สรุปภาวะการค้าและการแข่งขันสินค้าไทยในตลาด แคนาดา (มกราคม —พฤษภาคม 2552): ตัวเลขฝ่ายไทยเปรียบเทียบกับตัวเลขฝ่ายแคนาดา

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 11, 2009 14:49 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาพรวมภาวะการค้า

สคต. แวนคูเวอร์ ขอรายงานสรุปภาวะการค้าและการแข่งขันสินค้าไทยในตลาดแคนาดา ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 ( มกราคม-พฤษภาคม : ตัวเลขฝ่ายไทย ) ซึ่งมีมูลค่าการค้าขยายตัวลดลง ร้อยละ 22.58 (ในขณะที่ตัวเลขฝ่ายแคนาดา แสดงมูลค่าการค้าขยายตัวลดลงใกล้เคียงกันที่ ร้อยละ 21.52) สรุป สาระสำคัญได้ ดังนี้

1.1 ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทย-แคนาดา ดังนี้
                                มูลค่า(ล้านเหรียญสหรัฐ)                 อัตราการขยายตัว(%)
                        2551 (ม.ค.-พ.ค.)    2552(ม.ค.-พ.ค.)       51/52 (ม.ค.-พ.ค.)
มูลค่าการค้า                     916.23             709.32               -22.58
ส่งออก                         547.56             456.32               -16.66
นำเข้า                         368.67             253.00               -31.38
ดุลการค้า                       178.89             203.33
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สป.พณ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

1.2 การส่งออกจากไทย ไปแคนาดา ใน 5 เดือนแรกของปี 2552 (มกราคม-พฤษภาคม) คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 0.82 ของการส่งออก ทั้งหมดของไทย เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2551 ซึ่งมีสัดส่วนที่ ร้อยละ 0.76 ของการส่งออกทั้งหมดโดยมีอัตราการขยายตัวลดลง (-) ร้อยละ 16.66 (ตัวเลขฝ่ายแคนาดา แสดงมูลค่าการนำเข้าจากไทยลดลง ร้อยละ 15.41)

สินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่มีมูลค่าสำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ (1) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และ ส่วนประกอบ มูลค่า 73.6 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 26.45%) (2) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป มูลค่า 72.6 ล้าน เหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 5.50%) (3) ข้าว มูลค่า 25.4 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 13.04%) (4) เสื้อผ้าสำเร็จรูป มูลค่า 21.3 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 7.64%) (5) กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง มูลค่า 20.7 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 3.87%) (6) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป มูลค่า 16.9 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 3.37%) (7) ผลิตภัณฑ์ยาง มูลค่า 13.0 ล้าน เหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 7.60%) (8) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ มูลค่า 13.0 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 13.93%) (9) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ มูลค่า 12.9 ล้านเหรียญฯ (ลดลง2.13%) และ (10)อัญมณีและเครื่องประดับ มูลค่า 11.7 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 8.49%) ทั้งนี้ สินค้าส่งออกจากไทยที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นในร้อยละที่สูง 5 อันดับแรก (พิจารณาจากสินค้าส่งออก 30 อันดับแรกของไทยไปแคนาดาทุกประเภทสินค้า)ได้แก่ ส่วนประกอบอากาศยานและ อุปกรณ์การบิน (เพิ่มขึ้น 68.98%) เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าฯ (เพิ่มขึ้น 59.47%) อาหารสัตว์เลี้ยง (เพิ่มขึ้น 34.69%) แผงวงจรไฟฟ้า (เพิ่มขึ้น 34.27%) และผลิตภัณฑ์ข้าว(เพิ่มขึ้น 30.18%)

ประเทศคู่แข่งในภูมิภาคเอเซียที่สำคัญ ที่แคนาดามีสัดส่วนต่อการนำเข้าสินค้ามาก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน มาเลเซีย และ อินเดีย โดยแคนาดานำเข้าจากประเทศไทยเป็นลำดับที่ 19

1.3 การนำเข้าของไทยจากแคนาดา ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 (มกราคม —พฤษภาคม) คิดเป็น สัดส่วนการนำเข้าเพิ่มจากระยะเวลาเดียวกันของปี 2551 คือร้อยละ 0.55 จาก ร้อยละ 0.51 โดยมีอัตราขยายตัว ของการนำเข้าลดลง คือจากร้อยละ +45.70 เป็นร้อยละ -31.38 (ตัวเลขฝ่ายแคนาดา แสดงอัตราการส่งออกของ แคนาดามาไทย ลดลงจากร้อยละ+30.61 เป็นร้อยละ -39.76)โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามูลค่า 571.49 ล้านเหรียญฯ )

