1. จำนวนการผลิตรถยนต์ของประเทศญี่ปุ่นแบ่งแยกตามผู้ผลิต ตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2553
Passenger Cars Trucks Buses Grand Total Standard Small Mini Total Standard Small Mini Total Large Small Total TOYOTA 173,750 51,965 - 225,715 8,200 7,399 - 15,599 - 7,809 7,809 249,123 NISSAN 47,022 29,184 - 76,206 5,724 3,777 - 9,501 - 473 473 86,180 MAZDA 56,755 11,690 - 68,445 122 1,607 - 1,729 - - - 70,174 MITSUBISHI 29,851 1,960 3,950 35,761 173 107 4,196 4,476 - - - 40,237 ISUZU - - - - 12,695 2,296 - 14,991 277 - 277 15,268 DAIHATSU - 4,759 38,207 42,966 130 - 11,969 12,099 - - - 55,065 HONDA 21,640 38,622 8,680 68,942 - 171 5,285 5,456 - - - 74,398 SUBARU 33,769 - 2,655 36,424 - - 4,241 4,241 - - - 40,665 UD TRUCKS - - - - 1,950 623 - 2,573 142 - 142 2,715 HINO - - - - 6,864 150 - 7,014 539 9 548 7,562 SUZUKI 12,771 13,056 46,933 72,760 - 1,080 10,971 12,051 - - - 84,811 GM JAPAN - - - - - - - - - - - - MITSUBISHI FUSO - - - - 4,506 547 - 5,053 164 278 442 5,495 Others - - - - 101 - - 101 - - - 101 TOTAL 375,558 151,236 100,425 627,219 40,465 17,757 36,662 94,884 1,122 8,569 9,691 731,794ข้อมูลจาก Japan Automobile Manufacturer Association 2010
สำนักข่าวนิเกอิ รายงานว่าประเทศในกลุ่มอาเซียน มียอดสั่งซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้นในเดือนเมษายน 2553 เป็นจำนวน 198,000 คัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซียซึ่งมียอดจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 90 ขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์และไทยต่างมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับยอดจำหน่ายรถยนต์ของปีที่ผ่านมา รายละเอียดดังนี้
1. ประเทศเวียดนามแม้ว่าในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2553 ยอดจำหน่ายรถยนต์จะลดลงถึงร้อยละ 10 เมื่อเทียบ จากปีที่ผ่านมา แต่จากยอดจำหน่ายรถยนต์ตรวจการณ์ (SUV) ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในเดือนเมษายน ทำให้ยอดโดยรวมในเดือน เมษายน 2553 ปรับตัวอยู่ในแดนบวกได้
2. ประเทศอินโดนีเซียแจ้งว่ายอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในเดือนเมษายน 2553 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 89 เมื่อเทียบกับ ยอดจำหน่ายรถยนต์ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งในจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นรถมินิแวนของมิตซึบิชิ มอเตอร์ จำนวน 7,211 คัน ส่งผลให้ส่วนแบ่งการตลาดของมิตซึบิชิในตลาดอินโอนีเซียเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1 รวมเป็นร้อยละ 15 ของตลาดโดยรวม
3. ประเทศฟิลิปปินส์มียอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศเพิ่มขึ้นจำนวนรวม 14,000 คันหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 43 เมื่อ เทียบกับยอดจำหน่ายของปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่มียอดจำหน่ายเพิ่มสูงสุดคือ มิตซึบิชิ แลนเซอร์ ใหม่ซึ่งมียอดจำหน่ายเพิ่มสูงถึงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับยอดจำหน่ายของปีที่ผ่านมา โดยแลนเซอร์ใหม่นี้ผลิตในโรงงานใหม่ของมิตซึบิชิที่เพิ่งเริ่มผลิตเมื่อเดือนมกราคม 2553 ที่ผ่านมา
4. ประเทศสิงค์โปร์ เป็นประเทศเดียวในกลุ่มอาเซียนที่ มีรายงานว่ายอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศติดลบ กล่าว คือลดลงถึงร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับยอดจำหน่ายของปีที่ผ่านมา เหตุผลเดียวของการลดลงของยอดจำหน่ายในประเทศคือรัฐบาล ต้องการจำกัดใบอนุญาตซื้อรถยนต์เพื่อให้จำนวนรถยนต์มีจำนวนน้อยลง
