สรุปสถานการณ์การค้าระหว่างไทย-สเปน ช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 26, 2009 15:07 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ในเดือนตุลาคม 2552 ไทยกับสเปนมีมูลค่าการค้ารวม 117.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยเป็นฝ่ายส่งออกมาสเปน 81.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.26 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ขณะที่นำเข้าจากสเปน 35.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯลดลงร้อยละ 10.42 โดยไทยได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นอีก 46.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นดุลการค้าสะสมในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 จำนวน 312.83 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในช่วง 10 เดือนแรกปี 2552 มียอดการค้ารวม 947.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 42.43 โดยไทยมียอดส่งออกมาสเปนรวม 630.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 47.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่นำเข้าจากสเปน 317.30 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ29.02

ตารางแสดงโครงสร้างการส่งออกของไทยมายังสเปน ช่วงเดือน ม.ค.-ต.ค. 2552

            หมวดสินค้า                       มูลค่า(Mil.US$)     เพิม/ลด(%)จากปีก่อน      สัดส่วน (%)
    สินค้าเกษตรกรรม(กสิกรรม/ปศุสัตว์/ประมง)         113.9               -53.08             18.07
    สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร                      48.8               -40.39              7.75
    สินค้าอุตสาหกรรม                             467.2               -46.55             74.15
    สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                            0.2                  n/a              0.03
             รวม                              630.1               -47.43             100.0
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2552 สินค้าส่งออกของไทยมายังสเปนโดยรวมยังมีมูลค่าลดลงเกือบครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยหมวดสินค้าอุตสาหกรรมยังครองส่วนแบงเป็นสินค้าสงออกประมาณสามในสี่ อันประกอบด้วยสินค้าหลักๆ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูปเครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน รองลงมาได้แก่หมวดสินค้าเกษตรกรรมมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 18 ซึ่งปรับตัวลดลงร้อยละ 53 โดยเฉพาะมันสำปะหลังที่มียอดส่งออกลดลงมากจนเกือบเป็นศูนย์ ขณะที่การส่งออกข้าว กุ้งสดแช่แข็ง และปลาสดแช่แข็ง ยังคงมีอัตราการขยายตัวที่ดี และในหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรที่มีสัดส่วนการส่งออกไม่มากนัก และขยายตัวลดลงร้อยละ 40.39

ตารางแสดงมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยมายังสเปน 10 อันดับแรก ช่วง ม.ค.- ต.ค.2552

          ที่   สินค้า                            มูลค่า (Mil. USD)     สัดส่วน(%)      เปลี่ยนแปลง(%)
          1   เสืAอผ้าสำเร็จรูป                        121.3           19.25            +6.31
          2   เคร+องปรับอากาศและส่วนประกอบ            60.6            9.61           -65.27
          3   ยางพารา                               33.1            5.26           -66.54
          4   เคมีภัณฑ์                                32.8            5.21           -37.90
          5   กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง                       32.7            5.19            +8.45
          6   ผลิตภัณฑ์ยาง                             24.8            3.94           -28.82
          7   เลนส์                                  24.2            3.83           +33.71
          8   ข้าว                                   22.4            3.56           +19.74
          9   ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                    21.0            3.34           -33.30
         10   ปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง                      18.6            2.96           +10.80
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยของโลกอย่างต่อเนื่องมาจากช่วงปลายปี 2551 ทำให้มูลค่าการส่งออกรวมของไทยมายังสเปนมีมูลค่าลดลงกว่าครึ่งจากปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปและหมวดอาหารบางรายการ ได้แก่ ข้าว ปลาแช่เย็น/แช่แข็ง และกุ้งสดแช่เย็น/แช่แข็ง เป็นต้น มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่สินค้าส่งออกหลักของไทยในตลาดนี้ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ รถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา และมันสำปะหลัง ล้วนประสบปัญหาจากความต้องการของตลาดที่ลดลงอย่างรุนแรงในอัตรากว่าร้อยละ 60 ทั้งนี้ ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี ที่มีสัญญาณว่าภาวะเศรษฐกิจได้เลยช่วงต่ำสุดและเริ่มปรับตัวดีขึ้นบ้างเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าการส่งออกของไทยยังคงได้รับผลกระทบตลอดระยะเวลาที่เหลือของปี 2552 ต่อเนื่องไปถึงกลางปี 2553

ในช่วงเดียวกันไทยนำเข้าสินค้าจากสเปน เป็นมูลค่า 317.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ -29.60 โดยมีรายละเอียดการนำเข้าสินค้า 5 อันดับแรกที่มีมูลค่าสูงสุดดังนี

ตารางแสดงมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากสเปน 5 อันดับแรก ช่วง ม.ค.- ต.ค. 2552

