สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - ตะวันออกกลาง ปี 2551 (ม.ค.—ธ.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 25, 2009 12:25 —กรมส่งเสริมการส่งออก

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับตะวันออกกลาง
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                  9,731.54          100.00          25.18
สินค้าเกษตรกรรม                    1,113.91           11.45          57.94
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร              642.68            6.60          -1.74
สินค้าอุตสาหกรรม                    7,861.63           80.79          24.49
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                   113.32            1.16         298.40
สินค้าอื่นๆ                                 0               0        -100.00

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับตะวันออกกลาง
                                         มูลค่า :        สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                             28,174.65        100.00         51.91
สินค้าเชื้อเพลิง                           25,378.24         90.07         53.16
สินค้าทุน                                   124.02          0.44         29.28
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                  2,592.08          9.20         41.40
สินค้าบริโภค                                 57.91          0.21         35.18
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                   5.09          0.02        155.63
สินค้าอื่นๆ                                   17.31          0.06        479.59

1.  มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - ตะวันออกกลาง
                                2550           2551        D/%

(ม.ค.-ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม                  26,320.58     37,906.19     44.02
การส่งออก                       7,774.21      9,731.54     25.18
การนำเข้า                      18,546.37     28,174.65     51.91
ดุลการค้า                      -10,772.16    -18,443.12     71.21

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดตะวันออกกลาง มูลค่า 28,174.65   ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ  51.91 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                          มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                         28,174.65        100.00         51.91
1. น้ำมันดิบ                               24,705.60         87.69         54.53
2. ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืช และสัตว์                838.39          2.98         76.72
3. เคมีภัณฑ์                                  802.27          2.85         44.73
4. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี                      423.83          1.50         -3.66
5. น้ำมันสำเร็จรูป                             332.68          1.18        -31.73
                 อื่น ๆ                       58.90          0.21        -63.00

3.  การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดตะวันออกกลาง มูลค่า 9,731.54  ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.18 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                     มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม                    9,731.54          100.00         25.18
1. รถยนต์ อุปกรณ์                     2,355.90           24.21         37.51
2. ข้าว                               854.08            8.78         75.16
3. อัญมณี และเครื่องประดับ                670.10            6.89         13.94
4. เหล็ก เหล็กกล้า                      535.73            5.51         37.54
5. เครื่องปรับอากาศ                     491.98            5.06         14.86
             อื่น ๆ                  1,410.18           14.49         21.79

4. ข้อสังเกต
4.1  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดตะวันออกกลางปี 2551 (ม.ค.- ธ.ค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 40
มีรวม  9 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ                            มูลค่า        อัตราการขยายตัว     หมายเหตุ
                                     ล้านเหรียญสหรัฐ           %
1.  รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ              2,355.90          37.51
2.  ข้าว                                   854.08          75.16
4.  เหล็ก เหล็กกล้า                          535.73          37.54
8.  อาหารทะเล กระป๋อง และ  แปรรูป           255.75          41.81
9.  เคมีภัณฑ์                                239.61          94.38
10. ตู้เย็น   ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ             211.78          35.07
17. เครื่องซักผ้า และเครื่องซักแห้ง               111.20          33.33
22. ไม้ และ ผลิตภัณฑ์ไม้                        99.95          57.74
25. เครื่องคอมเพรสเซอร์ฯ                      83.60          68.19

4.2  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดตะวันออกกลาง ปี 2551 (ม.ค.- ธ.ค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม  2 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ                มูลค่า         อัตราการขยายตัว     หมายเหตุ
                         ล้านเหรียญสหรัฐ           %
16. น้ำตาลทราย               141.04           -51.04
19. เสื้อผ้าสำเร็จรูป            106.00           -10.74

สินค้าเกษตร
สินค้าเกษตรส่งออกไทยไปตลาดตะวันออกกลางที่มีมูลค่าสูง อาทิ
ข้าว
มูลค่าการส่งออก  854.08  ล้านเหรียญสหรัฐ  เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.16  สัดส่วนร้อยละ  76.67
ตลาดหลัก ได้แก่  อิรัก    มูลค่า  265.41  ล้านเหรียญสหรัฐ  เพิ่มขึ้นร้อยละ   148.97  สัดส่วนร้อยละ  4.28

