ข้อมูลประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 23, 2009 14:20 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ประเทศและประชากร
1.1 ภูมิศาสตร์ทางเศรษฐกิจ

1) สถานที่ตั้ง ระหว่างละติจูดที่ 23 องศา 22 ลิบดาเหนือ ถึง 8 องศา 30 ลิบดาเหนือ และ ระหว่างละติจูดที่ 102 องศา 10 ลิบดาตะวันออก ถึง 109 องศา ลิบดาตะวันออก

2) พื้นที่ 329,560 ตารางกิโลเมตร (แบ่งเป็นพื้นดิน 325,360 ตารางกิโลเมตร และพื้นน้ำ 4,200 ตารางกิโลเมตร)

3) ประชากร 87,262,356 คน (ปี 2550 ) แบ่งเป็นเชื้อชาติ ดังนี้

แบ่งเป็นอายุระหว่าง 0-14 ปี 25.6% (ชาย 11,323,811 คน หญิง 10,503,353 คน)

15-64 ปี 68.6% (ชาย 29,026,748 คน หญิง 29,463,228 คน)

65 ปีขึ้นไป 5.8% (ชาย 1,927,816 คน หญิง 3,037,409 คน)

แบ่งเป็นเชื้อชาติ ดังนี้

Kinh (Viet) 86.2 %

                    Tay               1.9  %
                    Thai              1.7  %
                    Muong             1.5  %
                    Hoa               1.1  %
                    Khmer             1.4  %
                    Nung              1.1  %
                    H’ Mong           1.0  %
                    Other              4.1 %

อัตราการเพิ่มประชากร = 0.99 %

          อัตราการเกิด            =   16.7 คน/1,000 คน
          อัตราการตาย            =   6.8 คน/ 1,000  คน
          ศาสนา          พุทธ 9.3%  คริสต์ 7.2%  อิสลาม 0.1% อื่นๆ 2.6%

ไม่นับถือศาสนา 80.8%

ความหนาแน่น 258 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร

          รายได้          กรุงฮานอยเฉลี่ย   1,350  เหรียญสหรัฐ / คน / ปี

นครโฮจิมินห์เฉลี่ย 1,700 เหรียญสหรัฐ / คน / ปี

ประชากรในเมืองเฉลี่ยเดือนละ 70 เหรียญสหรัฐ

ประชากรในชนบทเฉลี่ยเดือนละ 45 เหรียญสหรัฐ

          การศึกษา        ภาคบังคับ        15.15  ล้านคน

ภาคอาชีวศึกษา 12.23 ล้านคน

ภาคอุดมศึกษา 0.54 ล้านคน

การศึกษานอกโรงเรียน 0.11 ล้านคน

สัดส่วนผู้อ่านออกเขียนได้(10 ขวบขึ้นไป) 90%

          แรงงาน         กฎเกณฑ์ของเวียดนาม ของผู้ใช้แรงงานมีอายุ 15-60 ปี สำหรับประชากรผู้ชาย และอายุ  15-55 ปี สำหรับประชากรผู้หญิง ปัจจุบันเวียดนามมีผู้ใช้แรงงานทีมีอายุอยู่ในกฎเกณฑ์จำนวน 44.73 ล้านคน คิดเป็น 53.130% ของประชากรทั้งหมดส่วนอัตราการว่างงานคิดเป็น 5.1%

4) ศูนย์และแหล่งอุตสาหกรรมหลัก

ภาคเหนือ - กรุงฮานอยเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางการบริหารประเทศศูนย์กลางธุรกิจการค้าทางภาคเหนือ

  • ไฮฟอง เป็นเมืองท่าสำคัญและเขตอุตสาหกรรมหนัก
  • กว่างนิงห์ เมืองอุตสาหกรรมถ่านหิน

ภาคกลาง - กว่างนัม-ดานัง ศูนย์กลางธุรกิจ การท่องเที่ยวและเมืองท่าสำคัญ

  • เมืองเว้ เป็นเมืองหลวงเก่าและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ

ภาคใต้ - นครโฮจิมินห์ ศูนย์กลางธุรกิจ การนำเข้า ส่งออก และเมืองท่าสำคัญทางภาคใต้

  • บาเรีย - วุงเตา เมืองอุตสาหกรรมน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ
  • มิงห์หาย เมืองอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารทะเล

5) ภูมิประเทศและอากาศ

ความยาว 2,250 กิโลเมตร

ลักษณะพื้นที่ สองในสามส่วนของพื้นที่รวมทั้งประเทศเป็นภูเขาและที่ราบสูงทอด

ยาวจากภาคเหนือติดชายแดนจีนมีความยาว 1,281 ตารางกิโลเมตร ภาคตะวันตกติดชายแดนลาวมีความยาว 2,130 ตารางกิโลเมตร ภาคใต้ติดกัมพูชา มีความยาว 1,228 ตารางกิโลเมตร มีชายฝั่งทะเลที่ยาวจากทิศตะวันออกติดกับทะเลจีนใต้ ทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย โดยมีชายฝั่งทะเลยาวจากเหนือจรดใต้ 3,444 ตารางกิโลเมตร

          อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปี     กรุงฮานอย     17.8 - 28.7  องศาเซลเซียส

เมืองดานัง 21.7 - 29.4 องศาเซลเซียส

นครโฮจิมินห์ 26.1 - 31.9 องศาเซลเซียส

          ระดับน้ำฝน         กรุงฮานอย     2,537  มิลลิเมตร

เมืองดานัง 2,115 มิลลิเมตร

นครโฮจิมินห์ 1,804 มิลลิเมตร

6) เมืองหลวงและเมืองสำคัญ

1. ภาคเหนือ

กรุงฮานอย เป็นที่ตั้งเมืองหลวงของประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ตั้งอยู่ทางภาคเหนือ ปัจจุบันได้มีการรวมจังหวัดใกล้เคียงเข้าด้วยกันเป็นฮานอยใหม่เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2551 คือจังหวัด ฮาเตย ทั้งจังหวัด อำเภอ เมลิงค์ ของจังหวัด วิ๊งห์ฟุ๊คและอำเภอ เลือง เซิน ของจังหวัด ฮว่าบิ่งห์ โดยมีเนื้อที่รวมทั้งหมดได้ 3,300 ตารางกิโลเมตร มีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 6 ล้านคน (แบ่งเป็นประชากรในเมือง2.5 คน คิดเป็น 40% ของประชากรทั้งหมดของกรุงฮานอยใหม่ เฉลี่ยประชากร 1,818 คนต่อตารางกิโลเมตร ทางเหนือของกรุงฮานอยใหม่ติดกับจังหวัดไท๋เวียนและจังหวัดบั๊คซางค์ ทางตะวันออกติดกับจังหวัดบั๊คนิงห์ ตะวันตกติดกับจังหวัดวิงห์ฟุ๊ค ทางใต้ติดกับจังหวัดฮ่านามและจังหวัดฮึ่งเอียน

กรุงฮานอยใหม่ ประกอบด้วย 11 เขตและ 19 อำเภอ คือ เขต ไฮบ่าจึง ฮว่างมาย บาดิ่งห์ ฮ่วนเกี๋ยม แทงซวน เตยโฮ โก่วเสย วันซวน ลองเบียน ฮา ดง (จังหวัดฮาเตย เก่า) เมืองฮาเตย (จังหวัดฮาเตย เก่า) อำเภอดงแองห์ซาเลิมตื่อเลียมซ๊อคเซินและแทงจี่ส่วนที่เพิ่มจากจังหวัดฮาเตย มี บาวี ฟุ๊คเถอะ แทจเทิ้ต ด๋านเฟื่อง ก๊วกอวาย ฮว่ายดึ๊ก เทื่องติ๊น ฟู๋เซียน แทงอวาย เจืองมี๋ มี๋ดึ๊ก อึ๋งฮว่า และที่เพิ่มจากจังหวัดวิ๋งฟุ๊ค มี เมลิงค์ เพิ่มจจากจังหวัด ฮว่าบิงห์ มี เลืองเซิน สำหรับย่านธุรกิจการค้าจะอยู่ที่เขต ฮ่วนเกี๋ยม เขตทางราชการอยู่ที่เขต บาดิ่งห์

มีแม่น้ำที่สำคัญไหลผ่านคือ แม่น้ำแดง ซึ่งไหลผ่านลงสู่ทะเล ในจังหวัดไฮ่ฟอง

มีท่าเรือที่สำคัญอยู่ 2 แห่ง สามารถวิ่งไปยังท่าเรือไฮ่ฟองได้ และมีท่าอากาศยานนานาชาติ นอยบาย สามารถรับผู้โดยสารได้ปีละกว่า 1.8 ล้านคน ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองกรุงฮานอย 35 กิโลเมตร

มีระดับอัตราการจ้างแรงงานแยกเป็น แรงงานขั้นต่ำไร้ฝีมือ 45-55 เหรียญสหรัฐต่อเดือน แรงงานฝีมือ 100-150 เหรียญสหรัฐ ระดับบริหาร 300-500 เหรียญสหรัฐ มีถนนสายที่ 5 เชื่อมไปยังท่าเรือไฮ่ฟองซึ่งเป็นท่าเรือพาณิชย์หลักในเขตภาคเหนือ การขนส่งระหว่าง ท่าเรือไฮ่ฟอง-กรุงฮานอย อัตราค่าบริการบรรทุกทางบก ขนาดตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุต ราคา 130-150 เหรียญสหรัฐต่อเที่ยวและขนาด 40 ฟุต 180-220 เหรียญสหรัฐต่อเที่ยว

2. ภาคกลาง

เมืองดานัง ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีเนื้อที่ทั้งหมด 1,256 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 856,221 คน เฉลี่ยประชากร 681 คนต่อตารางกิโลเมตร ทางเหนือของเมือง ดานัง ติดกับจังหวัดถั่วเทียน เว้ ตะวันออกและใต้ติดกับจังหวัดกว่างนาม ตะวันตกติดกับทะเล เมือง ดานังอยู่ห่างจากนครโฮจิมินห์ 964 กิโลเมตร ห่างจากกรุงฮานอย 764 กิโลเมตร

