ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.69 ตลาดจับตารายงานเฟด-ถ้อยแถลงจนท.-ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 28, 2025 09:21 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 32.69 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากปิดวันก่อนที่ระดับ 32.74 บาท/ดอลลาร์

สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาทนั้น ราคาทองคำยังถือเป็นปัจจัยเสี่ยง Two-Way risk ที่อาจทำให้เงินบาทสามารถเคลื่อน ไหวแข็งค่า หรืออ่อนค่าลงได้ ตามทิศทางราคาทองคำ หากบรรยากาศในตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง อีกทั้งผู้เล่นใน ตลาดก็เริ่มลดความสนใจในธีม Sell US Assets ลงบ้าง ก็อาจจำกัดการรีบาวด์ขึ้นของราคาทองคำ และทำให้ราคาทองคำยังคงแกว่ง ตัวในกรอบ Sideways

"เงินบาทอาจยังคงแกว่งตัวในกรอบ Sideways ที่กว้างพอสมควร แต่มีโอกาสเคลื่อนไหวในลักษณะ Sideways Up หรือ ทยอยอ่อนค่าลงมากขึ้น ตราบใดที่ตลาดการเงินอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง และรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยรวมออกมาสดใสดี กว่าคาด และที่สำคัญ ตลาดควรทยอยคลายกังวลแนวโน้มเสถียรภาพการคลังของสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่หนุนธีม Sell US Assets ได้" นายพูน ระบุ

ขณะนี้ ตลาดอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) หลังทางการสหรัฐฯ เลื่อนการปรับขึ้นภาษีนำเข้าในอัตรา 50% กับ สินค้าจากยุโรป

สำหรับไฮไลท์สำคัญช่วงนี้ อยู่ที่ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด รวมถึงรายงานการประชุม FOMC ล่าสุด

นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ เช่น รายงานดัชนีภาคธุรกิจจากบรรดาเฟดสาขาต่าง ๆ เพื่อประกอบการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ และทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด

นายพูน คาดกรอบเงินบาทวันนี้ จะอยู่ที่ระดับ 32.50-32.85 บาท/ดอลลาร์

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 32.7275 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 144.48 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 143.91/92 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1326 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.1349/1350 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 32.688 บาท/ดอลลาร์
  • "ผู้ว่าแบงก์ชาติ" ส่งหนังสือถึงรัฐบาล แนะตีกรอบใช้งบกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.57 แสนล้าน ดูแลผู้ส่งออกสินค้าไปสหรัฐและผู้
ผลิตที่กระทบจากสินค้าทะลักเข้าไทย หลังจากปี 2565-2567 สินค้านำเข้าสุดท้ายเพิ่ม 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ ชี้ SMEs ปรับตัวยาก ธปท.
เร่งธุรกิจ-แบงก์ เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน ย้ำยอดปล่อยกู้ใกล้แตะ 1 แสนล้าน แต่ยังไม่ใช่จุดที่พอใจ
  • "วราวุธ" มั่นใจถกงบฯ 69 ราบรื่น เชื่อการเมือง มิ.ย. ไม่ร้อนแรง ชี้ "จตุพร-สนธิ" จับมือกัน ไม่มีอะไร รัฐบาลจะ
ผ่านไปได้ ด้าน "นฤมล" การันตี "25+11 เสียง" จาก กธ. ยกมือหนุน "พ.ร.บ.งบฯ 69" แน่ รอดูมีเพิ่มหรือไม่ เชื่อศาลฎีกานัดฟังคดี
ชั้น 14 ไม่กระทบการเมือง
  • ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า
เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีการขยายตัว 2.2% ในไตรมาส 2/2568 หลังจากเศรษฐกิจหดตัว 0.3% ในไตรมาส 1
  • นักลงทุนขานรับผลสำรวจของ Conference Board ซึ่งระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ พุ่งขึ้นแตะระดับ
98.0 ในเดือนพ.ค. จากระดับ 85.7 ในเดือนเม.ย. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 86.0 โดยได้แรงหนุนจากการที่
สหรัฐฯ และจีนบรรลุข้อตกลงปรับลดอัตราภาษีศุลกากรเป็นการชั่วคราว ซึ่งช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการทำ
สงครามการค้าระหว่างประเทศทั้งสอง ซึ่งมีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลก
  • ที่ปรึกษาเศรษฐกิจประจำทำเนียบขาว กล่าวว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ อาจประกาศข่าวดีเกี่ยวกับการบรรลุข้อตกลง
ทางการค้ากับหลายประเทศในสัปดาห์นี้ ซึ่งบางประเทศก็ใกล้จะบรรลุข้อตกลงแล้ว โดยอินเดียเป็นหนึ่งในนั้น
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร
(27 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และยุโรป หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์
ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐ ประกาศเลื่อนการเรียกเก็บภาษีศุลกากรในอัตรา 50% จากสหภาพยุโรป (EU) ออกไปเป็นวันที่ 9 ก.ค.
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันอังคาร (27 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศเลื่อนการเรียกเก็บภาษีศุลกากรในอัตรา 50% จากสหภาพยุโรป (EU) นอกจาก
นี้ การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ยังเป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำ
  • นักลงทุนจับตารายงานการประชุมประจำวันที่ 6-7 พ.ค.ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันนี้ และรอดูข้อมูล

เศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ด้วย ซึ่งรวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

(GDP) ไตรมาส 1/2568 (ประมาณการครั้งที่ 2) และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนเม.ย.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