1.1 ญี่ปุ่นเริ่มใช้นโยบายปฎิรูปการผลิตข้าวมาตั้งแต่ปี 2545 ทำให้พื้นที่การผลิตข้าวของญี่ปุ่นลดลงเรื่อยๆ และเมื่อปี 2547 ได้เปลี่ยนมาใช้วิธีกำหนดเป้าหมายผลผลิตในแต่ละพื้นที่เพาะปลูกแทน ส่งผลให้พื้นที่ ผลิตข้าวกลับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในฤดูผลิตปี 2550/2551 คาดว่าจะมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวจำนวน 1.673 ล้นเฮกตาร์
1.2 แหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ และจังหวัดแถบฝั่งทะเลญี่ปุ่น เช่น ฮอกไกโดนีงาตะ อากิตะ ซึ่งถือกันว่าเป็นข้าวที่มีรสชาดอร่อย
1.3 ต้นทุนผลิตข้าวของญี่ปุ่นมีแนวโน้มลดลงจากประมาณ 138,050 เยนต่อ 100 ตรางเมตรในปี 2541 เป็น 130,513 ตารางเมตรในปี 2544 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่มีการสำรวจ
1.4 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นผลิตข้าวได้ปีละประมาณ 8 ล้านตันข้าวสาร ทั้งนี้ผลผลิตผันแปรไปบ้างในบางปีที่ประสบกับปัญหาภัยธรรมชาติและฤดูหนาวที่ยาวนาน โดยในปี 2550/51 มีผลผลิตจำนวน 7.93 ล้านตันข้าวสาร (ที่มา USDA)
1.5 ความต้องการบริโภคข้าวมีปีละ 8.00-8.30 ล้านตันข้าวสาร และมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากวิถีการดำรงชีวิตแบบใหม่ที่มีการบริโภคอาหารแบบตะวันตกและอาหารประเภทเส้นมากขึ้นความต้องการบริโภคจึงลดลงเรื่อยๆ จาก 8.357 ล้านตันเมื่อปี 2546/47 เป็น 8.150 ล้านตันในปี 2550/51 โดยปริมาณบริโภคข้าวเฉลี่ยต่อหัวของชาวญี่ปุ่นได้ลดลงจากเฉลี่ยปีละ 88.00 กิโลกรัม เมื่อปี 2518 เหลือเฉลี่ย 61.00 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ในปัจจุบัน
2.1 ข้าวเป็นอาหารจากหลักประจำชาติของชาวญี่ปุ่น ข้าวชนิดที่ปลูกและบริโภคกันภายในประเทศเป็นข้าวเมล็ดสั้นพันธุ์ Japonica ซึ่งต่างจากข้าวพันธุ์ Indica ที่ประเทศไทยผลิตและส่งออก
2.2 ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากรู้จักข้าวของไทย อันเนื่องมาจากความพยายามของหน่วยงานราชการไทยที่ส่งเสริม และแนะนำข้าวหอมมะลิ ควบคู่กับการส่งเสริมการบริโภคอาหารไทย ทำให้ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น รู้จักข้าวหอมมะลิว่าเป็นข้าวชนิดพิเศษ แตกต่างจากข้าวญี่ปุ่น และเหมาะสำหรับการบริโภคกับอาหารไทย เช่น บริโภคกับแกงชนิดต่างๆ และเหมาะสำหรับปรุงเป็นข้าวผัด การบริโภคข้าวไทยจึงกระจายจากการใช้สำหรับภัตตาคาร และการบริโภคของชาวต่างชาติในญี่ปุ่น ไปสู่ครัวเรือนญี่ปุ่นมากขึ้น
- ข้าวเป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหว และส่งผลทางการเมืองต่อรัฐบาลญี่ปุ่นสูง ในอดีต ตลาดข้าวของญี่ปุ่นอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลภายใต้ Food Stuff Law มาเป็นเวลานานเพื่อคุ้มครองเกษตรการซึ่งเป็นฐานเสียงใหญ่ โดยจะให้นำเข้าได้เฉพาะภายใต้โควตาพิเศษ เพื่อใช้ในการแปรรูปของอุตสาหกรรมอาหาร เท่านั้น