เมืองด่าหนังแบ่งเป็น 5 เขตและ 2 อำเภอ คือ เขต ไฮโจ แทงค์เค เลียนเจียว เซิน จา และ งูแฮงห์ และอำเภอ ฮวาห์ วาง และ ฮว่าง ซา(เป็นเกาะ)

3.ภาคใต้

นครโฮจิมินห์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของเวียดนาม มีพื้นที่ทั้งหมด 2,390 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่อยู่อาศัยในเขตนครโฮจิมินห์ประมาณกว่า 5.2 ล้านคน ความหนาแน่นของประชากรคิดเป็น 2,175 คนต่อตารางกิโลเมตร มีอำเภออยู่ในเขตตัวเมืองทั้งหมด 17 เขต และ 5 เขต เป็นอำเภออยู่รอบๆชานเมืองนครโฮจิมินห์ ถือเป็นจังหวัดเศรษฐกิจของเวียดนามและเป็นศูนย์กลางของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคมของนานาชาติ

เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า การนำเข้า ส่งออก ตลาดขายส่งและขายปลีกใหญ่ที่สุดของเวียดนาม

เศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจหลังจากปี 2533 มีการเริ่มต้นนโยบายการเปิดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเปิดเป็นเขตนิคมอุตาสหกรรมขึ้นมีการขยายเขตเศรษฐกิจในนครโฮจิมินห์ มีการส่งเสริม การส่งออก-นำเข้าเป็นจังหวัดแรกของเวียดนาม และสามารถเข้าร่วมการค้าโดยตรงและทางอ้อมกับต่างประเทศกับการ พัฒนาอุตสาหกรรมและเป็นศูนย์กลางของผลิตภัณฑ์ที่สำคัญสำหรับผู้บริโภคอุปโภค ทางการเกษตร มีการส่งเสริมด้านอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ในชนบท

ระหว่างช่วงปี 2541-2551 นครโฮจิมินห์มีการเพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ยของ GDP จาก 937 เหรียญสหรัฐ เป็น 1,800 เหรียญสหรัฐ และเป็นจุดสำคัญของเศรษฐกิจสำหรับพื้นที่ที่สำคัญของภาคใต้ของประเทศเวียดนาม อัตราการเฉลี่ยของ GDP ในช่วงปี 2541-2551 ของนครโฮจิมินห์ คิดเป็นร้อยละ 14.06 (เป้าหมายที่วางไว้คือ 15%) ซึ่งสูงกว่าในช่วงปี 2534-2540 คือ 13.6% และ 52% สำหรับการเพิ่มขึ้นของทุน 13.7% เพิ่มขึ้นของผู้ใช้แรงงาน และ 34.2% จากการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

1.2 รูปแบบและลักษณะของรัฐบาล

1) รัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญที่ใช้ปกครองประเทศในปัจจุบันคือ รัฐธรรมนูญฉบับ ปี 2535 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 15 เมษายน 2535 กำหนดให้เวียดนามเป็น ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมโดยมีพรรค คอมมิวนิสต์เวียดนาม เป็นผู้นำของประชาชนทุกชนชั้นและกำหนดแนวนโยบายในการบริหาร ประเทศแก่รัฐบาล

2) อำนาจหน้าที่ของรัฐบาล

รัฐบาลกลางแต่งตั้งโดยสภาแห่งชาติ ( National Assembly ) มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี รับนโยบายจากพรรคคอมมิวนิสต์มาบริหารประเทศ แล้วรายงานผลต่อสภาแห่งชาติ ปัจจุบันนี้เปิดโอกาสให้สมาชิกสภาฯสามารถซักถามการบริหารงานของรัฐบาลเป็นรายบุคคล ได้ในสมัยประชุมส่วนรัฐบาลท้องถิ่นจะมีสภาประชาชนและคณะกรรมการประชาชนประจำ ท้องถิ่นนั้นๆ ทำหน้าที่เป็นองค์กรบริหารสูงสุดบริหารงานให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎระเบียบต่างๆที่บัญญัติ โดยองค์กรของรัฐที่อยู่ในระดับที่สูงกว่า

1.3 ข้อมูลทางเศรษฐกิจเบื้องต้น
เครื่องชี้ภาวะทางเศรษฐกิจ
1) เงินตรา             สกุลด่อง (Dong )
อัตราแลกเปลี่ยน         1  เหรียญสหรัฐ เท่ากับประมาณ 17.783 ด่อง ( พฤษภาคม 2552 )
                                  2546    2547    2548    2549     2550    2551
อัตราเงินเฟ้อ                        4.5%    5.7%    8.3%    8.7%    12.0%   22.5%

2) ผลผลิตมวลรวมของประเทศ           2546    2547    2548    2549     2550    2551
GDP growth rate                   7.8%    7.8%    7.9%    8.1%     8.5%    6.2%

3) รายได้ประชาชาติ                  2546    2547    2548    2549     2550    2551
GNP per capita                     750     780     790     850      930   1,000

