ธุรกิจบริการด้านอาหารในเวียดนาม

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 2, 2009 16:37 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ธุรกิจแฟรนไชส์

นับแต่ปี 2533 เป็นต้นมาธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการลงทุนทางธุรกิจที่คนเวียดนามให้ความสนใจมากที่สุด เพราะนอกจากประเทศจะมีเศรษฐกิจที่มั่นคงและมีกำลังการจับจ่ายใช้สอยที่สูง แล้วการเปลี่ยนแปลงกฎหมายการค้า และกฏระเบียบทรัพยสินทางปัญญา โดยรัฐบาลเมื่อปี 2549 ธุรกิจแฟรนไชส์ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

เพราะการแก้ไขกฎระเบียบนี้และการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้ธุรกิจอาหารในเวียดนามมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งเพราะธุรกิจแฟรนไชส์ ร้านอาหารนานาชาติ เช่น Jollibees , Gloria Jean ส่วนอาหารในประเทศที่เติบโตอย่างรวดเร็วคือ Pho 24 กาแฟ Trung Nguyen และ TapioCup ก็เพิ่มยอดจำหน่ายมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

การเข้าถึงความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนามต้องรู้จักวัฒนธรรมของคนท้องถิ่น ซึ่งชื่นชอบสินค้าแบรนด์ต่างชาติเพราะเชื่อถือว่าคุณภาพดีกว่า อีกทั้งการที่จะได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนแฟรนไชส์ต่างชาติ คนเวียดนามจะต้องได้รับการฝึกฝนจากเจ้าของแฟรนไชส์ เพื่อพัฒนาด้านการบริการและความรู้ด้านการจัดการของผู้เชี่ยวชาญธุรกิจนี้ อย่างไรก็ตามก็ถือว่ามีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ และโอกาสเติบโตสูง จึงเป็นที่ชื่นชอบของนักลงทุน

แม้ว่าในปัจจุบันเศรษฐกิจจะยังไม่ฟื้นตัว แต่ก็เป็นที่คาดหมายว่าธุรกิจแฟรนไชส์จะยังคงเติบโตต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง และจะเป็นลู่ทางของการลงทุนที่น่าสนใจทั้งนี้ก็เพราะ

1. การเริ่มธุรกิจโดยไม่มีประสบการณ์ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำย่อมหมายถึงความเสี่ยงสูงที่จะพบกับภาวะขาดทุน แฟรนไชส์ช่วยให้คนลงทุนมีความเสี่ยงน้อยมาก บริษัทเจ้าของแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จ ที่มีข้อมูลแน่นและประสบการณ์สูงสามารถจะช่วยสนับสนุน ผู้ลงทุนได้เป็นอย่างมากทั้งด้านการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์

2. แฟรนไชส์บางครั้งไม่ได้ต้องการทุนที่สูงแต่อย่างใด เนื่องจากในปัจจุบันเงินกู้เริ่มจะเข้าถึงยากเนื่องจากธนาคารไม่ปล่อยกู้ แฟรนไชส์ที่ใช้เงินทุนต่ำจึงเป็นที่ต้องการของนักลงทุน ด้วยปัจจัยหนุนมากมายหลายประเภททำให้แฟรนไชส์ในเวียดนามคาดว่าจะเติบโตอย่างมาก ไม่เพียงแต่ในด้านอาหารเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงเครื่องดื่ม ซูเปอร์มาร์เก็ตและแฟชั่นอีกด้วย เนื่องจากผู้บริโภคเป็นกลุ่มวัยรุ่นถึง 60 % ของจำนวนประชากรทั้งหมด โอกาสของแฟรนไชส์ต่างชาติที่จะเติบโตและได้รับความนิยมจึงมีมาก

การปรับปรุงอาหารพื้นเมืองของเวียดนามให้ดูทันสมัยและหลากหลายได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะไลพ์สไตล์แบบเมืองหลวงและความกดดันของชีวิตที่เร่งรีบ ทำให้ต้องการอาหารที่มีคุณภาพมากขึ้น อาหารเวียดนามมีคุณประโยชน์สูง เนื่องจากมีผักมากทำให้สุขภาพดี จึงเกิดฟาสต์พูดที่มาออกมากในรูปแบบอาหารพื้นเมือง แต่สะดวกสบาย สวยงามมากขึ้นเช่น Pho 24 ขายเฝอ Muoi Xiem ขายปอเปี๊ยะ Buncamita ขายก๋วยเตี๋ยว Banhmi bistro ขายขนมปังเวียดนาม และ Contam Cali ขายน้ำแข็งไส แฟรนไชส์ในประเทศที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือ Pho 24 ที่เติบโตช้าๆ แต่มั่นคง

