รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 1-15 มิถุนายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 23, 2010 16:26 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ก. ภาวะเศรษฐกิจ/การค้าทั่วไป

1. โครงการที่พักอาศัยเอกชนขยายตัวขึ้นในเดือนเมษายน 2553 จำหน่ายได้จำนวน 2,207 หน่วย เพิ่มขึ้นจาก 1,760 หน่วยในเดือนมีนาคม และ 1,202 หน่วย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ทั้งนี้ จำนวนที่พักอาศัยใหม่ที่จำหน่ายช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2553 รวมจำนวน 6,587 หน่วย ที่สำคัญ ได้แก่ Waterbank at Dakota มีจำนวน 573 หน่วย ราคา 1,178 เหรียญสิงคโปร์ต่อตารางฟุต Treehouse in Chestnut Avenue จำนวน 374 หน่วย ราคา 835 เหรียญสิงคโปร์ต่อตารางฟุต Interlace in Alexandra Road จำนวน 144 หน่วย ราคา 1,067 เหรียญสิงคโปร์ต่อตารางฟุต

2. โครงการฉลากสินค้า Singapore Carbon Label ซึ่ง The Singapore Environment Council (SEC) และ Agency for Science, Technology and Research Institute SIMTech ร่วมมือกันพัฒนาโครงการฉลากสินค้า ซึ่งจะเปิดตัวเป็นทางการในปลายปี 2553 โดยฉลากจะมีข้อมูลแจ้งให้ผู้บริโภคทราบถึงปริมาณของคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้านั้นๆจนถึงมือผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม Singapore Carbon Label จะเริ่มมุ่งเน้นกลุ่มการผลิตอาหารและกลุ่มสินค้า recycle (เช่น พลาสติก) ส่งผลให้สินค้าแบรนด์ของสิงคโปร์เป็นไปตามระเบียบนานาชาติ เพื่อให้สินค้าแข่งขันได้ในตลาดโลกต่อไป ทั้งนี้ ในสหรัฐฯ อังกฤษ และญี่ปุ่น ได้เริ่มใช้ Carbon Label แล้ว

3. สิงคโปร์ส่งออกปลาสวยงามเป็นประเทศอันดับ 1 ของโลก โดยส่งออกมูลค่า 20.71 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (ปี 2550) รองลงมา คือ สเปน (9.18 ล้านฯ) มาเลเซีย (7.88 ล้านฯ) Czech Republic (7.37 ล้านฯ) ญี่ปุ่น (6.55 ล้านฯ) ไทย (4.42 ล้านฯ อันดับที่ 6) อิสราเอล (4.26 ล้านฯ) สหรัฐฯ (3.52 ล้านฯ) มอร็อคโค (2.9 ล้านฯ) และเนเธอร์แลนด์ (2.75 ล้านฯ) ผู้ส่งออกสิงคโปร์ มีฟาร์มอยู่ในเขต Lim Chu Kang Agrotech Park, Mutai Agrotech Park, Sungei Tengah Agrotech Park, Loyang Agrotech Park และ Outside of Agrotech Park/Agri Lands โดยมีใบอนุญาตส่งออกทั้งหมด 114 ราย และชนิดของสินค้าที่เป็นที่นิยม ได้แก่ The Black Ghost, Denisoni Barb, The Clown Loach, Red Tiger Lobster และ Albino Aquatic Frog

4. ซุปเปอร์มาร์เก็ตจำหน่ายปลาจากฟาร์มในสิงคโปร์ ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากขึ้น สินค้า ได้แก่ Asian seabass, Grey mullet, Milkfish, Golden pomfret, Black tilapia เป็นต้น ฟาร์มในสิงคโปร์มีจำนวน 106 แห่ง (ถึงเมษายน 2553 เพิ่มจาก 90 แห่งเมื่อปี 2547) ในปี 2552 ผลิตได้ 5,689 ตัน ทั้งนี้ การนำเข้าปลาเพื่อจำหน่ายในตลาดสิงคโปร์จะต้องใช้เวลา 3-5 วัน กว่าจะถึงมือผู้บริโภค หากปลามาจากฟาร์มในประเทศ จะใช้เวลาเพียง 12 ชั่วโมงเท่านั้น นอกจากนี้ ยังอยู่ในการควบคุมดูแลของ Agri-Food & Veterinary Authority (AVA) ในการตรวจสอบให้สินค้าถูกสุขอนามัย