1.4  โครงสร้างเศรษฐกิจปัจจุบัน
1. ผลผลิตรวมจากภาคต่างๆ
          ภาคเกษตรกรรม คิดเป็น        19.4%
          ภาคอุตสาหกรรม คิดเป็น        42.3%
          ภาคบริการ คิดเป็น            38.3%
2. การกระจายการจ้างงาน

ด้านเกษตรกรรมและป่าไม้ 55.6% จำนวน 25.32 ล้านคน

          ด้านอุตสาหกรรม            18.9% จำนวน    8.26  ล้านคน
          ด้านบริการ                22.5% จำนวน   10,06  ล้านคน
3.  อุตสาหกรรมที่ให้ประโยชน์ทางการค้ากับประเทศไทย

อุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพและลู่ทางที่จะเข้าไปดำเนินธุรกิจการค้าที่เกี่ยวข้องหรือในการเข้าไปร่วมลงทุนทำการผลิตในเวียดนามรวมทั้งอุตสาหกรรมที่เวียดนามสามารถพัฒนาการผลิต และเป็นแหล่งวัตถุดิบหรือวัตถุดิบแปรรูปที่ตรงกับความต้องการของไทย ดังนี้

  • อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร คือ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง กาแฟ อ้อย ผักและผลไม้
  • อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าประมง คือ ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลบรรจุกระป๋องและแช่แข็ง
  • อุตสาหกรรมเหมืองแร่ น้ำมันดิบ แก๊สธรรมชาติ ถ่านหิน และ อัญมณี
  • อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ คือ บริษัทนำเที่ยวและการโรงแรม
  • อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคส์ โทรทัศน์ วิทยุ พัดลม ตู้เย็น อุปกรณ์เครื่องเสียงต่างๆ
  • อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องโทรคมนาคม คือ วิทยุติดตามตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่และโทรศัพท์ ตั้งโต๊ะวิทยุรับ-ส่งเคลื่อนที่ รวมทั้งการสร้างระบบเครือข่ายต่างๆ
  • อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอและผ้าผืน
  • อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค
  • อุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้างและตกแต่งภายใน
  • อุตสาหกรรมการก่อสร้างและพัฒนาโครงการพื้นฐานต่างๆ เช่น ถนน สะพาน สนามบิน ท่าเรือ นิคมอุตสาหกรรม ตึกอาคารสำนักงานและที่พักอาศัย
4. การพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมของเวียดนาม

1. การกำหนดทิศทางสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรม

  • ให้มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นที่สูงและให้ขยายผลในทางที่ดี
  • ให้ความสำคัญเกี่ยวกับด้านการลงทุน
  • การปรับปรุงด้านเทคโนโลยี่และการทำให้ภาค อุตสาหกรรมให้ทันสมัย
  • การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของอุตสาหกรรมการผลิต

2. มูลค่าการผลิตอุตสาหกรรมทั้งหมด ตามโครงการที่ขยายตัวมีอัตราค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 12 แยกตามรายการดังนี้.

1) กำลังไฟฟ้า

  • โดยในปี พ.ศ. 2551 เครื่องกำเนิดกำลังไฟฟ้า มีกำลังผลิตได้ 48-52.2 พันล้าน กิโลวัตต์ กับอัตราการขยายตัวในแต่ละปีคิดเป็นร้อยละ 11-13 เพื่อรองรับกับการพัฒนา อุตสาหกรรม รวมทั้ง อุตสาหกรรมขนาดใหญ่การพัฒนาทางการเกษตรและการพัฒนา อุตสาหกรมมอื่นๆ

2) ถ่านหิน

  • การขยายตลาดภายในประเทศพร้อมกับต่างประเทศและการส่งออกสู่ผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น
  • การผลิตและความต้องการให้มีความสมดุลในปริมาณ 15-16 ล้านตัน
  • ให้สอดคล้องกับนโยบายในการลงทุน การปรับปรุงเทคโนโลยี่ การยกระดับถึงความปลอดภัยของแรงงานและการปรับปรุงการทำงานให้ได้มาตราฐาน

3) น้ำมันและก๊าซ

  • การสำรวจและแสวงหาผู้ร่วมลงทุนเพิ่มขึ้น
  • เป้าหมายการผลิต 27-28 ล้านตัน การสนับสนุนการพัฒนาในการสำรวจน้ำมัน
  • การสนับสนุนเดินท่อก๊าซของ Nam Con Son มายังโรงกลั่นน้ำมันโรงที่ 1 ให้มีปริมาณได้ 6.5 ล้านตัน
  • การสนับสนุนสร้างโรงกลั่นน้ำมันโรงที่ 2 และสร้างท่อก๊าซมายังโรงกลั่นที่ 2 พร้อมโครงสร้างการแปรรูปน้ำมันเพื่อใช้ประโยชน์ในเขตชายฝั่งทะเลภาคใต้และเขตลุ่มแม่น้ำแดง