โอมาน มูลค่า 102.14 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4,526.40 สัดส่วนร้อยละ 1.65

เยเมน มูลค่า 74.39 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.31 สัดส่วนร้อยละ 1.20

ยางพารา
มูลค่าการส่งออก 166.88 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.06 สัดส่วนร้อยละ 14.98
ตลาดหลัก ได้แก่ ตุรกี มูลค่า 122.69 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.68 สัดส่วนร้อยละ 1.81

อิหร่าน มูลค่า 33.59 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.49 สัดส่วนร้อยละ 30.70

ซีเรีย มูลค่า 7.18 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 107.21 สัดส่วนร้อยละ 0.11

สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร

สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรส่งออกไทยไปตลาดตะวันออกกลางที่มีมูลค่าสูง อาทิ อาหารทะเลกระป๋อง และแปรรูป มูลค่าการส่งออก 255.75 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.81 สัดส่วนร้อยละ 39.79 ตลาดหลัก ได้แก่ ซาอุฯ มูลค่า 79.14 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.34 สัดส่วนร้อยละ 2.03

อิสราเอล มูลค่า 32.47 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.10 สัดส่วนร้อยละ 1.00

UAE มูลค่า 40.46 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.44 สัดส่วนร้อยละ 1.04

จอร์แดน มูลค่า 17.52 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.73 สัดส่วนร้อยละ 0.45

น้ำตาลทราย
มูลค่าการส่งออก 141.04 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 51.04 สัดส่วนร้อยละ 21.95
ตลาดหลัก ได้แก่ อิรัก มูลค่า 82.35 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.00 สัดส่วนร้อยละ 5.68

UAE มูลค่า 16.82 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 9.77 สัดส่วนร้อยละ 1.16

สินค้าอุตสาหกรรม

สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกไทยไปตลาดตะวันออกกลางที่มีมูลค่าสูง อาทิ อัญมณี และเครื่องประดับ มูลค่าการส่งออก 670.10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.94 สัดส่วนร้อยละ 8.52 ตลาดหลัก ได้แก่ อิสราเอล มูลค่า 298.31 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 13.16 สัดส่วนร้อยละ 3.61

UAE มูลค่า 258.89 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.44 สัดส่วนร้อยละ 3.13

ตุรกี มูลค่า 47.03 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 22.06 สัดส่วนร้อยละ 0.57

เลบานอน มูลค่า 22.21 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.94 สัดส่วนร้อยละ 0.27

รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ
มูลค่าการส่งออก 2,355.90 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.51 สัดส่วนร้อยละ 29.97
ตลาดหลัก ได้แก่ ซาอุฯ มูลค่า 813.19 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.26 สัดส่วนร้อยละ 5.14

โอมาน มูลค่า 334.31 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.77 สัดส่วนร้อยละ 2.14

UAE มูลค่า 313.08 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.48 สัดส่วนร้อยละ 2.01

ตุรกี มูลค่า 246.19 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.90 สัดส่วนร้อยละ 1.58

จอร์แดน มูลค่า 122.97 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.80 สัดส่วนร้อยละ 0.79

เครื่องซักผ้า และเครื่องซักแห้ง และส่วนประกอบ
มูลค่าการส่งออก 111.20 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.33 สัดส่วนร้อยละ 1.41
ตลาดหลัก ได้แก่ ซาอุฯ มูลค่า 39.63 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.55 สัดส่วนร้อยละ 4.40
               UAE      มูลค่า  22.02  ล้านเหรียญสหรัฐ  ลดลงร้อยละ    7.15 สัดส่วนร้อยละ 2.45

จอร์แดน มูลค่า 7.13 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.13 สัดส่วนร้อยละ 0.79

โอมาน มูลค่า 6.31 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.47 สัดส่วนร้อยละ 0.70

เลบานอน มูลค่า 4. 28 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.81 สัดส่วนร้อยละ 0.48

เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์
มูลค่าการส่งออก 314.92 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.73 สัดส่วนร้อยละ 4.01
ตลาดหลัก ได้แก่ โอมาน มูลค่า 2.32 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงขึ้นร้อยละ -82.11 สัดส่วนร้อยละ 0.04

