เวทีอาเซียนให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรีอย่างอบอุ่น

ข่าวทั่วไป Friday November 14, 2014 16:43 —สำนักโฆษก

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 25 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงเนปยิดอ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ระหว่างวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2557 สรุปภาพรวม ดังนี้

นายกรัฐมนตรีปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้ ประกอบด้วย 11 การประชุมในกรอบอาเซียนและการประชุมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ประกอบด้วย การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ครั้งที่ 25) การประชุมอาเซียน-อินเดีย (ครั้งที่ 12)การประชุมสุดยอดอาเซียน- ญี่ปุ่น (ครั้งที่ 17) การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติ (ครั้งที่ 6) การประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย สมัยพิเศษ ครบรอบความสัมพันธ์อาเซียน-ออสเตรเลีย 40 ปี การประชุมผู้นำเอเชียตะวันออก (ครั้งที่ 9)การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน-สหรัฐอเมริกา (ครั้งที 2)การประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน (ครั้งที่ 17)การประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม (ครั้งที่ 17) การประชุมที่เกี่ยวข้องได้แก่ การประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 6 การประชุมผู้นำอาเซียนกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ABAC Dialogue with leaders)

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้มีการหารือร่วมกับผู้นำประเทศ หัวหน้ารัฐบาล และเลขาธิการสหประชาชาติ ได้แก่ นายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ นายดมิทรี เมดเวเดฟ นายกรัฐมนตรีรัสเซีย นางสาวปัก กึน-ฮเย ประธานาธิบดีเกาหลีใต้และนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น

บทบาทไทยในเวทีการเข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 25

ตามกฎบัตรอาเซียน ได้กำหนดให้มีการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนปีละ 2 ครั้ง โดยครั้งแรก กำหนดการประชุมในช่วงต้นปี โดยจะเป็นประชุมเฉพาะผู้นำอาเซียนกันเอง สำหรับครั้งนี้ เป็นการประชุมผู้นำอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาที่สำคัญ ประกอบ ด้วย อินเดีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกาและจีน รวมทั้งสหประชาชาติ โดยในปีนี้ ไม่มีการประชุมระหว่างผู้นำอาเซียนและเกาหลี เนื่องจากจะมีการประชุมอาเซียน-เกาหลี สมัยพิเศษ ในกลางธันวาคม นี้

การประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 25 นี้ หัวข้อหลัก (Theme) คือ การเดินหน้าไปด้วยกัน เพื่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองของชุมชน (Moving Forward in Unity, to a Peaceful and Prosperous Community) แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ประกอบด้วย 11 การประชุม

ผู้นำได้ติดตามความคืบหน้าการเป็นประชาคมอาเซียน ตามพิมพ์เขียวอาเซียน ที่กำหนดให้อาเซียนเป็นประชาคมอาเซียน (AC) ในปี 2015 มีการทบทวนและพิจารณาว่า สิ่งใดที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ผู้นำอาเซียนก็เห็นพ้องกันว่า อาเซียนจะต้องเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ยึดโยงกับวาระของประชาชน เพื่อยกระดับการดำรงชีวิตของประชาชน ลดช่องว่างการพัฒนา การศึกษาและการสาธารณสุข ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์จากประชาคมอาเซียน และส่งเสริมความเป็นแกนกลางของอาเซียน(ASEAN Centrality) ให้ยังคงบทบาทนำในการเป็นกลไกของอาเซียน ขับเคลื่อนความร่วมมือกับนอกภูมิภาค สำหรับประชาคมอาเซียนภายหลังปี 2558(Post ASEAN 2015 ) นั้น จะเป็นการกำหนดทิศทางของอาเซียนในอนาคต เบื้องต้น ได้มีการพูดคุยกันว่าจะให้มีการกำหนดวิสัยทัศน์อาเซียนในระยะเวลา 10 ปี (2559-2568)

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไทยยึดมั่นต่อพันธกรณีอาเซียน และขอให้ที่ประชุมความเร่งด่วน 4 ด้านในการสร้างประชาคมอาเซียน 1) ส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิก รัฐบาลไทยมียุทธศาสตร์จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในภูมิภาค 2) รับมือกับปัญหาข้ามชาติ การค้ามนุษย์และอาชญากรรมข้ามชาติ 3) เร่งเจรจา ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เพื่อเปิดเสรีทางการค้าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ภายในปี 2558 4) อาเซียนต้องร่วมกันรับมือกับภัยพิบัติ

