รายงานตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในสหราชอาณาจักร

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 27, 2010 14:50 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ขนาดของตลาด
  • ในปี 2552 สหราชอาณาจักรประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ส่งผลให้สินค้าออแกนนิกในสหราชอาณาจักรมีมูลค่าการขายลดลงถึงร้อยละ 12.9 คิดเป็นมูลค่า 1.84 พันล้านปอนด์ ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 20 ปี แต่อย่างไรก็ตาม Soil Association ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระดาเนินงานเกี่ยวกับมาตรฐานและการส่งเสริมสินค้าออแกนนิก คาดว่าสินค้าออแกนนิกจะมียอดขายขยายตัวร้อยละ 2-5 ในปี 2553
  • ถึงแม้ว่าในภาพรวมตลาดสินค้าออแกนนิกจะมีมูลค่าการขายลดลง แต่สินค้ากลุ่มที่ยังคงเป็นที่นิยมได้แก่ นม อาหารเด็ก และส่วนประกอบในการทาอาหาร ซึ่งยังคงมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1, 20.8 และ1.4 ตามลาดับ นอกจากนี้สินค้าออแกนนิกในกลุ่มเสริมความงามและสุขภาพก็ยังคงขยายตัวได้ดี โดยมีมูลค่าการขายรวม 36 ล้านปอนด์
  • ช่องทางการจาหน่ายสินค้าออแกนนิกหลักผ่านทางซุปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ในประเทศซึ่งมียอดขายสินค้าออแกนนิกรวม 1.35 พันล้านปอนด์ในปี 2552 ลดลงร้อยละ 12.2 ขณะที่ยอดขายตรงไปยังผู้บริโภค คือ Box Scheme, Home Delivery, Mail Order มียอดขายเป็นอันดับสองมูลค่า 154.2 ล้านปอนด์ ลดลงร้อยละ 9.8 และผ่านทางร้านค้าปลีกขนาดเล็ก (Farm Shop) มียอดขายเป็นอันดับสามมูลค่า 32.67 ล้านปอนด์ ลดลงร้อยละ 13.8
  • สหราชอาณาจักรนาเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ ร้อยละ 30 ของมูลค่าจาหน่ายทั้งหมด หรือคิดเป็นมูลค่าการนาเข้าประมาณ 600 ล้านปอนด์ โดยสินค้าที่นาเข้าหลักได้แก่ ชอคโกแลต กล้วยหอม น้ามะพร้าวสด ชา กาแฟ อาหารสัตว์เลี้ยง และผักและผลไม้สดที่ไม่สามารถปลูกได้ในประเทศ
2. ช่องทางการจาหน่าย

ช่องทางจาหน่ายสินค้าออแกนนิกแบ่งออกได้เป็น 2 ช่องทางหลัก คือ

2.1) ห้างซุปเปอร์มาเก็ตหลักของสหราชอาณาจักรซึ่งวางจาหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะ Tesco, Sainsbury's, Asda, Waitrose และ Mark & Spencers ซึ่งมียอดขายสินค้า ออแกนนิกรวมกันในปี 2552 ถึง 1.35 พันล้านปอนด์