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากแคนาดา ที่มีมูลค่าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ มูลค่า 33.4 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 18.69%) (2) แผงวงจรไฟฟ้า มูลค่า 32.2 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 31.44%) (3) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ มูลค่า 30.0 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 28.26%) (4) เครื่องจักรกลและส่วน ประกอบ มูลค่า 19.4 ล้านเหรียญฯ(เพิ่มขึ้น 13.14%) และ (5) พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช มูลค่า 18.3 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 46.74%) ทั้งนี้ สินค้านำเข้าจากแคนาดามาไทย ที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นในร้อยละที่สูง 5 อันดับแรก (พิจารณา จากสินค้านำเข้า 30 อันดับแรกของไทยจากแคนาดา ทุกหมวดประเภทสินค้า) ได้แก่ เครื่องบิน เครื่องร่อน อุปกรณ์ การบินฯ (เพิ่มขึ้น 207,775%) นมและผลิตภัณฑ์นม(เพิ่มขึ้น 4,765.96%) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (เพิ่มขึ้น3,236.21%) เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ (เพิ่มขึ้น1,616.97%) และ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ (เพิ่มขึ้น 66.59%)

2. วิเคราะห์โครงสร้างสินค้าส่งออกสำคัญ ของไทยไปแคนาดา ตามกลุ่มสินค้า
                                          มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ                                           อัตราการขยายตัว
  หมวดสินค้า              2549      2550     2551      ค่าเฉลี่ย        2551        2552        2549     2550     2551     2551       2552
                                                3ปี 2549-2551   ม.ค.-พ.ค.   ม.ค.-พ.ค.                                ม.ค.-พ.ค.   ม.ค.-พ.ค.
สินค้าเกษตรกรรม (กสิกรรม,  185.9    234.6    285.4      235.30        104.5      76.4         15.24    26.21   21.65     30.51     -26.89
ปศุสัตว์ และประมง)
(% มูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น)   (15.02)  (17.14)  (19.99)     (17.38)      (19.08)   (16.74)
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร   209.7    259.7    296.2      255.20        103.8     110.0         11.50    23.80   14.06     19.18       5.96
(% มูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น)   (16.95)  (18.97)  (20.74)     (18.89)      (18.96)   (24.11)
สินค้าอุตสาหกรรม           823.2    848.2    838.2       836.53       335.5      268.0        22.91     3.04   -1.19      1.72     -20.12
(% มูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น)   (66.53)  (61.98)  (58.71)     (62.40)      (61.28)   (58.74)
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง         10.3      9.9      8.0         9.4          3.7       1.9         17.33    -3.88  -19.04    -20.18     -49.52
(% มูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น)    (0.83)   (0.72)   (0.56)      (0.69)       (0.67)    (0.41)
สินค้าอื่นๆ : ธุรกรรมพิเศษฯ     8.3     16.3       -          8.2           -          -         11.31    96.58    0.00      0.00       0.00
(% มูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น)    (0.67)   (1.19)    0.00       (0.62)
ทั้งหมด : ทุกหมวดสินค้า    1,237.3   1,368.6  1,427.7   1,344.53        547.6     456.3         19.51    10.61     4.32     7.01     -16.66
(% มูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น)  (100.00)  (100.00) (100.00) (100.00) (100.00) (100.00)
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

จากโครงสร้างสินค้าส่งออก ของไทยไปแคนาดาข้างต้น พบว่า ระหว่างปี 2549-2551 หมวดสินค้า ส่งออกสำคัญเรียงตามลำดับมูลค่าส่งออก ได้แก่ หมวดสินค้าอุตสาหกรรม (เฉลี่ย ร้อยละ 62.40 ของมูลค่าส่งออกฯ) หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร (เฉลี่ยร้อยละ 18.89 ของมูลค่าส่งออกฯ) และ หมวดสินค้าเกษตรกรรม ( กสิกรรม, ปศุสัตว์ และประมง เฉลี่ยร้อยละ 17.38 ของมูลค่าส่งออกฯ) ทั้งนี้ หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง และสินค้าอื่นๆ ได้แก่ ธุรกรรมพิเศษฯ มีการส่งออกมูลค่าน้อยเมื่อเทียบกับการส่งออกไปยังแคนาดาทั้งหมด

