การประกอบธุรกิจในกัมพูชา

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 5, 2009 16:45 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ข้อมูลพื้นฐาน

สภาพภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร (หรือประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศไทย) พรมแดนทางทิศใต้จรดกับอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด และทิศเหนือติดกับ จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ และลาว ทิศตะวันออกติดกับเวียดนาม (ชายแดนติดกับลาว 541 กม. , ไทย 803 กม. และเวียดนาม 1,228 กม. โดยมีชายฝั่งทะเลยาว 443 กม.)

ประชากร จำนวน 14.7 ล้านคน

เมืองหลวง คือ กรุงพนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางแหล่งอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมหลักของประเทศ เมืองสำคัญได้แก่ กรุงพระสีหนุวิลล์ (จังหวัดกัมปงโสม) จังหวัดเสียมราฐ (เสียมเรียบ) จังหวัดพระตะบอง จังหวัดเกาะกง และจังหวัดกัมปงจาม

การปกครอง แบ่งเขตการปกครองเป็นราชธานี 1 แห่ง คือ ราชธานีพนมเปญ , จังหวัด 23 จังหวัด, กรุง 26 แห่ง, อำเภอ 159 แห่ง, ขัณฑ์ (หรือเขต) 8 แห่ง, ตำบล 1,417 ตำบล, แขวง 204 แขวง, เขตการปกครอง ที่ปรับใหม่ได้แก่

(1) ยกเขตกรุง 3 แห่งให้เป็นจังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระสีหนุ , จังหวัดแกบ และ จังหวัดไพลิน

(2) ตั้งกรุงใหม่เทียบเท่าอำเภอจำนวน 3 แห่ง ได้แก่กรุงปอยเปต จังหวัดบันเตียเมียนเจย ,กรุงซวงไค จังหวัดกัมปงจาม และ กรุงบาวิต จังหวัดสวายเรียง

(3) เปลี่ยนอำเภอเมืองเป็นกรุง ตั้งอำเภอ และ ขัณฑ์(ตำบล) ใหม่หลายแห่ง ที่น่าสนใจคือ การตั้งกรุงพระวิหาร แยกออกมาจากอำเภอตะแบงเมียนจัย

เชื้อชาติ กัมพูชา 96% มุสลิม 2.2% เวียดนาม 0.4% จีน 0.2 % และที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อยหรือชาวเขารวม 17 เผ่า

ศาสนา พุทธ 95% อื่นๆ 5%

ภาษา เขมรเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม ไทย และจีน

การปกครอง ระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งพระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี โดยมีสมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรี

2. ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน
2.1 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

ในปี 2551 กัมพูชามีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) ร้อยละ 6.0 (ปี 2550 ร้อยละ 10.2) จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 7 เนื่องจากภัยแล้งและอุทกภัย ส่งผลกระทบต่อผลผลิตด้านการเกษตรซึ่งเป็นรายได้หลักของประชากรร้อยละ 70 ของประเทศ รวมถึงการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป สิ่งทอ รองเท้า ที่ลดลง เพราะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯและสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของกัมพูชา และการที่สหรัฐฯ ยกเลิกการใช้มาตรการ Safeguard ต่อสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากจีน

IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจ (GDP Growth) ของกัมพูชา ในปี 2552 จะเติบโตร้อยละ - 0.5 และจะขยับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 3.0 ในปี 2553 ทั้งนี้ เนื่องจากการพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลงเพราะปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลก ที่กระทบผู้ลงทุนรายใหญ่ในกัมพูชา คือ เกาหลีและจีน ทำให้หลายโครงการชะลอตัวและบางโครงการถอนการลงทุน

ราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาส่งผลให้อำนาจซื้อของประชาชนลดลง ประกอบกับภาครัฐได้เข้มงวดต่อการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน แม้ว่าราคาวัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก จะลดลงอย่างมาก ก็ไม่จูงใจให้มีการก่อสร้าง ตลาดหลักทรัพย์ที่คาดว่า จะเปิดตัวครั้งแรกในปี 2552 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนได้ชะลอโครงการโดยไม่มีกำหนดตามสภาวะของตลาดหลักทรัพย์โลกที่มีการอ่อนตัวลงตามวิกฤติเศรษฐกิจโลก

รายได้ต่อหัวของประชากร ในปี 2551 เฉลี่ย 598 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อคน เพิ่มร้อยละ 7.17 จากปี 2550 ซึ่งเฉลี่ย 558 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคน

อัตราเงินเฟ้อ ในปี 2551 ร้อยละ 22.7 โดยราคาข้าวเพิ่มร้อยละ 82 ขณะที่สินค้าบริโภค/อุปโภคขั้นพื้นฐานเพิ่มระหว่างร้อยละ 40-60 ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2550 - เดือนกรกฎาคม 2551 ราคาสินค้าหมวดอาหารเพิ่มเนื่องจากราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นทั่วโลก เช่น ข้าวและเนื้อสัตว์ ประกอบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯและเงินเรียล อ่อนค่าลงขณะที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการขนส่งสูงขึ้นตามไปด้วย

อัตราการว่างงาน โครงสร้างอาชีพหลักของคนกัมพูชา คือ ภาคเกษตรกรรม ประมาณร้อยละ 70 ภาคบริการประมาณ ร้อยละ 17 ภาคอุตสาหกรรมโรงงานประมาณร้อยละ 8 และภาคการก่อสร้างประมาณร้อยละ 5

ผลการสำรวจจำนวนประชากรที่จัดทำในปี 2551 พบว่ามีจำนวนแรงงานที่พร้อมเข้าสู่การจ้างงาน 8.6 ล้านคน หรือร้อยละ 58.8 ของจำนวนประชากรรวมทั้งประเทศ โดยอัตราการว่างงานของกัมพูชาไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นจำนวนเท่าใด เนื่องจากประชากรมากกว่าร้อยละ 70 มีอาชีพทำการเกษตร ซึ่งไม่ได้ทำงานตลอดทั้งปี เป็นการทำงานช่วงระยะที่มีการเพาะปลูกซึ่งอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก และมีการประกอบอาชีพอื่นเสริมเช่นการรับจ้าง การค้าขาย การทอผ้า และการหาของป่า ในเวลาที่ว่างจากการเพาะปลูก

อัตราดอกเบี้ยในปี 2551 เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราดอกเบี้ย เงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 15.9 ต่อปี ส่วนเงินฝากออมทรัพย์ร้อยละ 3.6 และ เงินฝากประจำร้อยละ 3.25-8.00 ต่อปีเงินสกุลเรียล อัตราดอกเบี้ย เงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 22.5 ส่วนเงินฝากออมทรัพย์ร้อยละ 5.1 และ เงินฝากประจำร้อยละ 6.70-9.50

ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

Items                                       2548       2549       2550       2551      2552E
Nominal GDP (million US$)                  6,240      7,359      8,753     10,571     11,241
Real GDP (% increase)                     13.30%     10.80%     10.20%      6.00%     -0.50%
GDP per Capita (US$)                         380        404        558        598        635
Real GDP per Capita (% increase)          16.40%     16.00%     14.70%     20.20%      6.30%
Riel/Dollar Parity (year average)          4,092      4,103      4,056      4,000      4,000
Inflation in Riel (year average)           5.80%      4.70%      5.00%     21.00%      7.00%
Inflation in Dollar (year average)         3.80%      4.40%      7.10%     22.70%      7.00%
Budget Revenue (% GDP)                    10.20%      9.80%     11.50%     10.80%     11.10%
Budget Expenditure (% GDP)                12.40%     13.80%     14.40%     14.60%     14.70%
Current Public Deficit (% GDP)             2.00%      1.00%      2.60%      1.30%      1.00%
Overall Public Deficit (% GDP)            -2.20%     -4.00%     -2.90%     -3.80%     -3.60%
Export of Goods (% GDP)                   46.20%     50.80%     47.30%     48.80%     43.10%
Import of Goods (% GDP)                   62.40%     65.30%     62.80%     60.40%     58.10%
Trade Balance (% GDP)                     16.20%    -14.50%    -15.50%    -16.70%    -15.00%
Current Account Balance (% GDP)           -9.40%     -7.20%     -7.80%     -8.80%     -7.10%
Net Foreign Reserves (million US$)           834      1,097      1,374      1,617      1,877
Money — M1 (% GDP)                         4.90%      5.40%      5.70%      6.60%      7.60%
Money — M2 (% GDP)                        14.40%     17.90%     26.80%     34.20%     41.20%
Exchange Rate (Riel:Bath)                    103        110        113        130        140
Population (million)                        13.8       14.2       14.5       14.7       15.1
Labor Force (% Population)                46.90%     47.80%     48.70%     58.80%     59.50%
Unemployment (% Population)                  2.5        2.4        2.5        2.8     49.50%
ที่มา : EIC, Cambodia Economics Today, special Issue January 2009, Monthly Bulletin of Statistics of MEF

2.2 ข้อมูลด้านการค้า

ภาวะการค้าทั่วไป ในปี 2551 กัมพูชามีมูลค่าการค้ารวม 7.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แยกเป็นการนำเข้า 4.42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และส่งออก 3.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขาดดุลการค้า 1.06 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ดุลการค้า ในปี 2551 กัมพูชาขาดดุลการค้ากับต่างประเทศ 1,065.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ปี 2550 กัมพูชาขาดดุลการค้ากับต่างประเทศ 601.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในปี 2549 กัมพูชาขาดดุลกับต่างประเทศ 910.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เห็นว่าในปี 2551 กัมพูชาขาดดุลการค้ากับต่างประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาวะการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป สิ่งทอ รองเท้า ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯและสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตามรัฐบาลกัมพูชาได้มุ่งเน้นนโยบายการส่งเสริมให้ลงทุนผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าและส่งเสริมการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้น

สถิติการนำเข้า-ส่งออกของกัมพูชา

หน่วย : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

       รายการ                             มูลค่า                           อัตราการขยายตัว (%)
                         2548        2549        2550        2551      2549    2550     2551
1.มูลค่าการค้ารวม       4,565.80    5,465.90    6,853.20     7,777.90    19.70   25.40    13.49
2.การส่งออก           2,081.50    2,279.70    3,126.10     3,356.20     9.50   37.10     7.36
3.การนำเข้า           2,484.30    3,190.20    3,727.10     4,421.70    28.40   16.80    18.64
4.ดุลการค้า             -402.80     -910.50     -601.00    -1,065.50   126.04  -33.99    77.29
ที่มา : กรม CAMCONTROL กระทรวงพาณิชย์ กัมพูชา

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่กัมพูชาส่งออกมากที่สุด โดยมีมูลค่าการค้ารวม 2,176.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แยกเป็นการส่งออก 2,040.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้า 136.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนเวียดนามเป็นประเทศที่กัมพูชานำเข้ามากที่สุด โดยมีมูลค่าการค้ารวม 1,072.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แยกเป็นการนำเข้า 988.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และส่งออก 84.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สามารถแซงจีน ซึ่งเคยเป็นประเทศที่กัมพูชานำเข้ามากที่สุด โดยมีมูลค่าการค้ารวม 794.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แยกเป็นการนำเข้า 784.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และส่งออก 9.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 3 โดยมีมูลค่าการค้ารวม 688.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แยกเป็นการนำเข้า 674.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และส่งออก 13.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สินค้าส่งออกที่สำคัญ สินค้าเกษตรกรรม ได้แก่ ยางพารา ข้าว ผลิตภัณฑ์ปลา ข้าวโพด ถั่วเหลือง ใบยาสูบและ ผลิตภัณฑ์ไม้ สินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า และ สิ่งทอ

ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่สหรัฐอเมริกา กลุ่มสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ฮ่องกง แคนาดา และ สิงคโปร์

สินค้านำเข้าที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป อาหารและเครื่องดื่ม ผ้าผืน รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ปูนซีเมนต์ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว น้ำตาลทราย และ ผลิตภัณฑ์ยาง

แหล่งสินค้านำเข้าที่สำคัญ เวียดนาม จีน ไทย ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ อังกฤษ มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย

สถิติมูลค่าการนำเข้า-ส่งออกของกัมพูชา ปี 2551

(เรียงตามลำดับมูลค่าการนำเข้า) หน่วย : ดอลลาร์สหรัฐฯ

  ลำดับ   ประเทศ                   การส่งออก         การนำเข้า         การค้ารวม
    1    Vietnam                 84,525,529      988,340,100    1,072,865,629
    2    China                    9,812,629      784,344,714      794,157,343
    3    Thailand                13,923,689      674,485,950      688,409,639
    4    Hong Kong                8,942,046      581,212,018      590,154,064
    5    Taiwan                   5,472,855      336,867,309      342,340,164
    6    South Korea             10,245,901      224,787,752      235,033,653
    7    Singapore                9,212,616      204,894,756      214,107,372
    8    United States        2,040,595,814      135,983,520    2,176,579,334
    9    Malaysia                 6,150,519      113,056,709      119,207,228
   10    Indonesia                5,907,266       80,721,155       86,628,421
   11    Japan                   31,991,969       69,667,884      101,659,853
   12    India                    4,617,771       41,486,874       46,104,645
   13    France                  38,694,935       36,688,474       75,383,409
   14    Pakistan                    13,679       18,892,091       18,905,770
   15    Australia               10,611,140       16,806,285       27,417,425
   16    Germany                152,878,448       16,309,064      169,187,512
   17    Belgium                 51,352,625       12,931,262       64,283,887
   18    Switzerland             13,416,409        9,957,583       23,373,992
   19    Russia                  11,553,414        9,793,820       21,347,234
   20    Luxembourge             10,081,203        6,914,846       16,996,049
   21    Italy                   29,934,547        6,367,877       36,302,424
   22    Philippines              1,187,545        6,170,316        7,357,861
   23    Sweden                  17,402,162        4,195,458       21,597,620
   24    England                158,375,607        3,865,967      162,241,574
   25    Netherland             150,121,568        3,758,627      153,880,195
   26    Ireland                 16,792,126        3,460,282       20,252,408
   27    Denmark                  8,930,269        2,976,097       11,906,366
   28    Canada                 212,058,846        2,170,650      214,229,496
   29    Spain                  126,181,290        1,866,211      128,047,501
   30    Norway                   9,510,591        1,381,486       10,892,077
   31    Newzerland               2,298,475          911,818        3,210,293
   32    Austria                  7,187,357          113,415        7,300,772
   33    Mexico                  22,243,095           52,696       22,295,791
   34    Others                  73,995,878       20,320,590       94,316,468
         รวม                  3,356,219,813    4,421,753,656    7,777,973,469
ที่มา : กรม CAMCONTROL , กระทรวงพาณิชย์กัมพูชา

สินค้า 10 อันดับแรก กัมพูชานำเข้าจากทั่วโลก

หน่วย : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

  ลำดับ   รายการ                                          ปี 2548      ปี 2549      ปี 2550
    1    น้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป                              325.44      493.95      689.33
    2    ผ้าผืน                                            377.94      420.71      474.66
    3    รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ                          59.55      101.46       75.83
    4    รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                          80.28       92.30      193.22
    5    ปูนซีเมนต์                                          50.68       68.05       64.91
    6    เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์                           60.68       40.90       34.27
    7    เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว                    15.06       21.28       11.09
    8    น้ำตาลทราย                                         6.26       13.68       10.03
    9    เครื่องดื่ม                                          12.74       12.54       18.24
   10    ผลิตภัณฑ์ยาง                                         4.85        6.32       28.53
         อื่นๆ                                           1,490.79    1,919.02    2,126.99
         รวม                                           2,484.28    3,190.22    3,727.10
ที่มา : กรม CAMCONTROL กระทรวงพาณิชย์กัมพูชา


การค้ากับไทย

จากสถิติของกรมศุลกากรไทย การค้าระหว่างไทยกับกัมพูชา ในปี 2551 มีมูลค่าการค้ารวม 2,130.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจากระยะเดียวกันของปี 2550 ซึ่งมีมูลค่าการค้ารวม 1,404.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 725.91 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.70 แยกเป็นการส่งออก มูลค่า 2,040.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 50.52 และนำเข้ามูลค่า 89.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 84.5 ซึ่งในช่วงครึ่งปีหลังมีการชะลอตัว เนื่องจากปัญหาข้อพิพาทปราสาทพระวิหาร และการชะลอตัวของเศรษฐกิจกัมพูชาตามวิกฤติการเงินโลก และอัตราเงินเฟ้อที่สูงถึงร้อยละ 22.7

ข้อมูลการค้าระหว่างไทยกับกัมพูชา

                      มูลค่า : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ              อัตราการขยายตัว (%)
รายการ             2549        2550        2551       2549     2550     2551
มูลค่าการค้า      1,270.13    1,404.13    2,130.04      33.47    10.55    51.70
การส่งออก       1,235.47    1,355.38    2,040.08      34.26     9.71    50.52
การนำเข้า          34.68       48.76       89.97      10.37    40.66    84.52
ดุลการค้า        1,200.80    1,306.62    1,950.11
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

สินค้าที่ส่งออกเพิ่ม ได้แก่
  • เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ มูลค่าส่งออก 123.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจากปี 2550 ซึ่งส่งออก 42.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ 187.62 ส่วนปูนซีเมนต์ มูลค่าส่งออก 90.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 5.22 จากปี 2550 ซึ่งส่งออก 86.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ มูลค่าส่งออก 98.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจากปี 2550 ซึ่งส่งออก 49.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ 97.19 ส่วนรถจักรยานยนต์ และส่วนประกอบ มูลค่าส่งออก 116.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจากปี 2550 ซึ่งส่งออก 82.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ 41.97
  • น้ำมันสำเร็จรูป มูลค่าส่งออก 404.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจากปี 2550 ซึ่งส่งออก 215.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ 88.15 เพื่อสนองความต้องการใช้ภายในประเทศ โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรม และยานพาหนะที่เพิ่มขึ้น
  • น้ำตาลทราย มูลค่าส่งออก 100.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจากปี 2550 ซึ่งส่งออก 61.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ 63.93 เพื่อบริโภคภายในประเทศและส่งต่อไปเวียดนาม
  • เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องดื่ม เพิ่มร้อยละ 56.68, 44.04, 34.44 และ 25.64 ตามลำดับ

สินค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรกของไทยไปกัมพูชา

    รายการ                        มูลค่า : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ              อัตราการขยายตัว %
                                2549      2550       2551       2549      2550       2551
น้ำมันสำเร็จรูป                   144.70    215.20     404.90      11.82     48.72      88.15
เหล็ก เหล็กกล้า ฯ                 42.50     42.80     123.10      33.65      0.71     187.62
รถจักรยานยนต์ฯ                   64.40     82.20     116.70      70.82     27.64      41.97
น้ำตาลทราย                      88.40     61.00     100.00      37.69    -31.00      63.93
รถยนต์ และอุปกรณ์                 40.20     49.90      98.40      55.81     24.13      97.19
เครื่องดื่ม                        69.20     74.10      93.10      31.81      7.08      25.64
ปูนซีเมนต์                        72.00     86.20      90.70      24.78     19.72       5.22
เคมีภัณฑ์                         51.10     54.50      78.50      17.20      6.65      44.04
เครื่องยนต์สันดาปภายใน             29.70     46.40      72.70      36.87     56.23      56.68
ผลิตภัณฑ์ยาง                      32.00     42.10      56.60      19.85     31.56      34.44
อื่นๆ                           601.30    601.00     805.40      40.13     -0.05      34.01
รวมทั้งสิ้น                     1,235.40  1,355.40   2,040.10      34.26      9.70      50.52
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

ค้านำเข้า 10 อันดับแรกของไทยจากกัมพูชา

      รายการ                 มูลค่า : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ            อัตราการขยายตัว %
                           2549       2550     2551      2549      2550      2551
พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช            7.6       15.1     39.3     -15.56    98.68     160.26
สินแร่โลหะอื่นๆ                 5.0        5.5     16.8     733.33    10.00     205.45
เหล็กเหล็กกล้า                 7.2        9.6     15.1      67.44    33.33      57.29
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ       1.6        2.5      4.0     166.67    56.25      60.00
ผัก ผลไม้                     0.1        1.0      3.6        -     900.00     260.00
ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ               4.8        5.6      2.2     -41.46    16.67     -60.71
เสื้อผ้าสำเร็จรูป                0.9        1.6      1.9     200.00    77.78      18.75
เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค            1.7        1.6      1.1      21.43    -6.25     -31.25
กาแฟ ชา เครื่องเทศ            0.1        0.4      0.8        -     300.00     100.00
สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์          1.1        0.5      0.8      22.22   -54.55      60.00
อื่นๆ                         4.6        5.4      4.4     -22.03    17.39     -18.52
รวมทั้งสิ้น                    34.7       48.8     90.0      10.51    40.63      84.43
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ปี 2550-2551

หน่วย : ล้านบาท

                      2550                          2551                    D(%) 51/50
  ประเทศ       รวม      ส่งออก    นำเข้า     รวม     ส่งออก     นำเข้า    รวม     ส่งออก     นำเข้า
   กัมพูชา     34,930    33,284    1,646   50,299    47,373    2,928   44.0    42.30      77.80
หมายเหตุ : D(%) = อัตราการเปลี่ยนแปลง
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์จังหวัดชายแดน

การค้าชายแดนกับกัมพูชา ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด คือ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี และตราด ในปี 2551 มีมูลค่าการค้ารวม 50,299 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2550 ซึ่งมีมูลค่า 34,930 ล้านบาท ร้อยละ 44.0 โดยไทยเกินดุล 44,445 ล้านบาท สัดส่วนการค้าชายแดนร้อยละ 71.8 ของมูลค่าการค้าระหว่างไทย-กัมพูชา ลดจากปี 2550 ซึ่งมีสัดส่วนการค้าชายแดนร้อยละ 72.2

อนาคตของการค้า

แนวโน้มความต้องการสินค้าของกัมพูชา ได้แก่

(1) อาหารและเครื่องดื่ม — กัมพูชามีจำนวนประชากรเพิ่มร้อยละ 1.17 ต่อปี ขณะที่พื้นที่และอุตสาหกรรมภายในประเทศของกัมพูชายังมีข้อจำกัด ทำให้กัมพูชาต้องอาศัยการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมาเพื่อบริโภค และเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ที่เดินทางมาเที่ยวในกัมพูชา ปีละประมาณ 2 ล้านคน

(2) รถยนต์ — การนำเข้าเพิ่ม โดยเฉพาะรถยนต์ใหม่เพื่อทดแทนรถยนต์เก่า

(3) วัสดุก่อสร้าง — มีแนวโน้มการนำเข้าสูงเพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารพาณิชย์และสาธารณูปโภคต่างๆ

(4) ผลิตภัณฑ์ยาง — ซึ่งมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยางรถยนต์ และจักรยานยนต์

(5) ผ้าผืน — กัมพูชานำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิต Garment เพื่อส่งออกซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กัมพูชา

(6) เชื้อเพลิง - นำเข้าเพื่อรองรับกับการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อใช้กับยานพาหนะ และผลิตกระแสไฟฟ้า

แนวโน้มสินค้าส่งออกของกัมพูชา ได้แก่

กัมพูชามีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมากที่ยังไม่ได้นำออกมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ประมาณการว่าการปศุสัตว์ ประมง และป่าไม้ สร้างรายได้ให้แก่ประเทศเป็นมูลค่าประมาณครึ่งหนึ่งของ GDP และสร้างงานร้อยละ 80 ของกำลังแรงงานรวม

  • ป่าไม้ มีพื้นที่ร้อยละ 60 ของพื้นที่ประเทศ บริเวณที่ป่าไม้หนาแน่นคือ เทือกเขาบรรทัดทางตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ
  • สัตว์น้ำ มีชุกชุมด้านชายฝั่งทะเลทางตอนใต้ และที่ตนเลสาบ ซึ่งเป็นแหล่งจับปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ถึง 10,000 ตารางกิโลเมตรในฤดูน้ำหลากและลดเหลือ 3,000 ตารางกิโลเมตรในฤดูแล้ง ปลาที่จับจากแม่น้ำโขงแต่ละปีประมาณ 1 ล้านตัน นอกจากนี้ยังมีปลาที่เลี้ยงประมาณ 200,000 ตัน ปลามีส่วนสำคัญต่อวิถีความเป็นอยู่ของประชาชน เพราะนอกจากจะใช้บริโภคโดยตรงแล้ว ยังสามารถส่งออก สร้างรายได้ให้แก่ประเทศด้วย
  • น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รัฐบาลกัมพูชาได้ให้สัมปทานสำรวจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติบนชายฝั่งและนอกชายฝั่ง ผลการสำรวจพบว่ามีปริมาณที่สามารถทำเชิงพาณิชย์ได้ ประมาณว่ามีก๊าซสำรองในเขตแดนของกัมพูชาประมาณ 5 พันล้านลูกบาศก์เมตร และในพื้นที่ทับซ้อนกับประเทศไทย ประมาณ 8 พันล้านลูกบาศก์เมตรซึ่งจะสามารถขุดนำมาใช้ในทางพาณิชย์ได้ในปี 2553 เป็นต้นไป นอกจากนี้การสำรวจในเขตตนเลสาบ คาดว่าจะพบแหล่งก๊าซจำนวนหนึ่ง
  • อัญมณี มีแหล่งอัญมณีที่มีคุณภาพดีเช่นที่อำเภอไพลิน กรุงไพลิน ซึ่งเป็นแร่พลอยสายเดียวกับจังหวัดตราดและจันทบุรี พลอยมีมากบริเวณเทือกเขาเพชรหรือเขาสามพันล้าน และเทือกเขาบรรทัดซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทย — กัมพูชา นอกจากนี้ยังมีเหมืองทองในจังหวัดรัตนคีรี
  • สินแร่ มีเป็นจำนวนมาก อาทิ เหล็ก ฟอสเฟต, บ๊อกไซด์, ซิลิคอน,ถ่านหิน และแมงกานีส เป็นต้น

