงคโปร์15.79%, สหรัฐ 10.23%, มาเลเซีย 7.44%
2. สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม             7,595.70      19.58    สหรัฐ 56.81%, ญี่ปุ่น 8.91%, เยอรมนี 4.25%, อังกฤษ 3.53%, ไต้หวัน 3.06%
3. อาหารทะเล                    3,828.55      24.43    ญี่ปุ่น 18.16%, สหรัฐ 16.29%, เกาหลีใต้ 6.68%, รัสเซีย 5.06%, เยอรมนี 4.34%
4. รองเท้า                       3,827.57      18.12    สหรัฐ 22.21%, อังกฤษ 12.30%, เยอรมนี 8.26%, ฮอลแลนด์ 8.09%,เบลเยี่ยม6.37%
5. ข้าว                          2,584.42      85.28    ฟิลิปปินส์ 45.37%,มาเลเซีย 7.31%อินโดนีเซีย 1.18%,รัสเซีย 1.08%,สิงคโปร์.73%,
6. ผลิตภัณฑ์ไม้                     2,299.18      19.97    สหรัฐ 38.19%, ญี่ปุ่น 13.04%, อังกฤษ 7.28%, จีน 5.87%, เยอรมนี 4.82%
7. คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน            2,222.85      28.63    ไทย 16.03%,ญี่ปุ่น 13.57%,สหรัฐ 10.89%,จีน 10.31%, สิงคโปร์ 6.04%,
8. ศิลปหัตถกรรม                   1,800.97      77.98    สวิสฯ 14.84%,ออสเตรเลีย 11.15%,สหรัฐ 14.16%, ญี่ปุ่น 7.59%,เยอรมนี 6.49%
9. กาแฟ                         1,679.97       8.84    เยอรมนี 12.79%,สหรัฐ 9.73%, สเปน 7.49%, ญี่ปุ่น 6.61%, เบลเยี่ยม 5.74%,
10. ยางพารา                     1,373.57      27.40    จีน 65.78%,เยอรมนี 4.10% ,เกาหลีใต้ 4.02%, ไต้หวัน 3.59%, รัสเซีย 2.54%,
มูลค่าส่งออกทั้งหมด                 53,740.14      37.31    สหรัฐ 18.64%,ญี่ปุ่น 13.38%,จีน 7.27%,ออสเตรเลีย 7.18%, สิงคโปร์ 4.39%
ที่มา:  กรมสถิติแห่งชาติเวียดนาม

สินค้าส่งออกของเวียดนามที่มีมูลค่าสูงตามลำดับ ได้แก่ น้ำมันดิบ มูลค่า 9.4 พันล้าน เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เครื่องนุ่งห่ม มูลค่า 7.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รองเท้า 3.8 พันล้าน เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อาหารทะเล 3.8 พันล้าน เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ข้าว 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

2. เวียดนามส่งออกสิ่งทอมายังไทย

การส่งออกสิ่งทอของเวียดนามมายังไทยในช่วง 11 เดือนของปี 2551 ได้แก่

2.1. ด้ายและเส้นใย มูลค่า 62 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39 ไทยนำเข้าด้ายและ เส้นใยจากเวียดนามนับเป็นอันดับ 5 มีสัดส่วนร้อยละ 5 รองจากคอมพิวเตอร์ (24%) น้ำมันดิบ (16%) เหล็ก (9%) และเครื่องจักร (7%) อย่างไรก็ตามแนวโน้มการนำเข้าด้ายและเส้นใยของไทยจาก เวียดนามลดลงเรื่อยๆ ทุกเดือน โดยเฉพาะเดือน ต.ค. และ พ.ย. 2551 ลดลงร้อยละ 22 และ 14 ตามลำดับ

2.2. ผ้าผืน มูลค่า 12 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 64 แนวโน้มการนำเข้าผ้าผืนจาก เวียดนามลดลงตั้งแต่ ต.ค. และ พ.ย. 2551 ร้อยละ 26 และ 25 ตามลำดับ

2.3. เสื้อผ้าสำเร็จรูป มูลค่า 4 ล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ 31

2.4. ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ มูลค่า 3 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12

3. ปัญหาอุปสรรคของอุตสาหกรรมสิ่งทอในเวียดนาม

ประธานสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เวียดนาม แถลงมูลค่าการส่งออกเครื่องนุ่งห่มรวม ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2551 สูงถึง 7.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 จากช่วงเดียวกัน ของปี 2550 และเชื่อว่า อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม จะสามารถทำรายได้จากการส่งออกรวม ทั้งปีได้ 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้

อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมก็ยังมีอุปสรรคสำคัญๆ หลายประการ เช่น อัตราเงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยเงินกู้สูง ราคาวัตถุดิบสูง การประท้วงของคนงาน และการยกเลิกการสั่งซื้อ นอกจากนี้ยังมี ความผันผวนของตลาดส่งออกหลักของเวียดนาม. ได้แก่ สหรัฐฯ (สัดส่วน 55% ) สหภาพยุโรป (17%) และญี่ปุ่น (8 %) ดังนั้นเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง สมาคมฯ ได้แนะนำให้ผู้ส่งออกมองหาตลาดใหม่ เช่น ตะวันออกกลาง และแอฟริกาใต้ และไม่ให้มองข้ามตลาดภูมิภาคเอเชีย เช่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และไตัหวัน

4. ส่วนแบ่งการตลาดเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเวียดนามลดลง

บริษัทแฟชั่น Viet Thy เปิดเผยว่า เสื้อผ้าที่ผลิตในเวียดนามกำลังเผชิญการแข่งขันจาก ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ จีน ไทย และสิงคโปร์ โดยเฉพาะในห้างสรรพสินค้า ทั้งนี้ จากผลการสำรวจ การค้าปลีก ตลาดเสื้อผ้าจีนสามารถครองตลาดในห้างสรรพสินค้า ได้ร้อยละ 20-40 อย่างไรก็ตาม สมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม ยังคงเชื่อมั่นตลาดเสื้อผ้าเวียดนาม เนื่องจากตลาดส่วนใหญ่ของ เวียดนามจะอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยปี 2550 รายได้จากเสื้อผ้าอยู่ที่ 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับจุดอ่อนของเวียดนามคือ การออกแบบและชนิดผ้า เนื่องจากนักออกแบบของเวียดนาม ค่อนข้างจะล้าหลังกว่าต่างประเทศ แบบเสื้อผ้าของเวียดนามจะเหมาะกับวัยกลางคน ขณะที่เสื้อผ้าของจีน จะเข้ากับวัยรุ่นและทันสมัยกว่า นอกจากนี้ ผู้ผลิตของเวียดนามยังมีจุดอ่อนด้านเสื้อผ้าสตรีเนื่องจากขาด แคลนผ้าแฟชั่นและนักออกแบบ ขณะที่ไทยและจีนมีนักออกแบบที่ดีกว่า

ผลกำไรจากเสื้อผ้าจีนจะมีมากกว่า โดยสามารถทำกำไรจากเสื้อผ้าจากจีนร้อยละ 40-60 ส่วนเสื้อผ้าเวียดนามได้ร้อยละ 25 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม จากการที่ประชากรของเวียดนามจะสูงถึง 100 ล้านคน ในปี 2558 ตลาดเสื้อผ้าของเวียดนามน่าจะยังมีแนวโน้มที่ดี

5. ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าเวียดนามถูกสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านแย่งตลาด

สมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม เปิดเผยว่า เสื้อผ้าที่ผลิตในเวียดนามกำลังเผชิญ การแข่งขันอย่างหนักจากสินค้าจากจีน ไทย และสิงคโปร์ โดยจากการสำรวจเมื่อเร็วๆพบว่าเสื้อผ้าจากจีน ครองส่วนแบ่งตลาดในห้างสรรพสินค้าของเวียดนามถึงร้อยละ 20-40

ชาวเวียดนามใช้จ่ายค่าเสื้อผ้ารวม 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2550 โดยเสื้อผ้าสตรีที่ ผลิตในประเทศกำลังสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในเขตเมืองให้แก่เสื้อผ้านำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังคงรักษาส่วนแบ่งตลาดส่วนใหญ่ในพื้นที่นอกเมืองไว้ได้

ปัญหาสำคัญของอุตสาหกรรมเสื้อผ้าของเวียดนามคือ การออกแบบที่ล้าสมัยและคุณภาพของวัตถุดิบ ที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยแม้ว่าจะมีเสื้อผ้าที่ผลิตในประเทศบางยี่ห้อที่ได้รับความนิยมจากคนรุ่นใหม่ อาทิ NinoMaxx หรือ PT 2000 หรือ Blue แต่ก็จะมีราคาแพงกว่าเสื้อผ้านำเข้าจากจีนมาก ปัญหาสำคัญอีกประการคือ ร้าน จำหน่ายเสื้อผ้าสามารถทำกำไรจากการขยายเสื้อผ้านำเข้าจากจีนได้สูงกว่าการขายเสื้อผ้าผลิตในประเทศมาก

6. ผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจโลกต่อเวียดนาม

ในช่วงปลายปี 2551 และปี 2552 ความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่ลดลง อันเนื่องมาจาก ตั้งแต่สหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับหนึ่งของเวียดนาม ได้ประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวนับแต่ปี 2551 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และหลังวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในเดือนกันยายน 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็น ผลพวงของความอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผนวกกับปัญหา Sub Prime ได้ส่งผลกระทบระบบเศรษฐกิจ ไปทั่วโลก ผ่านทางผลกระทบต่อเนื่องหรือ Domino Effect โดยเฉพาะกับประเทศที่พึ่งพาการส่งออกไป ยังสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น อาเซียน ฯลฯ ตลาดส่งออกตลาดหลักที่สำคัญๆ ขาดกำลังซื้ออย่างรุนแรง เศรษฐกิจ ของโลกในช่วงถดถอยและชะลอตัวจึงส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายของประชากร ที่จะประหยัดและคำนึงถึง ราคาสินค้ามากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ชะลอตัวลง

ดังนั้นการส่งออกสิ่งทอและเสื้อผ้าของเวียดนามได้ลดลงอย่างชัดเจนตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2551 ลดลงประมาณร้อยละ 1.35 ในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ศูนย์ข้อมูลสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติของ เวียดนามเตือนว่า ผู้ผลิตเวียดนามจะเผชิญปัญหาท้าทายสำคัญในการส่งออกสิ่งทอและเสื้อผ้าไปยังตลาดสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งนำเข้ารวมกันมากกว่า 80% ของสินค้าออกรายการดังกล่าวของเวียดนาม

7. อุตสาหกรรมสิ่งทอเวียดนามตั้งเป้าส่งออก 9,500 ล้านเหรียญสหรัฐ

นายเหวียน มิงห์ เจี๊ยด ประธานาธิบดีเวียดนาม กล่าวในงานเลี้ยงรับรองผู้แทนธุรกิจชั้นนำ 10 บริษัท ประจำปี 2551 จำนวน 51 แห่ง ว่า รู้สึกภูมิใจที่ธุรกิจเหล่านี้ ทำให้เวียดนามมีชื่อเสียงไปทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มสิ่งทอและเสื้อผ้า บริษัท Vinatex ซึ่งเป็นบริษัทสิ่งทอที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม คาดว่าในปีนี้ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าของเวียดนามจะส่งออกถึง 9,500 ล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นผู้ส่งออกสิ่งทอ อันดับ 9 ของโลก นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้ภาคสิ่งทอและเสื้อผ้ามุ้งเน้นการออกแบบแฟชั่นและใช้เทคโนโลยี ที่ทันสมัยในการผลิตเสื้อผ้าที่มีคุณภาพ

8. เวียดนามตั้งเป้าเป็นผู้ส่งออกสิ่งทออันดับ 5 ของโลก

นาย Bui Xuan Khu รมช.กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม กล่าวในระหว่าง การเยี่ยมชมกลุ่ม Garment and Textile ของเวียดนามว่า เวียดนามจะเป็น 1 ใน 5 ของผู้ส่งออกสิ่งทอ ของโลกในปี 2558 ถ้าหากเวียดนามยังคงอัตราการผลิตและการส่งออก ซึ่งปัจจุบันเวียดนามเป็น 1 ใน 10 ของผู้ส่งออกสิ่งทอของโลก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว รัฐบาลวางแผนที่จะปลูกฝ้ายในพื้นที่ 40,000 เฮกตาร์ในบริเวณชายฝั่งในจังหวัดภาคกลาง และบางส่วนของที่ราบสูงภาคกลาง

สมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (Vietnam Textile and Apparel Association - VITAS) เปิดเผยว่า ในปี 2551 เวียดนามจะส่งออกสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าได้เป็นมูลค่า 9.5 พันล้าน เหรียญสหรัฐ ซึ่งนับเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับที่ 9 ของโลก โดยประเทศผู้นำเข้าสำคัญตามลำดับคือ สหรัฐฯ ร้อยละ 55-57 ของมูลค่าการส่งออกรวมของเวียดนาม ตามด้วยสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลีใต้ และแคนาดา ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย โดยสมาคมฯ คาดว่าเวียดนามจะกลายเป็นผู้ส่งออกสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้ารายใหญ่อันดับที่ 5 ของโลก ในปี 2558- 2563

นาย Le Quoc An ประธานสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม ได้เปิดเผยว่าผู้ประกอบ การชาวเวียดนาม. ได้ทำสัญญาขายสินค้ากับผู้นำเข้าในหลายประเทศ ซึ่งจะทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้า อุตสาหกรรมด้านนี้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการในธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม. กำลัง ประสบปัญหาสำคัญหลายประการ อาทิ การขาดแคลนแรงงาน และการขอสินเชื่อจากธนาคารซึ่งส่งผลให้ ผู้ประกอบการมีกำไรน้อยลง อีกทั้งปัญหาเงินเฟ้อซึ่งส่งผลต่อค่าครองชีพของแรงงานก่อให้เกิดการชุมนุม ประท้วงตามมา

ปัจจุบัน เวียดนาม. มีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มกว่า 2,500 บริษัท มีการจ้างแรงงานกว่า 2 ล้านคน และมีการสร้างงานใหม่กว่า 100,000 อัตราในทุกๆปี รายได้จาก ภาคอุตสาหกรรมคิดเป็น 15% ของมูลค่าการส่งออกรวมของเวียดนาม.

9. เวียดนามนำเข้าสินค้าสิ่งทอจากต่างประเทศ
เวียดนามนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ในช่วง 10 เดือนแรกปี 2551
หน่วย ล้านเหรียญสหรัฐ
                    สินค้า                        มูลค่า       ขยายตัว                            ประเทศ (สัดส่วน%)
1. เครื่องจักรกลและอุปกรณ์                        11,595.42      41.23    จีน 25.71%,ญี่ปุ่น 17.80%,ไต้หวัน 7.24% ,เกาหลีใต้ 7.28% สิงคโปร์ 6.53%
2. ปิโตรเลียม                                  10,063.10      70.98    สิงคโปร์ 45.07%,ไต้หวัน 21.74%,เกาหลีใต้ 12.45%,ไทย 7.69%, จีน 3.61%
3. เหล็กและเหล็กกล้า                             6,076.28      58.60    จีน 36.49%,ญี่ปุ่น 15.09%,ไต้หวัน 10.22%,เกาหลีใต้ 9.00% รัสเซีย 6.65%
4. ผ้าผืน                                       3,761.82      15.53    จีน 34.85%,เกาหลีใต้ 19.93%,ไต้หวัน 19.50%,ฮ่องกง 9.56%,ญี่ปุ่น 7.74%
5. คอมพิวเตอร์,อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน               3,034.20      29.16    ญี่ปุ่น 25.23%สิงคโปร์ 22.25%,จีน 17.55%,ฮ่องกง 9.26%,มาเลเซีย 6.80%
6. วัสดุพลาสติก                                  2,569.39      29.71    ไต้หวัน 18.42%,เกาหลีใต้ 15.90%, ไทย 14.47% ,สิงคโปร์ 12.78, ญี่ปุ่น 6.37%
7. สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม                           2,019.66      13.89    ไต้หวัน 19.56%,เกาหลีใต้ 16.88%,จีน 15.16%,ฮ่องกง 11.99%, สหรัฐ 5.98%
8. อะไหล่ชิ้นส่วนรถยนต์                            1,715.80      78.94    ญี่ปุ่น 17.55%,จีน 16.54%,เกาหลีใต้ 10.73%,ไทย 12.20%, อินโดนีเซีย 6.91%
9. เคมีภัณฑ์                                     1,562.57      35.84    จีน 25.65%,ไต้หวัน 23.74%,สิงคโปร์ 10.07%,ญี่ปุ่น 8.04% เกาหลีใต้ 6.72%
10. อาหารสัตว์                                  1,550.85      63.50    อินเดีย 44.36%,อาร์เจนติน่า 12.66%,สหรัฐ 8.26%,  จีน 6.11%, บราซิล 3.09%
มูลค่านำเข้าทั้งหมด                               70,125.82      45.91    จีน 19.17%,สิงคโปร์ 11.87%,ไต้หวัน 10.40%,ญี่ปุ่น 10.00%, เกาหลีใต้ 8.74%
ดุลการค้า                                     -16,385.48
ที่มา :  กรมสถิติแห่งชาติเวียดนาม

