สคต. แวนคูเวอร์ ขอรายงานสรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย กับแคนาดา ระหว่าง มกราคม- พฤศจิกายน 2551 ( ตัวเลขฝ่ายไทย ) ซึ่งมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 5.61 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
สินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่มีมูลค่าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 224.5 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 10.28%) (2) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป มูลค่า 166.4 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 9.74%) (3) กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง มูลค่า 70.4 เหรียญฯ (ลดลง 5.78%) (4) ข้าว มูลค่า 67.2 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 73.31%)ยางพารา มูลค่า 60.8 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 39.43%) (5)ยางพารา มูลค่า 65.5 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 33.28%) ทั้งนี้ สินค้าจากไทยที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นในร้อยละ ที่สูง 5 อันดับแรก ได้แก่เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร(เพิ่มขึ้นร้อยละ117.26) ข้าว (เพิ่มขึ้น 73.31%) เครื่องใช้ ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ (เพิ่มขึ้น65.56%) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (เพิ่มขึ้น 61.06%) และ ยางพารา (เพิ่มขึ้น 33.28%)
ประเทศคู่แข่งในภูมิภาคเอเซียที่สำคัญ ที่แคนาดามีสัดส่วนต่อการนำเข้าสินค้ามาก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และ มาเลเซีย
1.3 การนำเข้าของไทยจากแคนาดา ระหว่าง ม.ค.-พ.ย. 51 คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าเพิ่ม จากระยะเวลาเดียวกันของปี 2550 เล็กน้อยคือร้อยละ 0.53 จาก ร้อยละ 0.46 โดยมีอัตราขยายตัวของ การนำเข้า เพิ่มขึ้นจากร้อยละ26.88 เป็นร้อยละ 51.30
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากแคนาดา ที่มีมูลค่าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช และสัตว์มูลค่า 144.7 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น141.56%) (2) เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ มูลค่า 103.2 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 35.09%) (3) แผงวงจรไฟฟ้า มูลค่า 95.2 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 167.99%) (4) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบมูลค่า 76.1 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 126.49%) (5) สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ มูลค่า 63.3 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 23.38%) ทั้งนี้ สินค้านำเข้าจากแคนาดามาไทย ที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นในร้อยละที่สูง 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ (เพิ่มขึ้น 2,176.74%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (เพิ่มขึ้น 926.27%) ผลิตภัณฑ์โลหะ (เพิ่มขึ้น 349.81%) แผงวงจรไฟฟ้า(เพิ่มขึ้น 167.99%) และ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์
