โอกาสและลู่ทางธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ ส่วนประกอบ ชิ้นส่วน และอะไหล่ในแอฟริกาตอนใต้

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 26, 2010 15:44 —กรมส่งเสริมการส่งออก

โอกาสและลู่ทางธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ ส่วนประกอบ ชิ้นส่วน และอะไหล่ในแอฟริกาตอนใต้ (South Africa, Angola, Mozambique, Mauritius, Botswana, Namibia, Swaziland, Lesotho, Zambia Malawi and Zimbabwe)

ภาพรวมทั่วไป

ประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ ที่สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงพริทอเรีย รับผิดชอบดูแลเขตอาณา ประกอบด้วย South Africa, Angola, Mozambique, Mauritius, Botswana, Namibia, Swaziland, Lesotho, Zambia Malawi and Zimbabwe โดยรวมแล้วอุตสาหกรรมยานยนต์มีความแตกต่างและหลากหลายซึ่งมีทั้งประเทศแอฟริกาใต้ที่สามารถเป็นผู้ผลิตและประกอบยานยนต์ และประเทศที่เหลืออื่นๆยังต้องพึ่งพาการนำเข้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่โดยรวมแล้วเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคนี้มีการขยายตัวรวมถึงการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง บางประเทศที่เดิมมีปัญหาข้อขัดแย้งภายในประเทศ ได้พัฒนาความสัมพันธ์ให้ดีขึ้นและสามารถบรรลุข้อยุติความขัดแย้ง ทำให้หันมาพัฒนาประเทศอย่างจริงจังและต่อเนื่อง มีการก่อสร้างและฟื้นฟูสิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐาน เป็นจำนวนมาก และจากการที่เศรษฐกิจมีการขยายตัวที่รวดเร็ว ทำให้ประชากรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รถยนต์จึงเป็นสิ่งที่ต้องการของผู้ที่มีรายได้สูงหรือผู้ที่มีฐานะดีขึ้น เนื่องจากระบบขนส่งมวลชนที่ยังไม่ทั่วถึงและดีพอ เพื่อความสะดวกต่อการเดินทางจึงจำเป็นต้องหารถยนต์ไว้ใช้ และนอกจากนี้ยังเป็นเครื่องบ่งชี้ฐานะทางสังคมอีกด้วย โดยเฉพาะรถยนต์ประเภทขับเคลื่อนสี่ล้อ และรถกระบะ เป็นที่นิยมเนื่องจากสภาพถนนส่วนใหญ่ในแอฟริกาตอนใต้ยังคงมีสภาพที่ไม่ดีนัก และส่วนใหญ่ยังคงเป็นถนนที่มีความขรุขระ (ยกเว้นในบางประเทศที่มีการพัฒนาอย่างดี เช่น แอฟริกาใต้ ที่มีถนนหนทางที่ดีทั่วทั้งประเทศตลอดจนมีการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีตลอดเวลา หรือประเทศนามีเบีย บอตสวาน่า สวาซีแลนด์ และเลโซโท ที่มีเส้นทางการคมนาคมที่อยู่ในเกณฑ์ดี) และสำหรับกลุ่มผู้บริโภคชาวแอฟริกาใต้ก็เป็นที่นิยมด้วยเช่นกันเนื่องจากชอบกิจกรรมการผจญภัย และกิจกรรม outdoor ยามว่าง