สินค้าหลักที่ไทยส่งออก และ นำเข้าจาก กัมพูชา (5 อันดับแรก)

   สินค้าหลักที่ไทยส่งออก              ประเทศคู่แข่ง               สินค้าหลักที่ไทยนำเข้า           ประเทศคู่แข่ง
1.น้ำมันสำเร็จรูป                  สิงคโปร์,เวียดนาม           1.พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช            เวียดนาม
2.น้ำตาลทราย                    เวียดนาม                  2.เหล็กเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์        จีน, เวียดนาม
3.ปูนซีเมนต์                      อินโดนีเซีย, เวียดนาม        3.เศษโลหะ                     เวียดนาม
4.เครื่องดื่ม                      สิงคโปร์, มาเลเซีย          4. ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ              เวียดนาม
5.รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ      เกาหลี,จีน                 5.เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค         เวียดนาม

สินค้าและบริการที่มีศักยภาพของไทยในกัมพูชา

    สินค้า/บริการ ศักยภาพ        ประเทศคู่แข่ง                    วัตถุดิบ Out Sourcing ที่สำคัญ
1. โรงพยาบาล              เวียดนาม, สิงคโปร์                   1. ทรัพยากรธรรมชาติเช่น ไม้ น้ำมัน ก๊าซ
2. สปา                    เวียดนาม, มาเลเซีย,จีน,เกาหลี         2. แร่ หินมีค่า
3. อาหารไทย               เวียดนาม,จีน,เกาหลี                  3. แรงงาน
4. เสริมสวย                เวียดนาม,ฮ่องกง,เกาหลี,ฝรั่งเศส        4. พืชไร่
5. ตัดเย็บเสื้อผ้า             เวียดนาม,จีน                        5. ข้าว


การกำหนดวิสัยทัศน์ทางการค้ากับประเทศกัมพูชา

ความต้องการ (Demand) ภายในประเทศ ขึ้นอยู่กับรายได้ของภาคชนบทที่เพิ่มขึ้นรวมถึงการไหลเวียนของกระแสเงินทุนจากต่างปะเทศ โดยเฉพาะการลงทุนขุดเจาะน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งถูกค้นพบนอกชายฝั่งเมื่อปี 2548 กัมพูชาเป็นประเทศที่มีศักยภาพที่ไทยน่าจะขยายการส่งออกสินค้าให้มากขึ้นโดย

(1) เร่งผลักดันสินค้าไทย

(2) ประสานความสัมพันธ์กับทุกระดับให้แน่นแฟ้น

(3) สนับสนุนและเร่งผลักดันด้านการลงทุน

(4) รักษาตลาด

  • การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ
  • การส่งเสริมการขายร่วมกับห้างฯ/ผู้นำเข้าในต่างประเทศ

(5) เร่งส่งเสริมการส่งออก

  • การจัดงาน Thailand Exhibition
  • การจัดงาน Thailand Outlet
  • การจัดคณะผู้แทนการค้ามาเยือนงานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศไทย
  • การจัดคณะผู้แทนการค้ามายังประเทศไทยเพิ่มเติมจากการ จัดคณะฯ เยือนงานแสดงสินค้านานาชาติ
  • การจัดคณะผู้แทนการค้าไปต่างประเทศ

(6) กิจกรรมวางรากฐานการส่งออก

(7) กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์

(8) กิจกรรม Trade Logistics

(9) กิจกรรมฝึกอบรมสัมมนา (10) งานสนับสนุน

โอกาสสินค้าไทย

(1) การส่งมอบสินค้าของไทยมีความสะดวกและรวดเร็ว เนื่องจากไทยและกัมพูชามีอาณาเขตติดต่อกันเป็นแนวยาว

(2) การชำระค่าสินค้าของไทยกับกัมพูชาสามารถกระทำได้โดยวิธีง่ายๆ โดยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาท เงินดอลลาร์สหรัฐฯ และทองคำ ทำให้การซื้อขายสินค้าของไทย มีความคล่องตัวสูงกว่าประเทศคู่แข่ง

(3) สินค้าไทยมีคุณภาพดี รูปแบบสวยงาม เป็นที่พอใจของตลาดกัมพูชาเพราะชาวกัมพูชานิยมสินค้าไทยตามการโฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ไทย ทำให้สินค้าไทย เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากกว่าสินค้าจากประเทศอื่นๆ

(4)รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือด้านที่พักอาศัยแก่ผู้อพยพชาวกัมพูชาส่งผลให้ชาวกัมพูชาคิดว่าไทยเป็นบ้านพี่เมืองน้องและมีความเชื่อใจไทยในเรื่องไม่คดโกงมากกว่าประเทศคู่แข่ง

(5) การกระจายสินค้าไทยเข้าสู่ตลาดกัมพูชาทางด้านชายแดนมีปริมาณมากทำให้สินค้าไทยครองตลาดต่างจังหวัดของกัมพูชาได้มากกว่าประเทศคู่แข่ง รวมทั้งผู้นำเข้ารายใหญ่ๆ ของกัมพูชามักจะเป็นหุ้นส่วนกับพ่อค้าไทย ซึ่งจะเป็นผู้นำเข้าสินค้าไทยเข้าไปกระจายต่อให้กับพ่อค้าส่งและพ่อค้าปลีกในตลาดกัมพูชาทำให้สินค้าไทยสามารถกระจายอยู่ทั่วทุกตลาดในกัมพูชา

(6) นักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนในกัมพูชาเป็นจำนวนมาก ทำให้การสั่งซื้อสินค้าวัตถุดิบจากไทยเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมมีมากกว่าคู่แข่ง นอกจากนี้ยังได้มีการจัดตั้งตัวแทน หรือเปิดบริษัทสาขาจำหน่ายสินค้า ในกรุงพนมเปญ เพื่อให้ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกของกัมพูชาเข้ามาเลือกซื้อสินค้าที่ร้านได้ทุกวัน

(7) ไทยสามารถอาศัยผู้นำเข้าของกัมพูชาเป็นผู้จำหน่ายสินค้าไทยต่อไปยังประเทศเวียดนามและลาวได้ นอกจากนี้ควรให้การสนับสนุนนักลงทุนไทยมาลงทุนในกัมพูชาในโครงการที่กัมพูชามีศักยภาพ ได้แก่

  • การผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ
  • การทำเหมืองแร่
  • การปลูกพืชเกษตร เช่น ต้นยูคาลิปตัส ยางพารา พืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดฝักอ่อน อ้อย ถั่วเหลือง งา และมัน สำปะหลัง เป็นต้น
แนวทางการแก้ปัญหา

ปัญหาซึ่งเกิดจากนโยบาย/มาตรการที่เป็นภาษีและที่มิใช่ภาษี มีแนวทางการแก้ไข ดังนี้

(1) การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการแจ้งเตือนล่วงหน้า (Early warning) สำหรับการใช้มาตรการทางการค้าของทั้งสองประเทศ และร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ภายใต้กรอบความร่วมมือที่ทั้งสองประเทศมีความตกลงกันอยู่ เช่น คณะกรรมการการค้าร่วม (Joint Trade Committee : JTC) ที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม

(2) ควรจัดฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบาย/ ความชำนาญด้านการค้าระหว่างประเทศ และการค้าชายแดนด้านไทย-กัมพูชา / มาตรการที่เป็นภาษีและที่มิใช่ภาษีศุลกากรของประเทศคู่ค้า ให้แก่ผู้ประกอบการไทย เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการส่งออก

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

การนำสินค้าเข้าสู่ตลาดของประเทศกัมพูชาในระยะเริ่มต้นควรจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก่อนทำการตลาด เนื่องจากอาจถูกลอกเลียน ปลอมเครื่องหมายการค้าหากสินค้าได้รับความนิยม และควรมีตัวแทนเพื่อดูแลธุรกิจในกัมพูชา นักธุรกิจที่สนใจเข้ามาประกอบธุรกิจในกัมพูชาควรเข้ามาศึกษาตลาดด้วยตนเอง เพื่อให้ทราบถึงรสนิยมของผู้บริโภค โดยเฉพาะควรเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่กรมส่งเสริมการส่งออกจัดขึ้นทุกปี นอกจากนี้นักธุรกิจไทยควรมีการเรียนภาษาเขมรเพื่อให้สามารถสื่อสารเบื้องต้นได้ เพราะปัจจุบันคนกัมพูชามีความตื่นตัวและเรียนรู้ภาษาต่างประเทศค่อนข้างมาก ไม่ว่าภาษาอังกฤษ ไทย จีนแต้จิ๋ว จีนกลาง ญี่ปุ่น หรือเกาหลี เนื่องจากตระหนักว่า เป็นการเพิ่มโอกาสที่จะได้งานกับบริษัทต่างชาติและองค์กรต่างๆ ที่มาเปิดทำการในประเทศ ดังนั้น นักธุรกิจไทยควรให้ความสำคัญกับภาษาดังกล่าวนี้เช่นกันเพื่อใช้สื่อสาร หรือเจรจาติดต่อธุรกิจ

ผู้นำเข้ารายใหญ่ซึ่งนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศส่วนมากหรือเกือบทุกรายจะมีสำนักงานฯ ตั้งอยู่ในกรุงพนมเปญ

ผู้นำเข้ารายย่อย มีอยู่ทั่วในกรุงพนมเปญและเมืองต่างๆ ที่มีด่านชายแดนติดต่อ กับประเทศไทยหรือเวียดนาม ผู้นำเข้ารายย่อยตามชายแดนเป็นคู่แข่งขันที่สำคัญกับผู้นำเข้าขนาดใหญ่ทั้งนี้เพราะเป็นผู้ทำธุรกิจนอกระบบโดยหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้า ทั้งนี้ ผู้นำเข้ารายย่อยจะมีอยู่เป็นจำนวนมากโดยอาจเป็นตัวแทนนำเข้าโดยตรงจากผู้ผลิต/ส่งออก ในประเทศที่ติดกับชายแดน หรือเป็นผู้ซื้อสินค้าจากตัวแทนในประเทศและนำเข้ามาเองผ่านตามชายแดน

การส่งต่อไปยังประเทศที่สาม โดยผู้นำเข้าสินค้าจากไทยหรือเวียดนาม เข้ามาเลือกซื้อสินค้าในกรุงพนมเปญแล้วส่งต่อไปยังอีกประเทศหนึ่ง

การสร้างแบรนด์สินค้าไทยในกัมพูชาต้องอาศัยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อเป็นหลัก การบอกปากต่อปากทำได้ต่อเมื่อสินค้านั้นเป็นที่รู้จักดีในตลาด นอกจากนี้การขายสินค้าโดยตรงและการจำหน่ายสินค้าเงินผ่อนในกัมพูชา ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากคนกัมพูชาไม่มีเงินเดือนประจำ หรือเงินรายได้ที่แน่นอน นอกจากนี้การเสียเครดิตไม่ได้เป็นสิ่งน่าอับอายในสังคมแต่อย่างใด

เนื่องจากคนกัมพูชาส่วนใหญ่พยายามที่จะก้าวทันโลกยุคปัจจุบัน เราจึงอาจแยกพฤติกรรมการบริโภคของกลุ่มบุคคลในสังคมตามกำลังการซื้อออกเป็น 3 กลุ่มคือ

(1) กลุ่มผู้มีกำลังการซื้อสูง-ประมาณร้อยละ 5 ของประชากร บุคคลในกลุ่มนี้ได้แก่

(1.1) นักธุรกิจที่เป็นผู้นำเข้า/ตัวแทนจำหน่ายสินค้า เช่น บุหรี่ เบียร์ สุรา ไวน์ วัสดุก่อสร้าง น้ำมันเชื้อเพลิง และยานยนต์ รวมถึงนักธุรกิจที่มีรายได้จากการซื้อขายที่ดินและการจัดการด้านอสังหาริมทรัพย

(1.2) นักธุรกิจเจ้าของบ่อนคาสิโน

(1.3) นักการเมืองและข้าราชการระดับผู้บริหาร (โดยผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการระดับสูง ทั้งส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง มาจากการแต่งตั้งของพรรคการเมือง โดยมีวาระตามการตัดสินใจของผู้บริหารพรรคการเมืองซึ่งเป็นผู้บริหารประเทศในขณะนั้น) กลุ่มนี้มีรายได้มาจาก การให้เช่าบ้านและที่ดิน ซึ่งได้รับจัดสรรขณะดำรงตำแหน่งผู้บริหารขณะใกล้เปิดประเทศ หรือประมาณปี 2533 และรายรับที่ได้จากการอำนวยความสะดวกในเรื่องกฎระเบียบของรัฐ รวมถึงเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศในโครงการพัฒนาต่างๆ

(2) กลุ่มผู้มีกำลังซื้อปานกลาง-ประมาณร้อยละ 10 ของประชากร บุคคลในกลุ่มนี้ได้แก่

(2.1) กลุ่มนักธุรกิจที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าหรือค้าส่งสินค้า รวมถึงผู้ที่ลงทุนร่วมกับนักธุรกิจต่างชาติ

(2.2) กลุ่มลูกจ้างที่ทำงานกับองค์การระหว่างประเทศ สถานทูต และบริษัทต่างชาติรวมถึงบุคคลสาธารณะเช่น นักร้อง และนักแสดงเป็นต้น

(2.3) กลุ่มประชาชนซึ่งประกอบอาชีพค้าขาย

(3) กลุ่มผู้มีกำลังซื้อต่ำ-ประมาณร้อยละ 85 ของประชากร บุคคลในกลุ่มนี้ ได้แก่

(3.1) บุคคลที่ไม่อยู่ในกลุ่มที่ 1 และ 2

(3.2) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

(3.3) ลูกจ้างในโรงงาน

(3.4) ผู้ที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากญาติซึ่งอาศัยอยู่ในต่างประเทศ

2.3 ข้อมูลด้านการลงทุน

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกัมพูชา (Cambodian Investment Board : CIB) ได้อนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 1,628 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 8,148.90 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การลงทุนที่ได้รับอนุมัติจาก CIB ปี 2548 — 2551

      รายการ         2548     2549     2550     2551    อัตราการเพิ่ม(ลด) 2551/2550 (%)
   มูลค่าเงินลงทุน      379.6    207.7    480.7    259.9     - 220.80 ล้าน USD (-45.93)
   จำนวนโครงการ       104      99       130      101     - 29 โครงการ (-22.31)
ที่มา : Cambodia Investment Board

ในปี 2551 CIB อนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุน 101 โครงการ เงินลงทุน 259.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับปี 2550 ปรากฎว่าการอนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุนลดลง 29 โครงการ หรือลดลงร้อยละ 22.31 ขณะที่เงินลงทุนลดลง 220.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 45.93 โดยเป็นการลดลงในครึ่งปีหลังของปี 2551 ซึ่งมีการจัดการเลือกตั้งในกัมพูชา นักลงทุนจึงรอดูผลการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ รวมถึงผลกระทบจากปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่สูง และวิกฤติการเงินโลก

โครงการส่งเสริมการลงทุนที่ CIB อนุมัติ ได้แก่
  • อุตสาหกรรม Garment 38 โครงการ เงินลงทุน 48.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 37.62 และร้อยละ 18.74 ของโครงการและเงินลงทุนที่ได้รับอนุมัติรวม จากนักลงทุนจีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน กัมพูชา สหรัฐอเมริกา แคนาดา สิงคโปร์ ออสเตรเลีย มาเลเซีย และอังกฤษ
  • ธุรกิจการท่องเที่ยว เป็นธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมและยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะสัมปทาน และชายหาด ในเขตกรุงพระสีหนุ (จังหวัดกัมปงโสม) การก่อสร้างโรงแรมและรีสอร์ท ที่พักอาศัย ร้านอาหาร และสนามกอล์ฟ ได้รับการอนุมัติฯ รวม 20 โครงการ เงินลงทุน 101.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 19.80 และร้อยละ 39.02 ของโครงการและเงินลงทุนที่ได้รับอนุมัติรวม จากนักลงทุนกัมพูชา แคนาดา รัสเซีย จีน เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ออสเตรีย และอิสราเอล
  • อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรได้รับอนุมัติฯ 4 โครงการ เงินลงทุน 24.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 3.96 และร้อยละ 9.23 ของโครงการและเงินลงทุนที่ได้รับอนุมัติรวม โดยนักลงทุนกัมพูชา จีน เวียดนาม และไทย โดยโครงการของไทย คือ การผลิตอ้อยและน้ำตาลของกลุ่มบริษัท Thai Beverage ร่วมกับนักลงทุนกัมพูชา ในสัดส่วน 49 : 51 ซึ่งได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551
  • อุตสาหกรรมด้านพลังงานได้รับอนุมัติฯ 4 โครงการ เงินลงทุน 13.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากนักลงทุนกัมพูชา จีน และไทย โดยโครงการของไทย คือ การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ขนาด 10 MW ของกลุ่ม Thai Beverage ร่วมกับนักลงทุนกัมพูชา ในสัดส่วน 49 : 51
  • อุตสาหกรรมเหมืองแร่ (Mining) ได้รับอนุมัติฯ 4 โครงการ เป็นการขุดทรายเพื่อการส่งออกของนักลงทุนกัมพูชา เงินลงทุนรวม 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ธุรกิจบริการได้รับอนุมัติฯ 5 โครงการ แยกเป็นบริการด้านศูนย์การค้า ศูนย์บริการด้านการเงิน และรีสอร์ท 3 โครงการ เงินลงทุน 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของนักลงทุนกัมพูชา จีน เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ อีก 2 โครงการ เป็นการลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาล เงินลงทุน 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนกัมพูชา และไทย (กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ ในนามบริษัท Phnom Penh Medical Service จำกัด)
  • ธุรกิจโทรคมนาคม ได้รับอนุมัติฯ 2 โครงการ เงินลงทุน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนกัมพูชา เกาหลีใต้ และรัสเซีย
  • การเพาะปลูกและผลิต ยางพารา มันสำปะหลัง และมะม่วงหิมพานต์ ได้รับอนุมัติฯ 2 โครงการ เงินลงทุน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนกัมพูชา และเวียดนาม
  • อุตสาหกรรมผลิตรองเท้า ได้รับอนุมัติฯ 2 โครงการ เงินลงทุน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนกัมพูชา และไต้หวัน
  • ธุรกิจภาคการขนส่ง ได้รับอนุมัติฯ 1 โครงการ เงินลงทุน 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อสร้างท่าเรือ โดยเป็นการลงทุนร่วมของบริษัทโรงงานน้ำตาลเกาะกง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มบริษัทน้ำตาลขอนแก่นของไทย กับนักลงทุนกัมพูชา จีน และญี่ปุ่น ในอัตราส่วนร้อยละ 50 : 20 : 15 : 15
  • อุตสาหกรรมผลิตอาหาร (ผลิตอาหารทะเล) อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ วัสดุก่อสร้าง การก่อสร้าง โรงงานผลิตพลาสติก โรงงานผลิตยารักษาโรค และโรงงานยาสูบ ได้รับอนุมัติฯ อย่างละ 1 โครงการ เงินลงทุนรวม 11.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในปี 2551 ไทยลงทุนในกัมพูชาเป็นอันดับที่ 6 จากจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติ โดยนักลงทุนจากจีนลงทุนในกัมพูชามากที่สุด จำนวน 27 โครงการคิดเป็นร้อยละ 26.73 ของโครงการที่ได้รับอนุมัติ รองลงมา คือ เกาหลีใต้ 16 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 15.84 ของโครงการที่ได้รับอนุมัติ ไต้หวัน 8 โครงการ สหรัฐอเมริกา 5 โครงการ ไทย และ แคนาดาประเทศละ 4 โครงการ

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากยอดเงินลงทุนพบว่า ไทยมีเงินลงทุน 30.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มากเป็นอันดับที่ 2 ของจำนวนเงินลงทุนจากต่างชาติทั้งหมดที่ไปลงทุนในกัมพูชา รองจากจีน ที่มีเงินลงทุน 37.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการลงทุนของไทยที่สำคัญ คือ การก่อสร้างท่าเรือ ธุรกิจโรงพยาบาล อุตสาหกรรมผลิตอ้อยและน้ำตาล และอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า

โครงการส่งเสริมการลงทุนในกัมพูชาที่ได้รับอนุมัติจาก

Cambodia Investment Board

ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2551

(แยกตามวัตถุประสงค์ของกิจการ)

  ลำดับ           ประเภท          จำนวนโครงการ    ทุนจดทะเบียน

(ล้าน USD)

    1     Garment                     38             48.7
    2     Tourism                     20            101.4
    3     Agro-Industry                4             24.0
    4     Energy                       4             13.2
    5     Mining                       4              4.0
    6     Service                      3              4.5
    7     Health Service               2             11.0
    8     Telecommunication            2              2.0
    9     Shoes                        2              2.0
    10    Plantation                   2              2.0
    11    Transportation               1             24.0
    12    Food Processing              1              4.0
    13    Animal Meal                  1              2.6
    14    Building Material            1              1.0
    15    Construction                 1              1.0
    16    Plastic                      1              1.0
    17    Medical Chemical             1              1.0
    18    Tobacco                      1              1.0
    19    Others                      12             11.5
  Total                              101            259.9
ที่มา : Cambodia Investment Board
หมายเหตุ : ลำดับตามจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติ

การลงทุนที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในกัมพูชา

ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2551

(แยกตามประเทศ)

   ลำดับที่      ประเทศ           จำนวนโครงการ      มูลค่าจดทะเบียน  (USD)
     1      Cambodia               43                99,827,000
     2      China                  27                37,960,000
     3      Korea                  16                19,460,000
     4      Taiwan                  8                 9,500,000
     5      United State            5                12,350,000
     6      Thailand                4                30,673,000
     7      Canada                  4                 4,750,000
     8      Russia                  3                 4,450,000
     9      Singapore               2                12,000,000
     10     Vietnam                 2                 7,490,000
     11     Japan                   2                 4,600,000
     12     Austria                 1                10,000,000
     13     France                  1                 2,340,000
     14     Israel                  1                 1,500,000
     15     Australia               1                 1,000,000
     16     Malaysia                1                 1,000,000
     17     England                 1                 1,000,000
   TOTAL                                            259,900,000
ที่มา : Cambodia Investment Board
หมายเหตุ : ลำดับตามจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติ


3. ศักยภาพของกัมพูชา

กัมพูชามีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่สามารถเชื่อมโยงการขนส่งกับต่างประเทศได้สะดวกประกอบกับมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะป่าไม้ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุและสัตว์น้ำ เป็นต้น นอกจากนี้อัตราค่าจ้างแรงงานในกัมพูชายังอยู่ในระดับต่ำ หากมีการนำทรัพยากรดังกล่าวมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้สินค้าที่ผลิตได้มีต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่ง

กัมพูชาได้รับความช่วยเหลือด้านต่างๆ จากนานาประเทศ เช่น สถานะการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่งจากสหรัฐอเมริกา และได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรหรือ GSP (Generalized System of Preferences) จากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สแกนดิเนเวีย แคนาดา และออสเตรเลีย สำหรับสินค้าที่ส่งออกจากกัมพูชา โดยจะได้รับการลดหย่อนอัตราภาษีหรือได้รับการอำนวยความสะดวก โดยการยกเว้นหรือลดระเบียบกฎเกณฑ์ เรื่องพิธีการการนำเข้า เช่น การรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (rules of origin) เป็นต้น

กัมพูชามีความร่วมมือทางการค้ากับต่างประเทศในหลายมิติ ทั้งในกรอบ WTO, APEC, ASEAN ซึ่งจะเป็นเรื่องการจัดระบบและระเบียบทางการค้า และความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสาธารณสุขในลักษณะเป็นสากล เช่นความร่วมมือภายใต้กรอบ GMS ( Great Mekong Sub-region) และ ความร่วมมือภายใต้กรอบ ACMECS (Ayeyawady — Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy)

รัฐบาลกัมพูชาให้ความสำคัญกับการลงทุนในประเทศ ดังจะเห็นได้จากนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งให้การอำนวยความสะดวกและการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่โครงการที่ได้รับการส่งเสริม ตลอดจนการอนุญาตให้นักลงทุนโอนเงินไปต่างประเทศได้อย่างเสรี ให้การรับประกันที่จะไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ยึดทรัพย์สินของเอกชนเป็นของรัฐ หรือกำหนดราคาสินค้าและบริการสำหรับโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการงทุนฯ

รัฐบาลกัมพูชาได้ลงนามในความตกลงทวิภาคีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนกับรัฐบาลประเทศต่างๆ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ เกาหลีใต้ เยอรมนี สิงคโปร์ จีน เนเธอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ และคิวบา เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนต่างชาติว่า รัฐบาลกัมพูชาและรัฐบาลของประเทศคู่สัญญาจะสนับสนุนและปกป้องการลงทุนซึ่งกันและกัน

กัมพูชามีแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศ เช่น ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และธนาคารโลก (WORLD BANK) ที่ให้การสนับสนุนโครงการเกี่ยวกับสาธารณูปโภคของรัฐบาล และ International Financial Corporation สนับสนุนโครงการของเอกชน

  • สิทธิพิเศษ ที่ได้รับจากประเทศคู่ค้า

1. สถานะการปฏิบัติเยี่ยงชาติ ที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favoured Nation Treatment — MFN) จากสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป

2. สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรหรือ GSP จากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สแกนดิเนเวีย แคนาดา และออสเตรเลีย

  • สินค้า

1. ทั่วไปให้ได้รับสิทธิประโยชน์ในการเข้าสู่ตลาดเสมือนสมาชิก GATT

2. ทั่วไปให้ได้รับอัตราภาษีพิเศษโดยไม่กำหนดปริมาณโควต้านำเข้า “Everything But Arm- EBA” ยกเว้นการนำเข้าในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปสำหรับสินค้า ข้าว และน้ำตาล โดยน้ำตาลจะลดอัตราภาษีนำเข้าในเดือน กรกฎาคม 2009 และข้าวในเดือนกันยายน 2009 ซึ่งขณะนี้การนำเข้าข้าว และน้ำตาลในโควต้าที่กำหนดจะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า