5. ประเทศไทย ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์รายงานว่าได้จำหน่ายรถยนต์ได้จำนวน 57,000 คัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 เมื่อเทียบกับยอดจำหน่ายรถยนต์ในปีที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกันแล้วที่ยอดจำหน่ายรถยนต์เพิ่มสูงขึ้น รถยนต์นิสสันมาร์ช ซึ่งเริ่มจำหน่ายในเดือนมีนาคม 2553 สามารถทำยอดจำหน่ายได้ถึง 7,201 คัน เมื่อสิ้นเดือนเมษายน 2553 ส่งผลให้ยอดจำหน่าย รถยนต์นั่งส่วนบุคคลในประเทศเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับยอดจำหน่ายของปีที่ผ่านมา
รวมยอดจำหน่ายรถยนต์ของประเทศในกลุ่มอาเซียนเท่ากับ 761,000 คันหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 41 เมื่อเทียบกับยอด จำหน่ายของปีที่ผ่านมา
สำหรับ ยอดขายรถยนต์มือสองในญี่ปุ่นเดือนพฤษภาคม 2553 มีจำนวน 288,567 คัน ลดลงถึงร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบ กับระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาและนับเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 18 ติดต่อกันแล้ว สาเหตุสำคัญคือนโยบายของรัฐบาลที่ให้การ สนับสนุนชาวญี่ปุ่นให้ซื้อรถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านการใช้มาตรการลดหย่อนภาษี และให้เงินจูงใจ
บริษัทนิสสัน มอเตอร์ วางแผนเพิ่มการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยเป็น 2 เท่า หรือมูลค่าการผลิตราว 8.5 หมื่นล้านเยน ชิ้นส่วนหลัก อาทิเครื่องยนต์ และชุดเกียร์ที่จะผลิตในไทยและส่งออกต่อไปยังประเทศญี่ปุ่น จีน ประเทศในยุโรปและ ประเทศอื่นๆ นิสสันมอเตอร์ยังใช้ไทยเป็นฐานการผลิตนิสสันรุ่นมาร์ช นอกจากนี้ยังวางแผนระยะยาวให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนเป็น ฐานผลิตส่วนประกอบรถยนต์ของนิสสัน บริษัทยังมีแผนในการปรับลดการผลิตเครื่องยนต์ขนาด 2 ลิตรจำนวน 100,000 เครื่องจาก โรงงานที่โยโกฮาม่าในประเทศญี่ปุ่น โดยจะเพิ่มการผลิตที่โรงงานในประเทศอังกฤษแทน ส่วนโรงงานผลิตเครื่องยนต์ของนิสสันรุ่น ทิด้าก็เริ่มย้ายฐานการผลิตจากโรงงานที่จังหวัดคานากาว่าประเทศญี่ปุ่น ไปยังประเทศเม็กซิโกแล้ว เหตุผลสำคัญที่นิสสันต้องปรับ กระบวนการผลิตโดยย้ายโรงงานออกจากญี่ปุ่น ไปยังประเทศอื่นๆ คือการแก้ปัญหาเงินเยนที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ทำให้รถยนต์และ ส่วนประกอบฯที่ส่งออกจากประเทศญี่ปุ่นมีราคาแพง ไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
ฮอนด้า มอเตอร์ ให้สัมภาษณ์ว่าอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างดอลลาร์สหรัฐและเยนที่เปลี่ยนแปลงทุก 1 เยนจะส่งผลให้ ผลกำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นหรือลดลงราว 2 หมื่นล้านเยน การย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศในกลุ่มอาเซียนจะทำให้บริษัทสามารถลด ความผันผวนด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้ถึง 4 พันล้านเยนต่อปี
บริษัทโคะเกียว ผู้ผลิตเพลาและแชสซีของญี่ปุ่น กำลังก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดระยองซึ่ง คาดว่าจะเริ่มการผลิตได้ในเดือนกันยายน 2553 โรงงานแห่งใหม่นี้จะผลิตชิ้นส่วนฯ เพื่อป้อนให้กับโรงงานอิซูซุ มาสด้า และฟอร์ด ในประเทศไทยเป็นหลัก การลงทุนโครงการดังกล่าวมีมูลค่าประมาณ 2,500 ล้านเยน บริษัทหวังว่าหลังดำเนินการ ยอดขายโดย รวมจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.77 หมื่นล้านเยนหรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับยอดจำหน่ายของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การลงทุน ของโคะเกียวในครั้งนี้ทำให้บริษัทับภาระหนี้สินจำนวน 2.3 หมื่นล้านเยน
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นคร โอซากา
ที่มา: http://www.depthai.go.th