แอฟริกาใต้

แอฟริกาใต้ เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่และมั่นคงที่สุดในแอฟริกาและเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีประชากรประมาณ 47.6 ล้านคน นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการค้า การคมนาคม การลงทุน ของภูมิภาค เนื่องจากมีสิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐานที่พร้อมมูล มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ -1.5 ถึง -2 ในปี ค.ศ. 2009 และคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2010 จะมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ประมาณ 2 ถึง 2.7 ขณะนี้มีอัตราเงินเฟ้อที่ประมาณร้อยละ 10 และอัตราการว่างงานสูงร้อยละ 25-30 (แต่ในความเป็นจริงอาจสูงถึงร้อยละ 40) ภาคการผลิต การเหมืองแร่ การเกษตร การท่องเที่ยว การเงิน และการคมนาคม เป็นภาคธุรกิจที่มีบทบาทที่สำคัญของประเทศ อุตสาหกรรมการผลิตและประกอบยานยนต์ของแอฟริกาใต้ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการผลิตและประกอบยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของแอฟริกา ตั้งแต่หลังจากมีการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1994 ทำให้หลายประเทศยกเลิกการแซงชั่น ผลการประกอบการของอุตสาหกรรมรถยนต์ และอุตสาหกรรมการประกอบยานยนต์ในแอฟริกาใต้ ทั้งในด้านค้าปลีก การผลิตและการส่งออกรถยนต์และอะไหล่ มีการขยายตัวค่อนข้างสูงและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมาโดยตลอด โดยอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมหลักที่สำคัญของภาคการผลิตของเศรษฐกิจของแอฟริกาใต้ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 7.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ถึงแม้ว่าปริมาณการผลิตคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.8 ของผลผลิตทั้งหมดทั่วโลก แต่แอฟริกาใต้ผลิตรถยนต์คิดเป็นร้อยละ 75 ของการผลิตทั้งหมดในแอฟริกา และในปี ค.ศ. 2006 จำนวนรถที่ขายออกสู่ท้องตลาดมากที่สุดเป็นจำนวนกว่า 714,000 คัน ซึ่งมีการขยายเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากจำนวนการขายในปี ค.ศ. 2000 และลดมาที่ระดับ 612,000 คันในปี ค.ศ. 2007 และ ที่ระดับ 488,000 คัน ในปี ค.ศ.2008 ตามความต้องการของตลาดที่ลดลง ในขณะที่ในปี ค.ศ. 2009 ปริมาณการขายอยู่ที่ระดับ 395,000 คัน ตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำ แต่ในปี ค.ศ.2010 คาดว่าปริมาณการจำหน่ายรถยนต์น่าจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้นทั้งนี้ในช่วงสองเดือนแรกของปี ค.ศ. 2010 มียอดจำหน่ายเฉลี่ยเดือนละ 34,000 คัน

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแอฟริกาใต้กลายเป็นศูนย์กลางการส่งและกระจายสินค้าไม่เพียงแต่ภายในประเทศเท่านั้นแต่ได้ครอบคลุมไปถึงประเทศแอฟริกาอื่นๆอีก

ในปี ค.ศ. 2008 รถยนต์ที่ประกอบและผลิตในแอฟริกาใต้ รวมถึงชิ้นส่วนต่างๆ มีการส่งออกไปกว่า 100 ประเทศ รวมการส่งออกรถยนต์จำนวนกว่า 284,211 คัน โดยมีตลาดอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลียเป็นตลาดหลัก ในขณะที่กลุ่มประเทศใน EU เป็นตลาดส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของแอฟริกาใต้