เลบานอน มูลค่า 1.91 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 274.35 สัดส่วนร้อยละ 0.04

ซีเรีย มูลค่า 1.29 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 18.96 สัดส่วนร้อยละ 0.02

ไม้ และผลิตภัณฑ์ไม้
มูลค่าการส่งออก 99.95 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.74 สัดส่วนร้อยละ 1.27
ตลาดหลัก ได้แก่ เลบานอน มูลค่า 2.51 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 123 สัดส่วนร้อยละ 0.20

กาตาร์ มูลค่า 1.47 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.45 สัดส่วนร้อยละ 0.12

ไซปรัส มูลค่า 0.73 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 12.61 สัดส่วนร้อยละ 0.06

4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม

การเจาะตลาดตะวันออกกลาง นอกจากจะต้องรู้ข้อมูลทั่วไปด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมแล้วยังต้องรู้ถึงขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรมทางศาสนาด้วย เพราะทำให้รู้ถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในท้องถิ่น ก่อนตัดสินใจนำสินค้าบริการเข้าทำตลาดได้อย่างถูกช่องทาง โดยต้องทำธุรกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจจริงใจ สำหรับประเทศที่น่าเข้าไปทำตลาดได้แก่ ซูดาน แอลจีเรีย อิหร่าน เป็นต้น แต่ไม่ควรเข้าไปทำตลาดในเมืองหลวงหรือ เมืองขนาดใหญ่ เพราะมีการแข่งขันสูง โดยควรเข้าทำตลาดในเมืองขนาดรองที่มีจำนวนประชากรจำนวนมากเช่นกัน ทั้งนี้การเข้าตลาดควรขอรับความช่วยเหลือจากหอการค้า หรือ สมาคม ที่สมาชิกจะได้รับการตรวจสอบในระดับหนึ่งแล้ว

บริษัท โอลิมปิคกระเบื้องไทย จำกัด เปิดเผยว่าจากสภาวะตลาดวัสดุก่อสร้างในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และภูมิภาคตะวันออกกลางที่อยู่ในช่วงเจริญเติบโต และมีความต้องการวัสดุก่อสร้างเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ประเทศแถบตะวันออกกลางกลายเป็นตลาดวัสดุก่อสร้างที่ใหญ่แห่งหนึ่งซึ่งปัจจุบันกลุ่มมหพันธ์มีคู่ค้าครอบคลุมทุกประเทศในแถบตะวันออกกลาง ดังนั้นจึงถือเป็นโอกาสทางการตลาดที่สำคัญในปี 2552 อันใกล้นี้ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนี้ กลุ่มก่อสร้างทั้งหมดในแถบตะวันออกกลาง โดยเฉพาะเมืองดูไบเริ่มหันมาใช้สินค้าที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม จึงมีโอกาสเป็นไปได้สูงที่กลุ่มมหพันธ์จะส่งสินค้าประเภทนี้ไปเจริญเติบโตในประเทศอื่นๆในแถบเดียวกัน เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ล่าสุดกลุ่มมหพันธ์ได้ร่วมงานแสดงสินค้า BIG 5 ที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อีกครั้ง และได้รับเกียรติจากคณะกรรมการในงาน BIG 5 ว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้แนวคิด Green Concept และถูกจัดอยู่ใน "BIG 5 Green Building Product Listing" ที่ผสมผสานกับความสวยงามในการนำไปใช้ได้อย่างลงตัว ทั้งนี้ ที่ผ่านมา บริษัทได้เน้นพัฒนาเครือข่ายการจัดจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์ซีเมนต์ ตราเฌอร่า ให้มีสินค้าที่หลากหลายครบวงจรและกลุ่มวัสดุทดแทนไม้เน้นพัฒนารูปแบบงานดีไซน์ผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของงานออกแบบ และมีการขยายเครือข่ายตัวแทนครอบคลุมทั่วทุกประเทศในแถบตะวันออกกลางเพื่อสร้างการรับรู้และการจดจำของลูกค้า เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์ซีเมนต์ เฌอร่า เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติทั่วทั้งภูมิภาคนี้ ถึงแม้ว่าสถานการณ์ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกจะทำให้ในปี 2551-2552 กลุ่มวัสดุก่อสร้างในตะวันออกกลาง เช่นสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีอัตราการเจริญเติบโตลดลงร้อยละ 20 ก็ตาม แต่ภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างในประเทศแถบอ่าวเปอร์เซียนี้มีการคาดการณ์ว่าจะกลับมาเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2553 และในปีต่อ ๆ ไป ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 13-15 สำหรับการเข้าไปทำการตลาดในแถบตะวันออกกลาง กลุ่มมหพันธ์ได้เริ่มเข้าไปตั้งแต่ปี 2547 โดยเริ่มทำตลาดโดยการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายในเมืองดูไบและประเทศในตะวันออกกลางที่มีประสิทธิภาพอื่นๆ ซึ่งได้รับการตอบรับทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดี จนสามารถนำผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์ซีเมนต์ ตราเฌอร่า วางจำหน่ายในประเทศตะวันออกกลางตั้งแต่ปี 2548 ผ่านทางตัวแทนจำหน่าย และร่วมงานแสดงสินค้าเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็น งาน BIG 5 ที่ประเทศดูไบ และงานนิทรรศการในประเทศอื่นๆ ทั้งอิหร่าน จอร์แดน การ์ตา เพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในตลาดดังกล่าว และเมื่อพิจารณาจากการขยายตัวของธุรกิจในภูมิภาคนี้ พบว่ายอดขายของผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์ซีเมนต์ ตราเฌอร่า เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในแต่ละปี โดยในปีที่ผ่านมายอดขายของภูมิภาคตะวันออกกลางคิดเป็นร้อยละ 30% ของยอดขายต่างประเทศทั้งหมด และมีอัตราการเติบโตกว่า 1 เท่าตัวจึงทำให้บริษัทรุกตลาดอย่างต่อเนื่อง