4) เหล็ก

  • การสนับสนุนการลงทุนในการทำเหมืองแร่เหล็ก
  • ก่อสร้างโรงรีดเหล็ก เพื่อการผลิตเหล็กแผ่นเพิ่มขึ้น
  • สนับสนุนโครงการผลิตเหล็กทุกประเภท

5) การสำรวจและการแปรรูปแร่ธาตุ

  • การพัฒนาการสำรวจแร่ อลูมิเนียม และการแปรธาตุเป็นอลูมิเนี่ยม
  • การสนับสนุนการเนี่ยมลงทุน โรงหล่อแร่ทองแดง และการขุดสำรวจ พลอยและทองและแร่ธาตุที่สำคัญ
  • การก่อสร้างโรงหล่อแร่สังกะสี ที่ ไท๋เวียน และ โรงหล่อทองแดงที่ ล่าวกาย ในเขตภาคเหนือ

6) เครื่องกล

  • สนับสนุนการลงทุน ด้าน เทคโนโลยีและอุปกรณ์ให้ทันสมัย เพื่อนำไปสู่การแปรรูปที่ทันสมัย สิ่งสำคัญที่สุดคือ การพัฒนาอุตสาหกรรมการต่อเรือและอู่ซ่อมเรือ
  • ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรกลขนาดกลางและเล็ก รวมถึงเครื่องจักรกลทางการเกษตร

7) อิเลคโทรนิกส์

  • การยกขีดความสามารถของการลงทุน การปรับปรุงทางด้านเทคโนโลยีให้ทันสมัยให้สอดคล้องกับความต้องการภายในประเทศ เพื่อลดการนำเข้าและเพิ่มขึ้นในการส่งออก

8) เสื้อผ้า สิ่งทอและเครื่องหนัง

  • การสนับสนุนการลงทุน ในช่วงปี พ.ศ. 2544-2553 ให้มีมูลค่าได้ 4.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ
  • ให้ความสำคัญในการแสวงหาตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
  • การสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีและทำให้ทันสมัยกับผู้ผลิตเดิม
  • การสนับสนุนให้กับผู้ผลิตเส้นด้ายและสิ่งทอให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

9) การแปรรูปอาหาร

  • การพัฒนาและการปรับปรุงให้ก้าวหน้าทันสมัยด้านเทคโนโลยีในการแปรรูปอาหารเพื่อ การแข่งขันกับตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
  • ให้การสนับสนุนในการแปรรูป อาหารทะเล อาหารสำเร็จรูป เนื้อ นม เครื่องดื่ม น้ำมันพืชและอื่นๆ

10) แหล่งที่มาของแร่ธรรมชาติ

10.1 แร่เหล็ก (iron Ores) มีมากในภาคต่างๆคือ

  • ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ บริเวณลุ่มแม่น้ำแดง มีมากกว่า 200 ล้านตัน
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีมากกว่า 200 ล้านตัน
  • ภาคกลางตอนเหนือ มีมากในจังหวัดฮาติ๊ง กว่า 500 ล้านตัน

คิดรวมทั้งหมดได้มากกว่า 1 พันล้านตัน

10.2 แร่มังกานีส (Manganese ores) มีมากในภาคต่างๆคือ

  • ภาคเหนือ ในจังหวัด กาวบั่ง ฮาซางและเตียน กวาง
  • ภาคกลางตอนเหนือ ในจังหวัด ฮาติ๊งและเหงะอาน

คิดรวมทั้งหมดได้กว่า 3 ล้านตัน

10.3 แร่คลอไมท์ (Chromite ores) มีมากในภาคต่างๆคือ

  • ภาคกลางตอนเหนือ จังหวัด แทงฮว๋า ในเขตภูเขา Nui Nua ห่างจากตัวเมืองแทงฮว๋า 20 กิโลเมตร มีมากกว่า 20 ล้านตัน

10.4 แร่อิลเมไนท์ (Ilmenite ores) มีมากในภาคต่างๆคือ

  • ภาคเหนือ จังหวัด กว่างนิงห์
  • ภาคกลางตอนกลาง จังหวัด ถั่วเทียน เว้
  • ภาคกลางตอนล่าง จังหวัด ฟู เอียน
  • ภาคใต้ชายฝั่งทะเล จังหวัด บาเรีย วุงเต่า

คิดรวมทั้งหมดได้กว่า 3 ล้านตัน

10.5 แร่ดินอลูมิเนี่ยม (Bauxite ores) มีมากในภาคต่างๆคือ

  • ภาคเหนือ จังหวัด กาวบั่ง หลักเซิน และจังหวัด ฮาซาง ประมาณมีมากกว่า 200 ล้านตัน
  • ภาคใต้ตอนกลาง จังหวัด เตยเวียน และจังหวัด ลามด่ง มีมากกว่า 4 พันล้าน ตัน

คิดรวมทั้งหมดได้กว่า 4 ล้านตัน

10.6 แร่ทองแดงและนิคเกิล (Copper-Nickel ores) มีมากในภาคต่างๆคือ

  • ภาคเหนือ จังหวัด กาวบั่ง หลักเซิน เซินลา และจังหวัด กว่างนิงห์
  • ภาคกลางตอนกลาง จังหวัดด่าหนัง
  • ภาคใต้ตอนกลาง จังหวัด ลามด่ง

