โพลเผยปชช.รังเกียจส.ส.-ส.ว.หยาบคายขว้างปาสิ่งของ กว่า88%ระบุมีผลต่อเลือกตั้งครั้งใหม่

ข่าวการเมือง Sunday September 15, 2013 12:27 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

สวนดุสิตโพล"มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ กรณี พฤติกรรมของนักการเมือง(ส.ส./ส.ว.)ในสภา ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกท่าทาง การใช้คำพูดหรือการแสดงออกต่างๆล้วนมีผลต่อความรู้สึกของประชาชนซึ่งอาจมีทั้งคนที่ประทับใจ ชื่นชอบ หรือรังเกียจและไม่ชอบ และหากมีการเลือกตั้งในครั้งต่อไปอาจมีผลต่อการตัดสินใจของประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 1,304 คน ระหว่างวันที่ 10-14 กันยายน 2556 สรุปผลดังนี้

เมื่อถามถึง พฤติกรรมในสภาของ ส.ส./ส.ว. ที่ประชาชนรังเกียจ และ ไม่ชอบ

อันดับ 1 การแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ขว้างปาสิ่งของ ใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ หยาบคาย 43.47%

อันดับ 2 ไม่เคารพหรือเชื่อฟังประธานในที่ประชุม การโต้เถียงกับประธาน 21.85%

อันดับ 3 การไม่ให้เกียรติผู้ที่กำลังอภิปราย เช่น นั่งหลับ เล่นโทรศัพท์ คุยกับคนอื่น 13.18%

อันดับ 4 การประท้วงโดยไม่มีเหตุผล เดินออกจากที่ประชุม 11.37%

อันดับ 5 ไม่มาเข้าร่วมอภิปรายตามวัน เวลาที่กำหนด อยู่ไม่ครบวาระการประชุม 10.13%

เมื่อถามว่า พฤติกรรมในสภาของ ส.ส./ส.ว. ที่ประชาชนอยากเห็น

อันดับ 1 อภิปรายน่าสนใจ เน้นเนื้อหาสาระ ใช้ถ้อยคำสุภาพ ไม่พูดนอกเรื่องหรือพาดพิงผู้อื่น 36.24%

อันดับ 2 ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามกฎระเบียบของสภาอย่างเคร่งครัด 25.45%

อันดับ 3 การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง คำนึงถึงส่วนรวม 18.26%

อันดับ 4 ให้เกียรติสถานที่และให้ความเคารพต่อประธานสภา 10.93%

อันดับ 5 ตรงต่อเวลา ควบคุมเวลาในการอภิปรายได้ดี 9.12%

เมื่อถามถึง สิ่งที่ประชาชนอยากฝากเกี่ยวกับพฤติกรรมของ ส.ส./ส.ว. ในสภา ณ วันนี้

อันดับ 1 เรื่องการใช้ถ้อยคำ คำพูด การแสดงกริยาท่าทาง พฤติกรรมต่างๆในที่ประชุมที่เหมาะสม 26.93%

อันดับ 2 เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวม เป็นกลาง ไม่เข้าข้างพวกพ้อง 24.99%

อันดับ 3 การให้ความเคารพต่อประธานสภาและให้เกียรติต่อผู้เข้าร่วมประชุม 23.66%

อันดับ 4 การอภิปรายหรือแสดงความเห็นด้วยเหตุผล ตรงไปตรงมา เน้นเนื้อหาสาระ 12.87%

อันดับ 5 การตรงต่อเวลา ควบคุมเวลาในการอภิปราย 11.55%

เมื่อถามถึง พฤติกรรมของ ส.ส./ส.ว.ในสภามีผลต่อการตัดสินใจที่จะเลือก ส.ส./ส.ว. ในครั้งต่อไปที่จะมีการ เลือกตั้งใหม่หรือไม่?

1 มีผล 88.71%เพราะ ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน มั่นใจว่าเลือกคนไม่ผิด อยากได้คนดีมีคุณภาพมาทำงาน ฯลฯ

2 ไม่มีผล 11.29%เพราะ ส.ส. ส.ว.ก็เป็นปุถุชนคนหนึ่งที่มีอารมณ์โกรธเกลียดเหมือนกัน ดูผลงาน การทำงานมากกว่า ฯลฯ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