ธปท.หวัง SME ช่วยขับเคลื่อนศก. แนะเร่งปรับตัวรับความท้าทายจากใน-ตปท.

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 16, 2012 14:02 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวปาฐกถาพิเศษ SMEs จะรับมืออย่างไรกับเศรษฐกิจไทยวันนี้ ในงาน Financial Wisdom Fair ปัญญาสู่ความมั่นคงทางการเงิน ว่า ธุรกิจ SMEs แม้จะไม่ใช่ธุรกิจขนาดใหญ่ แต่มีความสาคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่น้อยกว่าธุรกิจขนาดใหญ่

ข้อมูลของสานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)พบว่าในปี 54 มีผู้ประกอบการ SMEs ประมาณ 99% ของวิสาหกิจทั้งหมด ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 37% ของ GDP รวม นอกจากนี้ SMEs ยังเป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการหลากหลายประเภท ทั้งผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคนำไปใช้โดยตรง และผลิตภัณฑ์ในสายห่วงโซ่อุปทานเพื่อสนับสนุนการผลิตของบริษัทต่างชาติ หรือกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ดังนั้น SMEs จึงเปรียบเสมือนยักษ์เล็กที่เป็นกำลังสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ ปี 54 ถือเป็นปีที่มีความท้าทายเป็นอย่างมาก โดยเศรษฐกิจไทยต้องพบกับปัจจัยลบหลายประการทั้งจากภายในและภายนอก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ (Supply chain disruption) จากภัยพิบัติสึนามิในประเทศญี่ปุ่น ปัญหาอุทกภัยในประเทศ และเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ทำให้เศรษฐกิจปี 54 ขยายตัวได้เพียง 0.1% ส่วนอัตราเงินเฟ้อแม้จะเร่งตัวขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในช่วงเป้าหมาย โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทั้งปีอยู่ 2.4% นอกจากนี้ ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายมีความผันผวนตลอดทั้งปี ส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหว 2 ทิศทาง ซึ่ง ณ สิ้นปี อยู่ที่ 31.55 บาท/ดอลลาร์ อ่อนลงจาก ณ สิ้นปีก่อน 4.44%

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 55 ภาคธุรกิจยังคงมีความท้าทายจากปัจจัยภายในประเทศ เช่น การที่ผู้ประกอบการต้องรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นจากการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัย และความผันผวนจากปัจจัยภายนอกประเทศ ที่ส่งผ่านมายังเศรษฐกิจของเอเชียและไทยเป็นระยะ ๆ เศรษฐกิจกลุ่มยุโรปซึ่งมีแนวโน้มถดถอยจากความยืดเยื้อของปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะ และเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องแต่ก็มีแนวโน้มที่จะยังขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพไปอีกระยะหนึ่ง น่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกในปี 55 ยังคงชะลอตัวต่อไป

ดังนั้น แรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจไทยจึงน่าจะเป็นอุปสงค์ภายในประเทศ โดยจะมาจากการฟื้นฟูความเสียหาย การบริโภคภาคเอกชน ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น และการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ซึ่งในภาพรวมเศรษฐกิจไทยปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวจากปีก่อน อย่างไรก็ดี การขยายตัวจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ใช้ในการฟื้นตัวของภาคการผลิต มาตรการในการบริหารจัดการน้าของภาครัฐ และภาวะเศรษฐกิจโลก

นอกจากนี้ การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ที่จะเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบภายในปี 58 จะเป็นความท้าทายที่สาคัญของ SMEs ในระยะต่อไป ซึ่งเป้าหมายในการรวมกลุ่มในครั้งนี้เพื่อเชื่อมอาเซียนเป็นตลาดเดียวกัน ทาให้การค้าขายสินค้าทำได้อย่างเสรี โดยขณะนี้ประเทศสมาชิกหลักได้ลดภาษีนำเข้าเกือบทุกรายการจนเหลือ 0% ส่วนประเทศกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) น่าจะดำเนินการได้ภายในปี 2558 และยังมีความร่วมมือกันในการเปิดเสรีด้านอื่น ๆ พร้อมกัน ได้แก่ การค้าบริการซึ่งรวมถึงภาคการเงิน การลงทุน การเคลื่อนย้ายเงินทุนและแรงงานฝีมือ รวมทั้งความร่วมมือในการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน เช่น ระบบการชำระเงิน