สิทธิพิเศษที่ให้กับประเทศคู่ค้า

  • AFTA
  • WTO

สินค้า

  • ทั่วไป
  • ทั่วไป
ความสัมพันธ์ทางการค้า

กัมพูชาเป็นสมาชิกของอาเซียน และสมาชิกของ WTO ส่งผลให้มูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สินค้าส่งออกที่สำคัญของกัมพูชา ได้แก่ สินค้าสิ่งทอ ซึ่งกัมพูชามีความได้เปรียบในการผลิตเพื่อการส่งออก โดยมีโรงงานผลิตสินค้ากว่า 200 โรงงาน มีการจ้างงานกว่า 200,000 คน และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการยกเลิกโควต้าส่งออกสินค้าสิ่งทอ รัฐบาลกัมพูชาได้เริ่มกระบวนการอำนวยความสะดวกทางการค้าการลงทุนเพื่อลดต้นทุนการประกอบการ ให้สามารถแข่งขันได้ นอกจากนี้ยังได้ปรับปรุงมาตรฐานการจ้างงานให้เป็นสากลมากขึ้น โดยอนุญาตให้องค์กรด้านแรงงานนานาชาติเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบกระบวนการจ้างงาน และการใช้แรงงาน

สมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)

การเข้าเป็นสมาชิก WTO หมายถึงกัมพูชาจะต้องยอมรับและหลีกทางให้ข้อตกลงของ WTO มีสิทธิและอำนาจเหนือกฎหมายเดิมของประเทศ ในกรณีที่มีข้อขัดแย้งหรือความไม่สอดคล้องทางกฎหมายเกิดขึ้น เช่น กรณีผู้ลงทุนเห็นว่ากฎหมายของกัมพูชาไม่สอดคล้องกับข้อตกลงใน WTO ก็สามารถยื่นฟ้องขอความเป็นธรรมจาก WTO โดยข้อตกลงของ WTO กล่าวเช่นไร ให้ถือว่าคือที่สุดของคำตัดสินนั้นๆ ในกรณีที่กัมพูชาไม่มีกฎหมายครอบคลุมในบางประเด็น ให้ใช้บทบัญญัติในข้อตกลงของ WTO เป็นบทอ้างอิงและแนวทางในการปฎิบัติ เป็นต้น

ผู้ลงทุนจะได้รับประโยชน์ เพราะมีการปรับปรุงกรอบโครงสร้างทางกฎหมายที่กว้างขึ้น จากเริ่มแรกของกระบวนการเข้าเป็นสมาชิกของ WTO ถึงปัจจุบัน กัมพูชาได้ออกกฎหมายใหม่ กว่า 50 ฉบับ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของ WTO นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอีกหลายฉบับที่จะต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจทำให้กระบวนการทางธุรกิจและการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงหรือได้รับผลกระทบไปด้วย เช่น

(1.) รูปแบบทางการค้า — จะมีการเปลี่ยนแปลงหลังการบังคับใช้กฎหมายธุรกิจการค้า กฎหมายตราสารหนี้และการชำระเงิน กฎหมายหลักทรัพย์ กฎหมายความปลอดภัยด้านธุรกรรมการเงิน เป็นต้น

(2.) ขั้นตอนศุลกากร — ต้องปรับปรุงและแก้ไขให้สอดคล้องกับข้อบังคับของ WTO

(3.) กฎหมายเฉพาะ — เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการอิสระกำกับดูแลด้านน้ำ การโทรคมนาคม การบิน การท่องเที่ยว และการประมง เป็นต้น

(4.) การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา — ประกอบด้วย กฎหมายสิทธิบัตร กฎหมายเครื่องหมายการค้า และกฎหมายลิขสิทธิ์ เป็นต้น

(5.) การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น กฎหมายออกแบบและวงจรไฟฟ้า กฎหมายปกป้องพืช กฎหมายแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ และกฎหมายเปิดเผยข้อมูลทางราชการ เป็นต้น

ประเทศที่ได้รับการปฎิบัติทางการค้าอย่างดียิ่ง (Most Favored Nation)

กัมพูชาได้รับสถานภาพประเทศที่ได้รับการปฎิบัติทางการค้าอย่างดียิ่งจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป ทำให้สามารถส่งออกสินค้าไปตลาดเหล่านี้ในอัตราภาษีร้อยละ 5 (จากเดิมร้อยละ 90)

GSP

กัมพูชาได้รับสิทธิพิเศษ GSP จากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ทำให้สินค้าที่ผลิตหรือมีแหล่งกำเนิดในกัมพูชา (ใช้วัตถุดิบในประเทศอย่างน้อยร้อยละ 35) สามารถส่งออกไปตลาดเหล่านี้ในอัตราภาษีศูนย์

สมาชิกอาเซียน (ASEAN)

สินค้าที่กัมพูชาส่งออกไปตลาดอาเซียนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีระหว่างประเทศสมาชิกในอัตราที่ต่ำได้ นอกจากนี้หากใช้วัตถุดิบในการผลิตจากแหล่งกำเนิดในประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างน้อย ร้อยละ 35 จะสามารถส่งออกไปสหรัฐอเมริกาและยุโรปในอัตราภาษี ศูนย์ ตามสิทธิพิเศษที่กัมพูชาได้รับ (GSP)

การลดอัตราภาษีภายใต้ข้อตกลงภาษีอาเซียน (ASEAN CEPT)

ภายใต้แผนการลดภาษีของ CEPT กัมพูชาจะต้องทะยอยลดภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนและให้เป็นศูนย์หรือร้อยละ 5 ภายในปี 2010 ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าที่นำเข้า และภายในปี 2015 กัมพูชาต้องลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าและบริการภายใต้ CEPT ให้เหลือร้อยละ 0

การค้าที่ไม่เป็นธรรม

กัมพูชาประกาศใช้กฎหมายกำกับและควบคุมการค้าที่ไม่เป็นธรรมตั้งแต่ปี 2002 ได้แก่การทำให้ผู้บริโภคสับสนในสินค้าของคู่แข่ง การร้องเรียนคู่แข่งที่ไม่เป็นจริง การเผยแพร่เอกสารประชาสัมพันธ์เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจผิดในคู่แข่ง เป็นต้น

การเปิดเสรีด้านธุรกิจบริการ และด้านภาษี

การเปิดเสรีดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจต่างๆ ในกัมพูชา บริษัทจะต้องปรับตัวด้านภาษี ในขณะเดียวกันธุรกิจบริการเช่นด้านการบัญชี การท่องเที่ยว และการโทรคมนาคม จะมีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น

การย้ายถิ่นฐานและขอโอนสัญชาติ

  • วีซ่า

วีซ่าปกติสำหรับนักลงทุน อนุญาตให้พำนักอยู่ได้ เป็นเวลา 1 เดือน และสามารถต่ออายุได้สูงสุด 1 ปี คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้จัดตั้งสำนักงานเพื่อให้ความช่วยเหลือนักลงทุนต่างชาติด้านการขอต่ออายุวีซ่าโดยเฉพาะ หากเอกสารครบถ้วน ผู้ยื่นขอจะได้รับการต่ออายุวีซ่าภายใน 2 สัปดาห์

อัตราค่าบริการในการขอต่ออายุวีซ่า

ระยะเวลาขอต่ออายุ      ประเภทวีซ่า         ค่าบริการ(ดอลลาร์สหรัฐฯ)
1 เดือน               Single Entry              43
3 เดือน               Single Entry              73
6 เดือน               Multiple Entry           153
1 ปี                  Multiple Entry           283

การยกเว้นวีซ่า

ผู้ที่ได้รับการยกเว้นวีซ่าเข้าประเทศกัมพูชา ได้แก่ ประชาชนของประเทศลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ซึ่งจะได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ได้สูงสุดคราวละ 21 หรือ 30 วัน

การโอนสัญชาติเป็นพลเมืองกัมพูชา

การได้รับสัญชาติกัมพูชาจะต้องผ่านการแต่งงานกับคนกัมพูชาหรือผ่านขั้นตอนการขอโอนสัญชาติอย่างเป็นทางการ ยังไม่มีกฎเกณฑ์การรับโอนสัญชาติที่ชัดเจน แต่จะพิจารณาเป็นรายๆไป

4. การจดทะเบียนนิติบุคคล

การประกอบธุรกิจทุกประเภทในกัมพูชา อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกฎหมายธุรกิจ (Commercial Enterprise หรือ CLE) โดยกรอบการจัดตั้งบริษัท และการดำเนินธุรกิจต่างๆ มีเนื้อหาสำคัญประกอบด้วย

  • ตัวแทน : ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทใดๆ จะต้องมีบริษัทตัวแทนนิติบุคคลที่มีฐานะทางกฎหมายในกัมพูชา
  • สถานที่ประกอบการ : จะต้องมีสถานที่ประกอบการเป็นหลักแหล่ง และมีที่อยู่ที่สามารถอ้างอิงได้
  • จำนวนหุ้น : จะต้องออกหุ้นบริษัทไม่ต่ำกว่า 1,000 หุ้น ในราคาพาร์ที่ไม่น้อยกว่า 4,000 เรียล
  • ใบรับรองหุ้น : ผู้ถือหุ้นทุกรายจะได้รับใบรับรองหุ้น
  • การเก็บข้อมูล : บริษัทจะต้องจัดเก็บข้อมูลที่บริษัท ดังนี้

(1) บทบัญญัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(2) บันทึกการประชุมและความเห็นของคณะกรรมการบริหาร

(3) สำเนาคำสั่งต่างๆ

(4) ทะเบียนหลักทรัพย์

(5) ข้อตกลง/มติของผู้ถือหุ้น และรายงานของคณะกรรมการบริหาร

(6) เอกสารบัญชีต่างๆ

  • การประชุมของคณะกรรมการบริหาร : จะต้องจัดประชุมอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง
  • การแจ้งสถานภาพบริษัทประจำปี : บริษัทจะต้องกรอกแบบฟอร์มแจ้งสถานภาพบริษัทส่งให้กับกระทรวงพาณิชย์เพื่อเก็บรักษา หากบริษัทใดไม่ส่งแบบฟอร์มดังกล่าวเป็นเวลาต่อเนื่อง 3 ปี จะถือว่าบริษัทนั้นๆ ไม่มีฐานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย และจะถูกเพิกถอนหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
  • เอกสารการเงินประจำปี : บริษัทจะต้องส่งงบการเงินและเอกสารการเงินให้กับผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 21 วันทำการก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี ซึ่งงบการเงินดังกล่าวจะต้องได้รับการรับรองโดยคณะกรรมการบริษัทและผู้ตรวจสอบบัญชี
          - การเปิดเผยผลประโยชน์ :  บริษัทจะต้องเปิดเผยข้อมูลผลประโยชน์ของบริษัท และความเกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์นั้นๆ ของคณะกรรมการ/ผู้บริหารบริษัท                                                                                                                              - ลำดับขั้นตอนการประชุมผู้ถือหุ้นและการประชุมคณะกรรมการบริหาร
  • การแต่งตั้งเลขานุการของบริษัท : เพื่อการประสานงานกับ CLE
  • การใช้ชื่อบริษัทเป็นภาษากัมพูชา : ทุกบริษัทจะต้องมีป้ายชื่อเป็นภาษากัมพูชา และตัวอักษรป้ายชื่อจะต้องใหญ่กว่าและอยู่ด้านบนภาษาต่างประเทศอื่นๆ ข้อบังคับนี้ใช้กับเอกสารทุกชนิดของบริษัท
  • การแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี
  • บทบัญญัติเกี่ยวกับการตรวจสอบบัญชี/สภาพคล่องของบริษัท
  • บทลงโทษต่างๆ
รูปแบบการประกอบธุรกิจ มี 7 ประเภท คือ

(1) Joint Stock Company

(2) บริษัทจำกัด (Limited Liability Company)

(3) Sole Proprietorship Limited Company

(4) Commercial Partnerships

(5) สำนักงานตัวแทน (Representative Offices)

(6) สำนักงานสาขา (Branch Office of a Foreign Company)

(7) (7) Subsidiary

บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจ ต้องยื่นจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการต่อกระทรวงพาณิชย์หรือสำนักงานทะเบียนฯ ในท้องที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ก่อนเริ่มประกอบการ ไม่น้อยกว่า 15 วัน

การจดทะเบียน บริษัทจำกัด

บริษัทจำกัดในกัมพูชาอาจมีเจ้าของเป็นชาวกัมพูชาร้อยเปอร์เซนต์หรือเป็นบริษัทที่มีชาวต่างชาติ เป็นเจ้าของร้อยเปอร์เซนต์ หรือเป็นการร่วมทุนระหว่างสองฝ่ายก็ได้

บริษัทจำกัด จะต้องจดทะเบียนและได้รับใบอนุญาต จัดตั้งบริษัทจากกระทรวงพาณิชย์ โดยต้องปฎิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆที่บัญญัติไว้ในกฎหมายธุรกิจหรือ CLE ของกัมพูชา เช่น การจัดเก็บข้อมูลต่างๆ การออกใบหุ้นและราคาหุ้น การประชุมผู้ถือหุ้น การประชุมคณะกรรมการบริหาร เป็นต้น

บริษัทจำกัด มี 3 ประเภท คือ

(1) บริษัทจำกัดที่มีผู้ถือหุ้นรายเดียว : จะต้องมีกรรมการบริหารอย่างน้อย 1 คน

(2) บริษัทจำกัดที่มีผู้ถือหุ้นหลายคน : ต้องมีผู้ถือหุ้นระหว่าง 2-30 คน มีกรรมการบริหารอย่างน้อย 1 คน และอาจมีข้อจำกัดด้านการโอนหุ้น

(3) บริษัทจำกัดมหาชน : มีสาธารณชนเป็นผู้ถือหุ้น และต้องมีกรรมการบริหารอย่างน้อย 3 คน

หลักเกณฑ์การยื่นจดทะเบียน มีดังนี้

(1.) ต้องได้รับการยินยอมเข้าครอบครองสถานประกอบการจากศาลากรุง (City Hall) หรือจังหวัดในท้องถิ่นที่ตั้งกิจการ

(2.) ต้องมีเงินทุนจดทะเบียนชำระเต็มไม่ต่ำกว่า 20 ล้านเรียล โดยมีมูลค่าหุ้นกำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 200,000 เรียลต่อหุ้น หลักฐานแสดงคุณสมบัติข้างต้น ผ่อนผันให้ใช้เอกสารที่กระทำในนามของกิจการ และแสดงสำเนาบัญชีเงินฝากของผู้ถือหุ้นประกอบการยื่นจดทะเบียน

(3.) ต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 2 ราย

(4.) ต้องยื่นวัตถุประสงค์และข้อบังคับเป็นภาษาเขมร โดยอาจใช้แบบมาตรฐานของกระทรวงพาณิชย์ก็ได้ ผู้ถือหุ้นหรือผู้บริหารต้องแสดงตน และลงนามในเอกสารบางรายการต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนแล้วแสดงตนในภายหลังก็ได้ การประกอบกิจการบางประเภทอาจต้องได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องก่อน

แบบฟอร์มและเอกสารที่ใช้ประกอบในคำขอจัดตั้งบริษัท

(1) การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ดำเนินธุรกิจทุกสาขารวมทั้งการนำเข้าและการส่งออก

(2) ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 20,000,000 เรียล โดยมีชาวกัมพูชาถือหุ้น 100 % หรือ ชาวต่างชาติถือหุ้น 100 % หรือเป็นการร่วมทุนระหว่างชาวกัมพูชาและชาวต่างชาติ

(3) หนังสือรับรองทุนจดทะเบียนจากธนาคารพาณิชย์ในกัมพูชา (บัญชีเงินฝาก)

(4) ประธานบริษัทอาจเป็นชาวกัมพูชา หรือ ชาวต่างชาติ

(5) แบบฟอร์มขอจัดตั้งบริษัท จำนวน 3 ฉบับ

(6) กฎข้อบังคับของบริษัท จำนวน 6 ฉบับ

(7) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ถือหุ้นชาวกัมพูชา และ/หรือ สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติ ทุกคน ๆ ละ 3 ฉบับ

(8) รูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซ.ม. ของผู้ถือหุ้นทุกคน ๆ ละ 3 ใบ

สำนักงานสาขา

เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมในกลุ่มธุรกิจธนาคาร อย่างไรก็ตามรัฐบาลกัมพูชาค่อนข้างจำกัดการจัดตั้ง สำนักงานสาขาของบริษัทต่างชาติ ส่วนใหญ่จะอนุญาตให้เฉพาะกับบริษัทที่มีสัญญาจ้างหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐเท่านั้น

การจดทะเบียนสาขาของบริษัทต่างประเทศ

(1) หนังสือมอบสิทธิของบริษัทแม่ซึ่งมีการรับรองจากทนายความ จำนวน 3 ฉบับซึ่งระบุชื่อผู้แทนที่จะมาประจำในสาขาต่างประเทศ พร้อมทั้งหนังสือมติการประชุมของผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้จัดตั้งสาขาในต่างประเทศ

(2) สำเนากฎข้อบังคับของบริษัทแม่ซึ่งรับรองความถูกต้องจากหน่วยงานของรัฐบาล จำนวน 3 ฉบับ

(3) รูปถ่ายขนาด 4 X 6 ซม. จำนวน 3 ใบ

(4) การจดทะเบียนสำนักงานตัวแทน (Representative Office) ของรัฐบาล จำนวน 3 ฉบับ

(5) สำเนาวีซ่าเข้าประเทศกัมพูชาของผู้แทนบริษัท จำนวน 3 ฉบับ (สำนักงานตัวแทน สามารถดำเนินการด้าน Marketing Research หรือลงลายมือชื่อในข้อตกลงต่าง ๆ)

สำนักงานตัวแทน

จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นตัวแทนจัดหาวัตถุดิบ ตัวแทนทางการตลาดและส่งเสริมการขายของบริษัทแม่ในต่างประเทศ สำนักงานตัวแทนจะไม่ทำการผลิต ดำเนินธุรกิจหรือให้บริการโดยตรง แต่จะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์สินค้า ส่งเสริมภาพลักษณ์ของบริษัท และเจรจาธุรกิจให้กับบริษัทแม่ เป็นต้น ดังนั้นสำนักงานตัวแทนจึงไม่เสียภาษีบริษัทหรือภาษีทางธุรกิจใดๆ

สัญญาความร่วมมือทางธุรกิจ

เป็นสัญญาการทำธุรกิจร่วมระหว่างบริษัทเอกชนกับภาครัฐ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการจัดตั้งเป็นรูปแบบของบริษัทตามกฎหมาย แต่สัญญาความร่วมมือนี้ ต้องเสียภาษีบางชนิดที่กฎหมายกำหนดกรณีการ Joint Venture ร่วมกับภาครัฐบาลต้องจ่ายเงินส่วนแบ่งให้กับรัฐบาลตามสัญญาที่ได้ระบุไว้ และตามระยะเวลาที่กำหนด

บริษัทห้างหุ้นส่วนจำกัด

ประกอบด้วยบริษัทห้างหุ้นส่วนทั่วไปและบริษัทห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยห้างส่วนหุ้นทั่วไปเป็นการบริหารงานและรับผิดชอบร่วมกันระหว่างบุคคลที่เป็นหุ้นส่วน ในขณะที่บริษัทห้างหุ้นส่วนจำกัด หุ้นส่วนทั้งหมดจะมอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นผู้บริหารงานแทน ความรับผิดชอบของแต่ละหุ้นส่วนขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้นที่ถือครอง

ข้อจำกัดในการถือหุ้นของชาวต่างชาติ

นักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นในธุรกิจได้ร้อยเปอร์เซนต์ ยกเว้นกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน

การจดทะเบียนพาณิชย์และการแจ้งสถานภาพบริษัทประจำปี

ธุรกิจทุกประเภท ต้องจดทะเบียนพาณิชย์กับกระทรวงพาณิชย์ โดยการจดทะเบียน ต้องมีข้อมูลเบื้องต้นประกอบด้วย ชื่อบริษัท สถานที่ตั้ง ทุนจดทะเบียน รายชื่อผู้ถือหุ้น รายชื่อคณะกรรการบริหาร ผู้มีสิทธิ์ลงนาม เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกี่ยวกับข้อมูลเหล่านี้ จะต้องแจ้งและได้รับการเห็นชอบจากกระทรวงพาณิชย์

ทุกบริษัท สำนักงานสาขา สำนักงานตัวแทน จะต้องแจ้งรายงานสถานภาพบริษัทให้กับกระทรวงพาณิชย์ทราบเป็นประจำทุกปี

5. กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของกัมพูชา เป็นการบังคับไปโดยปริยายว่ากัมพูชาจะต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาให้สอดคล้องและเป็นมาตรฐานเดียวกับที่กำหนดไว้ในข้อตกลงของ WTO ซึ่งปัจจุบันกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของกัมพูชา อยู่ระหว่างการแก้ไขและปรับปรุง

เครื่องหมายการค้า

กฎหมายเครื่องหมายการค้า ประกาศใช้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2002 ครอบคลุมในการปกป้องเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการ ซึ่งมีบทบัญญัติสำคัญ ประกอบด้วย

(1) ขั้นตอนการลงทะเบียนและสิทธิตามกฎหมายเครื่องหมายการค้า - เครื่องหมายการค้าที่จะได้รับการปกป้อง ต้องจดทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์กัมพูชา หลังการตรวจสอบกระทรวงฯ จะออกใบรับรองเครื่องหมายการค้าและลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป หากพบว่าไม่มีการโต้แย้งภายในเวลา 90 วัน หลังการประกาศ กระทรวงฯ จะออกใบรับรองเครื่องหมายการค้า ซึ่งมีอายุ 1 ปี เจ้าของเครื่องหมายใดที่ไม่ได้มีแหล่งพำนักอยู่ในกัมพูชา จะต้องมอบหมายตัวแทนในกัมพูชาเป็นผู้ดำเนินการแทน

(2) การยกเลิกและเพิกถอน- เครื่องหมายการค้าใดที่ไม่ได้นำไปใช้งานเป็นระยะเวลา 5 ปี ติดต่อกัน จะถูกยกเลิกและเพิกถอน ยกเว้นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นๆ ยื่นเอกสารชี้แจงเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษร

(3) การอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า — การอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ต้องทำผ่านสัญญาให้ใช้ ที่กำหนดโดยกระทรวงพาณิชย์

(4) การละเมิดสิทธิและแนวทางแก้ไข — การละเมิดได้แก่ การนำเครื่องหมายการค้าไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต การลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า และการใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่ได้ลงทะเบียน เป็นต้น (5) มาตรการปกป้องตามเขตชายแดน - เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิในการเรียกตรวจสอบหรืออายัดการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าตามด่านชายแดนหากมีความสงสัยหรือเห็นว่าสินค้าเหล่านั้นอาจละเมิดเครื่องหมายการค้าของตน

เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา จะได้รับความคุ้มครองเป็นเวลา 10 ปี นับจากวันจดทะเบียน โดยในปีที่ 5 เจ้าของเครื่องหมายการค้าจะต้องแจ้งให้กระทรวงทราบถึงการคงใช้ เครื่องหมายการค้าดังกล่าว เพื่อเหตุผลในการให้ความคุ้มครองต่อไป

บทลงโทษผู้ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เป็นไปตามข้อตกลงที่กัมพูชาทำไว้กับสหประชาชาติและสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา

สิทธิบัตร

สิทธิบัตร ได้แก่ ใบประกาศปกป้องการประดิษฐ์คิดค้นใหม่ๆ ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งที่มีนัยสำคัญทางเทคโนโลยี การประดิษฐ์คิดค้นที่มีสิทธิได้รับความคุ้มครองได้แก่

  • การประดิษฐ์คิดค้นที่ใหม่
  • มีลำดับขั้นตอนการประดิษฐ์คิดค้นที่ชัดเจน
  • สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมได้จริง
การประดิษฐ์คิดค้นที่ไม่สามารถขอสิทธิบัตรคุ้มครอง ได้แก่
  • ทฤษฎีและสูตรทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
  • แผนงาน กฎหรือรูปแบบทางธุรกิจ การแสดง หรือการละเล่นเพื่อความบันเทิงต่างๆ
  • รูปแบบการรักษามนุษย์หรือสัตว์
  • เคมีภัณฑ์บางชนิด
  • สัตว์และพืช
ใบรับรองแบบจำลองอรรถประโยชน์

ใบรับรองดังกล่าวใช้ในการคุ้มครองแบบจำลองอรรถประโยชน์ที่ใหม่และถูกประดิษฐ์คิดค้นเพื่อเหตุผลทางอุตสาหกรรมเป็นหลัก โดยใบรับรองมีอายุ 7 ปี และไม่สามารถต่ออายุได้อีก

การออกแบบอุตสาหกรรม

การออกแบบอุตสาหกรรมที่จะได้รับความคุ้มครองต้องเป็นการออกแบบที่ใหม่ และต้องไม่มีการเปิดเผยให้สาธารณะชนทราบภายในเวลา 1 ปี ก่อนการยื่นขอจดทะเบียน โดยกฎหมายเครื่องหมายการค้าจะไม่คุ้มครองการออกแบบที่เห็นว่าอาจเป็นภัยต่อสังคม

ลิขสิทธิ์และสิทธิ์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายลิขสิทธิ์และสิทธิ์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง ประกาศใช้ในวันที่ 3 มีนาคม 2003 เพื่อปกป้องลิขสิทธิ์และผลงานของนักประพันธ์ นักแสดง ผู้กำกับ ผู้ผลิต และองค์กรที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้แก่

