ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.84/88 อ่อนค่าจากแรงซื้อดอลล์ คาดต้นสัปดาห์หน้า 34.85-35.00

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 18, 2016 17:20 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.84/88 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วงเช้าที่เปิดตลาด ที่ระดับ 34.78/80 บาท/ดอลลาร์

ช่วงเย็นนี้เงินบาทกลับมาอ่อนค่าจากช่วงเช้าหลังจากมีเงินทุนไหลออก โดยวันนี้มีแรงซื้อดอลลาร์กลับเข้ามา ทำให้บาท กลับมาอ่อนค่า อย่างไรก็ดี วันนี้ไม่ได้มีปัจจัยอื่นที่มีผลกับการเคลื่อนไหวของค่าเงินมากนัก คืนนี้สหรัฐฯ จะมีการประกาศตัวเลข เศรษฐกิจ คือ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นในเดือนมี.ค.

"บาทเย็นนี้อ่อนค่าจากช่วงเช้า มีเงินไหลออก มีแรงซื้อดอลลาร์กลับมา" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า ต้นสัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.85 - 35.00 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ปิดตลาดเย็นนี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.25 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 111.09/12 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 1.1270 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1326/1330 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,382.96 เพิ่มขึ้น 2.76 จุด (+0.20%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 49,250 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 3,668.43 ลบ.(SET+MAI)
  • ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เห็นชอบกับหลักการร่าง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ที่คณะรัฐมนตรี
(ครม.) เสนอด้วยคะแนนเสียง 153 เสียง งดออกเสียง 5 พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน 21 คน แปรญัตติภายใน 5
วัน กำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน ภายใน 20 วัน โดยเปิดให้สมาชิก สนช.แปรญัตติภายใน 5 วัน จากนั้น สนช.เตรียมจะ
พิจารณาวาระที่ 2 และวาระที่ 3 ในวันที่ 7 เม.ย.นี้
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ
1.50% ในการประชุมวันที่ 23 มี.ค.59 นี้ เพื่อรอประเมินพัฒนาการการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย รวมทั้งความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆ
ที่กระทบต่อเศรษฐกิจอีกระยะหนึ่ง โดยมีเหตุสนับสนุนหลัก 2 ประการ คือ 1.มาตรการการดูแลเศรษฐกิจของภาครัฐในปัจจุบัน น่าจะ
เพียงพอที่จะช่วยประคับประคองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วง 1-3 เดือนข้างหน้าได้ หากไม่มีเหตุการณ์ใหม่ๆ มากระทบเพิ่ม
เติม 2.การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเพิ่มเติมในช่วงเวลาที่ตลาดเงินและตลาดทุนยังคงมีความผันผวนสูง อาจลดทอน
ประสิทธิภาพในการส่งผ่านผลของนโยบายดังกล่าวไปสู่ภาคเศรษฐกิจ
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ระบุว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้มีแนวโน้มขยายตัว 2.8% โดยจะได้รับปัจจัยหนุนมา
จากนโยบายภาครัฐ ทั้งมาตรการกระตุ้นระยะสั้นที่ส่งผลดีต่อภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจอย่างน้อยครึ่งปีแรก ส่วนมาตรการลงทุนระยะ
ยาว ประกอบด้วย การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 1.8 ล้านล้านบาท ระยะเวลา 8 ปี ที่จะเร่งการทำสัญญา 20 โครงการให้
แล้วเสร็จปีนี้ เช่น โครงการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟทางคู่ มอเตอร์เวย์ ซึ่งจะทำให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังปี
นี้ ตลอดจนมาตรการระยะยาวในด้านการส่งเสริมการลงทุนซุปเปอร์คลัสเตอร์พื้นที่ 9 จังหวัด การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ส่ง
ผลดีต่อภาคธุรกิจ
  • นายสุธน บุญประสงค์ รองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์
การใช้ไฟฟ้าของประเทศปี 2559 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน ซึ่งการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak) ประจำวันมีสถิติเพิ่มสูงขึ้น
ตามสภาพอากาศและอุณหภูมิที่สูงขึ้นเช่นกัน คาดการณ์ว่า Peak ในปี 2559 น่าจะอยู่ที่ 28,500 เมกะวัตต์ ภายใต้อุณหภูมิที่คาดว่าจะ
สูงขึ้นถึง 38.5 องศาเซลเซียส เพิ่มขึ้นจากเดิม 4.1% โดยคาดว่าน่าจะอยู่ในช่วงปลายเดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคมนี้
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศที่มีการลงทุนในสหรัฐมากที่สุดเป็นอันดับสองในปี 2558
รองจากลักเซมเบิร์ก โดยมีสาเหตุหลักมาจากการที่บริษัทญี่ปุ่นเข้าซื้อกิจการของสหรัฐ ทั้งนี้ ยอดการลงทุนโดยตรงของญี่ปุ่นในสหรัฐอยู่
ที่ 3.603 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2558 ซึ่งมากที่สุดเป็นอันดับสอง หลังจากที่เมื่อปี 2556 ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ลงทุนมากที่สุดในสหรัฐ
ด้วยยอดลงทุน 4.362 หมื่นล้านดอลลาร์
  • นายเดล จอร์เกนสัน ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวกับนายกรัฐมนตรีชินโซ
อาเบะของญี่ปุ่นว่า ญี่ปุ่นจำเป็นต้องปรับขึ้นภาษีการขายเพื่อหนุนเศรษฐกิจให้ขยายตัว และการกระตุ้นความสามารถในการผลิตมีความ
สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งเราต้องถ่ายโอนภาระภาษีจากการลงทุนไปที่การบริโภค อย่างไรก็ดี ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าญี่ปุ่นควรปรับขึ้นภาษี
การขายในเดือนเม.ย.ปีหน้าตามที่วางแผนไว้หรือไม่ เนื่องจากยังมีเวลาใคร่ครวญประเด็นดังกล่าวอีกมาก
  • สำนักงานสถิติของเยอรมนี (Destatis) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของเยอรมนีในเดือนก.พ.ปรับตัวลด
ลง 0.5% จากเดือนม.ค. แต่หากเทียบรายปีพบว่าดัชนี PPI เดือนก.พ.ร่วงลง 3.0% ทั้งนี้ ดัชนี PPI เดือนก.พ.ได้รับแรงกดดัน
ขาลงจากราคาพลังงาน โดยข้อมูลระบุว่าราคาพลังงานปรับตัวลดลง 1.6% ในเดือนก.พ.จากเดือนม.ค. และร่วงลงถึง 9.4% เมื่อ
เทียบรายปี
  • ซาอุดิอาระเบีย ยืนยันว่าจะเข้าร่วมประชุมกับประเทศผู้ผลิตน้ำมันกลุ่มโอเปกและนอกกลุ่มโอเปก โดยการประชุมดัง

กล่าวจะจัดขึ้นที่เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ ในวันที่ 17 เม.ย.ซึ่งผู้ผลิตน้ำมันราว 15 ชาติจะเข้าร่วมการประชุมด้วย การที่ซาอุดิอา

ระเบียตกลงเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ถือเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับประเด็นการตรึงกำลังการผลิต หลังจากซาอุดิอาระเบีย, รัสเซีย,

เวเนซุเอลา และกาตาร์ บรรลุข้อตกลงในเดือนที่แล้วในการตรึงกำลังการผลิตน้ำมัน


แท็ก เงินบาท  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