ในแอฟริกาใต้ มีโรงงานประกอบและผลิตรถยนต์ 7 แห่งที่สำคัญๆ ซึ่งทำการประกอบและผลิตรถยนต์หลากหลายยี่ห้อทั้งจากยุโรป ญี่ปุ่น อเมริกา ได้แก่ Mercedes-Benz ใน East London (Mercedes-Benz ), Toyota ใน Durban, GM ใน Port Elizabeth (Opels และ Huer), Volkswagen ใน Uitenhage, BMW และ Nissan ใน Rosslyn และ Ford ใน Pretoria (Mazdas และ Fords). นอกจากนี้เป็นการนำเข้ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลอื่นๆแทบทุกยี่ห้อ อาทิ Peugeot, Citroen, MINI, Subaru, Hyundai, Kia, SsangYong, Daihatsu, Mahindra, Proton, Porsche, Bentley, Rolls Royce, Laborghini, Maserati, Ferrari, Geely, Chery, GWM, Dodge, Chrysler, Sart, Jeep, Lexus, Jaguar, Volvo, Land Rover, Mitsubishi, Audi, Seat, Chevrolet, Cadillac, Huer, Saab, Fiat and Alfa Roeo, Renault and Tata. ดังนั้นรถยนต์ที่มีการใช้ในแอฟริกาใต้จึงมีแทบทุกยี่ห้อ ได้แก่ Alfa Roeo, Aston Martin, Audi, Bentley, BMW, Cadillac, CAM, Chana, Chery, Chevrolet, Chrysler, Citroen, Daewoo, Daihatsu, DFM, Dodge, Ferrari, Fiat, Ford, Foton, Fudi, Geely, Gonow, GWM, Hafei, Honda, Huer, Hyundai, Isuzu, Jaguar, Jeep, Kia, Lada, Laborghini, Land Rover, Lexus, Lotus, Mahindra, Maserati, Maybach, Mazda, Meiya, Mercedes Benz, MG, Mini, Mitsubishi, Morgan, Nissan, Opel, Peugeot, Polarsun, Porsche, Proton, Renault, Rolls-Royce, Rover, SAAB, Seat, Sart, Soyat, Ssangyong, Subaru, Suzuki, Tata, Toyota, TVR, Volkswagen, Volvo. และโดยเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมารถยนต์ราคาต่ำจากประเทศจีน อินเดีย มีการขยายตัวของส่วนแบ่งตลาดเพิ่มมากขึ้น และสำหรับรถยนต์ที่เป็นที่นิยมและสามารถขายได้สูงสุด 10 อันดับแรกในเดือนเมษายน ค.ศ. 2009 นี้ ได้แก่

1.VW Polo (1,024)

2.Toyota Yaris T3 (779)

3.Mercedes C-Class (736)

4.Ford Fiesta (718)

5.VW CitiGolf (678)

6.BMW 3-Series (653)

7.Toyota Corolla (648)

8.VW Polo Classic (468)

9.VW Golf 6 (435)

10.Toyota Fortuner (415)

เมื่อสิ้นปี ค.ศ. 2006 มีจำนวนรถยนต์กว่า 8.5 ล้านคัน ซึ่งเป็นรถยนต์นั่งและมินิบัสจำนวน 5.1 ล้านคันในแอฟริกาใต้ อย่างไรก็ตามขณะนี้อุตสาหกรรมการผลิตและประกอบยานยนต์ในแอฟริกาใต้ประสบกับภาวะความต้องการลดลงเนื่องจากวิกฤติการเงินโลก และเศรษฐกิจโลกถดถอยในช่วงระหว่างปลายปี ค.ศ. 2008 - ค.ศ. 2009 ซึ่งคาดการณ์ว่าปริมาณการขายรถยนต์จะลดลงกว่าร้อยละ 30 ส่งผลให้มีการปลดคนงานออกเป็นจำนวนมาก โอกาสสำหรับสินค้าอะไหล่ยานยนต์เพื่อใช้ทดแทนชิ้นส่วนที่สึกหรอหรือเสื่อมสภาพเนื่องจากแนวโน้มผู้ใช้รถยนต์จะใช้นานขึ้น และการเปลี่ยนรถยนต์บ่อยครั้งลดลง (โดยทั่วไปพฤติกรรมผู้บริโภคแอฟริกาใต้มีแนวโน้มในการเปลี่ยนรุ่นรถยนต์ที่ขับขี่เป็นรถยนต์รุ่นใหม่ๆที่ออกสู่ท้องตลาด) นอกจากนี้โอกาสสำหรับผู้ผลิต ผู้ส่งออกไทยในสินค้ากลุ่มที่ใช้กับรถขับเคลื่อนสี่ล้อและรถยนต์ปิ๊กอับ เพื่อเดินทางเข้าไปแคมปิ้งในป่าซึ่งเป็นกิจกรรมที่นิยมในหมู่ชาวแอฟริกาใต้มากซึ่งสินค้าอะไหล่ และเครื่องประดับที่ใช้กับรถยนต์ประเภทดังกล่าวมีลู่ทางที่ดี ถึงแม้ว่าแอฟริกาใต้ จะประสบกับภาวะปริมาณการสั่งซื้อรถยนต์ลดลงในปี ค.ศ. 2009 สืบเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาและถดถอย ทำให้โรงงานหลายแห่งต้องปิดชั่วคราว และลดกำลังการผลิต แต่อย่างไรก็ตาม จากการที่อุตสาหกรรมได้มีการพัฒนามาเป็นเวลานาน มีความพร้อมในการผลิต/ประกอบ และเมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว จำนวนการสั่งซื้อรถยนต์ก็ได้กลับมาเช่นเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอฟริกาใต้มีความพร้อมและชำนาญในการประกอบรถยนต์พวงมาลัยขวา และขณะนี้ได้แสดงให้เห็นถึงสัญญาณที่ดีที่มีการสั่งประกอบรถยนต์เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2553 ได้มีการว่าจ้างแรงงานกลับไปสู่ภาคการผลิตรถยนต์เพิ่มมากขึ้น