สินค้าที่นำเข้าของเวียดนามที่มีมูลค่าสูงตามลำดับ ได้แก่ เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ มูลค่า 11.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเลียม มูลค่า 10.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เหล็กและเหล็กกล้า 6.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผ้าผืน 3.8 พันล้าน เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้า 3.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะนี้เวียดนามมีผู้ประกอบการด้านสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมากกว่า 2,500 ราย รวมถึงผู้ ประกอบการของรัฐ เอกชนและผู้ลงทุนจากต่างประเทศ วัสดุสิ่งทอต่างๆ ที่ผลิตภายในประเทศจึงไม่พอกับ ความต้องการ จึงมีการนำเข้าจากต่างประเทศรวมทั้งไทย

10. เวียดนามนำเข้าสิ่งทอจากไทย

การนำเข้าสิ่งทอจากไทยในช่วง 11 เดือนของปี 2551 ได้แก่

10.1. ผ้าผืน มูลค่า 74 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 แต่ในช่วงเดือน พ.ย. 2551 เวียดนามนำเข้าผ้าผืนจากไทยลดลงมากถึงร้อยละ 31

10.2. เส้นใยประดิษฐ์ มูลค่า 69 ล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ 2 โดยเฉพาะ พ.ย. 2551 ลดลงมากถึงร้อยละ 44 ในขณะที่ปี 2550 นำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 77

10.3. ด้ายละเส้นใยประดิษฐ์ มูลค่า 30 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 แต่ในเดือน พ.ย.2551 ลดลงมากถึงร้อยละ 48

10.4. สิ่งทออื่นๆ มูลค่า 18 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 แต่แนวโน้มลดลงตั้งแต่ ต.ค. และ พ.ย. 2551 ร้อยละ 12 และ 11 ตามลำดับ

10.5. เคหะสิ่งทอ มูลค่า 4 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 62 แต่ในเดือน พ.ย. 2551 นำเข้าลดลงถึงร้อยละ 52

10.6. เสื้อผ้าสำเร็จรูป มูลค่า 3 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 และเฉพาะเดือน พ.ย.2551 มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 68

11. เวียดนามมุ่งพัฒนาพื้นที่ปลูกฝ้ายเพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม และกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอที่เป็น Key Player บริษัท Vinatex ได้ร่วมกันจัดการทำแผนพัฒนาพื้นที่ปลูกฝ้ายเพื่อตอบสนองอุตสาหรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า โดย ของบประมาณจากรัฐบาล 215 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนฝ้าย เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกฝ้าย ลดลงอย่างมาก จาก 31,187 เฮกตาร์ในปี 2546-2547 เหลือเพียง 7,000 เฮกตาร์ในปี 2550-2551 เพราะชาวนาได้หันไปเพาะปลูกพืชอื่นๆที่สามารถเพิ่มรายได้มากกว่า ทำให้ผลผลิตฝ้ายมีเพียง 2,600 ตัน คิดเป็นร้อยละ 2 ของความต้องการใช้ภายในประเทศ

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลเคยประมาณการณ์ว่า ระหว่างปี 2544 ถึง 2553 พื้นที่ปลูกฝ้าย 150,000 เฮกตาร์ จะได้ผลผลิต 80,000 ตัน ซึ่งจะได้ร้อยละ 50 ของความต้องการใช้ภายในประเทศ แต่ในความ เป็นจริงภาคสิ่งทอและเสื้อผ้า มีความต้องการใช้ฝ้ายเพิ่มขึ้นถึง 200,000 ตันต่อปี ซึ่งทำให้ต้องนำเข้าฝ้าย เกือบร้อยละ 100

ขณะที่ความต้องการใช้ฝ้ายในภาคสิ่งทอและเสื้อผ้าจะยังสูงถึงปี 2568 ทำให้ต้องมีการวางแผน การพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าในปี 2558 รัฐบาล ตั้งเป้าผลิตผ้า 1 ล้านตรม. เพื่อการส่งออก กำหนดพื้นที่เพาะปลูกฝ้ายในปี 2563 ให้ได้ 40,000 เฮกตาร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