3. ภาพรวมการส่งออก หมวดสินค้าเกษตรกรรม

ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 (มกราคม-พฤษภาคม) สรุปภาพรวมการส่งออกสินค้าหมวดเกษตรกรรม (กสิกรรม ปศุสัตว์ และประมง ) ของไทยไปแคนาดา เปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปี 2551 ได้ดังนี้ 3.1. สินค้าส่งออกสำคัญหมวดสินค้าเกษตรกรรม 10 อันดับแรก ได้แก่

ลำดับ   รายการสินค้า              มูลค่า         มูลค่า        อัตราการ
                            (ล้าน USD)    (ล้าน USD)      ขยายตัว

(ม.ค.-พ.ค. (ม.ค.-พ.ค. (ม.ค. —พ.ค.

                              2551)          2552)      51/52 (%)
1. ข้าว                         29.2          25.4        -13.04
2. กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง             19.9          20.7          3.87
3. ยางพารา                     30.9          11.5        -62.75
4. ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง              7.4           3.8        -48.74
5. ไก่แปรรูป                      4.5           3.6        -21.15
6. ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง          4.0           3.6        -11.22
7. ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง      2.6           2.2        -16.38
8. สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย           0.7           1.4        107.42
9. เนื้อปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง          0.7           0.7          6.66
10. ถั่วเขียวผิวมัน                  0.4           0.5         28.01
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

3.2. สินค้าส่งออกหมวดเกษตรกรรม ที่มีการขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้น (+) (พิจารณาจากสินค้าส่งออกสำคัญ
ของไทยไปแคนาดา 20 อันดับแรก ได้แก่
ลำดับ   รายการสินค้า              มูลค่า         มูลค่า        อัตราการ
                            (ล้าน USD)    (ล้าน USD)      ขยายตัว

(ม.ค.-พ.ค. (ม.ค.-พ.ค. (ม.ค. —พ.ค.

                              2551)         2552)       51/52(%)
1. สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย          0.7          1.4          107.42
2. สินค้าปศุสัตว์อื่นๆ                0.1          0.1           70.55
3. ครั่ง                         0.1          0.2           68.30
4. ปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง            0.2          0.4           63.32
5. ถั่วเขียวผิวดำ                  0.4          0.5           28.01
6 เนื้อปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง          0.7          0.7            6.66
7 กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง             19.9         20.7            3.87
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

3.3. สินค้าส่งออกหมวดเกษตรกรรมที่ขยายตัว ในอัตราลดลง (-)(พิจารณาจากสินค้าส่งออกสำคัญ
ของไทยไปแคนาดา 20 อันดับแรก ได้แก่
ลำดับ   รายการสินค้า              มูลค่า         มูลค่า        อัตราการ
                            (ล้าน USD)    (ล้าน USD)      ขยายตัว

(ม.ค.-พ.ค. (ม.ค.-พ.ค. (ม.ค.—พ.ค.

                              2551)         2552)       51/52(%)
1 ถั่วอื่นๆ                        0.7           0.2        - 72.15
2 ยางพารา                     30.9          11.5        - 62.75
3 ปลาแห้ง                       0.2           0.1        - 58.08
4 ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง              7.4           3.8        - 48.74
5 ถั่วเขียวผิวมัน                   0.7           0.5         -33.86
6 เครื่องเทศและสมุนไพร            0.5           0.4        - 26.95
7 ผักสด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง      0.6           0.5         -25.17
8 ไก่แปรรูป                      4.5           3.6         -21.15
9 ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง      2.6           2.2         -16.38
10 กล้วยไม้                      0.4           0.3         -15.14
11 ข้าว                        29.2          25.4         -13.04
12 ปลาหมึกสด แช่เย็น แช่แข็ง        4.0           3.6         -11.22
13 ปลามีชีวิต และพันธุ์ปลา           0.1           0.1          -3.21
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

4 ภาพรวมการส่งออก หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร

ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 (มกราคม-พฤษภาคม) สรุปภาพรวมการส่งออกสินค้าหมวดอุตสาหกรรม การเกษตรของไทยไปแคนาดา เปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปี 2551 ได้ดังนี้

4.1. สินค้าส่งออกสำคัญหมวดอุตสาหกรรมการเกษตร 10 อันดับแรก ได้แก่
ลำดับ   รายการสินค้า                   มูลค่า         มูลค่า        อัตราการ
                                 (ล้าน USD)    (ล้าน USD)      ขยายตัว

(ม.ค.-พ.ค. (ม.ค.-พ.ค. (ม.ค. —พ.ค.

