สถานการณ์ตลาดสินค้าหนังสือและสิ่งพิมพ์ในอิตาลีปี 2009

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 24, 2009 18:09 —กรมส่งเสริมการส่งออก

หนังสือและสิ่งพิมพ์เป็นสินค้าที่มีธุรกรรมทางการค้าระหว่างประเทศที่กว้างขวาง(Internationalized) มีการติดต่อซื้อขายลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ การร่วมลงทุนด้านการพิมพ์กับ บริษัทต่างชาติ ตลอดจนการลงสาระสารอิเลคทรอนิคส์ในระบบอินเตอร์เนตที่สามารถเข้าถึง ตลาดได้อย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในปัจจุบันมีผลกระทบต่อทุกอุตสาห กรรม รวมถึงอุตสาหกรรมดังกล่าวด้วย สะท้อนออกให้เห็นในภาคการผลิตและการบริโภค โดยเฉพาะในช่วงสองปีหลัง ทั้งนี้ ในปี 2008(ม.ค.-ก.ย.) อิตาลีผลิตหนังสือและสิ่งพิมพ์ได้ 60,900 เรื่อง(+4.9%) ทั้งนี้ เทียบเป็น 1.05 เรื่อง/1,000 คน ส่วนการบริโภคตั้งแต่ปี 2007 มีจำนวนลดลง คิดเป็นร้อยละ 43.1 ของประชากรทั้งประเทศ และมีแนวโน้มลดลงอีกในปี 2008 จากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ทำให้การใช้จ่ายของครอบครัวลดลง ส่งผลเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการบริโภคในภาพรวม

การผลิต

การผลิตหนังสือในประเทศอิตาลีมีประมาณ 60,000-61,000 เรื่อง/ปี หรือ ประมาณ 260-270 ล้านฉบับ(Copies) ทั้งนี้ ไม่นับรวมสิ่งพิมพ์แจกฟรี โดยในปี 2007 ผลิตได้ 61,440 เรื่อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.87 เทียบกับปี 2006 หรือคิดเป็นมูลค่าการค้า ประมาณ 3.7 พันล้านยูโร คิดเป็นจำนวน 268 ล้านฉบับ(Copies) ในขณะที่ ผู้อ่านในปี 2007 มีจำนวนลดลง(เหลือประมาณร้อยละ 43.1 ของประชากรอิตาเลียน)

ผู้ผลิตหนังสือร้อยละ 90 เป็นผู้ผลิตขนาดเล็ก แต่มียอดพิมพ์หนังสือประมาณ ร้อยละ13.9 ของจำนวนหนังสือที่ถูกพิมพ์ หรือร้อยละ 28.9 ของจำนวนเรื่องที่พิมพ์ มุ่งเจาะ ตลาดเฉพาะกลุ่ม ส่วนผู้ผลิตรายใหญ่มีประมาณร้อยละ 10 แต่ผลิตหนังสือประมาณร้อยละ 71.1 ของจำนวนเรื่องที่ถูกตีพิมพ์ และส่งจำหน่ายในช่องทางการจำหน่ายต่างๆ เป็นจำนวน มากกว่าร้อยละ 86.1 ของหนังสือทั้งหมด

การผลิตหนังสือและสิ่งพิมพ์ในอิตาลีแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1) การพิมพ์หนังสือต่างประเทศที่พิมพ์ในอิตาลี

2) การพิมพ์หนังสือที่แต่งโดยผู้แต่งชาวอิตาเลียน

หนังสือที่แต่งโดยผู้แต่งจากต่างประเทศที่พิมพ์เป็นภาษาอิตาเลียน คิดเป็น 1 ใน 5 ของการ พิมพ์ทั้งหมด โดยแปลจากภาษาอังกฤษมากที่สุดคือ ร้อยละ 70 จากภาษาฝรั่งเศสร้อยละ 2.3 จากภาษาเยอรมันร้อยละ 1.3 จากภาษาสเปนร้อยละ 0.7 จากภาษาอื่นๆ อีกร้อยละ 8.6 อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2007 พบว่าลิขสิทธิ์หนังสือจากต่างประเทศมีการซื้อขายลดลงอีก

ตลาดการอ่าน

ประเทศอิตาลีมีอัตราคนอ่านหนังสือออกร้อยละ 88 พบว่าอัตราการอ่านหนังสือ ดังกล่าวมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีโดยเป็นไปอย่างช้าๆ โดยตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมามี การอ่านเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 11.8 จากการสำรวจชี้ให้เห็นว่าคนอิตาเลียนนิยมอ่านหนังสือ/ลง ทุนซื้อหนังสือน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในยุโรปและอัตราการเติบโตดังกล่าวยังน้อย รวมทั้งวัฒน ธรรมการอ่านยังกระจุกตัวอยู่กับประชากรบางกลุ่มเท่านั้น