  • Tesco ซึ่งเป็นซุปเปอร์มาเก็ตซึ่งมียอดขายสูงสุดในประเทศมีสินค้าออแกนนิกมากกว่า 800 รายการ โดยสินค้าออแกนนิกในกลุ่มผักและผลไม้สดมียอดขายถึงร้อยละ 31.8 ผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 28.7 และเนื้อสัตว์ร้อยละ 10.9 Tesco ยอมรับว่าได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจส่งผลให้ยอดขายสินค้าออแกนนิกลดลงแต่ก็คาดว่าสินค้าออแกนนิกจะกลับมาขยายตัวอีกครั้งในปี 2553
  • Sainsbury’s ซุปเปอร์มาเก็ตอันดับสอง มียอดขายสินค้าออแกนนิกลดลงร้อยละ 12.4 โดยสินค้าออแกนนิกที่ยังคงมีมูลค่าการขายเพิ่มขึ้นได้แก่ อาหารเด็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 ผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 3.5 ชาและกาแฟเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2
  • Asda ซึ่งเป็นซุปเปอร์มาเก็ตระดับกลาง มียอดขายสินค้าออแกนนิกลดลงถึงร้อยละ 20.8 โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนมปังและขนมอบออแกนนิกลดลงร้อยละ 33.5 ผักและผลไม้สดลดลงร้อยละ 23.3 เนื้อสัตว์ลดลงร้อยละ 16.9 ขณะที่อาหารเด็กเล็กขยายตัวถึงร้อยละ 20.6 และนมสดลดลงร้อยละ 0.4
  • Waitrose ซุปเปอร์มาเก็ตระดับบนที่มีรายการสินค้าออแกนนิกมากที่สุดถึง 2,600 รายการ และมีสัดส่วนการขายสินค้าออแกนนิกสูงถึงร้อยละ 6 จากยอดขายอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมด โดยในภาพรวม Waitrose มียอดขายสินค้าออแกนนิกลดลงเพียงร้อยละ 3.8 อันเป็นผลมาจากการที่ยห้างได้หันมาออกรายการสินค้าออแกนนิกที่มีราคาถูกลงโดยเฉพาะกลุ่มเนื้อสัตว์ ขณะที่ Waitrose คาดว่ายอดขายสินค้าออแกนนิกในปี 2553 น่าจะกลับมาขยายตัวถึงร้อยละ 3 - 5
  • Asda ซึ่งเป็นซุปเปอร์มาเก็ตระดับกลาง มียอดขายสินค้าออแกนนิกลดลงถึงร้อยละ 20.8 โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนมปังและขนมอบออแกนนิกลดลงร้อยละ 33.5 ผักและผลไม้สดลดลงร้อยละ 23.3 เนื้อสัตว์ลดลงร้อยละ 16.9 ขณะที่อาหารเด็กเล็กขยายตัวถึงร้อยละ 20.6 และนมสดลดลงร้อยละ 0.4
  • Waitrose ซุปเปอร์มาเก็ตระดับบนที่มีรายการสินค้าออแกนนิกมากที่สุดถึง 2,600 รายการ และมีสัดส่วนการขายสินค้าออแกนนิกสูงถึงร้อยละ 6 จากยอดขายอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมด โดยในภาพรวม Waitrose มียอดขายสินค้าออแกนนิกลดลงเพียงร้อยละ 3.8 อันเป็นผลมาจากการที่ยห้างได้หันมาออกรายการสินค้าออแกนนิกที่มีราคาถูกลงโดยเฉพาะกลุ่มเนื้อสัตว์ ขณะที่ Waitrose คาดว่ายอดขายสินค้าออแกนนิกในปี 2553 น่าจะกลับมาขยายตัวถึงร้อยละ 3 - 5
  • ช่องทางการจาหน่ายสินค้าออแกนนิกอื่นๆ เช่น ซุปเปอร์มาเก็ตที่ขายสินค้าเพื่อสุขภาพและออแกนนิกโดยเฉพาะ เช่น Whole Food Market ซึ่งเป็นการลงทุนจากทวีปอเมริกาเหนือซึ่งจาหน่ายสินค้าออแกนนิกมากกว่าร้อยละ 25-30 ของสินค้าทั้งหมดในห้างซึ่งมี 5 สาขาในกรงุลอนดอน และ Planet Organic ซึ่งปัจจุบันมีสาขาจานวน 4 สาขาในกรุงลอนดอน รวมถึงร้านจาหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพอื่นๆ