ข. การลงทุนในประเทศ

1. บริษัท IBM ลงทุน 90 ล้านเหรียญสิงคโปร์ จัดตั้งโรงงานผลิต IBM Singapore Technology Park ที่มีเทคโนโลยีระดับสูงสุดในโลก ณ เขต Tampines จะสามารถเปิดดำเนินการบางส่วนในเดือนมิถุนายน 2553 และเปิดการบริการทั้งวงจรได้ภายในไตรมาสสุดท้ายปี 2553 เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในเอเซีย อัฟริกา และยุโรป ที่จัดซื้อ computer servers and mainframes ทั้งนี้ การลงทุนของ IBM สร้างให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีโรงงานผลิตสินค้า high-value (System z mainframes and high-end Power servers) และเป็นศูนย์กลางการจัดหาสินค้าสำหรับตลาดโลก อีกทั้งเป็นผู้นำความรู้ด้านเศรษฐกิจที่ใช้ digital intelligence อีกด้วย

2. บริษัท Infineon Technologies ลงทุน 14 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เป็นบริษัทด้าน Semiconductor and system solution เปิดศูนย์ R&D ณ เขต Kallang โดยมุ่งเน้น semiconductor สำหรับรถยนต์ใช้พลังไฟฟ้า renewable energies and wireless communication solutions ในตลาดเอเซีย ทั้งนี้ ตลาดของบริษัในเอเชียแปซิฟิค ยกเว้นญี่ปุ่น มีมูลค่าประมาณ 2.4 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือประมาณร้อยละ 45 ของการจำหน่ายทั่วโลกของบริษัทที่มีมูลค่า 3.03 พันล้านปอนด์

3. โรงงานบำบัดน้ำใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์ บริษัท Sempcorp Industries (Sembcorp) และ Public Utilities Board (PUB) เปิดตัวโรงงาน The Sembcorp NEWater Plants เป็นโรงงานแหล่งที่ 5 และใหญ่ที่สุดในโลก ในการบำบัดน้ำสามารถผลิตน้ำได้ 50 ล้านแกลลอนต่อวัน และได้รับรางวัล Global Water Awards 2010 ในโครงการ Water Reuse Project of the Year โรงงานใช้เทคโนโลยีทันสมัยมากที่สุดเก็บรวบรวมน้ำที่ใช้แล้ว จากด้านตะวันออกของสิงคโปร์ ทำให้กลายเป็นน้ำบริสุทธิ์โดยใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยระบบ microfiltration และ ระบบ reverse Osmosis ทั้งนี้ เมื่อรวมกับโรงบำบัดน้ำที่มีอยู่แล้ว 4 แห่ง สามารถผลิตน้ำได้ร้อยละ 30 ของความต้องการน้ำทั้งหมดในสิงคโปร์

4. การเปิดตัว Shell Eastern Petrochemical Complex (SEPC) ของบริษัท Royal Dutch Shell plc (Shell) ในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นทั้งศูนย์กลางโรงงานผลิตสำหรับ Shell และเป็นฐานการผลิตสำหรับภูมิภาคและของโลก โดย Shell มุ่งเน้นการลดต้นทุนและเพิ่มผลการดำเนินงาน ให้ความสำคัญในการลงทุนในสินทรัพย์และเทคโนโลยี SEPC เป็นศูนย์รวมน้ำมันและศูนย์กลางโรงงานปิโตรเคมี ประกอบด้วยโรงงานใหม่ 3 แห่ง คือ cracker และ butadiene ที่ เขต Bukom และ MEG(mono-ethylene glycol) ที่ Jurong Island ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและผลิตภัณฑ์ส่งตรงผ่านท่อก๊าซใต้ทะเลที่ Jurong Island เพื่อหล่อเลี้ยงโรงงานMEG ของ Shell และโรงงานอื่นๆ ส่งผลให้ Jurong Island เป็นแหล่งวัตถุดิบใหม่ เร่งการลงทุนห้มีมูลค่าสูงในอุตสาหกรรมเคมี คาดว่า มีการลงทุนกว่า 2 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ ในสินทรัพย์ถาวรจากบริษัทเคมีชั้นนำ ทั้งนี้ สิงคโปร์มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการเติบโตของพลังงานและอุตสาหกรรมเคมีที่เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจ ผลผลิตประจำปีเกือบ 60 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ อีกทั้ง ภาครัฐจะติดตามการเจรจาของ UNFCCC และข้อตกลงระหว่างประเทศ เพื่อจำกัดก๊าซเรือนกระจกที่จะส่งผลกระทบต่อสิงคโปร์ด้วย