                                   2551)         2552)       51/52(%)
1. อาหารทะเลกระป๋อง และแปรรูป        68.8          72.6          5.50
2. ผลไม้กระป๋องและแปรรูป              17.5          16.9         -3.37
3. ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ   3.0           3.7         24.50
4. ผลิตภัณฑ์ข้าว                        2.4           3.1         30.18
5. อาหารสัตว์เลี้ยง                     2.2           3.0         34.69
6. สิ่งปรุงรสอาหาร                     2.6           2.7          3.00
7. ผักกระป๋องและแปรรูป                 2.2           1.8        -20.44
8. หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม         0.5           0.4        -18.38
9. เครื่องดื่ม                          0.4           0.4          3.77
10. โกโก้และของปรุงแต่ง                n/a           0.2            -
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

4.2. สินค้าส่งออกหมวดอุตสาหกรรมการเกษตรที่มีการขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้น (+) (พิจารณาจาก
สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปแคนาดา 20 อันดับแรก ได้แก่
ลำดับ    รายการสินค้า                    มูลค่า         มูลค่า        อัตราการ
                                    (ล้าน USD)    (ล้าน USD)      ขยายตัว

(ม.ค.-พ.ค. (ม.ค.-พ.ค. (ม.ค.—พ.ค.

                                      2551)        2552)        51/52(%)
1. ไอศกรีม                              n/a           n/a          130.77
2. เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์      n/a           n/a          122.78
3. น้ำตาลทราย                           0.1           0.1           59.74
4. อาหารสัตว์เลี้ยง                        2.2           3.0           34.69
5. ผลิตภัณฑ์ข้าว                           2.4           3.1           30.18
6. ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ      3.0           3.7           24.50
7. อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป            68.8          72.6            5.50
8 เครื่องดื่ม                              0.4           0.4            3.77
9 สิ่งปรุงรสอาหาร                         2.6           2.7            3.00
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

4.3. สินค้าส่งออกหมวดอุตสาหกรรมการเกษตรที่มีการขยายตัว ในอัตราลดลง (-)(พิจารณาจาก
สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปแคนาดา 20 อันดับแรก ได้แก่
ลำดับ   รายการสินค้า                      มูลค่า         มูลค่า        อัตราการ
                                    (ล้าน USD)    (ล้าน USD)      ขยายตัว

(ม.ค.-พ.ค. (ม.ค.-พ.ค. (ม.ค.—พ.ค.

                                      2551)         2552)       51/52(%)
1 นมและผลิตภัณฑ์นม                         n/a           n/a       -80.00
2 ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์                0.1            -        -47.83
3 ซุปและอาหารปรุงแต่ง                      0.3           0.2       -44.44
4 ผักกระป๋องและแปรรูป                      2.2           1.8       -20.44
5 หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม              0.5           0.4       -18.38
6 ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                   17.5          16.9        -3.37
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

5. ภาพรวมการส่งออก หมวดสินค้าอุตสาหกรรม
สรุปภาพรวมการส่งออกสินค้าหมวดอุตสาหกรรม จากไทยไปแคนาดา ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 (มกราคม-พฤษภาคม)
เปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปี 2551 ได้ดังนี้

5.1 สินค้าส่งออกสำคัญหมวดสินค้าอุตสาหกรรม 10 อันดับแรก ได้แก่
ลำดับ    รายการสินค้า                           มูลค่า         มูลค่า        อัตราการ
                                          (ล้าน USD)    (ล้าน USD)      ขยายตัว

(ม.ค.-พ.ค. (ม.ค.-พ.ค. (ม.ค.—พ.ค.

