ประเทศแคนาดามีประชากร ประมาณ 33 ล้านคน โดยประมาณร้อยละ 75 ของประชากรอาศัยอยู่ในมณฑล Ontario มณฑล Quebec และมณฑล British Columbia
ในภาพรวม ประเทศแคนาดามีการผลิตข้าวน้อยมาก ข้าวที่ผลิตได้เป็นพันธุ์ที่เรียกว่า Wild Rice ซึ่งถือกันว่าเป็นอาหารชนิดพิเศษที่มีราคาแพง มีไฟเบอร์สูง และปลูกได้ในประเทศเมืองหนาวเท่านั้น ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว Wild Rice ในแคนาดา คือเดือนสิงหาคม - กันยายนของทุกปี
ในปัจจุบันความต้องการของผู้บริโภคสินค้าข้าวโดยรวมนั้นเพิ่มขึ้นจากปีก่อนๆ มากเนื่องจากจำนวนประชากรชาวเอเชียที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศแคนาดา โดยข้าวจากประเทศไทยนั้นมียอดนำเข้าที่สูงกว่าข้าวจากทั้งอินเดียและจีนรวมกัน แคนาดานำเข้าข้าวจากไทยเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐฯ ทั้งนี้ข้าวหอมมะลิของไทย เป็นที่นิยมมากที่สุดในหมู่ผู้บริโภคชาวเอเชีย
จากผลการสำรวจของหน่วยงาน Statistic Canada ในปี 25511 นั้น พบว่าสินค้าอาหารพื้นฐาน หรือ Basic Food items (อาทิ ข้าว แป้งประกอบอาหาร ขนมปัง นม และไข่) มีราคาสูงขึ้นมากอย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นประวัติการณ์การบริโภคข้าวสูงสุดในประเทศแคนาดา
กลุ่มผู้บริโภคข้าวเป็นหลักในแคนาดา ได้แก่กลุ่มผู้บริโภคชาวเอเชีย และชาวตะวันตกในเมืองสำคัญๆ ของประเทศ โดยกลุ่มผู้บริโภคข้าวที่ใหญ่ที่สุดในแคนาดา คือ จีน รองลงมาได้แก่ผู้บริโภคจากกลุ่มประเทศเอเชียใต้
ทั้งนี้ ประเทศแคนาดามีชาวเอเชียที่โอนสัญชาติเข้ามาอาศัยในประเทศแคนาดามากขึ้นทุกปี (รายละเอียด ดังแสดงในตารางต่อไป) ส่งผลให้การบริโภคข้าวเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในแคนาดามากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคชาวเอเชียนิยมอาศัยในบริเวณเขตเมืองสำคัญๆ ของประเทศ ส่งผลให้การประชาสัมพันธ์ข้าวเป็นไปได้ช้า
4. แหล่งนำเข้า/ ส่งออกข้าวที่สำคัญ
4.1 ประเทศที่นำเข้า: แคนาดานำเข้าข้าวมากที่สุดจากประเทศ สหรัฐฯ รองลงมาได้แก่ ประเทศไทยอินเดีย และประเทศอื่นๆ ตามลำดับ
ประเทศแคนาดาผลิตข้าวประเภท Wild Rice ซึ่งจำนวนที่ผลิตได้มีน้อยมาก ทำให้มีราคาแพง ข้าวที่ผลิตได้ส่วนมาก นิยมใช้บริโภคภายในประเทศ (Domestic Consumption) โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายข้าว Wild Rice ได้แก่ผู้บริโภคประเภท Health Conscious ที่มีรายได้ระดับกลาง — สูง ทั้งนี้ข้าวประเภท Wild Rice ในแคนาดานั้น มีการผลิตเพื่อส่งออกจำนวนที่น้อยมาก
ตามปกตินั้น ผู้นำเข้าข้าวในประเทศแคนาดา มักนิยมสั่งซื้อสินค้าในช่วง New Crop ซึ่งตรงกับเดือนตุลาคมของทุกปี ทั้งนี้ ความต้องการซื้อข้าวจากไทยนั้น ขึ้นอยู่กับราคา และคุณภาพของข้าวในช่วงเวลานั้นๆ ตลอดจน ขนาด Storage Capacity ของผู้นำเข้าแต่ละราย (จากการสอบถามผู้นำเข้าข้าวในเขตแคนาดาตะวันตกนั้น สคต. ได้รับแจ้งว่า ผู้นำเข้าข้าวในเขตแคนาดาตะวันตกโดยมากมี Storage Capacity ที่สามารถเก็บสินค้าได้ประมาณ 3-4 เดือน)
ผู้บริโภคชาวแคนาดานั้น (Caucasian) ยังคงต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ข้าวหอมมะลิไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคชาวแคนาดาไม่สามารถบอกถึงความแตกต่างระหว่างข้าวแต่ละประเภทได้ ทั้งนี้ชาวแคนาดาเริ่มให้ความสำคัญกับคุณค่าทางอาหารมากขึ้น และนิยมหันมาบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการดีต่อการส่งออกข้าวของไทย โดยในปัจจุบัน มีข้าวหลายประเภทวางจำหน่ายในห้างซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป อาทิ ข้าวขาว (White rice) ข้าวกล้อง (Brown rice) ข้าวหอมมะลิไทย และข้าวบาสมาติของอินเดีย ทั้งนี้ข้าวกล้องเริ่มเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวแคนาดาที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากให้คุณค่าทางอาหารมากกว่าข้าวขาวทั่วไปแม้ว่าจะมีราคาที่สูงกว่าก็ตาม
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th