(1) ผลงานของนักประพันธ์ที่เป็นชาวกัมพูชาหรือมีถิ่นพำนักอยู่ในกัมพูชา

(2) ผลงานสิ่งตีพิมพ์ที่ปรากฎครั้งแรกในกัมพูชา

(3) สื่อวีดีทัศน์ที่ผู้ผลิตมีสำนักงานใหญ่หรือมีแหล่งพำนักในกัมพูชา

(4) งานออกแบบสถาปัตย์ที่มีโครงสร้างการออกแบบมาจากสถาปัตยกรรมของกัมพูชา

(5) ชิ้นงานอื่นๆ ที่กัมพูชาต้องให้ความคุ้มครองภายใต้พันธกรณีกับนานาชาติ

ข้อพิพาทและบทลงโทษ
  • ข้อพิพาททางแพ่ง

เจ้าของลิขสิทธิ์ที่ได้รับการละเมิดสามารถยื่นเรื่องต่อศาลเพื่อสั่งห้ามหรือหยุดการละเมิดนั้นๆ โดยศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ละเมิดชดใช้ค่าเสียหายให้กับเจ้าของลิขสิทธ์

  • ข้อพิพาททางอาญา

การละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิ์อื่นๆ มีความผิดทางอาญาทั้งจำและปรับ โดยผู้ละเมิดอาจถูกจำคุก 2-3 ปี และ/หรือถูกปรับเป็นเงินจำนวน ระหว่าง 1-10 ล้านเรียล

  • การปฎิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศ

บทบัญญัติอื่นใดของข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์และสิทธ์อื่นๆ ที่กัมพูชาเป็นสมาชิกให้อยู่ภายใต้การบังคับใช้ตามกฎหมายนี้ ข้อขัดแย้งอื่นใดที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างในบทบัญญัติของกฎหมายนี้ ให้ถือเอาข้อบัญญัติในข้อตกลงระหว่างประเทศเหล่านั้นเป็นที่สุด

6. มาตรการทางการค้า

6.1 มาตรการที่มิใช่ภาษี

6.1.1 มาตรการนำเข้า ประเทศกัมพูชาไม่สามารถผลิตสินค้าเพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชนได้อย่างเพียงพอ จึงต้องอาศัยการนำเข้าเป็นหลัก โดยมีนโยบายการค้าเสรี ไม่มีข้อกีดกันทางการค้า หรือกำหนดโควต้า ในการนำเข้าสินค้า แต่กำหนดให้ผู้นำเข้าสินค้าเข้า ต้องชำระภาษีนำเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีพิเศษอื่นๆ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด

สินค้าที่ห้ามนำเข้า สินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ความปลอดภัย สุขอนามัย สิ่งแวดล้อม และอุตสาหกรรมภายในประเทศ ได้แก่ อาวุธ วัตถุระเบิด รถยนต์และเครื่องจักรที่ใช้ในการทหาร ทอง เครื่องเงิน เงินตรา ยาและยาพิษ

6.1.2 มาตรการส่งออก สามารถทำการส่งออกได้เสรี ไม่มีข้อจำกัด ยกเว้นสินค้าที่กระทรวงพาณิชย์กัมพูชากำหนดให้ส่งออกได้โดยต้องมีเอกสารใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าจากกรมสิทธิประโยชน์กัมพูชา หรือเอกสารใบอนุญาตส่งออกจากกรมการค้าต่างประเทศกัมพูชา

เอกสารใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า กรมสิทธิประโยชน์ (GSP. Dept) กระทรวงพาณิชย์กัมพูชา จะออกเอกสารใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าให้กับผู้ส่งออกสินค้าที่ประเทศผู้นำเข้าต้องการ เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรและอื่น ๆ ขณะนี้มีสินค้าที่ต้องขอเอกสารใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าเพื่อส่งออกไปบางประเทศ เช่น

  • ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้

-เสื้อผ้าสำเร็จรูปและถุงมือ

  • รองเท้า
  • กุ้งแช่แข็ง
  • ข้าว
  • เบียร์, บุหรี่

เอกสารใบอนุญาตส่งออก กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาจะออกเอกสารใบอนุญาตส่งออกสินค้าที่ควบคุม คือ

  • ไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้
  • ข้าว

6.2 มาตรการด้านภาษี

6.2.1 ภาษีนำเข้า (Import Tax) เป็นภาษีที่เก็บจากสินค้าต่าง ๆ ที่นำเข้า ซึ่งจัดเก็บตามราคา CIF ในสกุลเงินเรียล โดยแบ่งออกเป็น 4 อัตรา คือ

        อัตราภาษี           สินค้า
           0%         วัตถุดิบและสินค้าจำเป็น
           7%         สินค้าขั้นกลาง
          15%         เครื่องจักรและอุปกรณ์
          35%         สินค้าฟุ่มเฟือย

สำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจัดเก็บตามอัตราที่รัฐบาลกำหนด คือ ร้อยละ 15 สำหรับน้ำมันดีเซล และร้อยละ 35 สำหรับน้ำมันเบนซิน

สินค้าที่ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีนำเข้า มีดังนี้

  • สินค้าที่ผลิตตามโครงการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจาก CDC
  • ทรัพย์สินที่ขนย้ายตามปกติของบุคคลทั่วไป
  • สินค้าที่ได้รับการยกเว้นตามข้อตกลงระหว่างประเทศ
  • สินค้าเพื่อการบริจาค การให้ความช่วยเหลือหรือทำบุญ
  • สินค้าที่เกี่ยวกับพิธีแต่งงานหรืองานศพ
  • สินค้าประเภทยาฆ่าแมลง ยากำจัดศัตรูพืช และเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตร (ยกเว้นรถแทรกเตอร์)

6.2.2 ภาษีส่งออก ปัจจุบันไม่มีการจัดเก็บสำหรับสินค้าทั่วไป ยกเว้นสินค้าบางประเภท ดังนี้

          อัตราภาษี                 สินค้า
          0%,5% และ 10%          ไม้แปรรูป (อัตราภาษีแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของไม้)
          10%                    ผลิตภัณฑ์ยางพารา
          0% และ 10%             ปศุสัตว์
          0%, 10% และ 50%        อัญมณี

6.2.3 ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Valued AddedTax-VAT) สินค้านำเข้าทุกชนิดต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10

7. ภาษีธุรกิจ

7.1 Sales Tax หรือ Turnover Tax กำหนดตั้งแต่ 0.5-10%เริ่มใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2538 (เก็บในอัตรา 4% สำหรับธุรกิจการค้า และการบริการ ยกเว้น รายได้จากการบริการ ค่าห้องพัก สถานบันเทิงเริงรมย์ ร้านจำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่ม เป็นต้น จัดเก็บในอัตรา 10%)

7.2 Coporate Tax หรือ Advance Payment of Profit Tax คิดในอัตรา 1% ของยอดรายได้รวมของธุรกิจ

วิธีชำระภาษี : รับเฉพาะเงินเรียล โดยการทำบัญชี หากทำเป็นเงินเรียล ก็สามารถนำไปชำระตามยอดได้ทันที แต่หากลงบัญชีเป็นเงินดอลลร์สหรัฐฯ ต้อง Converse ค่าของเงินดอลลร์สหรัฐฯ เป็นเรียลตามอัตราแลกเปลี่ยนของทางราชการ (กำหนดโดยธนาคารชาติ) สามารถชำระได้ทั้งเงินสดหรือเช็ค กรณีซื้อเช็ค ให้ซื้อจากธนาคารท้องถิ่น โดยธนาคารแห่งนั้นจะเขียนเช็คเพื่อให้ผู้ว่าการธนาคารชาติลงนามแล้วจึงมอบเช็คดังกล่าวให้ผู้ซื้อโดยคิดค่าธรรมเนียมฉบับละ 5 ดอลลาร์สหรัฐฯ

บริษัทที่มีรายได้ต่อปีจากการค้าขายเกินกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และบริษัทที่มีกิจการทางด้านบริการที่มีรายได้เกิน 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะต้องมีการรับรองบัญชีจากบริษัทบัญชี หรือบริษัทตรวจสอบ ซึ่งได้รับอนุญาตจากกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง

7.3 ภาษีการประกอบธุรกิจเฉพาะ (Patent Tax) เป็นภาษีที่ทุกบริษัทต้องจ่ายเป็นรายปี โดยต้องชำระ ภายใน 15 วัน หลังการจดทะเบียนบริษัท และภายใน 3 เดือน หลังสิ้นสุดปีภาษี หากไม่ยื่นภายในระยะเวลาที่กำหนด จะมีโทษตามกฎหมาย

เจ้าพนักงานจะออกใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะให้ตามจำนวนสถานประกอบการที่มีอยู่จริง ตามที่ได้แจ้งไว้ เช่น ผู้ประกอบกิจการมีสถานประกอบการหลายแห่ง หรือมีสำนักงานสาขา จะได้ใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นรายสถานประกอบการหรือสาขาตามที่แจ้งไว้ ผู้ประกอบกิจการจะต้องนำใบทะเบียนดังกล่าวไปแสดงไว้ ณ ที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่ายในสถานประกอบการเป็นรายสถาน

Patent Tax เป็นภาษีที่คิดจากยอดรายได้รวมทั้งปี วิธีคิด นำเอารายได้ทั้ง 12 เดือน มารวมกันแล้วใช้สูตรตามที่กรมสรรพกรกำหนดว่า จะต้องเสียภาษีประเภทนี้อีกจำนวนเท่าไร (ไม่สามารถนำยอดภาษี Coporate Tax ที่เสียแต่ละเดือนมาหักได้)

อัตราภาษีรายปีของธุรกิจ

หน่วย/เรียล

ลำดับ            กิจกรรมด้านการค้า                กิจกรรมบริการ                    จำนวนเงิน
                 และอุตสาหกรรม                ยกเว้นร้านอาหารและโรงแรม          ภาษีรายปี
 1          ถึง 7,500,000                      ถึง 3,000,000                    15,000
 2          ตั้งแต่ 7,500,001-12,500,000         ตั้งแต่ 3,000,001-5,000,000        21,000
 3          ตั้งแต่ 12,500,001-25,000,000        ตั้งแต่ 5,000,001-10,000,000       27,000
 4          ตั้งแต่ 25,000,001-30,000,000        ตั้งแต่ 10,000,001-12,000,000      40,000
 5          ตั้งแต่ 30,000,001-37,000,000        ตั้งแต่ 12,000,001-15,000,000      60,000
 6          ตั้งแต่ 37,000,001-50,000,000        ตั้งแต่ 15,000,001-20,000,000      90,000
 7          ตั้งแต่ 50,000,001-62,000,000        ตั้งแต่ 20,000,001-24,800,000     140,000
 8          ตั้งแต่ 62,000,001-75,000,000        ตั้งแต่ 24,800,001-30,000,000     180,000
 9          ตั้งแต่ 75,000,001-100,000,000       ตั้งแต่ 30,000,001-40,000,000     240,000
10          100,000,001-1,000,000,000         40,000,001-400,000,000
            สูงสุดต้องจ่ายเพิ่ม 1 ส่วนพัน             สูงสุดต้องจ่ายเพิ่ม 2.5 ส่วนพัน


7.4  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax) ต้องชำระตามอัตราเพิ่มของเงินได้ประจำปี ดังนี้

เงินได้สำหรับคิดภาษีประจำปี (เรียล)          อัตราภาษี
 ต่ำกว่า 750,000                           0%
 750,000-1,000,000                       5%
 1,000,001-10,000,000                   10%
 10,000,001-20,000,000                  15%
 เกิน 20,000,000                         20%

7.5 ภาษีเงินได้หรือภาษีกำไร (Tax on Profit)

เรียกเก็บจากผลประกอบการหรือกำไร โดยกฎหมายภาษีของกัมพูชาจำแนกบุคคลที่ต้องเสียภาษีเป็น 3 กลุ่มได้แก่

(1) กลุ่มที่เสียภาษีตามผลประกอบการที่ปรากฏในบัญชีงบการเงินแต่ละปีภาษี หรือ Real Regime ซึ่งกำหนดให้นิติบุคคลทุกราย และบุคคลธรรมดาที่มียอดขายสินค้ามากกว่า 500 ล้านเรียล/ปี หรือมียอดขายบริการมากกว่า 250 ล้านเรียล/ปี หรือค้าขายกับภาครัฐบาลมากกว่า 125 ล้านเรียล/ปี

(2) Simplified Regime

(3) Estimated Regime

บริษัทที่อยู่ในขอบเขตต้องเสียภาษีเงินได้ตามจริงประจำปีในระบบตามจริงนี้ มีดังนี้

  • บริษัทส่วนบุคคล หรือบริษัทเงินทุนที่เป็นของส่วนบุคคล
  • บริษัทผู้นำเข้า-ส่งออก
  • บริษัทภายใต้กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนในกัมพูชา
  • บริษัทที่ติดค้างอากรผลิตผลจากการประกอบการในอัตราผลกำไร10%

สำหรับกลุ่มที่ 2 และ 3 นี้ เป็นกลุ่มที่เสียภาษีในลักษณะประเมินจากเกณฑ์เงินได้ในแต่ละปีปฏิทิน โดยทั่วไปการค้าและการลงทุนโดยเฉพาะของคนต่างชาติจะเข้าลักษณะเป็นผู้เสียภาษีประเภท Real Regime เฉพาะผู้ที่ติดค้างภาษีจากการประกอบการประจำปีดังที่ได้กำหนดข้างต้นแล้วนั้น ต้องเสียภาษีตามระบบเหมาจ่ายตามที่มีแจ้งในประกาศของกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง เลข 019 รปภ. สหก. ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2537 ผู้ติดค้างชำระภาษีเงินได้ตามระบบความเป็นจริง มีพันธกรณีที่จะต้องถือบัญชีทวิภาคีและต้องเป็นภาษาเขมร แต่ผู้ที่ติดค้างภาษี สามารถที่จะถือบัญชี ภาษาฝรั่งเศส หรือภาษาอังกฤษ ประกอบด้วยก็ได้ บัญชีตามระเบียบทวิภาคีจะต้องมีรายการอย่างน้อยดังนี้

(1) งบดุล

(2) ผลการดำเนินงาน

(3) บัญชีรายได้-รายจ่ายประจำวัน

(4) บัญชีงบประมาณ

(5) บัญชีเครื่องใช้

(6) บัญชีการผ่อนชำระ

ภูมิลำเนาและแหล่งรายได้

บุคคลที่มีภูมิลำเนาในกัมพูชา (resident person) กำหนดให้จัดเก็บจากรายได้ที่เกิดขึ้นทั้งในและนอกประเทศ ส่วนผู้ที่ไม่มีภูมิลำเนาในกัมพูชา (non-resident person) จัดเก็บเฉพาะรายได้ที่เกิดขึ้นในประเทศ

การจัดเก็บภาษีจากผลกำไรที่ได้จากการประกอบการค้า/การลงทุน การขายทรัพย์สิน ดอกเบี้ย ค่าเช่า และค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิ บุคคลที่มีภูมิลำเนาในกัมพูชาที่มีกำไรเกิดขึ้นนอกประเทศ สามารถนำภาษีที่จ่ายนอกประเทศมาหักลดได้

บุคคลที่มีภูมิลำเนาในกัมพูชา หมายความรวมถึงบริษัทที่ได้ดำเนินการ หรือจัดการ หรือมีสถานที่ประกอบธุรกิจเป็นหลักแหล่งในกัมพูชา และสำหรับบุคคลที่ไม่มีภูมิลำเนาในกัมพูชา จะถือว่ามีภูมิลำเนาในกัมพูชาต่อเมื่อมีที่อยู่อาศัยหรือมีสถานที่ประกอบการเป็นหลักแหล่งในกัมพูชา หรือ ณ ปัจจุบันอยู่ในกัมพูชามากกว่า 182 วัน ในรอบ 12 เดือนของปีภาษีปัจจุบัน

อัตราภาษี

อัตรามาตรฐานอยู่ที่ร้อยละ 20 ยกเว้นกำไรจากธุรกิจการผลิตน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือธุรกิจที่ใช้ ทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ เรียกเก็บร้อยละ 30 ธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก CDC หรือ PMIS บางประเภทอาจได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี

ภาษีเงินได้หรือภาษีกำไร คำนวณจากเงินได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่าย (คล้ายกับกฎหมายภาษีของไทย) ในอัตราคงที่และอัตราก้าวหน้า (Progressive Rate) ตามประเภทของกิจการ ดังนี้

อัตราภาษีกำไร

    ประเภทของธุรกิจ                                            อัตราร้อยละ
ธุรกิจด้านกฎหมาย                                                   20
ธุรกิจการผลิตน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ การสำรวจขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ            30
ธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับอนุมัติ ระหว่างปี 2003-2008             9
ธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นภาษีจากคณะกรรมการการลงทุน (ไม่เกิน 8 ปี)             0
ธุรกิจประกันภัยที่รับประกันความเสี่ยงด้านการลงทุนในกัมพูชา                     5


กรณีนิติบุคคล (Corporation) จำแนกตามกิจการ ดังนี้
 อัตราภาษี           กิจการ
 0%-20%        บุคคลมีภูมิลำเนาในกัมพูชา
  0%           ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี (Tax Holiday) จาก CDC
  5%           ประกันภัย (เก็บจากยอดเบี้ยประกัน)
  9%           ที่ได้รับการส่งเสริมจาก CDC
 20%           มาตรฐานทั่วไป
 30%           น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และทรัพยากรธรรมชาติ


กรณีไม่ใช่นิติบุคคล (Non-Corporation) จัดเก็บในอัตราก้าวหน้า ดังนี้
อัตราภาษี(%)       กำไร (เรียลต่อปี)
    0%          0-6,000,000
    5%          6,000,001-15,000,000
   10%          15,000,001-102,000,000
   15%          102,000,001-150,000,000
   20%          มากกว่า 150,000,000

ทั้งนี้ กัมพูชาเปิดรับการเข้ามาตั้งสาขาหรือดำเนินกิจการของนิติบุคคลต่างชาติ และมีการบริหารโดยบุคคลต่างด้าวโดยถือ เป็น Permanent Establishment (PE)

ฐานของภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีกำไร

ภาษีเงินได้หรือภาษีกำไร มีฐานจากกำไรของกิจกรรมทางธุรกิจทุกชนิดที่บริษัทนั้นๆ ได้รับ เช่น กำไรจากการขาย ทรัพย์สินของบริษัท รายได้จากการลงทุน รายได้จากดอกเบี้ย การให้เช่าทรัพย์สิน หรือค่าภาคหลวง เป็นต้น

กฎหมายธุรกิจการเงินปี 2007 ได้ขยายฐานภาษีกำไรครอบคลุมรายได้ที่มาจากการใช้ประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทด้วย ซึ่งไม่ใช่รายได้จากการดำเนินธุรกิจโดยตรง

ภาษีจ่ายล่วงหน้า

การหักภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือกำไร รวมทั้งภาษีอื่นล่วงหน้า ต้องนำส่งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ในอัตราร้อยละ 1 ของผลตอบแทน ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มที่จ่ายในอัตราต่างไป ภาษีจ่ายล่วงหน้าสามารถนำมาหักกลบภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือกำไรประจำปี และภาษีขั้นต่ำ

หลังสิ้นสุดปีภาษี จะมีการคำนวณยอดรวมทั้งหมด หากภาษีที่จ่ายล่วงหน้าไม่เพียงพอ ผู้เสียภาษีต้องจ่ายเพิ่ม หากเกินยอดที่ต้องจ่ายจริง ผู้เสียภาษีสามารถขอคืนภาษีได้หรือยกยอดที่เหลือไปใช้ในปีต่อไป

หากบุคคลที่ได้รับการเว้นวรรคภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือกำไร (Tax on Profit holiday) บุคคลนั้นก็จะได้รับการยกเว้นจากเงื่อนไขการจ่ายภาษีล่วงหน้า อย่างไรก็ตามต้องยื่นรายงานประจำเดือนด้วย

บุคคลที่ไม่อยู่ในเงื่อนไขภาษีขั้นต่ำ ยังต้องยื่นการจ่ายภาษีเงินได้หรือกำไรประจำเดือน อย่างไรก็ตาม หากยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากภาษี จ่ายล่วงหน้าจากปีก่อนหน้านี้ ก็สามารถใช้หักกลบจากจำนวนที่ถึงกำหนดปัจจุบัน และไม่ต้องชำระในรูปของตัวเงิน

การเว้นวรรคภาษี (Tax holidays)

โครงการลงทุนที่มีคุณสมบัติ ได้รับการส่งเสริมและจดทะเบียนจาก CDC จะได้รับการเว้นวรรคภาษีเงินได้หรือกำไร เริ่มจากปีแรกที่มีกำไร หรือ 3 ปีหลังจากที่โครงการมีรายรับ แล้วแต่เวลาใดจะถึงก่อน โดยมีระยะเวลาการให้สิทธิเว้นวรรค 3-6 ปี

แต่ละปี โครงการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมจะได้รับใบรับรองการยินยอม (CoC) จาก CDC เพื่อยืนยันว่าโครงการนั้นได้ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้อง

การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีกำไร

สำหรับบุคคลที่มีภูมิลำเนาในกัมพูชา กำไรที่ต้องเสียภาษีขึ้นอยู่กับส่วนต่างระหว่างจำนวนรายได้ทั้งหมดที่เกิดไม่ว่าในหรือนอกประเทศ หักค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ บวกรายได้อื่นๆ เช่น ดอกเบี้ย ค่าลิขสิทธิ์ และค่าเช่า

ส่วนหักที่สามารถนำมาหักลดได้และไม่ได้

กฎระเบียบภาษีของกัมพูชาได้กำหนดเงื่อนไขของการหักลด โดยอนุญาตให้เฉพาะค่าใช้จ่ายที่ไม่มีผลต่อการการเพิ่ม หรือลด ของทรัพย์สินบริษัทเท่านั้น ซึ่งโดยทั่วไปค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะถูกพิจารณาให้ใช้หักลดได้ นอกจากจะมีการระบุเป็นการเฉพาะอย่างอื่น เช่น รายการที่ไม่สามารถนำมาหักลดได้ เงื่อนไขเฉพาะสำหรับการหักลด กำหนดใช้กับค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้

1) การจ่ายเงินให้กับพนักงาน กรรมการของบริษัท สามารถนำมาหักได้ในขอบเขตการจ่ายเงินที่สมเหตุสมผล

2) โรงงาน และสิ่งก่อสร้าง ที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยและภาษีต่างๆ ที่เกิดในระยะเริ่มแรกของการก่อสร้าง/การจ่ายเพื่อให้ได้มา ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนและค่าเสื่อมราคาที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น

3) ดอกเบี้ยไม่เข้าข่ายข้อ 2 สามารถนำมาหักลดได้ 50% ของภาษี ส่วนที่ไม่สามารถนำมาหักลดได้ต้องนำมาคำนวณ ณ สิ้นปี

4) ค่าใช้จ่ายในทรัพย์สินที่จับต้องได้ นำมาคิดค่าเสื่อมตามอัตราที่กำหนด ตามวิธีคิดค่าเสื่อมราคา ดังนี้

      รายการ                                  อัตรา     วิธี
อาคารและสิ่งก่อสร้าง                               5%     เส้นตรง
คอมพิวเตอร์  ระบบข้อมูลอิเลคทรอนิกส์
ซอฟต์แวร์  และอุปกรณ์เกี่ยวกับข้อมูล                    50%    ยอดลดลง
ยานยนต์  รถบรรทุก  เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์สำนักงาน      25%    ยอดลดลง
ทรัพย์สินอื่นๆ                                      20%    ยอดลดลง

5) ค่าใช้จ่ายในทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ สามารถคิดค่าเสื่อมได้ตลอดอายุของสินทรัพย์ (หรือ ที่ 10 %)

6) ค่าใช้จ่ายประกอบด้วยต้นทุนการสำรวจและการพัฒนา - สามารถตัดบัญชีโดยอ้างประโยชน์ที่เกิดจากแหล่งทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง

7) เงินบริจาคเพื่อการกุศล สามารถนำมาหักลดได้ไม่เกิน 5% ของภาษีเงินได้หรือภาษีกำไร

8) ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง พักผ่อนหย่อนใจ หรือความสนุกสนาน ไม่สามารถนำมาหักได้

9) ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลที่ไม่อยู่ในเงื่อนไขภาษีเงินเดือน ไม่สามารถนำมาหักได้ 10) ภาษีเงินได้หรือกำไร รวมถึงที่จ่ายในนามคนอื่น ไม่สามารถนำมาหักได้ 11) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่กำหนด

ค่าเสื่อมราคาพิเศษ

โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจะได้รับสิทธิในการหักค่าเสื่อมราคาพิเศษในอัตราร้อยละ 40 ในปีแรกของการซื้อ หรือหลังจากปีแรกที่สินทรัพย์ถูกใช้ อย่างไรก็ตามค่าเสื่อมราคาพิเศษจะใช้ได้เฉพาะกับสินทรัพย์ที่ถูกใช้ใน"โรงงานและกระบวนการผลิต" ( อยู่ระหว่างการตีความ) และกรณีที่ผู้ต้องชำระภาษีเลือกที่จะไม่ใช้การเว้นวรรคภาษีเท่านั้น

ผลขาดทุน

ผลขาดทุนสามารถยกยอดไปหักเป็นค่าลดหย่อนกำไรได้ในปีแรกที่บริษัทมีกำไร หากผลกำไรไม่เพียงพอสำหรับ การลดหย่อน สามารถนำผลขาดทุนไปหักลดหย่อนในปีถัด แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 5 ปี แต่ไม่สามารถย้อนหลังได้ การใช้สิทธิยกยอดการขาดทุน ผู้ที่ต้องชำระภาษีต้องไม่มีการเปลี่ยนกิจการหรือเจ้าของ

กำหนดการยื่นภาษี

ภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือกำไร ต้องยื่นภายใน 3 เดือนหลังสิ้นปีภาษี ซึ่งมาตรฐานของปีภาษี คือ ตามปีปฏิทินถึงแม้ปีสิ้นสุดบัญชีอาจแตกต่าง

ภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือกำไร จ่ายล่วงหน้า 1% ในแต่ละเดือน กำหนดให้ยื่นในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