                                             2551)        2552)       51/52(%)
1 เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ           100.0         73.6         -26.45
2 เสื้อผ้าสำเร็จรูป                               19.8         21.3           7.64
3 ผลิตภัณฑ์ยาง                                  12.1         13.0           7.60
4 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ                 15.1         13.0         -13.93
5 รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ                    13.2         12.9          -2.13
6 อัญมณีและเครื่องประดับ                          12.8         11.7          -8.49
7 เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์                     16.6         10.3         -38.06
8 เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกมส์                    13.3          9.7         -26.70
9 เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน                           7.0          5.7         -18.74
10 รองเท้าและชิ้นส่วน                             6.4          5.4         -15.15
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

5.2. สินค้าส่งออกสำคัญหมวดสินค้าอุตสาหกรรม ที่ขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้น (+) (พิจารณาจาก
สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปแคนาดา 20 อันดับแรก ได้แก่
ลำดับ   รายการสินค้า                             มูลค่า         มูลค่า        อัตราการ
                                            ล้าน USD)    (ล้าน USD)      ขยายตัว

(ม.ค.-พ.ค. (ม.ค.-พ.ค. (ม.ค. —พ.ค.

                                              2551)        2552)       51/52(%)
1. ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน              2.9          4.9         68.98
2. เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ฯ             3.0          4.9         59.47
3. แผงวงจรไฟฟ้า                                 3.2          4.4         34.27
4. เสื้อผ้าสำเร็จรูป                               19.8         21.3          7.64
5. ผลิตภัณฑ์ยาง                                  12.1         13.0          7.60
6. เครื่องยกทรง รัดทรง และส่วนประกอบ               2.9          2.9          0.22
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

5.3. สินค้าส่งออกสำคัญหมวดสินค้าอุตสาหกรรม ที่ขยายตัวในอัตราที่ลดลง (-) (พิจารณาจาก
สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปแคนาดา 20 อันดับแรก ได้แก่
ลำดับ   รายการสินค้า                            มูลค่า         มูลค่า        อัตราการ
                                          (ล้าน USD)    (ล้าน USD)      ขยายตัว

(ม.ค.-พ.ค. (ม.ค.-พ.ค. (ม.ค. —พ.ค.

                                            2551)         2552)       51/52(%)
1. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ              10.4          3.9         -62.63
2. เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ ฯ                7.1          4.0         -43.11
3. รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ                   5.6          3.3         -41.45
4. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร          6.9          4.3         -38.10
5. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                     16.6         10.3         -38.06
6. ผลิตภัณฑ์พลาสติก                               7.4          4.9         -32.86
7. เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกมส์                   13.3          9.7         -26.70
8. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ         100.0         73.6         -26.45
9. เลนซ์                                       6.4          5.2         -19.47
10. เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน                         7.0          5.7         -18.74
11. รองเท้าและชิ้นส่วน                            6.4          5.4         -15.15
12. เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ               15.1         13.0         -13.93
13. อัญมณีและเครื่องประดับ                        12.8         11.7          -8.49
14. รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ                  13.2         12.9          -2.13
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

6. ภาวะการแข่งขันของสินค้าไทย ในตลาดแคนาดาเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง (มกราคม-พฤษภาคม 2552)
พิจารณาจากสถิติการนำเข้าของแคนาดา : Statistic Canada ในกลุ่มสินค้านำเข้าสำคัญจากไทย)

สรุปข้อคิดเห็น /เสนอแนะ สคต.แวนคูเวอร์

7.1 ภาพรวมเศรษฐกิจของแคนาดา ในภาพรวมนั้น แคนาดายังอยู่ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และยัง คงได้รับผลกระทบจากภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกและสหรัฐซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของแคนาดา เริ่มจากปัจจัยบ่งชี้ตั้งแต่ ต้นปีที่มีการเพิ่มขึ้นของการว่างงาน และล้มละลาย เป็นจำนวนมาก ผู้บริโภคต้องระมัดระวังและลดการใช้จ่ายเท่าที่ จำเป็นอย่างไรก็ตามการใช้จ่ายด้านอาหารและปัจจัยที่อยู่อาศัยเพื่อหาความสุขจากการอยู่บ้านเพิ่มขึ้นเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อการผ่อนคลาย เป็นโอกาสดีสำหรับการขยายตลาดสินค้าอาหารไทยไปยังแคนาดาเพิ่มมากขึ้น

หน่วยงาน Statistic Canada ได้ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจแคนาดาในภาพรวมล่าสุด ณ ก.ค. 2552 ดังนี้