- ญี่ปุ่นเริ่มเปิดให้นำเข้าข้าว ตามความตกลงที่ผูกพันไว้กับ WTO ในปี 2538 โดยกำหนดโควตาและวิธีนำเข้าไว้เป็นการเฉพาะ ดังนี้
- ญี่ปุ่นเปิดตลาดข้าวภายใต้ระบบ Minimum Market Access (MMA) ไม่เรียกเก็บภาษีภายใต้โควตาและไม่อนุญาตให้นำเข้านอกโควตา กำหนดปริมาณโควตาในปี 2538 (เมษายน 2538-มีนาคม 2539) จำนวน 379,000 ตัน คิดเป็น ร้อยละ 4 ของปริมาณการบริโภค และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8 ในปี 2543
- ตั้งแต่ 1 เมษายน 2542 ญี่ปุ่นเปลี่ยนระบบการนำเข้าข้าวจากระบบโควตา มาเป็นระบบโควตาภาษี การนำเข้าภายใต้โควตาไม่ต้องเสียภาษี แต่การนำเข้านอกโควตา ต้องเสียภาษีในอัตรา 341 เยนต่อกิโลกรัม โดยกำหนดโควตานำเข้าข้าวไว้ปีละ 682,000 ตัน เป็นปริมาณโควตาที่กำหนดไว้จนถึงปัจจุบัน
ข้าวที่ญี่ปุ่นนำเข้า แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ทั้งสองลักษณะนำเข้าด้วยวิธีประมูล ดังนี้
(1) General Import (GI) มี Grain Trade Division (ชื่อเดิมคือ Food Agency)หน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง (MAFF) เป็นผู้กำหนดปริมาณและชนิดของข้าวที่จะประมูลนำเข้า ด้วยการทำสำรวจความต้องการของผู้ใช้ข้าวในอุตสาหกรรม ข้าวที่นำเข้าโดยการประมูลนี้ จะเป็นข้าวที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรม (Industrial use) เช่น ผลิตสาเก มิโซ ขนมอบกรอบ (แซมเบ้ อาราเร่) รวมทั้งใช้เป็นส่วนหนึ่งของข้าวสำรอง และเก็บไว้เพื่อบริจาค เป็น Food Aid ข้าวในส่วนนี้กำหนดปริมาณ ไว้รวม 582,000 ตัน ต่อปี
(2) Simultaneous Buy & Sale (SBS) การประมูลข้าวเพื่อการบริโภค (Table use) โดยผู้ที่ต้องการนำเข้าข้าว จะไปแจ้งความต้องการต่อผู้นำเข้าข้าวที่มีใบอนุญาต (License ) ว่าประสงค์จะนำเข้าจากแหล่งใด และเป็นข้าวประเภทใด สำหรับรวบรวมยื่นประมูลต่อGrain Trade Division โดยกำหนดปริมาณนำเข้าข้าวในส่วนนี้ไว้คงที่ปีละ 100,000 ตัน
ภายใต้ความตกลงที่ผูกพันไว้กับ WTO ตั้งแต่ปี 2543 ญี่ปุ่นอนุญาตให้นำเข้าข้าวได้ไม่จำกัดจำนวน แต่ต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 341 เยน ต่อกิโลกรัม
การส่งออก
- ญี่ปุ่นไม่จัดอยู่ในประเทศผู้ส่งออกข้าว และไม่มีนโยบายส่งเสริมการผลิตเพื่อการส่งออก แต่ก็มีการส่งออกไปไต้หวัน และจีน หลังจากไต้หวันเปิดตลาดนำเข้าข้าวภายใต้ WTO และจีนยินยอมให้นำเข้าข้าวจากญี่ปุ่นได้ ในลักษณะข้าวคุณภาพดีราคาสูง
- ข้าวที่ญี่ปุ่นส่งออกส่วนมากเป็นการบริจาคให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาภายใต้ Food Aid Program โดยญี่ปุ่นกำหนดปริมาณข้าวสำหรับโครงการนี้ปีละประมาณ 200,000 ตัน
ชนิดข้าวที่นำเข้า
จากสถิติของศุลกากรญี่ปุ่น ในปี 2552(มกราคม-ธันวาคม) นำเข้าข้าวรวม 670,987 ตัน มูลค่า 615.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ชนิดข้าวที่นำเข้า ตามลำดับปริมาณ ประกอบด้วย