คิดรวมทั้งหมดได้กว่า 200,000 ตัน

10.7 แร่สังกะสี-ตะกั่ว (Zinc-Lead ores) มีมากในภาคต่างๆคือ

  • ภาคเหนือ อยู่ในเขตต่างๆกว่า 50 แห่ง

คิดรวมทั้งหมดได้กว่า 495,000 ตัน

10.8 แร่โลหะและทังสเต็น (Tin and Tungsten ores) มีมากในภาคต่างๆคือ

  • ภาคกลางตอนบน จังหวัด เหงะอาน ปริมาณกว่า 50,000 ตัน
  • ภาคใต้ตอนกลาง จังหวัด ลามด่ง

10.9 แร่เซอร์เพนไตท์ (Serpentine ores) มีมากในภาคต่างๆคือ

  • ภาคกลาง จังหวัด แทงฮวา

คิดรวมทั้งหมดได้กว่า 8 ล้านตัน

10.10 แร่เบนโตไนท์(Bentonite ores) มีมากในภาคต่างๆคือ

  • ภาคใต้ตอนกลาง จังหวัด ลามด่ง

คิดรวมทั้งหมดได้กว่า 542,000 ตัน

10.11 แร่บาไรท์ (Barite ores) มีมากในภาคต่างๆคือ

  • ภาคเหนือ จังหวัด ฮาซาง และ เตียนกวาง

10.12 น้ำแร่ธรรมชาติ (Mineral Water) มีมากในภาคต่างๆคือ

  • ภาคเหนือ จังหวัด กว่างนิงห์ เตียนกวาง ฝูเถาะ
  • ภาคใต้ตอนกลาง จังหวัด ลองอาน
5. ด้านพลังงาน
1. ศักยภาพแหล่งกำเนิดของพลังงาน

เวียดนามมีแหล่งกำเนิดของพลังงานธรรมชาติมากมาย และเป็นพลังงานที่สำคัญ คือ

  • ถ่านหิน มีปริมาณกว่า 37 พันล้านตัน มีมากในจังหวัด กว่างนิงห์ ภาคเหนือ แยกออกเป็นประเภท ถ่านหินไร้ควัน คิดเป็นร้อยละ 95 นอกนั้นเป็นถ่านลิกไนท์
  • น้ำมันและก๊าซ แหล่งกำเนิดอยู่ทางภาคใต้ แยกเป็น น้ำมันมีปริมาณ 2.3พันล้านตัน มีการขุดขึ้นมาใช้แล้วประมาณกว่า 700 ล้านตัน ส่วนก็ซ มีประมาณกว่า 1,300 พันล้านลูกบาสก์เมตร และมีการขุดขึ้นมาใช้กว่า 600 พันล้านลูกบาสก์เมตร และกระแสไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้แล้วทั้งหมดกว่า 300 พันล้านกิโลวัตต์ และมีการนำมาใช้รวมได้แล้วกว่า 60 พันล้านกิโลวัตต์
2. ขอบเขตของการพัฒนาด้านพลังงานจากปี พ.ศ. 2553 — 2563
  • การพัฒนาแหล่งที่มาของพลังงานต่างๆ
  • ความเชื่อมั่นในการพัฒนาเศรศฐกิจและสังคมและการรักษาปกป้องพลังงานที่มีอยู่
  • การควบคุมและการลดของมลภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • การควบคุมราคาและการลงทุนจากต่างประเทศ
  • การพัฒนาด้านพลังงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. การค้าด้านพลังงานกับต่างประเทศ

เวียดนามมีการติดต่อการค้ากับต่างประเทศโดยเฉพาะในเขตอาเชียน ซึ่งเวียดนามมีการเซนต์สัญญาความร่วมมือกับ ลาวและกัมพูชา โดยมีการนำเข้ากระแสไฟฟ้าจากลาว คิดเป็นกำลังได้กว่า 2,000 กิโลวัตต์ และมีการส่งออกกระแสไฟฟ้าไปยัง กัมพูชา กว่า 100 กิโลวัตต์

เวียดนามยังมีโครงการสร้างท่อก๊าซ เชื่อมโยงไปยังประเทศ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และไทย

6. นโยบายการลงทุนจากต่างประเทศ
6.1 การลงทุนจากต่างประเทศ

เวียดนามมีคำสั่งจากรัฐบาลในการสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ คำสั่งที่ 27/2003/ND-CP ลงวันที่ 19 มีนาคม 2546 ดังนี้.