จากโครงสร้างสินค้าส่งออกสำคัญ 50 อันดับแรกของไทยไปแคนาดาข้างต้น (รายละเอียดสินค้า ส่งออกสำคัญ 50 รายการตามเอกสารแนบ 1) พบว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2550 สินค้าส่งออกสำคัญ 50 รายการคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยถึงร้อยละ 91.32 ของมูลค่าการส่งออกไทยไปแคนาดา ทั้งสิ้น โดยหมวดสินค้าส่งออก สำคัญ เรียงตามลำดับ ได้แก่ หมวดสินค้าอุตสาหกรรม (เฉลี่ย ร้อยละ 61.31 ของมูลค่าส่งออกฯ) หมวดสินค้า อุตสาหกรรมการเกษตร (เฉลี่ยร้อยละ 17.75 ของมูลค่าส่งออกฯ) และ หมวดสินค้าเกษตรกรรม ( กสิกรรม, ปศุสัตว์ และประมงเฉลี่ยร้อยละ 15.84 ของมูลค่าส่งออกฯ) ทั้งนี้ หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง และสินค้าอื่นๆ ได้แก่ ธุรกรรมพิเศษฯไม่มีการส่งออกจากไทยไปแคนาดาแต่อย่างใด
สำหรับการส่งออก 11 เดือนแรกของปี 2551 นั้น พบว่า สินค้าหมวดเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การเกษตรส่งออกไปยังแคนาดา ได้เพิ่มความสำคัญ โดย ร้อยละมูลค่าการส่งออก ได้เพิ่มขึ้น จากมูลค่าเฉลี่ย 3 ปี (ปี 2548-2550) และเพิ่มจากระยะเวลาเดียวกันของปี 2550 เป็น ร้อยละ 20.01 และ ร้อยละ 19.97 ตามลำดับ และมีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 22.27 และ ร้อยละ 14.01 ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมมีอัตราการ ขยายตัวเพียง ร้อยละ 0.37
3. ภาพรวมการส่งออก หมวดสินค้าเกษตรกรรม ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) สรุปภาพ
รวมการส่งออกสินค้าหมวดเกษตรกรรม (กสิกรรม ปศุสัตว์ และประมง ) ของไทยไปแคนาดา เปรียบเทียบกับ
ระยะเวลาเดียวกันของปี 2550 ได้ดังนี้
สรุปภาพรวมการส่งออกสินค้าหมวดอุตสาหกรรม จากไทยไปแคนาดา ในช่วง 11 เดือนแรกของ ปี 2551 (ม.ค. —พ.ย.) เปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปี 2550 ได้ดังนี้
(ม.ค.-พ.ย.2550) (ม.ค.-พ.ย.2551) ม.ค.-พ.ย.51/50(%)
2. เสื้อผ้าสำเร็จรูป 54.7 48.8 -10.86 3. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 47.2 46.5 -1.41 4. อัญมณีและเครื่องประดับ 32.4 40.5 +25.01 5. เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ 21.0 34.7 +65.56 6. ผลิตภัณฑ์ยาง 25.5 28.0 +9.64 7. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ 24.6 24.2 -1.57 8. เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกมส์ 20.4 24.2 +18.87 9. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร 10.6 23.1 +117.26 10. เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน 18.3 19.5 +6.10 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร 5.2. สินค้าส่งออกสำคัญหมวดสินค้าอุตสาหกรรม ที่ขยายตัวในอัตราที่สูง 10 อันดับแรก ได้แก่ ลำดับ รายการสินค้า มูลค่า(ล้าน USD) มูลค่า(ล้าน USD) อัตราการขยายตัว (ม.ค.-พ.ย.2550) (ม.ค.-พ.ย.2551) ม.ค.-พ.ย.51/50(%) 2. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล 10.6 23.1 117.26 3. เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าฯ 3.4 7.0 103.72 4. แม่พิมพ์หุ่นแบบหล่อโลหะ 1.1 2.2 95.03 5. เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว 1.2 2.1 75.04 6. เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ 21.0 34.7 65.56 7. รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ 11.9 19.1 61.06 8. เครื่องยกทรง รัดทรง และส่วนประกอบ 4.1 6.3 54.26 9. หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด 2.2 3.2 48.01 10. ของเล่น 3.0 4.0 34.01 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร 5.3. สินค้าส่งออกสำคัญหมวดสินค้าอุตสาหกรรม ที่ขยายตัวในอัตราที่ลดลง (-) 10 อันดับแรก ได้แก่ ลำดับ รายการสินค้า มูลค่า(ล้าน USD) มูลค่า(ล้าน USD) อัตราการขยายตัว (ม.ค.-พ.ย.2550) (ม.ค.-พ.ย.2551) ม.ค.-พ.