ส่วนประกอบ ชิ้นส่วน และอะไหล่ ที่มีลู่ทางและศักยภาพสูงในตลาดแอฟริกาใต้

ได้แก่สินค้าที่ผลิตตาม OEM เพื่อนำมาประกอบการผลิตซึ่งบริษัทแม่จะเป็นผู้กำหนดสั่งซื้อ นอกจากนี้สินค้าอะไหล่ที่ใช้หลังการขาย อาทิเช่น Disc Brake Pads, Suspension Parts, Clutch Parts, ยางรถยนต์ และรวมถึงอะไหล่ที่ใช้ทดแทนส่วนที่เสียหรือเสื่อมรวมถึงไฟรถยนต์ด้วย นอกจากนี้สินค้าอะไหล่และประดับยนต์ที่ใช้กับรถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อหรือรถกระบะปิ๊กอัป เช่น bull bars, nudge bars, running boards, bupers and roll over bars, canopies, suspension systes and long range fuel tanks.เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากผู้บริโภคแอฟริกาใต้มีความต้องการประเภทยานยนต์ที่หลากหลาย ตามความต้องการและวัตถุประสงค์ของแต่ละบุคคลจึงมีการแข่งขันเป็นอย่างมากจากผู้แทนจำหน่ายที่ต้องการตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่จะนำเสนอความหลากหลายของรถยนต์ทั้งรุ่น ประเภท ขนาด โดยทั่วไปรถยนต์เก๋งที่ใช้เป็นพาหนะขับขี่สำหรับใช้งานประจำวัน ไปทำงาดังนั้นความต้องการรถยนต์ขนาดเล็กที่มีราคาไม่สูงนักก็เป็นที่นิยมของผู้บริโภคแอฟริกาใต้ ในขณะที่จะนิยมมีรถยนต์ที่ดีๆสำหรับใช้ขับขี่ในช่วงวันหยุดหรือเดินทางท่องเที่ยว และรถยนต์ประเภท SUV เป็นที่ต้องการอย่างมากได้เริ่มมีการพัฒนาไปสู่ รถยนต์ประเภท SUV ที่มีขนาดเล็กลงและสามารถเป็นกึ่งใช้สำหรับทั่วไปและการเดินทางแบบสมบุกสมบันอีกด้วย นอกจากนี้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่ผู้ขับขี่

ขั้นตอน กฎระเบียบของแอฟริกาใต้

การนำเข้าจะต้องได้รับการอนุญาตให้นำเข้าก่อนโดยหน่วยงาน International Trade Adinistration จะเป็นผู้ออกใบอนุญาตนำเข้า นอกจากนี้จะต้องผ่านมาตรฐานที่กำหนดและควบคุมโดยหน่วยงาน National Regulator for Copulsary Specifications (NRCS) แอฟริกาใต้ไม่อนุญาตให้มีการนำเข้ารถยนต์หรืออะไหล่ยานยนต์ที่ใช้แล้วเข้ามาใช้ในประเทศ