              สินค้า                        มูลค่า (Mil.USD)       สัดส่วน (%)      เปลี่ยนแปลง (%)
          เคมีภัณฑ์                              44.3               13.97            -25.95
          ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม            39.1               12.33            -35.74
          สินค้าทุนอื่นๆ                           34.0               10.73           +251.82
          เครื่องจักรกลและส่วนประกอบสินค้าทุนอื่นๆ     30.9                9.73            -38.22
          สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป           21.7                6.85            -11.64

ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการส+อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของราชอาณาจักรสเปน

ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจได้เริ่มชะลอตัวลงแล้ว ทั้งนี้เป็นผลมาจากแผนการกระตุ้นด้านการเงินและการคลังของธนาคารกลางแห่งยุโรปและรัฐบาลของสเปน รวมทั้งสถานการณ์ระหว่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น จึงทำให้ความเชื่อมั่น ค่อยๆฟื้นคืนกลับมาทีละน้อย แต่ความคืบหน้าทางเศรษฐกิจก็ยังอยู่ในสภาพที่เปราะบางและยังต้องพึ่งพามาตรการกระตุ้นอีกต่อไป

สถานการณ์ภาคธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ จากข้อมูลของธนาคารแห่งชาติสเปน พบว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2552 มูลค่าเพิ่มของธุรกิจที่มาจากการสุ่มตัวอย่าง (คำนวณโดยหักสินค้าเพื่อการบริโภคขั้นกลางจากมูลค่าผลผลิต) ลดลงร้อยละ -15.7เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีต่อปี ขณะที่ครึ่งปีแรกของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ส่วนต้นทุนค่าจ้างพนักงานลดลงร้อยละ 0.7 เช่นเดียวกับกำไรเบื้องต้นจากการประกอบการลดลงร้อยละ 27 เทียบกับปีที่ผ่านมา

ขณะนี้การบริโภคสินค้าของประชาชนมีการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น โดยเฉพาะยอดการจำหน่ายรถยนต์ในเดือนกันยายนที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18 อันเนื่องมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลกลางและองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น (Plan 2000-E) แต่อัตราการว่างงานในเดือนเดียวกันกลังพุ่งขึ้นสูงสุด เนื่องจากแผนงานจ้างงานของเทศบาลที่สนับสนุนโดยรัฐบาลกลางได้หมดอายุลง และส่งผลต่อเนื่องไปยังระดับความมั่น ใจของผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลงเล็กน้อย

ในแง่ของการลงทุน ดัชนีชี้วัดบางตัวได้แก่ ยอดผลิตของสินค้าทุน และยอดการจดทะเบียนยานยนต์เพื่อการพาณิชย์ ยังคงมีแนวโน้มท+ลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยอดจำหน่ายอุปกรณ์และซอฟแวร์ภายในประเทศที่หดตัวถึงร้อยละ 25 ในช่วงสองเดือนแรกของไตรมาสที่สามเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ผลประกอบการในภาคบริการในเดือนสิงหาคมลดลงร้อยละ 14.4 เทียบกับปีที่ผ่านมา โดยกลุ่มบริการที่ปรับลดลงมากที่สุดได้แก่ การค้า การขนส่ง และธุรกิจบริการ เช่นเดียวกับ ธุรกิจการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตระหว่างประเทศ แต่ในช่วงฤดูร้อนมีผลประกอบการที่ดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก ทั้งนี้ ในไตรมาสที่สามจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงร้อยละ 7.8 เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา

จากสถานการณ์ที่ย่ำแย่ทางเศรษฐกิจ ทำให้มีธุรกิจเปิดกิจการใหม่ลดลง ในเดือนสิงหาคม 2552 มีธุรกิจที่จดทะเบียนใหม่ 4,663 ราย ลดลงร้อยละ 18.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีกลาย แต่ในภาพรวมตลอดแปดเดือนแรกของปี จำนวนธุรกิจเกิดใหม่ลดลงถึงร้อยละ 29.2 ทั้งนี้ ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีธุรกิจล้มละลายไป 974 แห่ง หรือมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.8 เทียบกับปีที่ผ่านมา

ในภาพรวมทางเศรษฐกิจแม้ว่าจะเริ่มฟื้นตัวแล้ว แต่ก็ยังมีปัญหาความไม่สมดุลย์อย่างมหาศาลที่ระบบเศรษฐกิจของสเปนสะสมมาอย่างยาวนานจนไม่สามารถจะกำจัดให้หมดสิ้นไปโดยง่าย แต่คาดหวังว่าอุปสงค์ในต่างประเทศที่ขยับสูงขึ้น จะช่วยให้สเปนก้าวพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปได้ แต่ก็จะเป็นไปอย่างเชื่องช้ามาก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