ซึ่งทายอดขายรวมกันได้ 261.1 ล้านปอนด์ลดลงร้อยละ 17.7 จากปี 2551

3. พฤติกรรมผู้บริโภค
  • ผลจากปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในปี 2552 ส่งผลให้ชาวอังกฤษบริโภคสินค้าออแกนนิกลดลง โดยเฉลี่ยผู้บริโภคจะวื้อสินค้าออแกนนิก 16 ครั้งในปี 2552 เมื่อเทียบกับ 18 ครั้งในปีก่อนหน้า หรือคิดเป็นจานวนสินค้าออแกนนิกลดลงร้อยละ 2.9 ต่อการซื้อของในแต่ละครั้ง
  • สินค้าออแกนนิกที่ชาวอังกฤษซื้อลดลงได้แก่ สินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ ซึ่งมีต้นทุนในการผลิตสูงกว่าสินค้าเนื้อสัตว์ทั่วไปมาก ส่งผลให้เนื้อสัตว์มีมูลค่าการขายลดลงถึงร้อยละ 22.7 โดยเฉพาะเนื้อปลาสดออแกนนิก ซึ่งมีมูลค่าการขายลดลงถึงร้อยละ 46
  • กลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้สูงในกลุ่ม A, B, C1 เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนการซื้อสินค้าออแกนนิกถึงร้อยละ 67 ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางในกลุ่ม C2, D, E คือผู้ใช้แรงงาน ผู้เกษียณอายุ นักเรียน เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนการซื้อสินค้าออแกนนิกถึงร้อยละ 33
5. ประเภทสินค้า
  • สินค้าออแกนนิกที่มียอดขายสูงสุดตามลาดับมีดังนี้
        ประเภทสินค้า           ร้อยละของยอดขายรวม          +เพิ่มขึ้น/-ลดลง (ร้อยละ)
                                  ทั้งหมด                      2008-2009
 1.ผลิตภัณฑ์นม                         33                          -5.5
 2.ผักและผลไม้สด                      26                         -14.8
 3.ส่วนประกอบในการทาอาหารอื่นๆ          6                          +1.4
 4.เนื้อสัตว์ไม่รวมสัตว์ปีก                  5                         -22.7
 5.แยมและผลไม้แปรรูป                   4                          -8.7
 6.เครื่องดื่มชนิดร้อน                     4                          -2.4
 7.ธัญพืชสาหรับอาหารเช้า                 4                          -8.6
 8.อาหารสาเร็จรูปแช่เย็น                 4                         -21.4
 9.ขนมขบเคี้ยว                         3                         -19.0
10.ขนมปังและขนมอบ                     3                         -39.8
11.เครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์                  2                         -30.0
12.สัตว์ปีก                             2                         -28.2
13.อาหารแปรรูปอื่นๆ                     2                          -1.0
14.อาหารกระป๋อง                       2                         -14.1
ตารางที่ 2 ประเภทสินค้าออแกนนิกที่มียอดขายสูงสุดตามลาดับ
ที่มา Soil Association , Organic Market Report 2010

          - นอกจากสินค้าอาหารออแกนนิก ได้แก่ผัก ผลไม้สด และเนื้อสัตว์แล้ว ปัจจุบันมีสินค้าออแกนนิกที่เป็นที่นิยมในตลาดสหราชอาณาจักรดังนี้

สินค้าอาหารแปรรูป
          5.1) อาหารสาหรับเด็กเล็ก มียอดขายในปี 2552 มากกว่า 100 ล้านปอนด์เป็นครั้งแรก และอัตราการขยายตัวของยอดขายสูงถึงร้อยละ 20.8 และมีส่วนแบ่งถึงร้อยละ 46 ของมูลค่าตลาดอาหารสาหรับเด็กเล็กที่ไม่ใช่ออแกนนิก และเป็นที่น่าสนใจว่าบรรจุภัณฑ์ของสินค้าอาหารเด็กเล็กซึ่งแต่เดิมนิยมบรรจุใน
ขวดแก้วเป็นหลัก ปัจจุบันผู้ผลิตได้นาเสนอบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่หลายแบบ เช่น ในถุงขนาดเล็ก (Pounches) กระปุกขนาดเล็ก (Pots) เป็นต้น
          5.2) เครื่องดื่ม ทั้งเครื่องดื่มร้อนและเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์มียอดขายรวม 54.3 ล้านปอนด์ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 2.4 จากปีก่อนนห้า โดยเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์มีอัตราลดลงถึงร้อยละ 30 อันเป็นผลขณะที่เครื่องดืมร้อนประเภาชาและกาแฟขยายตัวร้อยละ 0.7
          5.3) ขนมปังและขนมอบอื่นๆ มียอดขายรวม 40.7 ล้านปอนด์ในปี 2552 ลดลงถึงร้อยละ 39.8 จากปี 2551 โดยในส่วนของขนมอบ (Biscuits) มีอัตราลดลงร้อยละ 19 ขณะที่ขนมปังมีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 13.1
          5.4) ธัญพืชสาหรับอาหารเช้า มียอดขายรวม 32 ล้านปอนด์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.5 ของมูลค่าตลาดโดยรวมซึ่งมีมูลค่า 1.1 พันล้านปอนด์
          5.5) ผลิตภัณฑ์นม มียอดขายสูงถึง 447.7 ล้านปอนด์ในปี 2552 ลดลงร้อยละ 5.5 มีส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 31 ของมูลค่าตลาดที่รวมผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ออแกนนิก โดยนมสดมียอดขายสูงขึ้นร้อยละ 1 ขณะที่นมเปรี้ยวก็กาลังเป็นที่นิยมมากขึ้น
          5.6) อาหารสัตว์เลี้ยง นับเป็นสินค้าอาหารออแกนนิกที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆโดยปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 2 ของมูลค่าตลาดรวม
          5.7) อาหารสาเร็จรูป ซุปและซอสปรุงรส มียอดขายรวม 6 ล้านปอนด์ และเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ร้านค้าปลีกกาแฟรายใหญ่เริ่มใส่รายการอาหารสาเร็จรูปประเภทซุปออกขายซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้น รวมถึงซอสสาหรับพาสต้าก็สร้างยอดขายได้ดีในซุปเปอร์มาเก็ต