6.1.1 การลงทุนแบบสัญญาร่วมทำธุรกิจ (Business Co-operation contract)

6.1.2 การลงทุนแบบร่วมทุน (Joint venture enterprise)

6.1.3 การลงทุนแบบ 100 % จากนักลงทุนจากต่างประเทศ 6.2 ข้อมูลต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน

6.2.1 อัตราค่าเช่าที่ดินประเภทต่างๆ

          ที่ดินอยู่ในเขตเมือง                                Unit : USD/ตรม./ปี
          Urban land category          Minimum rate          Maximum rate
          Category 1                        1.00                  12.00

          ที่ดินอยู่นอกเขตเมือง                                         Unit : USD/ตรม./ปี
          Type of commune                          Minimum rate     Maximum rate

1. Commune with boundary adjoining

             an urban area in Category 1               0.180           0.080

2. Commune with boundary adjoining

             an urban area in Category 2               0.100           0.600

3 Other region:

                    -In deltas                         0.060           0.360
                    -In midlands                       0.045           0.270
                    -In mountainous region             0.020           0.120

6.2.2 ค่าเช่าโรงงานและสำนักงาน

  • การเช่าเป็นตกลงระหว่างโครงการเขตอุตสาหกรรม กับผู้ลงทุน
  • อัตราค่าเช่า 15-20 เหรียญสหรัฐ/ตารางเมตร/เดือน

6.2.3 ค่าสาธารณูประโภค

กระแสไฟฟ้า (เวียดนามด่อง ต่อ กิโลวัตต์ รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม)

อัตราของที่อยู่อาศัย (หน่วย: เวียดนามด่อง)

                              >20KV                1,320

>6KV - 22KV - 110KV 979

> 6KV — 22KV 1,045

                              < 6KV              1,122

(1 เหรียญสหรัฐ เท่ากับ 17,237 ด่อง)

6.2.4 อัตราค่าน้ำประปา

  • 3,200 — 3,500 เวียดนามด่อง

6.2.5 อัตราค่าทำวีซ่าของผู้ลงทุนและเจ้าหน้าที่ทั่วไป

  • วีซ่า ธุรกิจ สามารถเข้าออกได้หลายเที่ยว 40 — 100 เหรียญสหรัฐ
  • วีซ่าท่องเที่ยว สำหรับเที่ยวเดียว 35 เหรียญสหรัฐ และหลายเที่ยว 60 เหรียญสหรัฐ (สำหรับ เวียดนาม-ไทย มีข้อตกลงว่าด้วยการผ่านแดนสำหรับท่องเที่ยวไม่เสียค่าใช้จ่ายเพียงแต่ ประทับลงวันที่อยู่ได้ 30 วัน)
1.5 สิ่งอำนวยความสะดวกในด้านคมนาคมและขนส่ง

ทางน้ำ

ท่าเรือหลักและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ท่าเรือนิยมใช้ขนส่งระหว่างประเทศ

  • ท่าเรือไฮฟอง ตั้งอยู่ในเมืองไฮฟอง ปริมาณสินค้าผ่านท่าเรือนี้ประมาณ 7-10 ล้านตัน ต่อปี สามารถรับเรือระวางบรรทุก 7,000 - 10,000 ตัน
  • ท่าเรือดิงห์หวู ตั้งอยู่ในเขตเมืองฮายฟอง ปริมาณสินค้าผ่านท่าเรือ ปีละประมาณ 2 - 7 ล้านตัน สามารถรับเรือระวางบรรทุก 10,000 - 30,000 ตัน ท่าเรือมีขนาดความยาวประมาณ 2 - 3 กม.
  • ท่าเรือ กั่วโอง ตั้งอยู่ในเขตจังหวัด กว่างนิงห์ ปริมาณสินค้าผ่านท่าเรือนี้ปีละประมาณ 2 - 5 ล้านตัน สามารถรับเรือระวางบรรทุกได้ 30,000 -50,000 ตัน
  • ท่าเรือเดี่ยนก็อง ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดกว่างนิงห์ เป็นท่าเรือสำหรับสินค้าถ่านหิน ปัจจุบันมีท่า 200 เมตร ลึก 7 เมตร กำลังขยายให้กว้างขึ้น และเพิ่มระดับความลึก
  • ท่าเรือ ดานัง ทางภาคกลาง ท่าเทียบเรือ 4 ท่า พื้นที่โกดัง 15,000 ตัน เครนขนาด 2 - 25 ตัน
  • ท่าเรือไซง่อน ท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ตั้งอยู่ในนครโฮจิมินห์ บนสองฝั่งของแม่น้ำไซ ง่อน มีท่าเทียบเรือโดยสารเดินทะเล 1 ท่า ท่าเทียบเรือขนส่งสินค้า 31 ท่า พื้นที่โกดัง 73,600 ตารางเมตร เครนขนาด 25 - 100 ตัน 16 ตัว

ทางอากาศ

1) สนามบินนานาชาติ

1. Noi Bai International Airport ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของ กรุงฮานอยออก ไปประมาณ 35 กิโลเมตรให้บริการทั้งด้านการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า สามารถบินตรงไปยังฮ่องกง กัวลาลัมเปอร์ ไทเป ดูไบ ปารีส เบอร์ลิน มอสโค มะนิลา และกรุงเทพฯ เป็นต้น