"AEC เป็นโอกาสดีที่จะเริ่มหรือขยายตลาดสินค้าส่งออกรวมทั้งขยายฐานการผลิตในประเทศสมาชิก และผู้นำเข้าก็จะมีต้นต่ำลง แต่อย่าลืมว่านี่ก็เป็นโอกาสของผู้ประกอบการอื่นใน AEC ที่จะเข้ามาในบ้านเราเช่นกัน เพื่อให้พร้อมสู้กับพ่อค้าแม่ค้าหน้าใหม่ ผู้ผลิตเจ้าถิ่นก็ควรพร้อมปรับตัวอยู่เสมอเพื่อรับมือกับความท้าทายจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการแข่งขันที่สูงขึ้นในอนาคต" นายประสาร กล่าว

ทั้งนี้ ได้เสนอแนะให้ผู้ประกอบการ SMEs เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานและเร่งพัฒนาคุณภาพสินค้า โดยเน้นการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานซึ่งจะก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างและสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ รวมถึงลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อให้การผลิตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถลดต้นทุนและแข่งขันได้ในระยะยาว และไทยควรเร่งยกระดับความสามารถในการแข่งขัน โดยเน้นการแข่งขันเชิงคุณภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ ทาให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด และสามารถก้าวข้ามกับดักของประเทศที่มีรายได้ปานกลาง หรือ middle income trap

นอกจากนี้ ควรเตรียมรับมือโดยกระจายตลาดส่งออกหรือหากลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่ม เช่น ภายในภูมิภาคเอเชีย หรือเพิ่มสัดส่วนตลาดในประเทศมากขึ้น เพื่อชดเชยกับสินค้าที่ขายได้ลดลงในตลาดเดิม รวมทั้งควรระวังการที่ลูกค้าอาจไม่สามารถจ่ายค่าสินค้าและบริการได้หากเศรษฐกิจแย่ลง และควรหาทางป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมอย่างสม่าเสมอด้วย และควรมีการดูแลสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย จึงควรมองหาแหล่งเงินทุนหลาย ๆ แหล่ง เพื่อหาอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์มากที่สุด

การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เพราะประสบการณ์จากอุทกภัยที่ผ่านมา ทำให้นึกถึงปัจจัยที่ควบคุมได้ยากอย่างอื่น เช่น ภัยธรรมชาติประเภทต่าง ๆ และอุบัติเหตุ แต่ก็เป็นสิ่งที่สามารถจัดการให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ดังนั้นต้องเริ่มตั้งแต่การหมั่นตรวจตราระบบป้องกันภัยให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ มีแผนฉุกเฉิน และเลือกทำประกันภัยที่เหมาะสม นอกจากนี้ การมีพันธมิตรหรือผู้ให้ความช่วยเหลือ จะช่วยให้ธุรกิจไปสู่ทางลัด และผ่อนแรงได้

สำหรับการดาเนินนโยบายของ ธปท.นอกจากจะมุ่งหวังที่จะรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจแล้ว ยังมีเป้าหมายเพื่อเอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการซึ่งรวมถึง SMEs ด้วย ที่ผ่านมา ธปท.ได้ผ่อนคลายกฎระเบียบการแลกเปลี่ยนเงิน เช่น อนุญาตให้ผู้นาเข้าและผู้ส่งออกสามารถทาสัญญาป้องกันความเสี่ยงค่าสินค้าและบริการจากประมาณการค่าสินค้าและบริการภายใน 1 ปีได้ จากเดิมที่ต้องมีหลักฐานการซื้อขายประกอบการทาสัญญา รวมทั้งการพิจารณารายละเอียดของการจัดให้มี currency futures กับ TFEX เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้นในการบริหารความเสี่ยงให้แก่ธุรกิจ

มาตรการอีกด้านหนึ่งของ ธปท. คือเป็นส่วนช่วยในการส่งเสริมความมั่นคงของเศรษฐกิจไทยในวันนี้และวันหน้า คือ การคุ้มครองใช้บริการทางการเงิน ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานต่าง ๆ ได้มีการดำเนินการและร่วมมือกันในด้านการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินอย่างต่อเนื่อง และ ธปท.เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ได้ให้ความสาคัญเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเช่นกัน โดยเน้นการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินซึ่งเป็นเรื่องที่ ธปท.มีจุดแข็ง เพื่อให้สามารถสอดประสานกับหน่วยงานพันธมิตรอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