ปี 2007 จากการสำรวจชาวอิตาเลียน(อายุเกิน 6 ปีขึ้นไป) ที่อ่านหนังสือ(นอก เหนือจากหนังสือเรียน หนังสืองานอดิเรก สิ่งพิมพ์แจกฟรี ไกด์บุ๊ค และหนังสือคู่มือต่างๆ) อย่างน้อย 1 เล่ม/ปีมีประมาณร้อยละ 43.1 หรือประมาณ 24 ล้านคน ทั้งนี้

  • ร้อยละ 56.94 ไม่อ่านเลย
  • ร้อยละ 19.9 อ่านไม่เกิน 3 เล่ม/ปี
  • ร้อยละ 17.4 อ่าน 4-11 เล่ม/ปี
  • ร้อยละ 5.7 อ่านมากกว่า 12 เล่ม/ปี

เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มที่อ่านหนังสือและมีความสัมพันธ์กับการอ่านอยู่แล้วจะเพิ่มการอ่านขึ้น เรื่อยๆ ในทางตรงกันข้าม กลุ่มที่ไม่อ่านเลยหรืออ่านน้อย จะมีแนวโน้มการอ่านน้อยลงเช่นกัน ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่าจำนวนเล่มที่อ่านจะสัมพันธ์กับระดับการศึกษา(academic qualification) กลุ่มรายได้(income group) เขตที่พักอาศัย(geographical residence) และความสัมพันธ์กับการอ่าน(relationship with reading) ดังนี้

  • ประชากรทางภาคเหนืออ่านหนังสือมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 51.4 โดยมี strong reader ร้อยละ 16.1 เทียบกับประชากรทางตอนใต้และเกาะต่างๆ ร้อยละ 31.6 และมี strong reader เพียงร้อยละ 7.8
  • ผู้หญิงอ่านมากกว่าผู้ชาย ร้อยละ 48.9 เทียบกับร้อยละ 37 และพบว่าในปัจจุบันแนวโน้มช่องว่างการอ่านระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงกว้างมากขึ้น
  • กลุ่มประชากรที่มีระดับการศึกษาและรายได้สูงมีอัตราการอ่านมากกว่ากลุ่มที่ มีระดับการศึกษา/รายได้ต่ำ
  • กลุ่มประชากรกลุ่มใหม่ที่มีแนวโน้มจะเป็นนักอ่านในอนาคต ได้แก่ กลุ่มเด็กๆ(5-13 ปี)และวัยรุ่น(14-18 ปี) พบว่าในปีที่ผ่านมามีแนวโน้มการอ่านเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ พบว่าการ อ่านของกลุ่มดังกล่าวมีมากเกือบร้อยละ 60 ซึ่งมากกว่าร้อยละการอ่านของประชากรอิตาเลียน ทั้งหมด(43.1%) เนื่องจากมีการกระตุ้นของครอบครัว/โรงเรียน/รัฐบาลให้เด็กๆ คุ้นเคยกับ วัฒนธรรมการอ่านตั้งแต่วัยเยาว์ ทั้งนี้ เป็นที่สังเกตว่าหนังสือสำหรับผู้ใหญ่มีการพิมพ์น้อยลง ในขณะที่หนังสือสำหรับเด็ก/วัยรุ่นมีการสนับสนุนให้พิมพ์มากขึ้นทั้งจำนวนเรื่องและฉบับ
ตลาดการพิมพ์

อุตสาหกรรมการพิมพ์ในอิตาลีเติบโตค่อนข้างน้อยเทียบกับประเทศอื่นๆ ใน ยุโรป ปี 2007 ยอดจำหน่ายในอุตสาหกรรมการพิมพ์ของอิตาลีคิดเป็น 3.7 พันล้านยูโร เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.9 และมีอัตราการเติบโตต่ำกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยในยุโรป(EU25: ร้อยละ 8.9) ในขณะที่ประเทศเยอรมันมียอดจำหน่ายร้อยละ 22.07 อังกฤษร้อยละ 21.04 ฝรั่งเศสร้อยละ 14.06 และสเปนร้อยละ 12.94 ของยอดรวมในภูมิภาคยุโรป(EU25:22,267.9 ล้านยูโร)