สองสามปีที่ผ่านมา ตลาดดูไบในตะวันออกกลาง มักเป็นที่พึ่งที่ขึ้นชื่อของนักธุรกิจคนไทยเกือบทุกแขนง ทั้งบริษัทรับเหมา ผู้ผลิตวัสดุ สถาปนิกนักออกแบบ นักการตลาด และนักการเงินการธนาคารมาวันนี้ ดูไบกำลังถึงจุดอิ่มตัวแต่ตลาดใหม่ที่กำลังมาแรงคือ "โอมาน" ประเทศในตะวันออกกลางที่จะเป็นขุมทรัพย์แห่งใหม่ของผู้ประกอบการที่ต้องการแสวงหาตลาดใหม่ๆ แม้เศรษฐกิจโลกจะวิกฤตยังไง ตลาดตะวันออกกลางก็ยังเป็นมหาเศรษฐีน้ำมันที่มีพื้นฐานทางการเงินที่แข็งแกร่งและกล้าใช้จ่ายจริงๆ ขณะนี้โอมานมีโครงการลงทุนด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานหลายหมื่นล้านบาท งานก่อสร้างกำลังคึกคัก และรัฐบาลโอมานก็เปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้าไปประมูลงานได้อย่างเสรี โดยมีงานก่อสร้างเมกะโปรเจ็กต์นับสิบโครงการ ทั้งสนามบิน ท่าเรือ มูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านบาท หรือประมาณกว่า 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่สำคัญการประมูลงานจะเสรีมากกว่า ไม่เคร่งครัดกฎระเบียบภูมิศาสตร์ในโอมานถือว่ามีศักยภาพมาก เป็นเมืองหน้าด่าน มีชายทะเลติดกับมหาสมุทรอินเดีย ในแง่โลจิสติกส์ ถือว่าได้เปรียบมาก การขนส่งการกระจายสินค้าจากเอเชียไปสู่แถบตลาดตะวันออกกลางจะประหยัดและรวดเร็วกว่า พฤติกรรมผู้บริโภคจากประเทศในแถบนี้จะชอบสินค้าที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์สำหรับการใช้งานได้ดี และสามารถประยุกต์เข้ากับวิถีชีวิตของพวกเขาได้ ฉะนั้นดีไซน์และฟังก์ชันจะสำคัญที่สุด

บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) (บมจ.) กล่าวว่าปี 2551 ที่ผ่านมา บมจ.ไทยฮั้วทำยอดขายได้ 24,000 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 22,000 ล้านบาท เพราะราคายางช่วงกลางปีเคยขึ้นสูงสุดถึงตันละ 3,200-3,300 ดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ดีราคายางได้ทยอยปรับตัวลงเรื่อยๆ จากตันละ 3,200-3,300 ดอลลาร์สหรัฐฯ เหลือ 2,900 ดอลลาร์สหรัฐฯ 1,900 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปัจจุบันลงมาอยู่ที่ตันละ 1,300-1,400 ดอลลาร์สหรัฐฯตามลำดับ ประกอบกับเศรษฐกิจประเทศผู้ใช้ยางมีปัญหา ทำให้ลูกค้าไม่รับมอบสินค้า เกิดปัญหาการฟ้องร้องระหว่างผู้ซื้อผู้ขายมากมาย ในส่วนของบมจ.ไทยฮั้ว ก็มีการฟ้องร้องกับลูกค้าอยู่เพราะเขาทิ้งสัญญา เพราะฉะนั้นปี 2552 ที่คาดกันว่าวิกฤติเศรษฐกิจโลกจะมีความรุนแรงขึ้น บริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ยังมีปัญหาอยู่ รวมถึงนโยบายของรัฐบาลที่อาจเข้ามาแทรกแซง โอกาสที่จะได้เห็นราคายางขึ้นไปถึงตันละ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐฯยากมาก เพื่อลดความเสี่ยงการทำธุรกิจ การทำธุรกิจในปีนี้จะมีการคัดกรองสำหรับลูกค้ารายใหม่ให้รอบคอบมากขึ้น ส่วนลูกค้าเก่าที่ซื้อขายกันมานานจะรักษาไว้แต่มีการเจรจากันให้รัดกุมไม่วางใจกันมากเกินไป เนื่องจากปีนี้ตลาดหลักประเทศผู้ใช้ยางประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ โดยเฉพาะตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดหลักของบริษัทคิดว่าถึงจุดอิ่มตัวแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำรอยเหมือนกับปีที่ผ่านมาจึงได้เบนเข็มหาตลาดใหม่ทดแทน ได้แก่ตุรกี กรีก รัสเซีย บราซิล ซึ่งคาดหวังว่าราคายางที่อ่อนตัวลงมาจะเปิดตลาดใหม่ได้ง่ายขึ้น โดยกลยุทธ์จะใช้หลายๆ ด้านอาทิร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ หรือวิธีส่งทีมงานไปเจาะลึกประเทศนั้นๆ เป็นการพิเศษ ที่ผ่านมาได้ไปสำรวจตลาดตุรกี พบว่ายางที่เขาใช้อยู่ทุกวันนี้เป็นยางจากประเทศเวียดนามและมาเลเซียเป็นหลัก คิดว่าเราจะไปชิงตลาดตรงนี้มาเพราะยางเราคุณภาพดีกว่า รวมถึงการไปตั้งสำนักงานสาขา ณ ประเทศนั้นๆ