ขั้นตอนการจดทะเบียนภาษีเงินได้หรือภาษีกำไร (Tax on Profit)

(1) ผู้ประกอบการมีหน้าที่ยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้เสียภาษี ต่อ The Large and Medium Taxpayer Bureau (LMTB) กรมสรรพากร (Tax Department) โดยต้องยื่นเพื่อขอรับเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ภายใน 15 วัน หลังจากจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์

(2) เมื่อได้รับเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ให้ผู้ประกอบการ ชำระค่าธรรมเนียมภาษีธุรกิจเฉพาะ (Patent Tax) จำนวน 1,140,000 เรียล (ประมาณ 285 USD) หรือ แบ่งจ่าย จำนวน 570,000 เรียล ในครึ่งปีแรก และครึ่งปีหลัง ตามลำดับ และค่าอากรแสตมป์ (stamp duty) จำนวน 100,000 เรียล จ่ายเข้าบัญชีกรมสรรพากร ที่ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (National Bank of Cambodia or NBC)

(3) ผู้ประกอบการ สามารถขอรับใบแสดงการประกอบธุรกิจเฉพาะและใบแสดงการเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งจะมีผลให้ผู้ประกอบกิจการ เป็นผู้ประกอบกิจการตามกฎหมาย ตั้งแต่วันเริ่มประกอบกิจการ (วันที่ผู้ประกอบการเริ่มประกอบกิจการจริง) โดยยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ พร้อมแสดงใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมภาษีธุรกิจเฉพาะและค่าอากรแสตมป์ ซึ่งออกโดย NBC

ภาษีกำไรขั้นต่ำ (Minimum Tax)

ภาษีกำไรขั้นต่ำร้อยละ 1 เป็นภาษีคนละชนิดกับภาษีเงินได้หรือภาษีกำไรจ่ายล่วงหน้า แต่จัดเก็บจากทุกกิจการในอัตรา 1% ของรายรับ ซึ่งรวมถึงผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนที่ต้องจ่ายภาษีกำไร 9% เปรียบเสมือนการจ่ายภาษีเงินได้หรือภาษีกำไรล่วงหน้าทุกเดือนในอัตรา 1% ของรายรับ (สำหรับผู้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีกำไรตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุน ยังคงมีหน้าที่ยื่นแบบฟอร์มเสียภาษีหรือแจ้งต่อกรมสรรพากรทุกเดือน) โดยสิ้นปีบัญชีเมื่อปิดงบการเงินแล้ว คำนวณภาระภาษี หากมีภาษีกำไรที่ต้องชำระสูงกว่าภาษีขั้นต่ำที่ได้ชำระไว้แล้ว ให้ชำระส่วนที่ยังขาดอยู่ หากภาษีกำไรที่ต้องชำระน้อยกว่าภาษีขั้นต่ำที่ได้ชำระไปแล้ว ให้ถือว่าเป็นภาษีขั้นต่ำที่ต้องชำระ

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax)

ผู้จ่ายเงินได้ที่มีภูมิลำเนาในกัมพูชามีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินสดหรือสิ่งของที่มีมูลค่าให้แก่ผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนาในกัมพูชาโดยต้องจัดส่งให้รัฐบาลภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ซึ่งผู้มีเงินได้ที่เป็นชาวกัมพูชาจะถูกหักภาษี ดังนี้

  • รายได้จากการให้บริการ (บริหาร จัดการ การให้คำปรึกษา เป็นต้น) เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายร้อยละ 15
  • รายได้จากดอกเบี้ย รายได้จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ และรายได้ของดอกเบี้ยจากกิจการที่เกี่ยวข้องกับแร่ธรรมชาติ เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายร้อยละ 15
  • รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายร้อยละ 10
  • รายได้ดอกเบี้ยธนาคารของบัญชีออมทรัพย์และบัญชีเดินสะพัด เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายร้อยละ 4 และ 6 ตามลำดับ

สำหรับผู้มีเงินได้นิติบุคคลที่เป็นต่างชาติ จะถูกหักภาษีจากรายได้ค่าบริการ ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์และดอกเบี้ยที่ได้รับจากธนาคารในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายภายในประเทศหรือภายนอกประเทศในอัตราเดียวคือ 15%

7.6 ภาษีมูลค่าเพิ่ม(Valued Added-Tax : VAT)
จัดเก็บจากสินค้าและบริการเกือบทุกประเภท โดยกำหนดให้กิจการดังต่อไปนี้ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)ก่อนการดำเนินธุรกิจ
  • กิจการใน Real Regime เกี่ยวกับสินค้าและบริการที่มี VAT
  • กิจการที่มียอดขายสินค้าเกิน 125 ล้านเรียลภายใน 3 เดือนหรือ 500 ล้านเรียลภายใน 1 ปี
  • กิจการด้านบริการที่มีรายได้เกิน 60 ล้านเรียลภายใน 3 เดือนหรือ 250 ล้านเรียลภายใน 1 ปี
  • กิจการที่ค้าขายกับหน่วยงานรัฐบาลซึ่งมียอดขายต่อเดือนมากกว่า 30 ล้านเรียลเป็นระยะเวลา 3 เดือนติดต่อกัน
  • หรือกิจการที่สมัครใจใช้ระบบ VAT
สินค้าและบริการที่ได้รับการยกเว้น VAT
  • บริการไปรษณีย์สาธารณะ
  • บริการด้านสุขภาพ และโรงพยาบาล และหมวดสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง
  • การขนส่งสาธารณะที่ดำเนินการโดยภาครัฐ
  • การประกัน
  • บริการด้านการเงิน
  • การนำเข้าส่วนบุคคล
  • กิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะที่ไม่แสวงหารผลกำไร
  • ไฟฟ้า
การแจ้งภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ชำระภาษีต้องรายงานและยื่น VAT และชำระประจำทุกเดือน ไม่เกินวันที่ 20 ของเดือน สำหรับการนำเข้า VAT จะต้องชำระต่อศุลกากร ณ เวลาที่นำเข้า

การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ขายหรือผู้ผลิตสินค้าเท่านั้นที่สามารถเรียกคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ โดยกรมสรรพากรจะนำยอดรวมของภาษีมูลค่าเพิ่มที่ขอคืนไปหักออกจากยอดรวมของภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทจะต้องจ่ายจริงจากร้อยละ 10 ของมูลค่าสินค้าหรือบริการที่ได้จำหน่ายไป หากยอดขอคืนน้อยกว่ายอดที่ต้องจ่ายจริง ผู้เสียภาษีจะต้องจ่ายเพิ่ม และหากยอดขอคืนสูงกว่ายอดภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะต้องจ่ายจริง ผู้เสียภาษีจะได้รับการคืนเงินส่วนเกินนั้นๆ

อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม

คำนวณจากยอดขายหรือการให้บริการ ที่เกิดขึ้นภายในประเทศในอัตรา 10% สำหรับกิจการทั่วไป ยกเว้นการจัดเก็บ VAT หรืออัตรา 0% สำหรับสินค้าหรือบริการที่ส่งออก รวมทั้งบริการที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งตามกฎหมายภาษี กำหนดให้

  • กิจการที่มีการซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อนำมาผลิตสินค้าหรือบริการอีกต่อหนึ่ง สามารถนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย ดังนั้น VAT ที่ต้องชำระคือ ส่วนต่างระหว่างภาษีขายและภาษีซื้อ
  • กิจการที่ได้รับการยกเว้น ได้แก่ ไปรษณีย์ โรงพยาบาล บริษัทขนส่งมวลชน บริษัทประกันภัย ธนาคาร ผู้นำเข้าสินค้าเพื่อใช้ส่วนตัว องค์กรไม่แสวงหากำไร สถานทูตและองค์กรระหว่างประเทศ

7.7 ภาษีเฉพาะสำหรับสินค้าและบริการบางประเภท (Specific Tax on Certain Merchandise and Service)

เป็นภาษีเรียกเก็บเพิ่มเติมกับสินค้านำเข้าบางชนิด รวมทั้งสินค้าหรือบริการที่ผลิตภายในประเทศ อัตราภาษีพิเศษสำหรับสินค้าหรือบริการนี้ กำหนดไว้ในรายการภาษีศุลกากรประจำปี (Annual Customs Tariff Schedules) ของกรมศุลกากร

ภาษีพิเศษเป็นอัตราที่คำนวณจากมูลค่านำเข้าของสินค้านั้นๆ หรือตามสัดส่วนของค่าบริการที่เรียกเก็บกับลูกค้าตามใบเสร็จรับเงิน

ภาษีพิเศษสินค้านำเข้าจะถูกจัดเก็บโดยศุลกากร ขณะที่ภาษีพิเศษสินค้าและบริการที่ผลิตในประเทศ บริษัทจะต้องยื่นแบบฟอร์มขอชำระภาษีกับกรมสรรพากรก่อนวันที่ 10 ของเดือนถัดไป

อัตราภาษี          ประเภทสินค้า
 4.35%        เชื้อเพลิงดีเซล
 10%          น้ำมันเครื่อง  น้ำมันเบรก  วัตถุดิบสำหรับผลิตน้ำมันเครื่อง
 10%          รถจักรยานยนต์ ขนาดเกิน 125 cc.

(รวมจักรยานยนต์ 3 ล้อ) และอุปกรณ์ส่วนประกอบ

 10%          ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินทั้งในและระหว่างประเทศ
 10%          เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์หรือบรรจุก๊าซ
 10%          บุหรี่และยาสูบ
 10%          บันเทิง รวมถึงสปา
  3%          ค่าบริการโทรคมนาคม
 15%          ยางรถ  ยางใน และที่ครอบยางใน
 25%          ซิกการ์
 30%          เบียร์
 33.3%        ไวน์

สำหรับสินค้าที่ผลิตในประเทศ ภาษีเฉพาะจะคำนวณจากราคา ณ หน้าโรงงาน สำหรับสินค้านำเข้าคำนวณจากราคา CIF ส่วนบริการโรงแรมและโทรคมนาคมขึ้นอยู่กับราคาใน Invoice ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน ภาษีขึ้นอยู่กับมูลค่าการเดินทางภายในและนอกกัมพูชา

7.8 ภาษียอดขาย (Turn Over Tax)

จัดเก็บจากกิจการที่ไม่ได้จดทะเบียนในระบบ Real Regime และ VAT โดยจัดเก็บในอัตรา 2% จากยอดรายได้รวมของกิจการในแต่ละเดือน โดยให้นำส่งภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป

** ยกเว้น เกษตรกรและผู้ค้ารายย่อย

7.9 ภาษีเงินได้สำหรับลูกจ้าง

เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากยอดรายได้รวมทั้งหมดของลูกจ้างที่ได้รับจากนายจ้าง เช่น เงินเดือน โบนัส ค่าล่วงเวลา เป็นต้น ยกเว้นผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ ที่ควบคุมโดยกฎหมายผลตอบแทน และรายได้อื่นๆ ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินเดือน เช่น เงินที่ได้รับจากการคืนภาษีของนายจ้าง เงินชดเชยการเลิกจ้าง เงินสมทบการจัดหาชุดพนักงานหรืออุปกรณ์ในการทำงาน และค่าเบี้ยงเลี้ยงในการเดินทางและการทำงานนอกสถานที่ของลูกจ้าง ซึ่งต้องไม่สูงกว่าอัตราที่ภาครัฐจ่าย

ผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศกัมพูชา (Resident person) ที่มีรายได้จากเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับจากภายในหรือภายนอกประเทศกัมพูชา และจากผู้ที่มิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศกัมพูชา (non-resident person — หมายรวมถึงผู้ที่พำนักอยู่ในประเทศกัมพูชาเป็นการชั่วคราวหรืออาศัยอยู่ในประเทศกัมพูชาเกิน 182 วัน) แต่มีรายได้จากเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้จากผู้ว่าจ้างที่อยู่ภายในประเทศกัมพูชา ทั้งนี้ ภาษีจะถูกหักจากเงินเดือนเป็นรายเดือนโดยนายจ้างหรือผู้ว่าจ้าง แล้วนำส่งรัฐบาลภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ในอัตราภาษีก้าวหน้าคือ 5%-20% ดังนี้

                   อัตราเงินเดือน                           อัตราภาษี
      เรียล                           เหรียญสหรัฐฯ           ร้อยละ
500,000 หรือน้อยกว่า                125 หรือน้อยกว่า               0
ระหว่าง 500,001 - 1,250,000       ระหว่าง 125 - 312.5          5
ระหว่าง 1,250,000 — 8,500,000     ระหว่าง 312.5 — 2,125       10
ระหว่าง 8,500,000 — 12,500,000    ระหว่าง 2,125 — 3,125       15
สูงกว่า 12,500,000                 สูงกว่า 3,125                20

อัตราภาษีเงินเดือนนี้ แสดงให้เห็นว่าผู้มีรายได้ 4,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน จะต้องเสียภาษีเงินได้ในทุกอัตรา เริ่มจาก ร้อยละ 0 สำหรับ 125 เหรียญสหรัฐฯแรก ร้อยละ 5 ,10, 15 และ 20 ตามลำดับ สำหรับแต่ละยอดของเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น

สำหรับลูกจ้างที่ไม่ใช่ผู้พำนักในกัมพูชาแต่ได้รับเงินเดือนในกัมพูชา จะต้องเสียภาษีเงินได้ร้อยละ 20 ลูกจ้างที่มีภาระต้องดูแลบุตรธิดาที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (25 ปี) จะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้ ประมาณ 19 เหรียญสหรัฐฯ (บังคับใช้กับบิดาหรือมารดาที่มีรายได้ 1 คนต่อ 1 ครอบครัวเท่านั้น)

ทั้งนี้ ผลประโยชน์อื่นที่นายจ้างให้และสามารถประเมินเป็นตัวเงินได้ (Fringe benefits) กำหนดให้เรียกเก็บภาษีอัตราร้อยละ 20 ของมูลค่าผลประโยชน์ตอบแทนนั้นๆ ของลูกจ้าง ซึ่งแต่ละเดือน นายจ้างจะต้องยื่นขอเสียภาษีเงินได้และภาษีผลประโยชน์ตอบแทนของลูกจ้างกับกรมสรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

7.10 ภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นๆ

ภาษีจดทะเบียนโอนกรรมสิทธ์ (Registration Tax) จัดเก็บจากผู้ซื้อหรือผู้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์และต้องการจดทะเบียนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โดยจัดเก็บในอัตรา 4% ของมูลค่าสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์นั้น

ภาษีค่าเช่าที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ (Tax on House and Land Rent) ธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์จะต้องชำระภาษีเงินได้ในอัตรา 10% ของค่าเช่าที่ได้รับ แต่ ไม่ใช้กับกรณีที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว

ภาษีอากรแสตมป์ (Fiscal Stamp Tax) เป็นการจ่ายค่าเอกสารราชการหรือกิจกรรมบางอย่าง เช่น การโฆษณา หรือการรับรองเอกสารเป็นต้น

ภาษีที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ (Tax on Unused Land) ที่ดินในเขตเมืองหรือเขตเฉพาะ หากมิได้มีการใช้ประโยชน์ต้องจ่ายภาษีนี้ โดยคณะกรรมการประเมินที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จะเป็นผู้รับผิดชอบจัดเก็บภาษีดังกล่าว โดยจะประกาศผลการประเมินภาษีที่ต้องชำระในวันที่ 30 มิถุนายน ของทุกปี และให้เจ้าของที่ดินชำระภาษีภายในวันที่ 30 กันยายนของทุกปี ภาษีที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เรียกเก็บในอัตราร้อยละ 2 ของราคาประเมินที่ดิน โดยยกเว้นภาษีเฉพาะพื้นที่ 1,200 ตารางเมตรแรก (300 ตารางวา) ซึ่งคณะกรรมการประเมินที่ดิน ร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่นจะเป็นผู้ทำการประเมินราคา ปัจจุบันการกำหนดพื้นที่ที่ไม่ใช้ประโยชน์เพื่อการเสียภาษี มีความแตกต่างในแต่ละจังหวัด

ภาษีรถยนต์ จัดเก็บจากยานพาหนะที่ต้องจดทะเบียนทุกปี

ภาษีกำไรของเงินปันผล เรียกเก็บในอัตราดังนี้

  • ร้อยละ 20 ของเงินปันผล สำหรับธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นภาษีกำไร
  • ร้อยละ 11 และ 19 สำหรับธุรกิจที่ได้รับการลดหย่อนภาษีกำไรร้อยละ 9
  • ร้อยละ 0 สำหรับธุรกิจที่ได้รับการลดหย่อนภาษีกำไรร้อยละ 20 และร้อยละ 30
ภาษีจดทะเบียน

การขาย แลกเปลี่ยน หรือให้เปล่า สินค้าสังหาริมทรัพย์และยานยนต์บางชนิด เช่น เรือ รถบรรทุก หรือ รถจักรยายนยนต์ เป็นต้น ผู้ที่เป็นเจ้าของสินค้าจะต้องชำระภาษีจดทะบียนทรัพย์สินนั้นๆ ในอัตราร้อยละ 4 ของมูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งต้องชำระภายใน 3 เดือน ของการดำเนินการดังกล่าว ใบรับรองการเป็นเจ้าของจะออกให้ก็ต่อเมื่อได้มีการชำระภาษีจดทะเบียนแล้วเท่านั้น (ประมาณ 25 เหรียญสหรัฐฯ) ภาษีจดทะเบียนนี้บังคับใช้กับการยื่นขอเอกสารการจัดตั้งบริษัท การโอนย้ายกิจการ ขายกิจการ ยกเลิกกิจการ และการทำสัญญาการจัดหาสินค้าและบริการให้กับภาครัฐด้วย

การจัดทำบัญชีภาษี

ผู้เข้ามาลงทุนในกัมพูชาจะต้องเตรียมเอกสารทางการเงินและเอกสารเสียภาษีประจำปี โดยใช้แบบฟอร์มที่กำหนดโดยกรมสรรพากรกัมพูชา เอกสารการบัญชีเพื่อการเสียภาษีดังกล่าวจะต้องส่งให้กรมสรรพากรก่อนวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี ข้อมูลทั้งหมดที่ส่งให้กรมสรรพากรจะต้องอยู่ในรูปของสกุลเงินเรียลกัมพูชา รูปแบบและข้อกำหนดทางบัญชีของกัมพูชาใช้รูปแบบเดียวกับของฝรั่งเศส บริษัทที่ต้องเสียภาษีเกินเพดานภาษีที่กำหนดจะต้องยื่นเอกสารทางบัญชีให้กับผู้ตรวจสอบบัญชีดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องก่อนยื่นต่อกรมสรรพากร ผู้ตรวจสอบบัญชีอิสระนี้จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการรับรองและขึ้นทะเบียนในบัญชีผู้ตรวจสอบบัญชีอิสระของรัฐ

ตามประกาศกรมสรรพากร ฉบับที่ 643 SHV Br. K ได้กำหนดให้บริษัทที่เข้าข่ายข้อหนึ่งข้อใด หรือ 2 ข้อดังต่อไปนี้ จะต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบบัญชีอิสระ

  • มีรายได้ในปีบัญชีนั้นตั้งแต่ 3 พันล้านเรียลขึ้นไป
  • มีมูลค่าของทรัพย์สินซึ่งคำนวณจากมูลค่าเฉลี่ยในปีบัญชีนั้น ตั้งแต่ 2 พันล้านเรียลขึ้นไป
  • มีจำนวนลูกจ้างเฉลี่ยในปีบัญชีนั้น ตั้งแต่ 100 คน ขึ้นไป

ส่วนบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนสิทธิพิเศษทางด้านภาษีจาก CDC ต้องให้ผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบก่อนนำส่งกรมสรรพากร

บทลงโทษสำหรับผู้ชำระภาษีล่าช้าหรือผู้ที่หลีกเลี่ยงการชำระภาษี

ผู้ที่จ่ายภาษีล่าช้าจะต้องจะจ่ายภาษีเพิ่มร้อยละ 10 ของยอดภาษีที่ต้องชำระ พร้อมดอกเบี้ยต่อเดือนร้อยละ 2 ของยอดค้างชำระดังกล่าว สำหรับผู้ที่ละเลยการจ่ายภาษีหลังกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งเตือนแล้วอย่างน้อย 15 วัน จะต้องจ่ายภาษีเพิ่มอีกร้อยละ 25 พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อเดือน

ผู้ที่ไม่ยอมชำระภาษีจะมีความผิดตามกฎหมาย และต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงินระหว่าง 2,500 — 5,000 เหรียญสหรัฐฯหรือถูกจำคุกเป็นเวลา 1-5 ปี และผู้หลีกเลี่ยงการชำระภาษี ต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงินระหว่าง 1,200 — 2,500 เหรียญสหรัฐฯหรือถูกจำคุกเป็นเวลา 1 เดือน ถีง 1 ปี

ค่าธรรมเนียมต่างๆที่เกี่ยวกับการลงทุนหรือประกอบธุรกิจ

นอกจากภาษีแล้ว รัฐบาลกัมพูชายังได้กำหนดค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการลงทุนหรือประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้

    ค่าธรรมเนียม                                   อัตรา
ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนนิติบุคคล                   300-600 เรียล (จ่ายแก่กระทรวงพาณิชย์)
ค่าธรรมเนียมการขอรับการส่งเสริมลงทุนจาก CDC      500-1,000 เรียล
ค่าอากรแสตมป์แจ้งจัดตั้งบริษัท                     100,000 เรียล
ค่าธรรมเนียมแจ้งการควบรวมกิจการ                100,000 เรียล
ค่าธรรมเนียมแจ้งล้มละลาย                       100,000 เรียล
ค่าอากรแสตมป์กรณีทำสัญญากับหน่วยงานรัฐ            100,000 เรียล

8. กฎหมายแรงงาน

การจ้างงานในกัมพูชาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกฎหมายแรงงาน ปี 1997 บังคับใช้โดยกระทรวงการสังคม แรงงาน การฝึกอบรมและฟื้นฟูเยาวชน (Ministry of Social Affairs, Labor, Vocational Training and Youth Rehabilitation : MoSALVY) กฎหมายฉบับนี้ปรับปรุงมาจากฉบับปี 1992 โดยเน้นสร้างความเข้มแข็งด้านอำนาจต่อรองให้กับสหภาพแรงงาน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและมาตรฐานของประเทศที่สมควรได้รับสิทธิพิเศษ MFN

นายจ้างต้องจดทะเบียนการจ้างแรงงานกับ MoSALVY ภายใน 30 วัน นับแต่ประกอบกิจการและต้องรายงานทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในกัมพูชาต้องได้รับใบอนุญาตให้ทำงาน (Work permit) ส่วนชาวกัมพูชาต้องมีสมุดคู่มือการจ้างงาน ซึ่งจดทะเบียนกับ MoSALVY

นักลงทุนต่างชาติไม่ถูกจำกัดสิทธิ์ในการจ้างงานในกัมพูชา ในทางตรงกันข้ามแม้กฎหมายได้กำหนดข้อจำกัดในการจ้างแรงงานที่เป็นต่างชาติ แต่กฎหมายแรงงานของกัมพูชาค่อนข้างอนุโลมในทางปฎิบัติ เนื่องจากกัมพูชามีความต้องการแรงงานที่มีทักษะและประสบการณ์จากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก

แรงงานต่างชาติ

กฎหมายการลงทุนอนุญาตให้จ้างแรงงานต่างชาติพร้อมครอบครัวได้ แต่แรงงานเหล่านี้ต้องมาจากสาขาธุรกิจและทักษะที่ไม่มีในกัมพูชาหรือเป็นที่ต้องการในกัมพูชาเท่านั้น แรงงานต่างชาติที่จะได้รับอนุญาตให้ว่าจ้างได้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  • มีหนังสือประจำตัวแรงงานและได้รับใบอนุญาตทำงานจากกระทรวงแรงงานฯ
  • เดินทางเข้ามาในกัมพูชาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
  • มีสิทธิ์ในการพำนักอยู่ในกัมพูชา
  • มีหนังสือเดินทางที่มีอายุครอบคลุมการจ้างงาน
  • มีชื่อเสียงและพฤติกรรมที่ดี
  • สุขภาพร่างกายเหมาะสมกับงาน
  • ไม่เป็นโรคติดต่อ

ค่าอากรสำหรับสมุดการจ้างงานและบัตรการจ้างงานของชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศกัมพูชา ซึ่งมีกำหนดระยะเวลา อัตรา 100 เหรียญสหรัฐต่อปี ส่วนผู้ซึ่งอยู่อาศัยเป็นการถาวร อัตรา 50 เหรียญสหรัฐต่อปี โดยกำหนดให้ชำระก่อน วันที่ 31 มีนาคม ของแต่ละปี (ตามประกาศเลขที่ 302/97 ลงวันที่ 18 กันยายน 1997 ของกระทรวงกิจการสังคม แรงงานและทหารผ่านศึก)

การทำสมุดการจ้างงานและบัตรการจ้างงานของชาวต่างชาติที่ทำงานในกัมพูชาที่มีกำหนดระยะเวลา ต้องมีเอกสารดังนี้

  • แบบฟอร์มขอทำสมุดการจ้างงานและบัตรการจ้างงาน ซึ่งติดแสตมป์ 1,000 เรียล
  • สำเนาหนังสือเดินทาง
  • ใบอนุญาตให้อยู่อาศัยอย่างถูกต้อง ซึ่งออกโดยกระทรวงมหาดไทย
  • หนังสือรับรองสุขภาพ จากกรมแพทย์แรงงาน
  • ค่าอากร 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ
  • รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 4 ใบ

สำหรับชาวต่างชาติที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปและอยู่อาศัยเป็นการถาวร ต้องมีเอกสารดังนี้

  • แบบฟอร์มขอทำสมุดการจ้างงานและบัตรการจ้างงานซึ่งติดอากรแสตมป์ 1,000 เรียล
  • ใบอนุญาตให้อยู่อาศัยเป็นการถาวรในกัมพูชา ซึ่งออกให้โดยกระทรวงมหาดไทย
  • ค่าอากร 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ
  • รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 4 ใบ

ชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานต้องชำระค่าอากรสมุดการจ้างงานและบัตรการจ้างงาน ภายในเดือนมีนาคมของแต่ละปี ผู้ที่ไม่ชำระค่าอากรตามระยะเวลาที่กำหนด จะถูกปรับเท่าตัวตามจำนวนปีที่ไม่ได้ชำระ (ตามประกาศ เลขที่ 520 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 1997 ของกระทรวงกิจการสังคม แรงงานและทหารผ่านศึก) ห้ามเจ้าของโรงงาน หรือ ผู้ประกอบการ จ้างแรงงานชาวต่างชาติที่ไม่มีสมุดการจ้างงานและบัตรการจ้างงาน และห้ามจ้างแรงงานชาวต่างชาติเกินกว่าร้อยละ10 ของจำนวนแรงงานชาวกัมพูชาในแต่ละสถานประกอบการ โดยจำนวนสูงสุด 10% นี้สามารถจ้างแรงงานต่างชาติได้ในสัดส่วนดังนี้

  • เจ้าหน้าที่ทำงานในสำนักงานไม่เกิน 3%
  • ผู้เชี่ยวชาญไม่เกิน 6%
  • คนงานที่ไม่มีความชำนาญไม่เกิน 1%

ในกรณีที่ต้องจ้างเจ้าหน้าที่ หรือผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติเกินกว่าจำนวนที่กำหนดโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เจ้าของโรงงานหรือผู้ประกอบการต้องทำหนังสือขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกระทรวงกิจการสังคม แรงงาน และทหารผ่านศึก

สัญญาจ้างแรงงานชาวต่างชาติทุกคน ต้องจัดทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมระบุเงื่อนไขของอาชีพและเหตุผลอื่นๆ ที่จำเป็นให้ชัดเจน (ตามประกาศเลขที่ 185 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 1997 ของกระทรวงกิจการสังคม แรงงาน และทหารผ่านศึก)

ผู้ว่าจ้างต้องเตรียมเอกสารเกี่ยวกับลูกจ้างเพื่อขอวีซ่าทำงานให้กับลูกจ้าง กฎหมายกัมพูชาไม่จำกัดจำนวนลูกจ้างชาวต่างชาติ ที่บริษัทสามารถว่าจ้างได้ โดยเฉพาะในระดับบริหาร อย่างไรก็ตามกฎหมายกำหนดเพดานการจ้างแรงงานชาวต่างชาติไว้ที่ไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด

พันธกิจในการรายงาน

ตามกฎหมายแรงงานฯบริษัทจะต้องทำหนังสือแจ้งกระทรวงฯ ทุกครั้งที่มีการจ้างหรือไล่พนักงานออก รวมทั้งในกรณีหยุดดำเนินการธุรกิจ ซึ่งทุกบริษัทจะต้องมีหนังสือการเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน หนังสือรายงานพนักงาน และหนังสือการจัดตั้งบริษัท ซึ่งรูปแบบรายละเอียดอยู่ในกฎหมายแรงงานฯ โดยผู้ตรวจสอบการจ้างงานที่ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงจะเป็นคนลงนามการตรวจสอบในหนังสือดังกล่าวทุกครั้ง บริษัทใดที่มีการจ้างงานมากกว่า 8 คนขึ้นไปจะต้องมีข้อกำหนดและระเบียบปฎิบัติภายในให้กับแรงงานเหล่านั้นได้รับทราบและถือปฎิบัติ ซึ่งข้อกำหนดนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ตรวจสอบการจ้างงานของกระทรวง

สัญญาการจ้างงาน

การจ้างแรงงานที่เป็นชาวกัมพูชาอาจทำเป็นสัญญาว่าจ้างที่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือสัญญาปากเปล่าก็ได้ แต่การจ้างแรงงานที่เป็นชาวต่างชาติจะต้องมีสัญญาการจ้างงานที่ชัดเจน สัญญาการจ้างงานที่มีกำหนดเวลาเกิน 2 ปี ให้ถือว่าเป็นสัญญาจ้างถาวร ระยะเวลาในการทดลองงานไม่ควรเกิน 1 เดือนสำหรับแรงงานที่ไม่มีทักษะ ไม่เกิน 2 เดือน สำหรับแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ และไม่เกิน 3 เดือนสำหรับแรงงานทั่วไป

การจ้างงานที่ไม่จำกัดระยะเวลาจะต้องจัดทำเป็นข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง ซึ่งนายจ้างมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาจ้างตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกการจ้างโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร มีสิทธิ์ในการเรียกร้องค่าชดเชยและค่าเสียหายต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ยกเว้นกรณีที่ลูกจ้างถูกไล่ออกเนื่องจากกระทำความผิดตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดและระเบียบภายในของบริษัท

แรงงานและสหภาพแรงงาน

กฎหมายแรงงานปี 1997 ให้สิทธิพิเศษแก่แรงงานในการก่อตั้งและรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงาน ซึ่งผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิ์ปฎิเสธการจ้างแรงงานที่เป็นสมาชิกสหภาพได้ ลูกจ้างและผู้ว่าจ้างสามารถเลือกบุคคลที่เป็นกลางขึ้นมาเป็นตัวประสานหรือตัวเชื่อมในองค์กรได้

กฎหมายกำหนดให้แรงงานมีสิทธิ์ในการสไตร์ค โดยจะต้องเป็นผลมาจากการลงประชามติของสมาชิกในสหภาพแรงงานนั้นๆ ซึ่งก่อนการสไตร์คใดๆ สหภาพแรงงานจะต้องแจ้งให้นายจ้างและกระทรวงแรงงานทราบล่วงหน้าก่อนอย่างน้อย 7 วัน การสไตร์คต้องเป็นไปด้วยความสงบ โดยต้องไม่ขัดขวางการทำงานของพนักงานคนอื่นๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วมการสไตร์ค

ค่าจ้าง

กัมพูชาไม่มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ยกเว้นในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่มีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำไว้ที่ 45 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน (ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2551 ปรับเป็น 51 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน สำหรับในระยะฝึกงาน และ 50 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือนเมื่อผ่านระยะฝึกงาน)

การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำในอุตสาหกรรมอื่นๆ ให้เป็นไปในแนวทางที่สนับสนุนการครองชีพประจำวันและต้องเป็นไปเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรม

โดยทั่วไปอัตราจ้างในกัมพูชา กำหนดในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯมีดังนี้

           อัตราค่าจ้างต่อเดือน(US$)                ประเภทของแรงงาน
                    50-60                แรงงานหนัก เช่น กรรมกรแบกหาม คนงานก่อสร้าง
                    100-150              ลูกจ้างทั่วไปเช่น คนขับรถพนักงานขายของพนักงานส่งของ
                    150-300              เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน
          800-1,000 หรือมากกว่า            เจ้าหน้าที่บริหารระดับต้น

ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิการแรงงาน

กฎหมายแรงงานได้กำหนดเงื่อนไขและผลประโยชน์ในการจ้างงานต่างๆ เช่น การจ่ายค่าทดแทน ชั่วโมงในการทำงาน การลางาน การลาคลอด วันหยุด กฎระเบียบการจ้างแรงงานเด็กและสตรี เป็นต้น

ชั่วโมงในการทำงานสูงสุดต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยให้มีการจ่ายค่าล่วงเวลาการทำงาน ปกติอยู่ระหว่าง 1.30 ถึง 2.0 เท่าของอัตราค่าจ้างปกติ

กฏหมายกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาหยุดประจำปี ได้ปีละ 18 วัน เพิ่มขึ้นปีละ 1 วัน หลังการจ้างงานครบ 3 ปีขึ้นไป การลาคลอด อนุญาตให้ลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป สามารถลาคลอดได้ 90 วัน โดยให้ได้รับค่าจ้างครึ่งหนึ่งของเงินเดือน การลาในกรณีอื่นๆ สามารถลาได้ไม่เกิน 7 วันต่อปี ซึ่งจำนวนนี้สามารถนำไปหักออกจากจำนวนวันลาประจำปีได้

บริษัทที่มีการจ้างลูกจ้างที่เป็นสตรีมากกว่า 100 คนขึ้นไป จะต้องจัดหาสถานที่รับเลี้ยงและดูแลเด็ก หากไม่มีสถานที่รับเลี้ยงดังกล่าวนายจ้างจะต้องจ่ายค่ารับเลี้ยงเด็กให้กับลูกจ้างแทน

ความปลอดภัยในที่ทำงาน

นายจ้างต้องปฎิบัติตามกฎข้อบังคับของกระทรวงแรงงานฯ เกี่ยวกับความปลอดภัยในที่ทำงาน การเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุใดที่เกิดขึ้นจากการทำงาน นายจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษา ยกเว้นอุบัติเหตุนั้นๆ เกิดจากความประมาทของลูกจ้างเอง นายจ้างต้องรายงานอุบัติเหตุที่เกิดในที่ทำงานให้กระทรวงแรงงานฯ ทราบเพื่อร่วมกันหาทางแก้ไขปรับปรุง

หากอุบัติเหตุเป็นผลให้ลูกจ้างต้องหยุดทำงานเป็นเวลาไม่เกิน 4 วัน ให้มีสิทธิในการรับค่าจ้างตามปกติ และหากหยุดงานเกิน 4 วันแต่ไม่เกิน 20 วัน ให้ลูกจ้างนั้นๆ มีสิทธิ์รับค่าชดเชยรายวันเพิ่มเติม (คำนวณจากค่าจ้างเฉลี่ยประจำวัน) หากอุบัติเหตุทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายสาหัสและต้องหยุดงานเกิน 20 วันขึ้นไป ให้ทายาทหรือผู้รับผลประโยชน์ของลูกจ้างได้รับเงินชดเชยตามที่กฎหมยกำหนด

กฎหมายกัมพูชาให้อำนาจศาลพิจารณาว่านายจ้างควรจะจ่ายเท่าไรหรือลูกจ้างสมควรจะได้รับเงินชดเชยเท่าใด โดยพิจารณาจากสาเหตุของอุบัติเหตุเป็นหลัก

การแก้ปัญาข้อพิพาทที่เกิดจากการจ้างงาน

ปัญหาข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในเบื้องต้น ควรได้รับการไกล่เกลี่ยโดยผู้ตรวจการจ้างงานระดับท้องถิ่นหรือจังหวัด หากพบว่าผลการไกล่เกลี่ยล้มเหลว ให้นำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล

การแก้ปัญาข้อพิพาทที่เกิดจากการจ้างงาน

ปัญหาข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในเบื้องต้น ควรได้รับการไกล่เกลี่ยโดยผู้ตรวจการจ้างงานระดับท้องถิ่นหรือจังหวัด หากพบว่าผลการไกล่เกลี่ยล้มเหลว ให้นำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล

ปัจจุบันกัมพูชายังไม่มีศาลแรงงาน ดังนั้นกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทการจ้างงานทุกระดับจึงเกิดขึ้นที่ศาลแขวงหรือศาลจังหวัดเป็นส่วนใหญ่

9 . กฎหมายที่ดิน
กฎหมายที่ดิน ปี 2001

เป็นกฎหมายที่ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับการลงทุนมากขึ้น โดยมีรายละเอียดด้านสิทธิในการถือครองที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน การเช่า/สัมปทานที่ดินของรัฐ และการเช่าซื้อ เป็นต้น กฎหมายฉบับนี้บังคับใช้ร่วมกับกฎหมายที่ดินปี 1992 โดยมีคณะกรรมการที่ดินระดับท้องถิ่นและคณะกรรมการที่ดินระดับประเทศ เป็นผู้รับผิดชอบภายใต้กฎหมายนี้

อย่างไรก็ตาม กฎระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนรายละเอียดการแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมอยู่ระหว่างการ ดำเนินการของกระทรวงการพัฒนาที่ดิน การผังเมือง และการก่อสร้าง ซึ่งนักลงทุนจะต้องติดตามความคืบหน้าอยู่ตลอดเวลาเพื่อสิทธิประโยชน์ต่างๆที่ควรได้

โครงสร้างการลงทุนในที่ดิน

ผู้ที่มีสิทธิในการถือครองที่ดินในกัมพูชา ได้แก่ ผู้ที่มีสัญชาติกัมพูชาและนิติบุคคลที่มีสิทธิเสมือนเป็นชาวกัมพูชา ซึ่งได้แก่นิติบุคคลที่มีชาวกัมพูชาถือหุ้นและมีสิทธิในการออกเสียงร้อยละ 51 ขึ้นไป นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่นิยมเช่าที่ดินเพื่อการลงทุนในระยะยาว (15 ปีขึ้นไป) การโดยขอสัมปทานจากภาครัฐ หรือการเป็นผู้ครองสิทธิรายย่อย (ร้อยละ 49) ในบริษัทที่มีชาวกัมพูชาเป็นเจ้าของ

ชาวต่างชาติไม่มีสิทธิถือครองที่ดินตามกฎหมายของกัมพูชา แต่สามารถทำสัญญาเช่าที่ดินเพื่อการลงทุนระยะยาว ซึ่งอนุญาตให้มีการซื้อขายหรือเช่าต่อสัญญาเช่านั้นๆ หรือใช้ค้ำประกันการกู้ยืมเพื่อการลงทุน สัญญาเช่าระยะยาว ต้องมีอายุของสัญญาอย่างน้อย 15 ปี ผู้เช่าสามารถสร้างสิ่งก่อสร้างในที่ดินนั้นๆได้ แต่เงื่อนไขสิทธิในสิ่งก่อสร้างดังกล่าวยังไม่มีการกำหนดในกฎหมาย

ณ ปัจจุบัน รัฐไม่มีสิทธิยึดคืนที่ดินที่เช่าเพื่อการลงทุนดังกล่าว ยกเว้นในกรณีที่ต้องใช้ที่ดินผืนนั้นเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่ต้องมีการจ่ายค่าเวนคืนที่เหมาะสมและยุติธรรม

การถือครองที่ดิน

กัมพูชาเพิ่งประกาศใช้กฎหมายการถือครองที่ดินเมื่อไม่นานมานี้ ดังนั้น นักลงทุนต่างชาติต้องศึกษาและทำความเข้าใจให้ถี่ถ้วนเกี่ยวกับการถือครองหรือความเป็นเจ้าของที่ดินก่อนการเช่าทำธุรกิจ ที่ดินบางที่อาจเปิดโอกาสให้มีการถือครองได้ร้อยเปอร์เซนต์ ในขณะบางที่อาจให้ครอบครองเพื่อการทำกินหรือใช้ประโยชน์ชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งรัฐอาจยึดครองเมื่อใดก็ได้ ดังนั้นการทำความเข้าใจในเรื่องสิทธิการถือครองที่ดินแปลงนั้นๆ จึงเป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อรักษาผลประโยชน์ในการลงทุน

การปฎิรูปกฎหมายกรรมสิทธิที่ดิน
  • ก่อนปี 1975 ภายใต้การปกครองของเขมรแดง ที่ดินอยู่ภายใต้การถือครองของรัฐทั้งหมด
  • จากปี 1979 เป็นต้นมา หลังการล่มสลายของเขมรแดง ที่ดินเป็นของรัฐแต่อนุญาตให้มีการถือครองเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรมและก่อสร้างที่พักอาศัยได้ โดยรัฐบาลออกบัตรกรรมสิทธิถือครองที่ดินให้ผู้อยู่อาศัยในที่ดินนั้นๆ
  • ปี 1989 เริ่มอนุญาตให้มีการร้องกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดินส่วนบุคคลได้
การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน

รัฐบาลกัมพูชารับรองสิทธิของแต่ละบุคคลในการใช้ที่ดินโดยการออก Certificate of Land Use and Procession ซึ่งเทียบเท่ากับการมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินและทรัพย์สินที่อยู่บนที่ดินดังกล่าว อย่างไรก็ตาม แม้ว่าใบรับรองแสดงความเป็นเจ้าของที่ออกอย่างเป็นทางการจะยังมีใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่มีเจ้าของที่ดินน้อยรายที่ได้รับใบรับรองดังกล่าว ดังนั้น นักลงทุนจึงควรตรวจสอบก่อนเข้าไปลงทุนว่าเจ้าของที่ดินมีเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของที่ยังใช้ได้อยู่ และได้ลงทะเบียนไว้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกัมพูชาแล้ว สิทธิประโยชน์ของนักลงทุนต่างชาติจะได้รับ แบ่งเป็น

  • หากเป็นสัญญาเช่าที่ดินระยะยาวจะไม่มีข้อจำกัดด้านระยะเวลาในการเช่า
  • หากเป็นสัญญาเช่าที่ดินระยะสั้นที่มีการกำหนดเวลาในการเช่าไว้ สามารถต่ออายุใหม่ได้

นอกจากนี้ กฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ ยังอนุญาตให้นักลงทุนสามารถใช้ดินเป็นหลักประกันในการจดจำนอง รวมทั้งสามารถโอนสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ และทรัพย์สินส่วนบุคคลที่ปลูกสร้างบนที่ดินแปลงดังกล่าวได้อีกด้วย แต่ต้องไม่เกินกำหนดเวลาในสัญญาเช่าที่ดิน

ประเด็นปัญหา

การอนุญาตให้มีการเรียกร้องสิทธิครอบครองที่ดินส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เนื่องจากกฎหมายได้กำหนดให้การขอกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดิน ต้องได้รับการลงลายมือชื่อยินยอมและเห็นพ้องต้องกันของผู้มีสิทธิ์ทุกๆคนในครอบครัว โดยการพิจารณาจะถือเอาสิทธิ์ในการถือตามบัตรกรรมสิทธิ์ที่รัฐเป็นผู้ออกให้

สถานการณ์ปัจจุบันของกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดิน

หลังการประกาศใช้กฎหมายที่ดิน ปี 2001 มีการออกเอกสารสิทธิ์ในการถือครองที่ดินเพิ่มขึ้น ซึ่งนักลงทุนสามารถตรวจสอบเอกสารสิทธิ์กับกระทรวงการพัฒนาที่ดิน การผังเมือง และการก่อสร้าง ก่อนตกลงเช่าที่ดินแปลงนั้นๆ

การใช้ที่ดินเป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันเงินกู้

ที่ดินที่สามารถใช้เป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันเงินกู้ได้แก่ ที่ดินที่สามารถจำนองได้ที่มีโฉนดที่ดินตามกฎหมายเท่านั้น

การจำนองหรือโอนถ่ายกรรมสิทธิ์ในการเช่าที่ดินแบบระยะยาว

สามารถกระทำได้ โดยระยะเวลาในการจำนองหรือโอนถ่ายสิทธิ์นั้นต้องไม่เกินระยะเวลาตามสัญญาเช่าที่กระทำไว้

ที่ดินของรัฐ

ประกอบด้วยที่ดินสาธารณะ และที่ดินของรัฐ ซึ่งบุคคลทั่วไปไม่สามารถถือครองสิทธิ์ ขาย หรือให้เช่าได้ แต่เป็นที่ดินที่รัฐสามารถเปิดให้เอกชนเช่าในระยะยาวได้ (15 ปี ขึ้นไป) หรือซื้อขายได้ ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามกฎหมายพิเศษที่กำกับดูแลเป็นการเฉพาะ

การขาย ให้เช่า หรือ แลกเปลี่ยนที่ดินของรัฐ

รายละเอียด ตลอดจน กฎระเบียบ ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องปรากฎอยู่ในประกาศนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 129 (Sub Decree 129)

การให้เช่าพื้นที่สาธารณประโยชน์ของรัฐ

พื้นที่ที่สามารถให้เช่า ต้องเป็นพื้นที่ที่อยู่ในรายการทรัพย์สินให้เช่าของรัฐ ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานบริหารจัดการทรัพย์สินของรัฐ และต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลก่อนการให้เช่าทุกครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการเช่า ดังนี้

  • ผู้เช่าจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงหรือทำลายทรัพย์สินที่ให้เช่านั้น
  • จะต้องไม่แก้ไขหรือปรับปรุงรายการใดที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ประโยชน์ของสาธารณะชน
การให้เช่าหรือขายที่ดินส่วนของรัฐ

เงื่อนไขต้องเป็นไปตามประกาศของกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง (MEF) และต้องเป็นการเปิดให้มีการประมูลอย่างเป็นทางการ ใช้ราคาตลาดเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน การต่อรองราคาหรือเจรจาเงื่อนไขในการเช่าหรือซื้อจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อ

1) กระบวนการเปิดประมูลล้มเหลว

2) ความพิเศษของพื้นที่ที่ต้องมีการตกลงเงื่อนไขหรือแนวปฎิบัติกับภาครัฐ

3) มีผู้สนใจเช่าหรือซื้อเพียง 1 ราย

การแลกเปลี่ยนที่ดินส่วนของรัฐ

จะกระทำได้เมื่อที่ดินนั้นมีความเหมาะสมต่อการพัฒนาทางธุรกิจของเอกชน และเมื่อภาครัฐต้องการที่ดินในเขตอื่นๆ เพื่อการก่อสร้างอาคารสำนักงาน เงื่อนไขในการแลกเปลี่ยนปรากฏในประกาศนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 129 (Sub Decree 129)

กรอบกฎหมายใหม่ในการให้สัมปทานที่ดินของรัฐ
ภายใต้กฎหมายที่ดินปี 2001 การให้สัมปทานที่ดินของรัฐ มีเหตุผล 3 ประการ คือ

(1) เหตุผลทางสังคม

(2) เหตุผลทางเศรษฐกิจ

(3) เหตุผลเพื่อการใช้ประโยชน์ การพัฒนา และการสำรวจต่างๆ

การให้สัมปทานที่ดินเพื่อกิจกรรมทางสังคม

กิจกรรมทางสังคมที่รัฐจะให้สัมปทานที่ดินต้องเป็นกิจกรรมก่อสร้างที่อยู่อาศัยและกิจกรรมทางการเกษตร เท่านั้น และเฉพาะบุคคลสัญชาติกัมพูชาเท่านั้นที่มีสิทธิได้รับสัมปทานดังกล่าว

การให้สัมทานที่ดินเพื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การใช้ประโยชน์ การพัฒนา และการสำรวจต่างๆ

นักลงทุนจากต่างประเทศที่สนใจสัมปทานที่ดินของรัฐเพื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถยื่นขอรับสัมปทานจากหน่วยงานของรัฐที่ถือครองที่ดินแปลงนั้นๆ ซึ่งหน่วยงานของรัฐจะขอความเห็นชอบจากกระทรวงการเศรษฐกิจและการคลัง ก่อนการยื่นขออนุมัติจากรัฐบาลต่อไป

กรอบกฎหมายใหม่ในการให้สัมปทานที่ดินของรัฐเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

ปัจจุบันรัฐบาลอยู่ระหว่างการพิจารณากฎหมายการให้สัมปทานของรัฐ ซึ่งครอบคลุมการให้สัมปทานที่ดินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวด้วย

กฎหมายการให้สัมปทานของรัฐ

มีเป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้สัมปทานเพื่อโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ มีเนื้อหาโดยย่อดังนี้

1) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีสิทธิได้รับสัมปทานตามกฎหมายนี้ ได้แก่ โครงการ

  • พัฒนา จำหน่ายและกระจายพลังงานไฟฟ้า
  • คมนาคมขนส่ง เช่น ถนน สะพาน สนามบิน ท่าเรือ รางรถไฟ และคลอง
  • น้ำประปาและการกำจัดน้ำเสีย
  • โครงข่ายโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สิ่งอำนวยความสะดวกและแหล่งท่องเที่ยว
  • โครงข่ายขนส่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน
  • การระบายและกำจัดขยะมูลฝอย
  • ระบบบำบัดน้ำเสีย
  • โครงสร้างพื้นฐานทางสาธารณสุข การศึกษา และการกีฬา
  • โครงการก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษและการเคหะ
  • การชลประทานและโครงสร้างพื้นฐานทางเกษตรกรรม
  • โครงการต่างๆ ที่กฎหมายฉบับอื่นๆ กำหนดให้ได้รับสัมปทานจากรัฐ

2) การคัดเลือกผู้รับสัมปทาน

ทำการคัดเลือกผ่านระบบประมูลหรือระบบเจรจาต่อรอง ซึ่งเงื่อนไขและขั้นตอนต่างๆ อยู่ระหว่างการพิจารณาในกฎหมายลูก

3) สัญญาสัมปทาน

หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องลงนามในสัญญาสัมปทานภายในเวลา 6 เดือนหลังทราบผลการคัดเลือกผู้รับสัมปทาน ซึ่งรูปแบบของสัญญาสัมปทานจะต้องใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ดังนี้

  • BOT (Build, Operate and Transfer)
  • BLT (Build, Lease and Transfer)
  • BTO (Build, Transfer and Operate)
  • BOO (Build, Own and Operate)
  • BOOT (Build, Own, Operate and Transfer)
  • BCT (Build, Co-operate and Transfer)
  • EOT (Expand, Operate and Transfer)
  • MOT (Modernize, Operate and Transfer)
  • MOO (Modernize, Own and Operate)
  • รูปแบบผสมอื่นๆ

กฎหมายดังกล่าวยังกำหนดรายละเอียดอื่นๆของสัญญา เช่น มาตรฐานของโครงการ สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ การใช้บริการที่เกี่ยวข้อง การจ่ายเงิน ข้อผูกมัดสัญญา เป็นต้น โดยโครงการสัมปทานต้องมีอายุไม่เกิน 30 ปี ยกเว้นรัฐบาลมีความเห็นให้ต่อสัญญาสัมปทานออกไป

10. การเงินและการธนาคาร

ภาคการเงินและการธนาคารของกัมพูชาอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายการเงินและสถาบันการเงิน (18 พฤศจิกายน 1999) กฎหมายประกันภัย (25 กรกฎาคม 2000) และกฎหมายอีกหลายฉบับว่าด้วยธนาคารชาติ กฎหมายที่ออกโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังระหว่างปี 2000-2001

กฎหมายธนาคารกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับและแนวทางการดำเนินกิจกรรมด้านการเงินของธนาคาร กฏหมายประกันภัยกำหนดกฎระเบียบข้อบังคับการดำเนินกิจกรรมประกันภัยภายใต้การดูแลของกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง เพื่อให้ครบวงจรการควบคุมดูแลด้านการเงินและการธนาคารของประเทศ รัฐบาลกัมพูชาได้ออกกฎหมายหลายฉบับเช่น กฎหมายป้องกันการฟอกเงิน กฎหมายความปลอดภัยของกระบวนการทางการเงิน เป็นต้น

ปัจจุบันธนาคารแห่งชาติกัมพูชาได้ออกมาตรการเพื่อลดสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ และกำหนดเพิ่มเงินทุนขั้นต่ำของธนาคารพาณิชย์เป็น 37.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งทุกแบงก์จะต้องเพิ่มเงินทุนให้ครบตามข้อกำหนดภายในปี 2010 และกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องมีคุณสมบัติเหมาะสมในการให้บริการ

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา

หลังจากการสิ้นสุดของยุคเขมรแดง ปี 1979 รัฐบาลกัมพูชาได้ก่อตั้งธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (National Bank of Cambodia : NBC) เป็นธนาคารกลางของรัฐมีหน้าที่ออกกฎระเบียบและควบคุมดูแลสถาบันการเงินในกัมพูชา และมีอำนาจในการควบคุมกิจกรรมทางการเงิน เครดิต การแลกเปลี่ยนเงินตรา และการแลกเปลี่ยนอัญมนี เป็นต้น

ภายใต้กฎหมายธนาคารฉบับปัจจุบัน ธนาคารกลางมีอำนาจในการกำกับและควบคุมธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างสูง เช่น สามารถเรียกดูสถานภาพทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ ตรวจสอบและแต่งตั้งผู้ตรวจสอบสถานภาพทางการเงิน การดำเนินงานและแต่งตั้งคณะทำงานเข้ามาควบคุม ดูแล หรือดำเนินกิจการแทนคณะผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ใดๆก็ได้ นอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ตามปกติ เช่น การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน การกำหนดเวลาเปิดทำการของธนาคาร เป็นต้น

ธนาคารพาณิชย์

กฎหมายธนาคารของกัมพูชาได้จัดประเภทของสถาบันการเงินออกเป็น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจ สถาบันการเงินพิเศษ และสถาบันการเงินขนาดเล็ก

สถาบันการเงินทุกประเภทจะต้องจดทะเบียนพาณิชย์และขออนุญาตดำเนินกิจการทางการเงินกับธนาคารแห่งชาติ ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งที่เกิดขึ้นก่อนการบังคับใช้ของกฎหมายธนาคารในปี 1999 จะต้องจดทะเบียนกับธนาคารแห่งชาติและต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อกว่า 13.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯฯ จึงจะสามารถเปิดให้บริการกิจกรรมทางการเงินและการธนาคารได้

ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับใบอนุญาตในกัมพูชามี 24 ธนาคารส่วนธนาคารต่างประเทศที่มีสาขาและให้บริการในกัมพูชา ประกอบด้วย First Commercial Bank, Maybank, Krungthai Bank, Adavance Bank of Asia, Canadia Bank, Singapore Banking Corporation เป็นต้น ซึ่งทำให้การโอนเงินภายในประเทศทำได้สะดวกขึ้น

การประกันภัย

ภายใต้กฎหมายประกันภัย บริษัท และตัวแทนธุรกิจประกันภัยทุกประเภท จะต้องจดทะเบียนประกันความเสี่ยง ทะเบียนขายประกัน และทะเบียนธุรกิจในกัมพูชา ซึ่งบริษัทหรือตัวแทนประกันทุกประเภทจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการในรูปของบริษัทจำกัดเท่านั้น

บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันภัยทั่วไปจะต้องมีทุนจดทะเบียนอย่างน้อย 7.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจทั้งสองประเภท จะต้องมีทุนจดทะเบียนประมาณ 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้บริษัทประกันภัยที่ได้รับอนุญาตทุกประเภทจะต้องมีทุนสำรองฝากไว้กับธนาคารแห่งชาติกัมพูชาร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน ทุนสำรองนี้จะส่งคืนเมื่อบริษัทนั้นๆ เลิกดำเนินธุรกิจในกัมพูชา

ประกันกัยที่เป็นภาคบังคับในกัมพูชา ได้แก่ ประกันภัยรถยนต์สำหรับบุคคลที่สาม ประกันภัยอาคาร ประกันภัยการซ่อมแซม ประกันภัยการก่อสร้างของภาคเอกชน/ผู้รับเหมาก่อสร้างที่ไม่ใช่ภาครัฐ

การให้บริการทางการเงินและการประกันความเสี่ยงกิจกรรมทางการเงิน

สิทธิในการให้บริการทางการเงินของบริษัทให้กู้ยืมได้รับการคุ้มครองและดูแลภายใต้กฎหมายประกันความเสี่ยงกิจกรรมทางการเงิน ปี 2007 อนุญาตให้ใช้หลักทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ในการประกันการกู้ยืมต่างๆ

สกุลเงิน และการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ

สกุลเงินที่ใช้ในกัมพูชาคือ สกุลเงินเรียล ที่นำออกมาใช้ตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา มีอัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างมีเสถียรภาพที่ประมาณ 4,000 เรียลต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ

กัมพูชาไม่มีกฎหมายการห้ามนำผลกำไรออกนอกประเทศ ตามกฎหมายการลงทุนในปี 2003 กำหนดให้มีการนำเงินที่เป็นผลกำไรในการดำเนินธุรกิจออกนอกประเทศได้อย่างเสรี โดยเฉพาะการนำเงินออกนอกประเทศ เพื่อ

  • จ่ายค่านำเข้าสินค้า จ่ายค่าเงินต้นและค่าดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากนอกประเทศ
  • จ่ายค่าภาคหลวงและค่าจ้างบริหารจัดการ
  • ผลประโยชน์ที่เป็นกำไรของบริษัท
  • เงินทุนที่ใช้ในการลงทุนหลังบริษัทหยุดดำเนินกิจกรรมในกัมพูชา

การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสามารถดำเนินการได้อย่างอิสระผ่านระบบธนาคารและตัวแทนแลกเปลี่ยนที่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ ปกติหน่วยงานที่ดำเนินธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตรานี้จะต้องรายงานให้ธนาคารชาติทราบสำหรับการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่มีมูลค่ามากกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯขึ้นไป การแลกเปลี่ยน/โอนย้าย/หรือกิจกรรมทางการเงินเพื่อธุรกิจ บริษัทไม่ต้องรายงานให้กับธนาคารชาติทราบ แต่ธนาคารที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวให้กับบริษัทจะต้องรายงานให้ธนาคารชาติกัมพูชาทราบแทน

ธนาคารชาติสงวนสิทธิ์ในการควบคุมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ หริอเกิดวิกฤติทางการเงิน

ตราสารหนี้

กฎหมายตราสารหนี้ มีผลบังคับใช้ในกัมพูชาในปี 2005 เป็นต้นมา โดยกำหนดรูปแบบตราสารหนี้ การบังคับใช้ และบทลงโทษที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบทลงโทษอาจเป็นทั้งการปรับเงินสินไหมทดแทนแทนระหว่าง 5-50 ล้านเรียล หรือจำคุกระหว่าง 2-5 ปี บังคับใช้กับทั้งบุคคลและบริษัทที่กระทำผิด

11. การส่งเสริมการลงทุน

เพื่อจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน และสร้างงานอันจะก่อให้เกิดรายได้กับประชาชนและเร่งรัดการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลกัมพูชาได้ออกกฎหมายส่งเสริมการลงทุน พ.ศ 2537 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ 2546) ให้ความมั่นใจแก่นักลงทุนว่าจะได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินในทุกๆ ด้านเท่าเทียมกับบุคคลในชาติ และไม่ใช้นโยบายกำหนดราคาสินค้าหรือบริการกับโครงการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริม พร้อมให้สิทธิประโยชน์อื่นๆ อาทิ

  • การยกเว้นภาษีเงินได้จากกำไร (Tax holiday)
  • การยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์และวัสดุก่อสร้างสำหรับโครงการที่ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และการยกเว้นอากรนำเข้าวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จรูป และส่วนประกอบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออกและการผลิตสินค้าที่ต่อเนื่องกัน (Supporting Industry)
  • การรับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้จากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 9 ภายหลังจากการยกเว้นภาษีเงินได้
  • สามารถจ้างและนำคนต่างด้าวเข้ามาอยู่และทำงานในหน้าที่ผู้จัดการ ช่างเทคนิค ช่างฝีมือผู้ชำนาญการ รวมทั้งบุตรและคู่สมรสของบุคคลดังกล่าว
  • สามารถเข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับสัมปทานจากภาครัฐ หรือที่เช่าจากเอกชน รวมทั้งสามารถนำที่ดินดังกล่าวไปเป็นหลักประกันการกู้เงินในระยะเวลาที่ได้รับสัมปทานหรือเช่า ยกเว้นที่ดินที่ได้รับสัมปทานแต่ยังไม่ได้รับการพัฒนา
  • สามารถซื้อและส่งออกเงินตราต่างประเทศเพื่อชำระค่าสินค้า เงินต้น ดอกเบี้ย ค่าใช้สิทธิ ค่าจัดการ รวมทั้งส่งออกกำไรหรือเงินทุนกลับประเทศได้ทั้งระหว่างและภายหลังเลิกโครงการ ทั้งนี้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่นำเข้าโดยปลอดอากรไม่ถึง 5 ปี เมื่อเลิกโครงการต้องชำระอากรที่พึงมี
กฎหมายการลงทุน
หน่วยงานรับผิดชอบ

กฎหมายกำหนดให้ The Council for the Development of Cambodia หรือ CDC ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี สมเด็จฯ ฮุน เซน เป็นประธาน ประกอบกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจและผู้แทนหน่วยงานอีก 34 แห่ง เป็นคณะกรรมการ มีหน้าที่หลัก 2 ด้าน ๆ หนึ่งคือการพิจารณาประสานความช่วยเหลือกับรัฐบาลต่างชาติ องค์กรระหว่างประเทศ NGOs ในการฟื้นฟูบูรณะประเทศในลักษณะรัฐต่อรัฐ กับอีกด้านหนึ่งคือ การพิจารณาดูแลกิจกรรมการลงทุนทั้งหมดของประเทศ โดยเฉพาะการส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งมีคณะทำงานคือ The Cambodian Investment Board หรือ CIB ทำหน้าที่กลั่นกรองข้อเสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุนของเอกชน (The Investment Proposal) และเพื่อให้นักลงทุนได้รับทราบผลการพิจารณาโดยเร็ว กฎหมายกำหนดให้ CDC เป็น one stop service เพื่อตอบรับหรือปฏิเสธการให้การส่งเสริมภายใน 3 วันทำการนับแต่วันยื่นเอกสารที่สมบูรณ์ ซึ่งเมื่อ CDC ตอบรับให้การส่งเสริม จะออกเอกสารใบรับรองการจดทะเบียนที่มีเงื่อนไข (Condition Registration Certificate) ให้กับผู้ขอเพื่อเป็นหลักฐานใช้สำหรับติดต่อกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตและออกใบอนุญาตต่างๆ โดยหน่วยงานเหล่านี้ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 28 วันทำการ และ CDC จะออกเอกสารใบรับรองการจดทะเบียนขั้นสุดท้าย (Final Registration Certificate) ให้กับผู้ขอโดยถือวันที่ออกเอกสารเป็นวันเริ่มต้นของการให้การส่งเสริม โดยโครงการที่ได้รับ Final Registration Certificate สามารถเริ่มดำเนินโครงการลงทุนนั้นได้ทันที

อนึ่ง ในขั้นตอนเห็นชอบ The Investment Proposal หาก CDC ไม่ตอบภายใน 3 วันทำการให้ถือว่า CDC เห็นชอบโดยอัตโนมัติ

ผู้มีสิทธิขอรับการส่งเสริมการลงทุน

บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ผู้ประสงค์จะลงทุนและต้องการรับสิทธิประโยชน์และสิ่งจูงใจดังกล่าวข้างต้น สามารถยื่นคำขอพร้อมเอกสารและชี้แจงตอบข้อซักถามต่อ CDC ด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทนได้ โดยองค์กรที่สามารถขอรับการส่งเสริมฯ ได้แก่

  • กิจการที่ใช้เงินลงทุนของคนกัมพูชา 100%
  • กิจการที่ใช้เงินลงทุนของคนต่างชาติ 100%
  • กิจการร่วมทุน (Joint Ventures, JV)
  • Build-Operate-Transfer (BOT)
  • Business Cooperation Contract (BCC)
  • กิจการลงทุนอื่นที่ได้รับอนุญาตทางกฎหมาย
ลักษณะการร่วมทุน

Joint Ventures (JV) หมายถึงกิจการร่วมทุนที่ก่อตั้งขึ้น (ใหม่) จากการร่วมลงทุนของนักลงทุนโดยไม่จำกัดสัญชาติรวมทั้งการร่วมทุนกับภาครัฐ ยกเว้น JV ที่มีเจตนาจะถือครองกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินในกัมพูชา ต้องมีบุคคลสัญชาติกัมพูชาถือหุ้นร้อยละ 51 ขึ้นไป การร่วมลงทุนใน JV สามารถนำที่ดินเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ สินทรัพย์อื่นๆ มาประเมินเป็นทุนของโครงการได้

Business Cooperation Contract (BCC) หมายถึงการที่นักลงทุนในกัมพูชาได้สัญญาดำเนินกิจการกับหน่วยงานของรัฐมีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันผลกำไรระหว่างกัน โดยไม่ก่อตั้งนิติบุคคลใหม่ขึ้น ทั้งนี้การซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐกับเอกชนไม่ถือเป็นการทำ BCC

Built-Operate-Transfer (BOT) หมายถึงกิจการที่ได้รับสัมปทานจากรัฐในการลงทุน สร้าง บริหารจัดการและเก็บผลประโยชน์จากการดำเนินการเกี่ยวกับ Infrastructure ในกัมพูชา โดยจะได้รับสิทธิบริหารจัดการ Infrastructure ของโครงการระยะเวลาสูงสุดครั้งละไม่เกิน 30ปี (สามารถขยายเวลาได้ตามเงื่อนไขและข้อกำหนดในสัญญาสัมปทาน) และส่งมอบ Infrastructure พร้อมส่วนควบส่วนประกอบทั้งหมดในสภาพดีให้กับรัฐหรือหน่วยงานที่ให้สัญญา โดยไม่คิดมูลค่าในวันสิ้นสุดสัญญา

การขอรับการส่งเสริมการลงทุน

เอกสารประกอบการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน

(1) คำขอพร้อมเอกสารเกี่ยวกับผู้ขอรวมทั้งหนังสือมอบอำนาจ

(2) รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการที่จะขอรับการส่งเสริม

(3) เอกสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์กรที่จะจัดตั้งรวมทั้งข้อบังคับ

(4) รายละเอียดการศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านวิชาการและเศรษฐกิจรวมทั้งร่างกระบวนการผลิตของโครงการ ประกอบด้วย

  • ความสามารถทางเทคนิค
  • ความสามารถทางการตลาด
  • ทรัพยากรมนุษย์ และการจัดการ
  • ฐานะการเงิน
ค่าธรรมเนียม

ผู้ขอมีภาระค่าธรรมเนียม เมื่อยื่นคำขอและภายหลังคำขอได้รับความเห็นชอบ ดังนี้

(1) โครงการลงทุนไม่เกิน 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ

  • ค่าธรรมเนียมคำขอ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ค่าธรรมเนียมการส่งเสริม 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ

(2) โครงการลงทุนมากกว่า 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ

  • ค่าธรรมเนียมคำขอ 200 ดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ค่าธรรมเนียมการส่งเสริม 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
หัวข้อประกอบการศึกษาความเป็นไปได้

(1) ช่องทางการตลาดสินค้าของโครงการ

(2) ขนาดตลาด การกำหนดราคาและการแข่งขัน

(3) กรรมวิธีการผลิต และสัดส่วนการใช้วัตถุดิบนำเข้าและในประเทศ

(4) สัดส่วนการนำเข้าและส่งออก

(5) สัดส่วนการจ้างงานคนกัมพูชาและต่างด้าว

(6) แผนการเงิน

(7) ประมาณการรายได้สกุลเงินตราท้องถิ่นและเงินตราต่างประเทศ

(8) ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

(9) การพัฒนาบุคลากร

CDC อาจขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ตลอดระยะเวลาภายใน 15 วันทำการนับแต่ยื่นคำขอ ในกรณีนี้ผู้ขอต้องส่งมอบภายใน 15 วันทำการนับแต่ได้รับการร้องขอ เงินประกัน

ในกรณีที่โครงการได้รับการส่งเสริมฯ ผู้ขอต้องฝากเงินเพื่อประกันการดำเนินโครงการในบัญชีของ CDC ณ ธนาคารชาติกัมพูชาในอัตราดังนี้

  • ร้อยละ 2 สำหรับโครงการที่มีเงินทุนไม่เกิน 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ร้อยละ 1.9 สำหรับโครงการที่มีเงินทุน 1,000,001 - 10,000,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ร้อยละ1.8 สำหรับโครงการที่มีเงินทุน 10,000,001 - 20,000,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ร้อยละ1.7 สำหรับโครงการที่มีเงินทุน 20,000,001 - 30,000,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ร้อยละ1.6 สำหรับโครงการที่มีเงินทุน 30,000,001 - 40,000,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ร้อยละ1.5 สำหรับโครงการที่มีเงินทุนเกิน 40,000,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ

เงินประกันดังกล่าวจะคืนให้เมื่อมีการลงทุนไปแล้วไม่น้อยกว่า ร้อยละ 30 ของโครงการ

การเพิกถอนการส่งเสริม

CDC สงวนสิทธิที่จะเพิกถอนการให้การส่งเสริมเฉพาะส่วนหรือทั้งหมด หากผู้ลงทุนไม่สามารถปฏิบัติตามกรณีหนึ่งกรณีใดหรือมากกว่า ดังนี้

(1) โครงการไม่ได้ดำเนินการตามตารางเวลาที่ระบุในคำขอ โดยเฉพาะไม่มีการดำเนินการใดๆ ในระยะเวลา 6 เดือนนับแต่ได้รับการส่งเสริม ในกรณีนี้เงินประกัน จะถูกยึดเป็นของรัฐโดยอัตโนมัติ

(2) ไม่สามารถระดมทุนได้ถึงร้อยละ 25 ภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับความเห็นชอบ

(3) ไม่สามารถระดมทุนชำระแล้ว ได้ครบภายใน 3 ปี หลังจากจัดตั้งองค์กร

(4) การเปลี่ยนแปลงชื่อ ที่อยู่ ผู้ร่วมทุน หรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกิจการ (acquired or merged) รวมทั้งเปลี่ยนแปลงกิจกรรม (investment activities) โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจาก CDC ก่อน หรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องขอให้เพิกถอนกรณีฝ่าฝืนกฎระเบียบที่มีอยู่อย่างร้ายแรง กิจกรรมที่สามารถขอรับการส่งเสริมและเกณฑ์การพิจารณากฎหมายกำหนดกิจกรรมที่สามารถขอรับการส่งเสริมเป็นรายอุตสาหกรรม ตามขนาดวงเงินลงทุนขั้นต่ำ พร้อมเกณฑ์การพิจารณาในกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพอจะสรุปได้ ดังนี้

กิจกรรม ขนาด วงเงินขั้นต่ำของกิจการ
  • เกษตรกรรม : การเพาะปลูกพื้นที่มากกว่า 50,500 และ 1,000 เฮกตาร์ขึ้นไป

ปศุสัตว์ จำนวน 100, 1,000 และ 10,000 ตัวขึ้นไป

ประมง เพาะพันธุ์และเลี้ยง 2 และ 10 เฮกตาร์ขึ้นไป

  • วงเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 500,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
  • อาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่อง
  • ยาง และพลาสติก
  • หนังสัตว์และผลิตภัณฑ์
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์
  • วงเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
  • สิ่งทอ
  • เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์
  • กระดาษและผลิตภัณฑ์
  • ผลิตภัณฑ์โลหะ
  • เครื่องจักรกลและอุปกรณ์
  • ไม่กำหนดวงเงิน
  • ยานพาหนะและอุปกรณ์
  • ก่อสร้าง ถนน สะพาน และ ส่วนประกอบ
  • โรงแรมระดับ 3 ดาวขึ้นไป
  • สถานพยาบาล โรงเรียน ศูนย์ฝึกอบรม
  • สิ่งอำนวยความสะดวกต่อการท่องเที่ยว และวัฒนธรรม
  • สำรวจ และกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • โครงสร้างพื้นฐานทางสื่อสารโทรคมนาคม
สิทธิประโยชน์

สิทธิประโยชน์ในการลงทุนเป็นสิทธิพิเศษที่รัฐบาลมอบให้กับโครงการลงทุนต่างๆ ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาแห่งชาติกัมพูชา (CDC) หรือคณะกรรมการการลงทุนระดับจังหวัดหรือเขต (PMIS) ขึ้นอยู่กับรูปแบบโครงการลงทุนนั้นๆ

โครงการลงทุนในกัมพูชาสามารถเลือกสิทธิประโยชน์ในการลงทุนได้ 2 แบบ คือ การยกเว้นภาษีเงินได้ หรือการลดหย่อนภาษีทรัพย์สินที่ใช้ในการผลิต (ค่าเสื่อม) นอกจากนี้ยังครอบคลุมการยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร วัสดุก่อสร้าง และวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเพื่อส่งออก

สิทธิประโยชน์เรื่องที่ดิน
  • หากเป็นสัญญาเช่าที่ดินระยะยาวจะไม่มีข้อจำกัดด้านระยะเวลาในการเช่า
  • หากเป็นสัญญาเช่าที่ดินระยะสั้นที่มีการกำหนดเวลาในการเช่าไว้ สามารถต่ออายุใหม่ได้ นอกจากนี้กฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ ยังอนุญาตให้นักลงทุนสามารถนำที่ดินไปเป็นหลักประกันในการจดจำนองรวมทั้งสามารถโอนสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินส่วนบุคคลที่ปลูกสร้างบนที่ดินแปลงดังกล่าวได้อีกด้วย แต่ต้องไม่เกินกำหนดเวลาในสัญญาเช่าที่ดิน
การยกเว้นภาษีเงินได้

โครงการใดที่เลือกรับสิทธิประโยชน์ด้านนี้ จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ในช่วงแรกของการลงทุน (เริ่มจากวันที่ได้รับอนุมัติจนถึงปีแรกที่มีกำไรจากการลงทุน หรือปีที่สามของการมีรายได้) และอาจต่อได้ถึงอีก 3 ปีหลังสิ้นสุดสิทธิประโยชน์ของช่วงแรก

การลดหย่อนภาษีทรัพย์สิน

โครงการใดที่เลือกรับสิทธิประโยชน์ด้านนี้ จะได้รับการลดหย่อนภาษีทรัพย์สินร้อยละ 40 ของมูลทรัพย์สินทรัพย์ที่ใช้ในการผลิต สิทธิประโยชน์นี้มีผลใช้บังคับทันทีในปีแรกที่มีการซื้อทรัพย์สินดังกล่าวหรือในปีแรกที่มีการใช้ทรัพย์สินนั้นๆ

การยกเว้นภาษีนำเข้า

โครงการลงทุนผลิตเพื่อส่งออก หรือโครงการผลิตที่เป็นไปเพื่อสนับสนุนธุรกิจส่งออก จะได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต วัสดุก่อสร้างและวัตถุดิบในการผลิต ส่วนโครงการลงทุนผลิตเพื่อใช้ในประเทศ จะได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าเฉพาะเครื่องจักรและวัสดุก่อสร้างเท่านั้น

โครงการที่ได้รับอนุมัติทุกโครงการจะได้รับการยกเว้นภาษีส่งออก ยกเว้น การส่งออกสินค้าบางประเภทตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายของกัมพูชา

ข้อจำกัด

การยกเว้นภาษีข้างต้นไม่รวมภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ภาษีเงินเดือน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสินค้าและบริการ และภาษีอื่นๆที่กำหนดโดยกฎหมายของกัมพูชา อย่างไรก็ตามผู้ลงทุนสามารถเรียกคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หากจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการกับกรมสรรพากร

หลักประกันการลงทุน
โครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติทุกโครงการจะได้รับหลักประกันในการลงทุน ดังนี้
  • การปฎิบัติที่เท่าเทียมกันกับนิติบุคคลกัมพูชา (ยกเว้นสิทธิประโยชน์การถือครองที่ดินและสิทธิประโยชน์บางชนิด)
  • ไม่มีการยึดโครงการลงทุนมาเป็นของรัฐ
  • ไม่มีการควบคุม การกำหนดราคาสินค้าและบริการของผู้ลงทุน
  • สามารถส่งรายได้จากการลงทุนออกนอกประเทศได้

โครงการลงทุนที่ไม่สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ในด้านการลงทุน ได้แก่ การทำการค้า การให้บริการคมนาคม การท่องเที่ยว คาสิโนและการพนัน ธุรกิจด้านการเงินและการธนาคาร ธุรกิจสื่อสารมวลชน ธุรกิจที่ใช้ความสามารถเฉพาะด้าน ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจผลิตบุหรี่ เป็นต้น

ทุกปีโครงการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมจะได้รับใบรับรองการยินยอม (Certificate of Compliance หรือ CoC) จาก CDC เพื่อยืนยันว่าโครงการนั้นได้ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างของโครงการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ในการลงทุน เช่น
  • ธุรกิจการผลิตเพื่อส่งออกหรือสนับสนุนการผลิตเพื่อส่งออกที่มีทุนจดทะเบียนมากกว่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ธุรกิจผลิตสินค้าเครื่องหนัง เหล็ก อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้สำนักงาน ของเด็กเล่นและเครื่องกีฬา รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และสินค้าเซรามิค ที่มีทุนจดทะเบียนมากกว่า 300,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ธุรกิจผลิตเครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้าและผ้าผืน กระดาษและวัสดุทำจากกระดาษ อาหารและเครื่องดื่ม เฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์ ผลิตภัณฑ์ยางและผลิตภัณฑ์พลาสติก ยาแผนโบราณ และการผลิตน้ำดื่ม ที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นไป
  • ธุรกิจผลิตสินค้าเคมีภัณฑ์ ซีเมนต์ ปุ๋ยและปิโตรเคมี ยารักษาโรค การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และธุรกิจให้บริการรักษาคนป่วยและโรงพยาบาล ที่มีทุนจดทะเบียนมากกว่า 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ธุรกิจห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า ที่มีทุนจดทะเบียนมากกว่า 2,000,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ธุรกิจการฝึกอบรมและการศึกษา ที่มีทุนจดทะเบียนมากกว่า 4,000,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ข้อจำกัดในการลงทุน

การลงทุนบางประเภทถูกสงวนสิทธิ์ในการลงทุน เนื่องจากเหตุผลความมั่นคงของชาติ ความสงบเรียบร้อยของสังคม และเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งข้อห้ามนี้บังคับใช้กับนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนในประเทศอย่างเท่าเทียมกัน ได้แก่ การผลิตสิ่งเสพติดและสารเสพติด สารเคมีที่เป็นอันตราย การผลิตพลังงานไฟฟ้าที่นำเข้ากากวัตถุดิบที่เป็นพิษ และธุรกิจที่ทำลายป่าไม้ เป็นต้น

การลงทุนบางประเภทต้องเป็นการร่วมลงทุนกับหน่วยงานภาครัฐ หรือต้องได้รับการอนุมัติเป็นกรณีพิเศษ เช่น การผลิตบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การผลิตภาพยนตร์ การผลิตอัญมณี ธุรกิจสื่อสารมวลชน ธุรกิจสิ่งพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ และการพัฒนาที่ดิน เป็นต้น

ขั้นตอนการจดทะเบียน

นักลงทุนที่ประสงค์จะขอรับการส่งเสริมการลงทุน จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ลงทุนพร้อมเสนอรายละเอียดโครงการที่จะลงทุน กับ CDC หรือ PIMS หากต้องการลงทุนมากกว่า 1 โครงการ จะต้องแยกเสนอโครงการ

CDC หรือ PIMS จะมอบหนังสือรับรองการจดทะเบียนแบบมีเงื่อนไข (Conditional Registration Certificate) ให้กับผู้ขอลงทะเบียน ภายใน 3 วันทำการ หลังยื่นเอกสารขอจดทะเบียน ยกเว้นกรณีดังนี้

  • โครงการที่เสนอมีข้อมูลและเอกสารไม่สมบูรณ์
  • โครงการที่เสนอ อยู่ในรายการที่ห้ามลงทุน หรือเป็นโครงการที่ได้รับสิทธิพิเศษในการลงทุนอยู่แล้ว

ในกรณีที่ข้อเสนอหรือเอกสารประกอบไม่สมบูรณ์ CDC ต้องชี้แจงรายละเอียดขั้นตอนต่างๆ ให้กับผู้ขออย่างชัดเจน เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง

CDC หรือ PMIS จะออกใบรับรองการจดทะเบียนขั้นสุดท้าย (Final Registration Certificate) ให้กับผู้ลงทุน ภายในเวลา 28 วันหลังการออกหนังสือรับรองการจดทะเบียนแบบมีเงื่อนไข ซึ่งก่อนการออกใบรับรองนี้ CDC หรือ PMIS จะต้องดำเนินการในรายละเอียดต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารใบรับรอง ใบอนุญาต และเอกสารจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต่างๆ

การเพิกถอนหรือยกเลิกใบรับรองการจดทะเบียนขั้นสุดท้าย (Final Registration Certificate) ใบรับรองจะถูกเพิกถอนหรือยกเลิกหากพบว่า

  • ผู้ลงทุนได้มาซึ่งใบรับรองอย่างไม่ถูกต้อง
  • ผู้ลงทุนไม่ดำเนินการใดๆ ในเวลา 6 เดือน นับจากวันที่ได้รับอนุมัติให้ลงทุน ยกเว้นโครงการลงทุนนั้นๆ เป็นโครงการที่ได้รับสัมปทานจากภาครัฐซึ่งจะต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดอื่นๆ

CDC หรือ PMIS จะแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบเป็นลายลักษณ์อักษรถึงการเพิกถอนหรือการยกเลิกใบรับรอง และ ผู้ลงทุนสามารถยื่นอุทธรณ์กับประธานคณะกรรมการ CDC ภายใน 20 วัน หลังจากได้รับหนังสือดังกล่าว

โครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติก่อนการแก้ไขกฎหมายการลงทุนในปี 2003

โครงการลงทุนนี้ต้องยื่นขอใบรับรองการลงทุน (Certificate of Recognition) จาก CDC ซึ่งจะอนุญาตให้ใช้สิทธิประโยชน์ในการลงทุนเดิมจนถึงสิ้นปี 2008 ทั้งนี้ผู้ลงทุนที่ได้รับอนุมัติโครงการก่อนการแก้ไขกฎหมายและภายใต้กฎหมายส่งเสริมการลงทุนฉบับแก้ไข จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการลงทุนต่อเมื่อได้รับใบรับรองสิทธิประโยชน์ (Certificate of Compliance) จาก CDC แล้ว

ใบรับรองสิทธิประโยชน์

CDC จะออกใบรับรองสิทธิประโยชน์ในการลงทุนให้กับผู้ลงทุนภายในเวลา 90 วัน หลังสิ้นสุดปีงบประมาณ หากไม่มีการออกใบรับรองในช่วงเวลาดังกล่าวให้ถือว่าผู้ลงทุนได้รับการรับรองสิทธิประโยชน์แล้ว

CDC มีสิทธิเพิกถอน ใบรับรองสิทธิประโยชน์หากพบว่าผู้ลงทุนไม่ได้รายงานข้อมูลครบถ้วนตามที่กำหนด โดยผู้ลงทุนจะสูญเสียสิทธิประโยชน์ทั้งหมดหากถูกเพิกถอนใบรับรองดังกล่าว

ข้อกำหนดในการรายงานข้อมูล

ผู้ลงทุนจะต้องรายงานข้อมูลการเสียภาษีพร้อมใบรับรองสิทธิประโยชน์ให้กับกรมสรรพากรเป็นรายเดือนและรายปี ผู้ลงทุนต้องส่งมอบเอกสารการนำเข้าสินค้าให้กับ CDC และกรมสรรพากร ภายใน 30 วัน หลังเสร็จสิ้นกระบวนการศุลกากร

ผู้ลงทุนจะต้องส่งมอบรายงานงบการเงินประจำปีให้กับกรรมสรรพากรก่อนวันที่ 31 มีนาคมของปีงบประมาณถัดไปทุกปี และผู้ลงทุนจะต้องรายงานผลการผลิต การนำเข้า และการส่งออกให้กรมสรรพากรทราบทุกๆ ไตรมาส

การควบรวมและการซื้อกิจการ

ก่อนการควบรวมหรือซื้อขายกิจการที่มีการถ่ายโอนหุ้นมากกว่าร้อยละ 20 ของปริมาณหุ้นทั้งหมด ผู้ลงทุนจะต้องมีหนังสือแจ้งให้ CDC หรือ PMIS ทราบภายในเวลา 10 วันทำการ เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ต่อเนื่องในการลงทุน โดย CDC หรือ PMIS จะแจ้งผลการพิจารณา (อนุมัติหรือปฎิเสธ) ให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ภายใน 10 วันทำการหลังได้รับการแจ้ง

12. การให้สิทธิประโยชน์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ

(Special Economic Zone หรือ SEZ) “คณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษของกัมพูชา (CSEZB)” จัดตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ

เพื่อควบคุมโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ ได้มีการออก “กฤษฎีกาย่อยฉบับที่ 148 ว่าด้วยเรื่องการจัดตั้งและการจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษ” (กฤษฎีกาย่อยเขตเศรษกิจพิเศษ) เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2005

ความคิดพื้นฐานและเงื่อนไขสำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ
  • โครงการเขตเศรษฐกิจพื้นฐานหมายถึง เขตพิเศษเพื่อการพัฒนาภาคเศรษฐกิจซึ่งจะนำการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมและกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องมารวมเข้าไว้ด้วยกันและอาจจะรวมไปถึงเขตอุตสาหกรรมทั่วไปและ/หรือเขตนิคมการผลิตเพื่อส่งออก เขตเศรษฐกิจพิเศษในแต่ละเขตจะมีพื้นที่การผลิตซึ่งอาจจะมีเขตการค้าเสรี พื้นที่การให้บริการ พื้นที่สำหรับอยู่อาศัยและพื้นที่การท่องเที่ยว
  • โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษจะต้องมีพื้นที่ขนาด 50 เฮกตาร์ พร้อมกับมีตำแหน่งที่ตั้งและขอบเขตทางภูมิศาสตร์ที่แน่นอน
  • ต้องมีรั้วล้อมรอบ (สำหรับเขตนิคมการผลิตเพื่อส่งออก เขตเสรีทางการค้า และสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของผู้ลงทุนแต่ละรายในแต่ละเขต)
  • ต้องมีอาคารสำนักงานบริหารและสำนักงานบริหารเขตเศรษฐกิจ และต้องจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานอันจำเป็นทั้งหมด
  • ต้องมีโครงข่ายการระบายน้ำ โครงข่ายการบำบัดน้ำเสีย ตำแหน่งที่ตั้งสำหรับการจัดเก็บและการจัดการกับกากของเสียที่เป็นของแข็ง มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ตามที่เห็นสมควร
โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ได้รับอนุมัติ
  • โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษเกาะกง — ตั้งอยู่ใกล้ชายแดน ตามเส้นทาง NR 4 และ NR 48 จากกรุงพนมเปญ (NR 48 คาดหมายให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงอาเซียนหมายเลข 10)
  • โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ Stung Hao และ S.M.C ตั้งอยู่รอบๆ เมืองสีหนุวิลล์และสามารถเดินทางโดยใช้เส้นทาง NR 4
  • โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ Duang Chiv จังหวัดตะแก้ว ตั้งอยู่บนเส้นทาง NR 4
  • โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ N.L.C และ Manhattan อยู่ใกล้กับชายแดนกัมพูชา-เวียดนามบนเส้นทาง NR 1
  • โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ Chay Chay, ปอยเปต ตั้งอยู่ใกล้กับชายแดนไทยบนเส้นทาง NR 5
  • โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ ตั้งอยู่บนเส้นทาง NR 4 และอยู่ห่างจากท่าอากาศยานนานาชาติกรุงพนมเปญ 8 กิโลเมตร
ขั้นตอนการขอพัฒนาโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ SEZ
ผู้พัฒนาเขตต้องมีความสามารถและหน้าที่ดังนี้
  • ต้องมีเงินทุนและวิธีการความตั้งใจเพียงพอที่จะพัฒนาสิ่งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานภายในเขต รวมทั้งบุคลากรที่จะจัดการกิจกรรมต่างๆ ของเขตด้วย
  • มีสิทธิตามกฎหมายในการเป็นเจ้าของที่ดินสำหรับการก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ
  • ก่อสร้างโครงการพื้นฐานต่างๆ ภายในเขต
  • ให้เช่าที่ดินและจัดหา กำหนดการบริการต่างๆ ภายในเขต
  • จัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและทำให้มีความมั่นคงปลอดภัยอย่างดีมีระเบียบภายในเขตตลอดเวลา ฯลฯ
ขั้นตอนการขอพัฒนาโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ

คณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษภายใต้สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) เป็นองค์กร “ให้บริการแบบครบวงจร” รับผิดชอบดูแลการพัฒนา การจัดการ และการควบคุมดูแลการดำเนินงานของโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ และคณะกรรมการบริหารโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นกลุ่มจัดการบริหารของรัฐที่มีวิธีการแบบ “การให้บริการแบบครบวงจร” ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษและก่อตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษกัมพูชาเพื่อจะได้ประจำการอย่างถาวรในเขตเศรษฐกิจพิเศษแต่ละเขต

“คณะกรรมการแก้ปัญหาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ TSC)” ซึ่งตั้งอยู่ที่สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชามีหน้าที่ตัดสินปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับประเด็นทางด้านเทคนิคหรือกฎหมายหรือประเด็นที่อยู่ภายใต้กรอบอำนาจร่วมกันของกระทรวงหรือหน่วยงาน และเรื่องที่อยู่นอกเหนืออำนาจของคณะกรรมการบริหารโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษกัมพูชา และยังมีหน้าที่ในการเป็นกลไกคอยรับคำร้องทุกข์และแก้ปัญหาให้กับคำร้องทุกข์เหล่านั้นที่ยื่นโดยนักพัฒนาและผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ

คณะกรรมการแก้ปัญหาเขตเศรษฐกิจพิเศษประกอบด้วยบุคคลต่างๆ ดังนี้

          (1) ประธานสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา                       ประธาน
          (2) รัฐมนตรีประจำคณะรัฐมนตรี                           กรรมการ
          (3) รัฐมนตรีเศรษฐกิจและการคลัง                         กรรมการ
          (4) รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์                             กรรมการ

(5) กระทรวงการพัฒนาที่ดิน การผังเมือง และการก่อสร้าง กรรมการ

          (6) รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม                                 กรรมการ
          (7) รัฐมนตรีว่าการอุตสาหกรรม เหมืองแร่ และพลังงาน         กรรมการ
          (8) รัฐมนตรีโยธาธิการและการคมนาคม                     กรรมการ
          (9) รัฐมนตรีแรงงานและการฝึกวิชาชีพ                      กรรมการ
          (10) เลขาธิการสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา                    กรรมการ
          (11) เลขาธิการคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษกัมพูชา         เลขานุการ

ขั้นตอนการขอพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
(1)การขอพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ

นักพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษยื่นคำร้องขออนุมัติการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษต่อคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษและขอสมัครเป็นโครงการลงทุนที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด (ค่าธรรมเนียมในการขอ: 7 ล้านเรียล)

(2) การตรวจสอบคำขอ

คณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษจะแจ้งให้นักพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทราบภายใน 28 วันทำการไม่ว่าจะอนุมัติหรือปฏิเสธคำขอก็ตาม

(3) การศึกษาความเป็นไปได้

นักพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจะทำการศึกษาความเป็นไปได้ในด้านเศรษฐกิจ แผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานและเอกสารที่ได้รับการรับรองอื่นๆ ตามที่ระบุไว้ในเอกสารใบรับรองการจดทะเบียนแบบมีเงื่อนไขอย่างละเอียดภายใน 180 วันทำการ

(4)เอกสารใบรับรองการจดทะเบียนขั้นสุดท้าย

ภายใน 100 วันทำการหลังจากได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่คณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษให้การอนุมัติและอำนาจหน้าที่อันจำเป็นทั้งหมดจากรัฐบาลและออกเอกสารใบรับรองการจดทะเบียนขั้นสุดท้าย(FRC)

(5) การประกาศจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ

เมื่อคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษได้ออกเอกสารใบรับรองการจดทะเบียนขั้นสุดท้าย ก็จะมีการออกกฤษฎีกาย่อยเพื่อให้คำจำกัดความการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและอาณาเขตของเขตเศรษฐกิจพิเศษ

(6) การถอนการอนุมัติ

คณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษกัมพูชามีสิทธิที่จะถอนการอนุมัติเรื่องการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและสิทธิประโยชน์ที่ได้มอบให้โดยการออกเอกสารใบรับรองการจดทะเบียนขั้นสุดท้าย โดยอาศัยเหตุที่ว่านักพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษมิได้จัดเตรียมให้มีเงินอย่างน้อยที่สุด 30% (สามสิบเปอร์เซนต์) ของเงินลงทุนทั้งหมดในโครงการภายใน 365 วัน (สามร้อยหกสิบห้าวัน)ทำการหลังจากได้รับเอกสารใบรับรองการจดทะเบียนขั้นสุดท้าย

สิทธิประโยชน์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ผู้รับประโยชน์
นักพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ

สิทธิประโยชน์

  • ได้รับการยกเว้นภาษีกำไรสูงสุดถึง 9 ปี
  • ได้รับอนุญาตการนำเข้าอุปกรณ์และวัสดุก่อสร้างเพื่อใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในเขตเศรษฐกิจพิเศษและได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าและภาษีอื่นๆ
  • นักพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยพื้นฐานอาจจะได้รับสัมปทานที่ดินจากรัฐเพื่อก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ต่างๆ ตามชายแดนหรือพื้นที่ห่างไกลตามกฎหมายที่ดิน
ผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ
  • ได้รับสิทธิประโยชน์ในภาษีศุลกากรและภาษีเหมือนกับที่โครงการลงทุนที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดอื่นๆ ได้รับ
  • ได้รับสิทธิประโยชน์ในภาษีมูลค่าเพิ่มที่อัตรา 0% เว้น แต่ผลิตผลในการผลิตจะถูกส่งออกไปยังตลาดภายในประเทศ จำนวนเงินที่ได้รับยกเว้นภาษีในทุกๆธุรกรรม การส่งออกจะต้องมีการบันทึกไว้ ในกรณีที่ผลิตผลถูกส่งออกไปยังตลาดภายในประเทศ ผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจะต้องจ่ายเงินภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่ได้บันทึกไว้ตามปริมาณที่ส่งออก
บุคคลที่มีสิทธิเหมือนกัน
  • นักพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ผู้ลงทุน หรือลูกจ้างชาว ต่างชาติมีสิทธิที่จะโอนเงินที่ได้รับจาการลงทุนและ เงินเดือนที่ได้รับในเขตเศรษฐกิจพิเศษไปยังธนาคารต่างๆ ที่ตั้งในประเทศอื่นๆ ภายหลังจากที่ได้ จ่ายภาษีแล้ว
  • ไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติว่าเป็นชาวต่างชาติ ไม่มีการโอนกิจการเป็นของรัฐ ไม่มีการกำหนดราคา
ขั้นตอนการจดทะเบียนโครงการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ

ผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งเริ่มดำเนินการผลิตหรือให้บริการต่างๆ ในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและกฤษฎีกาย่อยในเขตเศรษฐกิจพิเศษใดๆ จะต้องดำเนินการตามระเบียบวิธี ขั้นตอนให้แล้วเสร็จโดยเตรียมเอกสารที่จำเป็นทั้งหมด นำไปยื่นต่อสำนักงานบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อจดทะเบียนข้อเสนอการลงทุนในระหว่างเวลาทำการและยื่นต่อหัวหน้าคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษ

คณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษมีหน้าที่ตัดสินใจเรื่องการจดทะเบียนข้อเสนอการลงทุนซึ่งขึ้นอยู่กับประเด็นในด้านกฎหมาย การบริหารและทางด้านเทคนิคและการออกเอกสารใบรับรองการจดทะเบียนในขั้นสุดท้าย กระบวนการดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนการจดทะเบียนการลงทุนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและกฤษฎีกาย่อยว่าด้วยเรื่อง การบังคับใช้กฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายการลงทุน

สิทธิประโยชน์ใดๆ ที่ให้แก่ผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจะต้องได้รับการตัดสินใจจากคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยผ่านทางกลไกการให้บริการแบบครบวงจรซึ่งตั้งอยู่ในสถานที่ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

ในเรื่องของคำร้องขออื่นๆทั้งหมดในขั้นตอนการลงทุนของผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ คณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษจะมีบทบาทในการเป็นผู้ให้บริการเพื่อจัดการกับปัญหาของผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษพร้อมกับหน่วยงานราชการของกระทรวงต่างๆ

สิทธิประโยชน์ต่างๆ

กฤษฎีกาย่อยเขตเศรษฐกิจพิเศษบัญญัติว่า คณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษจะตรวจสอบและมอบสิทธิประโยชน์ทั้งหลายแก่เขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ และสิทธิประโยชน์ทั้งหมดจะถูกนำไปกำหนดไว้ในเอกสารใบรับรองการจดทะเบียนขั้นสุดท้าย

ในส่วนของกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายการลงทุนปี 2003 ได้ให้คำจำกัดความในมาตรา 14.9 ว่า โครงการลงทุนที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดซึ่งตั้งอยู่ในเขตส่งเสริมพิเศษหรือเขตนิคมการผลิตเพื่อส่งออกที่ถูกกำหนดขึ้นมา มีสิทธิ์ได้รับสิทธิประโยชน์และสิทธิพิเศษเหมือนกับโครงการลงทุนที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดโครงการอื่นๆตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย สิทธิประโยชน์ซึ่งมอบให้แก่นักพัฒนาและผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ

ข้อบังคับอื่นๆ
ข้อบังคับสำหรับเขตนิคมการผลิตเพื่อส่งออก (EPZ) ใช้ข้อบังคับพิเศษ ดังนี้
  • เขตนิคมการผลิตเพื่อส่งออกมีทางเข้า/ออกโดยเฉพาะซึ่งได้รับการกำหนดโดยคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษ
  • ไม่มีผู้ใดสามารถพักอาศัยได้หลังจากชั่วโมงการทำงาน ยกเว้นยามรักษาการณ์ที่อยู่ประจำและบุคคลอื่นๆ ซึ่งได้รับอนุญาตจากคณะบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ
  • ตารางเวลาสำหรับการเข้าและออกจากเขตนิคมการผลิตเพื่อส่งออกสำหรับบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตรวมตลอดถึงการส่งออกและนำเข้าสินค้าจะต้องถูกกำหนดขึ้นจากข้อบังคับภายในของคณะบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษตามข้อตกลงระหว่างนักพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและคณะบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ
  • การนำเข้า/ส่งออกสินค้าไปยัง/จากเขตนิคมการผลิตเพื่อส่งออก

รัฐบาลกัมพูชาได้จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษหลายแห่ง ซึ่งเขตเศรษฐกิจพิเศษเหล่านี้อยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายลูกที่ว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือ SEZ-SD มีสาระสำคัญ ดังนี้

  • กฎหมายว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษ กล่าวถึงระเบียบขั้นตอน และบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งและบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เขตอุตสาหกรรมทั่วไป และเขตการผลิตเพื่อการส่งออก (100 เปอร์เซนต์)
  • การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ต้องได้รับการอนุมัติจากสภาพัฒนาแห่งชาติ โดยประกอบด้วยเงื่อนไข ดังนี้

o มีพื้นที่มากกว่า 50 เฮกตาร์ขึ้นไป

o มีระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบน้ำใช้ที่ดี ระบบไฟฟ้า และการคมนาคมขนส่ง

o มีชุมชนที่พักอาศัยให้กับลูกจ้าง พร้อมระบบถนน สวนสาธารณะ และระบบป้องกันอัคคีภัยที่ดี

o ระบบระบายและบริหารจัดการน้ำเสีย ระบบรักษาสิ่งแวดล้อม และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

โครงสร้างการบริหารจัดการ

สภาการพัฒนาแห่งชาติ เป็นหน่วยงานกำกับดูแล กำหนดขอบเขตและกฎระเบียบในด้านการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ

กฎระเบียบพิเศษสำหรับเขตการผลิตเพื่อการส่งออก (EPZ)
  • การนำเข้า- ส่งออก — ในเขตพิเศษสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก ถือปฎิบัติเสมือนเป็นการนำเข้า ส่งออกทั่วๆไป คือต้องดำเนินการเรื่องเอกสารที่ถูกต้อง
  • ข้อจำกัด - ห้ามประกอบธุรกิจขายส่งในเขต EPZ การนำสินค้าออกจากเขต การสั่งซื้อวัตถุดิบในประเทศ และการทำลายสินค้า จะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการฯ
การจำกัดขอบเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน

กฎหมายการบริหารจัดการที่ดิน ได้กำหนดหลักเกณฑ์ กฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ ประโยชน์ที่ดินในกัมพูชา โดยในบางกรณีรัฐอาจกำหนดให้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ในเฉพาะเขตหรือพื้นที่เท่านั้น ซึ่งนักลงทุนต้องศึกษารายละเอียดและทำความเข้าใจกับประเด็นนี้

การขออนุญาตก่อสร้าง

การก่อสร้างทุกชนิดจะต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานราชการที่กำกับดูแลพื้นที่นั้นๆ สิ่งก่อสร้างที่มีพื้นที่มากกว่า 3 พันตารางเมตรขึ้นไป ต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงการพัฒนาที่ดิน การผังเมือง และการก่อสร้าง

ใบอนุญาตประกอบการธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกฎหมายอสังหาริมทรัพย์ ปี 2007

กฏหมายสัญญาและการบังคับใช้

กฎหมายสัญญาของกัมพูชามีเนื้อหาค่อนข้างสั้น แต่ครอบคลุมรายละเอียดเบื้องต้นของกฎหมายสัญญาทุกชนิดอย่างครบถ้วน โดยมีความสอดคล้องกับเศรษฐกิจระบบตลาดที่มีหลักการความเป็นเสรีของตัวบทกฎหมาย กฎหมายสัญญาของกัมพูชาประกาศบังคับใช้ในปี 1988

เนื้อหาของกฎหมายครอบคลุมรูปแบบของสัญญา การบังคับใช้ การตีความ และให้ความสำคัญกับสัญญาขาย สัญญาเช่า สัญญากู้ยืม เป็นหลัก

ถึงแม้ว่ากฎหมายสัญญาของกัมพูชายังขาดรายละเอียดเชิงลึก แต่คู่สัญญาก็สามารถใช้ประโยชน์จากกฎหมายดังกล่าวได้ ตามสิทธิประโยชน์ที่จะพึงมีและพึงได้

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