5. บริษัท Blizzard Entertainment ตั้งสำนักงานในสิงคโปร์ บริษัทเป็นผู้พัฒนาและผลิตเกมส์จากคาลิฟฟอร์เนีย ผลิตเกมส์ที่เป็นที่นิยมทั่วโลก คือ World of Warcraft (WoW) ซึ่งจะให้การสนับสนุนทางเทคนิคแก่ผู้เล่น โดยได้สร้าง Battle.net servers พร้อมกับได้แต่งตั้งให้ Infocomm Asia Holdings (IAH), Singapore game publisher and distributor เป็นผู้จัดจำหน่ายในสิงคโปร์ ซึ่ง IAH มีสมาชิกจำนวน 500,000 ราย และทำรายได้ในปี 2552 เป็นเงิน 9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อนึ่ง บริษัท Blizzard Entertainment ได้ลงทุนในเกาหลีใต้และไต้หวันด้วย

6. บริษัท Neste Oil ลงทุน 953 ล้านเหรียญสิงคโปร์ สร้าง renewable diesel plant ณ เขต Tuas ที่จะเริ่มการผลิตในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 ผลผลิตประมาณ 800,000 ตันต่อปี และมีการจ้างงาน 100 อัตรา ทั้งนี้ ความต้องการจาก European Union ประมาณร้อยละ 10 สำหรับวัตถุดิบป้อนโรงงาน จัดหาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค โดยเฉพาะ palm oil จากมาเลเซียและอินโดนีเซีย

7. บริษัท Hitachi Data Systems ตั้งศูนย์จัดส่งสินค้าในสิงคโปร์ เป็นศูนย์แห่งแรกในเอเซียแปซิฟิคเพื่อลูกค้าในภูมิภาค ซึ่งการลงทุนสร้างศูนย์มีมูลค่า 4.6 ล้านเหรียญสิงคโปร์ บนพื้นที่ 35,746 ตารางฟุต ตั้งอยู่ที่ Airport Logistics Park (Alps) ใน Free Trade Zone ใกล้สนามบิน Changi เปิดดำเนินธุรกิจเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2553 มีการจ้างงานใหม่ 25 อัตรา ทั้งนี้ การตั้งศูนย์ในสิงคโปร์จะช่วยลดเวลาในการขนส่ง และลด Carbon emission ประมาณร้อยละ 36 หรือ air pollution ลดลง 780 ตันต่อเดือน

ค. ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

1. สิงคโปร์กับเกาหลีใต้ โดย Changi Airport Group (CAG), Korea Tourism Organization (KTO) และ The Singapore Tourism Board (STB) ประสานความร่วมมือเพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่าง Busan และสิงคโปร์ ซึ่งสิงคโปร์ได้จัดนำคณะผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว 18 ราย เยือน Busan เพื่อสร้างสัมพันธไมตรีและเจรจาธุรกิจการท่องเที่ยว คณะของสิงคโปร์ประกอบด้วย NATAS (key tourism partners), inbound travel agents, Marina Bay Sands และ Resorts World Sentosa ซึ่งการผลักดันนี้ จะทำให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันแก่ทั้ง 2 ประเทศทั้งในทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ทั้งนี้ ชาวเกาหลีใต้ เป็นนักท่องเที่ยวเยือนสิงคโปร์เป็นอันดับที่ 12 และคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้นประมาณ 300,000 คนต่อปี

