(เพิ่มเติม) ธปท.เผยม.ค.แรงส่งศก.ไทยเริ่มแผ่วทั้งบริโภคเอกชน-ใช้จ่ายภาครัฐ แต่ท่องเที่ยวยังหนุน

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 29, 2016 14:54 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจและการเงินในเดือนม.ค.59 ว่า ในเดือน ม.ค.59 แรงส่งของเศรษฐกิจไทยมีทิศทางแผ่วลง สาเหตุหลักมาจากปัจจัยชั่วคราวที่เริ่มหมดไป ทั้งการเร่งซื้อรถยนต์ และมาตรการเร่งการใช้จ่ายของครัวเรือนในช่วงปลายปี ทำให้การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวบ้าง ประกอบกับการใช้จ่ายภาครัฐชะลอลงหลังเร่งเบิกจ่ายในเดือนก่อน ด้านมูลค่าการส่งออกสินค้าหดตัวสูงตามเศรษฐกิจจีนและอาเซียนที่ชะลอตัว และราคาสินค้าส่งออกที่ลดลงตามราคาน้ำมัน ส่งผลให้การผลิตและการลงทุนภาคเอกชนยังอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ดี การท่องเที่ยวยังเป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่สนับสนุนให้ภาคบริการขยายตัวดี

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงติดลบจากผลของราคาน้ำมันที่ลดลง อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูง ตามมูลค่าการนำเข้าที่หดตัวต่อเนื่อง ขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายกลับมาเกินดุลจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และการกลับเข้ามาลงทุนในพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ

ทั้งนี้ในเดือนม.ค. 59 ภาคการท่องเที่ยวปรับดีขึ้นต่อเนื่องและเป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่ช่วยสนับสนุนให้ภาคบริการที่เกี่ยวข้องขยายตัวดี อาทิ ธุรกิจค้าส่งค้าปลีก ธุรกิจขนส่ง โดยจ นวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้น 15.0% จากระยะเดียวกันปีก่อน จากนักท่องเที่ยวจีนที่ยังคงขยายตัวดีและการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวยุโรป

การใช้จ่ายของภาครัฐทำได้ดีต่อเนื่องแม้แผ่วลงบ้าง จากแรงกระตุ้นการเบิกจ่ายนอกงบประมาณในการลงทุนโครงการด้านคมนาคมและชลประทานที่ชะลอลงหลังจากเร่งตัวสูงในช่วงก่อน และรายจ่ายลงทุนที่ไม่รวมเงินอุดหนุนซึ่งขยายตัวในอัตราชะลอลง ขณะที่การจัดเก็บรายได้หดตัวเล็กน้อยจากการเลื่อนน ส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจบางแห่งและการปรับลดลงของรายได้ภาษีที่เกี่ยวกับการนำเข้าสอดคล้องกับการนำเข้าที่หดตัว

ส่วนเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนชะลอลงบ้าง หลังผลบวกจากปัจจัยชั่วคราวเริ่มหมดไป ทั้งการเร่งซื้อรถยนต์ก่อนการปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตและการจับจ่ายใช้สอยในช่วงปลายปีก่อนตามมาตรการลดหย่อนภาษีของภาครัฐ ประกอบกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นกว่าปกติในเดือนนี้ท ให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนชะลอลงบ้าง นอกจากนี้ปัจจัยหนุนการบริโภคในเดือนนี้แผ่วลงจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับลดลงเล็กน้อยจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะภัยแล้งและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี รายได้นอกภาคเกษตรที่ยังทรงตัว เป็นปัจจัยสนับสนุนให้การซื้อสินค้าไม่คงทนและหมวดบริการยังขยายตัวได้บ้าง

ด้านมูลค่าการส่งออกสินค้าหดตัวในอัตราที่สูงขึ้นที่ 9.3% จากระยะเดียวกันปีก่อน จาก1) เศรษฐกิจจีนและอาเซียนที่ชะลอตัว 2) ผลดีจากปัจจัยชั่วคราวที่ทยอยหมดลง อาทิ การส่งออกรถยนต์รุ่นใหม่และการส่งออกในหมวดทัศนูปกรณ์ (Optical appliances and instruments) ที่ชะลอลงต่อเนื่องจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ชะลอตัว และ 3) การหดตัวต่อเนื่องของราคาสินค้าส่งออกในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเลียม

อย่างไรก็ตาม การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าไปตลาดยุโรปยังมีแนวโน้มดีขึ้นตามการคาดการณ์สภาพอากาศว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้นในปีนี้ และตลาดเวียดนามที่เศรษฐกิจขยายตัวดี

ส่วนมูลค่าการนำเข้าสินค้าหดตัว 17.8% จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการหดตัวในเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะการนำเข้าในหมวดเชื้อเพลิงที่หดตัวในอัตราที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมันที่ยังลดลงต่อเนื่องขณะที่การนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางไม่รวมเชื้อเพลิงหดตัวตามภาวะการส่งออกที่ซบเซา

ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวในหลายหมวดสินค้าตามการส่งออกสินค้าที่ซบเซา ประกอบกับ ผลจากปัจจัยชั่วคราวที่หมดลง อาทิ การผลิตรถยนต์ที่หดตัวสูงหลังจากเร่งไปมากเพื่อส่งมอบในปลายปีก่อนอย่างไรก็ตาม การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มดีขึ้นตามอุปสงค์ต่างประเทศ ด้านเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนมีทิศทางทรงตัวอยู่ในระดับต่ำสอดคล้องกับกำลังการผลิตที่มีเพียงพอ อีกทั้งผลบวกจากการเร่งซื้อรถยนต์เชิงพาณิชย์เริ่มหมดลง และการลงทุนในกลุ่มพลังงานทดแทนและกลุ่มโทรคมนาคมที่ชะลอลงบ้างหลังขยายตัวสูงในช่วงปลายปีก่อน ทั้งนี้การระดมทุนโดยรวมของภาคธุรกิจทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยส่วนใหญ่เป็นการระดมทุนผ่านการออกตราสารหนี้

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบที่ -0.53% ตามการลดลงของราคาในหมวดพลังงาน สำหรับอัตราการว่างงานลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนจากการจ้างงานในภาคบริการที่ปรับดีขึ้น ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลที่ 4.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากมูลค่าการน เข้าสินค้าที่ลดลง และรายได้จากภาคการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายกลับมาเกินดุลในเดือนนี้ จาก (1) การเข้ามาลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ (2) การได้รับชำระคืนสินเชื่อทางการค้าของผู้ส่งออกไทย และ (3) การกลับเข้ามาลงทุนในพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้การส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ และการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมของธนาคารกลางญี่ปุ่น ส่งผล ให้นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่มากขึ้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