ภายหลังจากที่อิหร่านเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเมื่อปี 2521 อิหร่านได้ใช้ระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐอิสลามเข้ามาบริหารประเทศ โดยรัฐบาลอิหร่านได้ออกกฎหมายให้สตรีชาวอิหร่านทุกคนสวมเครื่องแต่งกายตามหลักการศาสนาที่เรียกว่าฮิญาบ (Hejab) อย่างมิดชิดเมื่ออยู่ในสถานที่สาธารณชน การแต่งกายของสตรีมุสลิมตามหลักการศาสนาที่เรียกว่าฮิญาบ (Hejab) เป็นข้อปฏิบัติของสตรีมุสลิมทุกคน โดยมีหลักการทั่วไปว่า สตรีมุสลิมผู้บรรลุนิติภาวะ (อายุ 9 ปีขึ้นไป) ต้องสวมใส่เครื่องแต่งกายอย่างมิดชิดเมื่ออยู่ในสถานที่สาธารณชน โดยอนุญาตให้เปิดเผยได้เฉพาะส่วนคือใบหน้าและฝ่ามือเท่านั้น สำหรับการแต่งกายของสตรีมุสลิมในประเทศมุสลิมที่ใช้การปกครองตามหลักการอิสลามจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสังคม รสนิยม วัฒนธรรม และประเพณี ตลอดจนนโยบายของแต่ละประเทศ ซึ่งสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน เช่นประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกกลางนิยมสวมเครื่องแต่งกายสีดำและสีโทนเข้ม ในขณะที่ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ปากีสถาน ฯลฯ นิยมสวมเครื่องแต่งกายสีฉูดฉาดและหลายหลากสี การแต่งกายของสตรีชาวอิหร่าน รัฐบาลอิหร่านสนับสนุนให้สตรีชาวอิหร่านสวมใส่ฮิญาบ (Hejab) ที่เป็นชุดประจำชาติที่เรียกว่าชาโดร (Chador) ซึ่งเป็นผ้าคลุมครึ่งวงกลมสีดำยาวไม่มีแขน และสไตล์ใหม่เป็นแบบมีแขนคล้ายชุดคลุมยาวทั่วไป โดยจะสวมใส่ทับบนเครื่องแต่งกายอีกชั้น แต่ไม่เป็นการบังคับใครจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ โดยทั่วไปสตรีชาวอิหร่านจะแต่งกายด้วยชุดที่เรียบร้อย สีไม่ฉูดฉาด โดยเฉพาะในสถานที่ราชการ ผู้หญิงจะต้องสวม "มอนโต" หรือเสื้อคลุมยาวเลยเข่าเล็กน้อยหรือเสื้อคลุมยาวถึงตาตุ่มแขนเสื้อยาว และสวม "มักนาเอ่ะ" ซึ่งมีลักษณะคล้ายผ้าพันคอที่เย็บติดด้านหน้าซึ่งคลุมตั้งแต่ศรีษะถึงหัวไหล่ โดยทั้งสองชุดนี้ต้องมีสีเข้มไม่ฉูดฉาด อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน สตรีชาวอิหร่านเริ่มหันมาให้ความสนใจกับแฟชั่นเสื้อคลุมที่จะสวมใส่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีที่มีฐานะและผู้ที่มีฐานะทางสังคมในกรุงเตหะราน โดยสตรีอิหร่านจะสวมเสื้อคลุม "มอนโท" ที่มีสีสันหลากหลายมากขึ้น และมีแบบหรือสไตล์ต่างๆ ที่สวยงาม ทั้งนี้จะใช้ผ้าพันหรือผ้าโผกศรีษะที่มีสีสรร เพื่อให้เข้ากับชุดที่ใส่ นอกจากนี้ สตรีที่มีฐานะและกลุ่มวัยรุ่นสตรีในกรุงเตหะรานมักนิยมแต่งหน้าให้สวยงาม เช่น ทาลิปสติก ทาเล็บ ย้อมผมและใช้เครื่องสำอาง ในสถานที่สาธารณชน ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมอิหร่านเท่าไรนัก นอกจากนี้ แบบหรือสไตล์การแต่งกายของกลุ่มวัยรุ่นสตรีอิหร่านและ กลุ่มนักศึกษาจะเริ่มเน้นความนำสมัยเป็นหลัก โดยจะโผกผ้าพันศรีษะที่เผยให้เห็นผมบ้างบางส่วน และใส่เสื้อคลุมแขนยาวสามส่วน นอกจากนี้สตรีอิหร่านส่วนมากร้อยละ 96 นิยมนุ่งกางเกงยีนส์ที่ทันสมัย สวมกับเสื้อคลุมยาวไม่ว่าจะเป็นแบบที่ยาวถึงหัวเข่า หรือเสื้อคลุมแบบยาวถึงตาตุ่ม มีสตรีอิหร่านน้อยมากที่นุ่งกระโปรงกับเสื้อคลุม ซึ่งต่างจากสตรีชาวตุรกี มาเลเซีย และประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ สตรีชาวอิหร่านนิยมสวมรองเท้าที่มีรูปแบบทันสมัยอีกด้วย ดังนั้นผู้ส่งออกเสื้อผ้าไทยที่ต้องการเจาะตลาดในอิหร่าน สามารถสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าของตยโดยออกแบบให้สวยงามแต่ในขณะเดียวกันยังต้องสอดคล้องกับหลักศาสนามุสลิม เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของตลาดอิหร่าน หากผู้ส่งออกรายใดสนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน ทาง E-mail: thaicomaff@kanoon.net, หรือโทร +(98-21) 2205 7378 & 9, (98-21) 2205 9776