การขายลิขสิทธิ์หนังสือไปต่างประเทศของอิตาลีมีมูลค่าน้อย(ไม่รวมธุรกิจออนไลน์)เพียง 40.7 ล้านยูโร ส่วนใหญ่เป็นหนังสือที่พิมพ์ในหัวข้อเด่นๆ ของอิตาลี ได้แก่ ศิลปะ อาหาร แฟชั่น ดีไซน์ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม จำนวนเรื่องยังคงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับประเทศ เพื่อนบ้านในยุโรป ทั้งนี้ นอกจากจะมีสาเหตุมาจากการที่อิตาลี มีนักอ่านน้อยกว่าแล้วยังมี สาเหตุมาจากนโยบายการพิมพ์และการตลาดของสำนักพิมพ์แต่ละประเทศด้วย อีกทั้งยังพิมพ์ เฉพาะตลาดอิตาลีเอง

ช่องทางการจำหน่าย

ตลาดในประเทศมีช่องทางการจำหน่ายหลัก ดังนี้
  • ร้านหนังสือ มียอดจำหน่ายมากที่สุด ครองส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 42 จำหน่ายหนังสือเรียนและหนังสือทั่วไป ร้านหนังสือที่มีหลายสาขาและร้านหนังสือขนาดใหญ่มี ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 33
  • ห้างสรรพสินค้า ครองส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 22 จำหน่ายหนังสือทั่ว ไป และมีหนังสือหลากหลายประเภทให้เลือกซื้อ ช่วงปีหลังมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 5
  • NewsStand ครองส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.3
  • อินเตอร์เนต แม้ว่าจะครอง ส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 5 พบว่าแนว โน้มการซื้อขายผ่านอินเตอร์เนตสูงขึ้นอย่างมากในช่วงปีหลัง(+37%) ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากมี หนังสือให้เลือกหลายประเภท ไม่ต้องมีต้นทุนการขาย โปรโมชั่นและ การพิมพ์แคตตาล๊อก
สรุป

ตลาดสิ่งพิมพ์ในอิตาลีเป็นตลาดที่ อิตาลีมีแนวโน้ม OutSourcing เนื่องจาก ต้นทุนการผลิตในประเทศค่อนข้างสูง ค่าแรงที่ใช้พิมพ์งาน กระดาษ หมึกพิมพ์ มีราคาค่อน ข้างสูง เมื่อเทียบกับการส่งงานไปพิมพ์ในต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อจำกัดด้านภา ษา ดังนั้น หากจะมีการรณรงค์เรื่องการรับงานพิมพ์ในต่างประเทศแล้ว ก็ควรให้ความสนใจ เรื่องภาษาด้วย นอกจากนี้สิ่งพิมพ์ประเภท NoteBook หรือสมุดเรียน ยังคงมีความต้องการอีก มาก ทั้งยังไม่ต้องมีเรื่องภาษาเข้า มาเกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการไทยจึงควรให้ความสนใจในเรื่อง ดังกล่าว ทั้งนี้ สำนักงานฯ มิลานได้แนบรายชื่อผู้นำเข้าโรงพิมพ์และสมาคมผู้ผลิตหนังสือใน อิตาลีมาด้วยแล้ว

สำหรับการเข้าร่วมแสดงในงานแสดงสินค้าหนังสือเด็ก Bologna Children’s Book Fair ที่จัดขึ้น ณ เมืองโบโลญญ่าทุกปีในช่วงฤดูใบไม้ผลินั้น ปี 2008 ผู้เข้าร่วมงานฯ ไทย 13 บริษัท ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมจำนวนไม่น้อย ทั้งนี้ ผู้เข้าชมให้ความสนใจในคุณภาพ การพิมพ์ของไทย เรื่องสั้นและสิ่งที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย(ที่ไม่ดั้งเดิมเกินไป) รวมทั้งนวัต กรรมที่แปลกใหม่ เช่น นิทานเป่าลมที่ลอยน้ำได้ ของเล่นฝึกทักษะเด็ก เป็นต้น ซึ่งความสนใจ ในการทำการค้า ค่อนข้างต้องใช้เวลาในการเจรจาหารือ ดังนั้น สำนักงานฯ จึงขอแนะนำให้มี ตัวแทนบริษัทอยู่ประจำคูหา หรือ จัดเตรียมคู่มืออย่างละเอียดให้ล่ามเพื่อเจรจาแทนในเบื้องต้น

รายชื่อสมาคม ผู้นำเข้า และโรงพิมพ์

1. สมาคมผู้ผลิตหนังสือสิ่งพิมพ์แห่งยุโรป(Federation of European Publishers: www.fep-fee.be)

2. สมาคมผู้ผลิตหนังสือแห่งอิตาลี(www.aie.it)

3. งานแสดงสินค้าหนังสือในอิตาลีที่สำคัญได้แก่

  • Children Book Fair(www.bookfair.bolognafiere.it :24-27 เมษายน 2550)
  • Fiera Internazionale del Libro Torino(www.fieralibro.it : 10-14 มีนาคม 2550)

4. ผู้นำเข้า และโรงพิมพ์ (ดังแนบ)

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก อิตาลี  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