1. ข้าวที่สีแล้ว หรือสีบางส่วน (HS: 1006.30) จำนวน 573,903 ตัน มูลค่า 553.35 ล้านหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็น 89.9 ของมูลค่านำเข้าทั้งหมด แหล่งนำเข้าหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ (มีส่วนแบ่ง 70.3%) ไทย(ส่วนแบ่ง 17.2 %) จีน(12.3%)
2. ปลายข้าว (HS: 1006.40) จำนวน 85,703 ตัน มูลค่า 53.98 ล้านเหรียญฯ หรือคิดเป็นร้ยละ 8.7 ของการนำเข้าทั้งหมด แหล่งนำเข้า ได้แก่ ไทย ครองส่วนแบ่ง 60.8 % ของปริมาณแต่มีสัดส่วนเพียง 35.5 % ของมูลค่า รองลงมาได้แก่ สหรัฐฯ ครองส่วนแบ่ 62 % ของมูลค่า และจีน (2.4 %)
3. ข้าวกล้อง (HS: 1006.20) จำนวน 8,381 ตัน มูลค่า 8.26 ล้านเหรียญฯ คิดเป็นร้อยละ 1.3 ของมูลค่านำเข้าทั้งหมด แหล่งนำเข้า มาจาก สหรัฐฯ จีน และไทย ตามลำดับ
- นับตั้งแต่ญี่ปุ่นเปิดตลาดข้าวตามข้อผูกพันต่อ WTO ในปี 2538 ไทยสามารถส่งออกข้าวไปยังญี่ปุ่นปีละ ประมาณ 135,000 ตัน
- ข้าวที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นส่วนมากเป็นข้าวสารขาว 100% รองลงมาได้แก่ ปลายข้าว และข้าวเหนียว
- จากสถิติ World Trade Atlas ในปี 2551 ญี่ปุ่นนำเข้าข้าวจำนวน 589,622 ตัน มูลค่า 408.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ร้อยละ 80 เป็นข้าวชนิดที่สีแล้ว ร้อยละ 16.8 เป็นข้าวกล้อง และร้อยละ 3.2 เป็นปลายข้าว โดยนำเข้าจากไทยจำนวน 220,470 ตัน มูลค่า 117.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ระหว่างมกราคม-กันยายน 2552 นำเข้า597,360 ตันมูลค่า 538.12 ล้านเหรียญฯ โดนยนำเข้าจากไทย จำนวน 200,465 ตัน มูลค่า 103.86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
1) การนำเข้าข้าวภายใต้ Ordinary Minimum Market Access System (OMA) สำหรับใช้ในอุตสาหกรรม และ Food Aid โดยทั่วไป สำหรับข้าวที่ต้องนำเข้าในปีงบประมาณนั้นๆ กระทรวงเกษตรฯ ญี่ปุ่น จะเปิดประมูลปีละประมาณ 10 ครั้ง เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม (สำหรับปีงบประมาณซึ่งเริ่ม 1 เมษายน-มีนาคมปีถัดไป) โดยช่วงเวลาที่นำเข้าจากแหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่
- สหรัฐฯ ซึ่งเป็นแหล่งนำเข้าปริมาณสูงสุด จะนำเข้าในเดือน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคมและมีนาคม
- ข้าวไทย การนำเข้าจะแบ่งออกเป็นหลายช่วง ในเดือน พฤษภาคม กันยายน ตุลาคม ธันวาคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม
2) การนำเข้าข้าวเพื่อการบริโภค หรือข้าว SBS (Simultaneous Buying —Selling system) จะเปิดประมูลปีละ 4-5 ครั้ง ในเดือนมิถุนายน สิงหาคม พฤศจิกายน มกราคม และมีนาคม ปริมาณนำเข้าในส่วนนี้กำหนดไว้ปีละ 100,000 ตัน ข้าวในส่วนนี้แยกออกเป็นการนำเข้า ข้าวที่มีคุณลักษณะเฉพาะเพื่อการใช้ในภัตตาคารอาหารประจำชาติ และบริโภค ซึ่งจะมีตลาดแยกออกจากตลาดข้าวของญี่ปุ่น ได้แก่ ข้าวหอมมะลิของไทย ข้าวบาสมาติของอินเดีย และข้าวอิตาลี อีกส่วนหนึ่งเป็นการนำเข้าข้าวเมล็ดสั้น ซึ่งนำเข้าจาก สหรัฐฯ และจีน