1. Real GDP: -0.5% (พ.ค. 2552) - เทียบกับ -0.2% ในเดือนเม.ย. 2552

2. Unemployment Rate: 8.6% (มิ.ย. 2552) — เทียบกับ 8.4% ในเดือนพ.ค. 2552

3. Export: -8.7% (ไตรมาส 1 ปี 2552)- เทียบกับ — 4.8% ในไตรมาส 4 ปี 2551

4. Import: -11.2% (ไตรมาส 1 ปี 2552)- เทียบกับ -6.4% ในไตรมาส 4 ปี 2551

5. Inflation Rate: -0.3% (มิ.ย. 2552) — เทียบกับ 0.1% ในเดือนพ.ค. 2552

นักเศรษฐศาสตร์ในแคนาดา เชื่อว่า เศรษฐกิจของประเทศเริ่มปรับสภาพดีขึ้น (Going to the right direction) ทั้งนี้ ยังไม่มีนักเศรษฐศาสตร์หรือหน่วยงานใดกล่าวว่าแคนาดาพ้นจากภาวะ Recession แล้ว ด้านธุรกิจ รถยนต์ นั้น ยอดขายในแคนาดาเดือน ก.ค. 2552 เริ่มปรับสภาพดีขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจ โดยรถยนต์ประเภท Passenger Cars ลดลง ร้อยละ14.4 และรถยนต์ประเภท Light-Duty Truck เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ตามลำดับใน ด้านตลาดแรงงานนั้น สถิติหน่วยงาน Statistic Canada ล่าสุดเริ่มชี้ให้เห็นถึงสภาวะที่ดีขึ้น โดยจำนวนประชากร ว่างงานระหว่างเดือน เม.ย. — มิ.ย. 2552 เพิ่มขึ้นประมาณ 13,000 คน เมื่อเทียบกับ 273,000 คนระหว่าง ม.ค.-มี.ค. 2552

7.2 สินค้าศักยภาพในการส่งออกจากไทยไปแคนาดาใน 5 เดือนแรกของปี 2552 (มกราคม —พฤษภาคม : สถิติฝ่ายไทย) พิจารณาจากสินค้าส่งออกสำคัญจากไทยไปแคนาดา 30 อันดับแรก สินค้าที่ยังคงมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งเสื้อผ้า สำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าฯ แผงวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ผลิตภัณฑ์ข้าว และ อาหารสัตว์เลี้ยง ซึ่งกลุ่มสินค้าดังกล่าว เป็นสินค้าที่มีการแข่งขันสูงจากประเทศคู่แข่งจากการที่ผู้ส่งออก ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การรักษาภาพลักษณ์ที่ดีและคุณภาพสินค้า ตลอดทั้งการกำหนดราคาที่เหมาะสม ซึ่ง สามารถสร้างความแตกต่างจากสินค้าคู่แข่งได้ จึงทำให้สินค้าไทยยังคงรักษาตลาดไว้ได้และสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่มีการ นำเข้าเพิ่ม ได้แก่ ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน

7.3 เปรียบเทียบกับสถิติการค้า ตัวเลขฝ่ายแคนาดา (Statistics Canada) สรุปภาพรวมการค้าระหว่าง แคนาดา-ไทย ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 (มกราคม-พฤษภาคม ) โดยเปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของ ปี 2551 ได้ดังนี้

  • มูลค่าการค้าระหว่างแคนาดา-ไทย มีมูลค่ารวม 929.39 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง ร้อยละ 21.52)
  • การนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย มีมูลค่า 750.44 ล้านเหรียญสหรัฐ ( ลดลง ร้อยละ 15.41)
  • การส่งออกของแคนาดามาไทย มีมูลค่า 178.95 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลงร้อยละ 39.76) ทำให้แคนาดา
เป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ากับไทยมูลค่า 571.49 ล้านเหรียญฯ โดยมีข้อสังเกตุดังนี้

7.3.1 สินค้าที่แคนาดานำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้น (พิจารณาจากสินค้านำเข้าสำคัญ 30 อันดับแรกที่แคนาดานำ เข้าจากไทย) แบ่งตามกลุ่มสินค้าได้ ดังนี้