สินค้าที่ไม่ใช่อาหาร
          5.8) สิ่งทอที่ทาจากฝ้ายออแกนนิก สหราชอาณาจักรนับเป็นผู้บริโภคสิ่งทอที่ทาจากฝ้ายออแกนนิกรายใหญ่ในสหภาพยุโรป จากยอดขายสิ่งทอที่ทาจากฝ้ายทั้งหมด 3 หมื่นล้านปอนด์ในสหราชอาณาจักร มียอดขายสิ่งทอที่ทาจากฝ้ายออแกนนิกมากกว่ากว่า 100 ล้านปอนด์ หรือมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 10 ของมูลค่าตลาดรวมของโลก และมีอัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 40 ในช่วงสามปีที่ผ่านมา ขณะที่ในปี 2552 ยอดขายสิ่งทอออแกนิกยังคงมีมูลค่าประมาณ 100 ล้านปอนด์
          5.9) ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม เป็นกลุ่มสินค้าที่มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยมียอดขายในปี 2552 มูลค่า 36 ล้านปอนด์ ขยายตัวร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปี 2551 โดยมีจานวนบริษัทที่ได้รับใบรับรองจาก Soil Association จานวนมากกว่า 100 บริษัทในปี 2552 ที่ดาเนินการผลิตสินค้าในกลุ่มนี้ เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ประมาณ 10 ราย สาหรับสินค้าที่เป็นที่นิยม คือ แชมพู ครีม สบู่ และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในห้องน้าอื่นๆ ส่วนสินค้าที่กาลังเริ่มเข้าสู่ตลาด ได้แก่ กลุ่มครีมดูแลผิวหน้าทั้งของผู้หญิงและผู้ชาย ครีมล้างหน้า เป็นต้น

6) มาตรการและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
          ระเบียบของสหภาพยุโรป
          6.1) กฎระเบียบเดิม : Council Regulation (EEC) No 2092/91 (of 24 June 1991)
          - กฎระเบียบเกี่ยวกับสินค้าเกษตรอินทรีย์ในทุกประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปต้องปฏิบัติตามระเบียบกลางของสหภาพยุโรป คือ EC Regulation 2092/91 ซึ่งกาหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขครอบคลุมตั้งแต่การผลิต วัตถุดิบ ปัจจัยการผลิต กระบวนการผลิต และระบบการตรวจสอบ ตลอดจนในด้านการปิดฉลากสินค้า โดยกาหนดว่าสินค้าที่จะสามารถปิดฉลากเป็น organic food จะต้องเป็นสินค้าที่มาจากผู้ปลูก ผู้ผลิต/แปรรูป หรือผู้นาเข้า ที่จดทะเบียนกับหน่วยงานรับรอง ซึ่งได้รับความเห็นชอบ (Approved Certification Bodies) และอยู่ภายใต้การควบคุมตรวจสอบเป็นประจาจากหน่วยงานที่รับผิดชอบของประเทศสมาชิกนั้นๆ
          - EC Regulation 2092/91 ระบุระเบียบการนาเข้าสินค้า organic จากประเทศที่สามไว้ ดังนี้
          กรณีที่ 1  การนาเข้าสินค้าออแกนนิกจากประเทศที่สามที่สหภาพยุโรปยอมรับว่ามีกฎระเบียบด้านการผลิตและระบบการตรวจสอบเทียบเท่ากับของสหภาพยุโรป (recognised third countries) ประกอบด้วย อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย อิสราเอล สวิตเซอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ คอสตาริกา อินเดีย ฮังการี สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งสาหรับกรณีนี้ สินค้าที่นาเข้าไม่ต้องขออนุญาตจากหน่วยงานควบคุมภายในประเทศผู้นาเข้า ภายใต้เงื่อนไขว่า ผู้นาเข้าจะต้องจดทะเบียนกับ Approved Certification Bodies ของประเทศผู้นาเข้า และสามารถทาตามเงื่อนไขเกี่ยวกับ equivalency ที่ระบุใน Commission Regulation (EEC) No 94/92 ได้ นอกจากนี้ ต้องมีใบรับรองการตรวจสอบ (certificate of inspection-COI) ออกโดย Inspection Bodies ในประเทศที่ 3 ที่สหภาพยุโรปเห็นชอบ โดยใบ COI จะถูกตรวจสอบและรับรองโดย Port Health Authority ของประเทศผู้นาเข้า
          กรณีที่ 2  การนาเข้าสินค้าออแกนนิกจากประเทศที่สามอื่นมายังสหราชอาณาจักร ต้องขออนุญาตจากหน่วยงานควบคุมภายในประเทศผู้นาเข้าก่อน (prior approval)

          6.2) กฎระเบียบใหม่ : Council Regulation (EC) No 834/2007 (of 28 June 2007) เป็นกฎระเบียบใหม่ที่ออกมาแทน Regulation (EEC) No 2092/91 โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 (ประกาศเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2550 ใน Official Journal of the European Union)
          กฎระเบียบฉบับใหม่นี้มีสาระสาคัญสรุปได้ ดังนี้
          - ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการห้ามใช้ GMO ในการผลิต
          - ให้มีการปิดตราสัญลักษณ์สหภาพยุโรป (EU-logo) แบบบังคับบน packaging สำหรับ organic pre-packaged food ผลิตในสหภาพยุโรป จากเดิมที่เป็นแบบสมัครใจ ทั้งนี้ สาหรับ non pre-packaged organic products ที่ผลิตในสหภาพยุโรป หรือ นาเข้าจากประเทศที่ 3 การใช้ EU-logo ให้เป็นไปตามความสมัครใจ นอกจากนี้ แต่ละประเทศสมาชิกสามารถใช้ national และ private logos เพิ่มเติมได้
          - กาหนดรายละเอียดเกี่ยวกับระบบควบคุม (control system) ที่แต่ละประเทศสมาชิกจะต้องจัดตั้งขึ้นมา เพื่อให้การดาเนินการตามกฎระเบียบ Regulation (EC) No 834/2007 ซึ่งเป็นกฎระเบียบกลางเป็นไปอย่างสอดประสานกัน โดยระบบควบคุมจะต้องสามารถบ่งบอก traceability ของสินค้าแต่ละตัวในทุกขั้นตอนการผลิต การจัดจาหน่าย ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันให้กับผู้บริโภคว่า สินค้า ออแกนนิกได้รับการผลิตตามข้อกาหนดในกฎระเบียบของสหภาพยุโรป
          - ในส่วนของการค้ากับประเทศที่ 3 จะปรับปรุงรายชื่อประเทศที่เป็น ‘recognised third countries’ ที่มีกฎระเบียบด้านการผลิตและระบบการตรวจสอบควบคุมเทียบเท่ากับของสหภาพยุโรป โดยประเทศที่ 3 สามารถยื่น requests for recognition ต่อคณะกรรมาธิการยุโรปได้ นอกจากนี้ สาหรับประเทศที่ 3 ที่ไม่ใช่ recognised third countries คณะกรรมาธิการยุโรปจะจัดทาบัญชีรายชื่อ control authorities และ control bodies ที่สหภาพยุโรปยอมรับว่า เป็นหน่วยงานที่มี competency ในการควบคุมและออกใบรับรองในประเทศนั้นๆ โดย control authority หรือ control body จะต้องยื่นคาร้องต่อคณะกรรมาธิการยุโรป