อังโกลา

อังโกลาเป็นประเทศใหญ่ ประชากรจำนวน 17 ล้านคน อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ประมาณ 12.46 % (ค.ศ. 2008) อัตราการว่างงานที่ระดับ 27 % (ค.ศ. 2008) มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงอย่างต่อเนื่องและอยู่ระหว่างการพัฒนาประเทศมีทรัพยากรธรรมชาติและแร่ธาตุที่มั่งคั่ง ได้แก่ น้ำมัน เพชร ทองคำ ทองแดง เหล็ก แมงกานีส ยูเรเนียม และทรัพยากรประมง ในอดีตรายได้จากน้ำมันและเพชรนำไปใช้ในการซื้ออาวุธเพื่อทำสงครามต่อสู้กันเองที่ยืดเยื้อ ด้วยเหตุนี้อังโกลาจึงตกอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ประสบปัญหาเงินเฟ้อปัญหาการขาดดุลการค้า ปัญหาหนี้สินต่างประเทศ ปัจจุบันความขัดแย้งภายในประเทศยุติลงแล้วและมีความสงบ ประกอบกับมีรายได้จำนวนมากจากการส่งออกน้ำมัน จึงมีการพัฒนาและปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างและสิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ถูกทำลายหรือไม่ได้รับการบำรุงรักษาซ่อมแซม เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น ประชากรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น มีความต้องการและแสวงหาสินค้าที่ต้องการ รวมถึงรถยนต์ และเนื่องจากสภาพถนนหนทางภายในประเทศอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่และทรุดโทรมอยู่ระหว่างการปรับปรุงและซ่อมแซม สภาพถนนไม่ดีทำให้รถยนต์ประเภทขับเคลื่อนสี่ล้อเป็นที่นิยมเนื่องจากทนทานและสมบุกสมบันเหมาะสมกับสภาพท้องถนนโดยทั่วไปของอังโกลา ประชากรมีความต้องการทั้งรถยนต์ที่เป็นรถใหม่และรถยนต์ที่ใช้แล้ว โดยเฉพาะรถยนต์ที่ใช้แล้วส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากญี่ปุ่น และจีน อย่างไรก็ตามการเดินทางเข้าไปติดต่อธุรกิจที่ประเทศอังโกลาค่อนข้างยุ่งยาก และไม่สะดวก ปัญหาการคอรัปชั่นที่ยังคงมีอยู่สูง ปัญหาด้านภาษาในการติดต่อสื่อสารและความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับปอร์ตุเกสและบราซิลทำให้ยากต่อการเข้าไปแย่งตลาด และการขาดความสนใจจากผู้ผลิต ผู้ส่งออกไทย ทำให้การขยายตัวทางการค้าเป็นไปได้ช้า ขณะนี้จีนมีโครงการเข้าไปลงทุนสร้างโรงงานเพื่อประกอบรถยนต์เพื่อสนองตอบความต้องการในอังโกลาอีกด้วย

ส่วนประกอบ ชิ้นส่วน และอะไหล่ ที่มีลู่ทางและศักยภาพสูงในในตลาดอังโกลา

ได้แก่ อะไหล่สำหรับรถตู้ใช้แล้วที่มีการนำเข้าจากญี่ปุ่นและจีน ที่ส่วนใหญ่นำมาใช้เป็นแท็กซี่บริการรับส่งคน แต่ขาดเอเย่นต์บริการหลังการขาย และเนื่องจากสภาพถนนยังไม่อยู่ในสภาพที่ดี ดังนั้น สินค้าอะไหล่ และชิ้นส่วน ประเภท ยางรถยนต์ Suspension และเบรค จึงเป็นสินค้าที่จะต้องใช้ทดแทนหรือเปลี่ยนอันเดิมที่สึกหรอ และจากสภาพถนนในอังโกลาทียังขาดการบำรุงดูแลส่งผลให้ผู้บริโภคนิยมที่จะใช้รถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อที่ทนต่อสภาพท้องถนนและสามารถใช้งานหนักได้อย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงและมีรายได้เพิ่มมากขึ้นดังนั้นในอนาคตสินค้ารถยนต์ประเภทหรูหราจึงเป็นที่ต้องการเพิ่มตามขึ้นมาด้วยและรวมไปถึงอุปกรณ์อะไหล่ตกแต่งประดับยนต่งมีแนวโน้มเป็นมที่ต้องการของผู้ขับขี่เพิ่มมากขึ้น