ผู้นำเข้า/ผู้จัดจำหน่ายข้าวไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
- การนำเข้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม ผู้นำเข้ารายใหญ่ได้แก่ Trading company ซึ่งนำเข้าตามความต้องการของอุตสาหกรรมที่ใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบ เช่น การผลิตสาเก มิโซ ขนมอบกรอบบริษัทนำเข้าได้แก่ Sojitz, Sumitomo, Mitsui, Mitsubishi, Itochu เป็นต้น
- การนำเข้าสำหรับการบริโภค และขายปลีก ปัจจุบันมีบริษัทที่ทำหน้าที่กระจายข้าวไทยในญี่ปุ่นเพียงรายเดียว คือ บริษัท Kitoku Shinryo Co., Ltd. ซึ่งนำเข้าข้าวไทยสำหรับการใช้ในภัตตาคาร การบรรจุถุงเพื่อจำหน่ายปลีกในร้านอาหารเชียและซูเปอร์มาร์เก็ต และนำไปแปรรูปเป็นข้าวหุงเสร็จพร้อมทาน
1.1 ชาวญี่ปุ่นคุ้นเคยและนิยมบริโภคข้าวเมล็ดสั้นที่มีความเหนียวพอสมควร ไม่คุ้นเคยกับการบริโภคข้าวเมล็ดยาวที่ค่อนข้างร่วน โดยเฉพาะข้าวที่มีกลิ่น เช่น ข้าวหอมมะลิ และข้าวบาสมาติ การบริโภคจึงจำกัดในกลุ่มผู้ที่รู้จักและนิยมทดลองบริโภคอาหารต่างชาตินอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นโดยทั่วไปยังไม่รู้จักวิธีหุงข้าวไทย การนำข้าวไทยไปหุงแบบข้าวญี่ปุ่น(ด้วยการแช่ข้าวในน้ำ นานครึ่งชั่วโมงก่อนหุง) ทำให้ข้าวไทยแฉะไม่น่าทาน
1.2 Grain Trade Division ของกระทรวงเกษตรฯ มีบทบาทมากในการกำหนดมาตรการต่างๆ ทั้งด้านการผลิต การนำเข้าและการส่งออก ในการประมูลนำเข้าข้าวแต่ละครั้ง Grain Trade Division จะประกาศจำนวนและชนิดข้าวที่จะประมูล ล่วงหน้าในระยะเวลากระชั้นชิด(ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนประมูล) ทำให้ผู้นำเข้าต้องเตรียมการเข้าประมูลอย่างกระทันหัน
1.3 นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2544 ญี่ปุ่นได้เปลี่ยนวิธีการบริหารนำเข้า โดยลดปริมาณนำเข้าแบบ SBS ลงและคงไว้ที่ปริมาณ 100,000 ตันต่อปี โดยให้เหตุผลว่าการนำเข้าข้าวเพื่อการบริโภคยังมีปริมาณน้อย ปริมาณที่กำหนดดังกล่าวไม่สามารถขยายเพิ่มขึ้น ยกเว้นจะนำเข้าโดยการเสียภาษี นอกจากนี้ ได้ลดปริมาณที่นำเข้าในระบบ Country Specified Tender ลงพร้อมกับขยายปริมาณนำเข้าแบบ Not Specified Tender ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถกำหนดแหล่งนำเข้าที่ต้องการซื้อได้
1.4 กฎหมายของญี่ปุ่น เข้มงวดต่อการควบคุมมาตรฐานและคุณภาพภายใต้กฎหมาย 3 ฉบับได้แก่ (1)กฎหมายสุขอนามัยอาหาร (2) กฎหมายกักกันโรคพืชและแมลง และ (3) กฎหมายรักษาเสถียรภาพอุปสงค์ อุปทาน และราคาสินค้าอาหารหลัก นอกจากนี้ ได้เพิ่มจำนวนรายการสารเคมีปนเปื้อน ที่ต้องทำการตรวจสอบจาก 128 รายการเป็น 509 รายการ และ ยังกำหนดให้ผู้ประกอบการค้าที่นำเข้า ต้องจ่ายเงินค่าประกันการตรวจสอบข้าวก่อนส่งออกจากประเทศต้นทาง ทำให้ต้นทุนนำเข้าสูงขึ้น