          ระเบียบของสหราชอาณาจักร
          6.3) นอกจากระเบียบของสหภาพยุโรปแล้ว สหราชอาณาจักรก็ได้ออกระเบียบภายในประเทศเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าออแกนนิกซึ่ง based on EC Regulation 2092/91 ดังนี้
          - Compendium of UK Organic Standards ระบุมาตรฐานขั้นต่าสินค้า ออแกนนิก ที่ Certification Bodies จะต้องใช้ โดยระบุ สิ่งอะไรที่ทาได้ สิ่งอะไรห้ามทา อะไรใช้ได้ อะไรใช้ไม่ได้ สาหรับผู้ผลิต เช่น ห้ามใช้ crop GMO สามารถใช้ยาฆ่าแมลงได้ 7 ประเภท จะต้องมีการหมุนเวียนพืชที่ปลูกทุกปีเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน เป็นต้น
          - The Organic Products (Imports from Third Countries) Regulations 2003 ระบุระเบียบการนาเข้าสินค้าออแกนนิกเข้าสู่สหราชอาณาจักร
          - นอกจากนี้ กฎหมายอื่นๆทั้งหมดที่ใช้กับ non-organic food ก็ใช้กับการผลิต organic food ด้วย

          6.4) ในกรณีของสหราชอาณาจักร หน่วยงานที่รับผิดชอบควบคุมการปฏิบัติตาม EC Regulation 2092/91 คือ Defra (Department for Environment, Food and Rural Affairs) ซึ่งได้ตั้ง Advisory Committee on Organic Standards (ACOS) ประกอบด้วยตัวแทนจากภาครัฐ ธุรกิจ และผู้บริโภค ขึ้นมาเป็นหน่วยงานสนับสนุน โดย ACOS ทาหน้าที่หลักๆ คือ ให้คาปรึกษาแก่รัฐบาลเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้า ออแกนนิกให้ความเห็นชอบหน่วยงานรับรอง และทา R&D
          - แต่ละหน่วยงานรับรองจะมีตราสัญญาลักษณ์มาตรฐานของตนเอง สาหรับตราสัญญาลักษณ์มาตรฐานของ Soil Association (Soil Association Organic Standard) ถือเป็นตรามาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดของสหราชอาณาจักร โดยให้การรับรองสินค้าออแกนนิกร้อยละ 70 ของสินค้าออแกนนิกในตลาดสหราชอาณาจักร
          - นอกจากนี้ Soil Association ยังมีบทบาทสาคัญในการให้ข้อมูลและโน้มน้าวผู้บริโภคให้หันมาบริโภคสินค้าออแกนนิกเพิ่มมากขึ้น website ของ Soil Association จะให้ข้อมูลที่น่าสนใจ