อิหร่านเป็นประเทศที่มีประชากรกว่า 70 ล้านคน และมีอัตราส่วนประชากรที่มีอายุต่ำกว่า30 ปี กว่าร้อยละ 68.6 ทำให้ตลาดเครื่องใช้และอุปกรณ์เด็กเล็กในอิหร่านเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเครื่องใช้และอุปกรณ์เด็กเล็ก เช่น ขวดนมเด็กทารก แป้งเด็ก และของเล่นเด็กเล็กเป็นต้น ทั้งนี้ ชาวอิหร่านมักนิยมเลือกซื้อเครื่องใช้และอุปกรณ์เด็กเล็กจากต่างประเทศมากกว่าที่จะเลือกใช้สินค้าภายในประเทศ เนื่องจากชาวอิหร่านนิยมความหลากหลายของรูปแบบ และสินค้าคุณภาพดีจากต่างประเทศ สินค้าเครื่องใช้และอุปกรณ์เด็กเล็กที่นำเข้าจากต่างประเทศได้แก่สินค้าจากไทย จีน อิตาลี เยอรมัน เกาหลีใต้และตุรกี โดยสินค้าผลิตภายในประเทศที่มีราคาต่ำกว่าสินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศประมาณร้อยละ 10-80 ขึ้นกับคุณภาพ และยี่ห้อ (Brand) ของสินค้า ประเภทสินค้าเครื่องใช้และอุปกรณ์เด็กเล็กที่ชาวอิหร่านนิยมซื้อได้แก่ เสื้อผ้าเด็กขนาดต่างๆ ขวดนม แปรงล้างขวด รถเข็น ตระกร้าหิ้วเด็ก กระโจม เปล ของเล่น น้ำมัน ครีม แป้งทาตัว ผ้าอ้อม รองเท้า ยาสระผม เตียง ตู้ ฯลฯ โดยชาวอิหร่านเรียกอุปกรณ์ต่างๆ นี้ว่า ซีสมูนี (Sismoni) สำหรับบุคคลที่มีฐานะปานกลางจะใช้เงินในการเลือกซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ประมาณ 100-300 เหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่บุคคลที่มีฐานะจะเลือกซื้ออุปกรณ์และเครื่องใช้อย่างครบถ้วน ซึ่งรวมไปถึงเตียงและตู้เสื้อผ้าเด็กในวงเงินประมาณ 4,000-5,000 เหรียญสหรัฐฯ

เมืองท่องเที่ยวในจอร์แดนพัฒนาไปมากจากการเกิดขึ้นของโรงแรมต่าง ๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ธุรกิจบริการสำหรับนักท่องเที่ยวจึงเป็นที่ต้องการในโรงแรมเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านอาหารไทยและสปาไทยนั้นกำลังได้รับความนิยมในตลาดจอร์แดนค่อนข้างมาก นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรป อเมริกัน และรัสเซีย ในขณะที่นักท่องเที่ยวจากเอเชียเริ่มมีมากขึ้น และเป็นนักท่องเที่ยวคุณภาพ ชอบใช้บริการต่างๆในโรงแรม โดยเฉพาะอาหารไทยที่นอกจากจะได้รับการยอมรับในเรื่องของรสชาติแล้วยังมีสมุนไพรที่ดีต่อสุขภาพ และสปาไทยก็เป็นบริการเพื่อสุขภาพ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมในจอร์แดนต้องการบริการเหล่านี้จากประเทศไทย สนใจการค้าการลงทุนในประเทศจอร์แดน

ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจที่กระทบทั่วโลกส่งผลให้ พฤติกรรมการบริโภคของโลกก็มีการพัฒนาขึ้นไปอีกโดยเน้นในเรื่องของความปลอดภัยเป็นหลักจึงทำให้มีความตื่นตัวในเรื่องดังกล่าวค่อนข้างมากจากเหตุการณ์ไข้หวัดนก การปนเปื้อนสารเมลามีนในอาหาร ด้วยเหตุนี้การสู้กับวิกฤตเศรษฐกิจและเผชิญหน้ากับพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปอุตสาหกรรมอาหารของไทยจึงมีความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์อย่างเร่งด่วน ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวพร้อมคาดการณ์ถึงสถานการณ์ของอุตสาหกรรมอาหารของไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า โดยประเมินว่าอาจจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวและอาจจะกระทบต่อยอดขายถึงกว่า 35 % ดังนั้น เพื่อเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว จึงมีแนวคิดในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหาร โดยตั้งเป้าการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารไทยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10 %รวมถึงการเดินหน้ายกระดับโรงงานผลิตอาหารให้ได้มาตรฐานในระดับมาตรฐานสากล รองรับทิศทางที่เปลี่ยนไปของตลาด

โดยหนึ่งในโครงการยกระดับมาตรฐานอาหารไทย ก็คือ โครงการเชื่อมั่นอาหารไทยปลอดภัย เน้นสร้างเครื่องหมายประกันคุณภาพสินค้าไปจนถึงกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างความเชื่อมั่นต่อสินค้าไทย (AQP — Assure Quality Product) โดยจะเป็นการสร้างสัญลักษณ์และเครื่องหมายในการรับรองคุณภาพ และจัดทำแผนการตลาดอย่างเป็นระบบเพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการใช้เครื่องหมายที่ได้รับในการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค รวมถึงสร้างการรับรู้ถึงผลิตภัณฑ์อาหารไทยในด้านของคุณภาพ คุณค่าทางโภชนาการและให้ความรู้แก่ผู้บริโภคชาวต่างชาติในการประยุกต์ใช้ผลิตภัณฑ์อาหารไทยในการปรุงอาหารท้องถิ่นเพื่อเพิ่มโอกาสแก่ผลิตภัณฑ์อาหารของไทย ผู้ค้ารายใหญ่เช่นจีน ก็ประสบปัญหาของสินค้าปนเปื้อนสารเมลามีน การเสริมจุดแข็งด้านคุณภาพจึงเป็นโอกาสที่ดีของอาหารไทยเจาะตลาดฮาลาล อีกตลาดหนึ่งที่มีการพบว่าเป็นตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารที่ค่อนข้างน่าสนใจอย่างยิ่ง ก็คือ สินค้าฮาลาลที่มีผู้บริโภคในประเทศแถบตะวันออกกลาง จากการศึกษาพบว่า ตลาดอาหารโลกมีมูลค่า 590,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นอาหารฮาลาล 200,000 ล้านเหรียญ ด้วยปริมาณผู้บริโภคที่สูงถึง 2,000 ล้านคน ขณะที่ไทยมีส่วนแบ่งประมาณ 330 ล้านเหรียญหรือเพียง 0.057 %ของมูลค่าตลาดอาหารฮาลาลโลกเท่านั้น ดังนั้น การเพิ่มโอกาสแก่ผู้ประกอบการชาวไทยด้วยการรุกคืบไปยังตลาดอาหารฮาลาลในตลาดตะวันออกกลางนับเป็นก้าวย่างที่ดีเนื่องจากตลาดดังกล่าวมีศักยภาพที่สูงพอสมควร แม้ว่ามีจำนวนประชากรเพียง 39 ล้านคน แต่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนถึง 20,000 เหรียญสหรัฐต่อปี ปัจจุบัน ศูนย์ฯมีแผนในการจัดตั้งศูนย์ (Halal Food Innovation Technology Center: Halal FIT) เพิ่มเติมเพื่อรองรับการขยายตลาดอาหารฮาลาลในอนาคต ขณะนี้มี ประเทศผู้ส่งออกอาหารฮาลาลที่สำคัญ ได้แก่ อเมริกา ออสเตรเลีย มาเลเซีย จีน และไทยส่งออกเป็นอันดับ 7 ของโลกโดยผลิตภัณฑ์อาหารได้แก่ ไก่ ปศุสัตว์ ประมงและอาหารแปรรูป ซึ่งบริษัทไทยได้รับการจดทะเบียนฮาลาล แล้ว 2,000 บริษัท

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