เนื่องจากสังคมทันสมัยมากขึ้นและไลพ์สไตส์ของคนเมืองใหญ่ เพิ่มมากขึ้น ทำให้อาหารพื้นเมืองเองก็ต้องปรับตัว ขณะที่อาหารพื้นเมืองได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ทำให้ต้องการจะได้มาตรฐานของความสะอาด ทั้งการเตรียมอาหารและภาพลักษณ์ ทำให้แฟรนไชส์กลุ่มนี้เติบโตเพื่อรองรับผู้บริโภคต่างชาติและผู้นิยมเดินศูนย์การค้า เพราะต้องการสินค้ามาตรฐานเดียวกัน

ด้วยเหตุนี้เอง วิกฤษเศรษฐกิจปี 2551 แม้ว่าจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและความต้องการในการจับจ่ายซื้อของ เนื่องจากมีคนตกงานมากและรายได้ต่อหัวก็ลดลง หากแต่อาหารที่ราคาเหมาะสมและมีโภชนาการสูงยังคงเป็นที่ต้องการของคนทุกระดับชั้นอยู่ แฟรนไชส์ที่เกิดขึ้นมาเหล่านี้ แม้จะมีอนาคตที่ดี หากแค่ถ้าขาดการบริหารจัดการที่ดีอาจจะไปได้ไม่ถึงไหน โดยเฉพาะพวกที่เกิดจากระบบครอบครัว การขาดประสบการณ์และการจัดการที่ดี อาจจะทำให้ไม่สามารถข่งขันกับแฟรนไชส์มืออาชีพได้

ในสภาพเศรษฐกิจและสังคมเช่นในปัจจุบันทำให้คนมุ่งความสนใจไปกับงานมากกว่า และมีเวลาให้กิจกรรมอื่นๆน้อยลง รวมไปถึงการกินอาหารเย็น ที่คนมักจะใช้วิธีซื้อสำเร็จ หรือกินอาหารนอกบ้านมากขึ้น แต่ก็เป็นร้านง่ายๆ ถูกๆ ไม่ใช่ระดับภัตตาคาร คนโสดมักจะนิยมแบบ Takeaway หรือ On-the-go

การที่จะดึงดูดลูกค้า และขยายธุรกิจ ผู้บริหารร้านอาหารเวียดนามมักจะใช้วิธี Takeaway หรือ On-the-go (การซื้อกลับไปกิน โดยใช้ภาชนะที่ใช้ได้หลายครั้งเช่น ถ้วยกาแฟอะลูมิเนียมมีฝาปิด หรือกล่องอาหารญี่ปุ่นเป็นต้น)โดยสามารถโทรสั่งและมารับของจากพนักงานเสิร์ฟได้

ผลจากความนิยมนี้ทำให้ของที่ได้รับการพัฒนาคือ บรรจุภัณฑ์ ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ ยังสดอยู่ได้ แม้ว่าจะอยู่ในขณะที่เดินทาง TapioCup ได้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ของตัวเอง ซึ่งทำให้ Iced Tea ยังเย็นอยู่เป็นเวลานาน ประโยชน์ที่ได้จากการ Takeaway หรือ On-the-go คือ อุปกรณ์ในการกิน เช่น ช้อน มีด ตะเกียบ กระดาษเช็ดปาก ไม้จิ้มฟัน แบบใช้แล้วทิ้ง

แม้ว่า Takeaway หรือ On-the-go จะเป็นเทรนด์ใหม่ในเวียดนาม แต่ก็ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากวัยรุ่นและคนทำงานรุ่นใหม่ๆ ไม่ใช่เพียงบริการที่เร็วและสะดวกเท่านั้น Takeaway หรือ On-the-go ยังเป็นไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ วัยรุ่นที่ถือชานมใส่ภาชนะ On-the-go ของ TapioCup หรือถ้วยกาแฟ Takeaway ของ Gloria Jean ถือว่าเป็นกลุ่มคนที่ทันสมัย มีฐานะ ประสบความสำเร็จ ตรงกันข้ามกับคนรุ่นเก่าที่มองว่า Takeaway หรือ On-the-go ถือเป็นไลฟ์สไตล์ที่รีบเร่งและไม่สุภาพที่จะกินไปเดินไป

บรรดาร้านขายอาหารจานด่วน หรือข้างถนนจะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากแนวโน้ม ของ Takeaway หรือ On-the-go ในร้าน FSR ยอดขายสินค้าแบบ Takeaway หรือ On-the-go เพิ่มขึ้นกว่า 11% ภายใน 1 ปี คาดกันว่าอนาคตแนวโน้ม Takeaway หรือ On-the-go จะเติบโตอย่างมากเพราะไลฟ์สไตล์เปลี่ยนไป เวียดนามมีประชากรที่อายุต่ำกว่า 25 ถึง 60 % และนับวันยอดขายให้กับของคนทำงานที่เป็นโสดและอยู่คนเดียวยิ่งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นลูกค้าของ Takeaway หรือ On-the-go คนขายของต้องเพิ่มเมนู Takeaway หรือ On-the-go ให้มากขึ้น ส่วนร้านขายอาหารข้างถนนจะต้องเน้นเรื่องความสะอาดเพื่อให้เข้ากับเทรนด์ Takeaway หรือ On-the-go พิซซ่า ฮัท ได้ออกพิซซ่าหลายชนิดที่เน้นเทรนด์เรื่องสุขภาพ NDP Restaurant เป็นภัตตาคารที่ปลูกผักปลอดสารพิษเอง เป็นแห่งแรกของเวียดนาม และอาหารจะเน้นเรื่องสุขภาพ จุดขายนี้สามารถดึงลูกค้าได้ทุกเพศทุกวัย ร้านอาหารหลายแห่งเพิ่มรายการเครื่องดื่มเป็นน้ำผลไม้คั้นสดเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งได้กลายเป็นแฟชั่นใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม

อาหารเพื่อสุขภาพกำลังกลายเป็นแฟชั่นใหม่ที่มีแนวโน้มว่าจะไปได้สวย ผลิตภัณฑ์ที่เน้นไขมันต่ำและอาหารเพื่อสุขภาพจะดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้นเรื่อยๆ ตามแนวโน้มนี้ ผู้ขายอาหารตามข้างถนนซึ่งขายอาหารพื้นเมืองจะปรับตัวขึ้นตามเทรนด์ Takeaway หรือ On-the-go โดยมุ่งเน้นไปที่ความสะอาดและปลอดภัย และ บรรจุภัณฑ์สวยๆ ก็จะสามารถพัฒนาตัวเองขึ้นมาและเพิ่มยอดขายได้ ภัตตาคารซึ่งได้เปรียบในเรื่องความสะอาด บริการดีอยู่แล้วหากปรับปรุงเมนูให้เน้นเรื่องสุขภาพก็จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์ใหม่ได้เช่นกัน

เมื่อปี 2551 แม้ว่าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจของโลก จำนวนศูนย์การค้าที่มีบริการด้านอาหารเพิ่มขึ้นกว่า 9% หรือมากถึง 1,557 ร้านโดยเฉพาะอย่างที่โฮจิมินท์ซิตี้ และ ฮานอย มีการแข่งขัน และมีความต้องการของตลาดสูงมาก แต่มีพื้นที่ให้เช่าไม่มากนักทำให้ราคาค่าเช่าสูง หากการศึกษาของ Cushman & Wakefield เมื่อปี 2551 เวียดนามเป็นที่ที่ค่าเช่าสำนักงาน และ ร้านค้าแพง เป็นอันดับ 17 ของโลก

เนื่องจากโฮจิมินท์ซิตี้ และ ฮานอย กลายเป็นเมืองที่มีร้านค้าและบริษัทหนาแน่นและนับวันก็จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บรรดาผู้ประกอบการรายใหญ่ต้องหาสถานที่ขยายสาขา เช่น KFC Lotteria , Jollibee , Pho24 และ Trung Nguyen Coffee พยายามออกไปเปิดตลาดตามเมืองรองๆ เช่น Hue , Vang Tau , Da nang , Hai Phong Can Tho , Dong Nai และ Binh Duong ซึ่งค่าเช่าที่ถูกกว่าและคู่แข่งยังมีไม่มากนักทำให้การพัฒนาด้านอาหารมีมากขึ้น

การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและเมืองใหญ่ที่มีการเติบโตอย่างมากทั่วทั้งเวียดนาม เมืองหลวงอย่างฮานอยคาดว่าจะขยายจาก 920 ตารางกิโลเมตร และประชากร 6 ล้าน ไปเป็น 13,000 ตารางกิโลเมตร และ คน 18 ล้านในปี 2593 โดยจะรวมเอาเมือง Hai Duong , Ha nam , Hung Yen Ha Tay , Hoa Binh , Bac Ninh และอื่น ๆ ส่วนโฮจิมินท์ซิตี้ คาดว่าจะขยายจาก 2,000 ตารางกิโลเมตร และประชากร 7.5 ล้าน ไปเป็น 30,00 ตารางกิโลเมตร และประชากร 25-30 ล้าน ในปี 2593 โดยจะรวม Binh Duong , Binh Phuoc , Tay Ninh , Long An, Dong Nai , Ba Ria — Vung Tau , Tien Giang และอื่นๆ ไว้ด้วยกัน

ขณะที่เมืองเหล่านี้ขยาย โดยจะมีตึกสูง ถนนหลักๆ ซูเปอร์มาร์เก็ต และสถานที่ที่จะพัฒนาธุรกิจอาหารได้อีกมากมาย

เชื่อว่าอนาคตอันใกล้จะมีการลงทุนด้านอาหารทั้งในเมืองและต่างจังหวัดซึ่งผู้ประกอบการต้องมองการไกลเพื่อจะเลือกทำเลดีๆ ได้ก่อนใคร รวมทั้งยังเป็นช่วงที่ราคาค่าที่ยังไม่สูงมากนัก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก เวียดนาม  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