ขั้นตอน กฎระเบียบของอังโกลา

ภาครัฐมีความพยายามที่จะต้องการให้การค้าของประเทศเป็นไปในรูปแบบของการค้าเสรี ได้มีการยกเลิกกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้า เช่นการยกเลิกการขอใบอนุญาตนำเข้าหรือยกเลิกข้อจำกัดด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ตามได้มีการนำระบบการตรวจสอบสินค้าที่ประเทศต้นทางก่อนการส่งออก (Pre Shipent Inspection (PSI)) และอนุญาตให้นำเข้ารถยนต์ที่ใช้แล้ว

โมซัมบิก

อดีตเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส และเมื่อได้รับเอกราชเมื่อ ปี ค.ศ. 1975 จึงได้นำระบบสังคมนิยมในการปกครองประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ. 1987 ประเทศโมซัมบิก ต้องเข้าสู่โครงการของ World Bank และ IMF ทำให้เริ่มเปิดประเทศมากขึ้น อย่างไรก็ตามโมซัมบิกประสบปัญหาการเมืองภายในประเทศตั้งแต่ได้รับเอกราช มีการสู้รบกันเองที่นานถึง 16 ปี จนกระทั่ง ปี ค.ศ. 1992 จึงได้ยุติลง และได้มีการเลือกตั้งเมื่อ ปี ค.ศ. 1994 จนในปี ค.ศ. 1996 จึงได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือจักรภพ ปัจจุบันโมซัมบิกเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูประเทศ มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงประเทศหนึ่งในภูมิภาค มีนโยบายด้านเศรษฐกิจที่ เน้นการแก้ไขปัญหาความยากจน ทำให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมีเสถียรภาพ และปรับปรุงการบริการด้านสาธารณะดีขึ้น ในส่วนของนโยบายด้านการคลัง รัฐบาลได้ใช้จ่ายเงินงบประมาณเป็นจำนวนมากในโครงการบรรเทาความยากจนและการพัฒนาประเทศ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศส่วนใหญ่มาจากภาคบริการและอุตสาหกรรมได้แก่ อาหาร, เครื่องดื่ม, เคมีภัณฑ์, อะลูมินั่ม, ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม, สิ่งทอ, ซีเมนต์, แก้ว ยาสูบ และการท่องเที่ยว นอกจากนี้นโยบายที่ควบคุมปัญหาภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงการเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนให้เป็นที่น่าเชื่อถือและมีหลักประกัน ส่งผลให้มีการขยายการลงทุนในประเทศเป็นจำนวนมาก ขณะนี้มีประชากร 20.4 ล้านคน (ปี ค.ศ. 2008) และใช้ภาษาโปรตุเกส เป็นภาษาราชการ อัตราเงินเฟ้อ 9.4% (ค.ศ. 2008) อัตราการว่างงาน 25.4% (ค.ศ. 2007)มีการขยายตัวด้านการก่อสร้างด้านที่พักอาศัย ศูนย์การค้า และอาคารหน่วยงานราชการ ตลอดจนปรับปรุงถนนหนทาง และโดยที่ประเทศโมซัมบิกมีพื้นที่ติดต่อกับแอฟริกาใต้มีการคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างประเทศทั้งสองที่มีประสิทธิภาพดังนั้นรถยนต์ที่ใช้ในโมซัมบิกส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าผ่านแอฟริกาใต้ รุ่นและประเภทรถยนต์ที่ใช้จึงมักเป็นเช่นเดียวกับที่มีวางจำหน่ายในแอฟริกาใต้และรวมถึงอะไหล่ อุปกรณ์ต่างๆก็นำเข้าจากแอฟริกาใต้เป็นส่วนใหญ่ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้อนุญาตให้นำเข้ารถยนต์หรืออะไหล่ที่ใช้แล้วได้