2. Danang International Airport ตั้งอยู่ทางภาคกลางในอตีดเคยเป็นฐานทัพของสหรัฐฯ

ปัจจุบันนี้ขาดการบำรุงรักษาส่วนใหญ่จึงใช้สำหรับเครื่องบินภายในประเทศเท่านั้น ในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร แต่บางครั้งมีการรับเครื่องบินเช่าเหมาจากต่างประเทศที่นำนักท่องเที่ยวบินตรงมายังเมืองดานัง

3. Tan Son Nhat International Airport เป็นสนามบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศตั้งอยู่ห่างจากนครโฮจิมินห์ 7 กิโลเมตร สามารถจอดเครื่องบินในเวลาเดียวกันได้ 600 ลำ สามารถบินตรงไปยัง เบอร์ลิน แฟรงค์เฟริต อัมสาตอร์ดัม ปารีส โซล โอซาก้า กวางโจว ไทเป ฮ่องกง กรุงเทพ สิงคโปร์ กังลาลัมเปอร์ จาร์กาต้า ซิดนี่ย์ มอสโค มะนิลา เป็นต้น

2) สายการบิน

1. Vietnam Airlines เป็นสายการบินแห่งชาติ ให้บริการบินทั้งภายในและภายนอกประเทศ

2. Pacific Airline เป็นสายการบินที่จัดตั้งขึ้นจากการร่วมทุนของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลของเวียดนาม ส่วนใหญ่จะให้บริการภายในประเทศ

3) สนามบินภายในประเทศ Dien Bien Phu, Haiphong, Vinh, Hue, Ban Me thuot, Nhatrang, Dalat, Vung Tau, และ Phu Quoc

4) การบริการขนส่งสินค้าจากไทย

ภาคเหนือ ระหว่างกรุงเทพ - ฮานอย

  • บริษัท การบินไทย จำกัด ให้บริการทั้งสัปดาห์ วันละ 2 เที่ยว
  • Vietnam Airline ให้บริการทั้งสัปดาห์ วันละ 1 เที่ยว
  • Air Asia ให้บริการทั้งสัปดาห์ วันละ 2 เที่ยว
  • Nok Air ให้บริการทั้งสัปดาห์ วันละ 2 เที่ยว

ภาคใต้ ระหว่างกรุงเทพ — นครโฮจิมินห์

  • Vietnam Airline ให้บริการทั้งสัปดาห์ วันละ 1 เที่ยว
  • บริษัท การบินไทย จำกัด ให้บริการทั้งสัปดาห์ วันละ 2 เที่ยว
  • Air Asia ให้บริการทั้งสัปดาห์ วันละ 2 เที่ยว

ทางถนน

1) ระยะเส้นทางขนส่งหลัก

  • เส้นทางหมายเลข 1 เป็นเส้นทางสายหลักของประเทศที่มีความยาวที่สุดจากเหนือสุดติดชายแดนจีนจาก Lang Son เชื่อมถึง Hanoi - Danang - Ho Chi Minh City ไปจรดใต้สุดที่ จังหวัด Minh Hai รวม ความ ยาวทั้งสิ้น 2,289 กิโลเมตร
  • เส้นทางหมายเลข 2 ระหว่าง Hanoi - Ha Giang ขึ้นไปทางเหนือ ติดชายแดนจีนที่มณฑล ยูนาน ยาว 319 กิโลเมตร
  • เส้นทางหมายเลข 3 ระหว่าง Hanoi - Cao Bang ติดชายแดนจีน ทาง มณฑล ยูนานเช่นกัน ยาว 218 กิโลเมตร
  • เส้นทางหมายเลข 5 ระหว่าง Hanoi - Hai Phong ยาว105 กิโลเมตร
  • เส้นทางหมายเลข 8 ระหว่าง Ha Tinh - Vinh และมีเส้นทางถนนต่อไปถึงชายแดนติดกับจังหวัดบุรีคัมไซ ของลาว ยาวประมาณ 90 กิโลเมตร
  • เส้นทางหมายเลข 9 ระหว่าง Danang - Hue - Quang Tri ไปจนถึงชายแดนติดกับจังหวัดสวรรณเขตของลาว ยาวประมาณ 250 กิโลเมตร
  • เส้นทางหมายเลข 51 ระหว่าง Ho Chi minh City — Nung Yau ยาว 75 กิโลเมตร

ทางรถไฟ

เวียดนามมีเส้นทางรถไฟทั่วทั้งประเทศ 6 สาย ความยาวรวม 2,512 กิโลเมตร โดยมีระยะทางเพียง 178 กิโลเมตรที่ใช้รางความกว้างขนาดมาตราฐานสากล ที่เหลือเป็นรางกว้างเพียง 1 เมตร โดยเส้นทางเดินรถไฟมีดังนี้

1. Hanoi - HoChi Minh City ระยะทาง 1,726 กิโลเมตร

          2. Hanoi - Hai Phong         ระยะทาง   102  กิโลเมตร
          3. Hanoi - Lao Cai           ระยะทาง   283  กิโลเมตร
          4. Hanoi - Lang Son          ระยะทาง   148  กิโลเมตร
          5. Hanoi - Thai Nguyen       ระยะทาง    75  กิโลเมตร

Thai Nguyen - Quang Ninh ระยะทาง 178 กิโลเมตร

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