๒๖ มีค. ๒๕๕๓ รัฐกิจจาบราซิล พิมพ์ประกาศกระทรวงการคลังลงนามร่วมกับกระทรวงพัฒนา อุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ ๓๐ วันนับจากวันดังกล่าว ผู้ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เพื่อส่งออกของบราซิลสามารถขอยกเว้น ภาษีนำเข้าสำหรับปัจจัยการผลิต เช่น อาหารสัตว์ ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืช ฯ ในส่วนที่รัฐบาลกลางเรียกเก็บ โดยปัจจัยที่ใช้สิ้นเปลือง สามารถขอยกเว้นภาษีนำเข้าเป็นรายปี ขณะที่ปัจจัยถาวร เช่น เครื่องจักร และอุปกรณ์ จะสามารถขอยกเว้นได้เป็นระยะเวลา ๕ ปี (น่าจะตามหลักตัดค่าเสื่อม)
ทั้งนี้ การยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับปัจจัยการผลิตเพื่อการส่งออกของบราซิล (เช่นเดียวกับมาตรา ๑๙ ทวิของกฎหมายศุลกากร หรือใบขนมุมน้ำเงินของไทย)ได้ถือใช้มากว่า ๕๐ ปี แต่ให้ยกเว้นภาษีเฉพาะสำหรับวัตถุดิบ กระทั่งในปี ๒๕๕๑ จึงมีแนวคิดที่จะขยายผลให้ครอบคลุมไปถึงผลิตผลทางการเกษตรทั้งพืชและสัตว์ ที่ต้องใช้ปัจจัยนำเข้าเพื่อการผลิตสินค้าเกษตรส่งออก คณะทำงานจึงออกแบบใบขอใช้สิทธิ์ เรียกแบบเขียว-แดง ขึ้น และได้ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาเป็นกฎหมาย ระบุต้องออกประกาศโดยการลงนามร่วมของ ๒ กระทรวง ซึ่งกระทรวงพัฒนาฯ ผู้ผลักดันในเรื่องนี้ ได้ลงนามไว้ก่อนหน้ามานานพอสมควรแล้ว กระทรวงการคลังจึงมาลงนามตามรายงานข่าวข้างต้น
อนึ่ง ภาษีที่รัฐบาลกลางได้ยกเว้นแก่ปัจจัยการผลิตที่กล่าว ประกอบด้วย อากรนำเข้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีธุรกิจ(Pis/Pasep and Cofins) หากคำนวณคร่าวๆ จากสินค้าที่กำหนดอัตราอากรนำเข้าที่ร้อยละ ๑๕ ของราคาซีไอเอฟ. แล้ว ผู้ผลิตจะสามารถประหยัดต้นทุนภาษีสำหรับปัจจัยการผลิตที่นำเข้าได้ถึงร้อยละ ๓๖ ของราคาซีไอเอฟ.
จาก ๗ ปีก่อนหน้าที่บราซิล ฟ้องสหรัฐอเมริกาต่อองค์การการค้าโลกว่า สหรัฐฯ ได้อุดหนุนเกษตรกรผู้ผลิต กับผู้ส่งออกฝ้ายของตน โดยขัดต่อกติกาสากล ท้ายที่สุดองค์การการค้าโลก ได้ชี้ขาดให้บราซิลชนะ และรับสิทธิตอบโต้ชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมมูลค่า ๘๒๙ ล้านเหรียญสหรัฐ จำแนกเป็นจากสินค้า ๕๙๑ ล้านเหรียญสหรัฐ และจากทรัพย์สินทางปัญญาและบริการของสหรัฐ จำนวน ๒๓๘ ล้านเหรียญสหรัฐ นั้น
๘ มีนาคม ๒๕๕๓ รัฐกิจจาบราซิล ลงประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นจากอัตราปกติ เพื่อให้ครอบคลุมมูลค่าชดเชยที่ได้รับอนุมัติไว้ รวม ๑๐๒ รายการ โดยให้มีผลใช้บังคับ ๑ ปี นับแต่วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ รายละเอียดของสินค้า ผู้สนใจสามารถดูได้ที่ www.depthai.go.th
ต่อมา วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๓ รัฐกิจจาบราซิล ได้ลงประกาศ๒๑ มาตรการ เพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเป็นเวลา ๒๐ วันก่อนที่จะนำไปสรุปและออกเป็นประกาศใช้ตอบโต้สหรัฐฯ ในส่วนสินค้าทรัพย์สินทางปัญญา ตามที่ได้รับสิทธิจากคำชี้ขาดขององค์การการค้าโลกต่อไป