ส่วนประกอบ ชิ้นส่วน และอะไหล่ ที่มีลู่ทางและศักยภาพสูงในตลาดโมซัมบิก

ได้แก่ Disc Brake Pads, Suspension Parts, Clutch Parts, ยางรถยนต์ , แบตเตอรรี่, ล้อ, อะไหล่ตัวถัง รวมถึงไฟต่างๆ นอกจากนี้อุปกรณ์ตกแต่งรถขับเคลื่อนสี่ล้อและรถปิ๊กอัป เช่น Bush Bars, Roll Bars, Nudge Bars และหลังคามุงรถ เป็นต้น และเนื่องจากโมซัมบิกได้พ้นจากปัญหาภายในประเทศ รายได้มากเพิ่มขึ้น มีความต้องการรถยนต์เพิ่มมากขึ้นจึงมีตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ในโมซัมบิกแทบทุกยี่ห้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประชากรส่วนใหญ่ยังคงมีรายได้ไม่สูงนักจึงมีความต้องการรถยนต์ที่ใช้แล้วเป็นจำนวนสูง รวมถึงอะไหล่ทดแทนจึงเป็นสิ่งจำเป็น ประกอบกับถนนหนทางยังขาดการบำรุงรักษาทำให้ต้องใช้อะไหล่ทดแทนบ่อยครั้งเช่นกัน

ขั้นตอน กฎระเบียบของโมซัมบิก

มีความใกล้ชิดกับปอร์ตุเกส และกฎระเบียบต่างๆใช้แนวทางจากประเทศปอร์ตุเกสเป็นต้นแบบ รวมถึงกฎข้อบังคับที่กำหนดให้ต้องมีการตรวจสอบสินค้าก่อนการส่งออก (Pre-Shipent Inspection (PSI)) สำหรับสินค้าที่มีการนำเข้า ส่วนใหญ่โดยบริษัทที่ทำหน้าที่ตรวจสอบสินค้าในประเทศต้นทาง ทั้งนี้สินค้าที่นำเข้าจะต้องผ่านมาตรฐานของชาติซึ่งใช้มาตรฐานของ EC เพิ่อให้เกิดความมั่นใจด้านความปลอดภัยของผู้บริโภค

มอรีเชียส

หลังจากได้รับเอกราช มอริเชียสได้เข้าเป็นสมาชิกของเครือจักรภพอังกฤษ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1968 โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งอังกฤษ เป็นองค์ประมุขและมีผู้สำเร็จราชการ (Governor-General) เป็นผู้แทนพระองค์ประจำที่มอริเชียส ต่อมาเปลี่ยนเป็นระบบสาธารณรัฐ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1992 ซึ่งมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ ทั้งนี้การเมืองภายในไม่มีลักษณะที่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งผูกขาดอำนาจ มีการย้ายพรรค รวมตัวกัน แยกตัวกัน พรรคการเมืองต่างมีนโยบายด้านเศรษฐกิจที่เหมือนกัน คือ การพัฒนาเศรษฐกิจในแนวทางทุนนิยม ซึ่งความร่วมมือระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศมีความ เข้มแข็ง ทั้งนี้มอริเชียสมีเป้าหมายที่จะพัฒนาประเทศตามรูปแบบของสิงคโปร์ เช่น การพัฒนาท่าเรือเสรี การบริการ ด้านเงินกู้ต่างประเทศ (Offshore banking financial service) การพัฒนาฐานการผลิต และการปรับปรุงอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศให้ทันสมัย มอริเชียสได้พัฒนาประเทศจากที่มีรายได้ต่ำเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และมีความเจริญ เติบโตในภาคอุตสาหกรรมการเงิน และการท่องเที่ยว ความสำเร็จทางด้านเศรษฐกิจจะเห็นได้จากการเฉลี่ยรายได้อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น ประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น อัตราการตายของทารกต่ำลง ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญของประเทศซึ่งมุ่งไปที่การลงทุนจากต่างประเทศ ในภาคอุตสาหกรรมที่หลากหลายพยายามไม่พึ่งพาอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้ มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ ล้ำหน้ากว่า ประเทศอื่น ๆ ในทวีปแอฟริกา มีอัตราเงินเฟ้อที่ 10.1% (ค.ศ. 2008) และอัตราการว่างงาน 8.8% (ค.ศ. 2008) และภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ถึงแม้ว่าตลาดมอรีเชียสจะเป็นตลาดขนาดที่ไม่ใหญ่มากนักมีประชากรเพียง 1.28 ล้านคน (2009) ปริมาณการสั่งซื้อไม่สูงเช่นประเทศใหญ่อื่นๆ และมีภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่เป็นคู่แข่งสินค้าไทย แต่มีระดับรายได้ที่สูงและมีความหลากหลายของเชือ้ชาติของประชากร และจากนโยบายการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจและอุตสาหกรรมในหลายๆด้าน นอกเหนือจากอุตสาหกรรมหลักได้แก่ น้ำตาล สิ่งทอ การท่องเที่ยว และธุรกิจการเงิน โดยได้ขยายไปสู่ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะศูนย์กลางด้าน ICT และการขนส่งของภูมิภาค ทำให้มีการพัฒนาโครงการสิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐานรองรับการขยายการพัฒนาประเทศในภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่มีตัวแทนจำหน่ายรถยนต์แทบทุกยี่ห้อ และมีบริการหลังการขายโดยตัวแทนเหล่านี้ นอกจากนี้แล้วรถยนต์ที่นำเข้าไปยังมอรีเชียสส่วนหนึ่งเป็นการส่งออกต่อไปยังประเทศในแอฟริกาอื่นๆโดยเฉพาะประเทศแอฟริกาฝั่งตะวันออก อีกด้วย