ประเด็นสำคัญในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา

การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ได้แก่การประชุมอาเซียน-อินเดีย (ครั้งที่ 12) อาเซียน-ญี่ปุ่น

เป็นการประชุมสุดยอดอาเซียน- ญี่ปุ่น (ครั้งที่ 17) การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติ (ครั้งที่ 6) การประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย สมัยพิเศษ ครบรอบความสัมพันธ์อาเซียน-ออสเตรเลีย 40 ปี การประชุมผู้นำเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 9 การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน-สหรัฐอเมริกา ครั้งที 2 การประชุมสุดยอผู้นำอาเซียน-จีน ครั้งที่ 17 การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 17 นายกรัฐมนตรี ผู้นำอาเซียนและประเทศคู่เจรจาได้มีการหารืออย่างกว้างขวาง ในประเด็นเกี่ยวกับภูมิภาคและสถานการณ์โลกในปัจจุบัน ดังนี้

  • การเชื่อมโยง (Connectivity) ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาหารือ ในทุกการประชุม เป็นที่น่ายินดีว่า ข้อริเริ่มของไทยที่ผลักดันมาตลอดระยะเวลา 10 ขณะนี้ได้กลายถูกยกระดับให้เป็น “วาระอาเซียน” เพราะทุกประเทศเห็นประโยชน์จากการเสริมสร้างการเชื่อมโยง โดยจะต้องเป็นการเชื่อมโยงในทุกมิติ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) กฎระเบียบ (Institution) ให้สอดคล้องกัน เพื่อให้การไปมาหาสู่ระหว่างกันง่ายขึ้น เอื้อต่อการเคลื่อนย้ายทุน แรงงานและสินค้า รวมทั้งการส่งเสริมบุคคลากรวิชาชีพระหว่างสมาชิกอาเซียนด้วย
  • วาระประชาชน (People Agenda) มุ่งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์จากการเป็นประชาคม ลดความเหลื่อมล้ำ การเดินทางของประชาชนอาเซียน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความร่วมมือ
  • การกำหนดทิศทางความร่วมมือในอนาคต โดยแต่การประชุมประเทศคู่เจรจา การให้ความสำคัญในหลาหลายความร่วมมือ เช่น การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐ ฯ มีการหารืออย่างกว้างขวางในหัวข้อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน - อินเดีย เห็นควรให้มีความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัยและพัฒนา แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ประเด็นระหว่างประเทศ/ภูมิภาค

-การระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา เป็นวิกฤตระดับโลกมีผลต่อชีวิตของประชาชนและความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมในระดับภูมิภาคและสร้างกลไกเฝ้าระวังโรคร่วมกัน ผู้นำอาเซียนและประเทศคู่เจรจา ชื่นชมที่ ไทยพร้อมจะเป็นจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนบวกสาม ซึ่งอาจจัดขึ้นในเดือนธันวาคม

-ทะเลจีนใต้ อาเซียนและจีนรักษาสถานการณ์ให้มีความสงบและไม่ให้เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันระหว่างกำลังจัดทำแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ ก็ขอให้มีมาตรการชั่วคราว เช่น โทรศัพท์ hotline หน่วยงานกู้ภัยและหน่วยงานด้านการต่างประเทศ การฝึกซ้อมร่วมในห้องปฏิบัติการเพื่อร่วมกันกู้ภัยและปฏิบัติการทางทะเลร่วมกัน

-การต่อต้าน ลัทธิสุดโด่ง อาเซียนสนับสนุนข้อเสนอของมาเลเซีย ให้จัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน ว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติ สมัยพิเศษ เพื่อหาแนวทางความร่วมมือในการต่อต้านภัยต่อความมั่นคง ทั้งการใช้ความรุนแรงภัยก่อการร้ายและลัทธิสุดโด่ง