ย.51/50(%) 1. มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 1.6 0.8 -49.69 2. เม็ดพลาสติก 12.8 7.0 -45.48 3. เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ 3.1 1.8 -42.84 4. เครื่องวีดีโอ เครื่องเสียงอุปกรณ์และส่วนประกอบ 6.3 4.3 -31.11 5. ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน 15.1 10.5 -30.59 6. เครื่องใช้สำหรับเดินทาง 3.2 2.5 -23.33 7. ของใช้ในเทศกาลและงานรื่นเริง 1.6 1.3 -22.15 8. รองเท้าและชิ้นส่วน 14.3 11.4 -20.64 9. ผลิตภัณฑ์พลาสติก 22.6 18.1 -19.82 10. ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ 6.1 4.9 -19.70 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร 6. ภาวะการแข่งขันของสินค้าไทย ในตลาดแคนาดาเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง (ม.ค.-พ.ย.2551) พิจารณาจากสถิติการนำเข้าของแคนาดา ในกลุ่มสินค้านำเข้าสำคัญจากไทย) 7. สรุปข้อคิดเห็น /เสนอแนะ สคต.แวนคูเวอร์7.1 โอกาส/ลู่ทางขยายการส่งออกสินค้าไทยในแคนาดา
7.1.1 สินค้าเกษตร ที่มีศักยภาพในการแข่งขัน/ขยายตลาด ได้แก่ ข้าว ยางพารา ซึ่งไทย เป็นผู้ผลิตรายสำคัญ สินค้าเป็นที่รู้จักกันดีและได้รับความนิยม และผลไม้แห้งผสม ซึ่งเป็นแนวโน้มตลาด โดย เฉพาะผู้นิยมบริโภคของขบเคี้ยว ของว่าง ที่เป็นผลผลิตธรรมชาติ และเพื่อสุขภาพ ซึ่งสินค้าเกษตรอินทรีย์ เป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นมาก
7.1.2 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ที่มีศักยภาพในการแข่งขัน/ขยายตลาด ได้แก่อาหารทะเล ผัก/ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ซึ่งไทยเป็นผู้ส่งออกรายสำคัญในตลาดแคนาดา สตาร์ช/อินยูลิน และสิ่งปรุง รสอาหาร โดยเฉพาะน้ำปลา ซ้อสปรุงรส เครื่องแกง และอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานบางรายการ ซึ่งกำลังเป็นที่รู้จักแพร่หลาย มากขึ้น
7.1.3 สินค้าอุตสาหกรรม ที่มีศักยภาพในการแข่งขัน/ขยายตลาด ได้แก่ ส่วนประกอบและ อุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องจักรสำนักงาน (พิกัด 8743) แผงวงจรไฟฟ้า อัญมณี รถจักรยานยนต์และอุปกรณ์ฯ เฟอร์นิเจอร์บางรายการ ของเล่นของเล่นเกมส์ และของใช้ที่จำเป็นในการเล่นกีฬา
7.2 สิ่งที่ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทย ควรทราบ/ให้ความสำคัญ
7.2.1 แคนาดาเป็นประเทศที่มีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล แต่มีจำนวนประชากรประมาณ 33 ล้านคนเศษ ซึ่งกระจายอยู่ตามเมืองสำคัญๆ ดังนั้น ในการเข้าตลาดครั้งแรก ผู้ส่งออกไม่ควรมองข้ามการสั่งซื้อ ขนาดเล็ก เพื่อการทดลองตลาด เนื่องจากประชากรแคนาดา เป็นผู้มีอำนาจซื้อสูง โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัว ประมาณ 37,000 เหรียญสหรัฐ/ปี
7.2.2 ชาวแคนาดา ส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญด้านพื้นฐานจริยธรรม และยึดหลักเหตุผล ความถูกต้อง เป็นสำคัญ ดังนั้น การทำธุรกิจ ผู้ส่งออกไทย จะต้องมีความซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา และให้ความสำคัญกับการติดต่อ/ สื่อสารให้ทันท่วงที ทั้งสิ่งที่เป็นอุปสรรค และสิ่งที่ดี
7.2.3 ผู้ผลิต/ส่งออกสินค้า ควรผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานตามข้อกำหนด กฏระเบียบ ของทางการแคนาดา และมีการพัฒนาคุณภาพ รูปแบบ ให้สอดคล้องกับรสนิยมผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ จึงต้องมี การติดตามความเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงแนวโน้มของตลาดตลอดเวลา และควรให้ความสำคัญกับสินค้าที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากแคนาดา ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th