          6.5) ระบบการนาเข้าสินค้าออแกนนิกจากประเทศที่ 3 มายังสหราชอาณาจักร
          ระบบเดิม มี 2 กรณี คือ
          - กรณีที่1 การนาเข้าสินค้าออแกนนิกจากประเทศที่สามที่สหภาพยุโรปยอมรับว่ามีกฎระเบียบด้านการผลิตและระบบการตรวจสอบเทียบเท่ากับของสหภาพยุโรป ประกอบด้วย อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย อิสราเอล สวิตเซอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ คอสตาริกา อินเดีย ฮังการี สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งสาหรับกรณีนี้ สินค้าที่นาเข้าไม่ต้องขออนุญาตจาก Defra ภายใต้เงื่อนไขว่า ผู้นาเข้าจะต้องจดทะเบียนกับหนึ่งใน 10 Approved UK Certification Bodies และสามารถทาตามเงื่อนไขเกี่ยวกับ equivalency ที่ระบุใน Commission Regulation (EEC) No 94/92 ได้ รวมทั้งมีใบรับรองการตรวจสอบ (certificate of inspection-COI) ออกโดย Inspection Bodies ในประเทศที่ 3 ที่ Defra เห็นชอบ โดยผู้นาเข้าจะต้องแสดง COI ต่อ Port Health Authority ของสหราชอาณาจักร เพื่อการตรวจสอบและรับรอง
          - กรณีที่ 2 การนาเข้าสินค้าออแกนนิกจากประเทศที่สามอื่นมายังสหราชอาณาจักร ต้องขออนุญาตจาก Defra ก่อน (prior approval) โดยผู้นาเข้าจะต้องกรอกแบบฟอร์มที่กาหนดโดยใบอนุญาตนาเข้าจะมีอายุ 1 ปี และต้องขอต่ออายุทุกปี นอกจากนี้ ผู้นาเข้าจะต้องมีเอกสารแสดงว่าสินค้าที่จะนาเข้านั้นได้รับการผลิตและตรวจสอบภายใต้กฎระเบียบที่เทียบเท่ากับกฎระเบียบกลางของสหภาพยุโรป และการตรวจสอบนั้นเป็นการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ผู้นาเข้าไม่จาเป็นต้องแสดงเอกสารดังกล่าว หาก inspection/certification bodies ในประเทศผู้ส่งออกอยู่ในบัญชีรายชื่อ inspection/certification bodies ที่ผ่านการประเมินและเห็นชอบโดย Defra แล้ว อย่างไรก็ดี หากสินค้านาเข้ามีระเบียบอื่นที่ไม่ใช่ระเบียบด้านออแกนนิกควบคุมอยู่ด้วย ก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบนั้นๆด้วย
          ระบบใหม่ Defra ได้มีหนังสือถึงผู้นาเข้าสินค้าออแกนนิกของสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2549 แจ้งว่า Defra จะทบทวนระบบการนาเข้าสินค้าออแกนนิกมายังสหราชอาณาจักร และยกเลิกระบบเดิม โดยจะนาระบบใหม่มาใช้ในปี 2551 โดยการเปลี่ยนแปลงที่สาคัญจะอยู่ในส่วนของรายชื่อประเทศที่เป็น approved Third Countries รายชื่อหน่วยงาน inspection/certification bodies ในประเทศที่ 3 ที่เป็นที่ยอมรับของสหภาพยุโรป นอกจากนี้ การขอต่ออายุ import authorisations จะเปลี่ยนเป็นแบบ automatic จากเดิมที่ต้องยื่นเรื่องขออนุญาตทุกปี เพื่อลด administrative burden แก่ผู้นาเข้า

7. SWOT
          Strenghts
          - สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่นับเป็นที่นิยมมาก ได้แก่ สินค้าในหมวดผักและผลไม้สด รองลงมาเป็นเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม ไข่ ชา กาแฟ ขนมปัง บิสกิต อาหารและขนมทาจากธัญพืช (Breakfast cereals & Cereal bars) รวมทั้งสินค้าประเภทอาหารสาเร็จรูป (Processed foods) อาหารพร้อมรับประทาน(Ready-to-Eat and Convenience food) ตลอดจนสินค้าประเภทอาหารสาหรับเด็ก และสินค้าเสื้อผ้า (Organic baby food and organic textiles) ก็ได้รับความนิยมสนใจมากขึ้น ซึ่งสินค้าดังกล่าวไทยมีศักยภาพที่สามารถเข้าสู่ตลาดได้ โดยในปัจจุบันสินค้าออแกนนิกจากไทยที่กาลังเริ่มเป็นที่นิยม ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ น้ามะพร้าว
สด อาหารสัตว์ สาลี เครื่องปรุงรสอาหาร ขนมขบเคี้ยว ผลิตภัณฑ์รักษาผิว และกาแฟ เป็นต้น

          Weaknesses
          - สินค้าออแกนนิกที่นาเข้าจากไทยยังคงเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวอังกฤษค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับความหลากหลายของสินค้าที่มี
          - ขาดแบรนด์สินค้าของตนเอง ส่วนใหญ่สินค้านาเข้าภายใต้แบรนด์อื่น เช่น ข้างหอมมะลิในชื่อของห้าง World Food Market

