รายงานภาวะตลาด ตลาดสหรัฐฯ ขาดแคลนน้ำตาล : ความสัมพันธ์ในการผลิตและส่งออกน้ำตาลของเม็กซิโก

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 15, 2010 15:08 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภาวะตลาดน้ำตาลโลก

องค์กรอาหารโลก (FAO) ได้รายงานผลผลผลิตน้ำตาลทรายโลกในปี 2551 ว่ามีปริมาณประมาณ 170 ล้านตัน และคาดว่า ความต้องการนำเข้าน้ำตาลทรายโลกในปี 2553 จะมีปริมาณประมาณ 52 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 5 เนื่องจากความต้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศผู้บริโภคน้ำตาลอันดับหนึ่งของโลก ได้ประสบภาวะขาดแคลนน้ำตาลในปีที่ผ่านมาและจะเป็นปัจจัยชักจูงการนำเข้าสำคัญสำหรับปีนี้ นอกจากนี้แล้ว ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบให้มีการนำเข้าน้ำตาลมากขึ้น ได้แก่ การลดลงของราคาน้ำตาลระหว่างประเทศ หรืออ่อนตัวเพิ่มของเงินสกุลดอลล่าร์

ผู้ส่งออกน้ำตาลสำคัญของโลก ได้แก่ ประเทศบราซิล จะมีการส่งออกได้ประมาณ 25 ล้านตันในปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากปีก่อนถึงแม้ว่าผลผลิตจะไม่ค่อยดีเท่าที่ควร ส่วนประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับสอง-สามของโลก คาดว่าจะส่งออกได้ประมาณ 5.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.2

ราคาน้ำตาลโลกเป็นราคาที่กำหนดในตลาดโภคภัณฑ์ล่วงหน้า ได้เพิ่มสูงขึ้นในระยะสองปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นและนักลงทุนได้หันมาให้ความสนใจต่อการผลิตเชื้อเพลิงจากพืช (biofuel) โดยประเทศบราซิลได้เริ่มการผลิตเชื้อเพลิงจากต้นอ้อย และสหรัฐฯได้มีการผลิตเชื้อเพลิงจากข้าวโพด เป็นเหตุให้เกิดวิกฤตการณ์ราคาอาหารถีบตัวสูงขึ้นในปี 2552 ในขณะที่การเพิ่มผลผลิตน้ำตาลทั่วโลกไม่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งภาวะการขาดแคลนน้ำ และอุทกภัยต่างเป็นเหตุให้ปริมาณที่ผลิตขยายตัวไม่ทันความต้องการบริโภคโลกที่เพิ่มขึ้น

ภาวะตลาดน้ำตาลในสหรัฐอเมริกา

บริการข่าว Reuters เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553 ได้รายงานว่า กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (USDA) กำลังทำการทบทวนภาวะความต้องการและผลผลิตของน้ำตาลในตลาดสหรัฐฯ โดยอาจจะมีการพิจารณาการจัดสรรโควตาการนำเข้าน้ำตาลใหม่ ในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่ออนุมัติให้มีการนำเข้าได้มากขึ้นเพราะอาจจะมีการขาดแคลนน้ำตาลภายในประเทศได้ชั่วคราว

เม็กซิโกเป็นประเทศผู้ที่มีสิทธิส่งออกน้ำตาลไปยังสหรัฐฯ โดยได้รับสิทธิการยกเว้นภาษีนำเข้าตามข้อตกลงเขตการค้าเสรี จึงเป็นแหล่งนำเข้าน้ำตาลสำคัญแหล่งหนึ่งสำหรับสหรัฐฯ แต่นักวิเคราะห์ภาวะอุตสาหกรรมน้ำตาลในสหรัฐฯ และผู้ผลิตอาหารที่ต้องนำเข้าน้ำตาลเพื่อการผลิตอาหาร เช่น บริษัท Kraft, General Mills และบริษัท Hershey ต้องการให้มีการอนุมัติการนำเข้าน้ำตาลจากประเทศอื่นมากขึ้น เนื่องจากเล็งเห็นว่า จะไม่สามารถพึ่งปริมาณจากเม็กซิโกได้อย่างมั่งคง ทั้งนี้ ภาวะการผลิตอ้อยและการกลั่นน้ำตาลในเม็กซิโกในปี 2552 ได้มีผลผลิตลดน้อยลงถึงร้อยละ 10-15

กระทรวงการเกษตรสหรัฐฯ กำหนดโควตาการนำเข้าน้ำตาลไว้ที่ 1.231 ล้านตัน ตามข้อกำหนดขั้นต่ำขององค์การค้าโลก