2. สิงคโปร์กับ Jiangsu ได้มีข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกันในด้าน science and technology ซึ่งได้มีการลงนามระหว่างบริษัทและสถาบันการศึกษาจากสิงคโปร์กับเจ้าหน้าที่จังหวัด Jiangsu ประเทศจีน โดยสถาบัน The National University of Singapore และ Nanyang Technological University อยู่ในกลุ่มที่ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเพื่อ การแลกเปลี่ยนในระดับ tertiary และ research institution นอกจากนี้ High-tech start-ups จะเป็นกลุ่มที่น่าสนใจในการแบ่งปันข้อมูลและให้การบริการมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ จากการจดบันทึกของ Jiangsu Department of Foreign Trade and Economic Cooperation สิงคโปร์เป็นประเทศ อันดับที่ 4 ที่เข้าไปลงทุนใน Jiangsu

ง. อื่นๆ

1. คาสิโน 2 แห่งในสิงคโปร์ทำรายได้ค่าผ่านประตู 70 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ซึ่งเก็บจากชาวสิงคโปร์และผู้พำนักถาวรในสิงคโปร์ ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เปิดดำเนินการจนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2553 โดยอัตราค่าผ่านประตู 100 เหรียญสิงคโปร์/วัน/ราย หรือ 2,000 เหรียญสิงคโปร์/ปี/ราย ทั้งนี้ คาสิโน 2 แห่งคือ The Resorts World Sentosa (RWS) casino เปิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 และ Marina Bay Sands casino (MBS) เปิดเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2553 อนึ่ง แสดงให้เห็นว่า จำนวนกว่าครึ่งของผู้เข้าใช้คาสิโนเป็นชาวสิงคโปร์และผู้พำนักถาวรในสิงคโปร์ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น

2. สิงคโปร์เป็นเจ้าภาพ Youth Olympic Games (YOG) ระหว่างวันที่ 14-26 สิงหาคม 2553 คาดว่าจะมีชาวต่างชาติเยือนสิงคโปร์ประมาณ 400,000 คน ที่เป็นนักกีฬา เจ้าหน้าที่ ผู้สื่อข่าว อาสาสมัคร และผู้ชมกีฬา ทั้งนี้ Dr. Vivian Balakrishnan, Minister for Community Development, Youth and Sports ประกาศขอให้ชาวสิงคโปร์ร่วมเป็นเจ้าภาพที่ดีและช่วยสนับสนุนทีมสิงคโปร์ เพื่อส่งเสริมและยกระดับให้สิงคโปร์มีชื่อเสียงได้ระดับมาตรฐานสากลและสามารถเป็นเจ้าภาพในการจัดงานสำคัญอื่นๆในอนาคต

3. บริษัท Ciba Vision ผลิต Lens ในสิงคโปร์ (บริษัทมีสำนักงานใหญ่อยู่ในสหรัฐฯ) ได้ผลิต Lens ที่โรงงานผลิต ณ เขต Tuas ซึ่งมีเครื่องจักรสำหรับผลิตเลนส์ได้ปริมาณเดือนละ 30 ล้านชิ้น มากขึ้นกว่าเดิมถึงร้อยละ 15 และมีราคาต้นทุนที่ถูกว่า ร้อยละ 20 ทั้งนี้ บริษัทมีการจ้างงาน 320 อัตรา

4. IE Singapore นำคณะเยือนมอสโคว์ รัสเซีย ซึ่งเป็นครั้งแรกในการนำคณะ Consumer electronics บุกตลาดรัสเซีย โดยคาดหวังว่า บริษัทชั้นนำในคณะ 6 ราย จะทำรายได้ประมาณ 50 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ภายใน 1 ปีข้างหน้า (บริษัท 6 ราย คือ Hexon Technology Pte. Ltd., Bluetree Electronics Pte. Ltd., Christel Innovation Pte. Ltd., Avov Technologies Pte. Ltd, TraveIPac Resources Pte. Ltd และ Trek2000 International Ltd.) ทั้งนี้ ตลาด consumer electronics device ของรัสเซีย ในปี 2553 ด้วยประชากร 140 ล้านคน คาดว่า มีมูลค่าประมาณ 17.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และจะมีการเติบโตประมาณร้อยละ 8.3 จนถึงปี 2557

กิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 1-15 มิถุนายน 2553

1. รายงานผลโครงการส่งเสริมสินค้าไทยในซุปเปอร์มาร์เก็ต FairPrice ระหว่างวันที่ 6-19 พฤษภาคม 2553

2. รายงานผลโครงการประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิไทยในสิงคโปร์ ร่วมกับกรมการค้าต่างประเทศ ณ ซุปเปอร์มาร์เก็ต FairPrice ระหว่างวันที่ 13-16 พฤษภาคม 2553 และ การประชาสัมพันธ์ข้าว “Thai Rice Festival” ณ บริเวณสถานทูตไทยในสิงคโปร์ วันที่ 16 พฤษภาคม 2553

3. รายงานผลการจัดโครงการ Thailand Trade Exhibition 2010 ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยในสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 19-23 พฤษภาคม 2553

4. ติดต่อประสานงานการจัดโครงการ Thailand Trade Exhibition “VivoCity Fashion Showcase 2010” (วันที่ 10-14 มิถุนายน 2553)

5. ดำเนินโครงการ Thailand Trade Exhibition “VivoCity Fashion Showcase 2010” ระหว่างวันที่ 10-14 มิถุนายน 2553 ภายใต้ Theme “Creatively Thai 2010 — Siam Fashion Promenade” โดยมีบริษัทสินค้าแฟชั่นและเครื่องประดับเข้าร่วมงาน 35 ราย

6. จัด net-working สำหรับบริษัทไทยที่เข้าร่วมงาน Thailand Trade Exhibition 2010 “VivoCity Fashion Showcase 2010” ในวันที่ 10 มิถุนายน 2553

7. ประสานงานติดต่อ Singapore General Rice Importers Association เชิญนายกสมาคมฯ เยือนงาน ThaiFex-World of Food Asia 2010 (29 มิถุนายน — 4 กรกฏาคม 2553)

8. ประสานงานติดต่อ Singapore Fruits & Vegetables Importers & Exporters Association เชิญนายกสมาคมฯเยือนงาน ThaiFex-World of Food Asia 2010 (29 มิถุนายน — 4 กรกฏาคม 2553)

9. ประสานงานติดต่อ Giant Hypermarket เชิญ Merchandise Manager เยือนงาน ThaiFex-World of Food Asia 2010 (29 มิถุนายน — 4 กรกฏาคม 2553)

10. ประสานติดต่อเชิญชวนบริษัทผู้นำเข้าข้าว ผัก/ผลไม้ และอาหาร รายสำคัญ เยือนงาน ThaiFex-World of Food Asia 2010 (29 มิถุนายน — 4 กรกฏาคม 2553) ได้แก่ The Sukha House Pte. Ltd., Thygrace Marketing และSing Long Foodstuff & Trading Co., Pte. Ltd.

11. ประสานงานติดต่อ Chinatown Food Corporation Pte. Ltd. เชิญสมาชิกฯ เยือนงาน ThaiFex-World of Food Asia 2010 (29 มิถุนายน — 4 กรกฏาคม 2553)

12. ประสานซุปเปอร์มาร์เก็ต Isetan และบริษัทไทย สำหรับการจัดโครงการส่งเสริมการขายสินค้าผักผลไม้ อาหาร และสินค้าของขวัญ/ของตกแต่งบ้าน ณ บริเวณพื้นที่ Promotion ของซุปเปอร์มาร์เก็ต กำหนดจัดระหว่างวันที่ 13-22 กรกฎาคม 2553

13. ประสานติดต่อสมาคมและนักธุรกิจสิงคโปร์เพื่อเข้าร่วมคณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์เยือนประเทศไทย ในเดือนสิงหาคม 2553

14. ประสานเชิญชวนนักธุรกิจ/ผู้นำเข้าสิงคโปร์เยือนงานแสดงสินค้าในประเทศไทย ได้แก่

  • ThaiFex-World of Food Asia 2010 ( 30 มิถุนายน - 4 กรกฎาคม 2553)
  • Made in Thailand 2010 (2-11 กรกฎาคม 2553)
  • Bangkok Gems & Jewelry Fair 2010 (8-12 กันยายน 2553)

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก สิงคโปร์  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