หมวดอุตสาหกรรม ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องจักรสำนักงานฯ (พิกัด 8473) นำเข้ามูลค่า 35.52 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 38.10) ยางนอกชนิดอัดลมที่เป็นของใหม่ ใช้สำหรับพาหนะต่างๆ พิกัด 4011 (มูลค่า 12.44 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.68) อุปกรณ์ติดตั้ง ของหลอดหรือท่อ (ข้อต่อ ข้องอ ปลอกเลื่อน ทำ ด้วยเหล็กและเหล็กกล้า (พิกัด 7307) นำเข้ามูลค่า 9.20 ล้านเหรียญ (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 53.83) รองเท้า ฯ (พิกัด 6403) นำเข้ามูลค่า 6.90 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.40) เส้นใย กลุ่มเส้นใย และเคเบิลใย นำแสง รวมทั้ง เลนส์ กระจก ปริซึมและวัสดุเชิงทัศนศาสตร์ (พิกัด 9001) นำเข้ามูลค่า 6.56 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.13) เครื่องยกทรง รัดทรง คอร์ซีเลตต์ และอื่นๆ (พิกัด 6212) นำเข้ามูลค่า 4.13 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.39) และ เครื่องทำน้ำร้อนด้วยไฟฟ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอุปกรณ์ตกแต่งผม และเครื่องอุปกรณ์เป่ามือให้แห้ง ฯ (พิกัด 8516) นำเข้า 4.02 ล้านเหรียญฯ(เพิ่มขึ้น ร้อยละ 52.15)

หมวดอุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่ พาสต้า เส้นมักกะโรนี/สปาเก็ตตี้ เส้นบะหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยวและวุ้นเส้น พิกัด 1902 นำเข้า มูลค่า 5.03 (เพิ่มขึ้น 49.15 )หมวดเกษตรกรรม ได้แก่ สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย โมลลุสก์ ฯ (พิกัด 1605) นำเข้ามูลค่า 30.60 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.00) กุ้งแช่เย็น แช่แข็ง (พิกัด 0306) นำเข้า มูลค่า 25.68 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 25.13) และ ข้าว(พิกัด 1006) นำเข้ามูลค่า 24.54 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.38)

7.3.2 สินค้าที่แคนาดานำเข้าจากไทยลดลง (พิจารณาจากสินค้านำเข้าสำคัญ 30 อันดับแรกที่แคนาดา นำเข้าจากไทย) แบ่งตามกลุ่มสินค้าได้ ดังนี้

หมวดอุตสาหกรรม แคนาดานำเข้าลดลงในสินค้าส่งออกสำคัญของไทย หลายรายการ ได้แก่ เครื่อง โทรศัพท์ และอุปกรณ์ (พิกัด 8517) คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ(พิกัด 8471) แผงวงจรไฟฟ้า (พิกัด8542) เครื่องส่งสำหรับวิทยุ โทรศัพท์ โทรทัศน์ รวมทั้งกล้องบันทึกภาพฯ (พิกัด 8525) ของและเครื่องอุปกรณ์สำหรับใช้ในการ ออกกำลังกาย การเล่นยิมนาสติก กรีฑา และกีฬาอื่นๆ (พิกัด 9506) รถจักรยานยนต์(รวมถึงโมแพ็ด) และรถจักรยาน ที่ติดตั้งมอเตอร์ช่วย และชิ้นส่วน (พิกัด 8711) เครื่องเพ็ชร พลอยและรูปพรรณ และส่วนประกอบ ทำด้วยโลหะมีค่าฯ (พิกัด 7113) เครื่องแต่งกายและของที่ใช้ประกอบกับเครื่องแต่งกาย (พิกัด 4015) เฟอร์นิเจอร์อื่นๆ และส่วนประกอบ ของเฟอร์นิเจอร์ (พิกัด 9403) เครื่องพิมพ์ใช้สำหรับการพิมพ์ประเภทต่างๆ (พิกัด 8443) เครื่องปรับอากาศและส่วน ประกอบ (พิกัด 8415) ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของยานยนต์ ตามประเภท 87.01-87.05 (พิกัด 8708) เครื่อง เพชรพลอยและรูปพรรณที่เป็นของเทียม (พิกัด 7117) มอนิเตอร์และเครื่องฉายฯ รวมทั้งเครื่องรับโทรทัศน์ หรือเครื่อง บันทึกเสียงหรือถอดเสียง หรือเครื่องบันทึกภาพ/ถอดภาพ วีดีโอฯ (พิกัด 8528)

หมวดอุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่ สตาร์ชและอินูลิน (พิกัด 1108) นำเข้ามูลค่า 4.19 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลงร้อยละ 20.58 จากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2551)

หมวดเกษตรกรรม ได้แก่ ปลาปรุงแต่ง (พิกัด 1604) นำเข้ามูลค่า 47.79ล้านเหรียญฯ (ลดลง ร้อยละ 4.07)ยางธรรมชาติ บาลาตา กัตตาเปอร์ชา กวายูล ชิเคิล และกัมธรรมชาติที่คล้ายกัน ในลักษณะขั้นปฐม หรือเป็นแผ่น แผ่นบางหรือเป็นแถบ (พิกัด 4001) นำเข้ามูลค่า 16.39 ล้านเหรียญฯ (ลดลงร้อยละ 47.99) ผลไม้ ลูกนัท ถั่วลิสง และเมล็ดพืชและส่วนอื่นที่ทำไว้ไม่ให้เสียโดยวิธีอื่นฯ (พิกัด 2008) นำเข้า 13.16 ล้านเหรียญฯ (ลดลง ร้อยละ 13.43)

7.4 จากคาดการณ์เศรษฐกิจ การค้า ของนักเศรษฐศาสตร์แคนาดา ซึ่งเชื่อว่าจะดีขึ้นในปี 2553 และสถิติ การค้าระหว่างไทย-แคนาดา ซึ่งสินค้าประเภทอาหารของไทย ยังสามารถขยายตลาดส่งออกไปยังแคนาดาได้อีกมาก สำนักงานฯ เห็นว่า ผู้ส่งออกไทย ควรได้พิจารณาตลาดแคนาดาเป็นทางเลือกหนึ่งของการส่งออก แม้ขนาดของตลาดจะ ยังคงเล็กอยู่ แต่มีแนวโน้มที่จะขยายได้อีกมาก หากประชาชนแคนาดา ได้รู้จักสินค้าไทยมากยิ่งขึ้น ซึ่ง ผู้ผลิต/ส่งออก สินค้า ควรผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานตามข้อกำหนด กฏระเบียบ ของทางการแคนาดา และมีการพัฒนาคุณภาพรูปแบบ ให้สอดคล้องกับรสนิยมผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ จึงต้องมีการติดตามความเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงแนวโน้มของตลาดตลอด เวลา และควรให้ความสำคัญกับสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากแคนาดา ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้น ผู้ส่งออกไทย จะต้องมีความซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา และให้ความสำคัญกับการติดต่อ/สื่อสารให้ทัน ท่วงที ทั้งสิ่งที่เป็นอุปสรรค และสิ่งที่ดี

7.5 ผู้ผลิต/ส่งออกสินค้าไทย ควรทำการตลาดเชิงรุก ในการหาพันธมิตรทางการค้าที่มีเครือข่ายกว้างขวาง เนื่องจากไทยเสียเปรียบประเทศคู่แข่งที่มีคนของประเทศนั้นๆ ไปลงทุนและเป็นผู้กว้างขวาง/ประสบความสำเร็จในประเทศ ผู้นำเข้า ผู้ส่งออกควรหาโอกาสในการพบทำความรู้จักกับผู้นำเข้าในแคนาดาหรือตัวแทนซื้อสินค้าให้มากขึ้นปัจจุบัน ผู้ส่งออก ของประเทศคู่แข่งอื่นๆ ได้ทำการตลาดเชิงรุกทั้งการเดินทางไปเยี่ยมเยีอนผู้นำเข้าศักยภาพและการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ การแนะนำบริษัท/สินค้า ทางอีเล็กทรอนิกส์ ไปยังผู้นำเข้าโดยตรง

7.6 รัฐบาลแคนาดาได้ตั้งงบประมาณ Budget 2009 เพื่อฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจแคนาดาโดยตรง โดยมีการ ตั้งงบประมาณมากถึง 7.5 พันล้านเหรียญแคนาดา (ประมาณ 2.3 แสนล้านบาท) เพื่อใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาค ธุรกิจรถยนต์ ป่าไม้ และธุรกิจประเภท Manufacturing sector ทั้งนี้ ผู้ผลิต/ ผู้ส่งออกไทยสามารถคาดการณ์ธุรกิจใน ภาคดังกล่าวขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2552-2553

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