ภาวะการผลิต การบริโภคและการส่งออกน้ำตาลของเม็กซิโก

เม็กซิโกมีความสามารถในการเพาะปลูกอ้อยเพื่อการผลิตน้ำตาลในปริมาณระหว่าง 60-70 ตันต่อเฮ็กเตอร์ ซึ่งจัดเป็นผู้มีสมรรถภาพในการผลิตน้ำตาลอันดับ 13 ของโลก และในปี 2552/3 จะมีผลผลิตน้ำตาลประมาณ 5.8 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณที่ใกล้เคียงกับความต้องการของตลาดภายใน ที่มีการบริโภคน้ำตาลจากอ้อยประมาณ 5 ล้านตัน และความต้องการน้ำตาลสังเคราะห์อีก 800,000 ล้านตัน เม็กซิโกมีการส่งออกน้ำตาลประมาณ 400,000 ล้านตัน และนำเข้าน้ำตาลเพื่อป้อนอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกในโครงการ INMEX จำนวน 200,000 ล้านตัน

สหภาพผู้เพาะปลูกอ้อยเม็กซิกันได้คาดะเนว่า ความต้องการบริโภคน้ำตาลในเม็กซิโกจะเพิ่มขึ้นเป็น 6.4 ล้านตัน ในปี 2555 ทั้งนี้ การบริโภคน้ำตาลต่อคนในเม็กซิโก มีอัตราเฉลี่ยเท่ากับ 44 กิโลตอคนต่อปี

พื้นที่การเพาะปลูกอ้อยทั่วประเทศเม็กซิโก มีทั้งหมดประมาณ 812 ล้านเฮกเตอร์ แต่การเพาะปลูกในปี 2552 ใช้พื้นที่เพียง 663 ล้านเฮกเตอร์ มีโรงกลั่นน้ำตาลทั้งหมด 54 แห่ง ในพื้นที่ 15 รัฐ ทั้งนี้ ในปี 2552 ได้มีการหยุดพักการทำงานของโรงงาน 3 แห่งในรัฐเวราครูซ เนื่องจากผลผลิตของอ้อยไม่เพียงพอสำหรับการป้อนโรงงานทั้งหมด

อุตสาหกรรมน้ำตาลของเม็กซิโกมีการจ้างงานโดยตรงประมาณ 440,000 คน และสร้างานโดยทางอ้อมได้อีกประมาณ 2.5 ล้านคน แต่รายได้จากภาคอุตสาหกรรมน้ำตาลมีสัดส่วนต่อรายประชาชาติเพียงร้อยละ 0.06 มีการรวมกลุ่มสหภาพแรงงนผู้ปลูกอ้อยสำคัญสองหน่วยงาน คือ Confederacion Nacional Campesina-CNC และ Union Nacional de Caeros-CNCPR ผู้เพาะปลูกอ้อยจะต้องมีสัญญาการส่งมอบอ้อยกับโรงกลั่นน้ำตาล และได้รับความช่วยเหลือด้านเทคนิคและปุ๋ยเคมีจากโรงงานที่มีสัญญา และโรงกลั่งน้ำตาลจะต้องจ่ายค่าจ้างแก่ผู้เพาะปลูกอ้อย ในอัตราร้อยละ 57 ของราคาน้ำตาลที่รัฐบาลกำหนด ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างราคาที่รัฐบาลกำหนดและราคาตลาดเป็นเหตุให้โรงกลั่นน้ำตาลอาจการขาดแคลนเงินหมุนเวียน

กระทรวงเกษตรของเม็กซิโกมีแผนงานการปรับโครงอุตสาหกรรมน้ำตาล (Programa Nacional de la Agroindustria de la Caa de Azucar-PRONAC) ที่ได้เริ่มต้นเมื่อปี 2550 และจะสิ้นสุดโครงการในปี 2555

วิเคราะห์ภาวะแข่งขันระหว่างไทยและเม็กซิโก สำหรับการส่งออกน้ำตาลไปยังตลาดสหรัฐฯ

อตุสาหกรรมน้ำตาลเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยประเภทหนึ่ง โดยมีการส่งออกร้อยละ 60-70 ของผลผลิตน้ำตาลทั้งหมด มูลค่าการส่งออกในปี 2552 เท่ากับ 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่มีพื้นที่สำหรับการขยายการผลิตอ้อยและน้ำตาลได้มากเท่าเม็กซิโก แต่ประเทศไทยมีความได้เปรียบในฐานะที่เป็นผู้ส่งออกที่มีประสิทธิภาพกว่า และยังไม่มีภาระในการตอบสสนองปริมารความต้องการภายในประเทศมากเท่ากับเม็กซิโก ดังนั้น ภาวะการขาดแคลนน้ำตาลในสหรัฐฯ ในระยะสั้นในปี 2553 นี้ อาจจะเป็นโอกาสที่ประเทศไทยอาจขอเรียกร้องการขยายโควตาการส่งออกน้ำตาลไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น

หากเม็กซิโกประสบความสำเร็จในการปรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรมน้ำตาล และหันไปทำการผลิตและใช้สารให้ความหวานชนิดอื่นทดแทนน้ำตาลทราย เช่น cornfructose เม็กซิโกจะกลายเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลทรายที่สำคัญได้อย่างกระทันหัน และกลายมาเป็นคู่แข็งเพิ่มขึ้นในตลาดการส่งออกน้ำตาล

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