ชาวประมงอิตาลีได้รับผลกระทบจากการแก้ไขระเบียบการจับปลาของ EU

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 30, 2010 15:15 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สหภาพยุโรปได้ปรับแก้ไขระเบียบที่ 1967/2006 ว่าด้วยการจับปลาใหม่ โดยการเพิ่มขนาดความกว้างขั้นต่าของตาข่ายอวนลากที่ใช้ในการจับปลาเพื่อป้องกันมิให้ติดปลาขนาดเล็กจากเดิม 30 มิลลิเมตรเป็น 50 มิลลิเมตร ห้ามการจับปลาในระยะ 3 ไมล์จากฝั่ง และจากัดการใช้เทคนิคต่างๆรวมทั้งการระเบิดเพื่อจับหอยกาบ เป็นต้น โดยมีผลบังคับตั้งแต่ 1 มิ.ย. 2553

ผลจากระเบียบดังกล่าวทาให้ชาวประมงใน 13 แคว้นซึ่งตั้งอยู่แถบชายฝั่งทะเลของอิตาลีได้ลุกขึ้นมาประท้วง โดยกล่าวว่าการแก้ไขระเบียบดังกล่าวถือเป็นการคุกคามต่อทั้งอาชีพและวัฒนธรรมด้านอาหารที่เป็นที่นิยมของคนอิตาลี เช่น สปาเก็ตตี้หอยกาบ เป็นต้น

นอกจากนี้ สมาคมประมงและสัตว์น้าแห่งชาติ (The Impresa Pesca Fishers) ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทผู้ประกอบการประมงในอิตาลี ก็ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลอิตาลีตอบโต้การออกระเบียบดังกล่าว โดยกล่าวว่าระเบียบดังกล่าวจะมีผลกระทบในระยะยาว แต่ในระยะกลางและระยะสั้นแล้วส่งผลกระทบเหมือนเป็นการลงโทษต่อชาวประมงอิตาลีที่ใช้ระบบอวนลากอย่างแน่นอน แม้ระเบียบดังกล่าวจะมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ปลาในสหภาพยุโรปหมดไป แต่จะส่งผลกระทบทาให้การจับปลาของอิตาลีลดลงถึงร้อยละ 50 และในท้ายที่สุดจะทาให้การบริโภคหอยกาบจาพวก razor และ wedge clam หายไปด้วย ดังนั้นรัฐบาลจึงจาเป็นต้องมีมาตรการช่วยเหลือเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้แก่อุตสาหกรรมการประมง เพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากระเบียบดังกล่าว โดยเฉพาะอาหารจานเด่นของอิตาลีชื่อ “Telline” ที่ทำด้วย razor clam และ wedge clam จะหายไปจากร้านอาหารและคนอิตาเลียนจะไม่ได้บริโภคอาหารจานคลาสสิคเช่น สปาเก็ตตี้ปลาหมึกดาอีกต่อไป ทั้งนี้ นาย Giancarlo Galan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรอิตาลี ได้ให้สัญญาว่าจะทาเรื่องถึงสหภาพยุโรปเพื่อขอยกเว้นในบางประเด็นที่มีผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมการประมงของอิตาลี ซึ่งภายใต้ระเบียบดังกล่าวผู้ได้รับผลกระทบสามารถร้องขอให้คณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณาปรับแก้ไขได้ หากมีหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าได้รับความเสียหายจากระเบียบดังกล่าว

คณะกรรมาธิการยุโรปได้แขวนการพิจารณาระเบียบดังกล่าวนานถึง 7 ปี และเป็นประเด็นที่มีการเจรจากันนานถึง 3 ปี ก่อนจะผ่านความเห็นชอบออกเป็นระเบียบในปี 2006 โดยมีเพียงฝรั่งเศสประเทศเดียวที่งดออกเสียง

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