ข้อมูลด้านการตลาดกระเป๋าถือทำด้วยหนังในสหราชอาณาจักร

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 21, 2010 14:02 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาพรวมตลาดกระเป๋าถือในสหราชอาณาจักร

ตลาดกระเป๋าถือในสหราชอาณาจักรมีมูลค่าประมาณ 1.5 พันล้านปอนด์ ณ ราคาขายปลีก ประมาณการว่า ร้อยละ 80 ของผู้หญิงอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปในสหราชอาณาจักรซื้อกระเป๋าใหม่ 1 ใบใน 1 ปี โดยร้อยละ 3.6 เป็น premium shoppers ร้อยละ 32 เป็น department stores shoppers และร้อยละ 64.3 เป็น high streets shoppers กล่าวคือ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อกระเป๋าจากร้านค้าบน high streets ในราคาถูก-ปานกลาง นอกจากนี้ ร้อยละ 75 ของผู้ซื้อกระเป๋ามีอายุระหว่าง 25-50 ปี

ตลาดกระเป๋าหนังในสหราชอาณาจักรมีแบรนด์ต่างๆกว่า 150 แบรนด์ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ แบรนด์ระดับ premium แบรนด์ของห้างสรรพสินค้าทั่วไป และ High Street Own brand โดยแบรนด์ระดับ premium มีผู้นาตลาด ได้แก่ Mulberry; Marc by Marc Jacobs; Longchamp; Coccinelle; Lamarthe; Mandarina Duck; Coach; Nuovedive; Fontanelli; Furla; Claudio Ferrici; Dents; Osprey London ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบลนด์จากอิตาลีและฝรั่งเศส ราคาอยู่ระดับปานกลาง-ระดับบน ราคาใบละไม่เกิน 600 ปอนด์ แบรนด์ของห้างสรรพสินค้าทั่วไป (ได้แก่ Debenhams; John Lewis; Mark & Spencer) ราคาเฉลี่ยใบละประมาณ 80-100 ปอนด์ และ High Street own brands ผู้นาตลาด ได้แก่ Monsoon Accessorize; Zara; Mango; Next; Dorothy Perkins; Topshop; Jane Shilton; River Island เป็นต้น ราคาเฉลี่ยประมาณ 40-80 ปอนด์ ทั้งนี้ ไม่รวมแบรนด์ระดับหรูราคาเกินกว่า 1,000 ปอนด์ (ได้แก่ Burberry; Louis Vuitton; Hermes; Gucci; Christian Dior เป็นต้น)

แบรนด์ที่ประสบความสาเร็จในระยะยาวคือแบรนด์ที่มีสินค้าคุณภาพ/มีการออกแบบตามแฟชั่น ให้เลือกหลายรูปแบบ (extensive range of fashionable products) ในราคาหลากหลาย เพื่อให้ผู้บริโภคหลากหลายระดับสามารถซื้อได้ (accessible luxury)

ในปี 2552 สหราชอาณาจักรนำเข้ากระเป๋าถือทำด้วยหนังจากทั่วโลกมูลค่า 331.11 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 20.58 จากปีก่อนหน้า โดยเป็นการนาเข้าจากอิตาลีในอันดับ 1 (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 29.83) ตามด้วยอินเดีย (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 22.78) ฝรั่งเศส และจีน ตามลาดับ ทั้งนี้ อิตาลีและอินเดีย รวมกันมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 52.63 และ อิตาลี/อินเดีย/ฝรั่งเศส/จีนรวมกันมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 89.25 สาหรับการนาเข้าจากไทยอยู่ในอันดับที่ 14 ด้วยมูลค่าการนำเข้า 0.36 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.74 จากปีก่อนหน้า

จากสถิติข้างต้น คู่แข่งสาคัญของไทยในตลาดสหราชอาณาจักรสำหรับกระเป๋าถือทาด้วยหนัง คือ อินเดีย และจีน ทั้ง 2 ประเทศรวมกันมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 40.62 ในแง่ของภาษีนำเข้า อินเดียและไทยเสียภาษีในอัตราเท่ากันที่ร้อยละ 0 เนื่องจากได้รับสิทธิพิเศษ GSP ในขณะที่จีนเสียภาษีในอัตราทั่วไป (Third country duty) ที่ร้อยละ 3