ในโอกาส นี้ นายกรัฐมนตรีได้มีการหารือทวิภาคกับผู้นำประเทศ และหัวหน้ารัฐบาล ได้แก่ นายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย นายดมิทรี เมดเวเดฟ นายกรัฐมนตรีรัสเซีย นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นางสาวปัก กึน-ฮเย ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ และนายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความรู้จัก สร้างความคุ้นเคยกับผู้นำต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ติดตามความร่วมมือระหว่างกัน นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เป็นสิ่งที่น่ายินดี ขณะนี้ ผู้นำทุกประเทศและเลขาธิการสหประชาชาติ มีความเข้าใจสถานการณ์ภายในประเทศของเรา ทราบถึงความตั้งใจของรัฐบาล ในการเข้ามาบริหารเพื่อให้ประเทศไทยมีเสถียรภาพ ขับเคลื่อนประเทศ และดูแลความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนเป็นสำคัญ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่สองของแผนปฏิบัติการ (Roadmap) นายกรัฐมนตรียังกล่าวว่า ไทยยืนยันเคารพต่อพันธสัญญาที่ให้ไว้กับทุกประเทศ และยังคงเป็นสมาชิกที่เข้มแข็งในกรอบความร่วมมือของสหประชาชาติ

การหารือกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นนั้นได้ให้ความสนใจที่จะลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยเพิ่มเติมเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของไทยและย้ำคำเชิญให้ผมเดินทางไปเยือนอย่างเป็นทางการ เช่นเดียวกับ รัฐบาลและเอกชนเกาหลีใต้ที่แสดงความสนใจเข้ามาลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุน

สำหรับอินเดีย ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะร่วมมือกันเพื่อเพิ่มโอกาสการค้าการลงทุน เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว กระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงและป้องกันประเทศ ส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างไทย เมียนมา และอินเดีย ผ่านโครงการถนน 3 ฝ่าย นายกรัฐมนตรีอินเดียได้ย้ำคำเชิญนายกรัฐมนตรีให้เดินทางไปเยือนอย่างเป็นทางการด้วย สำหรับรัสเซียมีความสนใจที่จะร่วมมือกับไทยมากขึ้นในทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นพลังงาน การท่องเที่ยว และการค้าการลงทุน รวมทั้งยินดีที่เปิดตลาดรัสเซียให้กับสินค้าเกษตรของไทยเพิ่มเติมด้วย

เลขาธิการสหประชาชาติ เข้าใจสถานการณ์ของไทยและแนวทางของรัฐบาลที่จะเดินหน้าปฏิรูปประเทศและทำให้ประชาธิปไตยของไทยเข้มแข็งและยั่งยืน

นายกรัฐมนตรียังได้ร่วมการประชุมอื่นๆ อาทิ การประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 6 ไทยในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาพร้อมร่วมมือกับญี่ปุ่น เพื่อลดช่องว่างการพัฒนา โดยความร่วมมือสามฝ่าย ตามยุทธศาสตร์กรุงโตเกียว 2012 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและประขาชนมีส่วนร่วม การประชุมผู้นำอาเซียนกับผู้แทนสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ABAC Dialogue with leaders) ที่มีการพูดคุยระหว่างผู้นำอาเซียนและผู้แทนภาคเอกชนอาเซียนด้วย

ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 25 นี้ นายกรัฐมนตรียังได้ร่วมการประชุมอื่นๆ อาทิ การประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 6 ไทยในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาพร้อมร่วมมือกับญี่ปุ่น เพื่อลดช่องว่างการพัฒนา โดยความร่วมมือสามฝ่าย ตามยุทธศาสตร์กรุงโตเกียว 2012 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและประขาชนมีส่วนร่วม การประชุมผู้นำอาเซียนกับผู้แทนสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ABAC Dialogue with leaders) ที่มีการพูดคุยระหว่างผู้นำอาเซียนและผู้แทนภาคเอกชนอาเซียนด้วย

ไทยยังคงบทบาทสำคัญในเวทีอาเซียน

นายกรัฐมนตรีกล่าว การเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ แสดงให้นานาชาติว่า ไทยกำลังเร่งเดินหน้าพัฒนาประเทศ ความมั่นคงและมั่งคั่งของไทย เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งของอาเซียน ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ได้ให้เกียรติกับประเทศไทยเป็นอย่างสูง เริ่มการกล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุม โดยเนะนำผมและท่านโจโค วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ในฐานะผู้นำที่เข้าร่วมการประชุมเป็นครั้งแรก บนเวทีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 25 ที่ผ่านมา ขอชื่นชมความสำเร็จของท่านประธานาธิบดีและประชาชนเมียนมา ที่ประสบความสำเร็จในการเจ้าภาพจัดการประชุมในครั้งนี้ สร้างความประทับใจแก่ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