ส่วนประกอบ ชิ้นส่วน และอะไหล่ ที่มีลู่ทางและศักยภาพสูงในตลาดมอรีเชียส

ได้แก่ ได้แก่ Disc Brake Pads, Suspension Parts, Clutch Parts, ยางรถยนต์ , แบตเตอรรี่, ล้อ, อะไหล่ตัวถัง รวมถึงไฟต่างๆ นอกจากนี้อุปกรณ์ตกแต่งรถขับเคลื่อนสี่ล้อและรถปิ๊กอัป เช่น Bush Bars, Roll Bars, Nudge Bars และหลังคามุงรถ เป็นต้น และเนื่องจากขาดระบบขนส่งมวลชนที่ดีทำให้รถยนต์เป็นสิ่งจำเป็นในการเดินทางในมอรีเชียส และส่วนใหญ่จะใช้รถเก๋ง แต่สำหรับผู้มีระดับรายได้สูงมักนิยมใช้รถ SUV

ขั้นตอน

กฎระเบียบของมอรีเชียสมอรีเชียส เป็นประเทศที่มีระบบการค้าเสรี อย่างไรก็ตามการนำเข้ารถยนต์ และอะไหล่จะต้องได้รับใบอนุญาตนำเข้าก่อน และไม่อนุญาตให้นำเข้ารถยนต์ที่ใช้แล้วมาใช้ในประเทศ

ตลาดอื่นๆ

สำหรับตลาดอื่น ได้แก่ บอตสวานา นามีเบีย สวาซีแลนด์ เลโซโท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มสหภาพศุลกากรแอฟริกาตอนใต้ (SACU)ที่มีแอฟริกาใต้เป็นสมาชิกด้วยมีขนาดของตลาดที่เล็ก ดังนั้นส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าหรือสั่งซื้อรถยนต์ หรืออะไหล่ต่างๆจากแอฟริกาใต้ และผู้แทนจำหน่ายของแอฟริกาใต้จะมีสำนักงานสาขาตัวแทนอยู่ในประเทศเหล่านี้ด้วย ในขณะที่ตลาดแซมเบีย ซิมบับเว และมาลาวี ซึ่งเป็นประเทศที่ระดับรายได้ต่ำ ส่วนใหญ่นำเข้ารถยนต์และอะไหล่ที่ใช้แล้ว นอกจากจำนำเข้าผ่านแอฟริกาใต้แล้ว มีบางส่วนเป็นการนำเข้าจากประเทศที่ 3 ในเอเชีย และรวมถึงการนำเข้าจากประเทศไทยอีกด้วยโดยเฉพาะรถยนต์ปิ๊อัป และรถขับเคลื่อนสี่ล้อเป็นที่นิยมสั่งนำเข้าจากไทย

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงพริทอเรีย

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