1.5 อัตราภาษีนำเข้านอกโควตาสูงถึง 341 เยนต่อกิโลกรัม ทำให้ข้าวที่นำเข้านอกโควตาราคาสูงมากจนไม่สามารถแข่งขันได้
1.1 ชาวญี่ปุ่นมีแนวโน้มบริโภคข้าวลดลง และหันไปบริโภคอาหารทางเลือกอื่น เช่น ขนมปังพาสต้าและก๋วยเตี๋ยว ขณะเดียวกันข้าวก็เป็นสินค้าเกษตรในจำนวนน้อยชนิดที่ญี่ปุ่นผลิตได้พียงพอกับความต้องการบริโภค ข้าวที่นำเข้าเกือบทั้งหมดจึงถูกใช้เป็นข้าวสำรอง และการใช้แปรรูปในอุตสาหกรรม ซึ่งต้องแข่งขันกันด้วยราคา
1.2 ในส่วนของข้าวเพื่อการบริโภค (SBS) หรือ Table rice ญี่ปุ่นกำหนดปริมาณนำเข้าไว้ปีละ100,000 ตัน ในจำนวนนี้ ส่วนหนึ่งเป็นการนำเข้าข้าวชนิดพิเศษ เช่น ข้าวหอมมะลิของไทยข้าว บาสมาติ และข้าวอิตาลี สำหรับการใช้ในภัตตาคารอาหารประจำชาติ และการวางขายปลีกในร้านค้าเฉพาะ เช่น Asian Store แต่ส่วนใหญ่ก็ยังเป็นการนำเข้าสำหรับใช้แปรรูปในอุตสาหกรรม ไม่ได้นำไปวางขายปลีกสำหรับจำหน่ายแก่ครัวเรือนญี่ปุ่น ทำให้พบว่าในการนำเข้าข้าว SBS นี้มีการนำเข้าปลายข้าวจำนวนหนึ่งด้วย
1.3 ข้าวไทยที่เข้าไปจำหน่ายปลีก เพื่อการใช้ในภัตตาคารและการขายปลีกในซูเปอร์มาร์เก็ต มีผู้นำเข้าเพียงรายเดียว แม้ว่าจะเป็นบริษัทที่มีความกระตือรือร้นและให้ความร่วมมืออย่างดีในการร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย แต่โอกาสขยายตลาดก็ทำได้อย่างจำกัด
กิจกรรมที่สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ในญี่ปุ่น ดำเนินการเพื่อส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยในญี่ปุ่น ได้แก่
- เผยแพร่ และให้ข้อมูลลักษณะเฉพาะ และความพิเศษของข้าวไทย โดยร่วมมือกับกรมการค้าต่างประเทศ รวมทั้งจัดกิจกรรมแนะนำในโอกาส และเทศกาลต่างๆ
- งานเจรจาสินค้าอาหารในแสดงสินค้า FOODEX Japan (เดือนมีนาคม)
- การร่วมมือกับภัตตาคารอาหารไทยที่ได้รับ Thai select จัดเทศกาลบริโภคอาหารไทยในภัตตาคาร(เดือนเมษายน)
- การเข้าร่วมงาน Cooking Hobby โดยร่วมมือกับบริษัทนำเข้าและสถาบันสอนอาหารไทย ในญี่ปุ่น จัดแนะนำข้าวไทยและอาหารไทย (เดือนพฤษภาคม)
- การจัดมหกรรมจำหน่ายสินค้า และอาหารไทย ร่วมกับห้าง AEON และซูเปอร์มาร์เก็ตในเครือทั้งหมด รวม 1,200 แห่ง จัดแนะนำข้าวและอาหารไทย (เดือนเมษายน-พฤษภาคม)
- การจัดสอนอาหารไทยโดยร่วมมือกับบริษัท Tokyo Gas จัดสอนอาหารไทยและอบรมวิธีทานอาหารไทยกับข้าวไทยให้แก่ครูผู้สอน และบุคคลทั่วไป 1,800 คน (เดือนพฤษภาคม-กรกฏาคม)
- การแนะนำข้าวไทย อาหารและสินค้า GI ในเทศกาล Thai Festival ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเดือนพฤษภาคม มีผู้เข้าร่วมงานระมาณ 300,000 คน
- การให้สัมภาษณ์ทางสื่อหนังสือพิมพ์ นิตยสาร สถานีทรทัศน์ และการร่วมมือกับสื่อเหล่านี้ในการประชาสัมพันธ์
- การแจกเอกสารเรื่องข้าวไทย อาหารไทย และสื่อประชาสัมพันธ์อื่นๆ เป้นภาษาญี่ปุ่น
โดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว
ที่มา: http://www.depthai.go.th