          Opportunities
          - ชาวอังกฤษรู้จักประเทศไทยเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูง โดยในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวอังกฤษเดินทางเยือนไทยเกือบ 1 ล้านคน การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์สินค้าออแกนนิคของไทยในภาพรวม และจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในสินค้าที่มีศักยภาพ น่าจะเพิ่มภาพลักษณ์ที่ดีกับสินค้าจากประเทศไทย และส่งผลทางการขายมากขึ้น

          Threats
          - สหภาพยุโรปกาหนดระเบียบหลักเกณฑ์มาตรฐานการผลิตสินค้าประเภทนี้ไว้สูงและมีรายละเอียดค่อนข้างมาก รวมทั้งยังมีเงื่อนไขรายละเอียดที่อาจยุ่งยากต่อการนาเข้าจากประเทศนอกกลุ่มสหภาพยุโรป
          - การแข่งขันสูงทั้งจากการผลิตสินค้าออแกนนิกในประเทศและการนาเข้าจากประเทศในเครือจักรภพเอง
          - ความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลให้เกิดมาตรการ กฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้นต่อสินค้านาเข้า

8. ข้อมูลเพิ่มเติม
          8.1) ในปี 2552 สหราชอาณาจักรได้ขยายพื้นที่การผลิตพืชผลเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 โดยมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 743,516 เฮกตาร์ หรือคิดเป็นร้อยละ 4.3 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมดของประเทศ โดยมีเกษตรกรจานวน 5,177 รายเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จากปี 2551 ที่ผ่านมาภาครัฐสหราชอาณาจักรให้การส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยการให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่เกษตรกรที่ทาการปรับเปลี่ยนการผลิตมาเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์เพื่อลดการพึ่งพาการนาเข้า แต่การดาเนินงานก็ยังประสบปัญหาราคาผลผลิตตกต่า เช่น เนื้อสัตว์ ผักสด และผลิตภัณฑ์นม ที่ประสบปัญหาไม่สามารถจาหน่ายในราคาสูงเพียงพอที่จะชดเชยระดับผลผลิตของพืชผลเกษตรอินทรีย์ที่ยังอยู่ในระดับต่า (Low prodcutivity) นับว่าเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อการส่งเสริมขยายการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นอย่างมาก
          8.2) เป็นที่คาดหมายว่าตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในสหราชอาณาจักรยังคงมีแนวโน้มขยายตัวในปี 2553 ทั้งจากสภาพเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวอังกฤษยังคงให้ความสาคัญกับด้านสุขภาพอนามัย และหันมาบริโภคสินค้าที่มีความสะอาดปลอดภัย รวมทั้งเกี่ยวกับด้านการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม ประกอบที่บริษัทผู้ผลิตสินค้าประเภทอาหารรายใหญ่ต่างหันมาให้ความสาคัญกับการเข้าสู่ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มบริษัทผู้ผลิตสินค้าอาหารแปรรูปรายสาคัญๆ เช่น Unilever, Bestfoods, HJ Heinz, Muller Dairies, Gerber Soft Drink, Kallo Foods เป็นต้น ซึ่งบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ที่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นนี้จะมีการทุ่มการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์และเผยแพร่ข้อมูลสินค้าเกษตรอินทรีย์ไปสู่ประชาชนผู้บริโภคอย่างกว้างขวางมากขึ้น จึงคาดว่าจะมีผลให้มีผู้สนใจหันมาบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น

9. เวปไซด์ที่น่าสนใจ
          9.1) รายละเอียดระเบียบด้านเกษตรอินทรีย์ของสหภาพยุโรป
          http://www.organic-europe.net/europe_eu/eu-regulation-on-organic-farming.asp
          9.2) เวปไซด์ด้านระเบียบเกษตรอินทรีย์ของสหราชอาณาจักร http://www.defra.gov.uk/foodfarm/growing/organic/index.htm
          9.3) เอกสารแนะนาการนาเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์จากนอกสหภาพยุโรป
          http://www.defra.gov.uk/foodfarm/growing/organic/imports/pdf/1235-2008.pdf
          9.4) เวปไซด์ของ Soil Assocation
          http://www.soilassociation.org/


          สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน

          ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