2. การนำเข้า

2.1 การนำเข้าจากทั่วโลก

ตาราง 1 : มูลค่าการนาเข้ากระเป๋าถือทาด้วยหนังจากทั่วโลก

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ

สินค้า                  ปี 2009        มค.-พค. 2009       มค.-พค. 2010      % change
กระเป๋าถือทาด้วยหนัง      331.11           100.74            106.95            +6.16
ตาราง 2 : มูลค่าการนาเข้ากระเป๋าถือทาด้วยหนังจากทั่วโลกแยกรายประเทศ

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ

  ประเทศ            ปี 2009     มค.-พค. 2009       มค.-พค. 2010      % change     ปี 2009
 1. อินเดีย            75.43         19.33              27.96           26.15      +44.66
 2. อิตาลี             98.77         32.02              26.30           24.59      -17.88
 3. ฝรั่งเศส           67.58         19.22              24.19           22.62      +25.84
 4. จีน               53.68         17.45              15.48           14.47      -11.31
 5. สเปน              7.46          2.73               2.60            2.44       -4.70
 6. ตุรกี               4.81          1.32               2.24            2.10      +69.61
 12. โคลัมเบีย          0.42          0.02               0.23            0.22     +960.76
 14. ไทย              0.36          0.08               0.20            0.19     +132.57
  รวมทั่วโลก          331.11        100.74             106.95          100.00       +6.16
3. ช่องทางการจาหน่าย

3.1 High Street Stores ซึ่งจาหน่ายสินค้าเสื้อผ้า และมี section ขาย accessories ซึ่งรวมถึงกระเป๋าด้วย เป็นช่องทางการจาหน่ายที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในสหราชอาณาจักร

3.2 Department Stores เป็นอีกช่องทางการจาหน่ายที่ได้รับความนิยม เนื่องจากสามารถดึงดูดลูกค้าได้มาก จากการมีสินค้าหลากหลายให้เลือกซื้อ ทั้งกระเป๋าแบรนด์เนมระดับหรูหลายยี่ห้อ ไปจนถึงกระเป๋าแบรนด์ของห้างเอง เช่น Selfridges; Debenhams; John Lewis; Mark & Spencer ; Harrods เป็นต้น

3.3 ร้านขายกระเป๋าโดยเฉพาะ โดยส่วนใหญ่เป็นร้านขายกระเป๋าระดับ premium

3.4 ร้าน gift shop ที่มีกระเป๋าถือขายด้วย โดยเป็นกระเป๋าถือนาเข้ายี่ห้อหลากหลาย ราคาถูก

4. โอกาสทางการค้า

4.1 ตลาดกระเป๋าถือ เครื่องประดับ และผ้าพันคอ ยังมี gap สาหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่ให้เข้าสู่ตลาดได้ ในส่วนของสินค้าที่มีคุณภาพ มีการออกแบบที่ทันสมัย แต่ในขณะเดียวกันก็มีความคลาสสิก และราคาไม่แพง (affordable fashion accessories)

4.2 ตลาดสินค้าเครื่องหนังมีความเชื่อมโยงกันสูงระหว่างรองเท้า กระเป๋า และผลิตภัณฑ์ทาจากหนังอื่นๆ ทาให้มีศักยภาพในการทากาไรได้มาก จากการทาการตลาด การจัดจาหน่าย และการออกแบบร่วมกัน

4.3 การมีร้านค้าซึ่งเป็นช่องทางจาหน่ายตรงต่อผู้บริโภคร่วมไปกับการจัดทา website เพื่อจาหน่ายสินค้าทาง on-line ทาให้ผู้ประกอบรายใหม่สามารถเข้าสู่ตลาดได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นช่องทางจัดจาหน่ายที่สาคัญ แต่เข้าถึงยากและไม่แน่นอน เนื่องจากการเลือกสินค้าเข้าห้างฯเป็นหน้าที่ของ buyers ซึ่งมีอานาจในการตัดสินใจซื้อเด็ดขาด และการที่ buyers เปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อย ทาให้เมื่อเปลี่ยน buyer สินค้าอาจมีโอกาสถูกตัดออกไปไม่ให้ขายในห้างนั้นๆต่อไปได้

5. งานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องในสหราชอาณาจักร ได้แก่

5.1 Moda UK : 8-10 สิงหาคม 2553 ณ NEC Birmingham (http://www.moda-uk.co.uk/)

5.2 Autumn Fair International 5-8 กันยายน 2553 ณ NEC Birmingham

สคร. ณ กรุงลอนดอน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก ข้อมูล  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