อนึ่ง สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครเซาเปาโล มีความเห็นว่า มาตรการที่บราซิลตอบโต้สหรัฐฯ ในส่วนของสินค้าทั้งหมด เป็นมาตรการภาษี ซึ่งเข้ากับหลักการของ WTO แต่มาตรการที่บราซิล คิดจะตอบโต้กับทรัพย์สินทางปัญญา ในส่วนที่เป็นมาตรการภาษี น่าจะผ่านได้ แต่ส่วนที่เป็นมาตรการไม่ใช่ภาษี เช่น ยกเว้น ระงับ ชะลอคุ้มครองทรัพย์สิน ทางปัญญา แม้จะชั่วคราว น่าจะมีปัญหาที่จะต้องถูกโต้แย้งอย่างหนัก
ข่าวจากสมาคมผู้ประกอบรถยนต์ของบราซิล (Anfavea ; Associacao Nacional dos Fabricantes de Veiculos Automotores) แจ้งว่า แม้ในปีนี้ บริษัทผู้ประกอบรถยนต์ต่างๆ ในบราซิล จะใช้เม็ดเงินลงทุนขยายกำลังการผลิต เป็นวงเงินรวมประมาณ ๓,๐๐๐ ล้านเฮอัล (หรือประมาณ ๖๐,๐๐๐ ล้านบาท) มากเป็นประวัติการณ์ แล้วก็ตาม แต่จากการที่รัฐบาลบราซิล ได้ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้เป็นพิเศษในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา จนให้แต่ละบริษัทมีผลประกอบการเหนือบริษัทในเครือในภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ทำให้บริษัทแม่มีความมั่นใจและได้อนุมัติแผนการลงทุนขยายกำลังการผลิตในบราซิลเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ซึ่งเชื่อว่า วงเงินการลงทุนจะเพิ่มเป็นประวัติการณ์ใหม่ๆ ตลอด ๒ — ๓ ปีข้างหน้า เพราะแค่ต้นปี มีวงเงินที่บริษัทต่างๆ ได้ประกาศแผนการขยายกิจการของตน ใน ๕ ปีข้างหน้า รวมแล้วกว่า ๒๐,๐๐๐ ล้านเฮอัล หรือกว่า ๔๐๐,๐๐๐ ล้านบาท เช่น
GM แผนพัฒนาผลิตภัณท์ใหม่ และขยายกำลังการผลิต ระหว่างปี ๒๕๕๑ — ๒๕๕๕ วงเงิน ๕,๐๐๐ ล้านเฮอัล
VW แผนพัฒนาผลิตภัณท์ใหม่ และขยายกำลังการผลิต ระหว่างปี ๒๕๕๓ — ๒๕๕๗ วงเงิน ๖,๒๐๐ ล้านเฮอัล
Ford แผนปรับปรุงโรงงานโดยเฉพาะในตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศ พร้อมขยายกำลังการผลิต ระหว่างปี ๒๕๕๔ — ๒๕๕๘ วงเงิน ๔,๐๐๐ ล้านเฮอัล
Renault แผนด้านวิศวกรรมและพัฒนาผลิตภัณท์ ระหว่างปี ๒๕๕๓ — ๒๕๕๕ วงเงิน ๑,๐๐๐ ล้านเฮอัล
Mitsubishi แผนขยายโรงงานในเมืองคาตาเลา รัฐโกยาสเวโลญ และกำลังประกอบรถ Pajero Dakar และ Lancer ระหว่างปี ๒๕๕๓ — ๒๕๕๘ วงเงิน ๘๐๐ ล้านเฮอัล
Fiat แผนพัฒนาเทคโนโลยี่ของผลิตภัณท์ใหม่ ในปีนี้ วงเงิน ๑,๘๐๐ ล้านเฮอัล
Peugeot แผนขยายกำลังการผลิตโรงงานที่เมืองปอร์โต เฮอัล รัฐริโอ ดิ จาเนโร ระหว่างปี ๒๕๕๓ — ๒๕๕๕ วงเงิน ๑,๔๐๐ ล้านเฮอัล
อนึ่ง เดือนมีนาคม ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายที่ทางการบราซิล ให้ผู้ซื้อรถยนต์ สามารถรับการลดหย่อนภาษีสรรพสามิตถึงร้อยละ ๕๐ ของอัตราปกติ มีรายงานเบื้องต้นจากอุตสาหกรรมรถยนต์ว่า ยอดการจดป้ายทะเบียนรถยนต์ใหม่มีมากกว่า ๓๒๐,๐๐๐ คัน ถือเป็นการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่รายเดือนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และนับแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๓ เป็นต้นไป รถยนต์ใหม่เครื่องยนต์ ๑,๐๐๐ — ๒,๐๐๐ ซีซี. จะมีราคาจำหน่ายสูงขึ้น ๒,๐๐๐ — ๓,๐๐๐ เฮอัลต่อคัน
ตามที่ได้รายงานว่า เมื่อต้นปี ราคาเอทานอลหน้าโรงกลั่น(ไม่รวมภาษี) สูงมากกว่า ๑.๒ เฮอัล จนทางการต้องประกาศลดส่วนผสมเอทานอลในน้ำมันเบนซินรถยนต์ลงจากอัตราร้อยละ ๒๕ เหลือร้อยละ ๒๐ เพื่อชะลอความร้อนแรงของราคานับแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นั้น
ปรากฏว่า ราคาเอทานอลหน้าโรงกลั่น ในขณะนี้มีราคาที่ ๐.๗๖ เฮอัลต่อลิตร หรือลดลงถึงร้อยละ ๓๙ ในเวลา ๙ สัปดาห์ และอยู่ในระดับที่เกิดการแข่งขันกับราคาน้ำมันเบนซินแล้ว โรงกลั่นเอทานอลจึงเริ่มเรียกร้องให้ทางการกำหนดอัตราส่วนผสมเอทานอลในเบนซินร้อยละ ๒๕ ตามเดิม
อนึ่ง ในปีการเพาะปลูก ๒๕๕๒/๕๓ ซึ่งกำลังสิ้นสุดลง โรงงานน้ำตาล/เอทานอลในบราซิล หีบอ้อยแล้วจำนวน ๕๓๕.๓ ล้านตัน โดยร้อยละ ๔๒.๙ ของน้ำอ้อยที่หีบได้ถูกนำไปผลิตน้ำตาล ส่วนที่เหลือถูกนำไปผลิตเป็นเอทานอล ๒๓.๓ พันล้านลิตร จำแนกเป็นเอทานอล ชนิด hydrous 17.1 พันล้านลิตร และ anhydrous 6.2
1. ดำเนินการจัดทำหน้าเว็ปไซด์ของ สอ./สคร.เซาเปาโล ภาษาโปรตุเกส เพื่อเผยแพร่และเปิดให้บริการ WWW.thaitradesaopaulo.com.br
2. ประสาน/ ทาบทามร้านอาหารไทยการ์เดนท์ และนาย Richard Pfanderผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม โรงแรม Grand Hyatt เมืองเซาเปาโล จัดเทศกาลอาหารไทย ในช่วงปลายเดือน เมย. ต่อต้นเดือน พค.
3. เชิญชวนผู้ประกอบการบราซิลเข้าร่วมเป็นคณะผู้แทนการค้าเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ และงานแสดงสินค้าของขวัญและเครื่องเรือนนานาชาติในช่วงเดือนเมษายน ๒๕๕๓
4. พบปะนาย Kim To The เจ้าของและเยี่ยมชมกิจการ Brasindo Business Import & Export ผู้ประสงค์จะนำเข้าสินค้าไทย ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐเซาเปาโล
5. ประสาน สอท.กรุงบราซิเลีย เพื่อเตรียมการรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ ที่จะเดินทางไปเยือนบราซิลในปลายเดือนเมษายน ๒๕๕๓
การค้าระหว่างประเทศไทย กับ
ส่งออก (ล้าน $US) นำเข้า บราซิล ๒๕๔๙ 628.0 866.6 ๒๕๕๐ 938.3 1,035.1 ๒๕๕๑ 1,229.0 2,100.0 ๒๕๕๒ 1,000.4 1,325.4 มค-กพ ๕๒ 104.3 92.9 มค-กพ ๕๓ 196.8 166.2 เฟรนซ์- ๒๕๔๙ 1.6 - กิยานา ๒๕๕๐ 1.6 - ๒๕๕๑ 1.5 0.1 ๒๕๕๒ 1.6 - มค-กพ ๕๒ 0.3 - มค-กพ ๕๓ 0.2 - กิยานา ๒๕๔๙ 3.8 0.8 ๒๕๕๐ 3.4 0.8 ๒๕๕๑ 4.4 8.4 ๒๕๕๒ 6.7 1.3 มค-กพ ๕๒ 0.8 0.0 มค-กพ ๕๓ 1.4 0.6 สุรินาม ๒๕๔๙ 11.7 0.5 ๒๕๕๐ 14.5 0.1 ๒๕๕๑ 21.6 - ๒๕๕๒ 15.6 0.5 มค-กพ ๕๒ 2.2 0.0 มค-กพ ๕๓ 1.9 0.1 เวเนซู- ๒๕๔๙ 82.1 1.9 เอลา ๒๕๕๐ 117.3 10.5 ๒๕๕๑ 169.9 7.5 ๒๕๕๒ 62.2 4.7 มค-กพ ๕๒ 8.6 0.5 มค-กพ ๕๓ 11.2 0.1สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครเซาเปาโล
ที่มา: http://www.depthai.go.th